เหตุให้ระลึกถึงกัน และได้รับความสุขตลอดกาลนาน [สาราณียธรรม (๓)]
… อานนท์ ธรรม ๖ ประการเหล่านี้ เป็นเหตุให้ระลึกถึงกัน เป็นเหตุก่อความรัก ก่อความเคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อไม่วิวาทกัน เพื่อความพร้อมเพรียงกัน เพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ๖ ประการอะไรบ้าง คือ
๑) อานนท์ ในกรณีนี้ ภิกษุมีกายกรรมประกอบด้วยเมตตา ปรากฏในเพื่อนร่วมประพฤติพรหมจรรย์ทั้งหลาย ทั้งในที่แจ้ง ทั้งในที่ลับ ธรรมแม้นี้ เป็นเหตุให้ระลึกถึงกัน เป็นเหตุก่อความรัก ก่อความเคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อไม่วิวาทกัน เพื่อความพร้อมเพรียงกัน เพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน.
๒) อานนท์ อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีวจีกรรมประกอบด้วยเมตตา ปรากฏในเพื่อนร่วมประพฤติพรหมจรรย์ทั้งหลาย ทั้งในที่แจ้ง ทั้งในที่ลับ ธรรมแม้นี้ เป็นเหตุให้ระลึกถึงกัน เป็นเหตุก่อความรัก ก่อความเคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อไม่วิวาทกัน เพื่อความพร้อมเพรียงกัน เพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน.
๓) อานนท์ อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีมโนกรรมประกอบด้วยเมตตา ปรากฏในเพื่อนร่วมประพฤติพรหมจรรย์ทั้งหลาย ทั้งในที่แจ้ง ทั้งในที่ลับ ธรรมแม้นี้ เป็นเหตุให้ระลึกถึงกัน เป็นเหตุก่อความรัก ก่อความเคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อไม่วิวาทกัน เพื่อความพร้อมเพรียงกัน เพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน.
๔) อานนท์ อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีลาภใดๆ เกิดโดยธรรม ได้แล้วโดยธรรม โดยที่สุดแม้เพียงอาหารติดบาตร ก็บริโภคโดยไม่เกียดกันไว้เพื่อตน ย่อมเป็นผู้บริโภคเฉลี่ยทั่วไปกับเพื่อนร่วมประพฤติพรหมจรรย์ผู้มีศีลทั้งหลาย ธรรมแม้นี้ เป็นเหตุให้ระลึกถึงกัน เป็นเหตุก่อความรัก ก่อความเคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อไม่วิวาทกัน เพื่อความพร้อมเพรียงกัน เพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน.
๕) อานนท์ อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีศีลที่ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไท อันผู้รู้สรรเสริญ ไม่ถูกทิฏฐิครอบงำ เป็นไปพร้อมเพื่อสมาธิ และถึงความเป็นผู้มีศีลเสมอกันในศีลเช่นนั้น กับเพื่อนร่วมประพฤติพรหมจรรย์ทั้งหลาย ทั้งในที่แจ้ง ทั้งในที่ลับ ธรรมแม้นี้ เป็นเหตุให้ระลึกถึงกัน เป็นเหตุก่อความรัก ก่อความเคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อไม่วิวาทกัน เพื่อความพร้อมเพรียงกัน เพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน.
๖) อานนท์ อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีทิฏฐิอันเป็นอริยะ อันเป็นเครื่องนำออก นำไปเพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบแก่ผู้กระทำตาม และถึงความเป็นผู้มีทิฏฐิเสมอกันในทิฏฐิเช่นนั้น กับเพื่อนร่วมประพฤติพรหมจรรย์ทั้งหลาย ทั้งในที่แจ้ง ทั้งในที่ลับ ธรรมแม้นี้ เป็นเหตุให้ระลึกถึงกัน เป็นเหตุก่อความรัก ก่อความเคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อไม่วิวาทกัน เพื่อความพร้อมเพรียงกัน เพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน.
อานนท์ ธรรม ๖ ประการเหล่านี้แล เป็นเหตุให้ระลึกถึงกัน เป็นเหตุก่อความรัก ก่อความเคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อไม่วิวาทกัน เพื่อความพร้อมเพรียงกัน เพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน.
อานนท์ ถ้าพวกเธอพึงสมาทานสาราณียธรรมทั้ง ๖ ประการเหล่านี้ประพฤติอยู่ พวกเธอจะยังเห็นว่าทางแห่งการกล่าวหา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเล็ก หรือเรื่องใหญ่ก็ตาม ที่เธอจะอดกลั้นไว้ไม่ได้มีอยู่อีกหรือไม่.
ข้อนี้ไม่มีเลย ภันเต.
อานนท์ เพราะเหตุนั้นแล พวกเธอพึงสมาทานสาราณียธรรมทั้ง ๖ ประการเหล่านี้ประพฤติเถิด ข้อนั้นจักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่พวกเธอตลอดกาลนาน.
-บาลี อุปริ. ม. 14/58/65.
https://84000.org/tipitaka/pali/?14//58
https://etipitaka.com/read/pali/14/58
English translation by Bhikkhu Sujato
… Ānanda, these six warm-hearted qualities make for fondness and respect, conducing to inclusion, harmony, and unity, without quarreling. What six? Firstly, a mendicant consistently treats their spiritual companions with bodily kindness, both in public and in private. This warm-hearted quality makes for fondness and respect, conducing to inclusion, harmony, and unity, without quarreling.
Furthermore, a mendicant consistently treats their spiritual companions with verbal kindness … This too is a warm-hearted quality.
Furthermore, a mendicant consistently treats their spiritual companions with mental kindness … This too is a warm-hearted quality.
Furthermore, a mendicant shares without reservation any material possessions they have gained by legitimate means, even the food placed in the alms-bowl, using them in common with their ethical spiritual companions. This too is a warm-hearted quality.
Furthermore, a mendicant lives according to the precepts shared with their spiritual companions, both in public and in private. Those precepts are unbroken, impeccable, spotless, and unmarred, liberating, praised by sensible people, not mistaken, and leading to immersion. This too is a warm-hearted quality.
Furthermore, a mendicant lives according to the view shared with their spiritual companions, both in public and in private. That view is noble and emancipating, and leads one who practices it to the complete ending of suffering. This too is a warm-hearted quality.
These six warm-hearted qualities make for fondness and respect, conducing to inclusion, harmony, and unity, without quarreling.
If you should undertake and follow these six warm-hearted qualities, do you see any criticism, large or small, that you could not endure?”
“No, sir.”
“That’s why, Ānanda, you should undertake and follow these six warm-hearted qualities. That will be for your lasting welfare and happiness.”
https://suttacentral.net/mn104/en/sujato
English translation by Bhikkhu Bodhi
“Ānanda, there are these six principles of cordiality that create love and respect, and conduce to cohesion, to non-dispute, to concord, and to unity. What are the six?
“Here a bhikkhu maintains bodily acts of loving-kindness both in public and in private towards his companions in the holy life. This is a principle of cordiality that creates love and respect, and conduces to cohesion, to non-dispute, to concord, and to unity.
“Again, a bhikkhu maintains verbal acts of loving-kindness both in public and in private towards his companions in the holy life. This too is a principle of cordiality that creates love and respect, and conduces to…unity.
“Again, a bhikkhu maintains mental acts of loving-kindness both in public and in private towards his companions in the holy life. This too is a principle of cordiality that creates love and respect, and conduces to…unity.
“Again, a bhikkhu enjoys things in common with his virtuous companions in the holy life; without making reservations, he shares with them any gain of a kind that accords with the Dhamma and has been obtained in a way that accords with the Dhamma, including even what is in his bowl. This too is a principle of cordiality that creates love and respect, and conduces to…unity.
“Again, a bhikkhu dwells both in public and in private possessing in common with his companions in the holy life those virtues that are unbroken, untorn, unblotched, unmottled, liberating, commended by the wise, not misapprehended, and conducive to concentration. This too is a principle of cordiality that creates love and respect and conduces to…unity.
“Again, a bhikkhu dwells both in public and in private possessing in common with his companions in the holy life that view that is noble and emancipating, and leads the one who practises in accordance with it to the complete destruction of suffering. This too is a principle of cordiality that creates love and respect, and conduces to cohesion, to non-dispute, to concord, and to unity.
“These are the six principles of cordiality that create love and respect, and conduce to cohesion, to non-dispute, to concord, and to unity.
“If, Ānanda, you undertake and maintain these six principles of cordiality, do you see any course of speech, trivial or gross, that you could not endure?”—“No, venerable sir.”—“Therefore, Ānanda, undertake and maintain these six principles of cordiality. That will lead to your welfare and happiness for a long time.”