กำเนิดบรรพบุรุษของมนุษย์
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารบุพพาราม เป็นปราสาทของนางวิสาขามิคารมารดา เขตพระนครสาวัตถี สมัยนั้น สามเณรวาเสฏฐะกับสามเณรภารทวาชะหวังความเป็นภิกษุ จึงอยู่อบรมในสำนักภิกษุทั้งหลาย เย็นวันหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงออกจากที่หลีกเร้นแล้ว ได้เสด็จลงจากปราสาท เดินจงกรมอยู่ในที่แจ้ง ใต้ร่มเงาของปราสาท.
สามเณรวาเสฏฐะได้เห็นพระผู้มีพระภาค ทรงออกจากที่หลีกเร้นแล้ว ได้เสด็จลงจากปราสาท กำลังเดินจงกรมอยู่ในที่แจ้ง ใต้ร่มเงาของปราสาทในเวลาเย็น ครั้นแล้วจึงเรียกสามเณรภารทวาชะมากล่าวว่า อาวุโส ภารทวาชะ พระผู้มีพระภาคนี้ทรงออกจากที่หลีกเร้นแล้ว ได้เสด็จลงจากปราสาท เดินจงกรมอยู่ในที่แจ้ง ใต้ร่มเงาของปราสาทในเวลาเย็น มาเถิด เราจักพากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ประทับ บางทีเราอาจจะได้ฟังธรรมีกถา เฉพาะพระพักตร์ของพระองค์บ้างเป็นแน่ ส่วนสามเณรภารทวาชะก็รับคำของสามเณรวาเสฏฐะ.
ครั้งนั้น สามเณรวาเสฏฐะกับสามเณรภารทวาชะ พากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ประทับ ครั้นแล้วถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้ว ได้เดินจงกรมตามผู้มีพระภาค ซึ่งกำลังเดินจงกรมอยู่ ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกสามเณรวาเสฏฐะและสามเณรภารทวาชะมา แล้วตรัสว่า
วาเสฏฐะและภารทวาชะ เธอทั้งสองมีชาติกำเนิดเป็นพราหมณ์ มีตระกูลเป็นพราหมณ์ ออกจากตระกูลของพราหมณ์ บวชเป็นบรรพชิต วาเสฏฐะและภารทวาชะ พวกพราหมณ์ไม่ด่าไม่บริภาษเธอทั้งสองบ้างหรือ.
สามเณรทั้งสองนั้นจึงทูลว่า ภันเต พวกพราหมณ์พากันด่า พากันบริภาษข้าพระองค์ทั้งสอง ด้วยคำเหยียดหยามอย่างสมใจ อย่างเต็มที่ ไม่มีลดหย่อนเลย.
พระผู้มีพระภาคจึงตรัสถามต่อไปว่า ก็พวกพราหมณ์พากันด่า พากันบริภาษเธอทั้งสองด้วยถ้อยคำอันเหยียดหยามอย่างสมใจ อย่างเต็มที่ ไม่มีลดหย่อนเป็นอย่างไรเล่า.
ภันเต พวกพราหมณ์พากันกล่าวอย่างนี้ว่า พวกพราหมณ์เท่านั้นเป็นวรรณะที่ประเสริฐที่สุด พวกอื่นเป็นวรรณะที่เลวทราม พวกพราหมณ์เท่านั้นที่เป็นวรรณะขาว พวกอื่นเป็นวรรณะดำ พวกพราหมณ์เท่านั้นที่บริสุทธิ์ พวกอื่นที่ไม่ใช่พราหมณ์ไม่บริสุทธิ์ พวกพราหมณ์เป็นบุตร เป็นโอรส ที่เกิดจากปากของพรหม มีกำเนิดมาจากพรหม อันพรหมเนรมิตขึ้น เป็นทายาทของพรหม เจ้าทั้งสองคนมาละวรรณะที่ประเสริฐที่สุดเสีย แล้วเข้าไปอยู่ในวรรณะที่เลวทราม คือ พวกสมณะที่มีศีรษะโล้น เป็นพวกคนรับใช้ เป็นพวกดำ (วรรณะต่ำ) เป็นพวกเกิดจากเท้าของพรหม เจ้าทั้งสองคนมาละพวกที่ประเสริฐที่สุดเสีย แล้วเข้าไปอยู่ในวรรณะที่เลวทราม คือ พวกสมณะที่มีศีรษะโล้น เป็นพวกคนรับใช้ เป็นพวกดำ เป็นพวกเกิดจากเท้าของพรหม ข้อนั้นไม่ดีเลย ไม่สมควรเลย ภันเต พวกพราหมณ์พากันด่า พากันบริภาษข้าพระองค์ทั้งสองด้วยถ้อยคำที่เหยียดหยาม อย่างสมใจ อย่างเต็มที่ ไม่มีลดหย่อนเลยอย่างนี้.
พระองค์จึงตรัสว่า วาเสฏฐะและภารทวาชะ พวกพราหมณ์ระลึกถึงเรื่องเก่าของพวกเขาไม่ได้ จึงพากันกล่าวอย่างนี้ว่า พวกพราหมณ์เท่านั้นเป็นวรรณะที่ประเสริฐที่สุด พวกอื่นเป็นวรรณะที่เลวทราม พวกพราหมณ์เท่านั้นที่เป็นวรรณะขาว พวกอื่นเป็นวรรณะดำ พวกพราหมณ์เท่านั้นที่บริสุทธิ์ พวกอื่นที่ไม่ใช่พราหมณ์ไม่บริสุทธิ์ พวกพราหมณ์เป็นบุตร เป็นโอรส ที่เกิดจากปากของพรหม มีกำเนิดมาจากพรหม อันพรหมเนรมิตขึ้น เป็นทายาทของพรหม ดังนี้.
วาเสฏฐะและภารทวาชะ ก็ปรากฎชัดเจนอยู่ว่า นางพราหมณีทั้งหลายของพวกพราหมณ์ มีระดูบ้าง มีครรภ์บ้าง คลอดอยู่บ้าง ให้ลูกดื่มนมอยู่บ้าง อันที่จริง พวกพราหมณ์เหล่านั้นก็ล้วนแต่เกิดจากช่องคลอดของนางพราหมณีทั้งนั้น แล้วพากันกล่าวอย่างนี้ว่า พวกพราหมณ์เท่านั้นเป็นวรรณะที่ประเสริฐที่สุด พวกอื่นเป็นวรรณะที่เลวทราม พวกพราหมณ์เท่านั้นที่เป็นวรรณะขาว พวกอื่นเป็นวรรณะดำ พวกพราหมณ์เท่านั้นที่บริสุทธิ์ พวกอื่นที่ไม่ใช่พราหมณ์ไม่บริสุทธิ์ พวกพราหมณ์เป็นบุตร เป็นโอรส ที่เกิดจากปากของพรหม มีกำเนิดมาจากพรหม อันพรหมเนรมิตขึ้น เป็นทายาทของพรหม เขาเหล่านั้นกล่าวตู่พรหม และพูดเท็จ พวกเขาจะต้องประสบสิ่งที่ไม่ใช่บุญเป็นอันมาก.
วาเสฏฐะและภารทวาชะ วรรณะ ๔ เหล่านี้มีอยู่ คือ กษัตริย์ พราหมณ์ เวสส์ สูทท์ ในกรณีนี้ แม้กษัตริย์บางพระองค์ มีปกติฆ่าสัตว์ มีปกติถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ มีปกติประพฤติผิดในกามทั้งหลาย มีปกติพูดเท็จ มีปกติพูดส่อเสียด มีปกติพูดคำหยาบ มีปกติพูดเพ้อเจ้อ มากไปด้วยอภิชฌา มีจิตพยาบาท มีมิจฉาทิฏฐิ วาเสฏฐะและภารทวาชะ ด้วยประการดังที่กล่าวมานี้ ธรรมเหล่าใดเป็นอกุศล นับว่าเป็นอกุศล ธรรมเหล่าใดมีโทษ นับว่ามีโทษ ธรรมเหล่าใดไม่ควรเสพ นับว่าไม่ควรเสพ ธรรมเหล่าใดไม่ทำความเป็นอริยะ นับว่าไม่ทำความเป็นอริยะ ธรรมเหล่าใดเป็นธรรมดำ มีวิบากดำ ผู้รู้ทั้งหลายติเตียน อกุศลธรรมเหล่านั้น มีปรากฏอย่างชัดเจนในกษัตริย์บางพระองค์ในกรณีนี้.
วาเสฏฐะและภารทวาชะ ในกรณีนี้ แม้พราหมณ์บางคน …
วาเสฏฐะและภารทวาชะ ในกรณีนี้ แม้เวสส์บางคน …
วาเสฏฐะและภารทวาชะ ในกรณีนี้ แม้สูทท์บางคน ปกติฆ่าสัตว์ มีปกติถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ มีปกติประพฤติผิดในกามทั้งหลาย มีปกติพูดเท็จ มีปกติพูดส่อเสียด มีปกติพูดคำหยาบ มีปกติพูดเพ้อเจ้อ มากไปด้วยอภิชฌา มีจิตพยาบาท มีมิจฉาทิฏฐิ วาเสฏฐะและภารทวาชะ ด้วยประการดังที่กล่าวมานี้ ธรรมเหล่าใดเป็นอกุศล นับว่าเป็นอกุศล ธรรมเหล่าใดมีโทษ นับว่ามีโทษ ธรรมเหล่าใดไม่ควรเสพ นับว่าไม่ควรเสพ ธรรมเหล่าใดไม่ทำความเป็นอริยะ นับว่าไม่ทำความเป็นอริยะ ธรรมเหล่าใดเป็นธรรมดำ มีวิบากดำ ผู้รู้ทั้งหลายติเตียน อกุศลธรรมเหล่านั้น มีปรากฏอย่างชัดเจนในสูทท์บางคนในกรณีนี้.
วาเสฏฐะและภารทวาชะ ในกรณีนี้ แม้กษัตริย์บางพระองค์ เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เป็นผู้เว้นขาดจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ เป็นผู้เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกามทั้งหลาย เป็นผู้เว้นขาดจากการพูดเท็จ เป็นผู้เว้นขาดจากการพูดส่อเสียด เป็นผู้เว้นขาดจากการพูดคำหยาบ เป็นผู้เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ ไม่มีอภิชฌา มีจิตไม่พยาบาท มีสัมมาทิฏฐิ วาเสฏฐะและภารทวาชะ ด้วยประการดังที่กล่าวมานี้ ธรรมเหล่าใดเป็นกุศล นับว่าเป็นกุศล ธรรมเหล่าใดไม่มีโทษ นับว่าไม่มีโทษ ธรรมเหล่าใดควรเสพ นับว่าควรเสพ ธรรมเหล่าใดสามารถทำความเป็นอริยะ นับว่าสามารถทำความเป็นอริยะ ธรรมเหล่าใดเป็นธรรมขาว มีวิบากขาว ผู้รู้ทั้งหลายสรรเสริญ กุศลธรรมเหล่านั้น มีปรากฏอย่างชัดเจนในกษัตริย์บางพระองค์ในกรณีนี้.
วาเสฏฐะและภารทวาชะ ในกรณีนี้ แม้พราหมณ์บางคน …
วาเสฏฐะและภารทวาชะ ในกรณีนี้ แม้เวสส์บางคน …
วาเสฏฐะและภารทวาชะ ในกรณีนี้ แม้สูทท์บางคน เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เป็นผู้เว้นขาดจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ เป็นผู้เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกามทั้งหลาย เป็นผู้เว้นขาดจากการพูดเท็จ เป็นผู้เว้นขาดจากการพูดส่อเสียด เป็นผู้เว้นขาดจากการพูดคำหยาบ เป็นผู้เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ ไม่มีอภิชฌา มีจิตไม่พยาบาท มีสัมมาทิฏฐิ วาเสฏฐะและภารทวาชะ ด้วยประการดังที่กล่าวมานี้ ธรรมเหล่าใดเป็นกุศล นับว่าเป็นกุศล ธรรมเหล่าใดไม่มีโทษ นับว่าไม่มีโทษ ธรรมเหล่าใดควรเสพ นับว่าควรเสพ ธรรมเหล่าใดสามารถทำความเป็นอริยะ นับว่าสามารถทำความเป็นอริยะ ธรรมเหล่าใดเป็นธรรมขาว มีวิบากขาว ผู้รู้ทั้งหลายสรรเสริญ กุศลธรรมเหล่านั้น มีปรากฏอย่างชัดเจนในสูทท์บางคนในกรณีนี้.
วาเสฏฐะและภารทวาชะ ก็เมื่อวรรณะทั้ง ๔ เหล่านี้ รวมกันเป็นบุคคล ๒ จำพวก คือพวกที่ตั้งอยู่ในธรรมดำ ผู้รู้ทั้งหลายติเตียนจำพวกหนึ่ง พวกที่ตั้งอยู่ในธรรมขาว ผู้รู้ทั้งหลายสรรญเสริญจำพวกหนึ่ง ในเรื่องนี้ เหตุใดพวกพราหมณ์จึงพากันกล่าวอยู่อย่างนี้ว่า พวกพราหมณ์เท่านั้นเป็นวรรณะที่ประเสริฐที่สุด พวกอื่นเป็นวรรณะที่เลวทราม พวกพราหมณ์เท่านั้นที่เป็นวรรณะขาว พวกอื่นเป็นวรรณะดำ พวกพราหมณ์เท่านั้นที่บริสุทธิ์ พวกอื่นที่ไม่ใช่พราหมณ์ไม่บริสุทธิ์ พวกพราหมณ์เป็นบุตร เป็นโอรส ที่เกิดจากปากของพรหม มีกำเนิดมาจากพรหม อันพรหมเนรมิตขึ้น เป็นทายาทของพรหม ดังนี้เล่า ผู้รู้ทั้งหลายย่อมไม่รับรองถ้อยคำของพวกพราหมณ์เหล่านั้น ข้อนั้นเพราะเหตุใด วาเสฏฐะและภารทวาชะ เพราะว่า บรรดาวรรณะทั้ง ๔ เหล่านั้น ภิกษุใดเป็นอรหันต์ สิ้นอาสวะแล้ว มีพรหมจรรย์อยู่จบแล้ว มีกิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว วางภาระได้แล้ว มีประโยชน์ของตนอันบรรลุถึงแล้วโดยลำดับ สิ้นสังโยชน์ที่จะนำไปสู่ภพแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ ผู้นั้นเรียกได้ว่าเป็นผู้เลิศกว่าคนทั้งหลายโดยธรรม ไม่ใช่โดยอธรรม เพราะว่าธรรมเท่านั้นเป็นสิ่งประเสริฐที่สุดในหมู่มหาชน ทั้งในปัจจุบันและในอภิสัมปรายะ วาเสฏฐะและภารทวาชะ โดยปริยายนี้ เธอทั้งสองพึงทราบเถิดว่า ธรรมเท่านั้นเป็นสิ่งประเสริฐที่สุดในหมู่มหาชน ทั้งในปัจจุบันและในอภิสัมปรายะ (ภายหน้า).
วาเสฏฐะและภารทวาชะ พระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงทราบแน่ชัดว่า พระสมณโคดม ได้ออกจากตระกูลศากายะบวชเป็นบรรพชิต ดังนี้ วาเสฏฐะและภารทวาชะ ก็พวกศากยะยังต้องเป็นผู้ตามเสด็จพระเจ้าปเสนทิโกศลอยู่ตลอดเวลา และพวกเจ้าศากยะต้องทำการนอบน้อม การอภิวาท การต้อนรับ การทำอัญชลีกรรม การทำสามีจิกรรมในพระเจ้าปเสนทิโกศลอยู่ วาเสฏฐะและภารทวาชะ ด้วยประการดังที่กล่าวมานี้ พวกเจ้าศากยะยังต้องทำการนอบน้อม การอภิวาท การต้อนรับ การทำอัญชลีกรรม การทำสามีจิกรรมอันใดอยู่ในพระเจ้าปเสนทิโกศล ถึงกระนั้น กิริยาที่ทำการนอบน้อม การอภิวาท การต้อนรับ การทำอัญชลีกรรม การทำสามีจิกรรมอันนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลก็ยังทรงกระทำอยู่ในตถาคต พระองค์ไม่ได้ทำการนอบน้อม การอภิวาท การต้อนรับ การทำอัญชลีกรรม การทำสามีจิกรรม ด้วยทรงถือว่า พระสมณโคดมเป็นผู้มีชาติกำเนิดสูง เรามีชาติกำเนิดต่ำกว่า พระสมณโคดมเป็นผู้มีกำลังมาก เรามีกำลังน้อยกว่า พระสมณโคดมเป็นผู้มีผิวพรรณผ่องใส เรามีผิวพรรณเศร้าหมอง พระสมณโคดมเป็นผู้สูงศักดิ์ เราเป็นผู้ต่ำศักดิ์กว่า ดังนี้ โดยที่แท้ พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงสักการะธรรม เคารพธรรม นับถือธรรม บูชาธรรม นอบน้อมธรรม จึงทรงทำการนอบน้อม การอภิวาท การต้อนรับ การทำอัญชลีกรรม การทำสามีจิกรรมในตถาคตอยู่ด้วยอาการอย่างนี้ วาเสฏฐะและภารทวาชะ โดยปริยายนี้ เธอทั้งสองพึงทราบเถิดว่า ธรรมเท่านั้นเป็นสิ่งประเสริฐที่สุดในหมู่มหาชน ทั้งในปัจจุบันและในอภิสัมปรายะ.
วาเสฏฐะและภารทวาชะ เธอทั้ง ๒ มีชาติต่างกัน มีนามต่างกัน มีโคตรต่างกัน มีสกุลต่างกัน ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตแล้ว เมื่อถูกถามว่า พวกท่านเป็นใคร ดังนี้ พวกเธอพึงตอบเขาว่า เราทั้งหลาย เป็นสมณสากยปุตติยะ ดังนี้เถิด.
วาเสฏฐะและภารทวาชะ ผู้ใดมีศรัทธาตั้งมั่นในตถาคต ฝังลงรากแล้ว ดำรงอยู่ได้มั่นคง อันสมณะหรือพราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลกก็ตาม ไม่ชักนำไปทางอื่นได้ ผู้นั้นควรที่จะกล่าวอย่างนี้ว่า เราเป็นบุตร เป็นโอรส เกิดจากพระโอษฐ์ของพระผู้มีพระภาค เกิดโดยธรรม เนรมิตโดยธรรม เป็นทายาทโดยธรรม ดังนี้ ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะคำว่า ธรรมกายก็ดี พรหมกายก็ดี ธรรมภูตก็ดี พรหมภูตก็ดี ล้วนเป็นชื่อของตถาคต.
วาเสฏฐะและภารทวาชะ มีสมัยในกาลบางครั้งบางคราว โดยการล่วงไปแห่งกาลนานไกล ที่โลกนี้จะพินาศ (โลโก สํวฏฺฏติ) เมื่อโลกกำลังพินาศอยู่ โดยมาก เหล่าสัตว์ย่อมเกิดในอาภัสสระ สัตว์เหล่านั้น ได้สำเร็จทางใจ1 มีปีติเป็นอาหาร มีรัศมีซ่านออกจากกายตนเอง สัญจรไปได้ในอากาศ อยู่ในวิมานอันงาม สถิตอยู่ในภพนั้นสิ้นกาลยืดยาวช้านาน.
วาเสฏฐะและภารทวาชะ มีสมัยในกาลบางครั้งบางคราว โดยการล่วงไปแห่งกาลนานไกล ที่โลกนี้จะกลับเจริญขึ้น (โลโก วิวฏฺฏติ) เมื่อโลกกำลังเจริญขึ้นอยู่ โดยมากเหล่าสัตว์พากันจุติจากอาภัสสระ มาสู่ความเป็นอย่างนี้ และสัตว์เหล่านั้น ได้สำเร็จทางใจ มีปีติเป็นอาหาร มีรัศมีซ่านออกจากกายตนเอง สัญจรไปได้ในอากาศ อยู่ในวิมานอันงาม สถิตอยู่ในภพนั้นสิ้นกาลยืดยาวช้านาน ก็ในสมัยนั้น จักรวาลทั้งสิ้นนี้ เป็นน้ำทั้งนั้น มืดมนมองไม่เห็นอะไร ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ก็ยังไม่ปรากฏ ดาวนักษัตรและดาวทั้งหลายก็ยังไม่ปรากฏ กลางคืนและกลางวันก็ยังไม่ปรากฏ เดือนและปักษ์ก็ยังไม่ปรากฏ ฤดูและปีก็ยังไม่ปรากฏ เพศชายและเพศหญิงก็ยังไม่ปรากฏ สัตว์ทั้งหลาย ถึงซึ่งการนับเพียงว่าสัตว์เท่านั้น.
วาเสฏฐะและภารทวาชะ ครั้นต่อมา โดยการล่วงไปแห่งกาลนานไกล ได้มีง้วนดิน2 (รสปฐวี) เกิดขึ้นปรากฏแก่สัตว์เหล่านั้น ง้วนดินนี้ลอยอยู่ทั่วไปบนน้ำ เหมือนนมสดที่บุคคลเคี่ยวให้งวด แล้วตั้งไว้ให้เย็น จับเป็นฝาอยู่ข้างบน ง้วนดินนั้นถึงพร้อมด้วยสี กลิ่น และรส มีสีคล้ายเนยใส หรือเนยข้นอย่างดี มีรสอร่อยดุจรวงผึ้งเล็ก อันหาโทษไม่ได้ วาเสฏฐะและภารทวาชะ ต่อมา สัตว์ผู้หนึ่งเป็นคนโลเลกล่าวว่า ท่านผู้เจริญสิ่งนี้เป็นอะไร แล้วใช้นิ้วช้อนง้วนดินขึ้นมาลิ้มดู เมื่อเขาใช้นิ้วช้อนง้วนดินขึ้นมาลิ้มดูอยู่ รสง้วนดินได้แผ่ซ่านไป เขาจึงเกิดความอยากในรส วาเสฏฐะและภารทวาชะ แม้สัตว์เหล่าอื่นก็พากันทำตามอย่างของสัตว์นั้น จึงใช้นิ้วช้อนง้วนดินขึ้นมาลิ้มดู เมื่อสัตว์เหล่านั้น พากันเอานิ้วช้อนง้วนดินขึ้นมาลิ้มดูอยู่ รสของง้วนดินได้แผ่ซ่านไปแล้ว สัตว์เหล่านั้นจึงเกิดความอยากในรสขึ้นเช่นเดียวกัน วาเสฏฐะและภารทวาชะ ต่อมา สัตว์เหล่านั้นก็พากันใช้มือปั้นง้วนดินให้เป็นคำๆ แล้วบริโภค เมื่อใด สัตว์เหล่านั้นพากันใช้มือปั้นง้วนดินให้เป็นคำๆ แล้วบริโภค เมื่อนั้น รัศมีกายของสัตว์เหล่านั้นก็ได้หายไป เมื่อรัศมีกายหายไป ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ย่อมปรากฏ เมื่อดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ปรากฏ ดาวนักษัตรและดาวทั้งหลายย่อมปรากฏ เมื่อดาวนักษัตรและดาวทั้งหลายปรากฏ กลางคืนและกลางวันย่อมปรากฏ เมื่อกลางคืนและกลางวันปรากฏ เดือนและปักษ์ย่อมปรากฏ เมื่อเดือนและปักษ์ปรากฏ ฤดูและปีย่อมปรากฏ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ โลกนี้จึงกลับเจริญขึ้นอีก.
วาเสฏฐะและภารทวาชะ ครั้นต่อมา สัตว์เหล่านั้นพากันบริโภคง้วนดิน รับประทานง้วนดิน มีง้วนดินเป็นอาหาร ดำรงอยู่มาได้สิ้นกาลช้านาน วาเสฏฐะและภารทวาชะ ด้วยเหตุที่สัตว์เหล่านั้น พากันบริโภคง้วนดิน รับประทานง้วนดิน มีง้วนดินเป็นอาหาร ดำรงอยู่มาได้สิ้นกาลช้านาน สัตว์เหล่านั้นจึงมีร่างกายหยาบขึ้น ทั้งผิวพรรณก็ปรากฏว่าแตกต่างกันออกไป สัตว์บางพวกมีผิวพรรณงาม สัตว์บางพวกมีผิวพรรณไม่งาม ในสัตว์ทั้งสองพวกนั้น สัตว์พวกที่มีผิวพรรณงาม ได้พากันดูหมิ่นสัตว์พวกที่มีผิวพรรณไม่งาม เมื่อสัตว์เหล่านั้น เกิดมีมานะถือตัว เพราะการดูหมิ่นกันเรื่องผิวพรรณเป็นปัจจัย ง้วนดินจึงหายไป เมื่อง้วนดินหายไป สัตว์เหล่านั้นจึงประชุมกัน ครั้นแล้วต่างก็พากันโหยหาว่า รสเอ๋ย รสเอ๋ย3 แม้ทุกวันนี้ก็เหมือนกัน พวกมนุษย์ได้ของมีรสดีบางอย่าง มักกล่าวอย่างนี้ว่า รสเอ๋ย รสเอ๋ย พวกพราหมณ์มาระลึกถึงอักขระที่รู้กันว่าเป็นของดี อันเป็นของโบราณนั้นเท่านั้น แต่พวกเขาไม่รู้ชัดถึงเนื้อความแห่งอักขระนั้นเลย.
วาเสฏฐะและภารทวาชะ เมื่อง้วนดินหายไปแล้ว ก็ได้มีสะเก็ดดิน4 (ภูมิปปฺปฏิก) เกิดขึ้น สะเก็ดดินนั้นปรากฏลักษณะเหมือนดอกเห็ด สะเก็ดดินนั้นถึงพร้อมด้วยสี กลิ่น และรส มีสีเหมือนเนยใสหรือเนยขึ้นอย่างดี และมีรสอร่อยดุจรวงผึ้งเล็ก อันหาโทษไม่ได้ วาเสฏฐะและภารทวาชะ ครั้งนั้น สัตว์เหล่านั้นจึงเริ่มพากันบริโภคสะเก็ดดิน สัตว์เหล่านั้นได้พากันบริโภคสะเก็ดดิน รับประทานสะเก็ดดิน มีสะเก็ดดินเป็นอาหาร ดำรงอยู่มาได้สิ้นกาลช้านาน วาเสฏฐะและภารทวาชะ ด้วยเหตุที่สัตว์เหล่านั้น พากันบริโภคสะเก็ดดิน รับประทานสะเก็ดดิน มีสะเก็ดดินเป็นอาหาร ดำรงอยู่มาได้สิ้นกาลช้านาน สัตว์เหล่านั้นจึงมีร่างกายหยาบขึ้น ทั้งผิวพรรณก็ปรากฏว่าแตกต่างกันออกไป สัตว์บางพวกมีผิวพรรณงาม สัตว์บางพวกมีผิวพรรณไม่งาม ในสัตว์ทั้งสองพวกนั้น สัตว์พวกที่มีผิวพรรณงาม ได้พากันดูหมิ่นสัตว์พวกที่มีผิวพรรณไม่งาม เมื่อสัตว์เหล่านั้น เกิดมีมานะถือตัว เพราะการดูหมิ่นกันเรื่องผิวพรรณเป็นปัจจัย สะเก็ดดินจึงหายไป
วาเสฏฐะและภารทวาชะ เมื่อสะเก็ดดินหายไปแล้ว ก็ได้มีเครือดิน (ปทาลตา)5 เกิดขึ้น เครือดินนั้นปรากฏคล้ายเถาผักบุ้ง เครือดินนั้นถึงพร้อมด้วยสี กลิ่น และรส มีสีคล้ายเนยใส หรือเนยข้นอย่างดี มีรสอร่อยดุจรวงผึ้งเล็ก อันหาโทษไม่ได้ วาเสฏฐะและภารทวาชะ ครั้งนั้น สัตว์เหล่านั้นจึงเริ่มพากันบริโภคเครือดินกัน สัตว์เหล่านั้นได้พากันบริโภคเครือดิน รับประทานเครือดิน มีเครือดินเป็นอาหาร ดำรงอยู่มาได้สิ้นกาลช้านาน วาเสฏฐะและภารทวาชะ ด้วยเหตุที่สัตว์เหล่านั้น พากันบริโภคเครือดิน รับประทานเครือดิน มีเครือดินเป็นอาหาร ดำรงอยู่มาได้สิ้นกาลช้านาน สัตว์เหล่านั้นจึงมีร่างกายหยาบขึ้น ทั้งผิวพรรณก็ปรากฏว่าแตกต่างกันออกไป สัตว์บางพวกมีผิวพรรณงาม สัตว์บางพวกมีผิวพรรณไม่งาม ในสัตว์ทั้งสองพวกนั้น สัตว์พวกที่มีผิวพรรณงาม ได้พากันดูหมิ่นสัตว์พวกที่มีผิวพรรณไม่งาม เมื่อสัตว์เหล่านั้น เกิดมีมานะถือตัว เพราะการดูหมิ่นกันเรื่องผิวพรรณเป็นปัจจัย เครือดินจึงหายไป เมื่อเครือดินหายไป สัตว์เหล่านั้นจึงประชุมกัน ครั้นแล้วต่างก็พากันโหยหาว่า พวกเราเคยมีเครือดิน บัดนี้เครือดินของพวกเราหายไปแล้ว แม้ทุกวันนี้ก็เหมือนกัน พวกมนุษย์ถูกความทุกข์ระทมอย่างใดอย่างหนึ่งกระทบเข้า ก็พากันพร่ำบ่นว่า เราเคยมีของสิ่งนี้ แต่เดี๋ยวนี้ของของเราได้หายไปแล้ว พวกพราหมณ์มาระลึกถึงอักขระที่รู้กันว่าเป็นของดี อันเป็นของโบราณนั้นเท่านั้น แต่พวกเขาไม่รู้ชัดถึงเนื้อความแห่งอักขระนั้นเลย.
วาเสฏฐะและภารทวาชะ เมื่อเครือดินหายไปแล้ว ก็ได้มีข้าวสาลีอันเกิดขึ้นเอง ในที่ที่ไม่ต้องไถ เป็นข้าวไม่มีรำ ไม่มีแกลบ ขาวสะอาด มีกลิ่นหอม มีเมล็ดเป็นข้าวสารปรากฏขึ้น ตอนเย็นสัตว์เหล่านั้น นำเอาข้าวสาลีใดมาเพื่อบริโภคในเวลาเย็น ตอนเช้าข้าวสาลีนั้น ก็มีเมล็ดสุกแล้วงอกขึ้นแทนที่ ตอนเช้าสัตว์เหล่านั้น นำเอาข้าวสาลีใดมาเพื่อบริโภคในเวลาเช้า ตอนเย็นข้าวสาลีนั้น ก็มีเมล็ดสุกแล้วงอกขึ้นแทนที่ ไม่ปรากฏว่าบกพร่องไปเลย วาเสฏฐะและภารทวาชะ ครั้งนั้น สัตว์เหล่านั้นจึงพากันบริโภคข้าวสาลีนั้น รับประทานข้าวสาลีนั้น มีข้าวสาลีนั้นเป็นอาหาร ดำรงอยู่มาได้สิ้นกาลช้านาน สัตว์เหล่านั้นจึงมีร่างกายหยาบขึ้น ทั้งผิวพรรณก็ปรากฏว่าแตกต่างกันออกไป สตรีก็มีเพศหญิงปรากฏ และบุรุษก็มีเพศชายปรากฏ ด้วยว่า สตรีก็เพ่งดูบุรุษอยู่เสมอ และบุรุษก็เพ่งดูสตรีอยู่เสมอ เมื่อคนทั้งสองเพศ ต่างก็เพ่งดูกันและกันอยู่เสมอ ก็เกิดความกำหนัด เกิดความเร่าร้อนขึ้นในกาย เพราะความเร่าร้อนนั้นเป็นปัจจัย เขาทั้งสองจึงเสพเมถุนธรรมกัน.
วาเสฏฐะและภารทวาชะ ในสมัยนั้น สัตว์เหล่าใด เห็นสัตว์เหล่าอื่นเสพเมถุนธรรมกันอยู่ ย่อมโปรยฝุ่นใส่บ้าง โปรยขี้เถ้าใส่บ้าง โยนมูลโคใส่บ้าง พร้อมกับพูดว่า คนชาติชั่วจงฉิบหาย คนชาติชั่วจงฉิบหาย ดังนี้ แล้วพูดต่อไปว่า ก็ทำไมสัตว์จึงทำแก่สัตว์เช่นนี้เล่า ข้อที่ว่ามานั้น แม้ทุกวันนี้ก็เหมือนกัน ในชนบทบางแห่ง เมื่อเขานำสัตว์ที่จะถูกฆ่าไปสู่ที่ประหาร มนุษย์ทั้งหลายย่อมโปรยฝุ่นใส่บ้าง โปรยขี้เถ้าใส่บ้าง โยนมูลโคใส่บ้าง พวกพราหมณ์มาระลึกถึงอักขระที่รู้กันว่าเป็นของดี อันเป็นของโบราณนั้นเท่านั้น แต่พวกเขาไม่รู้ชัดถึงเนื้อความแห่งอักขระนั้นเลย.
วาเสฏฐะและภารทวาชะ ในสมัยนั้น การโปรยฝุ่นใส่กันเป็นต้นนั้น สมมติกันว่าไม่เป็นธรรม มาในบัดนี้ กลับสมมติกันว่าเป็นธรรม ก็สมัยนั้น สัตว์พวกใดที่เสพเมถุนธรรมกัน สัตว์พวกนั้นเข้าบ้านหรือนิคมไม่ได้ ตลอด ๑ เดือนบ้าง ๒ เดือนบ้าง เมื่อใด สัตว์ทั้งหลายพากันเสพอสัทธรรมนั่นมากเกินไป เมื่อนั้น จึงพยายามสร้างบ้านเรือนกันขึ้น เพื่อปกปิดอสัทธรรมนั้น.
วาเสฏฐะและภารทวาชะ ครั้งนั้น สัตว์ผู้หนึ่งเกิดความเกียจคร้านขึ้น จึงมีความเห็นอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ เราช่างลำบากเสียนี่กระไร ที่ต้องไปเก็บข้าวสาลีมาในเวลาเย็นเพื่อเป็นอาหารเย็น และไปเก็บข้าวสาลีในเวลาเช้าเพื่อเป็นอาหารเช้า ทางที่ดี เราควรไปเก็บเอาข้าวสาลีมาครั้งเดียว ให้พอเพื่อเป็นอาหารเย็นและอาหารเช้าเถิด วาเสฏฐะและภารทวาชะ ตั้งแต่นั้นมา สัตว์ผู้นั้นก็เก็บข้าวสาลีมาครั้งเดียว ให้พอเพื่อเป็นอาหารเย็นและอาหารเช้า.
วาเสฏฐะและภารทวาชะ ครั้งนั้น สัตว์ผู้หนึ่งเข้าไปหาสัตว์ผู้นั้นยังที่อยู่ แล้วชวนว่า ท่านผู้เจริญ มาเถิด พวกเราไปเก็บข้าวสาลีกันเถิด สัตว์ผู้นั้นจึงตอบว่า ไม่ล่ะ ท่านผู้เจริญ เราเก็บข้าวสาลีมาครั้งเดียว ให้พอเพื่อเป็นอาหารเย็นและอาหารเช้าแล้ว ต่อมาสัตว์ผู้นั้นจึงทำตามแบบอย่างสัตว์ผู้แรก นำข้าวสาลีมาครั้งเดียว ให้พอเพื่อเป็นอาหารถึง ๒ วัน ด้วยกล่าวว่า เออ อย่างนี้ก็ดีเหมือนกันนะท่านผู้เจริญ.
วาเสฏฐะและภารทวาชะ ต่อมา สัตว์อีกผู้หนึ่งเข้าไปหาสัตว์ผู้ที่ ๒ นั้นยังที่อยู่ แล้วชวนว่า ท่านผู้เจริญ มาเถิด พวกเราไปเก็บข้าวสาลีกันเถิด สัตว์ผู้นั้นจึงตอบว่า ไม่ล่ะ ท่านผู้เจริญ เราเก็บข้าวสาลีมาครั้งเดียว ให้พอเพื่อเป็นอาหารถึง ๒ วันแล้ว ต่อมาสัตว์ผู้นั้นจึงทำตามแบบอย่างสัตว์ผู้ที่ ๒ นำข้าวสาลีมาครั้งเดียว ให้พอเพื่อเป็นอาหารถึง ๔ วัน ด้วยกล่าวว่า เออ อย่างนี้ก็ดีเหมือนกันนะท่านผู้เจริญ.
วาเสฏฐะและภารทวาชะ ต่อมา สัตว์อีกผู้หนึ่งเข้าไปหาสัตว์ผู้ที่ ๓ นั้นยังที่อยู่ แล้วชวนว่า ท่านผู้เจริญ มาเถิด พวกเราไปเก็บข้าวสาลีกันเถิด สัตว์ผู้นั้นจึงตอบว่า ไม่ล่ะ ท่านผู้เจริญ เราเก็บข้าวสาลีมาครั้งเดียว ให้พอเพื่อเป็นอาหารถึง ๔ วันแล้ว ต่อมาสัตว์ผู้นั้นจึงทำตามแบบอย่างสัตว์ผู้ที่ ๓ นำข้าวสาลีมาครั้งเดียว ให้พอเพื่อเป็นอาหารถึง ๘ วัน ด้วยกล่าวว่า เออ อย่างนี้ก็ดีเหมือนกันนะท่านผู้เจริญ.
วาเสฏฐะและภารทวาชะ เมื่อใด สัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น พยายามเก็บสะสมข้าวสาลีไว้เพื่อบริโภค เมื่อนั้นข้าวสาลีนั้นจึงกลายเป็นข้าวที่มีรำห่อเมล็ดบ้าง มีแกลบหุ้มเมล็ดบ้าง ต้นที่ถูกเกี่ยวแล้วก็ไม่กลับงอกขึ้นอีก ความบกพร่องปรากฏให้เห็น จึงได้มีข้าวสาลีปรากฏเป็นหย่อมๆ.
วาเสฏฐะและภารทวาชะ ครั้งนั้น สัตว์เหลานั้นจึงประชุมกัน ครั้นแล้ว ต่างพากันปรับทุกข์ว่า ท่านผู้เจริญ บาปอกุศลธรรมปรากฏในสัตว์ทั้งหลายแล้ว ด้วยว่าในกาลก่อน พวกเราได้สำเร็จทางใจ มีปีติเป็นอาหาร มีรัศมีซ่านออกจากกายตนเอง สัญจรไปได้ในอากาศ อยู่ในวิมานอันงาม สถิตอยู่ในภพนั้นสิ้นกาลยืดยาวช้านาน ครั้นต่อมา โดยการล่วงไปแห่งกาลนานไกล ได้มีง้วนดินลอยอยู่ทั่วไปบนน้ำเกิดขึ้นแก่พวกเรา ง้วนดินนั้นถึงพร้อมด้วยสี กลิ่น และรส พวกเรานั้นได้พากันใช้มือปั้นง้วนดินให้เป็นคำๆ แล้วบริโภค เมื่อพวกเราพากันใช้มือปั้นง้วนดินให้เป็นคำๆ แล้วบริโภคอยู่ รัศมีกายก็ได้หายไป เมื่อรัศมีกายหายไป ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ก็ปรากฏ เมื่อดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ปรากฏ ดาวนักษัตรและดาวทั้งหลายก็ปรากฏ เมื่อดาวนักษัตรและดาวทั้งหลายปรากฏ กลางคืนและกลางวันก็ปรากฏ เมื่อกลางคืนและกลางวันปรากฏ เดือนและปักษ์ก็ปรากฏ เมื่อเดือนและปักษ์ปรากฏ ฤดูและปีก็ปรากฏ.
พวกเรานั้นพากันบริโภคง้วนดิน รับประทานง้วนดิน มีง้วนดินเป็นอาหาร ดำรงอยู่มาได้สิ้นกาลช้านาน เพราะบาปอกุศลธรรมปรากฏ ง้วนดินของพวกเราจึงหายไป เมื่อง้วนดินหายไปแล้ว ก็ได้มีสะเก็ดดินเกิดขึ้น สะเก็ดดินนั้นถึงพร้อมด้วยสี กลิ่น และรส พวกเราจึงเริ่มพากันบริโภคสะเก็ดดิน พวกเรานั้นได้พากันบริโภคสะเก็ดดิน รับประทานสะเก็ดดิน มีสะเก็ดดินเป็นอาหาร ดำรงอยู่มาได้สิ้นกาลช้านาน เพราะบาปอกุศลธรรมปรากฏ สะเก็ดดินของพวกเราจึงหายไป.
เมื่อสะเก็ดดินหายไปแล้ว ก็ได้มีเครือดินเกิดขึ้น เครือดินนั้นถึงพร้อมด้วยสี กลิ่น และรส พวกเราจึงเริ่มพากันบริโภคเครือดิน พวกเรานั้นได้พากันบริโภคเครือดิน รับประทานเครือดิน มีเครือดินเป็นอาหาร ดำรงอยู่มาได้สิ้นกาลช้านาน เพราะบาปอกุศลธรรมปรากฏ เครือดินของพวกเราจึงหายไป.
เมื่อเครือดินหายไปแล้ว ก็ได้มีข้าวสาลีอันเกิดขึ้นเอง ในที่ที่ไม่ต้องไถ เป็นข้าวไม่มีรำ ไม่มีแกลบ ขาวสะอาด มีกลิ่นหอม มีเมล็ดเป็นข้าวสารปรากฏขึ้น ตอนเย็นพวกเรานำเอาข้าวสาลีใดมาเพื่อบริโภคในเวลาเย็น ตอนเช้าข้าวสาลีนั้น ก็มีเมล็ดสุกแล้วงอกขึ้นแทนที่ ตอนเช้าพวกเรานำเอาข้าวสาลีใดมาเพื่อบริโภคในเวลาเช้า ตอนเย็นข้าวสาลีนั้น ก็มีเมล็ดสุกแล้วงอกขึ้นแทนที่ ไม่ปรากฏว่าบกพร่องไปเลย พวกเราจึงพากันบริโภคข้าวสาลีนั้น รับประทานข้าวสาลีนั้น มีข้าวสาลีนั้นเป็นอาหาร ดำรงอยู่มาได้สิ้นกาลช้านาน เพราะบาปอกุศลธรรมปรากฏ ข้าวสาลีของพวกเรา จึงกลายเป็นข้าวที่มีรำห่อเมล็ดบ้าง มีแกลบหุ้มเมล็ดบ้าง ต้นที่ถูกเกี่ยวแล้วก็ไม่กลับงอกขึ้นอีก ความบกพร่องปรากฏให้เห็น จึงได้มีข้าวสาลีปรากฏเป็นหย่อมๆ ทางที่ดี พวกเราควรแบ่งส่วนข้าวสาลีและปักปันเขตแดนกันเถิด ครั้งนั้น สัตว์เหล่านั้นจึงพากันแบ่งส่วนข้าวสาลีและปักปันเขตแดนกัน.
วาเสฏฐะและภารทวาชะ ครั้งนั้น สัตว์ผู้หนึ่งมีนิสัยโลภ รักษาส่วนของตนไว้ แล้วไปเก็บเอาส่วนอื่นที่เขาไม่ได้ให้มาบริโภค สัตว์ทั้งหลายจึงช่วยกันจับสัตว์ผู้นั้น ครั้นแล้ว ได้กล่าวอย่างนี้ว่า แน่ะสัตว์ผู้เจริญ ก็ท่านกระทำกรรมอันชั่วช้านัก ที่รักษาส่วนของตนไว้ แล้วไปเก็บเอาส่วนอื่น ที่เขาไม่ได้ให้มาบริโภค ท่านอย่าได้กระทำกรรมอันชั่วช้าเห็นปานนี้อีกเลย สัตว์ผู้นั้นได้รับคำของสัตว์เหล่านั้นแล้ว.
แม้ครั้งที่ ๒ สัตว์ผู้นั้น ก็รักษาส่วนของตนไว้ แล้วไปเก็บเอาส่วนอื่นที่เขาไม่ได้ให้มาบริโภค สัตว์ทั้งหลายจึงช่วยกันจับสัตว์ผู้นั้น ครั้นแล้ว ได้กล่าวว่า แน่ะสัตว์ผู้เจริญ ก็ท่านกระทำกรรมอันชั่วช้านัก ที่รักษาส่วนของตนไว้ แล้วไปเก็บเอาส่วนอื่น ที่เขาไม่ได้ให้มาบริโภค ท่านอย่าได้กระทำกรรมอันชั่วช้าเห็นปานนี้อีกเลย สัตว์ผู้นั้นได้รับคำของสัตว์เหล่านั้นแล้ว.
แม้ครั้งที่ ๓ สัตว์ผู้นั้น ก็รักษาส่วนของตนไว้ แล้วไปเก็บเอาส่วนอื่นที่เขาไม่ได้ให้มาบริโภค สัตว์ทั้งหลายจึงช่วยกันจับสัตว์ผู้นั้น ครั้นแล้ว ได้กล่าวว่า แน่ะสัตว์ผู้เจริญ ก็ท่านกระทำกรรมอันชั่วช้านัก ที่รักษาส่วนของตนไว้ แล้วไปเก็บเอาส่วนอื่น ที่เขาไม่ได้ให้มาบริโภค ท่านอย่าได้กระทำกรรมอันชั่วช้าเห็นปานนี้อีกเลย สัตว์พวกหนึ่งได้ทำร้ายด้วยฝ่ามือบ้าง พวกหนึ่งทำร้ายด้วยก้อนดินบ้าง พวกหนึ่งได้ทำร้ายด้วยท่อนไม้บ้าง วาเสฏฐะและภารทวาชะ ในเพราะเรื่องนั้นเป็นเหตุ การถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้จึงปรากฏ การติเตียนจึงปรากฏ การกล่าวเท็จจึงปรากฏ การถือท่อนไม้จึงปรากฏ.
วาเสฏฐะและภารทวาชะ ครั้งนั้น พวกสัตว์ที่เป็นผู้ใหญ่จึงประชุมกัน ครั้นแล้ว ต่างก็ปรับทุกข์กันว่า ท่านผู้เจริญเอ๋ย ก็เพราะบาปธรรมได้เกิดขึ้นแล้วในสัตว์ทั้งหลาย การถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้จึงปรากฏ การติเตียนจึงปรากฏ การพูดเท็จจึงปรากฏ การถือท่อนไม้จึงปรากฏ ทางที่ดี พวกเราควรสมมติ (แต่งตั้ง) สัตว์ผู้หนึ่งให้เป็นผู้ว่ากล่าวผู้ที่ควรว่ากล่าว ให้เป็นผู้ติเตียนผู้ที่ควรติเตียน ให้เป็นผู้ขับไล่ผู้ที่ควรขับไล่โดยถูกต้อง ส่วนพวกเราจักแบ่งส่วนข้าวสาลีให้แก่ผู้นั้น ดังนี้.
วาเสฏฐะและภารทวาชะ ครั้นแล้ว สัตว์เหล่านั้นพากันเข้าไปหาสัตว์ที่มีรูปงดงามกว่า น่าดูน่าชมกว่า น่าเลื่อมใสกว่า และน่าเกรงขามกว่า แล้วจึงแจ้งเรื่องนี้ว่า มาเถิดท่านผู้เจริญ ขอท่านจงว่ากล่าวผู้ที่ควรว่ากล่าว จงติเตียนผู้ที่ควรติเตียน จงขับไล่ผู้ที่ควรขับไล่โดยถูกต้องเถิด ส่วนพวกข้าพเจ้าจักแบ่งส่วนข้าวสาลีให้แก่ท่าน สัตว์ผู้นั้นรับคำแล้ว จึงได้ว่ากล่าวผู้ที่ควรว่ากล่าว ติเตียนผู้ที่ควรติเตียน ขับไล่ผู้ที่ควรขับไล่โดยถูกต้อง ส่วนสัตว์เหล่านั้นก็แบ่งส่วนข้าวสาลีให้แก่สัตว์ที่เป็นหัวหน้านั้น.
วาเสฏฐะและภารทวาชะ เพราะเหตุผู้ที่เป็นหัวหน้า เป็นผู้ที่มหาชนสมมตินั้น อักขระว่า มหาชนสมมติ มหาชนสมมติ (มหาสมฺมต) จึงเกิดขึ้นเป็นอันดับแรก เพราะเหตุที่ผู้เป็นหัวหน้านั้น เป็นใหญ่ยิ่งแห่งเขตทั้งหลาย อักขระว่า กษัตริย์ กษัตริย์ (ขตฺติย) จึงเกิดขึ้นเป็นอันดับที่ ๒ เพราะเหตุที่ผู้เป็นหัวหน้านั้น ทำชนเหล่าอื่นให้สุขใจได้โดยธรรม อักขระว่า ราชา ราชา (ราช) จึงเกิดขึ้นเป็นอันดับที่ ๓ ด้วยเหตุดังที่กล่าวมานี้ การเกิดขึ้นของพวกกษัตริย์นั้นจึงมีขึ้นได้ เพราะอักขระที่รู้กันว่าเป็นของดี เป็นของโบราณอย่างนี้ เรื่องของสัตว์เหล่านั้น จะต่างกันหรือเหมือนกัน จะไม่ต่างกันหรือไม่เหมือนกัน ก็โดยธรรมเท่านั้น ไม่ใช่โดยอธรรม วาเสฏฐะและภารทวาชะ เพราะว่าธรรมเท่านั้นเป็นสิ่งประเสริฐที่สุดในหมู่มหาชน ทั้งในปัจจุบันและในอภิสัมปรายะ.
วาเสฏฐะและภารทวาชะ ครั้งนั้น สัตว์บางพวกได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญเอ๋ย ก็เพราะบาปธรรมได้เกิดขึ้นแล้วในสัตว์ทั้งหลาย การถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้จึงปรากฏ การติเตียนจึงปรากฏ การพูดเท็จจึงปรากฏ การถือท่อนไม้จึงปรากฏ ทางที่ดี พวกเราควรไปลอยอกุศลธรรมอันเป็นบาปนี้เถิด ดังนี้ ครั้นแล้ว สัตว์เหล่านั้นจึงได้พากันลอยอกุศลธรรมอันเป็นบาปทิ้งไป วาเสฏฐะและภารทวาชะ เพราะเหตุที่สัตว์เหล่านั้นพากันลอยอกุศลธรรมอันเป็นบาปอยู่ อักขระว่า พวกพราหมณ์ พวกพราหมณ์ (พฺราหฺมณ) จึงเกิดขึ้นเป็นอันดับแรก.
พราหมณ์เหล่านั้น พากันสร้างกระท่อม ซึ่งมุงและบังด้วยใบไม้ในราวป่า บำเพ็ญฌาน (การเพ่ง) อยู่ในกระท่อม ซึ่งมุงและบังด้วยใบไม้นั้น พราหมณ์เหล่านั้นไม่มีการหุงต้ม ไม่มีการตำข้าว ในเวลาเย็นและเวลาเช้า จึงได้พากันเที่ยวแสวงหาอาหาร ตามหมู่บ้าน ตามนิคม และตามเมืองหลวง เพื่อบริโภคในเวลาเย็นและเวลาเช้า พราหมณ์เหล่านั้นครั้นได้อาหารแล้ว จึงพากันกลับไปบำเพ็ญฌานอยู่ในกระท่อม ซึ่งมุงและบังด้วยใบไม้ในราวป่าอีก คนทั้งหลายเห็นการกระทำของพวกพราหมณ์นั้นแล้ว จึงพากันกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญเอ๋ย สัตว์เหล่านี้พากันมาสร้างกระท่อม ซึ่งมุงและบังด้วยใบไม้ในราวป่า แล้วบำเพ็ญฌานอยู่ในกระท่อม ซึ่งมุงและบังด้วยใบไม้นั้น ไม่มีการหุงต้ม ไม่มีการตำข้าว ในเวลาเย็นและเวลาเช้า จึงได้พากันเที่ยวแสวงหาอาหาร ตามหมู่บ้าน ตามนิคม และตามเมืองหลวง เพื่อบริโภคในเวลาเย็นและเวลาเช้า พราหมณ์เหล่านั้นครั้นได้อาหารแล้ว จึงพากันกลับไปบำเพ็ญฌานอยู่ในกระท่อม ซึ่งมุงและบังด้วยใบไม้ในราวป่าอีก ดังนี้ วาเสฏฐะและภารทวาชะ เพราะเหตุนั้น อักขระว่า พวกเจริญฌาน พวกเจริญฌาน (ฌายิกา) จึงเกิดขึ้นเป็นอันดับที่ ๒.
บรรดาสัตว์เหล่านั้น สัตว์บางพวกเมื่อไม่อาจสำเร็จฌานได้ที่กระท่อม ซึ่งมุงและบังด้วยใบไม้ในราวป่า จึงเที่ยวไปยังหมู่บ้านและนิคมที่ใกล้เคียง แล้วก็จัดทำคัมภีร์อยู่ คนทั้งหลาย เห็นการกระทำของพราหมณ์เหล่านั้นแล้ว จึงพากันกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญเอ๋ย สัตว์เหล่านี้ ไม่อาจสำเร็จฌานได้ที่กระท่อม ซึ่งมุงและบังด้วยใบไม้ในราวป่า จึงเที่ยวไปยังหมู่บ้านและนิคมที่ใกล้เคียง จัดทำคัมภีร์อยู่ บัดนี้พวกชนเหล่านี้ไม่เพ่งอยู่ บัดนี้พวกชนเหล่านี้ไม่เพ่งอยู่ ดังนี้ วาเสฏฐะและภารทวาชะ เพราะเหตุนั้น อักขระว่า อัชฌายิกา อัชฌายิกา (อชฺฌายิกา) จึงเกิดขึ้นเป็นอันดับที่ ๓ วาเสฏฐะและภารทวาชะ ก็สมัยนั้น การทรงจำ การสอน การบอกมนต์ ถูกสมมติว่าเลว มาในบัดนี้ สมมติกันว่าประเสริฐ ด้วยเหตุดังที่กล่าวมานี้ การเกิดขึ้นของพวกพราหมณ์นั้นจึงมีขึ้นได้ เพราะอักขระที่รู้กันว่าเป็นของดี เป็นของโบราณอย่างนี้ เรื่องของสัตว์เหล่านั้น จะต่างกันหรือเหมือนกัน จะไม่ต่างกันหรือไม่เหมือนกัน ก็โดยธรรมเท่านั้น ไม่ใช่โดยอธรรม วาเสฏฐะและภารทวาชะ เพราะว่าธรรมเท่านั้นเป็นสิ่งประเสริฐที่สุดในหมู่มหาชน ทั้งในปัจจุบันและในอภิสัมปรายะ.
วาเสฏฐะและภารทวาชะ บรรดาสัตว์เหล่านั้น สัตว์บางพวกยึดมั่นเมถุนธรรม แล้วแยกกันประกอบการงานที่แตกต่างกันออกไป วาเสฏฐะและภารทวาชะ เพราะเหตุที่สัตว์เหล่านั้นยึดมั่นเมถุนธรรม แล้วแยกกันประกอบการงานที่แตกต่างกันออกไปนั้น อักขระว่า เวสสา เวสสา (เวสฺสา) จึงเกิดขึ้น ด้วยเหตุดังที่กล่าวมานี้ การเกิดขึ้นของพวกเวสส์นั้นจึงมีขึ้นได้ เพราะอักขระที่รู้กันว่าเป็นของดี เป็นของโบราณอย่างนี้ เรื่องของสัตว์เหล่านั้น จะต่างกันหรือเหมือนกัน จะไม่ต่างกันหรือไม่เหมือนกัน ก็โดยธรรมเท่านั้น ไม่ใช่โดยอธรรม วาเสฏฐะและภารทวาชะ เพราะว่าธรรมเท่านั้นเป็นสิ่งประเสริฐที่สุดในหมู่มหาชน ทั้งในปัจจุบันและในอภิสัมปรายะ.
วาเสฏฐะและภารทวาชะ บรรดาสัตว์เหล่านั้น สัตว์บางพวกประพฤติตนโหดร้าย ทำงานต่ำต้อย วาเสฏฐะและภารทวาชะ เพราะเหตุที่สัตว์เหล่านั้นประพฤติตนโหดร้าย ทำงานต่ำต้อยนั้น อักขระว่า สุททา สุททา (สุทฺทา) จึงเกิดขึ้น ด้วยเหตุดังที่กล่าวมานี้ การเกิดขึ้นของพวกสูทท์นั้นจึงมีขึ้นได้ เพราะอักขระที่รู้กันว่าเป็นของดี เป็นของโบราณอย่างนี้ เรื่องของสัตว์เหล่านั้น จะต่างกันหรือเหมือนกัน จะไม่ต่างกันหรือไม่เหมือนกัน ก็โดยธรรมเท่านั้น ไม่ใช่โดยอธรรม วาเสฏฐะและภารทวาชะ เพราะว่าธรรมเท่านั้นเป็นสิ่งประเสริฐที่สุดในหมู่มหาชน ทั้งในปัจจุบันและในอภิสัมปรายะ.
วาเสฏฐะและภารทวาชะ มีสมัยที่ กษัตริย์ตำหนิธรรมของตน จึงได้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ด้วยประสงค์ว่า เราจักเป็นสมณะ พราหมณ์ตำหนิธรรมของตน จึงได้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ด้วยประสงค์ว่า เราจักเป็นสมณะ เวสส์ตำหนิธรรมของตน จึงได้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ด้วยประสงค์ว่า เราจักเป็นสมณะ สูทท์ตำหนิธรรมของตน จึงได้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ด้วยประสงค์ว่า เราจักเป็นสมณะ วาเสฏฐะและภารทวาชะ ด้วยประการดังที่กล่าวมานี้ พวกสมณะจึงเกิดขึ้นได้จากวรรณะทั้ง ๔ เหล่านี้ เรื่องของสัตว์เหล่านั้น จะต่างกันหรือเหมือนกัน จะไม่ต่างกันหรือไม่เหมือนกัน ก็โดยธรรมเท่านั้น ไม่ใช่โดยอธรรม วาเสฏฐะและภารทวาชะ เพราะว่าธรรมเท่านั้นเป็นสิ่งประเสริฐที่สุดในหมู่มหาชน ทั้งในปัจจุบันและในอภิสัมปรายะ.
วาเสฏฐะและภารทวาชะ แม้กษัตริย์เป็นผู้ประพฤติกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต มีมิจฉาทิฏฐิ ยึดมั่นการกระทำเพราะมิจฉาทิฏฐิ เมื่อยึดมั่นการกระทำเพราะมิจฉาทิฏฐิเป็นเหตุ ภายหลังจากการตายเพราะกายแตกทำลาย ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก แม้พราหมณ์ … แม้เวสส์ … แม้สูทท์ … แม้สมณะเป็นผู้ประพฤติกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต มีมิจฉาทิฏฐิ ยึดมั่นการกระทำเพราะมิจฉาทิฏฐิ เมื่อยึดมั่นการกระทำเพราะมิจฉาทิฏฐิเป็นเหตุ ภายหลังจากการตายเพราะกายแตกทำลาย ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก.
วาเสฏฐะและภารทวาชะ แม้กษัตริย์เป็นผู้ประพฤติกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต มีสัมมาทิฏฐิ ยึดมั่นการกระทำเพราะสัมมาทิฏฐิ เมื่อยึดมั่นการกระทำเพราะสัมมาทิฏฐิเป็นเหตุ ภายหลังจากการตายเพราะกายแตกทำลาย ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ แม้พราหมณ์ … แม้เวสส์ … แม้สูทท์ … แม้สมณะเป็นผู้ประพฤติกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต มีสัมมาทิฏฐิ ยึดมั่นการกระทำเพราะสัมมาทิฏฐิ เมื่อยึดมั่นการกระทำเพราะสัมมาทิฏฐิเป็นเหตุ ภายหลังจากการตายเพราะกายแตกทำลาย ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์.
วาเสฏฐะและภารทวาชะ แม้กษัตริย์เป็นผู้มีปกติกระทำกรรมทั้งสอง (สุจริตและทุจริต) ด้วยกาย มีปกติกระทำกรรมทั้งสองด้วยวาจา มีปกติกระทำกรรมทั้งสองด้วยใจ มีความเห็นปนกัน ยึดมั่นการกระทำเพราะความเห็นปนกัน เมื่อยึดมั่นการกระทำเพราะความเห็นปนกันเป็นเหตุ ภายหลังจากการตายเพราะกายแตกทำลาย ย่อมได้รับความสุขบ้าง ได้รับความทุกข์บ้าง แม้พราหมณ์ … แม้เวสส์ … แม้สูทท์ … แม้สมณะเป็นผู้มีปกติกระทำกรรมทั้งสองด้วยกาย มีปกติกระทำกรรมทั้งสองด้วยวาจา มีปกติกระทำกรรมทั้งสองด้วยใจ มีความเห็นปนกัน ยึดมั่นการกระทำเพราะความเห็นปนกัน เมื่อยึดมั่นการกระทำเพราะความเห็นปนกันเป็นเหตุ ภายหลังจากการตายเพราะกายแตกทำลาย ย่อมได้รับความสุขบ้าง ได้รับความทุกข์บ้าง.
วาเสฏฐะและภารทวาชะ แม้กษัตริย์เป็นผู้สำรวมกาย สำรวมวาจา สำรวมใจ อาศัยการเจริญโพธิปักขิยธรรมทั้ง ๗ แล้ว ย่อมปรินิพพานในปัจจุบันนี้ทีเดียว แม้พราหมณ์ … แม้เวสส์ … แม้สูทท์ … แม้สมณะเป็นผู้สำรวมกาย สำรวมวาจา สำรวมใจ อาศัยการเจริญโพธิปักขิยธรรมทั้ง ๗ แล้ว ย่อมปรินิพพานในปัจจุบันนี้ทีเดียว.
วาเสฏฐะและภารทวาชะ บรรดาวรรณะทั้ง ๔ เหล่านั้น ภิกษุใดเป็นอรหันต์ สิ้นอาสวะแล้ว มีพรหมจรรย์อยู่จบแล้ว มีกิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว วางภาระได้แล้ว มีประโยชน์ของตนอันบรรลุถึงแล้วโดยลำดับ สิ้นสังโยชน์ที่จะนำไปสู่ภพแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ ผู้นั้นเรียกได้ว่าเป็นผู้เลิศกว่าคนทั้งหลายโดยธรรม ไม่ใช่โดยอธรรม วาเสฏฐะและภารทวาชะ เพราะว่าธรรมเท่านั้นเป็นสิ่งประเสริฐที่สุดในหมู่มหาชน ทั้งในปัจจุบันและในอภิสัมปรายะ.
วาเสฏฐะและภารทวาชะ แม้สนังกุมารพรหมก็ได้กล่าวคาถาไว้ว่า
ในหมู่ชนที่ถือตระกูลเป็นใหญ่ กษัตริย์ถือว่าประเสริฐที่สุด
ส่วนท่านผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
เป็นผู้ประเสริฐสุดในหมู่เทวดาและมนุษย์.
วาเสฏฐะและภารทวาชะ ก็คาถานี้สนังกุมารพรหมกล่าวไว้โดยถูกต้อง ไม่ผิดเลย ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่ใช่ไม่มีประโยชน์ เราเห็นด้วยทีเดียว แม้เราก็กล่าวอย่างเดียวกันนี้ว่า
ในหมู่ชนที่ถือตระกูลเป็นใหญ่ กษัตริย์ถือว่าประเสริฐที่สุด
ส่วนท่านผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
เป็นผู้ประเสริฐสุดในหมู่เทวดาและมนุษย์.
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว วาเสฏฐสามเณรและภารทวาชสามเณร ยินดี ชื่นชมพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค.
-บาลี ปา. ที. 11/87/51.
https://84000.org/tipitaka/pali/?11//87, https://etipitaka.com/read/pali/11/87
1 สำเร็จทางใจ = นึกคิดอะไรก็สำเร็จได้ตามความปรารถนา.
2 ง้วน = เรียกโอชะของบางสิ่ง, โอชะ หรือ โอชา = มีรสดี, อร่อย, รสที่ซึมซาบ, เครื่องหรือสิ่งบํารุงเลี้ยงให้เกิดความเจริญงอกงาม
3 รสเอ๋ย รสเอ๋ย เป็นคำรำพึงรำพันว่า รสอร่อยที่เคยบริโภคหายไปแล้ว.
4 บางสำนวนแปลใช้ กระบิดิน; กระบิ = แท่ง แผ่น ชิ้น.
5 ปทาลตา = เครือดิน, ไม้เถามีลักษณะคล้ายผักบุ้งหรือแพงพวย, เครือ = เถาไม้, เรียกพรรณไม้ที่เป็นเถาว่า เครือ, เถา = เครือไม้, ลําต้นของไม้เลื้อย.
English translation by Bhikkhu Sujato
So I have heard. At one time the Buddha was staying near Sāvatthī in the Eastern Monastery, in the stilt longhouse of Migāra’s mother.
Now at that time Vāseṭṭha and Bhāradvāja were living on probation among the mendicants in hopes of being ordained. Then in the late afternoon, the Buddha came downstairs from the longhouse and was walking mindfully in the open air, beneath the shade of the longhouse.
Vāseṭṭha saw him and said to Bhāradvāja, “Reverend Bhāradvāja, the Buddha is walking mindfully in the open air, beneath the shade of the longhouse. Come, reverend, let’s go to the Buddha. Hopefully we’ll get to hear a Dhamma talk from him.”
“Yes, reverend,” replied Bhāradvāja.
So they went to the Buddha, bowed, and walked beside him.
Then the Buddha said to Vāseṭṭha, “Vāseṭṭha, you are both brahmins by birth and clan, and have gone forth from the lay life to homelessness from a brahmin family. I hope you don’t have to suffer abuse and insults from the brahmins.”
“Actually, sir, the brahmins do insult and abuse us with their typical insults to the fullest extent.”
“But how do the brahmins insult you?”
“Sir, the brahmins say: ‘Only brahmins are the best caste; other castes are inferior. Only brahmins are the light caste; other castes are dark. Only brahmins are purified, not others. Only brahmins are Brahmā’s rightful sons, born of his mouth, born of Brahmā, created by Brahmā, heirs of Brahmā. You’ve both abandoned the best caste to join an inferior caste, namely these shavelings, fake ascetics, primitives, black spawn from the feet of our kinsman. This is not right, it’s not proper!’ That’s how the brahmins insult us.”
“Actually, Vāseṭṭha, the brahmins are forgetting their tradition when they say this to you. For brahmin women are seen menstruating, being pregnant, giving birth, and breast-feeding. Yet even though they’re born from a brahmin womb they say: ‘Only brahmins are the best caste; other castes are inferior. Only brahmins are the light caste; other castes are dark. Only brahmins are purified, not others. Only brahmins are Brahmā’s rightful sons, born of his mouth, born of Brahmā, created by Brahmā, heirs of Brahmā.’ They misrepresent the brahmins, speak falsely, and make much bad karma.
1. Purification in the Four Castes
Vāseṭṭha, there are these four castes: aristocrats, brahmins, peasants, and menials. Some aristocrats kill living creatures, steal, and commit sexual misconduct. They use speech that’s false, divisive, harsh, and nonsensical. And they’re covetous, malicious, with wrong view. These things are unskillful, blameworthy, not to be cultivated, unworthy of the noble ones—and are reckoned as such. They are dark deeds with dark results, criticized by sensible people. Such things are exhibited in some aristocrats. And they are also seen among some brahmins, peasants, and menials.
But some aristocrats refrain from killing living creatures, stealing, and committing sexual misconduct. They refrain from speech that’s false, divisive, harsh, and nonsensical. And they’re content, kind-hearted, with right view. These things are skillful, blameless, to be cultivated, worthy of the noble ones—and are reckoned as such. They are bright deeds with bright results, praised by sensible people. Such things are exhibited in some aristocrats. And they are also seen among some brahmins, peasants, and menials.
Both these things occur like this, mixed up in these four castes—the dark and the bright, that which is praised and that which is criticized by sensible people. Yet of this the brahmins say: ‘Only brahmins are the best caste; other castes are inferior. Only brahmins are the light caste; other castes are dark. Only brahmins are purified, not others. Only brahmins are Brahmā’s rightful sons, born of his mouth, born of Brahmā, created by Brahmā, heirs of Brahmā.’
Sensible people don’t acknowledge this. Why is that? Because any mendicant from these four castes who is perfected—with defilements ended, who has completed the spiritual journey, done what had to be done, laid down the burden, achieved their own true goal, utterly ended the fetters of rebirth, and is rightly freed through enlightenment—is said to be foremost by virtue of principle, not against principle. For principle, Vāseṭṭha, is the best thing for people in both this life and the next.
And here’s a way to understand how this is so.
King Pasenadi of Kosala knows that the ascetic Gotama has gone forth from the neighboring clan of the Sakyans. And the Sakyans are his vassals. The Sakyans show deference to King Pasenadi by bowing down, rising up, greeting him with joined palms, and observing proper etiquette for him. Now, King Pasenadi shows the same kind of deference to the Realized One. But he doesn’t think: ‘The ascetic Gotama is well-born, I am ill-born. He is powerful, I am weak. He is handsome, I am ugly. He is influential, I am insignificant.’ Rather, in showing such deference to the Realized One he is only honoring, respecting, and venerating principle. And here’s another way to understand how principle is the best thing for people in both this life and the next.
Vāseṭṭha, you have different births, names, and clans, and have gone forth from the lay life to homelessness from different families. When they ask you what you are, you claim to be ascetics, followers of the Sakyan. But only when someone has faith in the Realized One—settled, rooted, and planted deep, strong, not to be shifted by any ascetic or brahmin or god or Māra or Brahmā or by anyone in the world—is it appropriate for them to say: ‘I am the Buddha’s rightful child, born from his mouth, born of principle, created by principle, heir to principle.’ Why is that? For these are terms for the Realized One: ‘the embodiment of principle’, and ‘the embodiment of divinity’, and ‘the manifestation of principle’, and ‘the manifestation of divinity’. “The embodiment of principle” is dhammakāya. This is a term of unique occurrence in the suttas, which was seized on in later days to posit a metaphysical theory of a quasi-eternal Buddha. In the suttas, it means that he, having practiced the Dhamma to its fullest, embodies the qualities of the Dhamma to the highest degree.
There comes a time when, Vāseṭṭha, after a very long period has passed, this cosmos contracts. As the cosmos contracts, sentient beings are mostly headed for the realm of streaming radiance. There they are mind-made, feeding on rapture, self-luminous, moving through the sky, steadily glorious, and they remain like that for a very long time.
There comes a time when, after a very long period has passed, this cosmos expands. As the cosmos expands, sentient beings mostly pass away from that host of radiant deities and come back to this realm. Here they are mind-made, feeding on rapture, self-luminous, moving through the sky, steadily glorious, and they remain like that for a very long time.
2. The Earth’s Nectar Appears
But the single mass of water at that time was utterly dark. The moon and sun were not found, nor were stars and constellations, day and night, months and fortnights, years and seasons, or male and female. Beings were simply known as ‘beings’. After a very long period had passed, the earth’s nectar curdled in the water. It appeared just like the curd on top of hot milk-rice as it cools. It was beautiful, fragrant, and delicious, like ghee or butter. And it was as sweet as pure dwarf-bee honey. Now, one of those beings was reckless. Thinking, ‘Oh my, what might this be?’ they tasted the earth’s nectar with their finger. They enjoyed it, and craving was born in them. And other beings, following that being’s example, tasted the earth’s nectar with their fingers. They too enjoyed it, and craving was born in them.
3. The Moon and Sun Appear
Then those beings started to eat the earth’s nectar, breaking it into lumps. But when they did this their luminosity vanished. And with the vanishing of their luminosity the moon and sun appeared, stars and constellations appeared, days and nights were distinguished, and so were months and fortnights, and years and seasons. So far had the world evolved once more.
Then those beings eating the earth’s nectar, with that as their food and nourishment, remained for a very long time. But so long as they ate that earth’s nectar, their bodies became more solid and they diverged in appearance; some beautiful, some ugly. And the beautiful beings looked down on the ugly ones: ‘We’re more beautiful, they’re the ugly ones!’ And the vanity of the beautiful ones made the earth’s nectar vanish. They gathered together and bemoaned, ‘Oh, what a taste! Oh, what a taste!’ And even today when people get something tasty they say: ‘Oh, what a taste! Oh, what a taste!’ They’re just remembering an ancient primordial saying, but they don’t understand what it means.
4. Ground-Fungus
When the earth’s nectar had vanished, ground-fungus appeared to those being. It appeared just like a mushroom. It was beautiful, fragrant, and delicious, like ghee or butter. And it was as sweet as pure dwarf-bee honey.
Then those beings started to eat the ground-fungus. With that as their food and nourishment, they remained for a very long time. But so long as they ate that ground-fungus, their bodies became more solid and they diverged in appearance; some beautiful, some ugly. And the beautiful beings looked down on the ugly ones: ‘We’re more beautiful, they’re the ugly ones!’ And the vanity of the beautiful ones made the ground-fungus vanish.
5. Bursting Pods
When the ground-fungus had vanished, bursting pods appeared, like the fruit of the kadam tree. They were beautiful, fragrant, and delicious, like ghee or butter. And they were as sweet as pure dwarf-bee honey.
Then those beings started to eat the bursting pods. With that as their food and nourishment, they remained for a very long time. But so long as they ate those bursting pods, their bodies became more solid and they diverged in appearance; some beautiful, some ugly. And the beautiful beings looked down on the ugly ones: ‘We’re more beautiful, they’re the ugly ones!’ And the vanity of the beautiful ones made the bursting pods vanish.
They gathered together and bemoaned, ‘Oh, what we’ve lost! Oh, what we’ve lost—those bursting pods!’ And even today when people experience suffering they say: ‘Oh, what we’ve lost! Oh, what we’ve lost!’ They’re just remembering an ancient primordial saying, but they don’t understand what it means.
6. Ripe Untilled Rice
When the bursting pods had vanished, ripe untilled rice appeared to those beings. It had no powder or husk, pure and fragrant, with only the rice-grain. What they took for supper in the evening, by the morning had grown back and ripened. And what they took for breakfast in the morning had grown back and ripened by the evening, leaving no trace showing. Then those beings eating the ripe untilled rice, with that as their food and nourishment, remained for a very long time.
7. Gender Appears
But so long as they ate that ripe untilled rice, their bodies became more solid and they diverged in appearance. And female characteristics appeared on women, while male characteristics appeared on men. Women spent too much time gazing at men, and men at women. They became lustful, and their bodies burned with fever. Due to this fever they had sex with each other.
Those who saw them having sex pelted them with dirt, clods, or cow-dung, saying, ‘Get lost, filth! Get lost, filth! How on earth can one being do that to another?’ And even today people in some countries, when carrying a bride off, pelt her with dirt, clods, or cow-dung. They’re just remembering an ancient primordial saying, but they don’t understand what it means.
8. Sexual Intercourse
What was deemed as unprincipled at that time, these days is deemed as principled. The beings who had sex together weren’t allowed to enter a village or town for one or two months. Ever since they excessively threw themselves into immorality, they started to make buildings to hide their immoral deeds. Then one of those beings of idle disposition thought, ‘Hey now, why should I be bothered to gather rice in the evening for supper, and in the morning for breakfast? Why don’t I gather rice for supper and breakfast all at once?’ Human society evolves first from greed, second from sexual desire, and third from laziness. The effort to avoid manual labor drives cultural and technological innovation.
So that’s what he did. Then one of the other beings approached that being and said, ‘Come, good being, we shall go to gather rice.’ ‘There’s no need, good being! I gathered rice for supper and breakfast all at once.’ So that being, following their example, gathered rice for two days all at once, thinking: ‘This seems fine.’ Humans are focused on short term comforts and ignore long term consequences.
Then one of the other beings approached that being and said, ‘Come, good being, we shall go to gather rice.’ ‘There’s no need, good being! I gathered rice for two days all at once.’ So that being, following their example, gathered rice for four days all at once, thinking: ‘This seems fine.’
Then one of the other beings approached that being and said, ‘Come, good being, we shall go to gather rice.’ ‘There’s no need, good being! I gathered rice for four days all at once.’ So that being, following their example, gathered rice for eight days all at once, thinking: ‘This seems fine.’
But when they started to store up rice to eat, the rice grains became wrapped in powder and husk, it didn’t grow back after reaping, leaving a trace showing, and the rice stood in clumps.
9. Dividing the Rice
Then those beings gathered together and bemoaned, ‘Oh, how wicked things have appeared among beings! For we used to be mind-made, feeding on rapture, self-luminous, moving through the sky, steadily glorious, and we remained like that for a very long time. After a very long period had passed, the earth’s nectar curdled in the water. But due to bad, unskillful things among us, the earth’s nectar vanished, then the ground-fungus vanished, the bursting pods vanished, and now the rice grains have become wrapped in powder and husk, it doesn’t grow back after reaping, traces are left showing, and the rice stands in clumps. We’d better divide up the rice and lay down boundaries.’ So that’s what they did.
Now, one of those beings was reckless. While guarding their own share they took another’s share without it being given, and ate it.
They grabbed the one who had done this and said, ‘You have done a bad thing, good being, in that while guarding your own share you took another’s share without it being given, and ate it. Do not do such a thing again.’
‘Yes, sirs,’ replied that being. But for a second time, and a third time they did the same thing, and were told not to continue. And then they struck that being, some with fists, others with stones, and still others with rods. From that day on stealing was found, and blame, and lying, and the taking up of rods.
10. The Elected King
Then those beings gathered together and bemoaned, ‘Oh, how wicked things have appeared among beings, in that stealing is found, and blaming and lying and the taking up of rods! Why don’t we elect one being who would rightly accuse those who deserve it, blame those who deserve it, and expel those who deserve it? We shall pay them with a share of rice.’
Then those beings approached the being among them who was most attractive, good-looking, lovely, and illustrious, and said, ‘Come, good being, rightly accuse those who deserve it, blame those who deserve it, and banish those who deserve it. We shall pay you with a share of rice.’ ‘Yes, sirs,’ replied that being. They acted accordingly, and were paid with a share of rice.
‘Elected by the people’, Vāseṭṭha, is the meaning of ‘elected one’, the first term applied to them.
‘Lord of the fields’ is the meaning of ‘aristocrat’, the second term applied to them.
‘They please others with principle’ is the meaning of ‘king’, the third term applied to them.
And that, Vāseṭṭha, is how the ancient primordial terms for the circle of aristocrats were created; for those very beings, not others; for those like them, not unlike; by virtue of principle, not against principle. For principle, Vāseṭṭha, is the best thing for people in both this life and the next.
11. The Circle of Brahmins
Then some of those same beings thought, ‘Oh, how wicked things have appeared among beings, in that stealing is found, and blaming and lying and the taking up of rods and banishment! Why don’t we set aside bad, unskillful things?’ So that’s what they did.
‘They set aside bad, unskillful things’ is the meaning of ‘brahmin’, the first term applied to them.
They built leaf huts in a wilderness region where they meditated pure and bright, without lighting cooking fires or digging the soil. They came down in the morning for breakfast and in the evening for supper to the village, town, or royal capital seeking a meal. When they had obtained food they continued to meditate in the leaf huts.
When people noticed this they said, ‘These beings build leaf huts in a wilderness region where they meditate pure and bright, without lighting cooking fires or digging the soil. They come down in the morning for breakfast and in the evening for supper to the village, town, or royal capital seeking a meal. When they have obtained food they continue to meditate in the leaf huts.’
‘They meditate’ is the meaning of ‘meditator’, the second term applied to them.
But some of those beings were unable to keep up with their meditation in the leaf huts in the wilderness. They came down to the neighborhood of a village or town where they dwelt compiling texts.
When people noticed this they said, ‘These beings were unable to keep up with their meditation in the leaf huts in the wilderness. They came down to the neighborhood of a village or town where they dwelt compiling texts. Now they don’t meditate.’
‘Now they don’t meditate’ is the meaning of ‘reciter’, the third term applied to them. What was deemed as worse at that time, these days is deemed as best.
And that, Vāseṭṭha, is how the ancient primordial terms for the circle of brahmins were created; for those very beings, not others; for those like them, not unlike; by virtue of principle, not against principle. For principle, Vāseṭṭha, is the best thing for people in both this life and the next.
12. The Circle of Peasants
Some of those same beings, taking up an active sex life, applied themselves to various jobs.
‘Having taken up an active sex life, they apply themselves to various jobs’ is the meaning of ‘peasant’, the term applied to them.
And that, Vāseṭṭha, is how the ancient primordial term for the circle of peasants was created; for those very beings, not others; for those like them, not unlike; by virtue of principle, not against principle. For principle, Vāseṭṭha, is the best thing for people in both this life and the next.
13. The Circle of Menials
The remaining beings lived by hunting and menial tasks.
‘They live by hunting and humble tasks’ is the meaning of ‘menial’, the term applied to them.
And that, Vāseṭṭha, is how the ancient primordial term for the circle of menials was created; for those very beings, not others; for those like them, not unlike; by virtue of principle, not against principle. For principle, Vāseṭṭha, is the best thing for people in both this life and the next.
There came a time when an aristocrat, brahmin, peasant, or menial, deprecating their own vocation, went forth from the lay life to homelessness, thinking, ‘I will be an ascetic.’
And that, Vāseṭṭha, is how these four circles were created; for those very beings, not others; for those like them, not unlike; by virtue of principle, not against principle. For principle, Vāseṭṭha, is the best thing for people in both this life and the next.
14. On Bad Conduct
An aristocrat, brahmin, peasant, menial, or ascetic may do bad things by way of body, speech, and mind. They have wrong view, and they act out of that wrong view. And because of that, when their body breaks up, after death, they’re reborn in a place of loss, a bad place, the underworld, hell.
An aristocrat, brahmin, peasant, menial, or ascetic may do good things by way of body, speech, and mind. They have right view, and they act out of that right view. And because of that, when their body breaks up, after death, they’re reborn in a good place, a heavenly realm.
An aristocrat, brahmin, peasant, menial, or ascetic may do mixed things by way of body, speech, and mind. They have mixed view, and they act out of that mixed view. And because of that, when their body breaks up, after death, they experience both pleasure and pain.
15. The Qualities That Lead to Awakening
An aristocrat, brahmin, peasant, menial, or ascetic who is restrained in body, speech, and mind, and develops the seven qualities that lead to awakening, becomes extinguished in this very life.
Any mendicant from these four castes who is perfected—with defilements ended, who has completed the spiritual journey, done what had to be done, laid down the burden, achieved their own true goal, utterly ended the fetters of rebirth, and is rightly freed through enlightenment—is said to be the foremost by virtue of principle, not against principle. For principle, Vāseṭṭha, is the best thing for people in both this life and the next.
Brahmā Sanaṅkumāra also spoke this verse:
‘The aristocrat is best among people
who take clan as the standard.
But one accomplished in knowledge and conduct
is first among gods and humans.’
That verse was well sung by Brahmā Sanaṅkumāra, not poorly sung; well spoken, not poorly spoken; beneficial, not harmful, and I agree with it. I also say:
The aristocrat is best among people
who take clan as the standard.
But one accomplished in knowledge and conduct
is first among gods and humans.”
That is what the Buddha said. Satisfied, Vāseṭṭha and Bhāradvāja were happy with what the Buddha said.