เมื่อโดนว่าร้าย หรือโดนทำร้าย ต้องทำอย่างไร
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี โดยสมัยนั้น ท่านพระโมลิยผัคคุนะอยู่คลุกคลีกับภิกษุณีทั้งหลายเกินเวลา ท่านพระโมลิยผัคคุนะอยู่คลุกคลีกับภิกษุณีทั้งหลายอย่างนี้ คือ ถ้าภิกษุรูปใดติเตียนภิกษุณีเหล่านั้นต่อหน้าท่านพระโมลิยผัคคุนะ ท่านก็โกรธ ไม่พอใจภิกษุรูปนั้น ถึงกระทำให้เป็นอธิกรณ์ก็มี อนึ่ง ถ้าภิกษุรูปใดติเตียนท่านพระโมลิยผัคคุนะต่อหน้าภิกษุณีเหล่านั้น พวกภิกษุณีเหล่านั้นก็พากันโกรธ ไม่พอใจภิกษุรูปนั้น ถึงกระทำให้เป็นอธิกรณ์ก็มี ท่านพระโมลิยผัคคุนะอยู่คลุกคลีกับภิกษุณีทั้งหลายอย่างนี้.
ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่งในที่สมควร ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ภันเต ท่านโมลิยผัคคุนะอยู่คลุกคลีกับพวกภิกษุณีเกินเวลา ท่านโมลิยผัคคุนะ อยู่คลุกคลีกับพวกภิกษุณีอย่างนี้ คือ ถ้าภิกษุรูปใดติเตียนพวกภิกษุณีเหล่านั้นต่อหน้าท่านโมลิยผัคคุนะ ท่านก็โกรธ ไม่พอใจภิกษุรูปนั้น ถึงกระทำให้เป็นอธิกรณ์ก็มี อนึ่ง ถ้าภิกษุรูปใดติเตียนท่านโมลิยผัคคุนะต่อหน้าพวกภิกษุณีเหล่านั้น พวกภิกษุณีเหล่านั้นก็โกรธ ไม่พอใจภิกษุรูปนั้น ถึงกระทำให้เป็นอธิกรณ์ก็มี ท่านโมลิยผัคคุนะ อยู่คลุกคลีกับพวกภิกษุณีอย่างนี้.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุรูปหนึ่งมาสั่งว่า มาเถิดภิกษุ เธอจงบอกโมลิยผัคคุนภิกษุ ตามคำของเราว่า ท่านโมลิยผัคคุนะ พระศาสดาเรียกหาท่าน.
ภิกษุรูปนั้นทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว เข้าไปหาท่านพระโมลิยผัคคุนะถึงที่อยู่ ครั้นแล้วได้กล่าวคำนี้กะท่านพระโมลิยผัคคุนะว่า ท่านโมลิยผัคคุนะ พระศาสดารับสั่งให้หาท่าน ท่านพระโมลิยผัคคุนะ รับคำภิกษุรูปนั้นแล้ว ก็เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วนั่งในที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามท่านพระโมลิยผัคคุนะดังนี้ว่า
ผัคคุนะ ได้ทราบว่า เธออยู่คลุกคลีกับพวกภิกษุณีจนเกินเวลา ผัคคุนะ เธออยู่คลุกคลีกับพวกภิกษุณีอย่างนี้ คือ ถ้าภิกษุรูปใดติเตียนพวกภิกษุณีเหล่านั้นต่อหน้าเธอ เธอก็โกรธ ไม่พอใจภิกษุรูปนั้น ถึงกระทำให้เป็นอธิกรณ์ก็มี อนึ่ง ถ้าภิกษุรูปใดติเตียนเธอต่อหน้าพวกภิกษุณีเหล่านั้น พวกภิกษุณีเหล่านั้นก็โกรธ ไม่พอใจภิกษุรูปนั้น ถึงกระทำให้เป็นอธิกรณ์ก็มี ผัคคุนะ เธออยู่คลุกคลีกับภิกษุณีทั้งหลายอย่างนี้จริงหรือ.
จริง ภันเต.
ผัคคุนะ เธอเป็นกุลบุตรผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตด้วยศรัทธาใช่หรือไม่.
เป็นอย่างนั้น ภันเต.
ผัคคุนะ การที่เธออยู่คลุกคลีกับพวกภิกษุณีจนเกินเวลานี้ ไม่สมควรแก่เธอผู้เป็นกุลบุตรผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตด้วยศรัทธาเลย.
ผัคคุนะ เพราะฉะนั้น ถ้าแม้ภิกษุรูปใดติเตียนภิกษุณีเหล่านั้นต่อหน้าเธอ ผัคคุนะ แม้ในข้อนั้น เธอพึงละความพอใจ และวิตกอันอาศัยเรือนเสีย ผัคคุนะ แม้ในข้อนั้น เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า จิตของเราจักไม่แปรปรวน เราจักไม่กล่าววาจาอันเป็นบาป เราจักเป็นผู้มีความเอ็นดูเกื้อกูล มีจิตประกอบด้วยเมตตา ไม่มีโทสะในภายในอยู่ ผัคคุนะ เธอพึงศึกษาอย่างนี้แล.
ผัคคุนะ เพราะฉะนั้น ถ้าใครๆ ทำร้ายภิกษุณีเหล่านั้นด้วยฝ่ามือ ด้วยก้อนดิน ด้วยท่อนไม้ หรือด้วยศาสตราต่อหน้าเธอ ผัคคุนะ แม้ในข้อนั้น เธอพึงละความพอใจ และวิตกอันอาศัยเรือนเสีย ผัคคุนะ แม้ในข้อนั้น เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า จิตของเราจักไม่แปรปรวน เราจักไม่กล่าววาจาอันเป็นบาป เราจักเป็นผู้มีความเอ็นดูเกื้อกูล มีจิตประกอบด้วยเมตตา ไม่มีโทสะในภายในอยู่ ผัคคุนะ เธอพึงศึกษาอย่างนี้แล.
ผัคคุนะ เพราะฉะนั้น ถ้าใครๆ ติเตียนตัวเธอเองต่อหน้าเธอ ผัคคุนะ แม้ในข้อนั้น เธอพึงละความพอใจ และวิตกอันอาศัยเรือนเสีย ผัคคุนะ แม้ในข้อนั้น เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า จิตของเราจักไม่แปรปรวน เราจักไม่กล่าววาจาเป็นบาป เราจักเป็นผู้มีความเอ็นดูเกื้อกูล มีจิตประกอบด้วยเมตตา ไม่มีโทสะในภายในอยู่ ผัคคุนะ เธอพึงศึกษาอย่างนี้แล.
ผัคคุนะ เพราะฉะนั้น ถ้าใครๆ ทำร้ายเธอด้วยฝ่ามือ ด้วยก้อนหิน ด้วยท่อนไม้ หรือด้วยศาสตรา ผัคคุนะ แม้ในข้อนั้น เธอพึงละความพอใจ และวิตกอันอาศัยเรือนเสีย ผัคคุนะ แม้ในข้อนั้น เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า จิตของเราจักไม่แปรปรวน เราจักไม่กล่าววาจาอันเป็นบาป เราจักเป็นผู้มีความเอ็นดูเกื้อกูล มีจิตประกอบด้วยเมตตา ไม่มีโทสะในภายในอยู่ ผัคคุนะ เธอพึงศึกษาอย่างนี้ ดังนี้แล.
ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า
ภิกษุทั้งหลาย สมัยหนึ่ง พวกภิกษุได้ทำจิตของเราให้ยินดีเป็นอันมาก เราขอเตือนพวกเธอไว้ในที่นี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย เราฉันอาหารในที่นั่งแห่งเดียว เมื่อเราฉันอาหารในที่นั่งแห่งเดียวอยู่ รู้สึกว่ามีอาพาธน้อย มีความลำบากกายน้อย มีความเบากาย มีกำลัง และอยู่อย่างผาสุก.
มาเถิด ภิกษุทั้งหลาย ถึงพวกเธอก็จงฉันอาหารในที่นั่งแห่งเดียวเถิด เมื่อพวกเธอฉันอาหารในที่นั่งแห่งเดียวอยู่ ก็จะรู้สึกว่ามีอาพาธน้อย มีความลำบากกายน้อย มีความเบากาย มีกำลัง และอยู่อย่างผาสุก.
ภิกษุทั้งหลาย เราจะไม่ต้องพร่ำสอนภิกษุเหล่านั้นอีก การทำสติให้เกิดขึ้นได้ เป็นกิจที่ต้องกระทำในภิกษุเหล่านั้นแล้ว ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนรถที่เทียมด้วยม้าอาชาไนยซึ่งเป็นม้าที่ได้รับการฝึกมาดีแล้ว เป็นรถที่จอดอยู่บนทางใหญ่ ๔ แพร่ง มีภูมิภาคอันดี นายสารถีผู้เชี่ยวชาญในการฝึกม้า ระดับครูฝึก ผู้ขยันขันแข็ง ขึ้นสู่รถนั้นแล้ว จับสายบังเหียนด้วยมือซ้าย จับแส้ด้วยมือขวา เพียงแค่ยกแส้ขึ้นเป็นสัญญาณ ก็สามารถให้ม้าพารถไปข้างหน้า หรือให้ถอยกลับไปข้างหลัง ได้ตามที่ตนปรารถนา ภิกษุทั้งหลาย ฉันใดก็ฉันนั้น เราจะไม่ต้องพร่ำสอนภิกษุเหล่านั้นอีก การทำสติให้เกิดขึ้นได้ เป็นกิจที่ต้องกระทำในภิกษุเหล่านั้นแล้ว.
ภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้น แม้พวกเธอก็จงละอกุศลธรรมเสีย จงทำความพากเพียรแต่ในกุศลธรรมทั้งหลาย เมื่อเป็นเช่นนี้ แม้พวกเธอก็จักถึงความเจริญ ความงอกงาม ความไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้ ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนมีป่าสาละใหญ่ อยู่ใกล้บ้านหรือนิคม และป่านั้นเต็มไปด้วยต้นเอลัณฑะ ชายคนหนึ่ง เล็งเห็นประโยชน์และความปลอดภัยแก่ป่าสาละนั้น เขาจึงตัดต้นสาละเล็กๆ ที่คด และถางต้นเอลัณฑะที่คอยแย่งอาหารของต้นสาละนั้นออก นำไปทิ้งในภายนอกเสียสิ้น ทำภายในป่าให้สะอาดเรียบร้อยแล้ว คอยรักษาต้นสาละเล็กๆ ต้นที่ตรงและแข็งแรงดี โดยวิธีการที่ถูกต้อง ภิกษุทั้งหลาย ด้วยการกระทำดังที่กล่าวมานี้แหละ กาลต่อมา ป่าสาละนั้นก็ถึงความเจริญ ความงอกงาม ความไพบูลย์ขึ้นโดยลำดับ ภิกษุทั้งหลาย ฉันใดก็ฉันนั้น แม้พวกเธอก็จงละอกุศลธรรมเสีย จงทำความพากเพียรอยู่แต่ในกุศลธรรมทั้งหลายเถิด เพราะเมื่อเป็นเช่นนี้ พวกเธอก็จะถึงความเจริญ ความงอกงาม ความไพบูลย์ ในธรรมวินัยนี้.
ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ที่พระนครสาวัตถีนี้แหละ มีแม่เรือนคนหนึ่งชื่อว่า เวเทหิกา ภิกษุทั้งหลาย เกียรติศัพท์อันงามของแม่เรือนชื่อเวเทหิกาขจรไปแล้วอย่างนี้ว่า แม่เรือนชื่อเวเทหิกา เป็นคนสงบเสงี่ยม อ่อนโยน เรียบร้อย ภิกษุทั้งหลาย ก็แม่เรือนเวเทหิกา มีทาสีชื่อกาลีเป็นคนขยัน ไม่เกียจคร้าน จัดการงานดี ต่อมา นางกาลีได้คิดอย่างนี้ว่า เกียรติศัพท์อันงามของนายหญิงของเราขจรไปแล้วอย่างนี้ว่า แม่เรือนชื่อเวเทหิกา เป็นคนสงบเสงี่ยม อ่อนโยน เรียบร้อย ดังนี้ นายหญิงของเราไม่ทำความโกรธที่มีอยู่ภายในให้ปรากฏ หรือไม่มีความโกรธอยู่เลย หรือว่านายหญิงของเราไม่ทำความโกรธที่มีอยู่ภายในให้ปรากฏ ก็เพราะเราจัดการงานทั้งหลายเรียบร้อยดี ไม่ใช่ไม่มีความโกรธ อย่ากระนั้นเลย จำเราจะต้องทดสอบนายหญิงดู วันรุ่งขึ้นนางกาลีทาสี ก็แสร้งลุกขึ้นสาย
ภิกษุทั้งหลาย ฝ่ายแม่เรือนเวเทหิกา ก็ได้ตวาดนางกาลีทาสีขึ้นว่า เฮ้ย อีคนใช้กาลี.
นางกาลีจึงขานรับว่า อะไรเจ้าค่ะ.
เฮ้ย เอ็งเป็นอะไรจึงนอนตื่นสาย.
ไม่เป็นอะไร เจ้าค่ะ.
นางจึงกล่าวอีกว่า อีคนชั่วร้าย ก็เมื่อไม่เป็นอะไร ทำไมเอ็งจึงนอนตื่นสาย ดังนี้แล้ว ก็โกรธ ไม่พอใจ ทำหน้าบึ้ง.
ภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น นางกาลีทาสีจึงคิดว่า นายหญิงของเราไม่ทำความโกรธที่มีอยู่ในภายในให้ปรากฏเท่านั้น ไม่ใช่ไม่มีความโกรธ ที่ไม่ทำความโกรธที่มีอยู่ในภายในให้ปรากฏ ก็เพราะเราจัดการงานทั้งหลายเรียบร้อยดี ไม่ใช่ไม่มีความโกรธ อย่ากระนั้นเลย เราจะต้องทดสอบนายหญิงให้ยิ่งขึ้นไป ภิกษุทั้งหลาย ถัดจากวันนั้นมา นางกาลีทาสี จึงลุกขึ้นสายกว่านั้นอีก.
ครั้งนั้น แม่เรือนเวเทหิกาก็ตวาดนางกาลีทาสีอีกว่า เฮ้ย อีคนใช้กาลี.
อะไรเล่า เจ้าค่ะ.
อีคนใช้ เอ็งเป็นอะไรจึงนอนตื่นสาย.
ไม่เป็นอะไร เจ้าค่ะ.
นางจึงกล่าวอีกว่า เฮ้ย อีคนชั่วร้าย ก็เมื่อไม่เป็นอะไร ทำไมเอ็งจึงนอนตื่นสายเล่า ดังนี้แล้ว ก็โกรธ ไม่พอใจ แผดเสียงด่าด้วยถ้อยคำหยาบคาย.
ภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น นางกาลีทาสีจึงคิดดังนี้ว่า นายหญิงของเรา ไม่ทำความโกรธที่มีอยู่ในภายในให้ปรากฏเท่านั้น ไม่ใช่ไม่มีความโกรธ ที่ไม่ทำความโกรธที่มีอยู่ในภายในให้ปรากฏ ก็เพราะเราจัดการงานทั้งหลายให้เรียบร้อยดี ไม่ใช่ไม่มีความโกรธ อย่ากระนั้นเลย เราจะต้องทดสอบให้ยิ่งขึ้นไปกว่านี้อีก ดังนี้.
ภิกษุทั้งหลาย ต่อมา นางกาลีทาสีก็ลุกขึ้นสายกว่าทุกวัน ครั้งนั้น แม่เรือนเวเทหิกาผู้เป็นนาย ก็ร้องด่าตวาดนางกาลีทาสีอีกว่า อีกาลีตัวร้าย.
อะไรเล่า เจ้าค่ะ.
อีคนใช้ เอ็งเป็นอะไร จึงตื่นสายนักเล่า.
ไม่เป็นอะไร เจ้าค่ะ.
นางจึงกล่าวอีกว่า เฮ้ย อีชาติชั่ว ก็ไม่เป็นอะไร ทำไมจึงนอนตื่นสายนักเล่า ดังนี้แล้ว ก็โกรธจัด จึงคว้าลิ่มประตูปาศีรษะ ปากก็ว่า กูจะทำลายหัวมึง.
ภิกษุทั้งหลาย คราวนั้น นางกาลีทาสีมีศีรษะแตก โลหิตไหลโซม จึงเที่ยวโพนทะนาให้บ้านใกล้เคียงทราบว่า คุณแม่คุณพ่อทั้งหลาย เชิญดูการกระทำของคนสงบเสงี่ยม อ่อนโยน เรียบร้อยเอาเถิด ทำไมจึงทำแก่ทาสีคนเดียวอย่างนี้เล่า เพราะโกรธเคืองว่า นอนตื่นสาย จึงคว้าลิ่มประตูปาเอาศีรษะ ปากก็ว่า กูจะทำลายหัวมึง ดังนี้ ภิกษุทั้งหลาย ตั้งแต่นั้นมา เกียรติศัพท์อันชั่วของแม่เรือนเวเทหิกา ก็ขจรไปอย่างนี้ว่า แม่เรือนเวเทหิกา เป็นคนดุร้าย ไม่อ่อนโยน ไม่สงบเสงี่ยม ไม่เรียบร้อย.
ภิกษุทั้งหลาย ฉันใดก็ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุบางรูปในกรณีนี้ เป็นผู้สงบเสงี่ยมเต็มที่อยู่ได้ อ่อนน้อมถ่อมตนเต็มที่อยู่ได้ เยือกเย็นเต็มที่อยู่ได้ เพียงชั่วเวลาที่ถ้อยคำอันไม่น่าพอใจมากระทบเท่านั้น ก็เมื่อใด ถ้อยคำอันไม่น่าพอใจมากระทบอยู่ ก็ยังสงบเสงี่ยมอยู่ได้ นั่นแหละจึงเป็นที่รู้กันได้เป็นผู้ว่าสงบเสงี่ยมจริง ยังอ่อนน้อมถ่อมตนอยู่ได้ นั่นแหละจึงจะเป็นผู้อ่อนน้อมถ่อมตนจริง ยังเยือกเย็นอยู่ได้ นั่นแหละจึงจะเป็นผู้เยือกเย็นจริง.
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใด เป็นผู้ว่าง่าย หรือถึงความเป็นผู้ว่าง่าย เพราะเหตุเพื่อจะได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เราไม่กล่าวภิกษุนั้นว่าเป็นผู้ว่าง่ายเลย ภิกษุทั้งหลาย ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะเหตุว่า ภิกษุนี้เมื่อไม่ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารนั้น ก็จะไม่เป็นผู้ว่าง่าย ไม่ถึงความเป็นผู้ว่าง่าย.
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนภิกษุใด สักการะธรรมอยู่ เคารพธรรมอยู่ นอบน้อมธรรมอยู่ เป็นผู้ว่าง่าย ถึงความเป็นผู้ว่าง่ายอยู่ เราเรียกภิกษุรูปนั้นว่า ผู้ว่าง่ายแท้จริง ดังนี้ ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ พวกเธอพึงทำการศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักเป็นผู้สักการะ เคารพ นอบน้อมธรรมอยู่ จักเป็นผู้ว่าง่าย จักถึงความเป็นผู้ว่าง่าย ดังนี้.
ภิกษุทั้งหลาย ทางแห่งถ้อยคำที่บุคคลอื่นจะพึงกล่าวหาพวกเธอ ๕ อย่างเหล่านี้มีอยู่ คือ กล่าวโดยกาลหรือโดยไม่ใช่กาล กล่าวโดยเรื่องจริงหรือโดยเรื่องไม่จริง กล่าวโดยอ่อนหวานหรือโดยหยาบคาย กล่าวด้วยเรื่องมีประโยชน์หรือไม่มีประโยชน์ กล่าวด้วยมีจิตเมตตาหรือมีโทสะในภายใน ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเขากล่าวอยู่อย่างนั้น ในกรณีนั้นๆ พวกเธอพึงทำการศึกษาอย่างนี้ว่า จิตของเราจักไม่แปรปรวน เราจักไม่กล่าววาจาอันเป็นบาป เราจักเป็นผู้มีจิตเอ็นดูเกื้อกูล มีจิตประกอบด้วยเมตตา ไม่มีโทสะในภายใน จักมีจิตประกอบด้วยเมตตาแผ่ไปยังบุคคลนั้นอยู่ และจักมีจิตประกอบด้วยเมตตา อันเป็นจิตไพบูลย์ ใหญ่หลวง ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปสู่โลกถึงที่สุดทุกทิศทาง มีบุคคลนั้นเป็นอารมณ์แล้วแลอยู่ ดังนี้ ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพึงทำการศึกษาอย่างนี้.
ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษ ถือเอาจอบและตะกร้ามาแล้ว กล่าวอย่างนี้ว่า เราจักกระทำแผ่นดินอันใหญ่นี้ไม่ให้เป็นแผ่นดิน ดังนี้ เขาจึงขุดลงตรงที่นั้นๆ โกยดินทิ้งลงในที่นั้นๆ บ้วนน้ำลายลงในที่นั้นๆ ถ่ายปัสสาวะรดในที่นั้นๆ แล้วสำทับว่า เอ็งอย่าเป็นแผ่นดิน เอ็งอย่าเป็นแผ่นดิน ดังนี้ ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นว่าอย่างไร บุรุษนั้นจักทำแผ่นดินอันใหญ่นี้ไม่ให้เป็นแผ่นดินได้หรือ.
ไม่ได้เลย ภันเต.
นั่นเพราะเหตุอะไร.
ภันเต เพราะเหตุว่าแผ่นดินอันใหญ่นี้ ลึกหาประมาณมิได้ เขาจะทำแผ่นดินอันใหญ่นี้ไม่ให้เป็นแผ่นดินไม่ได้ง่ายเลย ก็แลบุรุษนั้นจะต้องเหน็ดเหนื่อย ถึงความลำบากเสียเปล่าเป็นแน่แท้.
ภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นก็เหมือนกัน ทางแห่งถ้อยคำที่บุคคลอื่นจะพึงกล่าวหาเธอ ๕ อย่างเหล่านี้มีอยู่ คือ กล่าวโดยกาลหรือโดยไม่ใช่กาล กล่าวโดยเรื่องจริงหรือโดยเรื่องไม่จริง กล่าวโดยอ่อนหวานหรือโดยหยาบคาย กล่าวด้วยเรื่องมีประโยชน์หรือไม่มีประโยชน์ กล่าวด้วยมีจิตเมตตาหรือมีโทสะในภายใน ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเขากล่าวอยู่อย่างนั้น ในกรณีนั้นๆ พวกเธอพึงทำการศึกษาอย่างนี้ว่า จิตของเราจักไม่แปรปรวน เราจักไม่กล่าววาจาอันเป็นบาป เราจักเป็นผู้มีจิตเอ็นดูเกื้อกูล มีจิตประกอบด้วยเมตตา ไม่มีโทสะในภายในอยู่ จักมีจิตประกอบด้วยเมตตา แผ่ไปยังบุคคลนั้นอยู่ และจักมีจิตประกอบด้วยเมตตา อันเป็นจิตไพบูลย์ใหญ่หลวง ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปสู่โลกถึงที่สุดทุกทิศทาง มีบุคคลนั้นเป็นอารมณ์แล้วแลอยู่ ดังนี้ ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพึงทำการศึกษาอย่างนี้แล.
ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษถือเอาสีมา เป็นสีครั่งบ้าง สีเหลืองบ้าง สีเขียวบ้าง สีแสดบ้าง แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า เราจักเขียนรูปภาพต่างๆ ในอากาศนี้ จักทำให้มีรูปภาพปรากฏอยู่ ดังนี้ ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นว่าอย่างไร บุรุษนั้นจะเขียนรูปภาพต่างๆ ในอากาศนี้ ทำให้มีรูปภาพปรากฏอยู่ได้หรือ.
ไม่ได้เลย ภันเต.
นั่นเพราะเหตุอะไร.
ภันเต เพราะเหตุว่าอากาศนี้ เป็นสิ่งที่มีรูปภาพไม่ได้ แสดงออกซึ่งรูปภาพไม่ได้ ในอากาศนั้นไม่เป็นการง่ายที่ใครๆ จะเขียนรูปภาพ ทำให้มีรูปภาพปรากฏอยู่ได้ และบุรุษนั้นจะต้องเหน็ดเหนื่อย ถึงความลำบากเสียเปล่าเป็นแน่แท้.
ภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นก็เหมือนกัน ทางแห่งถ้อยคำที่บุคคลอื่นจะพึงกล่าวหาเธอ ๕ อย่างเหล่านี้มีอยู่ คือ กล่าวโดยกาลหรือโดยไม่ใช่กาล กล่าวโดยเรื่องจริงหรือโดยเรื่องไม่จริง กล่าวโดยอ่อนหวานหรือโดยหยาบคาย กล่าวด้วยเรื่องมีประโยชน์หรือไม่มีประโยชน์ กล่าวด้วยมีจิตเมตตาหรือมีโทสะในภายใน ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเขากล่าวอยู่อย่างนั้น ในกรณีนั้นๆ พวกเธอพึงทำการศึกษาอย่างนี้ว่า จิตของเราจักไม่แปรปรวน เราจักไม่กล่าววาจาอันเป็นบาป เราจักเป็นผู้มีจิตเอ็นดูเกื้อกูล มีจิตประกอบด้วยเมตตา ไม่มีโทสะในภายในอยู่ จักมีจิตประกอบด้วยเมตตา แผ่ไปยังบุคคลนั้นอยู่ และจักมีจิตประกอบด้วยเมตตา อันเป็นจิตไพบูลย์ใหญ่หลวง ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปสู่โลกถึงที่สุดทุกทิศทาง มีบุคคลนั้นเป็นอารมณ์แล้วแลอยู่ ดังนี้ ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพึงทำการศึกษาอย่างนี้แล.
ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษ ถือเอาคบหญ้าที่จุดไฟมาแล้ว กล่าวอย่างนี้ว่า เราจักทำแม่น้ำคงคาให้ร้อนจัด ให้เดือดเป็นพล่าน ด้วยคบหญ้าที่จุดไฟแล้วนี้ ดังนี้ ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นว่าอย่างไร บุรุษนั้นจักทำแม่น้ำคงคาให้ร้อนจัด ให้เดือดเป็นพล่าน ด้วยคบหญ้าที่จุดไฟแล้วได้หรือ.
ไม่ได้เลย ภันเต.
นั่นเพราะเหตุอะไร.
ภันเต เพราะเหตุว่าแม่น้ำคงคาเป็นแม่น้ำที่ลึกสุดที่จะประมาณ เขาจะทำแม่น้ำคงคานั้นให้ร้อนจัด ให้เดือดพล่าน ด้วยคบหญ้าที่จุดไฟแล้วไม่ได้ง่ายเลย และบุรุษนั้นจะต้องเหน็ดเหนื่อย ถึงความลำบากเสียเปล่าเป็นแน่แท้.
ภิกษุทั้งหลาย ฉันใดก็ฉันนั้นเหมือนกัน ทางแห่งถ้อยคำที่บุคคลอื่นจะพึงกล่าวหาเธอ ๕ อย่างเหล่านี้มีอยู่ คือ กล่าวโดยกาลหรือโดยไม่ใช่กาล กล่าวโดยเรื่องจริงหรือโดยเรื่องไม่จริง กล่าวโดยอ่อนหวานหรือโดยหยาบคาย กล่าวด้วยเรื่องมีประโยชน์หรือไม่มีประโยชน์ กล่าวด้วยมีจิตเมตตาหรือมีโทสะในภายใน ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเขากล่าวอยู่อย่างนั้น ในกรณีนั้นๆ พวกเธอพึงทำการศึกษาอย่างนี้ว่า จิตของเราจักไม่แปรปรวน เราจักไม่กล่าววาจาอันเป็นบาป เราจักเป็นผู้มีจิตเอ็นดูเกื้อกูล มีจิตประกอบด้วยเมตตา ไม่มีโทสะในภายในอยู่ จักมีจิตประกอบด้วยเมตตา แผ่ไปยังบุคคลนั้นอยู่ และจักมีจิตประกอบด้วยเมตตา อันเป็นจิตไพบูลย์ใหญ่หลวง ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปสู่โลกถึงที่สุดทุกทิศทาง มีบุคคลนั้นเป็นอารมณ์แล้วแลอยู่ ดังนี้ ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพึงทำการศึกษาอย่างนี้แล.
ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนกระสอบหนังแมวที่นายช่างหนังฟอกดีแล้ว ฟอกเรียบร้อยแล้ว อ่อนนุ่มดังปุยนุ่นและสำลี เป็นกระสอบที่ตีได้ไม่ดังก้อง ถ้ามีบุรุษถือเอาไม้หรือกระเบื้องมา แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า เราจักทำกระสอบหนังแมว ที่เขาฟอกดีไว้แล้ว ฟอกเรียบไว้ร้อยแล้ว อ่อนนุ่มดังปุยนุ่นและสำลี ที่ตีได้ไม่ดังก้องนี้ ให้เป็นของมีเสียงดังก้อง ด้วยไม้หรือกระเบื้อง ดังนี้ ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นว่าอย่างไร บุรุษนั้นจะทำกระสอบหนังแมวที่เขาฟอกไว้ดีแล้ว ฟอกไว้เรียบร้อยแล้ว อ่อนนุ่มดังปุยนุ่มและสำลี ที่ตีได้ไม่ดังก้องนี้ ให้กลับมีเสียงดังก้องขึ้นด้วยไม้หรือกระเบื้องได้หรือ.
ไม่ได้เลย ภันเต.
นั่นเพราะเหตุอะไร.
ภันเต เพราะเหตุว่ากระสอบหนังแมวนี้ เขาฟอกไว้ดีแล้ว ฟอกไว้เรียบร้อยแล้ว อ่อนนุ่มดังปุยนุ่นและสำลี ซึ่งเป็นของที่ตีได้ไม่ดังก้อง เขาจะทำกระสอบหนังแมวนั้น ให้กลับเป็นของมีเสียงดังก้องขึ้นด้วยไม้หรือกระเบื้องไม่ได้ง่ายเลย และบุรุษนั้นจะต้องเหน็ดเหนื่อย ถึงความลำบากเสียเปล่าเป็นแน่แท้.
ภิกษุทั้งหลาย ฉันใดก็ฉันนั้นเหมือนกัน ทางแห่งถ้อยคำที่บุคคลอื่นจะพึงกล่าวหาเธอ ๕ อย่างเหล่านี้มีอยู่ คือ กล่าวโดยกาลหรือโดยไม่ใช่กาล กล่าวโดยเรื่องจริงหรือโดยเรื่องไม่จริง กล่าวโดยอ่อนหวานหรือโดยหยาบคาย กล่าวด้วยเรื่องมีประโยชน์หรือไม่มีประโยชน์ กล่าวด้วยมีจิตเมตตาหรือมีโทสะในภายใน ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเขากล่าวอยู่อย่างนั้น ในกรณีนั้นๆ พวกเธอพึงทำการศึกษาอย่างนี้ว่า จิตของเราจักไม่แปรปรวน เราจักไม่กล่าววาจาอันเป็นบาป เราจักเป็นผู้มีจิตเอ็นดูเกื้อกูล มีจิตประกอบด้วยเมตตา ไม่มีโทสะในภายในอยู่ จักมีจิตประกอบด้วยเมตตา แผ่ไปยังบุคคลนั้นอยู่ และจักมีจิตประกอบด้วยเมตตา อันเป็นจิตไพบูลย์ใหญ่หลวง ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปสู่โลกถึงที่สุดทุกทิศทาง มีบุคคลนั้นเป็นอารมณ์แล้วแลอยู่ ดังนี้ ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพึงทำการศึกษาอย่างนี้แล.
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าโจรผู้คอยหาช่อง พึงเลื่อยอวัยวะน้อยใหญ่ของใคร ด้วยเลื่อยมีด้ามสองข้าง ผู้ใดมีใจประทุษร้ายในโจรนั้น ผู้นั้นชื่อว่าไม่ทำตามคำสอนของเรา เพราะเหตุที่มีใจประทุษร้ายต่อโจรนั้น ภิกษุทั้งหลาย ในกรณีนั้น พวกเธอพึงทำการศึกษาอย่างนี้ว่า จิตของเราจักไม่แปรปรวน เราจักไม่กล่าววาจาอันเป็นบาป เราจักเป็นผู้มีจิตเอ็นดูเกื้อกูล มีจิตประกอบด้วยเมตตา ไม่มีโทสะในภายในอยู่ จักมีจิตประกอบด้วยเมตตาแผ่ไปยังบุคคลนั้นอยู่ และจักมีจิตประกอบด้วยเมตตา อันเป็นจิตไพบูลย์ ใหญ่หลวง ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปสู่โลกถึงที่สุดทุกทิศทาง มีบุคคลนั้นเป็นอารมณ์แล้วแลอยู่ ดังนี้ ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพึงทำการศึกษาอย่างนี้แล.
ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพึงกระทำในใจถึงโอวาท อันเปรียบด้วยเลื่อยนี้อยู่เนืองๆ เถิด ภิกษุทั้งหลาย เมื่อพวกเธอทำในใจถึงโอวาทนั้นอยู่ เธอจะได้เห็นทางแห่งการกล่าวหาไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ ที่จะเธออดกลั้นไม่ได้มีอยู่อีกหรือ.
ไม่มีเลย ภันเต.
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ พวกเธอจงกระทำในใจถึงโอวาทอันเปรียบด้วยเลื่อยนี้อยู่เป็นประจำเถิด นั่นจักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล และความสุขแก่เธอทั้งหลาย ตลอดกาลนาน ดังนี้.
-บาลี มู. ม. ๑๒/๒๔๘/๒๖๓.
English translation by Bhikkhu Sujato
The Buddha said to Venerable Phagguna:
“Is it really true, Phagguna, that you’ve been mixing overly closely together with the nuns? So much so that if any mendicant criticizes those nuns in your presence, you get angry and upset, and even instigate disciplinary proceedings? And if any mendicant criticizes you in those nuns’ presence, they get angry and upset, and even instigate disciplinary proceedings? Is that how much you’re mixing overly closely together with the nuns?”
“Yes, sir.”
“Phagguna, are you not a gentleman who has gone forth from the lay life to homelessness?”
“Yes, sir.”
“As such, it’s not appropriate for you to mix so closely with the nuns. So if anyone criticizes those nuns in your presence, you should give up any desires or thoughts of the lay life. If that happens, you should train like this: ‘My mind will be unaffected. I will blurt out no bad words. I will remain full of compassion, with a heart of love and no secret hate.’ That’s how you should train.
So even if someone strikes those nuns with fists, stones, rods, and swords in your presence, you should give up any desires or thoughts of the lay life. If that
happens, you should train like this: ‘My mind will be unaffected. I will blurt out no bad words. I will remain full of compassion, with a heart of love and no secret hate.’ That’s how you should train.
So if anyone criticizes you in your presence, you should give up any desires or thoughts of the lay life. If that happens, you should train like this: ‘My mind will be unaffected. I will blurt out no bad words. I will remain full of compassion, with a heart of love and no secret hate.’ That’s how you should train.
So Phagguṇa, even if someone strikes you with fists, stones, rods, and swords, you should give up any desires or thoughts of the lay life. If that happens, you should train like this: ‘My mind will be unaffected. I will blurt out no bad words. I will remain full of compassion, with a heart of love and no secret hate.’ That’s how you should train.”
Then the Buddha said to the mendicants:
“Mendicants, I used to be satisfied with the mendicants. Once, I addressed them: ‘I eat my food in one sitting per day. Doing so, I find that I’m healthy and well, nimble, strong, and living comfortably. You too should eat your food in one sitting per day. Doing so, you’ll find that you’re healthy and well, nimble, strong, and living comfortably.’ I didn’t have to keep on instructing those mendicants; I just had to prompt their mindfulness.
Suppose a chariot stood harnessed to thoroughbreds at a level crossroads, with a goad ready. Then a deft horse trainer, a master charioteer, might mount the chariot, taking the reins in his right hand and goad in the left. He’d drive out and back wherever he wishes, whenever he wishes.
In the same way, I didn’t have to keep on instructing those mendicants; I just had to prompt their mindfulness. So, mendicants, you too should give up what’s unskillful and devote yourselves to skillful qualities. In this way you’ll achieve growth, improvement, and maturity in this teaching and training.
Suppose that not far from a town or village there was a large grove of sal trees that was choked with castor-oil weeds. Then along comes a person who wants to help protect and nurture that grove. They’d cut down the crooked sal saplings that were robbing the sap, and throw them out. They’d clean up the interior of the grove, and properly care for the straight, well-formed sal saplings. In this way, in due course, that sal grove would grow, increase, and mature.
In the same way, mendicants, you too should give up what’s unskillful and devote yourselves to skillful qualities. In this way you’ll achieve growth, improvement, and maturity in this teaching and training.
Once upon a time, mendicants, right here in Sāvatthī there was a housewife named Vedehikā. She had this good reputation: ‘The housewife Vedehikā is sweet, even-tempered, and calm.’ Now, Vedehikā had a bonded maid named Kāḷī who was skilled, tireless, and well-organized in her work.
Then Kāḷī thought, ‘My mistress has a good reputation as being sweet, even-tempered, and calm. But does she actually have anger in her and just not show it? Or does she have no anger? Or is it just because my work is well-organized that she doesn’t show anger, even though she still has it inside? Why don’t I test my mistress?’
So Kāḷī got up during the day. Vedehikā said to her, ‘What the hell, Kāḷī!’
‘What is it, madam?’
‘You’re getting up in the day—what’s up with you, girl?’
‘Nothing, madam.’
‘Nothing’s up, you bad girl, but you get up in the day!’ Angry and upset, she scowled.
Then Kāḷī thought, ‘My mistress actually has anger in her and just doesn’t show it; it’s not that she has no anger. It’s just because my work is well-organized that she doesn’t show anger, even though she still has it inside. Why don’t I test my mistress further?’
So Kāḷī got up later in the day. Vedehikā said to her, ‘What the hell, Kāḷī!’
‘What is it, madam?’
‘You’re getting up later in the day—what’s up with you, girl?’
‘Nothing, madam.’
‘Nothing’s up, you bad girl, but you get up later in the day!’ Angry and upset, she blurted out angry words.
Then Kāḷī thought, ‘My mistress actually has anger in her and just doesn’t show it; it’s not that she has no anger. It’s just because my work is well-organized that she doesn’t show anger, even though she still has it inside. Why don’t I test my mistress further?’
So Kāḷī got up even later in the day. Vedehikā said to her, ‘What the hell, Kāḷī!’
‘What is it, madam?’
‘You’re getting up even later in the day—what’s up with you, girl?’
‘Nothing, madam.’
‘Nothing’s up, you bad girl, but you get up even later in the day!’ Angry and upset, she grabbed a rolling-pin and hit Kāḷī on the head, cracking it open.
Then Kāḷī, with blood pouring from her cracked skull, denounced her mistress to the neighbors, ‘See, ladies, what the sweet one did! See what the even-tempered one did! See what the calm one did! How on earth can she grab a rolling-pin and hit her only maid on the head, cracking it open, just for getting up late?’
Then after some time the housewife Vedehikā got this bad reputation: ‘The housewife Vedehikā is fierce, ill-tempered, and not calm at all.’
In the same way, a mendicant may be the sweetest of the sweet, the most even-tempered of the even-tempered, the calmest of the calm, so long as they don’t encounter any disagreeable criticism. But it’s when they encounter disagreeable criticism that you’ll know whether they’re really sweet, even-tempered, and calm. I don’t say that a mendicant is easy to admonish if they make themselves easy to admonish only for the sake of robes, alms-food, lodgings, and medicines and supplies for the sick. Why is that? Because when they don’t get robes, alms-food, lodgings, and medicines and supplies for the sick, they’re no longer easy to admonish. But when a mendicant is easy to admonish purely because they honor, respect, revere, worship, and venerate the teaching, then I say that they’re easy to admonish. So, mendicants, you should train yourselves: ‘We will be easy to admonish purely because we honor, respect, revere, worship, and venerate the teaching.’ That’s how you should train.
Mendicants, there are these five ways in which others might criticize you. Their speech may be timely or untimely, true or false, gentle or harsh, beneficial or harmful, from a heart of love or from secret hate. When others criticize you, they may do so in any of these ways. If that happens, you should train like this: ‘Our minds will remain unaffected. We will blurt out no bad words. We will remain full of compassion, with a heart of love and no secret hate. We will meditate spreading a heart of love to that person. And with them as a basis, we will meditate spreading a heart full of love to everyone in the world—abundant, expansive, limitless, free of enmity and ill will.’ That’s how you should train.
Suppose a person was to come along carrying a spade and basket and say, ‘I shall make this great earth be without earth!’ And they’d dig all over, scatter all over, spit all over, and urinate all over, saying, ‘Be without earth! Be without earth!’
What do you think, mendicants? Could that person make this great earth be without earth?”
“No, sir. Why is that? Because this great earth is deep and limitless. It’s not easy to make it be without earth. That person will eventually get weary and frustrated.”
“In the same way, there are these five ways in which others might criticize you. Their speech may be timely or untimely, true or false, gentle or harsh, beneficial or harmful, from a heart of love or from secret hate. When others criticize you, they may do so in any of these ways. If that happens, you should train like this: ‘Our minds will remain unaffected. We will blurt out no bad words. We will remain full of compassion, with a heart of love and no secret hate. We will meditate spreading a heart of love to that person. And with them as a basis, we will meditate spreading a heart like the earth to everyone in the world—abundant, expansive, limitless, free of enmity and ill will.’ That’s how you should train.
Suppose a person was to come along with dye such as red lac, turmeric, indigo, or rose madder, and say, ‘I shall draw pictures on the sky, making pictures appear there.’
What do you think, mendicants? Could that person draw pictures on the sky?”
“No, sir. Why is that? Because the sky is formless and invisible. It’s not easy to draw pictures there. That person will eventually get weary and frustrated.”
“In the same way, there are these five ways in which others might criticize you …
Suppose a person was to come along carrying a blazing grass torch, and say, ‘I shall burn and scorch the river Ganges with this blazing grass torch.’
What do you think, mendicants? Could that person burn and scorch the river Ganges with a blazing grass torch?”
“No, sir. Why is that? Because the river Ganges is deep and limitless. It’s not easy to burn and scorch it with a blazing grass torch. That person will eventually get weary and frustrated.”
“In the same way, there are these five ways in which others might criticize you …
Suppose there was a catskin bag that was rubbed, well-rubbed, very well-rubbed, soft, silky, rid of rustling and crackling. Then a person comes along carrying a stick or a stone, and says, ‘I shall make this soft catskin bag rustle and crackle with this stick or stone.’
What do you think, mendicants? Could that person make that soft catskin bag rustle and crackle with that stick or stone?”
“No, sir. Why is that? Because that catskin bag is rubbed, well-rubbed, very well-rubbed, soft, silky, rid of rustling and crackling. It’s not easy to make it rustle or crackle with a stick or stone. That person will eventually get weary and frustrated.”
“In the same way, there are these five ways in which others might criticize you. Their speech may be timely or untimely, true or false, gentle or harsh, beneficial or harmful, from a heart of love or from secret hate. When others criticize you, they may do so in any of these ways. If that happens, you should train like this: ‘Our minds will remain unaffected. We will blurt out no bad words. We will remain full of compassion, with a heart of love and no secret hate. We will meditate spreading a heart of love to that person. And with them as a basis, we will meditate spreading a heart like a catskin bag to everyone in the world—abundant, expansive, limitless, free of enmity and ill will.’ That’s how you should train.
Even if low-down bandits were to sever you limb from limb, anyone who had a malevolent thought on that account would not be following my instructions. If that happens, you should train like this: ‘Our minds will remain unaffected. We will blurt out no bad words. We will remain full of compassion, with a heart of love and no secret hate. We will meditate spreading a heart of love to that person. And with them as a basis, we will meditate spreading a heart full of love to everyone in the world—abundant, expansive, limitless, free of enmity and ill will.’ That’s how you should train.
If you frequently reflect on this advice—the simile of the saw—do you see any criticism, large or small, that you could not endure?”
“No, sir.”
“So, mendicants, you should frequently reflect on this advice, the simile of the saw. This will be for your lasting welfare and happiness.”
That is what the Buddha said. Satisfied, the mendicants were happy with what the Buddha said.