ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
… ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคได้ทรงดำริว่า เราควรแสดงธรรมแก่ใครก่อนหนอ ใครจักรู้ทั่วถึงธรรมนี้ได้โดยพลัน ครั้นแล้วทรงพระดำริต่อไปว่า อาฬารดาบส กาลามโคตรนี้แล เป็นผู้ฉลาด เฉียบแหลม มีปัญญา มีธุลีในดวงตาเพียงเล็กน้อยมานาน ถ้าอย่างไร เราควรแสดงธรรมแก่อาฬารดาบส กาลามโคตรก่อน เธอจักรู้ทั่วถึงธรรมนี้ได้โดยพลัน ทีนั้น เทวดาได้อันตรธานมาทูลพระผู้มีพระภาคว่า ภันเต อาฬารดาบส กาลามโคตรทำกาละได้ ๗ วันแล้ว แม้พระผู้มีพระภาคก็ทรงทราบว่า อาฬารดาบส กาลามโคตรทำกาละได้ ๗ วันแล้ว จึงทรงพระดำริว่า อาฬารดาบส กาลามโคตรนี้ ได้เสื่อมจากคุณอันใหญ่เสียแล้ว เพราะถ้าเธอได้ฟังธรรมนี้ เธอจักรู้ทั่วถึงธรรมนี้ได้โดยพลัน.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้ทรงพระดำริว่า เราจะพึงแสดงธรรมแก่ใครก่อนหนอ ใครจักรู้ทั่วถึงธรรมนี้ได้โดยพลัน ครั้นแล้วทรงพระดำริต่อไปว่า อุทกดาบส รามบุตรนี้แล เป็นผู้ฉลาด เฉียบแหลม มีปัญญา มีธุลีในดวงตาเพียงเล็กน้อยมานาน ถ้าอย่างไร เราควรแสดงธรรมแก่อุทกดาบส รามบุตรก่อน เธอจักรู้ทั่วถึงธรรมนี้ได้โดยพลัน ทีนั้น เทวดาได้อันตรธานมาทูลพระผู้มีพระภาคว่า ภันเต อุทกดาบส รามบุตรทำกาละเมื่อวานนี้แล้ว แม้พระผู้มีพระภาคก็ทรงทราบว่า อุทกดาบส รามบุตรทำกาละเมื่อวานนี้แล้ว จึงทรงพระดำริว่าอุทกดาบส รามบุตรนี้ ได้เสื่อมจากคุณอันใหญ่เสียแล้ว เพราะถ้าเธอได้ฟังธรรมนี้ เธอจักรู้ทั่วถึงธรรมนี้ได้โดยพลัน.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้ทรงพระดำริว่า เราจะพึงแสดงธรรมแก่ใครก่อนหนอ ใครจักรู้ทั่วถึงธรรมนี้ได้โดยพลัน ครั้นแล้วทรงพระดำริต่อไปว่า ภิกษุปัญจวัคคีย์เป็นผู้มีอุปการะมากแก่เรา ได้บำรุงเราผู้ตั้งหน้าบำเพ็ญเพียรอยู่ ถ้าอย่างไร เราควรแสดงธรรมแก่ภิกษุปัญจวัคคีย์ก่อน ครั้นแล้วได้ทรงพระดำริต่อไปว่า บัดนี้ ภิกษุปัญจวัคคีย์อยู่ที่ไหนหนอ พระผู้มีพระภาคได้ทรงเห็นภิกษุปัญจวัคคีย์อยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขตพระนครพาราณสี ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ ครั้นพระองค์ประทับอยู่ที่อุรุเวลาประเทศตามพอใจแล้ว ได้เสด็จจาริกไปทางพระนครพาราณสี. …
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปโดยลำดับ ถึงป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขตพระนครพาราณสี เสด็จเข้าไปที่อยู่ของภิกษปัญจวัคคีย์ ภิกษุปัญจวัคคีย์ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเสด็จมาแต่ไกล แล้วได้นัดหมายกันและกันว่า ท่านทั้งหลาย พระสมณะโคดมนี้เป็นผู้มักมาก คลายความเพียร เวียนมาเพื่อความเป็นคนมักมากกำลังเสด็จมา พวกเราอย่าอภิวาท อย่าลุกรับพระองค์ อย่ารับบาตรและจีวรของพระองค์ แต่จักวางอาสนะไว้ ถ้าพระองค์ปรารถนาก็จักนั่งได้.
ครั้นพระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปถึงภิกษุปัญจวัคคีย์ ภิกษุปัญจวัคคีย์นั้นไม่อาจตั้งอยู่ในกติกาของตนได้ ต่างลุกรับพระผู้มีพระภาค รูปหนึ่งรับบาตรและจีวรของพระผู้มีพระภาค รูปหนึ่งปูอาสนะ รูปหนึ่งจัดหาน้ำล้างเท้า รูปหนึ่งจัดตั้งตั่งสำหรับรองเท้า รูปหนึ่งนำกระเบื้องเช็ดเท้าเข้าไปวาง พระผู้มีพระภาคได้ประทับนั่งบนอาสนะ ที่ภิกษุปัญจวัคคีย์จัดถวาย แล้วทรงล้างเท้า แต่ภิกษุปัญจวัคคีย์กลับร้องเรียกพระผู้มีพระภาคโดยชื่อ และโดยใช้คำว่าอาวุโส.
เมื่อภิกษุปัญจวัคคีย์กล่าวอย่างนั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสห้ามภิกษุปัญจวัคคีย์ว่า ภิกษุทั้งหลาย พวกเธออย่าเรียกตถาคตโดยชื่อ และอย่าใช้คำว่าอาวุโส ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธะ พวกเธอจงเงี่ยโสตลงฟัง เราได้บรรลุอมตธรรมแล้ว เราจะสั่งสอน จะแสดงธรรม เมื่อพวกเธอปฏิบัติอยู่ตามที่เราสั่งสอนแล้ว ไม่ช้าเท่าไร จักกระทำให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์อันไม่มีอะไรอื่นยิ่งไปกว่า อันเป็นประโยชน์ที่ต้องการของกุลบุตรทั้งหลาย ผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่.
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุปัญจวัคคีย์ได้ทูลค้านพระผู้มีพระภาคว่า อาวุโสโคดม แม้ด้วยจริยานั้น แม้ด้วยปฏิปทานั้น แม้ด้วยทุกกรกิริยานั้น พระองค์ก็ยังไม่ได้บรรลุอุตตริมนุสสธรรม อันเป็นความรู้ความเห็นพิเศษอย่างประเสริฐ อย่างสามารถ ก็บัดนี้พระองค์เป็นผู้มักมาก คลายความเพียรเวียนมาเพื่อความเป็นคนมักมากแล้ว ทำไมจะบรรลุอุตตริมนุสสธรรม อันเป็นความรู้ความเห็นพิเศษอย่างประเสริฐ อย่างสามารถได้เล่า.
เมื่อภิกษุปัญจวัคคีย์กล่าวอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตไม่ใช่เป็นคนมักมาก ไม่ได้เป็นคนคลายความเพียร ไม่ได้เวียนมาเพื่อความเป็นคนมักมาก ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธะ พวกเธอจงเงี่ยโสตลงฟัง เราได้บรรลุอมตธรรมแล้ว เราจะสั่งสอน จะแสดงธรรม เมื่อพวกเธอปฏิบัติอยู่ตามที่เราสั่งสอนแล้ว ไม่ช้าเท่าไร จักกระทำให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์อันไม่มีอะไรอื่นยิ่งไปกว่า อันเป็นประโยชน์ที่ต้องการของกุลบุตรทั้งหลาย ผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่.
แม้ครั้งที่สอง ภิกษุปัญจวัคคีย์ได้ทูลค้านพระผู้มีพระภาคว่า …
แม้ครั้งที่สอง พระผู้มีพระภาคก็ได้ตรัสว่า …
แม้ครั้งที่สาม ภิกษุปัญจวัคคีย์ได้ทูลค้านพระผู้มีพระภาคว่า อาวุโสโคดม แม้ด้วยจริยานั้น แม้ด้วยปฏิปทานั้น แม้ด้วยทุกกรกิริยานั้น พระองค์ก็ยังไม่ได้บรรลุอุตตริมนุสสธรรม อันเป็นความรู้ความเห็นพิเศษอย่างประเสริฐ อย่างสามารถ ก็บัดนี้พระองค์เป็นผู้มักมาก คลายความเพียรเวียนมาเพื่อความเป็นคนมักมากแล้ว ทำไมจะบรรลุอุตตริมนุสสธรรม อันเป็นความรู้ความเห็นพิเศษอย่างประเสริฐ อย่างสามารถได้เล่า.
เมื่อภิกษุปัญจวัคคีย์กล่าวอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอยังจำได้หรือว่า ถ้อยคำเช่นนี้เราได้เคยกล่าวแล้วในกาลก่อนแต่นี้.
ภิกษุปัญจวัคคีย์ทูลว่า ภันเต คำนี้ไม่เคยได้ฟังก่อนเลย.
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธะ พวกเธอจงเงี่ยโสตลงฟัง เราได้บรรลุอมตธรรมแล้ว เราจะสั่งสอน จะแสดงธรรม เมื่อพวกเธอปฏิบัติอยู่ตามที่เราสั่งสอนแล้ว ไม่ช้าเท่าไร จักกระทำให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์อันไม่มีอะไรอื่นยิ่งไปกว่า อันเป็นประโยชน์ที่ต้องการของกุลบุตรทั้งหลาย ผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่.
พระผู้มีพระภาคทรงสามารถให้ภิกษุปัญจวัคคีย์ยินยอมได้แล้ว ลำดับนั้นภิกษุปัญจวัคคีย์ ได้ยอมเชื่อฟังพระผู้มีพระภาค ได้เงี่ยโสตลงฟัง ตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุปัญจวัคคีย์ว่า ภิกษุทั้งหลาย ส่วนสุด ๒ อย่างนี้อันบรรพชิตไม่ควรเสพ คือ การประกอบตนให้พัวพันด้วยกามสุขในกามทั้งหลาย (กามสุขัลลิกานุโยค) เป็นธรรมอันเลว เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ และการประกอบความเพียรในการทรมานตนให้ลำบาก (อัตตกิลมถานุโยค) อันนำมาซึ่งทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์.
ภิกษุทั้งหลาย ข้อปฏิบัติที่เป็นทางสายกลาง (มัชฌิมาปฏิปทา) ที่ไม่เข้าไปหาส่วนสุด ๒ อย่างนั้น ตถาคตได้ตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง เป็นข้อปฏิบัติทำให้เกิดจักษุ ทำให้เกิดญาณ เป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้พร้อม เพื่อนิพพาน.
ภิกษุทั้งหลาย ก็ข้อปฏิบัติที่เป็นทางสายกลาง ที่ตถาคตได้ตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง เป็นข้อปฏิบัติทำให้เกิดจักษุ ทำให้เกิดญาณ เป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้พร้อม เพื่อนิพพานนั้น เป็นอย่างไร ข้อปฏิบัติที่เป็นทางสายกลางนั้นคือ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้นั่นเอง คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ ภิกษุทั้งหลาย นี้แลคือข้อปฏิบัติที่เป็นทางสายกลางนั้น ที่ตถาคตได้ตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง เป็นข้อปฏิบัติทำให้เกิดจักษุ ทำให้เกิดญาณ เป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้พร้อม เพื่อนิพพาน.
ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้เป็นทุกขอริยสัจ คือ ความเกิดก็เป็นทุกข์ ความแก่ก็เป็นทุกข์ ความเจ็บไข้ก็เป็นทุกข์ ความตายก็เป็นทุกข์ ความประสบกับสิ่งไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รักก็เป็นทุกข์ ปรารถนาสิ่งใดแล้วไม่ได้สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์ กล่าวโดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นทุกข์
ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้เป็นทุกขสมุทัยอริยสัจ คือ ตัณหาอันทำให้เกิดอีก ประกอบด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิน มีปกติเพลิดเพลินในอารมณ์นั้นๆ คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา.
ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้เป็นทุกขนิโรธอริยสัจ คือ ความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือ ความละวาง ความสละคืน ความผ่านพ้น ความไม่อาลัย ซึ่งตัณหานั้นนั่นเทียว.
ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้เป็นทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้นั่นเอง คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ.
ภิกษุทั้งหลาย ดวงตาเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขอริยสัจ ภิกษุทั้งหลาย ดวงตาเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ทุกขอริยสัจนี้ ควรกำหนดรู้ ภิกษุทั้งหลาย ดวงตาเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ทุกขอริยสัจนี้ เราได้กำหนดรู้แล้ว.
ภิกษุทั้งหลาย ดวงตาเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขสมุทัยอริยสัจ ภิกษุทั้งหลาย ดวงตาเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ทุกขสมุทัยอริยสัจนี้ ควรละเสีย ภิกษุทั้งหลาย ดวงตาเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ทุกขสมุทัยอริยสัจนี้ เราได้ละแล้ว.
ภิกษุทั้งหลาย ดวงตาเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขนิโรธอริยสัจ ภิกษุทั้งหลาย ดวงตาเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่าา ทุกขนิโรธอริยสัจนี้ ควรทำให้แจ้ง ภิกษุทั้งหลาย ดวงตาเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ทุกขนิโรธอริยสัจนี้ เราได้ทำให้แจ้งแล้ว.
ภิกษุทั้งหลาย ดวงตาเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ภิกษุทั้งหลาย ดวงตาเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้ ควรทำให้เจริญ ภิกษุทั้งหลาย ดวงตาเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้ เราได้ทำให้เจริญแล้ว.
ภิกษุทั้งหลาย ปัญญารู้เห็นความตามเป็นจริงของเราในอริยสัจทั้ง ๔ เหล่านี้ อันมีรอบ ๓ มีอาการ ๑๒ อย่างนี้ ยังไม่หมดจดด้วยดีอยู่เพียงใด ภิกษุทั้งหลาย เราก็ยังไม่ยืนยันว่า เป็นผู้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ อยู่เพียงนั้น.
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด ปัญญารู้เห็นตามความเป็นจริงของเราในอริยสัจทั้ง ๔ เหล่านี้ อันมีรอบ ๓ มีอาการ ๑๒ อย่างนี้ หมดจดดีแล้ว ภิกษุทั้งหลาย เมื่อนั้น เราจึงยืนยันได้ว่า เป็นผู้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะพราหมณ์ พร้อมเทวดาและมนุษย์.
อนึ่ง ปัญญารู้เห็นได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราว่า ความหลุดพ้นของเราไม่กลับกำเริบ ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย บัดนี้ ภพใหม่ไม่มีอีกต่อไป.
ก็เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่ ดวงตาเห็นธรรม ปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิดขึ้นแก่ท่านพระโกณฑัญญะว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวล มีความดับไปเป็นธรรมดา. …
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงเปล่งพระอุทานว่า ผู้เจริญ โกณฑัญญะ ได้รู้แล้วหนอ ผู้เจริญ โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ เพราะเหตุนั้น คำว่า อัญญาโกณฑัญญะนี้ จึงได้เป็นชื่อของท่านพระโกณฑัญญะ ด้วยประการอย่างนี้. …
-บาลี มหา. วิ. 4/12/10.
https://84000.org/tipitaka/pali/?4//12
https://etipitaka.com/read/pali/4/12
English translation by Bhikkhu Brahmali
6. The account of the group of five
The Buddha thought, “Who should I teach first? Who will understand this Teaching quickly?” And it occurred to him, “Ālāra Kālāma is wise and competent, and has for a long time had little dust in his eyes. Let me teach him first. He will understand it quickly.”
But an invisible god informed the Buddha, “Sir, Ālāra Kālāma died seven days ago,” and the Buddha also knew this for himself. He thought, “Ālāra Kālāma’s loss is great. If he had heard this Teaching, he would have understood it quickly.”
Again the Buddha thought, “Who should I teach first? Who will understand this Teaching quickly?” And it occurred to him, “Udaka Rāmaputta is wise and competent, and has for a long time had little dust in his eyes. Let me teach him first. He will understand it quickly.”
But an invisible god informed the Buddha, “Sir, Udaka Rāmaputta died last night,” and the Buddha also knew this for himself. He thought, “Udaka Rāmaputta’s loss is great. If he had heard this Teaching, he would have understood it quickly.”
Once again the Buddha thought, “Who should I teach first? Who will understand this Teaching quickly?” And it occurred to him, “The group of five monks who supported me while I was striving were of great service to me. Let me teach them first. But where are they staying now?”
With his superhuman and purified clairvoyance, the Buddha saw that the group of five monks were staying near Benares, in the deer park at Isipatana. Then, after staying at Uruvelā for as long as he liked, he set out wandering toward Benares. …
The Buddha continued wandering toward the deer park at Isipatana near Benares. When he eventually arrived, he went to the group of five monks.
Seeing him coming, the group of five made an agreement with one another: “Here comes the ascetic Gotama, who has given up his striving and returned to a life of indulgence. We shouldn’t bow down to him, stand up for him, or receive his bowl and robe, but we should prepare a seat. If he wishes, he may sit down.” But as the Buddha approached, the group of five monks was unable to keep their agreement. One went to meet him to receive his bowl and robe, another prepared a seat, another set out water for washing the feet, yet another set out a foot stool, and the last one put out a foot scraper. The Buddha sat down on the prepared seat and washed his feet. But they still addressed him by name and as “friend”.
The Buddha said to the group of five monks, “Monks, don’t address the Buddha by name or as ‘friend’. Listen, I’m perfected and fully awakened. I have discovered the deathless. I will instruct you and teach you the Truth. When you practice as instructed, in this very life you will soon realize with your own insight the supreme goal of the spiritual life for which gentlemen rightly go forth into homelessness.”
They replied, “Friend Gotama, by practicing extreme austerities you didn’t gain any superhuman quality, any distinction in knowledge and vision worthy of noble ones. Since you have given up your striving and returned to a life of indulgence, how could you now have achieved any of this?”
The Buddha said, “I haven’t given up striving and returned to a life of indulgence,” and he repeated what he had said before.
A second time the group of five monks repeated their question and a second time the Buddha repeated his reply. A third time they repeated their question,
and the Buddha then said, “Have you ever heard me speak like this?”
“No, Sir.”
“Then listen. I’m perfected and fully awakened. I have discovered the deathless. I will instruct you and teach you the Truth. When you practice as instructed, in this very life you will soon realize with your own insight the supreme goal of the spiritual life for which gentlemen rightly go forth into homelessness.”
The Buddha was able to persuade the group of five monks. They then listened to the Buddha, paid careful attention, and applied their minds to understand.
And the Buddha addressed them:
“There are these two opposites that should not be pursued by one who has gone forth. One is the devotion to worldly pleasures, which is inferior, crude, common, ignoble, and unbeneficial. The other is the devotion to self-torment, which is painful, ignoble, and unbeneficial. By avoiding these opposites, I have awakened to the middle path, which produces vision and knowledge, which leads to peace, insight, awakening, and extinguishment.
And what, monks, is that middle path? It’s just this noble eightfold path, that is, right view, right aim, right speech, right action, right livelihood, right effort, right mindfulness, and right stillness.
And this is noble truth of suffering: birth is suffering, old age is suffering, sickness is suffering, death is suffering, association with what is disliked is suffering, separation from what is liked is suffering, not getting what you want is suffering. In brief, the five aspects of existence affected by grasping are suffering.
And this is noble truth of the origin of suffering: the craving that leads to rebirth, that comes with delight and sensual desire, ever delighting in this and that, that is, craving for worldly pleasures, craving for existence, and craving for non-existence.
And this is noble truth of the end of suffering: the full fading away and ending of that very craving; giving it up, relinquishing it, releasing it, letting it go.
And this is noble truth of the path leading to the end of suffering: just this noble eightfold path, that is, right view, right aim, right speech, right action, right livelihood, right effort, right mindfulness, and right stillness.
I knew that this is the noble truth of suffering. Vision, knowledge, wisdom, understanding, and light arose in me regarding things I had never heard before. I knew that this noble truth of suffering should be fully understood. Vision, knowledge, wisdom, understanding, and light arose in me regarding things I had never heard before. I knew that this noble truth of suffering had been fully understood. Vision, knowledge, wisdom, understanding, and light arose in me regarding things I had never heard before.
I knew that this is the noble truth of the origin of suffering. Vision, knowledge, wisdom, understanding, and light arose in me regarding things I had never heard before. I knew that this noble truth of the origin of suffering should be fully abandoned. Vision, knowledge, wisdom, understanding, and light arose in me regarding things I had never heard before. I knew that this noble truth of the origin of suffering had been fully abandoned. Vision, knowledge, wisdom, understanding, and light arose in me regarding things I had never heard before.
I knew that this is the noble truth of the end of suffering. Vision, knowledge, wisdom, understanding, and light arose in me regarding things I had never heard before. I knew that this noble truth of the end of suffering should be fully experienced. Vision, knowledge, wisdom, understanding, and light arose in me regarding things I had never heard before. I knew that this noble truth of the end of suffering had been fully experienced. Vision, knowledge, wisdom, understanding, and light arose in me regarding things I had never heard before.
I knew that this is the noble truth of the path leading to the end of suffering. Vision, knowledge, wisdom, understanding, and light arose in me regarding things I had never heard before. I knew that this noble truth of the path leading to the end of suffering should be fully developed. Vision, knowledge, wisdom, understanding, and light arose in me regarding things I had never heard before. I knew that this noble truth of the path leading to the end of suffering had been fully developed. Vision, knowledge, wisdom, understanding, and light arose in me regarding things I had never heard before.
So long as I had not fully purified my knowledge and vision according to reality of these four noble truths with their three stages and twelve characteristics, I didn’t claim the supreme full awakening in this world with its gods, lords of death, and supreme beings, in this society with its monastics and brahmins, its gods and people.
But when I had fully purified my knowledge and vision according to reality of these four noble truths with their three stages and twelve characteristics, then I did claim the supreme full awakening in this world with its gods, lords of death, and supreme beings, in this society with its monastics and brahmins, its gods and people. And knowledge and vision arose in me: ‘My freedom is unshakable, this is my last birth, now there is no further rebirth.’”
This is what the Buddha said. The monks from the group of five were pleased and they rejoiced in the Buddha’s exposition.
And while this exposition was being spoken, Venerable Koṇḍañña experienced the stainless vision of the Truth: “Anything that has a beginning has an end.” …
Then the Buddha uttered a heartfelt exclamation: “Koṇḍañña has understood! Indeed, Koṇḍañña has understood!” That’s how Koṇḍañña got the name “Aññāsikoṇḍañña”, “Koṇḍañña who has understood.” …