ขันธ์ ๕ คืออะไร ความเกิดขึ้น และความดับไปของขันธ์ ๕ เป็นอย่างไร
เรื่องเกิดขึ้นที่พระนครสาวัตถี … ที่นั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย อุปาทานขันธ์ ๕ ประการเหล่านี้ ๕ ประการอะไรบ้าง คือ
๑) อุปาทานขันธ์ คือ รูป
๒) อุปาทานขันธ์ คือ เวทนา
๓) อุปาทานขันธ์ คือ สัญญา
๔) อุปาทานขันธ์ คือ สังขาร
๕) อุปาทานขันธ์ คือ วิญญาณ
ภิกษุทั้งหลาย ตลอดเวลาเพียงใด ที่เรายังไม่รู้ชัดตามความเป็นจริง ซึ่งอุปาทานขันธ์ ๕ ประการเหล่านี้ โดยปริวัฏฏ์ ๔ ตลอดเวลาเพียงนั้น เราก็ยังไม่ยืนยันว่า เป็นผู้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะซึ่งอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์.
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด เรารู้ชัดตามความเป็นจริง ซึ่งอุปาทานขันธ์ ๕ ประการเหล่านี้ โดยปริวัฏฏ์ ๔ เมื่อนั้น เราจึงจะยืนยันว่า เป็นผู้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะซึ่งอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์.
ก็ปริวัฏฏ์ ๔ เป็นอย่างไร คือ เรารู้ชัดซึ่งรูป รู้ชัดซึ่งความเกิดแห่งรูป รู้ชัดซึ่งความดับแห่งรูป รู้ชัดซึ่งข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งรูป เรารู้ชัดซึ่งเวทนา รู้ชัดซึ่งความเกิดแห่งเวทนา รู้ชัดซึ่งความดับแห่งเวทนา รู้ชัดซึ่งข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งเวทนา เรารู้ชัดซึ่งสัญญา รู้ชัดซึ่งความเกิดแห่งสัญญา รู้ชัดซึ่งความดับแห่งสัญญา รู้ชัดซึ่งข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งสัญญา เรารู้ชัดซึ่งสังขาร รู้ชัดซึ่งความเกิดแห่งสังขาร รู้ชัดซึ่งความดับแห่งสังขาร รู้ชัดซึ่งข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งสังขาร เรารู้ชัดซึ่งวิญญาณ รู้ชัดซึ่งความเกิดแห่งวิญญาณ รู้ชัดซึ่งความดับแห่งวิญญาณ รู้ชัดซึ่งข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งวิญญาณ.
ภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นอย่างไร คือ มหาภูต ๔ และรูปที่อาศัยมหาภูต ๔ เหล่านั้นด้วย นี้เรียกว่ารูป ความเกิดแห่งรูปย่อมมี เพราะความเกิดแห่งอาหาร ความดับแห่งรูปย่อมมี เพราะความดับแห่งอาหาร อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้เอง เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งรูป คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ.
ภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้ชัดซึ่งรูปอย่างนี้ รู้ชัดซึ่งความเกิดแห่งรูปอย่างนี้ รู้ชัดซึ่งความดับแห่งรูปอย่างนี้ รู้ชัดซึ่งข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งรูปอย่างนี้ แล้วปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับแห่งรูป สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าปฏิบัติดีแล้ว ชนเหล่าใดปฏิบัติดีแล้ว ชนเหล่านั้นชื่อว่าย่อมหยั่งลงในธรรมวินัยนี้.
ภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้ชัดซึ่งรูปอย่างนี้ รู้ชัดซึ่งความเกิดแห่งรูปอย่างนี้ รู้ชัดซึ่งความดับแห่งรูปอย่างนี้ รู้ชัดซึ่งข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งรูปอย่างนี้ แล้วเป็นผู้หลุดพ้น เพราะความเบื่อหน่าย เพราะความคลายกำหนัด เพราะความดับ เพราะความไม่ถือมั่นในรูป สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าหลุดพ้นดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดหลุดพ้นดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นเป็นเกพลี สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเป็นเกพลี วัฏฏะเพื่อความปรากฏ ย่อมไม่มีแก่สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น.
ภิกษุทั้งหลาย ก็เวทนาเป็นอย่างไร ภิกษุทั้งหลาย เวทนา ๖ หมวดนี้ คือ เวทนาที่เกิดจากจักษุสัมผัส เวทนาที่เกิดจากโสตสัมผัส เวทนาที่เกิดจากฆานสัมผัส เวทนาที่เกิดจากชิวหาสัมผัส เวทนาที่เกิดจากกายสัมผัส เวทนาที่เกิดจากมโนสัมผัส ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าเวทนา ความเกิดแห่งเวทนาย่อมมี เพราะความเกิดแห่งผัสสะ ความดับแห่งเวทนาย่อมมี เพราะความดับแห่งผัสสะ อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้เอง เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งเวทนา คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ.
ภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้ชัดซึ่งเวทนาอย่างนี้ รู้ชัดซึ่งความเกิดแห่งเวทนาอย่างนี้ รู้ชัดซึ่งความดับแห่งเวทนาอย่างนี้ รู้ชัดซึ่งข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งเวทนาอย่างนี้ แล้วปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับแห่งเวทนา สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าปฏิบัติดีแล้ว ชนเหล่าใดปฏิบัติดีแล้ว ชนเหล่านั้นชื่อว่าย่อมหยั่งลงในธรรมวินัยนี้.
ภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้ชัดซึ่งเวทนาอย่างนี้ รู้ชัดซึ่งความเกิดแห่งเวทนาอย่างนี้ รู้ชัดซึ่งความดับแห่งเวทนาอย่างนี้ รู้ชัดซึ่งข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งเวทนาอย่างนี้ แล้วเป็นผู้หลุดพ้น เพราะความเบื่อหน่าย เพราะความคลายกำหนัด เพราะความดับ เพราะความไม่ถือมั่นในเวทนา สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าหลุดพ้นดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดหลุดพ้นดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นเป็นเกพลี สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเป็นเกพลี วัฏฏะเพื่อความปรากฏ ย่อมไม่มีแก่สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น.
ภิกษุทั้งหลาย ก็สัญญาเป็นอย่างไร ภิกษุทั้งหลาย สัญญา ๖ หมวดนี้ คือ สัญญาในรูป สัญญาในเสียง สัญญาในกลิ่น สัญญาในรส สัญญาในโผฏฐัพพะ และสัญญาในธรรม ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าสัญญา ความเกิดแห่งสัญญาย่อมมี เพราะความเกิดแห่งผัสสะ ความดับแห่งสัญญาย่อมมี เพราะความดับแห่งผัสสะ อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้เอง เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งสัญญา คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ.
ภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้ชัดซึ่งสัญญาอย่างนี้ รู้ชัดซึ่งความเกิดแห่งสัญญาอย่างนี้ รู้ชัดซึ่งความดับแห่งสัญญาอย่างนี้ รู้ชัดซึ่งข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งสัญญาอย่างนี้ แล้วปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับแห่งสัญญา สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าปฏิบัติดีแล้ว ชนเหล่าใดปฏิบัติดีแล้ว ชนเหล่านั้นชื่อว่าย่อมหยั่งลงในธรรมวินัยนี้.
ภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้ชัดซึ่งสัญญาอย่างนี้ รู้ชัดซึ่งความเกิดแห่งสัญญาอย่างนี้ รู้ชัดซึ่งความดับแห่งสัญญาอย่างนี้ รู้ชัดซึ่งข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งสัญญาอย่างนี้ แล้วเป็นผู้หลุดพ้น เพราะความเบื่อหน่าย เพราะความคลายกำหนัด เพราะความความดับ เพราะความไม่ถือมั่นในสัญญา สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าหลุดพ้นดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดหลุดพ้นดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นเป็นเกพลี สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเป็นเกพลี วัฏฏะเพื่อความปรากฏ ย่อมไม่มีแก่สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น.
ภิกษุทั้งหลาย ก็สังขารเป็นอย่างไร ภิกษุทั้งหลาย เจตนา (ความตั้งใจ) ๖ หมวดนี้ คือ สัญเจตนา (ความคิด, ความตั้งใจ) ในรูป สัญเจตนาในเสียง สัญเจตนาในกลิ่น สัญเจตนาในรส สัญเจตนาในโผฏฐัพพะ สัญเจตนาในธรรม ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าสังขาร ความเกิดแห่งสังขารย่อมมี เพราะความเกิดแห่งผัสสะ ความดับแห่งสังขารย่อมมี เพราะความดับแห่งผัสสะ อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้เอง เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งสังขาร คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ.
ภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้ชัดซึ่งสังขารอย่างนี้ รู้ชัดซึ่งความเกิดแห่งสังขารอย่างนี้ รู้ชัดซึ่งความดับแห่งสังขารอย่างนี้ รู้ชัดซึ่งข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งสังขารอย่างนี้ แล้วปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับแห่งสังขาร สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าปฏิบัติดีแล้ว ชนเหล่าใดปฏิบัติดีแล้ว ชนเหล่านั้นชื่อว่าย่อมหยั่งลงในธรรมวินัยนี้.
ภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้ชัดซึ่งสังขารอย่างนี้ รู้ชัดซึ่งความเกิดแห่งสังขารอย่างนี้ รู้ชัดซึ่งความดับแห่งสังขารอย่างนี้ รู้ชัดซึ่งข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งสังขารอย่างนี้ แล้วเป็นผู้หลุดพ้น เพราะความเบื่อหน่าย เพราะความคลายกำหนัด เพราะความดับ เพราะความไม่ถือมั่นในสังขาร สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าหลุดพ้นดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดหลุดพ้นดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นเป็นเกพลี สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเป็นเกพลี วัฏฏะเพื่อความปรากฏ ย่อมไม่มีแก่สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น.
ภิกษุทั้งหลาย ก็วิญญาณเป็นอย่างไร ภิกษุทั้งหลาย วิญญาณ ๖ หมวดนี้ คือ จักษุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าวิญญาณ ความเกิดแห่งวิญญาณย่อมมี เพราะความเกิดแห่งนามรูป ความดับแห่งวิญญาณย่อมมี เพราะความดับแห่งนามรูป อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้เอง เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งวิญญาณ คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ.
ภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้ชัดซึ่งวิญญาณอย่างนี้ รู้ชัดซึ่งความเกิดแห่งวิญญาณอย่างนี้ รู้ชัดซึ่งความดับแห่งวิญญาณอย่างนี้ รู้ชัดซึ่งข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งวิญญาณอย่างนี้ แล้วปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับแห่งวิญญาณ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าปฏิบัติดีแล้ว ชนเหล่าใดปฏิบัติดีแล้ว ชนเหล่านั้นชื่อว่าย่อมหยั่งลงในธรรมวินัยนี้.
ภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้ชัดซึ่งวิญญาณอย่างนี้ รู้ชัดซึ่งความเกิดแห่งวิญญาณอย่างนี้ รู้ชัดซึ่งความดับแห่งวิญญาณอย่างนี้ รู้ชัดซึ่งข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งวิญญาณอย่างนี้ แล้วเป็นผู้หลุดพ้น เพราะความเบื่อหน่าย เพราะความคลายกำหนัด เพราะความดับ เพราะความไม่ถือมั่นในวิญญาณ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าหลุดพ้นดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดหลุดพ้นดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นเป็นเกพลี สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเป็นเกพลี วัฏฏะเพื่อความปรากฏ ย่อมไม่มีแก่สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น.
-บาลี ขนฺธ. สํ. 17/72/112.
https://84000.org/tipitaka/pali/?17//72,
https://etipitaka.com/read/pali/17/72/
English translation by Bhikkhu Sujato
At Sāvatthī.
“Mendicants, there are these five grasping aggregates. What five? The grasping aggregates of form, feeling, perception, choices, and consciousness.
As long as I didn’t truly understand these five grasping aggregates from four perspectives, I didn’t announce my supreme perfect awakening in this world with its gods, Māras, and Brahmās, this population with its ascetics and brahmins, its gods and humans.
But when I did truly understand these five grasping aggregates from four perspectives, I announced my supreme perfect awakening in this world with its gods, Māras, and Brahmās, this population with its ascetics and brahmins, its gods and humans.
And how are there four perspectives? I directly knew form, its origin, its cessation, and the practice that leads to its cessation. I directly knew feeling … perception … choices … consciousness, its origin, its cessation, and the practice that leads to its cessation.
And what is form? The four primary elements, and form derived from the four primary elements. This is called form. Form originates from food. When food ceases, form ceases. The practice that leads to the cessation of form is simply this noble eightfold path, that is: right view, right thought, right speech, right action, right livelihood, right effort, right mindfulness, and right immersion.
Whatever ascetics and brahmins have directly known form in this way—and its origin, its cessation, and the practice that leads to its cessation—and are practicing for disillusionment, dispassion, and cessation regarding form: they are practicing well. Those who practice well have a firm footing in this teaching and training.
Those ascetics and brahmins who have directly known form in this way—and its origin, its cessation, and the practice that leads to its cessation—and due to disillusionment, dispassion, and cessation regarding form, are freed by not grasping: they are well freed. Those who are well freed are consummate ones. For consummate ones, there is no cycle of rebirths to be found.
And what is feeling? There are these six classes of feeling: feeling born of contact through the eye, ear, nose, tongue, body, and mind. This is called feeling. Feeling originates from contact. When contact ceases, feeling ceases. The practice that leads to the cessation of feelings is simply this noble eightfold path …
And what is perception? There are these six classes of perception: perceptions of sights, sounds, smells, tastes, touches, and thoughts. This is called perception. Perception originates from contact. When contact ceases, perception ceases. The practice that leads to the cessation of perceptions is simply this noble eightfold path …
And what are choices? There are these six classes of intention: intention regarding sights, sounds, smells, tastes, touches, and thoughts. These are called choices. Choices originate from contact. When contact ceases, choices cease. The practice that leads to the cessation of choices is simply this noble eightfold path …
And what is consciousness? There are these six classes of consciousness: eye, ear, nose, tongue, body, and mind consciousness. This is called consciousness. Consciousness originates from name and form. When name and form cease, consciousness ceases. The practice that leads to the cessation of consciousness is simply this noble eightfold path, that is: right view, right thought, right speech, right action, right livelihood, right effort, right mindfulness, and right immersion.
Whatever ascetics and brahmins have directly known consciousness in this way—and its origin, its cessation, and the practice that leads to its cessation—and are practicing for disillusionment, dispassion, and cessation regarding consciousness: they are practicing well. Those who practice well have a firm footing in this teaching and training.
Those ascetics and brahmins who have directly known consciousness in this way—and its origin, its cessation, and the practice that leads to its cessation—and due to disillusionment, dispassion, and cessation regarding consciousness, are freed by not grasping: they are well freed. Those who are well freed are consummate ones. For consummate ones, there is no cycle of rebirths to be found.”
English translation by Bhikkhu Bodhi
At Savatthi. “Bhikkhus, there are these five aggregates subject to clinging. What five? The form aggregate subject to clinging, the feeling aggregate subject to clinging, the perception aggregate subject to clinging, the volitional formations aggregate subject to clinging, the consciousness aggregate subject to clinging.
“So long as I did not directly know as they really are the five aggregates subject to clinging in four phases, I did not claim to have awakened to the unsurpassed perfect enlightenment in this world with its devas, Mara, and Brahma, in this generation with its ascetics and brahmins, its devas and humans. But when I directly knew all this as it really is, then I claimed to have awakened to the unsurpassed perfect enlightenment in this world with … its devas and humans.
“And how, bhikkhus, are there four phases? I directly knew form, its origin, its cessation, and the way leading to its cessation. I directly knew feeling … perception … volitional formations … consciousness, its origin, its cessation, and the way leading to its cessation.
“And what, bhikkhus, is form? The four great elements and the form derived from the four great elements: this is called form. With the arising of nutriment there is the arising of form. With the cessation of nutriment there is the cessation of form. This Noble Eightfold Path is the way leading to the cessation of form; that is, right view … right concentration.
“Whatever ascetics and brahmins, having thus directly known form, its origin, its cessation, and the way leading to its cessation, are practising for the purpose of revulsion towards form, for its fading away and cessation, they are practising well. Those who are practising well have gained a foothold in this Dhamma and Discipline.
“And whatever ascetics and brahmins, having thus directly known form, its origin, its cessation, and the way leading to its cessation, through revulsion towards form, through its fading away and cessation, are liberated by nonclinging, they are well liberated. Those who are well liberated are consummate ones. As to those consummate ones, there is no round for describing them.
“And what, bhikkhus, is feeling? There are these six classes of feeling: feeling born of eye-contact, feeling born of ear-contact, feeling born of nose-contact, feeling born of tongue-contact, feeling born of body-contact, feeling born of mind-contact. This is called feeling. With the arising of contact there is the arising of feeling. With the cessation of contact there is the cessation of feeling. This Noble Eightfold Path is the way leading to the cessation of feeling; that is, right view … right concentration.
“Whatever ascetics and brahmins, having thus directly known feeling, its origin, its cessation, and the way leading to its cessation, are practising for the purpose of revulsion towards feeling, for its fading away and cessation, they are practising well. Those who are practising well have gained a foothold in this Dhamma and Discipline.
“And whatever ascetics and brahmins, having thus directly known feeling … and the way leading to its cessation … As to those consummate ones, there is no round for describing them.
“And what, bhikkhus, is perception? There are these six classes of perception: perception of forms, perception of sounds, perception of odours, perception of tastes, perception of tactile objects, perception of mental phenomena. This is called perception. With the arising of contact there is the arising of perception. With the cessation of contact there is the cessation of perception. This Noble Eightfold Path is the way leading to the cessation of perception; that is, right view … right concentration.
“Whatever ascetics and brahmins … As to those consummate ones, there is no round for describing them.
“And what, bhikkhus, are volitional formations? There are these six classes of volition: volition regarding forms, volition regarding sounds, volition regarding odours, volition regarding tastes, volition regarding tactile objects, volition regarding mental phenomena. This is called volitional formations. With the arising of contact there is the arising of volitional formations. With the cessation of contact there is the cessation of volitional formations. This Noble Eightfold Path is the way leading to the cessation of volitional formations; that is, right view … right concentration.
“Whatever ascetics and brahmins … … As to those consummate ones, there is no round for describing them.
“And what, bhikkhus, is consciousness? There are these six classes of consciousness: eye-consciousness, ear-consciousness, nose-consciousness, tongue-consciousness, body-consciousness, mind-consciousness. This is called consciousness. With the arising of name-and-form there is the arising of consciousness. With the cessation of name-and-form there is the cessation of consciousness. This Noble Eightfold Path is the way leading to the cessation of consciousness; that is, right view … right concentration.
“Whatever ascetics and brahmins, having thus directly known consciousness, its origin, its cessation, and the way leading to its cessation, are practising for the purpose of revulsion towards consciousness, for its fading away and cessation, they are practising well. Those who are practising well have gained a foothold in this Dhamma and Discipline.
“And whatever ascetics and brahmins, having thus directly known consciousness, its origin, its cessation, and the way leading to its cessation, through revulsion towards consciousness, through its fading away and cessation, are liberated by nonclinging, they are well liberated. Those who are well liberated are consummate ones. As to those consummate ones, there is no round for describing them.”