ลักษณะของความเป็นทุกข์
ภิกษุทั้งหลาย ความเป็นทุกข์ ๓ ประการเหล่านี้ ๓ ประการอะไรบ้าง คือ
๑) ความเป็นทุกข์ เพราะทนได้ยาก (ทุกฺขทุกฺขตา)
๒) ความเป็นทุกข์ เพราะเป็นของปรุงแต่ง (สงฺขารทุกฺขตา)
๓) ความเป็นทุกข์ เพราะมีความแปรปรวนเป็นประการอื่น (วิปริณามทุกฺขตา)
ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้แล ความเป็นทุกข์ ๓ ประการ.
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละความเป็นทุกข์ ๓ ประการเหล่านี้
ภิกษุทั้งหลาย อริยมรรคมีองค์ ๘ อะไรบ้าง คือ ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ อันอาศัยวิเวก (ความสงัด) อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อโวสสัคคะ (การสละ หรือการปล่อย) ย่อมเจริญสัมมาสังกัปปะ … ย่อมเจริญสัมมาวาจา … ย่อมเจริญสัมมากัมมันตะ … ย่อมเจริญสัมมาอาชีวะ … ย่อมเจริญสัมมาวายามะ … ย่อมเจริญสัมมาสติ … ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อโวสสัคคะ.
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ เหล่านี้ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละความเป็นทุกข์ ๓ ประการเหล่านี้แล.
-บาลี มหาวาร. สํ. 19/85/319.
https://84000.org/tipitaka/pali/?19//85,
https://etipitaka.com/read/pali/19/85
English translation by Bhikkhu Sujato
“Mendicants, there are these three forms of suffering. What three? The suffering inherent in painful feeling; the suffering inherent in conditions; and the suffering inherent in perishing. These are the three forms of suffering.
The noble eightfold path should be developed for the direct knowledge, complete understanding, finishing, and giving up of these three forms of suffering.”
English translation by Bhikkhu Bodhi
“Bhikkhus, there are these three kinds of suffering. What three? Suffering due to pain, suffering due to formations, suffering due to change. These are the three kinds of suffering. The Noble Eightfold Path is to be developed for direct knowledge of these three kinds of suffering, for the full understanding of them, for their utter destruction, for their abandoning.”