สิ่งที่ควรเสพ และสิ่งที่ไม่ควรเสพ (เสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร)
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี สมัยนั้น … พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า
ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมปริยายที่ควรเสพ1 และที่ไม่ควรเสพแก่พวกเธอ เธอทั้งหลายจงฟังธรรมปริยายนั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว.
ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความประพฤติทางกาย (กายสมาจาร) ไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพ ความประพฤติทางกายทั้ง ๒ อย่างนั้น แต่ละอย่างล้วนเป็นความประพฤติทางกายด้วยกันทั้งนั้น เรากล่าวความประพฤติทางวาจา (วจีสมาจาร) ไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพ ความประพฤติทางวาจาทั้ง ๒ อย่างนั้น แต่ละอย่างล้วนเป็นความประพฤติทางวาจาด้วยกันทั้งนั้น เรากล่าวความประพฤติทางใจ (มโนสมาจาร) ไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพ ความประพฤติทางใจทั้ง ๒ อย่างนั้น แต่ละอย่างล้วนเป็นความประพฤติทางใจด้วยกันทั้งนั้น เรากล่าวความเกิดขึ้นแห่งจิต (จิตตุปบาท) ไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพ ความเกิดขึ้นแห่งจิตทั้ง ๒ อย่างนั้น แต่ละอย่างล้วนเป็นความเกิดขึ้นแห่งจิตด้วยกันทั้งนั้น เรากล่าวความได้สัญญา (สัญญาปฏิลาภ) ไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพ ความได้สัญญาทั้ง ๒ อย่างนั้น แต่ละอย่างล้วนเป็นความได้สัญญาด้วยกันทั้งนั้น เรากล่าวความได้ทิฏฐิ (ทิฏฐิปฏิลาภ) ไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพ ความได้ทิฏฐิทั้ง ๒ อย่างนั้น แต่ละอย่างล้วนเป็นความได้ทิฏฐิด้วยกันทั้งนั้น เรากล่าวความได้อัตภาพ2 (อัตตภาวปฏิลาภ) ไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพ ความได้อัตภาพทั้ง ๒ อย่างนั้น แต่ละอย่างล้วนเป็นความได้อัตภาพด้วยกันทั้งนั้น.
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสแล้วอย่างนี้ ท่านพระสารีบุตรได้ทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
ภันเต ธรรมปริยายนี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้โดยย่อ ไม่ได้จำแนกเนื้อความโดยพิสดาร ข้าพระองค์รู้ทั่วถึงเนื้อความได้โดยพิสดารอย่างนี้ คือ
ข้อที่พระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความประพฤติทางกายไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพ ความประพฤติทางกายทั้ง ๒ อย่างนั้น แต่ละอย่างล้วนเป็นความประพฤติทางกายด้วยกันทั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงอาศัยอะไรตรัสแล้ว ภันเต เมื่อเสพความประพฤติทางกายเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง กุศลธรรมย่อมเสื่อมไป ความประพฤติทางกายเช่นนี้ไม่ควรเสพ และเมื่อเสพความประพฤติทางกายเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเสื่อมไป กุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง ความประพฤติทางกายเช่นนี้ควรเสพ.
ภันเต เมื่อเสพความประพฤติทางกายเช่นใด อกุศลธรรมจึงเจริญยิ่ง กุศลธรรมจึงเสื่อมไป ภันเต บุคคลบางคนในกรณีนี้ เป็นผู้มีปกติฆ่าสัตว์มีชีวิต หยาบช้า มีมือชุ่มด้วยโลหิต ตั้งอยู่ในการฆ่าและการทุบตี ไม่มีความเอ็นดูในสัตว์มีชีวิต เป็นผู้มีปกติถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ คือ ถือเอาวัตถุอันเป็นอุปกรณ์แห่งทรัพย์ของบุคคลอื่น ซึ่งอยู่ในบ้านหรืออยู่ในป่าก็ตามที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ ด้วยจิตเป็นขโมย เป็นผู้มีปกติประพฤติผิดในกาม คือ ประพฤติผิดในหญิงที่มารดารักษา บิดารักษา พี่ชายน้องชายรักษา พี่สาวน้องสาวรักษา ญาติรักษา หรือธรรมรักษา เป็นหญิงมีสามี หญิงอยู่ในสินไหม โดยที่สุดแม้หญิงที่เขาหมั้นไว้ด้วยการคล้องพวงมาลัย เป็นผู้ประพฤติผิดจารีตในรูปแบบเหล่านั้น ภันเต เมื่อเสพความประพฤติทางกายเช่นนี้แล อกุศลธรรมจึงเจริญยิ่ง กุศลธรรมจึงเสื่อมไป.
ภันเต เมื่อเสพความประพฤติทางกายเช่นใด อกุศลธรรมจึงเสื่อมไป กุศลธรรมจึงเจริญยิ่ง ภันเต บุคคลบางคนในกรณีนี้ เป็นผู้ละการฆ่าสัตว์มีชีวิต เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์มีชีวิต คือ วางท่อนไม้ วางศัสตรา มีความละอาย ถึงความเอ็นดู มีความกรุณา หวังความเกื้อกูลแก่สัตว์ทั้งหลายอยู่ เป็นผู้ละการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ เว้นขาดจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ คือ ไม่ถือเอาวัตถุอันเป็นอุปกรณ์แห่งทรัพย์ของบุคคลอื่น ซึ่งอยู่ในบ้านหรืออยู่ในป่าก็ตามที่เจ้าของไม่ได้ให้ ด้วยจิตเป็นขโมย เป็นผู้ละการประพฤติผิดในกาม เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม คือ เว้นจากการประพฤติผิดในหญิงที่มารดารักษา บิดารักษา พี่ชายน้องชายรักษา พี่สาวน้องสาวรักษา ญาติรักษา หรือธรรมรักษา เป็นหญิงมีสามี หญิงอยู่ในสินไหม โดยที่สุดแม้หญิงที่เขาหมั้นไว้ด้วยการคล้องพวงมาลัย ไม่เป็นผู้ประพฤติผิดจารีตในรูปแบบเหล่านั้น ภันเต เมื่อเสพความประพฤติทางกายเช่นนี้แล อกุศลธรรมจึงเสื่อมไป กุศลธรรมจึงเจริญยิ่ง.
ภันเต ข้อที่พระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความประพฤติทางกายไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพ ความประพฤติทางกายทั้ง ๒ อย่างนั้น แต่ละอย่างล้วนเป็นความประพฤติทางกายด้วยกันทั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงอาศัยเนื้อความดังนี้ตรัสแล้ว.
ก็ข้อที่พระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความประพฤติทางวาจาไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพ ความประพฤติทางวาจาทั้ง ๒ อย่างนั้น แต่ละอย่างล้วนเป็นความประพฤติทางวาจาด้วยกันทั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงอาศัยอะไรตรัสแล้ว ภันเต เมื่อเสพความประพฤติทางวาจาเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง กุศลธรรมย่อมเสื่อมไป ความประพฤติทางวาจาเช่นนี้ ไม่ควรเสพ และเมื่อเสพความประพฤติทางวาจาเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเสื่อมไป กุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง ความประพฤติทางวาจาเช่นนี้ควรเสพ.
ภันเต เมื่อเสพความประพฤติทางวาจาเช่นใด อกุศลธรรมจึงเจริญยิ่ง กุศลธรรมจึงเสื่อมไป ภันเต บุคคลบางคนในกรณีนี้ เป็นผู้มีปกติพูดเท็จ คือ เขาอยู่ในสภาก็ดี อยู่ในบริษัทก็ดี อยู่ในท่ามกลางหมู่ญาติก็ดี อยู่ในท่ามกลางหมู่ชนก็ดี อยู่ในท่ามกลางราชสกุลก็ดี อันเขานำไปเป็นพยาน ถูกถามว่า บุรุษผู้เจริญ ท่านรู้อย่างไร ท่านจงกล่าวไปอย่างนั้น ดังนี้ บุรุษนั้น เมื่อไม่รู้ก็กล่าวว่ารู้ เมื่อรู้ก็กล่าวว่าไม่รู้ เมื่อไม่เห็นก็กล่าวว่าเห็น เมื่อเห็นก็กล่าวว่าไม่เห็น เพราะเหตุแห่งตนเอง เพราะเหตุแห่งผู้อื่น หรือเพราะเหตุเห็นแก่อามิสเล็กน้อยใดๆ ก็เป็นผู้กล่าวเท็จทั้งที่รู้อยู่ เป็นผู้พูดส่อเสียด คือ ฟังจากฝ่ายนี้แล้วไปบอกฝ่ายโน้นเพื่อทำลายฝ่ายนี้ หรือฟังจากฝ่ายโน้นแล้วมาบอกฝ่ายนี้เพื่อทำลายฝ่ายโน้น เป็นผู้ทำคนที่สามัคคีกันให้แตกแยกกัน หรือทำคนที่แตกแยกกันแล้วให้แตกแยกกันยิ่งขึ้น เป็นผู้พอใจ ยินดี เพลิดเพลินในความแตกแยกกัน เป็นผู้กล่าววาจาที่ทำให้แตกแยกกัน เป็นผู้พูดคำหยาบ คือ กล่าววาจาที่หยาบคาย กล้าแข็ง แสบเผ็ดต่อผู้อื่น กระทบกระเทียบผู้อื่น แวดล้อมอยู่ด้วยความโกรธ ไม่เป็นไปเพื่อสมาธิ เขาเป็นผู้กล่าววาจามีลักษณะเช่นนั้น เป็นผู้พูดเพ้อเจ้อ คือ เป็นผู้พูดไม่ถูกกาล พูดคำที่ไม่เป็นจริง ไม่เป็นประโยชน์ พูดไม่อิงธรรม พูดไม่อิงวินัย คำพูดไม่มีที่หลักฐาน ไม่มีที่อ้างอิง ไม่ถูกกาลเทศะ ไม่มีจุดจบ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ภันเต เมื่อเสพความประพฤติทางวาจาเช่นนี้แล อกุศลธรรมจึงเจริญยิ่ง กุศลธรรมจึงเสื่อมไป.
ภันเต เมื่อเสพความประพฤติทางวาจาเช่นใด อกุศลธรรมจึงเสื่อมไป กุศลธรรมจึงเจริญยิ่ง ภันเต บุคคลบางคนในกรณีนี้ เป็นผู้ละการพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดเท็จ คือ เขาอยู่ในสภาก็ดี อยู่ในบริษัทก็ดี อยู่ในท่ามกลางหมู่ญาติก็ดี อยู่ในท่ามกลางหมู่ชนก็ดี อยู่ในท่ามกลางราชสกุลก็ดี อันเขานำไปเป็นพยาน ถูกถามว่า บุรุษผู้เจริญ ท่านรู้อย่างไร ท่านจงกล่าวไปอย่างนั้น ดังนี้ บุรุษนั้น เมื่อไม่รู้ก็กล่าวว่าไม่รู้ เมื่อรู้ก็กล่าวว่ารู้ เมื่อไม่เห็นก็กล่าวว่าไม่เห็น เมื่อเห็นก็กล่าวว่าเห็น เพราะเหตุแห่งตนเอง เพราะเหตุแห่งผู้อื่น หรือเพราะเหตุเห็นแก่อามิสเล็กน้อยใดๆ ก็ไม่เป็นผู้กล่าวเท็จทั้งที่รู้อยู่ เป็นผู้ละการพูดส่อเสียด เว้นขาดจากการพูดส่อเสียด คือ ได้ฟังจากฝ่ายนี้แล้วไม่นำไปบอกฝ่ายโน้นเพื่อทำลายฝ่ายนี้ หรือได้ฟังจากฝ่ายโน้นแล้วไม่นำมาบอกฝ่ายนี้เพื่อทำลายฝ่ายโน้น แต่จะสมานคนที่แตกแยกกันแล้วให้กลับสามัคคีกัน ส่งเสริมคนที่สามัคคีกันอยู่ให้สามัคคีกันยิ่งขึ้น เป็นผู้พอใจ ยินดี เพลิดเพลินในความสามัคคีกัน เป็นผู้กล่าวแต่วาจาที่ทำให้คนสามัคคีกัน เป็นผู้ละการพูดคำหยาบ เว้นขาดจากพูดคำหยาบ คือ กล่าวแต่วาจาที่ไม่มีโทษ เสนาะโสต ให้เกิดความรัก เป็นคำฟูใจ เป็นคำสุภาพที่ชาวเมืองเขาพูดกัน เป็นที่รักใคร่ที่พอใจของมหาชน เป็นผู้กล่าวแต่วาจาที่มีลักษณะเช่นนั้นอยู่ เป็นผู้ละการพูดเพ้อเจ้อ เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ คือ กล่าวแต่ในเวลาอันสมควร กล่าวแต่คำจริง เป็นประโยชน์ พูดอิงธรรม พูดอิงวินัย พูดคำที่มีหลักฐาน มีที่อ้างอิง มีเวลาจบ ประกอบด้วยประโยชน์ สมควรแก่เวลา ภันเต เมื่อเสพความประพฤติทางวาจาเช่นนี้แล อกุศลธรรมจึงเสื่อมไป กุศลธรรมจึงเจริญยิ่ง.
ข้อที่พระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความประพฤติทางวาจาไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพ ความประพฤติทางวาจาทั้ง ๒ อย่างนั้น แต่ละอย่างล้วนเป็นความประพฤติทางวาจาด้วยกันทั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงอาศัยเนื้อความดังนี้ตรัสแล้ว.
ก็ข้อที่พระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความประพฤติทางใจไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพ ความประพฤติทางใจทั้ง ๒ อย่างนั้น แต่ละอย่างล้วนเป็นความประพฤติทางใจด้วยกันทั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงอาศัยอะไรตรัสแล้ว ภันเต เมื่อเสพความประพฤติทางใจเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง กุศลธรรมย่อมเสื่อมไป ความประพฤติทางใจเช่นนี้ไม่ควรเสพ และเมื่อเสพความประพฤติทางใจเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเสื่อมไป กุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง ความประพฤติทางใจเช่นนี้ควรเสพ.
ภันเต เมื่อเสพความประพฤติทางใจเช่นใด อกุศลธรรมจึงเจริญยิ่ง กุศลธรรมจึงเสื่อมไป ภันเต บุคคลบางคนในกรณีนี้ เป็นผู้มีอภิชฌา (ความเพ่งเล็งทรัพย์) คือ เป็นผู้เพ่งเล็งวัตถุอุปกรณ์แห่งทรัพย์ของผู้อื่นว่า โอหนอ สิ่งใดเป็นของผู้อื่น สิ่งนั้นจงเป็นของเรา ดังนี้ เป็นผู้มีจิตพยาบาท คือ มีความดำริแห่งใจอันเป็นไปในทางประทุษร้ายว่า ขอให้สัตว์ทั้งหลายเหล่านี้ จงถูกฆ่า จงถูกทำลาย จงขาดสูญ จงพินาศ อย่าได้มีชีวิตอยู่เลย ดังนี้ เป็นผู้มีความเห็นผิด คือ มีความเห็นวิปริตว่า ทานที่ให้แล้วไม่มี (ผล) ยัญที่บูชาแล้วไม่มี (ผล) การบูชาที่บูชาแล้วไม่มี (ผล) ผลแห่งกรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกอื่นไม่มี มารดาไม่มี บิดาไม่มี สัตว์ที่เป็นโอปปาติกะไม่มี สมณพราหมณ์ผู้ดำเนินไปโดยชอบ ปฏิบัติโดยชอบ ผู้ทำให้แจ้งซึ่งโลกนี้และโลกอื่นด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วสอนผู้อื่นให้รู้ตามไม่มี ดังนี้ ภันเต เมื่อเสพความประพฤติทางใจเช่นนี้แล อกุศลธรรมจึงเจริญยิ่ง กุศลธรรมจึงเสื่อมไป.
ภันเต เมื่อเสพความประพฤติทางใจเช่นใด อกุศลธรรมจึงเสื่อมไป กุศลธรรมจึงเจริญยิ่ง ภันเต บุคคลบางคนในกรณีนี้ เป็นผู้ไม่มีอภิชฌา คือ เป็นผู้ไม่เพ่งเล็งวัตถุอุปกรณ์แห่งทรัพย์ของผู้อื่นว่า โอหนอ สิ่งใดเป็นของผู้อื่น สิ่งนั้นจงเป็นของเรา ดังนี้ เป็นผู้ไม่มีจิตพยาบาท คือ มีความดำริแห่งใจอันไม่ไปทางประทุษร้ายว่า ขอให้สัตว์ทั้งหลายเหล่านี้ จงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน ไม่มีความทุกข์ มีความสุข รักษาตนอยู่เถิด ดังนี้ เป็นผู้มีความเห็นถูกต้อง คือ มีความเห็นไม่วิปริตว่า ทานที่ให้แล้วมี (ผล) ยัญที่บูชาแล้วมี (ผล) การบูชาที่บูชาแล้วมี (ผล) ผลแห่งกรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่วมี โลกนี้มี โลกอื่นมี มารดามี บิดามี สัตว์ที่เป็นโอปปาติกะมี สมณพราหมณ์ผู้ดำเนินไปโดยชอบ ปฏิบัติโดยชอบ ผู้ทำให้แจ้งซึ่งโลกนี้และโลกอื่นด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วสอนผู้อื่นให้รู้ตามก็มี ดังนี้ ภันเต เมื่อเสพความประพฤติทางใจเช่นนี้แล อกุศลธรรมจึงเสื่อมไป กุศลธรรมจึงเจริญยิ่ง.
ข้อที่พระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความประพฤติทางใจไว้ ๒ อย่าง ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพ ความประพฤติทางใจทั้ง ๒ อย่างนั้น แต่ละอย่างล้วนเป็นความประพฤติทางใจด้วยกันทั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงอาศัยเนื้อความดังนี้ตรัสแล้ว.
ข้อที่พระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความเกิดขึ้นแห่งจิตไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพ ความเกิดขึ้นแห่งจิตทั้ง ๒ อย่างนั้น แต่ละอย่างล้วนเป็นความเกิดขึ้นแห่งจิตด้วยกันทั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงอาศัยอะไรตรัสแล้ว ภันเต เมื่อเสพความเกิดขึ้นแห่งจิตเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง กุศลธรรมย่อมเสื่อมไป ความเกิดขึ้นแห่งจิตเช่นนี้ไม่ควรเสพ และเมื่อเสพความเกิดขึ้นแห่งจิตเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเสื่อมไป กุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง ความเกิดขึ้นแห่งจิตเช่นนี้ควรเสพ.
ภันเต เมื่อเสพความเกิดขึ้นแห่งจิตเช่นใด อกุศลธรรมจึงเจริญยิ่ง กุศลธรรมจึงเสื่อมไป ภันเต บุคคลบางคนในกรณีนี้ เป็นผู้มากด้วยอภิชฌา (เพ่งเล็งทรัพย์ของผู้อื่น) มีจิตประกอบด้วยอภิชฌาอยู่ เป็นผู้มีพยาบาท มีจิตประกอบด้วยพยาบาทอยู่ เป็นผู้มีวิหิงสา (ความเบียดเบียน) มีจิตประกอบด้วยวิหิงสาอยู่ ภันเต เมื่อเสพความเกิดขึ้นแห่งจิตเช่นนี้แล อกุศลธรรมจึงเจริญยิ่ง กุศลธรรมจึงเสื่อมไป.
ภันเต เมื่อเสพความเกิดขึ้นแห่งจิตเช่นใด อกุศลธรรมจึงเสื่อมไป กุศลธรรมจึงเจริญยิ่ง ภันเต บุคคลบางคนในกรณีนี้ เป็นผู้ไม่มากด้วยอภิชฌา มีจิตประกอบด้วยอนภิชฌา (ไม่เพ่งเล็งทรัพย์ของผู้อื่น) อยู่ เป็นผู้ไม่มีพยาบาท มีจิตประกอบด้วยความไม่พยาบาทอยู่ เป็นผู้ไม่มีวิหิงสา มีจิตประกอบด้วยอวิหิงสา (ความไม่เบียดเบียน) อยู่ ภันเต เมื่อเสพความเกิดขึ้นแห่งจิตเช่นนี้แล อกุศลธรรมจึงเสื่อมไป กุศลธรรมจึงเจริญยิ่ง.
ข้อที่พระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความเกิดขึ้นแห่งจิตไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพ ความเกิดขึ้นแห่งจิตทั้ง ๒ อย่างนั้น แต่ละอย่างล้วนเป็นความเกิดขึ้นแห่งจิตด้วยกันทั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงอาศัยเนื้อความดังนี้ตรัสแล้ว.
ข้อที่พระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความได้สัญญาไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพ ความได้สัญญาทั้ง ๒ อย่างนั้น แต่ละอย่างล้วนเป็นความได้สัญญาด้วยกันทั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงอาศัยอะไรตรัสแล้ว ภันเต เมื่อเสพความได้สัญญาเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง กุศลธรรมย่อมเสื่อมไป ความได้สัญญาเช่นนี้ไม่ควรเสพ และเมื่อเสพความได้สัญญาเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเสื่อมไป กุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง ความได้สัญญาเช่นนี้ควรเสพ.
ภันเต เมื่อเสพความได้สัญญาเช่นใด อกุศลธรรมจึงเจริญยิ่ง กุศลธรรมจึงเสื่อมไป ภันเต บุคคลบางคนในกรณีนี้ เป็นผู้มากด้วยอภิชฌา มีสัญญาประกอบด้วยอภิชฌาอยู่ เป็นผู้มีพยาบาท มีสัญญาประกอบด้วยพยาบาทอยู่ เป็นผู้มีวิหิงสา มีสัญญาประกอบด้วยวิหิงสาอยู่ ภันเต เมื่อเสพความเกิดขึ้นแห่งสัญญาเช่นนี้แล อกุศลธรรมจึงเจริญยิ่ง กุศลธรรมจึงเสื่อมไป.
ภันเต เมื่อเสพความได้สัญญาเช่นใด อกุศลธรรมจึงเสื่อมไป กุศลธรรมจึงเจริญยิ่ง ภันเต บุคคลบางคนในกรณีนี้ เป็นผู้ไม่มากด้วยอภิชฌา มีสัญญาประกอบด้วยอนภิชฌาอยู่ เป็นผู้ไม่มีพยาบาท มีสัญญาประกอบด้วยความไม่พยาบาทอยู่ เป็นผู้ไม่มีวิหิงสา มีจิตประกอบด้วยอวิหิงสาอยู่ ภันเต เมื่อเสพความได้สัญญาเช่นนี้แล อกุศลธรรมจึงเสื่อมไป กุศลธรรมจึงเจริญยิ่ง.
ข้อที่พระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความได้สัญญาไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพ ความได้สัญญาทั้ง ๒ อย่างนั้น แต่ละอย่างล้วนเป็นความได้สัญญาด้วยกันทั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงอาศัยเนื้อความดังนี้ตรัสแล้ว.
ข้อที่พระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความได้ทิฏฐิไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพ ความได้ทิฏฐิทั้ง ๒ อย่างนั้น แต่ละอย่างล้วนเป็นความได้ทิฏฐิด้วยกันทั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงอาศัยอะไรตรัสแล้ว ภันเต เมื่อเสพความได้ทิฏฐิเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง กุศลธรรมย่อมเสื่อมไป ความได้ทิฏฐิเช่นนี้ไม่ควรเสพ และเมื่อเสพความได้ทิฏฐิเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเสื่อมไป กุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง ความได้ทิฏฐิเช่นนี้ควรเสพ.
ภันเต เมื่อเสพความได้ทิฏฐิเช่นใด อกุศลธรรมจึงเจริญยิ่ง กุศลธรรมจึงเสื่อมไป ภันเต บุคคลบางคนในกรณีนี้ เป็นผู้มีความเห็นอย่างนี้ว่า ทานที่ให้แล้วไม่มี (ผล) ยัญที่บูชาแล้วไม่มี (ผล) การบูชาที่บูชาแล้วไม่มี (ผล) ผลแห่งกรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกอื่นไม่มี มารดาไม่มี บิดาไม่มี สัตว์ที่เป็นโอปปาติกะไม่มี สมณพราหมณ์ผู้ดำเนินไปโดยชอบ ปฏิบัติโดยชอบ ผู้ทำให้แจ้งซึ่งโลกนี้และโลกอื่นด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วสอนผู้อื่นให้รู้ตามไม่มี ภันเต เมื่อเสพความได้ทิฏฐิเช่นนี้แล อกุศลธรรมจึงเจริญยิ่ง กุศลธรรมจึงเสื่อมไป.
ภันเต เมื่อเสพความได้ทิฏฐิเช่นใด อกุศลธรรมจึงเสื่อมไป กุศลธรรมจึงเจริญยิ่ง ภันเต บุคคลบางคนในกรณีนี้ เป็นผู้มีความเห็นอย่างนี้ว่า ทานที่ให้แล้วมี (ผล) ยัญที่บูชาแล้วมี (ผล) การบูชาที่บูชาแล้วมี (ผล) ผลแห่งกรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่วมี โลกนี้มี โลกอื่นมี มารดามี บิดามี สัตว์ที่เป็นโอปปาติกะมี สมณพราหมณ์ผู้ดำเนินไปโดยชอบ ปฏิบัติโดยชอบ ผู้ทำให้แจ้งซึ่งโลกนี้และโลกอื่นด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วสอนผู้อื่นให้รู้ตามก็มี ภันเต เมื่อเสพความได้ทิฏฐิเช่นนี้แล อกุศลธรรมจึงเสื่อมไป กุศลธรรมจึงเจริญยิ่ง.
ข้อที่พระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความได้ทิฏฐิไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพ ความได้ทิฏฐิทั้ง ๒ อย่างนั้น แต่ละอย่างล้วนเป็นความได้ทิฏฐิด้วยกันทั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงอาศัยเนื้อความดังนี้ตรัสแล้ว.
ข้อที่พระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความได้อัตภาพไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพ ความได้อัตภาพทั้ง ๒ อย่างนั้น แต่ละอย่างล้วนเป็นความได้อัตภาพด้วยกันทั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงอาศัยอะไรตรัสแล้ว ภันเต เมื่อเสพความได้อัตภาพเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง กุศลธรรมย่อมเสื่อมไป ความได้อัตภาพเช่นนี้ไม่ควรเสพ และเมื่อเสพความได้อัตภาพเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเสื่อมไป กุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง ความได้อัตภาพเช่นนี้ควรเสพ.
ภันเต เมื่อเสพความได้อัตภาพเช่นใด อกุศลธรรมจึงเจริญยิ่ง กุศลธรรมจึงเสื่อมไป ภันเต เมื่อบุคคลทำให้การได้อัตภาพที่มีความเบียดเบียนเกิดขึ้น เพราะความที่ภพ (การเกิด) ยังไม่สิ้นสุดลง อกุศลธรรมจึงเจริญยิ่ง กุศลธรรมจึงเสื่อมไป.
ภันเต เมื่อเสพความได้อัตภาพเช่นใด อกุศลธรรมจึงเสื่อมไป กุศลธรรมจึงเจริญยิ่ง ภันเต เมื่อบุคคลทำให้การได้อัตภาพที่ไม่มีความเบียดเบียนเกิดขึ้น เพราะความที่ภพสิ้นสุดลง อกุศลธรรมจึงเสื่อมไป กุศลธรรมจึงเจริญยิ่ง.
ข้อที่พระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความได้อัตภาพไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพ ความได้อัตภาพทั้ง ๒ อย่างนั้น แต่ละอย่างล้วนเป็นความได้อัตภาพด้วยกันทั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงอาศัยเนื้อความดังนี้ตรัสแล้ว.
ภันเต ธรรมปริยายนี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้โดยย่อ ไม่ได้จำแนกเนื้อความโดยพิสดาร ข้าพระองค์รู้ทั่วถึงเนื้อความได้โดยพิสดารอย่างนี้.
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สาธุ สาธุ สารีบุตร ธรรมปริยายนี้ที่เรากล่าวไว้โดยย่อ ไม่ได้จำแนกเนื้อความโดยพิสดาร เธอรู้ทั่วถึงเนื้อความได้โดยพิสดารอย่างนี้ ถูกต้องแล้ว.
ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความประพฤติทางกายไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพ ความประพฤติทางกายทั้ง ๒ อย่างนั้น แต่ละอย่างล้วนเป็นความประพฤติทางกายด้วยกันทั้งนั้น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว สารีบุตร เมื่อเสพความประพฤติทางกายเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง กุศลธรรมย่อมเสื่อมไป ความประพฤติทางกายเช่นนี้ไม่ควรเสพ และเมื่อเสพความประพฤติทางกายเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเสื่อมไป กุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง ความประพฤติทางกายเช่นนี้ควรเสพ.
สารีบุตร เมื่อเสพความประพฤติทางกายเช่นใด อกุศลธรรมจึงเจริญยิ่ง กุศลธรรมจึงเสื่อมไป สารีบุตร บุคคลบางคนในกรณีนี้ เป็นผู้มีปกติฆ่าสัตว์มีชีวิต หยาบช้า มีมือชุ่มด้วยโลหิต ตั้งอยู่ในการฆ่าและการทุบตี ไม่มีความเอ็นดูในสัตว์มีชีวิต เป็นผู้มีปกติถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ คือ ถือเอาวัตถุอันเป็นอุปกรณ์แห่งทรัพย์ของบุคคลอื่น ซึ่งอยู่ในบ้านหรืออยู่ในป่าก็ตามที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ ด้วยจิตเป็นขโมย เป็นผู้มีปกติประพฤติผิดในกาม คือ ประพฤติผิดในหญิงที่มารดารักษา บิดารักษา พี่ชายน้องชายรักษา พี่สาวน้องสาวรักษา ญาติรักษา หรือธรรมรักษา เป็นหญิงมีสามี หญิงอยู่ในสินไหม โดยที่สุดแม้หญิงที่เขาหมั้นไว้ด้วยการคล้องพวงมาลัย เป็นผู้ประพฤติผิดจารีตในรูปแบบเหล่านั้น สารีบุตร เมื่อเสพความประพฤติทางกายเช่นนี้แล อกุศลธรรมจึงเจริญยิ่ง กุศลธรรมจึงเสื่อมไป.
สารีบุตร เมื่อเสพความประพฤติทางกายเช่นใด อกุศลธรรมจึงเสื่อมไป กุศลธรรมจึงเจริญยิ่ง สารีบุตร บุคคลบางคนในกรณีนี้ เป็นผู้ละการฆ่าสัตว์มีชีวิต เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์มีชีวิต คือ วางท่อนไม้ วางศัสตรา มีความละอาย ถึงความเอ็นดู มีความกรุณา หวังความเกื้อกูลแก่สัตว์ทั้งหลายอยู่ เป็นผู้ละการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ เว้นขาดจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ คือ ไม่ถือเอาวัตถุอันเป็นอุปกรณ์แห่งทรัพย์ของบุคคลอื่น ซึ่งอยู่ในบ้านหรืออยู่ในป่าก็ตามที่เจ้าของไม่ได้ให้ ด้วยจิตเป็นขโมย เป็นผู้ละการประพฤติผิดในกาม เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม คือ เว้นจากการประพฤติผิดในหญิงที่มารดารักษา บิดารักษา พี่ชายน้องชายรักษา พี่สาวน้องสาวรักษา ญาติรักษา หรือธรรมรักษา เป็นหญิงมีสามี หญิงอยู่ในสินไหม โดยที่สุดแม้หญิงที่เขาหมั้นไว้ด้วยการคล้องพวงมาลัย ไม่เป็นผู้ประพฤติผิดจารีตในรูปแบบเหล่านั้น สารีบุตร เมื่อเสพความประพฤติทางกายเช่นนี้แล อกุศลธรรมจึงเสื่อมไป กุศลธรรมจึงเจริญยิ่ง.
สารีบุตร ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความประพฤติทางกายไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพ ความประพฤติทางกายทั้ง ๒ อย่างนั้น แต่ละอย่างล้วนเป็นความประพฤติทางกายด้วยกันทั้งนั้น เราอาศัยเนื้อความดังนี้กล่าวแล้ว.
ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความประพฤติทางวาจาไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพ ความประพฤติทางวาจาทั้ง ๒ อย่างนั้น แต่ละอย่างล้วนเป็นความประพฤติทางวาจาด้วยกันทั้งนั้น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว สารีบุตร เมื่อเสพความประพฤติทางวาจาเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง กุศลธรรมย่อมเสื่อมไป ความประพฤติทางวาจาเช่นนี้ ไม่ควรเสพ และเมื่อเสพความประพฤติทางวาจาเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเสื่อมไป กุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง ความประพฤติทางวาจาเช่นนี้ควรเสพ.
สารีบุตร เมื่อเสพความประพฤติทางวาจาเช่นใด อกุศลธรรมจึงเจริญยิ่ง กุศลธรรมจึงเสื่อมไป สารีบุตร บุคคลบางคนในกรณีนี้ เป็นผู้มีปกติพูดเท็จ คือ เขาอยู่ในสภาก็ดี อยู่ในบริษัทก็ดี อยู่ในท่ามกลางหมู่ญาติก็ดี อยู่ในท่ามกลางหมู่ชนก็ดี อยู่ในท่ามกลางราชสกุลก็ดี อันเขานำไปเป็นพยาน ถูกถามว่า บุรุษผู้เจริญ ท่านรู้อย่างไร ท่านจงกล่าวไปอย่างนั้น ดังนี้ บุรุษนั้น เมื่อไม่รู้ก็กล่าวว่ารู้ เมื่อรู้ก็กล่าวว่าไม่รู้ เมื่อไม่เห็นก็กล่าวว่าเห็น เมื่อเห็นก็กล่าวว่าไม่เห็น เพราะเหตุแห่งตนเอง เพราะเหตุแห่งผู้อื่น หรือเพราะเหตุเห็นแก่อามิสเล็กน้อยใดๆ ก็เป็นผู้กล่าวเท็จทั้งที่รู้อยู่ เป็นผู้พูดส่อเสียด คือ ฟังจากฝ่ายนี้แล้วไปบอกฝ่ายโน้นเพื่อทำลายฝ่ายนี้ หรือฟังจากฝ่ายโน้นแล้วมาบอกฝ่ายนี้เพื่อทำลายฝ่ายโน้น เป็นผู้ทำคนที่สามัคคีกันให้แตกกัน หรือทำคนที่แตกกันแล้วให้แตกกันยิ่งขึ้น เป็นผู้พอใจ ยินดี เพลิดเพลินในความแตกแยกกัน เป็นผู้กล่าววาจาที่ทำให้แตกแยกกัน เป็นผู้พูดคำหยาบ คือ กล่าววาจาที่หยาบคาย กล้าแข็ง แสบเผ็ดต่อผู้อื่น กระทบกระเทียบผู้อื่น แวดล้อมอยู่ด้วยความโกรธ ไม่เป็นไปเพื่อสมาธิ เขาเป็นผู้กล่าววาจามีรูปลักษณะเช่นนั้น เป็นผู้พูดเพ้อเจ้อ คือ เป็นผู้พูดไม่ถูกกาล พูดคำที่ไม่เป็นจริง ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ พูดไม่อิงธรรม พูดไม่อิงวินัย คำพูดไม่มีที่หลักฐาน ไม่มีที่อ้างอิง ไม่ถูกกาลเทศะ ไม่มีจุดจบ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ สารีบุตร เมื่อเสพความประพฤติทางวาจาเช่นนี้แล อกุศลธรรมจึงเจริญยิ่ง กุศลธรรมจึงเสื่อมไป.
สารีบุตร เมื่อเสพความประพฤติทางวาจาเช่นใด อกุศลธรรมจึงเสื่อมไป กุศลธรรมจึงเจริญยิ่ง สารีบุตร บุคคลบางคนในกรณีนี้ เป็นผู้ละการพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดเท็จ คือ เขาอยู่ในสภาก็ดี อยู่ในบริษัทก็ดี อยู่ในท่ามกลางหมู่ญาติก็ดี อยู่ในท่ามกลางหมู่ชนก็ดี อยู่ในท่ามกลางราชสกุลก็ดี อันเขานำไปเป็นพยาน ถูกถามว่า บุรุษผู้เจริญ ท่านรู้อย่างไร ท่านจงกล่าวไปอย่างนั้น ดังนี้ บุรุษนั้น เมื่อไม่รู้ก็กล่าวว่าไม่รู้ เมื่อรู้ก็กล่าวว่ารู้ เมื่อไม่เห็นก็กล่าวว่าไม่เห็น เมื่อเห็นก็กล่าวว่าเห็น เพราะเหตุตนเอง เพราะเหตุผู้อื่น หรือเพราะเหตุเห็นแก่อามิสเล็กน้อยใดๆ ก็ไม่เป็นผู้กล่าวเท็จทั้งที่รู้อยู่ เป็นผู้ละการพูดส่อเสียด เว้นขาดจากการพูดส่อเสียด คือ ได้ฟังจากฝ่ายนี้แล้วไม่นำไปบอกฝ่ายโน้นเพื่อทำลายฝ่ายนี้ หรือได้ฟังจากฝ่ายโน้นแล้วไม่นำมาบอกฝ่ายนี้เพื่อทำลายฝ่ายโน้น แต่จะสมานคนที่แตกกันแล้วให้กลับสามัคคีกัน ส่งเสริมคนที่สามัคคีกันอยู่ให้สามัคคีกันยิ่งขึ้น เป็นผู้พอใจ ยินดี เพลิดเพลินในความสามัคคีกัน เป็นผู้กล่าวแต่วาจาที่ทำให้คนสามัคคีกัน เป็นผู้ละการพูดคำหยาบ เว้นขาดจากพูดคำหยาบ คือ กล่าวแต่วาจาที่ไม่มีโทษ เสนาะโสต ให้เกิดความรัก เป็นคำฟูใจ เป็นคำสุภาพที่ชาวเมืองเขาพูดกัน เป็นที่รักใคร่ที่พอใจของมหาชน เป็นผู้กล่าวแต่วาจาเช่นนั้นอยู่ เป็นผู้ละการพูดเพ้อเจ้อ เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ คือ กล่าวแต่ในเวลาอันสมควร กล่าวแต่คำจริง เป็นประโยชน์ พูดอิงธรรม พูดอิงวินัย พูดคำที่มีหลักฐาน มีที่อ้างอิง มีเวลาจบ ประกอบด้วยประโยชน์ สมควรแก่เวลา สารีบุตร เมื่อเสพความประพฤติทางวาจาเช่นนี้แล อกุศลธรรมจึงเสื่อมไป กุศลธรรมจึงเจริญยิ่ง.
ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความประพฤติทางวาจาไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพ ความประพฤติทางวาจาทั้ง ๒ อย่างนั้น แต่ละอย่างล้วนเป็นความประพฤติทางวาจาด้วยกันทั้งนั้น เราอาศัยเนื้อความดังนี้กล่าวแล้ว.
ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความประพฤติทางใจไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพ ความประพฤติทางใจทั้ง ๒ อย่างนั้น แต่ละอย่างล้วนเป็นความประพฤติทางใจด้วยกันทั้งนั้น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว สารีบุตร เมื่อเสพความประพฤติทางใจเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง กุศลธรรมย่อมเสื่อมไป ความประพฤติทางใจเช่นนี้ไม่ควรเสพ และเมื่อเสพความประพฤติทางใจเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเสื่อมไป กุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง ความประพฤติทางใจเช่นนี้ควรเสพ.
สารีบุตร เมื่อเสพความประพฤติทางใจเช่นใด อกุศลธรรมจึงเจริญยิ่ง กุศลธรรมจึงเสื่อมไป สารีบุตร บุคคลบางคนในกรณีนี้ เป็นผู้มีอภิชฌา (ความเพ่งเล็งทรัพย์) คือ เป็นผู้เพ่งเล็งวัตถุอุปกรณ์แห่งทรัพย์ของผู้อื่นว่า โอหนอ สิ่งใดเป็นของผู้อื่น สิ่งนั้นจงเป็นของเรา ดังนี้ เป็นผู้มีจิตพยาบาท คือ มีความดำริแห่งใจอันเป็นไปในทางประทุษร้ายว่า ขอให้สัตว์ทั้งหลายเหล่านี้ จงถูกฆ่า จงถูกทำลาย จงขาดสูญ จงพินาศ อย่าได้มีชีวิตอยู่เลย ดังนี้ เป็นผู้มีความเห็นผิด คือ มีความเห็นวิปริตว่า ทานที่ให้แล้วไม่มี (ผล) ยัญที่บูชาแล้วไม่มี (ผล) การบูชาที่บูชาแล้วไม่มี (ผล) ผลวิบากแห่งกรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกอื่นไม่มี มารดาไม่มี บิดาไม่มี สัตว์ที่เป็นโอปปาติกะไม่มี สมณพราหมณ์ผู้ดำเนินไปโดยชอบ ปฏิบัติโดยชอบ ผู้ทำให้แจ้งซึ่งโลกนี้และโลกอื่นด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วสอนผู้อื่นให้รู้ตามไม่มี ดังนี้ สารีบุตร เมื่อเสพความประพฤติทางใจเช่นนี้แล อกุศลธรรมจึงเจริญยิ่ง กุศลธรรมจึงเสื่อมไป.
สารีบุตร เมื่อเสพความประพฤติทางใจเช่นใด อกุศลธรรมจึงเสื่อมไป กุศลธรรมจึงเจริญยิ่ง สารีบุตร บุคคลบางคนในกรณีนี้ เป็นผู้ไม่มีอภิชฌา คือ เป็นผู้ไม่เพ่งเล็งวัตถุอุปกรณ์แห่งทรัพย์ของผู้อื่นว่า โอหนอ สิ่งใดเป็นของผู้อื่น สิ่งนั้นจงเป็นของเรา ดังนี้ เป็นผู้ไม่มีจิตพยาบาท คือ มีความดำริแห่งใจอันไม่ไปทางประทุษร้ายว่า ขอให้สัตว์ทั้งหลายเหล่านี้ จงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน ไม่มีความทุกข์ มีความสุข รักษาตนอยู่เถิด ดังนี้ เป็นผู้มีความเห็นถูกต้อง คือ มีความเห็นไม่วิปริตว่า ทานที่ให้แล้วมี (ผล) ยัญที่บูชาแล้วมี (ผล) การบูชาที่บูชาแล้วมี (ผล) ผลวิบากแห่งกรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่วมี โลกนี้มี โลกอื่นมี มารดามี บิดามี สัตว์ที่เป็นโอปปาติกะมี สมณพราหมณ์ผู้ดำเนินไปโดยชอบ ปฏิบัติโดยชอบ ผู้ทำให้แจ้งซึ่งโลกนี้และโลกอื่นด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วสอนผู้อื่นให้รู้ตามก็มี ดังนี้ สารีบุตร เมื่อเสพความประพฤติทางใจเช่นนี้แล อกุศลธรรมจึงเสื่อมไป กุศลธรรมจึงเจริญยิ่ง.
ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความประพฤติทางใจไว้ ๒ อย่าง ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพ ความประพฤติทางใจทั้ง ๒ อย่างนั้น แต่ละอย่างล้วนเป็นความประพฤติทางใจด้วยกันทั้งนั้น เราอาศัยเนื้อความดังนี้กล่าวแล้ว.
ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความเกิดขึ้นแห่งจิตไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพ ความเกิดขึ้นแห่งจิตทั้ง ๒ อย่างนั้น แต่ละอย่างล้วนเป็นความเกิดขึ้นแห่งจิตด้วยกันทั้งนั้น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว สารีบุตร เมื่อเสพความเกิดขึ้นแห่งจิตเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง กุศลธรรมย่อมเสื่อมไป ความเกิดขึ้นแห่งจิตเช่นนี้ไม่ควรเสพ และเมื่อเสพความเกิดขึ้นแห่งจิตเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเสื่อมไป กุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง ความเกิดขึ้นแห่งจิตเช่นนี้ควรเสพ.
สารีบุตร เมื่อเสพความเกิดขึ้นแห่งจิตเช่นใด อกุศลธรรมจึงเจริญยิ่ง กุศลธรรมจึงเสื่อมไป สารีบุตร บุคคลบางคนในกรณีนี้ เป็นผู้มากด้วยอภิชฌา (เพ่งเล็งทรัพย์ของผู้อื่น) มีจิตประกอบด้วยอภิชฌาอยู่ เป็นผู้มีพยาบาท มีจิตประกอบด้วยพยาบาทอยู่ เป็นผู้มีวิหิงสา (ความเบียดเบียน) มีจิตประกอบด้วยวิหิงสาอยู่ สารีบุตร เมื่อเสพความเกิดขึ้นแห่งจิตเช่นนี้แล อกุศลธรรมจึงเจริญยิ่ง กุศลธรรมจึงเสื่อมไป.
สารีบุตร เมื่อเสพความเกิดขึ้นแห่งจิตเช่นใด อกุศลธรรมจึงเสื่อมไป กุศลธรรมจึงเจริญยิ่ง ความเกิดขึ้นแห่งจิตเช่นนี้ควรเสพ สารีบุตร บุคคลบางคนในกรณีนี้ เป็นผู้ไม่มากด้วยอภิชฌา มีจิตประกอบด้วยอนภิชฌา (ไม่เพ่งเล็งทรัพย์ของผู้อื่น) อยู่ เป็นผู้ไม่มีพยาบาท มีจิตประกอบด้วยความไม่พยาบาทอยู่ เป็นผู้ไม่มีวิหิงสา มีจิตประกอบด้วยอวิหิงสา (ความไม่เบียดเบียน) อยู่ สารีบุตร เมื่อเสพความเกิดขึ้นแห่งจิตเช่นนี้แล อกุศลธรรมจึงเสื่อมไป กุศลธรรมจึงเจริญยิ่ง.
ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความเกิดขึ้นแห่งจิตไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพ ความเกิดขึ้นแห่งจิตทั้ง ๒ อย่างนั้น แต่ละอย่างล้วนเป็นความเกิดขึ้นแห่งจิตด้วยกันทั้งนั้น เราอาศัยเนื้อความดังนี้กล่าวแล้ว.
ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความได้สัญญาไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพ ความได้สัญญาทั้ง ๒ อย่างนั้น แต่ละอย่างล้วนเป็นความได้สัญญาด้วยกันทั้งนั้น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว สารีบุตร เมื่อเสพความได้สัญญาเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง กุศลธรรมย่อมเสื่อมไป ความได้สัญญาเช่นนี้ไม่ควรเสพ และเมื่อเสพความได้สัญญาเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเสื่อมไป กุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง ความได้สัญญาเช่นนี้ควรเสพ.
สารีบุตร เมื่อเสพความได้สัญญาเช่นใด อกุศลธรรมจึงเจริญยิ่ง กุศลธรรมจึงเสื่อมไป สารีบุตร บุคคลบางคนในกรณีนี้ เป็นผู้มากด้วยอภิชฌา มีสัญญาประกอบด้วยอภิชฌาอยู่ เป็นผู้มีพยาบาท มีสัญญาประกอบด้วยพยาบาทอยู่ เป็นผู้มีวิหิงสา มีสัญญาประกอบด้วยวิหิงสาอยู่ สารีบุตร เมื่อเสพความเกิดขึ้นแห่งสัญญาเช่นนี้แล อกุศลธรรมจึงเจริญยิ่ง กุศลธรรมจึงเสื่อมไป.
สารีบุตร เมื่อเสพความได้สัญญาเช่นใด อกุศลธรรมจึงเสื่อมไป กุศลธรรมจึงเจริญยิ่ง สารีบุตร บุคคลบางคนในกรณีนี้ เป็นผู้ไม่มากด้วยอภิชฌา มีสัญญาประกอบด้วยอนภิชฌาอยู่ เป็นผู้ไม่มีพยาบาท มีสัญญาประกอบด้วยความไม่พยาบาทอยู่ เป็นผู้ไม่มีวิหิงสา มีจิตไม่ประกอบด้วยอวิหิงสาอยู่ สารีบุตร เมื่อเสพความได้สัญญาเช่นนี้แล อกุศลธรรมจึงเสื่อมไป กุศลธรรมจึงเจริญยิ่ง.
ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความได้สัญญาไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพ ความได้สัญญาทั้ง ๒ อย่างนั้น แต่ละอย่างล้วนเป็นความได้สัญญาด้วยกันทั้งนั้น เราอาศัยเนื้อความดังนี้กล่าวแล้ว.
ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความได้ทิฏฐิไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพ ความได้ทิฏฐิทั้ง ๒ อย่างนั้น แต่ละอย่างล้วนเป็นความได้ทิฏฐิด้วยกันทั้งนั้น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว สารีบุตร เมื่อเสพความได้ทิฏฐิเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง กุศลธรรมย่อมเสื่อมไป ความได้ทิฏฐิเช่นนี้ไม่ควรเสพ และเมื่อเสพความได้ทิฏฐิเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเสื่อมไป กุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง ความได้ทิฏฐิเช่นนี้ควรเสพ.
สารีบุตร เมื่อเสพความได้ทิฏฐิเช่นใด อกุศลธรรมจึงเจริญยิ่ง กุศลธรรมจึงเสื่อมไป สารีบุตร บุคคลบางคนในกรณีนี้ เป็นผู้มีความเห็นอย่างนี้ว่า ทานที่ให้แล้วไม่มี (ผล) ยัญที่บูชาแล้วไม่มี (ผล) การบูชาที่บูชาแล้วไม่มี (ผล) ผลวิบากแห่งกรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกอื่นไม่มี มารดาไม่มี บิดาไม่มี สัตว์ที่เป็นโอปปาติกะไม่มี สมณพราหมณ์ผู้ดำเนินไปโดยชอบ ปฏิบัติโดยชอบ ผู้ทำให้แจ้งซึ่งโลกนี้และโลกอื่นด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วสอนผู้อื่นให้รู้ตามไม่มี สารีบุตร เมื่อเสพความได้ทิฏฐิเช่นนี้แล อกุศลธรรมจึงเจริญยิ่ง กุศลธรรมจึงเสื่อมไป.
สารีบุตร เมื่อเสพความได้ทิฏฐิเช่นใด อกุศลธรรมจึงเสื่อมไป กุศลธรรมจึงเจริญยิ่ง สารีบุตร บุคคลบางคนในกรณีนี้ เป็นผู้มีความเห็นอย่างนี้ว่า ทานที่ให้แล้วมี (ผล) ยัญที่บูชาแล้วมี (ผล) การบูชาที่บูชาแล้วมี (ผล) ผลวิบากแห่งกรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่วมี โลกนี้มี โลกอื่นมี มารดามี บิดามี สัตว์ที่เป็นโอปปาติกะมี สมณพราหมณ์ผู้ดำเนินไปโดยชอบ ปฏิบัติโดยชอบ ผู้ทำให้แจ้งซึ่งโลกนี้และโลกอื่นด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วสอนผู้อื่นให้รู้ตามก็มี สารีบุตร เมื่อเสพความได้ทิฏฐิเช่นนี้แล อกุศลธรรมจึงเสื่อมไป กุศลธรรมจึงเจริญยิ่ง.
ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความได้ทิฏฐิไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพ ความได้ทิฏฐิทั้ง ๒ อย่างนั้น แต่ละอย่างล้วนเป็นความได้ทิฏฐิด้วยกันทั้งนั้น เราอาศัยเนื้อความดังนี้กล่าวแล้ว.
ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความได้อัตภาพไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพ ความได้อัตภาพทั้ง ๒ อย่างนั้น แต่ละอย่างล้วนเป็นความได้อัตภาพด้วยกันทั้งนั้น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว สารีบุตร เมื่อเสพความได้อัตภาพเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง กุศลธรรมย่อมเสื่อมไป ความได้อัตภาพเช่นนี้ไม่ควรเสพ และเมื่อเสพความได้อัตภาพเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเสื่อมไป กุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง ความได้อัตภาพเช่นนี้ควรเสพ.
สารีบุตร เมื่อเสพความได้อัตภาพเช่นใด อกุศลธรรมจึงเจริญยิ่ง กุศลธรรมจึงเสื่อมไป สารีบุตร เมื่อบุคคลทำให้การได้อัตภาพที่มีความเบียดเบียนเกิดขึ้น เพราะความที่ภพ (การเกิด) ยังไม่สิ้นสุดลง อกุศลธรรมจึงเจริญยิ่ง กุศลธรรมจึงเสื่อมไป.
สารีบุตร เมื่อเสพความได้อัตภาพเช่นใด อกุศลธรรมจึงเสื่อมไป กุศลธรรมจึงเจริญยิ่ง สารีบุตร เมื่อบุคคลทำให้การได้อัตภาพที่ไม่มีความเบียดเบียนเกิดขึ้น เพราะความที่ภพสิ้นสุดลง อกุศลธรรมจึงเสื่อมไป กุศลธรรมจึงเจริญยิ่ง.
ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความได้อัตภาพไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพ ความได้อัตภาพทั้ง ๒ อย่างนั้น แต่ละอย่างล้วนเป็นความได้อัตภาพด้วยกันทั้งนั้น เราอาศัยเนื้อความดังนี้กล่าวแล้ว.
สารีบุตร เรากล่าวรูปที่รู้ได้ด้วยตาไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพ เรากล่าวเสียงที่รู้ได้ด้วยหูไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพ เรากล่าวกลิ่นที่รู้ได้ด้วยจมูกไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพ เรากล่าวรสที่รู้ได้ด้วยลิ้นไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพ เรากล่าวโผฏฐัพพะที่รู้ได้ด้วยกายไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพ เรากล่าวธรรมที่รู้แจ้งด้วยใจไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพ.
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสแล้วอย่างนี้ ท่านพระสารีบุตรได้ทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
ภันเต ธรรมปริยายนี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้โดยย่อ ไม่ได้จำแนกเนื้อความโดยพิสดาร ข้าพระองค์รู้ทั่วถึงเนื้อความได้โดยพิสดารอย่างนี้ คือ
ข้อที่พระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้ว่า สารีบุตร เรากล่าวรูปที่รู้ได้ด้วยตาไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพนั้น พระผู้มีพระภาคทรงอาศัยอะไรตรัสแล้ว ภันเต เมื่อเสพรูปที่รู้ได้ด้วยตาเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง กุศลธรรมย่อมเสื่อมไป รูปที่รู้ได้ด้วยตาเช่นนี้ไม่ควรเสพ และเมื่อเสพรูปที่รู้ได้ด้วยตาเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเสื่อมไป กุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง รูปที่รู้ได้ด้วยตาเช่นนี้ควรเสพ ภันเต ข้อที่พระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้ว่า สารีบุตร เรากล่าวรูปที่รู้ได้ด้วยตาไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพนั้น พระผู้มีพระภาคทรงอาศัยเนื้อความดังนี้ตรัสแล้ว.
ข้อที่พระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้ว่า สารีบุตร เรากล่าวเสียงที่รู้ได้ด้วยหูไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพนั้น พระผู้มีพระภาคทรงอาศัยอะไรตรัสแล้ว ภันเต เมื่อเสพเสียงที่รู้ได้ด้วยหูเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง กุศลธรรมย่อมเสื่อมไป เสียงที่รู้ได้ด้วยหูเช่นนี้ไม่ควรเสพ และเมื่อเสพเสียงที่รู้ได้ด้วยหูเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเสื่อมไป กุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง เสียงที่รู้ได้ด้วยหูเช่นนี้ควรเสพ ภันเต ข้อที่พระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้ว่า สารีบุตร เรากล่าวเสียงที่รู้ได้ด้วยหูไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพนั้น พระผู้มีพระภาคทรงอาศัยเนื้อความดังนี้ตรัสแล้ว.
ข้อที่พระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้ว่า สารีบุตร เรากล่าวกลิ่นที่รู้ได้ด้วยจมูกไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพนั้น พระผู้มีพระภาคทรงอาศัยอะไรตรัสแล้ว ภันเต เมื่อเสพกลิ่นที่รู้ได้ด้วยจมูกเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง กุศลธรรมย่อมเสื่อมไป กลิ่นที่รู้ได้ด้วยจมูกเช่นนี้ไม่ควรเสพ และเมื่อเสพกลิ่นที่รู้ได้ด้วยจมูกเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเสื่อมไป กุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง กลิ่นที่รู้ได้ด้วยจมูกเช่นนี้ควรเสพ ภันเต ข้อที่พระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้ว่า สารีบุตร เรากล่าวกลิ่นที่รู้ได้ด้วยจมูกไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพนั้น พระผู้มีพระภาคทรงอาศัยเนื้อความดังนี้ตรัสแล้ว.
ข้อที่พระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้ว่า สารีบุตร เรากล่าวรสที่รู้ได้ด้วยลิ้นไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพนั้น พระผู้มีพระภาคทรงอาศัยอะไรตรัสแล้ว ภันเต เมื่อเสพรสที่รู้ได้ด้วยลิ้นเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง กุศลธรรมย่อมเสื่อมไป รสที่รู้ได้ด้วยลิ้นเช่นนี้ไม่ควรเสพ และเมื่อเสพรสที่รู้ได้ด้วยลิ้นเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเสื่อมไป กุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง รสที่รู้ได้ด้วยลิ้นเช่นนี้ควรเสพ ภันเต ข้อที่พระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้ว่า สารีบุตร เรากล่าวรสที่รู้ได้ด้วยลิ้นไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพนั้น พระผู้มีพระภาคทรงอาศัยเนื้อความดังนี้ตรัสแล้ว.
ข้อที่พระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้ว่า สารีบุตร เรากล่าวโผฏฐัพพะที่รู้ได้ด้วยกายไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพนั้น พระผู้มีพระภาคทรงอาศัยอะไรตรัสแล้ว ภันเต เมื่อเสพโผฏฐัพพะที่รู้ได้ด้วยกายเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง กุศลธรรมย่อมเสื่อมไป โผฏฐัพพะที่รู้ได้ด้วยกายเช่นนี้ไม่ควรเสพ และเมื่อเสพโผฏฐัพพะที่รู้ได้ด้วยกายเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเสื่อมไป กุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง โผฏฐัพพะที่รู้ได้ด้วยกายเช่นนี้ควรเสพ ภันเต ข้อที่พระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้ว่า สารีบุตร เรากล่าวโผฏฐัพพะที่รู้ได้ด้วยกายไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพนั้น พระผู้มีพระภาคทรงอาศัยเนื้อความดังนี้ตรัสแล้ว.
ข้อที่พระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้ว่า สารีบุตร เรากล่าวธรรมที่รู้แจ้งด้วยใจไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพนั้น พระผู้มีพระภาคทรงอาศัยอะไรตรัสแล้ว ภันเต เมื่อเสพธรรมที่รู้แจ้งด้วยใจเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง กุศลธรรมย่อมเสื่อมไป ธรรมที่รู้แจ้งด้วยใจเช่นนี้ไม่ควรเสพ และเมื่อเสพธรรมที่รู้แจ้งด้วยใจเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเสื่อมไป กุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง ธรรมที่รู้แจ้งด้วยใจเช่นนี้ควรเสพ ภันเต ข้อที่พระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้ว่า สารีบุตร เรากล่าวธรรมที่รู้แจ้งด้วยใจไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพนั้น พระผู้มีพระภาคทรงอาศัยเนื้อความดังนี้ตรัสแล้ว.
ภันเต ธรรมปริยายนี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้โดยย่อ ไม่ได้จำแนกเนื้อความโดยพิสดาร ข้าพระองค์รู้ทั่วถึงเนื้อความได้โดยพิสดารอย่างนี้.
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สาธุ สาธุ สารีบุตร ธรรมปริยายนี้ที่เรากล่าวไว้โดยย่อ ไม่ได้จำแนกเนื้อความโดยพิสดาร เธอรู้ทั่วถึงเนื้อความได้โดยพิสดารอย่างนี้ ถูกต้องแล้ว.
ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า สารีบุตร เรากล่าวรูปที่รู้ได้ด้วยตาไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพนั้น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว สารีบุตร เมื่อเสพรูปที่รู้ได้ด้วยตาเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง กุศลธรรมย่อมเสื่อมไป รูปที่รู้ได้ด้วยตาเช่นนี้ไม่ควรเสพ และเมื่อเสพรูปที่รู้ได้ด้วยตาเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเสื่อมไป กุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง รูปที่รู้ได้ด้วยตาช่นนี้ควรเสพ ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า สารีบุตร เรากล่าวรูปที่รู้ได้ด้วยตาไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพนั้น เราอาศัยเนื้อความดังนี้กล่าวแล้ว.
ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า สารีบุตร เรากล่าวเสียงที่รู้ได้ด้วยหูไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพนั้น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว สารีบุตร เมื่อเสพเสียงที่รู้ได้ด้วยหูเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง กุศลธรรมย่อมเสื่อมไป เสียงที่รู้ได้ด้วยหูเช่นนี้ไม่ควรเสพ และเมื่อเสพเสียงที่รู้ได้ด้วยหูเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเสื่อมไป กุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง เสียงที่รู้ได้ด้วยหูเช่นนี้ควรเสพ ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า สารีบุตร เรากล่าวเสียงที่รู้ได้ด้วยหูไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพนั้น เราอาศัยเนื้อความดังนี้กล่าวแล้ว.
ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า สารีบุตร เรากล่าวกลิ่นที่รู้ได้ด้วยจมูกไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพนั้น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว สารีบุตร เมื่อเสพกลิ่นที่รู้ได้ด้วยจมูกเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง กุศลธรรมย่อมเสื่อมไป กลิ่นที่รู้ได้ด้วยจมูกเช่นนี้ไม่ควรเสพ และเมื่อเสพกลิ่นที่รู้ได้ด้วยจมูกเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเสื่อมไป กุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง กลิ่นที่รู้ได้ด้วยจมูกเช่นนี้ควรเสพ ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า สารีบุตร เรากล่าวกลิ่นที่รู้ได้ด้วยจมูกไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพนั้น เราอาศัยเนื้อความดังนี้กล่าวแล้ว.
ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า สารีบุตร เรากล่าวรสที่รู้ได้ด้วยลิ้นไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพนั้น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว สารีบุตร เมื่อเสพรสที่รู้ได้ด้วยลิ้นเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง กุศลธรรมย่อมเสื่อมไป รสที่รู้ได้ด้วยลิ้นเช่นนี้ไม่ควรเสพ และเมื่อเสพรสที่รู้ได้ด้วยลิ้นเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเสื่อมไป กุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง รสที่รู้ได้ด้วยลิ้นเช่นนี้ควรเสพ ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า สารีบุตร เรากล่าวรสที่รู้ได้ด้วยลิ้นไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพนั้น เราอาศัยเนื้อความดังนี้กล่าวแล้ว.
ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า สารีบุตร เรากล่าวโผฏฐัพพะที่รู้ได้ด้วยกายไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพนั้น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว สารีบุตร เมื่อเสพโผฏฐัพพะที่รู้ได้ด้วยกายเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง กุศลธรรมย่อมเสื่อมไป โผฏฐัพพะที่รู้ได้ด้วยกายเช่นนี้ไม่ควรเสพ และเมื่อเสพโผฏฐัพพะที่รู้ได้ด้วยกายเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเสื่อมไป กุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง โผฏฐัพพะที่รู้ได้ด้วยกายเช่นนี้ควรเสพ ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า สารีบุตร เรากล่าวโผฏฐัพพะที่รู้ได้ด้วยกายไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพนั้น เราอาศัยเนื้อความดังนี้กล่าวแล้ว.
ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า สารีบุตร เรากล่าวธรรมที่รู้แจ้งด้วยใจไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพนั้น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว สารีบุตร เมื่อเสพธรรมที่รู้แจ้งด้วยใจเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง กุศลธรรมย่อมเสื่อมไป ธรรมที่รู้แจ้งด้วยใจเช่นนี้ไม่ควรเสพ และเมื่อเสพธรรมที่รู้แจ้งด้วยใจเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเสื่อมไป กุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง ธรรมที่รู้แจ้งด้วยใจเช่นนี้ควรเสพ ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า สารีบุตร เรากล่าวธรรมที่รู้แจ้งด้วยใจไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพนั้น เราอาศัยเนื้อความดังนี้กล่าวแล้ว.
สารีบุตร ธรรมปริยายนี้ ที่เรากล่าวไว้โดยย่อ เธอพึงเห็นเนื้อความได้โดยพิสดารอย่างนี้.
สารีบุตร เรากล่าวจีวรไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพ เรากล่าวบิณฑบาตไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพ เรากล่าวเสนาสนะไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพ เรากล่าวหมู่บ้านไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพ เรากล่าวนิคมไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพ เรากล่าวนครไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพ เรากล่าวชนบทไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพ เรากล่าวบุคคลไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพ.
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสแล้วอย่างนี้ ท่านพระสารีบุตรได้ทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
ภันเต ธรรมปริยายนี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้โดยย่อ ไม่ได้จำแนกเนื้อความโดยพิสดาร ข้าพระองค์รู้ทั่วถึงเนื้อความได้โดยพิสดารอย่างนี้ คือ
ข้อที่พระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้ว่า สารีบุตร เรากล่าวจีวรไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพนั้น พระผู้มีพระภาคทรงอาศัยอะไรตรัสแล้ว ภันเต เมื่อเสพจีวรเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง กุศลธรรมย่อมเสื่อมไป จีวรเช่นนี้ไม่ควรเสพ และเมื่อเสพจีวรเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเสื่อมไป กุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง จีวรเช่นนี้ควรเสพ ข้อที่พระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้ว่า สารีบุตร เรากล่าวจีวรไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพนั้น พระผู้มีพระภาคทรงอาศัยเนื้อความดังนี้ตรัสแล้ว.
ข้อที่พระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้ว่า สารีบุตร เรากล่าวบิณฑบาตไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพนั้น พระผู้มีพระภาคทรงอาศัยอะไรตรัสแล้ว ภันเต เมื่อเสพบิณฑบาตเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง กุศลธรรมย่อมเสื่อมไป บิณฑบาตเช่นนี้ไม่ควรเสพ และเมื่อเสพบิณฑบาตเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเสื่อมไป กุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง บิณฑบาตเช่นนี้ควรเสพ ข้อที่พระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้ว่า สารีบุตร เรากล่าวบิณฑบาตไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพนั้น พระผู้มีพระภาคทรงอาศัยเนื้อความดังนี้ตรัสแล้ว.
ข้อที่พระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้ว่า สารีบุตร เรากล่าวเสนาสนะไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพนั้น พระผู้มีพระภาคทรงอาศัยอะไรตรัสแล้ว ภันเต เมื่อเสพเสนาสนะเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง กุศลธรรมย่อมเสื่อมไป เสนาสนะเช่นนี้ไม่ควรเสพ และเมื่อเสพเสนาสนะเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเสื่อมไป กุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง เสนาสนะเช่นนี้ควรเสพ ข้อที่พระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้ว่า สารีบุตร เรากล่าวเสนาสนะไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพนั้น พระผู้มีพระภาคทรงอาศัยเนื้อความดังนี้ตรัสแล้ว.
ข้อที่พระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้ว่า สารีบุตร เรากล่าวหมู่บ้านไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพนั้น พระผู้มีพระภาคทรงอาศัยอะไรตรัสแล้ว ภันเต เมื่อเสพหมู่บ้านเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง กุศลธรรมย่อมเสื่อมไป หมู่บ้านเช่นนี้ไม่ควรเสพ และเมื่อเสพหมู่บ้านเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเสื่อมไป กุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง หมู่บ้านเช่นนี้ควรเสพ ข้อที่พระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้ว่า สารีบุตร เรากล่าวหมู่บ้านไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพนั้น พระผู้มีพระภาคทรงอาศัยเนื้อความดังนี้ตรัสแล้ว.
ข้อที่พระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้ว่า สารีบุตร เรากล่าวนิคมไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพนั้น พระผู้มีพระภาคทรงอาศัยอะไรตรัสแล้ว ภันเต เมื่อเสพนิคมเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง กุศลธรรมย่อมเสื่อมไป นิคมเช่นนี้ไม่ควรเสพ และเมื่อเสพนิคมเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเสื่อมไป กุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง นิคมเช่นนี้ควรเสพ ข้อที่พระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้ว่า สารีบุตร เรากล่าวนิคมไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพนั้น พระผู้มีพระภาคทรงอาศัยเนื้อความดังนี้ตรัสแล้ว.
ข้อที่พระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้ว่า สารีบุตร เรากล่าวนครไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพนั้น พระผู้มีพระภาคทรงอาศัยอะไรตรัสแล้ว ภันเต เมื่อเสพนครเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง กุศลธรรมย่อมเสื่อมไป นครเช่นนี้ไม่ควรเสพ และเมื่อเสพนครเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเสื่อมไป กุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง นครเช่นนี้ควรเสพ ข้อที่พระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้ว่า สารีบุตร เรากล่าวนครไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพนั้น พระผู้มีพระภาคทรงอาศัยเนื้อความดังนี้ตรัสแล้ว.
ข้อที่พระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้ว่า สารีบุตร เรากล่าวชนบทไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพนั้น พระผู้มีพระภาคทรงอาศัยอะไรตรัสแล้ว ภันเต เมื่อเสพชนบทเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง กุศลธรรมย่อมเสื่อมไป ชนบทเช่นนี้ไม่ควรเสพ และเมื่อเสพชนบทเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเสื่อมไป กุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง ชนบทเช่นนี้ควรเสพ ข้อที่พระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้ว่า สารีบุตร เรากล่าวชนบทไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพนั้น พระผู้มีพระภาคทรงอาศัยเนื้อความดังนี้ตรัสแล้ว.
ข้อที่พระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้ว่า สารีบุตร เรากล่าวบุคคลไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพนั้น พระผู้มีพระภาคทรงอาศัยอะไรตรัสแล้ว ภันเต เมื่อเสพบุคคลเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง กุศลธรรมย่อมเสื่อมไป บุคคลเช่นนี้ไม่ควรเสพ และเมื่อเสพบุคคลเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเสื่อมไป กุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง บุคคลเช่นนี้ควรเสพ ข้อที่พระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้ว่า สารีบุตร เรากล่าวบุคคลไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพนั้น พระผู้มีพระภาคทรงอาศัยเนื้อความดังนี้ตรัสแล้ว.
ภันเต ธรรมปริยายนี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้โดยย่อ ไม่ได้จำแนกเนื้อความโดยพิสดาร ข้าพระองค์รู้ทั่วถึงเนื้อความได้โดยพิสดารอย่างนี้.
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สาธุ สาธุ สารีบุตร ธรรมปริยายนี้ที่เรากล่าวไว้โดยย่อ ไม่ได้จำแนกเนื้อความโดยพิสดาร เธอรู้ทั่วถึงเนื้อความได้โดยพิสดารอย่างนี้ ถูกต้องแล้ว.
ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า สารีบุตร เรากล่าวจีวรไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพนั้น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว สารีบุตร เมื่อเสพจีวรเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง กุศลธรรมย่อมเสื่อมไป จีวรเช่นนี้ไม่ควรเสพ และเมื่อเสพจีวรเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเสื่อมไป กุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง จีวรเช่นนี้ควรเสพ ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า สารีบุตร เรากล่าวจีวรไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพนั้น เราอาศัยเนื้อความดังนี้กล่าวแล้ว.
ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า สารีบุตร เรากล่าวบิณฑบาตไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพนั้น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว สารีบุตร เมื่อเสพบิณฑบาตเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง กุศลธรรมย่อมเสื่อมไป บิณฑบาตเช่นนี้ไม่ควรเสพ และเมื่อเสพบิณฑบาตเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเสื่อมไป กุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง บิณฑบาตเช่นนี้ควรเสพ ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า สารีบุตร เรากล่าวบิณฑบาตไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพนั้น เราอาศัยเนื้อความดังนี้กล่าวแล้ว.
ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า สารีบุตร เรากล่าวเสนาสนะไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพนั้น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว สารีบุตร เมื่อเสพเสนาสนะเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง กุศลธรรมย่อมเสื่อมไป เสนาสนะเช่นนี้ไม่ควรเสพ และเมื่อเสพเสนาสนะเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเสื่อมไป กุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง เสนาสนะเช่นนี้ควรเสพ ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า สารีบุตร เรากล่าวเสนาสนะไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพนั้น เราอาศัยเนื้อความดังนี้กล่าวแล้ว.
ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า สารีบุตร เรากล่าวหมู่บ้านไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพนั้น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว สารีบุตร เมื่อเสพหมู่บ้านเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง กุศลธรรมย่อมเสื่อมไป หมู่บ้านเช่นนี้ไม่ควรเสพ และเมื่อเสพหมู่บ้านเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเสื่อมไป กุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง หมู่บ้านเช่นนี้ควรเสพ ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า สารีบุตร เรากล่าวหมู่บ้านไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพนั้น เราอาศัยเนื้อความดังนี้กล่าวแล้ว.
ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า สารีบุตร เรากล่าวนิคมไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพนั้น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว สารีบุตร เมื่อเสพนิคมเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง กุศลธรรมย่อมเสื่อมไป นิคมเช่นนี้ไม่ควรเสพ และเมื่อเสพนิคมเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเสื่อมไป กุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง นิคมเช่นนี้ควรเสพ ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า สารีบุตร เรากล่าวนิคมไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพนั้น เราอาศัยเนื้อความดังนี้กล่าวแล้ว.
ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า สารีบุตร เรากล่าวนครไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพนั้น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว สารีบุตร เมื่อเสพนครเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง กุศลธรรมย่อมเสื่อมไป นครเช่นนี้ไม่ควรเสพ และเมื่อเสพนครเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเสื่อมไป กุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง นครเช่นนี้ควรเสพ ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า สารีบุตร เรากล่าวนครไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพนั้น เราอาศัยเนื้อความดังนี้กล่าวแล้ว.
ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า สารีบุตร เรากล่าวชนบทไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพนั้น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว สารีบุตร เมื่อเสพชนบทเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง กุศลธรรมย่อมเสื่อมไป ชนบทเช่นนี้ไม่ควรเสพ และเมื่อเสพชนบทเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเสื่อมไป กุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง ชนบทเช่นนี้ควรเสพ ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า สารีบุตร เรากล่าวชนบทไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพนั้น เราอาศัยเนื้อความดังนี้กล่าวแล้ว.
ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า สารีบุตร เรากล่าวบุคคลไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพนั้น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว สารีบุตร เมื่อเสพบุคคลเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง กุศลธรรมย่อมเสื่อมไป บุคคลเช่นนี้ไม่ควรเสพ และเมื่อเสพบุคคลเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเสื่อมไป กุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง บุคคลเช่นนี้ควรเสพ ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า สารีบุตร เรากล่าวบุคคลไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพนั้น เราอาศัยเนื้อความดังนี้กล่าวแล้ว.
สารีบุตร ธรรมปริยายนี้ ที่เรากล่าวไว้โดยย่อ เธอพึงเห็นเนื้อความได้โดยพิสดารอย่างนี้.
ถ้ากษัตริย์ทั้งปวง พึงรู้ทั่วถึงอรรถแห่งธรรมปริยาย ที่เรากล่าวโดยย่อนี้ได้โดยพิสดารอย่างนี้ นั่นจะพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่กษัตริย์ทั้งปวงนั้นตลอดกาลนาน.
ถ้าพราหมณ์ทั้งปวง พึงรู้ทั่วถึงอรรถแห่งธรรมปริยาย ที่เรากล่าวโดยย่อนี้ได้โดยพิสดารอย่างนี้ นั่นจะพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่พราหมณ์ทั้งปวงนั้นตลอดกาลนาน.
ถ้าเวสส์ทั้งปวง พึงรู้ทั่วถึงอรรถแห่งธรรมปริยาย ที่เรากล่าวโดยย่อนี้ได้โดยพิสดารอย่างนี้ นั่นจะพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เวสส์ทั้งปวงนั้นตลอดกาลนาน.
ถ้าศูทรทั้งปวง พึงรู้ทั่วถึงอรรถแห่งธรรมปริยาย ที่เรากล่าวโดยย่อนี้ได้โดยพิสดารอย่างนี้ นั่นจะพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่ศูทรทั้งปวงนั้นตลอดกาลนาน.
สารีบุตร ถ้าแม้โลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก และหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะและพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ พึงรู้ทั่วถึงอรรถแห่งธรรมปริยาย ที่เรากล่าวโดยย่อนี้ได้โดยพิสดารอย่างนี้ นั่นจะพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่โลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก และหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะและพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ ตลอดกาลนาน.
-บาลี อุปริ. ม. 14/145/198.
https://84000.org/tipitaka/pali/?14//145, https://etipitaka.com/read/pali/14/145
1 เสพ = คบ, กิน, บริโภค.
2 อัตตภาวปฏิลาภ = ความได้อัตภาพ, ความได้กาย.
English translation by Bhikkhu Sujato
So I have heard. At one time the Buddha was staying near Sāvatthī in Jeta’s Grove, Anāthapiṇḍika’s monastery. There the Buddha addressed the mendicants, “Mendicants!”
“Venerable sir,” they replied. The Buddha said this:
“Mendicants, I will teach you an exposition of the teaching on what should and should not be cultivated. Listen and pay close attention, I will speak.”
“Yes, sir,” they replied. The Buddha said this:
“I say that there are two kinds of bodily behavior: that which you should cultivate, and that which you should not cultivate. And each of these is a kind of behavior.
I say that there are two kinds of verbal behavior: that which you should cultivate, and that which you should not cultivate. And each of these is a kind of behavior.
I say that there are two kinds of mental behavior: that which you should cultivate, and that which you should not cultivate. And each of these is a kind of behavior.
I say that there are two ways of giving rise to a thought: that which you should cultivate, and that which you should not cultivate. And each of these is a way of giving rise to a thought.
I say that there are two ways of acquiring perception: that which you should cultivate, and that which you should not cultivate. And each of these is a way of acquiring perception.
I say that there are two ways of acquiring views: that which you should cultivate, and that which you should not cultivate. And each of these is a way of acquiring views.
I say that there are two ways of reincarnating: that which you should cultivate, and that which you should not cultivate. And each of these is a way of reincarnating.”
When he said this, Venerable Sāriputta said to the Buddha, “Sir, this is how I understand the detailed meaning of the Buddha’s brief statement.
‘I say that there are two kinds of bodily behavior: that which you should cultivate, and that which you should not cultivate. And each of these is a kind of bodily behavior.’ That’s what the Buddha said, but why did he say it? You should not cultivate the kind of bodily behavior which causes unskillful qualities to grow while skillful qualities decline. And you should cultivate the kind of bodily behavior which causes unskillful qualities to decline while skillful qualities grow.
And what kind of bodily behavior causes unskillful qualities to grow while skillful qualities decline? It’s when someone kills living creatures. They’re violent, bloody-handed, a hardened killer, merciless to living beings. They steal. With the intention to commit theft, they take the wealth or belongings of others from village or wilderness. They commit sexual misconduct. They have sexual relations with women who have their mother, father, both mother and father, brother, sister, relatives, or clan as guardian. They have sexual relations with a woman who is protected on principle, or who has a husband, or whose violation is punishable by law, or even one who has been garlanded as a token of betrothal. That kind of bodily behavior causes unskillful qualities to grow while skillful qualities decline.
And what kind of bodily behavior causes unskillful qualities to decline while skillful qualities grow? It’s when someone gives up killing living creatures. They renounce the rod and the sword. They’re scrupulous and kind, living full of compassion for all living beings. They give up stealing. They don’t, with the intention to commit theft, take the wealth or belongings of others from village or wilderness. They give up sexual misconduct. They don’t have sexual relations with women who have their mother, father, both mother and father, brother, sister, relatives, or clan as guardian. They don’t have sexual relations with a woman who is protected on principle, or who has a husband, or whose violation is punishable by law, or even one who has been garlanded as a token of betrothal. That kind of bodily behavior causes unskillful qualities to decline while skillful qualities grow. ‘I say that there are two kinds of bodily behavior: that which you should cultivate, and that which you should not cultivate. And each of these is a kind of bodily behavior.’ That’s what the Buddha said, and this is why he said it.
‘I say that there are two kinds of verbal behavior: that which you should cultivate, and that which you should not cultivate. And each of these is a kind of verbal behavior.’ That’s what the Buddha said, but why did he say it? You should not cultivate the kind of verbal behavior which causes unskillful qualities to grow while skillful qualities decline. And you should cultivate the kind of verbal behavior which causes unskillful qualities to decline while skillful qualities grow.
And what kind of verbal behavior causes unskillful qualities to grow while skillful qualities decline? It’s when someone lies. They’re summoned to a council, an assembly, a family meeting, a guild, or to the royal court, and asked to bear witness: ‘Please, mister, say what you know.’ Not knowing, they say ‘I know.’ Knowing, they say ‘I don’t know.’ Not seeing, they say ‘I see.’ And seeing, they say ‘I don’t see.’ So they deliberately lie for the sake of themselves or another, or for some trivial worldly reason. They speak divisively. They repeat in one place what they heard in another so as to divide people against each other. And so they divide those who are harmonious, supporting division, delighting in division, loving division, speaking words that promote division. They speak harshly. They use the kinds of words that are cruel, nasty, hurtful, offensive, bordering on anger, not leading to immersion. They talk nonsense. Their speech is untimely, and is neither factual nor beneficial. It has nothing to do with the teaching or the training. Their words have no value, and are untimely, unreasonable, rambling, and pointless. That kind of verbal behavior causes unskillful qualities to grow while skillful qualities decline.
And what kind of verbal behavior causes unskillful qualities to decline while skillful qualities grow? It’s when a certain person gives up lying. They’re summoned to a council, an assembly, a family meeting, a guild, or to the royal court, and asked to bear witness: ‘Please, mister, say what you know.’ Not knowing, they say ‘I don’t know.’ Knowing, they say ‘I know.’ Not seeing, they say ‘I don’t see.’ And seeing, they say ‘I see.’ So they don’t deliberately lie for the sake of themselves or another, or for some trivial worldly reason. They give up divisive speech. They don’t repeat in one place what they heard in another so as to divide people against each other. Instead, they reconcile those who are divided, supporting unity, delighting in harmony, loving harmony, speaking words that promote harmony. They give up harsh speech. They speak in a way that’s mellow, pleasing to the ear, lovely, going to the heart, polite, likable and agreeable to the people. They give up talking nonsense. Their words are timely, true, and meaningful, in line with the teaching and training. They say things at the right time which are valuable, reasonable, succinct, and beneficial. That kind of verbal behavior causes unskillful qualities to decline while skillful qualities grow. ‘I say that there are two kinds of verbal behavior: that which you should cultivate, and that which you should not cultivate. And each of these is a kind of verbal behavior.’ That’s what the Buddha said, and this is why he said it.
‘I say that there are two kinds of mental behavior: that which you should cultivate, and that which you should not cultivate. And each of these is a kind of mental behavior.’ That’s what the Buddha said, but why did he say it? You should not cultivate the kind of mental behavior which causes unskillful qualities to grow while skillful qualities decline. And you should cultivate the kind of mental behavior which causes unskillful qualities to decline while skillful qualities grow.
And what kind of mental behavior causes unskillful qualities to grow while skillful qualities decline? It’s when someone is covetous. They covet the wealth and belongings of others: ‘Oh, if only their belongings were mine!’ They have ill will and malicious intentions: ‘May these sentient beings be killed, slaughtered, slain, destroyed, or annihilated!’ That kind of mental behavior causes unskillful qualities to grow while skillful qualities decline.
And what kind of mental behavior causes unskillful qualities to decline while skillful qualities grow? It’s when someone is content. They don’t covet the wealth and belongings of others: ‘Oh, if only their belongings were mine!’ They have a kind heart and loving intentions: ‘May these sentient beings live free of enmity and ill will, untroubled and happy!’ That kind of mental behavior causes unskillful qualities to decline while skillful qualities grow. ‘I say that there are two kinds of mental behavior: that which you should cultivate, and that which you should not cultivate. And each of these is a kind of mental behavior.’ That’s what the Buddha said, and this is why he said it. …
Sir, that’s how I understand the detailed meaning of the Buddha’s brief statement.”
“Good, good, Sāriputta! It’s good that you understand the detailed meaning of my brief statement in this way.”
And the Buddha went on to repeat and endorse Venerable Sāriputta’s explanation in full. Then he went on to explain further:
“I say that there are two kinds of sight known by the eye: that which you should cultivate, and that which you should not cultivate. I say that there are two kinds of sound known by the ear … two kinds of smell known by the nose … two kinds of taste known by the tongue … two kinds of touch known by the body … two kinds of thought known by the mind: that which you should cultivate, and that which you should not cultivate.”
When he said this, Venerable Sāriputta said to the Buddha:
“Sir, this is how I understand the detailed meaning of the Buddha’s brief statement.
‘I say that there are two kinds of sight known by the eye: that which you should cultivate, and that which you should not cultivate.’ That’s what the Buddha said, but why did he say it? You should not cultivate the kind of sight known by the eye which causes unskillful qualities to grow while skillful qualities decline. And you should cultivate the kind of sight known by the eye which causes unskillful qualities to decline while skillful qualities grow. ‘I say that there are two kinds of sight known by the eye: that which you should cultivate, and that which you should not cultivate.’ That’s what the Buddha said, and this is why he said it.
‘I say that there are two kinds of sound known by the ear … two kinds of smell known by the nose … two kinds of taste known by the tongue … two kinds of touch known by the body … two kinds of thought known by the mind: that which you should cultivate, and that which you should not cultivate.’ That’s what the Buddha said, but why did he say it?
You should not cultivate the kind of thought known by the mind which causes unskillful qualities to grow while skillful qualities decline. And you should cultivate the kind of thought known by the mind which causes unskillful qualities to decline while skillful qualities grow. ‘I say that there are two kinds of thought known by the mind: that which you should cultivate, and that which you should not cultivate.’ That’s what the Buddha said, and this is why he said it. Sir, that’s how I understand the detailed meaning of the Buddha’s brief statement.”
“Good, good, Sāriputta! It’s good that you understand the detailed meaning of my brief statement in this way.”
And the Buddha went on to repeat and endorse Venerable Sāriputta’s explanation in full. Then he went on to explain further:
“I say that there are two kinds of robes: that which you should cultivate, and that which you should not cultivate. I say that there are two kinds of almsfood … lodging … village … town … city … country … person: that which you should cultivate, and that which you should not cultivate.”
When he said this, Venerable Sāriputta said to the Buddha:
“Sir, this is how I understand the detailed meaning of the Buddha’s brief statement. ‘I say that there are two kinds of robes … almsfood … lodging … village … town … city … country … person: that which you should cultivate, and that which you should not cultivate.’ That’s what the Buddha said, but why did he say it? You should not cultivate the kind of person who causes unskillful qualities to grow while skillful qualities decline. And you should cultivate the kind of person who causes unskillful qualities to decline while skillful qualities grow. ‘I say that there are two kinds of person: those who you should cultivate, and those who you should not cultivate.’ That’s what the Buddha said, and this is why he said it.
Sir, that’s how I understand the detailed meaning of the Buddha’s brief statement.”
“Good, good, Sāriputta! It’s good that you understand the detailed meaning of my brief statement in this way.”
And the Buddha went on to repeat and endorse Venerable Sāriputta’s explanation in full. Then he added:
“If all the aristocrats, brahmins, merchants, and workers were to understand the detailed meaning of my brief statement in this way, it would be for their lasting welfare and happiness. If the whole world—with its gods, Māras and Brahmās, this population with its ascetics and brahmins, gods and humans—was to understand the detailed meaning of my brief statement in this way, it would be for the whole world’s lasting welfare and happiness.”
That is what the Buddha said. Satisfied, Venerable Sāriputta was happy with what the Buddha said.