วิธีก้าวล่วงบาปกรรม
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ปาวาริกอัมพวัน เขตเมืองนาฬันทา ครั้งนั้น นายบ้านนามว่าอสิพันธกบุตร สาวกของนิครณถ์ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ประทับ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วนั่งในที่สมควร ครั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า
คามณิ นิครณถ์นาฏบุตรแสดงธรรมแก่พวกสาวกอย่างไร.
ภันเต นิครณถ์นาฏบุตรแสดงธรรมแก่พวกสาวกอย่างนี้ว่า ผู้ที่ฆ่าสัตว์ทั้งหมดต้องไปอบาย ไปนรก ผู้ที่ลักทรัพย์ทั้งหมดต้องไปอบาย ไปนรก ผู้ที่ประพฤติผิดในกามทั้งหมดต้องไปอบาย ไปนรก ผู้ที่พูดเท็จทั้งหมดต้องไปอบาย ไปนรก กรรมใดๆ มีมาก กรรมนั้นๆ ย่อมนำบุคคลไป ภันเต นิครณถ์นาฏบุตรย่อมแสดงธรรมแก่พวกสาวกอย่างนี้.
คามณิ ก็นิครณถ์นาฏบุตรแสดงธรรมแก่พวกสาวกว่า กรรมใดๆ มีมาก กรรมนั้นๆ ย่อมนำบุคคลไป เมื่อเป็นเช่นนั้น ก็จักไม่มีใครๆ ต้องไปอบาย ไปนรก ตามคำของนิครณถ์นาฏบุตร.
คามณิ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นว่าอย่างไร บุรุษผู้ฆ่าสัตว์รวมทั้งสมัยและไม่ใช่สมัย ตลอดทั้งกลางคืนและกลางวัน สมัยที่เขาฆ่าสัตว์ หรือสมัยที่เขาไม่ฆ่าสัตว์ สมัยไหนมากกว่ากัน.
ภันเต บุรุษผู้ฆ่าสัตว์รวมทั้งสมัยและไม่ใช่สมัย ตลอดทั้งกลางคืนและกลางวัน สมัยที่เขาฆ่าสัตว์นั้นน้อยกว่า สมัยที่เขาไม่ได้ฆ่าสัตว์นั้นมากกว่า.
คามณิ ก็นิครณถ์นาฏบุตรแสดงธรรมแก่พวกสาวกว่า กรรมใดๆ มีมาก กรรมนั้นๆ ย่อมนำบุคคลไป เมื่อเป็นเช่นนั้น ก็จักไม่มีใครๆ ต้องไปอบาย ไปนรก ตามคำของนิครณถ์นาฏบุตร.
คามณิ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นว่าอย่างไร บุรุษผู้ลักทรัพย์รวมทั้งสมัยและไม่ใช่สมัย ตลอดทั้งกลางคืนและกลางวัน สมัยที่เขาลักทรัพย์ หรือสมัยที่เขาไม่ได้ลักทรัพย์ สมัยไหนมากกว่ากัน.
ภันเต บุรุษผู้ลักทรัพย์รวมทั้งสมัยและไม่ใช่สมัย ตลอดทั้งกลางคืนและกลางวัน สมัยที่เขาลักทรัพย์นั้นน้อยกว่า ส่วนสมัยที่เขาไม่ได้ลักทรัพย์นั้นมากกว่า.
คามณิ ก็นิครณถ์นาฏบุตรแสดงธรรมแก่พวกสาวกว่า กรรมใดๆ มีมาก กรรมนั้นๆ ย่อมนำบุคคลไป เมื่อเป็นเช่นนั้น ก็จักไม่มีใครๆ ต้องไปอบาย ไปนรก ตามคำของนิครณถ์นาฏบุตร.
คามณิ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นว่าอย่างไร บุรุษผู้ประพฤติผิดในกามรวมทั้งสมัยและไม่ใช่สมัย ตลอดทั้งกลางคืนและกลางวัน สมัยที่เขาประพฤติผิดในกาม หรือสมัยที่เขาไม่ได้ประพฤติผิดในกาม สมัยไหนมากกว่ากัน.
ภันเต บุรุษผู้ประพฤติผิดในกามรวมทั้งสมัยและไม่ใช่สมัย ตลอดทั้งกลางคืนและกลางวัน สมัยที่เขาประพฤติผิดในกามนั้นน้อยกว่า ส่วนสมัยที่เขาไม่ได้ประพฤติผิดในกามนั้นมากกว่า.
คามณิ ก็นิครณถ์นาฏบุตรแสดงธรรมแก่พวกสาวกว่า กรรมใดๆ มีมาก กรรมนั้นๆ ย่อมนำบุคคลไป เมื่อเป็นเช่นนั้น ก็จักไม่มีใครๆ ต้องไปอบาย ไปนรก ตามคำของนิครณถ์นาฏบุตร.
คามณิ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นว่าอย่างไร บุรุษผู้พูดเท็จรวมทั้งสมัยและไม่ใช่สมัย ตลอดทั้งกลางคืนและกลางวัน สมัยที่เขาพูดเท็จ หรือสมัยที่เขาไม่ได้พูดเท็จ สมัยไหนมากกว่ากัน.
ภันเต บุรุษผู้พูดเท็จรวมทั้งสมัยและไม่ใช่สมัย ตลอดทั้งกลางคืนและกลางวัน สมัยที่เขาพูดเท็จนั้นน้อยกว่า ส่วนสมัยที่เขาไม่ได้พูดเท็จนั้นมากกว่า.
คามณิ ก็นิครณถ์นาฏบุตรแสดงธรรมแก่พวกสาวกว่า กรรมใดๆ มีมาก กรรมนั้นๆ ย่อมนำบุคคลไป เมื่อเป็นเช่นนั้น ก็จักไม่มีใครๆ ต้องไปอบาย ไปนรก ตามคำของนิครณถ์นาฏบุตร.
คามณิ ศาสดาบางท่านในโลกนี้ มักพูดอย่างนี้ มักเห็นอย่างนี้ว่า ผู้ที่ฆ่าสัตว์ทั้งหมดต้องไปอบาย ไปนรก ผู้ที่ลักทรัพย์ทั้งหมดต้องไปอบาย ไปนรก ผู้ที่ประพฤติผิดในกามทั้งหมดต้องไปอบาย ไปนรก ผู้ที่พูดเท็จทั้งหมดต้องไปอบาย ไปนรก.
คามณิ สาวกที่เลื่อมใสในศาสดานั้น ย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า ศาสดาของเรามีคำกล่าวอย่างนี้ มีความเห็นอย่างนี้ว่า ผู้ที่ฆ่าสัตว์ทั้งหมด ต้องไปอบาย ไปนรก สาวกของศาสดานั้นกลับได้ความเห็นว่า สัตว์ที่เราเคยฆ่ามีอยู่ แม้เราก็ต้องไปอบาย ต้องไปนรก เขายังไม่ละวาจานั้น ยังไม่ละความคิดนั้น ยังไม่สละความเห็นนั้น ย่อมตั้งอยู่ในนรก เหมือนถูกนำมาไว้ ฉะนั้น (สาวกของศาสดานั้นมีความคิดอย่างนี้ว่า) ศาสดาของเรามีคำกล่าวอย่างนี้ มีความเห็นอย่างนี้ว่า ผู้ที่ลักทรัพย์ทั้งหมดต้องไปอบาย ไปนรก สาวกของศาสดานั้นกลับได้ความเห็นว่า ทรัพย์ที่เราเคยลักมีอยู่ แม้เราก็ต้องไปอบาย ต้องไปนรก เขายังไม่ละวาจานั้น ยังไม่ละความคิดนั้น ยังไม่สละความเห็นนั้น ย่อมตั้งอยู่ในนรก เหมือนถูกนำมาไว้ ฉะนั้น ศาสดาของเรามีคำกล่าวอย่างนี้ มีความเห็นอย่างนี้ว่า ผู้ที่ประพฤติผิดในกามทั้งหมดต้องไปอบาย ไปนรก สาวกของศาสดานั้นกลับได้ความเห็นว่า การประพฤติผิดในกามที่เราเคยทำมีอยู่ แม้เราก็ต้องไปอบาย ต้องไปนรก เขายังไม่ละวาจานั้น ยังไม่ละความคิดนั้น ยังไม่สละความเห็นนั้น ย่อมตั้งอยู่ในนรก เหมือนถูกนำมาไว้ ฉะนั้น ศาสดาของเรามีคำกล่าวอย่างนี้ มีความเห็นอย่างนี้ว่า ผู้ที่พูดเท็จทั้งหมดต้องไปอบาย ไปนรก สาวกของศาสดานั้นกลับได้ความเห็นว่า คำเท็จที่เราเคยพูดมีอยู่ แม้เราก็ต้องไปอบาย ต้องไปนรก เขายังไม่ละวาจานั้น ยังไม่ละความคิดนั้น ยังไม่สละความเห็นนั้น ย่อมตั้งอยู่ในนรก เหมือนถูกนำมาไว้ ฉะนั้น.
คามณิ ก็ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธะ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว รู้แจ้งโลก เป็นสารถีผู้ฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งไปกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นจำแนกธรรม เสด็จอุบัติขึ้นแล้วในโลกนี้ ตถาคตนั้นตำหนิติเตียนการฆ่าสัตว์โดยอเนกปริยาย และกล่าวว่า จงงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ตำหนิติเตียนการลักทรัพย์โดยอเนกปริยาย และกล่าวว่า จงงดเว้นจากการลักทรัพย์ ตำหนิติเตียนการประพฤติผิดในกามโดยอเนกปริยาย และกล่าวว่า จงงดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม ตำหนิติเตียนการพูดเท็จโดยอเนกปริยาย และกล่าวว่า จงงดเว้นจากการพูดเท็จ.
สาวกผู้เลื่อมใสยิ่งในศาสดานั้น ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า พระผู้มีพระภาคทรงตำหนิติเตียนการฆ่าสัตว์โดยอเนกปริยาย และกล่าวว่า จงงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ก็สัตว์ที่ถูกเราฆ่ามีอยู่มากมาย ข้อที่เราฆ่าสัตว์มากมายนั้น เป็นการไม่ดีไม่งาม เราเท่านั้นพึงเดือดร้อนเพราะข้อนี้เป็นปัจจัย เราจะไม่ได้ทำบาปกรรมนั้นก็หาไม่ เขาพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ย่อมละการฆ่าสัตว์นั้นด้วย ย่อมงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ต่อไปด้วย เป็นอันว่าเขาละบาปกรรม ก้าวล่วงบาปกรรมได้ด้วยประการอย่างนี้.
สาวกนั้นย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า พระผู้มีพระภาคทรงตำหนิติเตียนการลักทรัพย์โดยอเนกปริยาย และกล่าวว่า จงงดเว้นจากการลักทรัพย์ ก็ทรัพย์ที่ถูกเราลักมีอยู่มากมาย ข้อที่เราลักทรัพย์มากมายนั้น เป็นการไม่ดีไม่งาม เราเท่านั้นพึงเดือดร้อนเพราะข้อนี้เป็นปัจจัย เราจะไม่ได้ทำบาปกรรมนั้นก็หาไม่ เขาพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ย่อมละการลักทรัพย์นั้นด้วย ย่อมงดเว้นจากการลักทรัพย์ต่อไปด้วย เป็นอันว่าเขาละบาปกรรม ก้าวล่วงบาปกรรมได้ด้วยประการอย่างนี้.
สาวกนั้นย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า พระผู้มีพระภาคทรงตำหนิติเตียนการประพฤติผิดในกามโดยอเนกปริยาย และกล่าวว่า จงงดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม ก็การที่เราเคยประพฤติผิดในกามมีอยู่มากมาย ข้อที่เราประพฤติผิดในกามมากมายนั้น เป็นการไม่ดีไม่งาม เราเท่านั้นพึงเดือดร้อนเพราะข้อนี้เป็นปัจจัย เราจะไม่ได้ทำบาปกรรมนั้นก็หาไม่ เขาพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ย่อมละการประพฤติผิดในกามนั้นด้วย ย่อมงดเว้นจากการประพฤติผิดในกามต่อไปด้วย เป็นอันว่าเขาละบาปกรรม ก้าวล่วงบาปกรรมได้ด้วยประการอย่างนี้.
สาวกนั้นย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า พระผู้มีพระภาคทรงตำหนิติเตียนการพูดเท็จโดยอเนกปริยาย และกล่าวว่า จงงดเว้นจากการพูดเท็จ ก็การที่เราเคยพูดเท็จมีอยู่มากมาย ข้อที่เราพูดเท็จมากมายนั้น เป็นการไม่ดีไม่งาม เราเท่านั้นพึงเดือดร้อนเพราะข้อนี้เป็นปัจจัย เราจะไม่ได้ทำบาปกรรมนั้นก็หาไม่ เขาพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ย่อมละการพูดเท็จนั้นด้วย ย่อมงดเว้นจากการพูดเท็จต่อไปด้วย เป็นอันว่าเขาละบาปกรรม ก้าวล่วงบาปกรรมได้ด้วยประการอย่างนี้.
สาวกนั้นละการฆ่าสัตว์ งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ละการลักทรัพย์ งดเว้นจากการลักทรัพย์ ละการประพฤติผิดในกาม งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม ละการพูดเท็จ งดเว้นจากการพูดเท็จ ละการพูดส่อเสียด (พูดยุยงให้แตกกัน) งดเว้นจากการพูดส่อเสียด ละการพูดคำหยาบ งดเว้นจากการพูดคำหยาบ ละการพูดเพ้อเจ้อ งดเว้นจากการจากการพูดเพ้อเจ้อ ละอภิชฌา (ความเพ่งเล็งทรัพย์ผู้อื่น) มีจิตปราศจากอภิชฌา ละความประทุษร้าย คือ พยาบาท มีจิตไม่พยาบาท ละมิจฉาทิฏฐิ มีสัมมาทิฏฐิ
คามณิ อริยสาวกนั้นนั่นแล เป็นผู้ปราศจากอภิชฌา ปราศจากพยาบาท ไม่ลุ่มหลง มีสัมปชัญญะ มีสติมั่นคง เธอมีจิตประกอบด้วยเมตตา แผ่ไปสู่ทิศที่หนึ่ง ทิศที่สอง ทิศที่สาม ทิศที่สี่ ก็เหมือนกันอย่างนั้น ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง เธอแผ่ไปตลอดโลกทั้งสิ้น ในที่ทั้งปวง แก่สัตว์ทั้งหลายทั่วหน้าเสมอกัน ด้วยจิตอันประกอบด้วยเมตตา เป็นจิตไพบูลย์ ใหญ่หลวง ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาทแล้วแลอยู่ คามณิ เปรียบเหมือนคนเป่าสังข์ผู้มีกำลัง ย่อมเป่าสังข์ให้ได้ยินได้ทั้งสี่ทิศโดยไม่ยากฉันใด ในเมตตาเจโตวิมุตติที่เจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้ กรรมที่ทำพอประมาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ย่อมไม่มีเหลืออยู่ ไม่ตั้งอยู่ในนั้น ก็ฉันนั้นเหมือนกัน.
คามณิ อริยสาวกนั้นนั่นแล เป็นผู้ปราศจากอภิชฌา ปราศจากพยาบาท ไม่ลุ่มหลง มีสัมปชัญญะ มีสติมั่นคง เธอมีจิตประกอบด้วยกรุณา แผ่ไปสู่ทิศที่หนึ่ง ทิศที่สอง ทิศที่สาม ทิศที่สี่ ก็เหมือนกันอย่างนั้น ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง เธอแผ่ไปตลอดโลกทั้งสิ้น ในที่ทั้งปวง แก่สัตว์ทั้งหลายทั่วหน้าเสมอกัน ด้วยจิตอันประกอบด้วยกรุณา เป็นจิตไพบูลย์ ใหญ่หลวง ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาทแล้วแลอยู่ คามณิ เปรียบเหมือนคนเป่าสังข์ผู้มีกำลัง ย่อมเป่าสังข์ให้ได้ยินได้ทั้งสี่ทิศโดยไม่ยากฉันใด ในกรุณาเจโตวิมุตติ ที่เจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้ กรรมที่ทำพอประมาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ย่อมไม่มีเหลืออยู่ ไม่ตั้งอยู่ในนั้น ก็ฉันนั้นเหมือนกัน.
คามณิ อริยสาวกนั้นนั่นแล เป็นผู้ปราศจากอภิชฌา ปราศจากพยาบาท ไม่ลุ่มหลง มีสัมปชัญญะ มีสติมั่นคง เธอมีจิตประกอบด้วยมุทิตา แผ่ไปสู่ทิศที่หนึ่ง ทิศที่สอง ทิศที่สาม ทิศที่สี่ ก็เหมือนกันอย่างนั้น ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง เธอแผ่ไปตลอดโลกทั้งสิ้น ในที่ทั้งปวง แก่สัตว์ทั้งหลายทั่วหน้าเสมอกัน ด้วยจิตอันประกอบด้วยมุทิตา เป็นจิตไพบูลย์ ใหญ่หลวง ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาทแล้วแลอยู่ คามณิ เปรียบเหมือนคนเป่าสังข์ผู้มีกำลัง ย่อมเป่าสังข์ให้ได้ยินได้ทั้งสี่ทิศโดยไม่ยากฉันใด ในมุทิตาเจโตวิมุตติ ที่เจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้ กรรมที่ทำพอประมาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ย่อมไม่มีเหลืออยู่ ไม่ตั้งอยู่ในนั้น ก็ฉันนั้นเหมือนกัน.
คามณิ อริยสาวกนั้นนั่นแล เป็นผู้ปราศจากอภิชฌา ปราศจากพยาบาท ไม่ลุ่มหลง มีสัมปชัญญะ มีสติมั่นคง เธอมีจิตประกอบด้วยอุเบกขา แผ่ไปสู่ทิศที่หนึ่ง ทิศที่สอง ทิศที่สาม ทิศที่สี่ ก็เหมือนกันอย่างนั้น ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง เธอแผ่ไปตลอดโลกทั้งสิ้น ในที่ทั้งปวง แก่สัตว์ทั้งหลายทั่วหน้าเสมอกัน ด้วยจิตอันประกอบด้วยอุเบกขา เป็นจิตไพบูลย์ ใหญ่หลวง ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาทแล้วแลอยู่ คามณิ เปรียบเหมือนคนเป่าสังข์ผู้มีกำลัง ย่อมเป่าสังข์ให้ได้ยินได้ทั้งสี่ทิศโดยไม่ยากฉันใด ในอุเบกขาเจโตวิมุตติ ที่เจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้ กรรมที่ทำพอประมาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ย่อมไม่มีเหลืออยู่ ไม่ตั้งอยู่ในนั้น ก็ฉันนั้นเหมือนกัน.
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว นายบ้านนามว่าอสิพันธกบุตรสาวกนิครณถ์ได้ทูลพระผู้มีพระภาคว่า ภันเต ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ภันเต ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนผู้หลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืดด้วยหวังว่า คนมีตาดีจะได้มองเห็นรูป ดังนี้ พระผู้มีพระภาคทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยายอย่างนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ภันเต ข้าพเจ้านี้ ขอถึงพระผู้มีพระภาค กับทั้งพระธรรม และทั้งพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดทรงจำข้าพเจ้าว่า เป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป.
-บาลี สฬา. สํ. 18/390/608.
https://84000.org/tipitaka/pali/?18//390, https://etipitaka.com/read/pali/18/390
English translation by Bhikkhu Sujato
At one time the Buddha was staying near Nāḷandā in Pāvārika’s mango grove.
Then Asibandhaka’s son the chief, who was a disciple of the Jains, went up to the Buddha, and sat down to one side. The Buddha said to him, “Chief, how does the Jain ascetic of the Ñātika clan teach his disciples?”
“Sir, this is how the Jain Ñātika teaches his disciples: ‘Everyone who kills a living creature, steals, commits sexual misconduct, or lies goes to a place of loss, to hell. You’re led on by what you usually live by.’ This is how the Jain Ñātika teaches his disciples.”
“‘You’re led on by what you usually live by’: if this were true, then, according to what the Jain Ñātika says, no-one would go to a place of loss, to hell.
What do you think, chief? Take a person who kills living creatures. If we compare periods of time during the day and night, which is more frequent: the occasions when they’re killing or when they’re not killing?”
“The occasions when they’re killing are less frequent, while the occasions when they’re not killing are more frequent.”
“‘You’re led on by what you usually live by’: if this were true, then, according to what the Jain ascetic of the Ñātika clan says, no-one would go to a place of loss, to hell.
What do you think, chief? Take a person who steals …
Take a person who commits sexual misconduct …
Take a person who lies. If we compare periods of time during the day and night, which is more frequent: the occasions when they’re lying or when they’re not lying?”
“The occasions when they’re lying are less frequent, while the occasions when they’re not lying are more frequent.”
“‘You’re led on by what you usually live by’: if this were true, then, according to what the Jain Ñātika says, no-one would go to a place of loss, to hell.
Take some teacher who has this doctrine and view: ‘Everyone who kills a living creature, steals, commits sexual misconduct, or lies goes to a place of loss, to hell.’ And there’s a disciple who is devoted to that teacher. They think: ‘My teacher has this doctrine and view: “Everyone who kills a living creature, steals, commits sexual misconduct, or lies goes to a place of loss, to hell.” But I’ve killed living creatures … stolen … committed sexual misconduct … or lied.’ They get the view: ‘I too am going to a place of loss, to hell.’ Unless they give up that speech and thought, and let go of that view, they will be cast down to hell.
But consider when a Realized One arises in the world, perfected, a fully awakened Buddha, accomplished in knowledge and conduct, holy, knower of the world, supreme guide for those who wish to train, teacher of gods and humans, awakened, blessed. In many ways he criticizes and denounces killing living creatures, saying: ‘Stop killing living creatures!’ He criticizes and denounces stealing … sexual misconduct … lying, saying: ‘Stop lying!’ And there’s a disciple who is devoted to that teacher. Then they reflect: ‘In many ways the Buddha criticizes and denounces killing living creatures, saying: “Stop killing living creatures!” But I have killed living creatures to a certain extent. That’s not right, it’s not good, and I feel remorseful because of it. But I can’t undo what I have done.’ Reflecting like this, they give up killing living creatures, and in future they don’t kill living creatures. That’s how to give up this bad deed and get past it.
‘In many ways the Buddha criticizes and denounces stealing …’
‘In many ways the Buddha criticizes and denounces sexual misconduct …’
‘In many ways the Buddha criticizes and denounces lying, saying: “Stop lying!” But I have lied to a certain extent. That’s not right, it’s not good, and I feel remorseful because of it. But I can’t undo what I have done.’ Reflecting like this, they give up lying, and in future they refrain from lying. That’s how to give up this bad deed and get past it.
They give up killing living creatures. They give up stealing. They give up sexual misconduct. They give up lying. They give up divisive speech. They give up harsh speech. They give up talking nonsense. They give up covetousness. They give up ill will and malevolence. They give up wrong view and have right view.
That noble disciple is rid of desire, rid of ill will, unconfused, aware, and mindful. They meditate spreading a heart full of love to one direction, and to the second, and to the third, and to the fourth. In the same way above, below, across, everywhere, all around, they spread a heart full of love to the whole world—abundant, expansive, limitless, free of enmity and ill will. Suppose there was a powerful horn blower. They’d easily make themselves heard in the four quarters. In the same way, when the heart’s release by love has been developed and cultivated like this, any limited deeds they’ve done don’t remain or persist there.
Then that noble disciple is rid of desire, rid of ill will, unconfused, aware, and mindful. They meditate spreading a heart full of compassion … They meditate spreading a heart full of rejoicing … They meditate spreading a heart full of equanimity to one direction, and to the second, and to the third, and to the fourth. In the same way above, below, across, everywhere, all around, they spread a heart full of equanimity to the whole world—abundant, expansive, limitless, free of enmity and ill will. Suppose there was a powerful horn blower. They’d easily make themselves heard in the four quarters. In the same way, when the heart’s release by equanimity has been developed and cultivated like this, any limited deeds they’ve done don’t remain or persist there.”
When he said this, Asibandhaka’s son the chief said to the Buddha, “Excellent, sir! Excellent! … From this day forth, may the Buddha remember me as a lay follower who has gone for refuge for life.”