ความปรารถนาของพระราชโอรสองค์โต กับความปรารถนาของภิกษุ
ภิกษุทั้งหลาย พระราชโอรสองค์โตของพระราชาซึ่งเป็นกษัตริย์ผู้ได้มุรธาภิเษกแล้ว ผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ประการ ย่อมปรารถนาราชสมบัติ องค์ ๕ ประการอะไรบ้าง คือ พระราชโอรสองค์โตของพระราชาซึ่งเป็นกษัตริย์ผู้ได้มุรธาภิเษกแล้วในกรณีนี้
๑) เป็นผู้มีชาติกำเนิดดีทั้ง ๒ ฝ่าย คือ ทั้งฝ่ายพระมารดาและฝ่ายพระบิดา มีพระครรภ์เป็นที่ถือปฏิสนธิหมดจดดีตลอด ๗ ชั่วบรรพบุรุษ เป็นผู้อันใครๆ จะคัดค้าน ตำหนิ โดยอ้างถึงชาติตระกูลไม่ได้
๒) เป็นมีรูปงาม น่าดู น่าเลื่อมใส ประกอบด้วยความงามของผิวพรรณยิ่งนัก
๓) เป็นที่รัก เป็นที่พอพระทัยของพระมารดาและพระบิดา
๔) เป็นที่รัก เป็นที่พอใจของชาวนิคมและชาวชนบท
๕) เป็นผู้ศึกษาสำเร็จดีแล้วในศิลปศาสตร์ของพระราชาซึ่งเป็นกษัตริย์ผู้ได้มุรธาภิเษกแล้ว เช่น ศิลปศาสตร์ในเรื่องช้าง เรื่องม้า เรื่องรถ หรือเรื่องธนู.
พระราชโอรสองค์โตนั้นย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า เราเป็นผู้มีชาติกำเนิดดีทั้ง ๒ ฝ่าย คือ ทั้งฝ่ายพระมารดาและฝ่ายพระบิดา มีพระครรภ์เป็นที่ถือปฏิสนธิหมดจดดีตลอด ๗ ชั่วบรรพบุรุษ เป็นผู้อันใครๆ จะคัดค้าน ตำหนิ โดยอ้างถึงชาติตระกูลไม่ได้ เหตุใดเราไม่ปรารถนาในราชสมบัติเล่า เราเป็นผู้มีรูปงาม น่าดู น่าเลื่อมใส ประกอบด้วยความงามของผิวพรรณยิ่งนัก เหตุใดเราไม่ปรารถนาในราชสมบัติเล่า เราเป็นที่รัก เป็นที่พอพระทัยของพระมารดาและพระบิดา เหตุใดเราไม่ปรารถนาในราชสมบัติเล่า เราเป็นที่รัก เป็นที่พอใจของชาวนิคมและชาวชนบท เหตุใดเราไม่ปรารถนาในราชสมบัติเล่า เราเป็นผู้ศึกษาสำเร็จดีแล้วในศิลปศาสตร์ของพระราชาซึ่งเป็นกษัตริย์ผู้ได้มุรธาภิเษกแล้ว เช่น ศิลปศาสตร์ในเรื่องช้าง เรื่องม้า เรื่องรถ หรือเรื่องธนู เหตุใดเราไม่ปรารถนาในราชสมบัติเล่า.
ภิกษุทั้งหลาย พระราชโอรสองค์โตของพระราชาซึ่งเป็นกษัตริย์ผู้ได้มุรธาภิเษกแล้ว ผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ประการเหล่านี้แล ย่อมปรารถนาราชสมบัติ.
ภิกษุทั้งหลาย ฉันใดก็ฉันนั้น ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมปรารถนาความสิ้นอาสวะ ธรรม ๕ ประการอะไรบ้าง คือ ภิกษุในกรณีนี้
๑) เป็นผู้มีศรัทธา ย่อมเชื่อปัญญาตรัสรู้ของตถาคตว่า แม้เพราะเหตุอย่างนี้ๆ พระผู้มีพระภาคนั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ทรงถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกไปว่า เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม
๒) เป็นผู้มีอาพาธน้อย มีโรคน้อย ประกอบด้วยไฟธาตุสำหรับย่อยอาหารอย่างสม่ำเสมอ ไม่เย็นนัก ไม่ร้อนนัก พอปานกลาง สมควรแก่การบำเพ็ญเพียร
๓) เป็นผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยา เปิดเผยตนตามความเป็นจริงในพระศาสดา หรือในเพื่อนร่วมประพฤติพรหมจรรย์ที่เป็นผู้รู้ทั้งหลาย
๔) เป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรมทั้งหลาย เพื่อความถึงพร้อมแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย เป็นผู้มีกำลัง มีความบากบั่น มั่นคง ไม่ทอดทิ้งธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย.
๕) เป็นผู้มีปัญญา คือ ประกอบด้วยปัญญา ที่รู้ถึงความเกิดขึ้นและความดับไป อันเป็นอริยะ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ
เธอย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า เราเป็นผู้มีศรัทธา เชื่อปัญญาตรัสรู้ของตถาคตว่า แม้เพราะเหตุอย่างนี้ๆ พระผู้มีพระภาคนั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ทรงถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งไปกว่า เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม เหตุใดเราไม่ปรารถนาความสิ้นอาสวะเล่า เราเป็นผู้มีอาพาธน้อย มีโรคน้อย ประกอบด้วยไฟธาตุสำหรับย่อยอาหารอย่างสม่ำเสมอ ไม่เย็นนัก ไม่ร้อนนัก พอปานกลาง สมควรแก่การบำเพ็ญเพียร เหตุใดเราไม่ปรารถนาความสิ้นอาสวะเล่า เราเป็นผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยา เปิดเผยตนตามความเป็นจริงในพระศาสดา หรือในเพื่อนร่วมประพฤติพรหมจรรย์ที่เป็นผู้รู้ทั้งหลาย เหตุใดเราไม่ปรารถนาความสิ้นอาสวะเล่า เราเป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรมทั้งหลาย เพื่อความถึงพร้อมแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย เป็นผู้มีกำลัง มีความบากบั่น มั่นคง ไม่ทอดทิ้งธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย เหตุใดเราไม่ปรารถนาความสิ้นอาสวะเล่า เราเป็นผู้มีปัญญา คือ ประกอบด้วยปัญญา ที่รู้ถึงความเกิดขึ้นและความดับไป อันเป็นอริยะ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ เหตุใดเราไม่ปรารถนาความสิ้นอาสวะเล่า.
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการเหล่านี้แล ย่อมปรารถนาความสิ้น
อาสวะ.
-บาลี ปญฺจก. อํ. 22/171/135.
https://84000.org/tipitaka/pali/?22//171, https://etipitaka.com/read/pali/22/171/
English translation by Bhikkhu Sujato
“Mendicants, an anointed aristocratic king’s eldest son with five factors aspires to kingship. What five?
It’s when an anointed aristocratic king’s eldest son is well born on both his mother’s and father’s side, of pure descent, irrefutable and impeccable in questions of ancestry back to the seventh paternal generation.
He is attractive, good-looking, lovely, of surpassing beauty.
He is dear and beloved to his parents.
He is dear and beloved to the people of town and country.
He is trained and skilled in the arts of anointed aristocratic kings, such as elephant riding, horse riding, driving a chariot, archery, and swordsmanship.
He thinks: ‘I’m well born on both my mother’s and father’s side, of pure descent, irrefutable and impeccable in questions of ancestry back to the seventh paternal generation. Why shouldn’t I aspire to kingship? I’m attractive, good-looking, lovely, of surpassing beauty. Why shouldn’t I aspire to kingship? I’m dear and beloved to my parents. Why shouldn’t I aspire to kingship? I’m dear and beloved to the people of town and country. Why shouldn’t I aspire to kingship? I’m trained and skilled in the arts of anointed aristocratic kings, such as elephant riding, horse riding, driving a chariot, archery, and swordsmanship. Why shouldn’t I aspire to kingship?’ An anointed aristocratic king’s eldest son with these five factors aspires to kingship.
In the same way, a mendicant with five qualities aspires to end the defilements. What five?
It’s when a mendicant has faith in the Realized One’s awakening: ‘That Blessed One is perfected, a fully awakened Buddha, accomplished in knowledge and conduct, holy, knower of the world, supreme guide for those who wish to train, teacher of gods and humans, awakened, blessed.’
They are rarely ill or unwell. Their stomach digests well, being neither too hot nor too cold, but just right, and fit for meditation.
They’re not devious or deceitful. They reveal themselves honestly to the Teacher or sensible spiritual companions.
They live with energy roused up for giving up unskillful qualities and embracing skillful qualities. They’re strong, staunchly vigorous, not slacking off when it comes to developing skillful qualities.
They’re wise. They have the wisdom of arising and passing away which is noble, penetrative, and leads to the complete ending of suffering.
They think: ‘I am a person of faith; I have faith in the Realized One’s awakening … Why shouldn’t I aspire to end the defilements? I’m rarely ill or unwell. My stomach digests well, being neither too hot nor too cold, but just right, and fit for meditation. Why shouldn’t I aspire to end the defilements? I’m not devious or deceitful. I reveal myself honestly to the Teacher or sensible spiritual companions. Why shouldn’t I aspire to end the defilements? I live with energy roused up for giving up unskillful qualities and embracing skillful qualities. I’m strong, staunchly vigorous, not slacking off when it comes to developing skillful qualities. Why shouldn’t I aspire to end the defilements? I’m wise. I have the wisdom of arising and passing away which is noble, penetrative, and leads to the complete ending of suffering. Why shouldn’t I aspire to end the defilements?’
A mendicant with these five qualities aspires to end the defilements.”