Five emotional shackles.
English translation by Bhikkhu Sujato
“Mendicants, there are these five emotional shackles. What five? Firstly, a mendicant isn’t free of greed, desire, fondness, thirst, passion, and craving for sensual pleasures. This being so, their mind doesn’t incline toward keenness, commitment, persistence, and striving. This is the first emotional shackle.
Furthermore, a mendicant isn’t free of greed for the body … They’re not free of greed for form … They eat as much as they like until their belly is full, then indulge in the pleasures of sleeping, lying down, and drowsing … They lead the spiritual life wishing to be reborn in one of the orders of gods: ‘By this precept or observance or mortification or spiritual life, may I become one of the gods!’ This being so, their mind doesn’t incline toward keenness, commitment, persistence, and striving. This is the fifth emotional shackle. These are the five emotional shackles.
To give up these five emotional shackles you should develop the four kinds of mindfulness meditation. What four? It’s when a mendicant meditates by observing an aspect of the body—keen, aware, and mindful, rid of desire and aversion for the world. They meditate observing an aspect of feelings—keen, aware, and mindful, rid of desire and aversion for the world. They meditate observing an aspect of the mind—keen, aware, and mindful, rid of desire and aversion for the world. They meditate observing an aspect of principles—keen, aware, and mindful, rid of desire and aversion for the world. To give up these five emotional shackles you should develop these four kinds of mindfulness meditation.”
ภิกษุทั้งหลาย เครื่องผูกมัดจิต ๕ ประการเหล่านี้ ๕ ประการอะไรบ้าง คือ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด ยังไม่ปราศจากความพอใจ ยังไม่ปราศจากความรัก ยังไม่ปราศจากความกระหาย ยังไม่ปราศจากความเร่าร้อน ยังไม่ปราศจากความอยากในกามทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด ยังไม่ปราศจากความพอใจ ยังไม่ปราศจากความรัก ยังไม่ปราศจากความกระหาย ยังไม่ปราศจากความเร่าร้อน ยังไม่ปราศจากความอยากในกามนั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำให้ต่อเนื่อง เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำให้ต่อเนื่อง เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น นี้เป็นเครื่องผูกมัดจิตประการที่ ๑.
ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด ยังไม่ปราศจากความพอใจ ยังไม่ปราศจากความรัก ยังไม่ปราศจากความกระหาย ยังไม่ปราศจากความเร่าร้อน ยังไม่ปราศจากความอยากในกาย ภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด ยังไม่ปราศจากความพอใจ ยังไม่ปราศจากความรัก ยังไม่ปราศจากความกระหาย ยังไม่ปราศจากความเร่าร้อน ยังไม่ปราศจากความอยากในกายนั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำให้ต่อเนื่อง เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำให้ต่อเนื่อง เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น นี้เป็นเครื่องผูกมัดจิตประการที่ ๒.
ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด ยังไม่ปราศจากความพอใจ ยังไม่ปราศจากความรัก ยังไม่ปราศจากความกระหาย ยังไม่ปราศจากความเร่าร้อน ยังไม่ปราศจากความอยากในรูป ภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด ยังไม่ปราศจากความพอใจ ยังไม่ปราศจากความรัก ยังไม่ปราศจากความกระหาย ยังไม่ปราศจากความเร่าร้อน ยังไม่ปราศจากความอยากในรูปนั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำให้ต่อเนื่อง เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำให้ต่อเนื่อง เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น นี้เป็นเครื่องผูกมัดจิตประการที่ ๓.
ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุบริโภคอาหารอิ่มท้องพอแก่ความต้องการแล้ว ประกอบความสุขในการนอน ความสุขในการเอนกาย ความสุขในการหลับอยู่ ภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้บริโภคอาหารอิ่มท้องพอแก่ความต้องการแล้ว ประกอบความสุขในการนอน ความสุขในการเอนกาย ความสุขในการหลับอยู่นั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำให้ต่อเนื่อง เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำให้ต่อเนื่อง เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น นี้เป็นเครื่องผูกมัดจิตประการที่ ๔.
ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อตั้งความปรารถนาเป็นเทวดาพวกใดพวกหนึ่งว่า ด้วยศีลนี้ ด้วยข้อวัตรนี้ ด้วยตบะนี้ หรือด้วยพรหมจรรย์นี้ เราจักได้เป็นเทวดาหรือเทวดาองค์ใดองค์หนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้ประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อตั้งความปรารถนาเป็นเทวดาพวกใดพวกหนึ่งว่า ด้วยศีลนี้ ด้วยข้อวัตรนี้ ด้วยตบะนี้ หรือด้วยพรหมจรรย์นี้ เราจักได้เป็นเทวดาหรือเทวดาองค์ใดองค์หนึ่งนั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำให้ต่อเนื่อง เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำให้ต่อเนื่อง เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น นี้เป็นเครื่องผูกมัดจิตประการที่ ๕.
ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้แล เครื่องผูกมัดจิต ๕ ประการ.
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้ เพื่อละเครื่องผูกมัดจิต ๕ ประการ สติปัฏฐาน ๔ อะไรบ้าง คือ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในกรณีนี้
ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย.
ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย.
ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย.
ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย.
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้แล เพื่อละเครื่องผูกมัดจิต ๕ประการ.
-บาลี นวก. อํ. 23/482/276.
https://84000.org/tipitaka/pali/?23//482
https://etipitaka.com/read/pali/23/482