ไม่ว่าจะเป็นสมาธิขั้นใด สามารถอาศัยเพื่อสิ้นอาสวะได้
ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะอาศัยปฐมฌาณบ้าง ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะอาศัยทุติยฌานบ้าง … เพราะอาศัยตติยฌาณบ้าง … เพราะอาศัยจตุตถฌานบ้าง … เพราะอาศัยอากาสานัญจายตนะบ้าง … เพราะอาศัยวิญญาณณัญจายตนะบ้าง … เพราะอาศัยอากิญจัญญายตนะบ้าง … เพราะอาศัยเนวสัญญานาสัญญายตนะบ้าง ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะอาศัยสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง. (แปลตามพตปฎ.ฉบับมอญ)
ภิกษุทั้งหลาย ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะอาศัยปฐมฌานบ้าง ดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าวเล่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในกรณีนี้ เพราะสงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย จึงบรรลุปฐมฌาน อันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุข อันเกิดจากวิเวกแล้วแลอยู่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณอันใด มีอยู่ในธรรมนั้น เธอพิจารณาเห็นธรรมเหล่านั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นดังโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นของทนได้ยาก เป็นของเบียดเบียน เป็นของไม่เชื่อฟัง เป็นของต้องแตกสลาย เป็นของว่างเปล่า เป็นอนัตตา เธอดำรงจิตด้วยธรรมเหล่านั้น แล้วจึงน้อมจิตไปสู่อมตธาตุว่า นั่นสงบ นั่นระงับ นั่นประณีต นั่นคือธรรมเป็นที่สงบระงับแห่งสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดคืนซึ่งอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา เป็นความจางคลาย เป็นความดับ เป็นนิพพาน ดังนี้ เธอดำรงอยู่ในปฐมฌาณนั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้าไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ก็เป็นโอปปาติกะ ผู้ปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป และเพราะอำนาจแห่งธัมมราคะ ธัมมนันทินั้นๆ นั่นเอง.
ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนนายขมังธนูหรือลูกมือของเขา ประกอบการฝึกยิงรูปหุ่นที่ทำด้วยหญ้า หรือก้อนดิน สมัยต่อมา เขาก็เป็นนายขมังธนูผู้ยิงได้ไกล ยิงได้เร็ว ทำลายหมู่พลอันใหญ่ได้ ภิกษุทั้งหลาย ฉันใดก็ฉันนั้น ที่ภิกษุเพราะสงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย จึงบรรลุปฐมฌาน อันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุข อันเกิดจากวิเวกแล้วแลอยู่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณอันใด มีอยู่ในธรรมนั้น เธอพิจารณาเห็นธรรมเหล่านั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นดังโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นของทนได้ยาก เป็นของเบียดเบียน เป็นของไม่เชื่อฟัง เป็นของต้องแตกสลาย เป็นของว่างเปล่า เป็นอนัตตา เธอดำรงจิตด้วยธรรมเหล่านั้น แล้วจึงน้อมจิตไปสู่อมตธาตุว่า นั่นสงบ นั่นระงับ นั่นประณีต นั่นคือธรรมเป็นที่สงบระงับแห่งสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดคืนซึ่งอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา เป็นความจางคลาย เป็นความดับ เป็นนิพพาน ดังนี้ เธอดำรงอยู่ในปฐมฌาณนั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้าไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ก็เป็นโอปปาติกะ ผู้ปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป และเพราะอำนาจแห่งธัมมราคะ ธัมมนันทินั้นๆ นั่นเอง ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่เรากล่าวแล้วว่า ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะอาศัยปฐมฌานบ้าง ดังนี้นั้น เราอาศัยความข้อนี้กล่าวแล้ว.
ภิกษุทั้งหลาย ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะอาศัยทุติยฌานบ้าง ดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าวเล่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในกรณีนี้ เพราะวิตกวิจารระงับไป จึงบรรลุทุติยฌาน อันเป็นเครื่องผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุข อันเกิดจากสมาธิแล้วแลอยู่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณอันใด มีอยู่ในธรรมนั้น เธอพิจารณาเห็นธรรมเหล่านั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นดังโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นของทนได้ยาก เป็นของเบียดเบียน เป็นของไม่เชื่อฟัง เป็นของต้องแตกสลาย เป็นของว่างเปล่า เป็นอนัตตา เธอดำรงจิตด้วยธรรมเหล่านั้น แล้วจึงน้อมจิตไปสู่อมตธาตุว่า นั่นสงบ นั่นระงับ นั่นประณีต นั่นคือธรรมเป็นที่สงบระงับแห่งสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดคืนซึ่งอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา เป็นความจางคลาย เป็นความดับ เป็นนิพพาน ดังนี้ เธอดำรงอยู่ในทุติยฌาณนั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้าไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ก็เป็นโอปปาติกะ ผู้ปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป และเพราะอำนาจแห่งธัมมราคะ ธัมมนันทินั้นๆ นั่นเอง.
ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนนายขมังธนูหรือลูกมือของเขา ประกอบการฝึกยิงรูปหุ่นที่ทำด้วยหญ้า หรือก้อนดิน สมัยต่อมา เขาก็เป็นนายขมังธนูผู้ยิงได้ไกล ยิงได้เร็ว ทำลายหมู่พลอันใหญ่ได้ … ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่เรากล่าวแล้วว่า ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะอาศัยทุติยฌานบ้าง ดังนี้นั้น เราอาศัยความข้อนี้กล่าวแล้ว.
ภิกษุทั้งหลาย ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะอาศัยตติยฌานบ้าง ดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าวเล่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในกรณีนี้ เพราะความจางคลายไปแห่งปีติ จึงอยู่อุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ และเสวยสุขด้วยกาย จึงบรรลุตติยฌาน อันพระอริยะกล่าวว่า ผู้นั้นเป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุขแล้วแลอยู่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณอันใด มีอยู่ในธรรมนั้น เธอพิจารณาเห็นธรรมเหล่านั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นดังโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นของทนได้ยาก เป็นของเบียดเบียน เป็นของไม่เชื่อฟัง เป็นของต้องแตกสลาย เป็นของว่างเปล่า เป็นอนัตตา เธอดำรงจิตด้วยธรรมเหล่านั้น แล้วจึงน้อมจิตไปสู่อมตธาตุว่า นั่นสงบ นั่นระงับ นั่นประณีต นั่นคือธรรมเป็นที่สงบระงับแห่งสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดคืนซึ่งอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา เป็นความจางคลาย เป็นความดับ เป็นนิพพาน ดังนี้ เธอดำรงอยู่ในตติยฌาณนั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้าไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ก็เป็นโอปปาติกะ ผู้ปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป และเพราะอำนาจแห่งธัมมราคะ ธัมมนันทินั้นๆ นั่นเอง.
ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนนายขมังธนูหรือลูกมือของเขา ประกอบการฝึกยิงรูปหุ่นที่ทำด้วยหญ้า หรือก้อนดิน สมัยต่อมา เขาก็เป็นนายขมังธนูผู้ยิงได้ไกล ยิงได้เร็ว ทำลายหมู่พลอันใหญ่ได้ … ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่เรากล่าวแล้วว่า ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะอาศัยตติยฌานบ้าง ดังนี้นั้น เราอาศัยความข้อนี้กล่าวแล้ว.
ภิกษุทั้งหลาย ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะอาศัยจตุตถฌานบ้าง ดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าวเล่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในกรณีนี้ เพราะละสุขและทุกข์เสียได้ เพราะความดับไปแห่งโสมนัสและโทมนัสในกาลก่อน จึงบรรลุจตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีแต่ความบริสุทธิ์แห่งสติเพราะอุเบกขาแล้วแลอยู่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณอันใด มีอยู่ในธรรมนั้น เธอพิจารณาเห็นธรรมเหล่านั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นดังโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นของทนได้ยาก เป็นของเบียดเบียน เป็นของไม่เชื่อฟัง เป็นของต้องแตกสลาย เป็นของว่างเปล่า เป็นอนัตตา เธอดำรงจิตด้วยธรรมเหล่านั้น แล้วจึงน้อมจิตไปสู่อมตธาตุว่า นั่นสงบ นั่นระงับ นั่นประณีต นั่นคือธรรมเป็นที่สงบระงับแห่งสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดคืนซึ่งอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา เป็นความจางคลาย เป็นความดับ เป็นนิพพาน ดังนี้ เธอดำรงอยู่ในจตุตถฌาณนั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้าไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ก็เป็นโอปปาติกะ ผู้ปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป และเพราะอำนาจแห่งธัมมราคะ ธัมมนันทินั้นๆ นั่นเอง.
ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนนายขมังธนูหรือลูกมือของเขา ประกอบการฝึกยิงรูปหุ่นที่ทำด้วยหญ้า หรือก้อนดิน สมัยต่อมา เขาก็เป็นนายขมังธนูผู้ยิงได้ไกล ยิงได้เร็ว ทำลายหมู่พลอันใหญ่ได้ … ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่เรากล่าวแล้วว่า ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะอาศัยจตุตถฌานบ้าง ดังนี้นั้น เราอาศัยความข้อนี้กล่าวแล้ว.
ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่เรากล่าวแล้วว่า ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะอาศัยอากาสานัญจายตนะบ้าง ดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าวเล่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในกรณีนี้ เพราะก้าวล่วงเสียได้ซึ่งรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะความดับไปแห่งปฏิฆสัญญา เพราะการไม่ทำไว้ในใจซึ่งนานัตตสัญญา จึงบรรลุอากาสานัญจายตนะ อันมีการทำในใจว่า อากาศไม่มีที่สุด ดังนี้แล้วแลอยู่ เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณอันใด มีอยู่ในธรรมนั้น เธอพิจารณาเห็นธรรมเหล่านั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นดังโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นของทนได้ยาก เป็นของเบียดเบียน เป็นของไม่เชื่อฟัง เป็นของต้องแตกสลาย เป็นของว่างเปล่า เป็นอนัตตา เธอดำรงจิตด้วยธรรมเหล่านั้น แล้วจึงน้อมจิตไปสู่อมตธาตุว่า นั่นสงบ นั่นระงับ นั่นประณีต นั่นคือธรรมเป็นที่สงบระงับแห่งสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดคืนซึ่งอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา เป็นความจางคลาย เป็นความดับ เป็นนิพพาน ดังนี้ เธอดำรงอยู่ในอากาสานัญจายตนะนั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้าไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ก็เป็นโอปปาติกะ ผู้ปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป และเพราะอำนาจแห่งธัมมราคะ ธัมมนันทินั้นๆ นั่นเอง.
ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนนายขมังธนูหรือลูกมือของเขา ประกอบการฝึกยิงรูปหุ่นที่ทำด้วยหญ้า หรือก้อนดิน สมัยต่อมา เขาก็เป็นนายขมังธนูผู้ยิงได้ไกล ยิงได้เร็ว ทำลายหมู่พลอันใหญ่ได้ ภิกษุทั้งหลาย ฉันใดก็ฉันนั้น ที่ภิกษุเพราะก้าวล่วงเสียได้ซึ่งรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะความดับไปแห่งปฏิฆสัญญา เพราะการไม่ทำไว้ในใจซึ่งนานัตตสัญญา จึงบรรลุอากาสานัญจายตนะ อันมีการทำในใจว่า อากาศไม่มีที่สุด ดังนี้แล้วแลอยู่ เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณอันใด มีอยู่ในธรรมนั้น เธอพิจารณาเห็นธรรมเหล่านั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นดังโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นของทนได้ยาก เป็นของเบียดเบียน เป็นของไม่เชื่อฟัง เป็นของต้องแตกสลาย เป็นของว่างเปล่า เป็นอนัตตา เธอดำรงจิตด้วยธรรมเหล่านั้น แล้วจึงน้อมจิตไปสู่อมตธาตุว่า นั่นสงบระงับ นั่นประณีต นั่นคือธรรมเป็นที่สงบระงับแห่งสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดคืนซึ่งอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา เป็นความจางคลาย เป็นความดับ เป็นนิพพาน ดังนี้ เธอดำรงอยู่ในอากาสานัญจายตนะนั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้าไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ก็เป็นโอปปาติกะ ผู้ปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป และเพราะอำนาจแห่งธัมมราคะ ธัมมนันทินั้นๆ นั่นเอง ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่เรากล่าวแล้วว่า ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะอาศัยอากาสานัญจายตนะบ้าง ดังนี้นั้น เราอาศัยความข้อนี้กล่าวแล้ว.
ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่เรากล่าวแล้วว่า ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะอาศัยวิญญาณัญจายตนะบ้าง ดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าวเล่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในกรณีนี้ เพราะก้าวล่วงเสียได้ซึ่งอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง จึงบรรลุวิญญาณัญจายตนะ อันมีการทำในใจว่า วิญญาณไม่มีที่สุด ดังนี้แล้วแลอยู่ เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณอันใด มีอยู่ในธรรมนั้น เธอพิจารณาเห็นธรรมเหล่านั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นดังโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นของทนได้ยาก เป็นของเบียดเบียน เป็นของไม่เชื่อฟัง เป็นของต้องแตกสลาย เป็นของว่างเปล่า เป็นอนัตตา เธอดำรงจิตด้วยธรรมเหล่านั้น แล้วจึงน้อมจิตไปสู่อมตธาตุว่า นั่นสงบ นั่นระงับ นั่นประณีต นั่นคือธรรมเป็นที่สงบระงับแห่งสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดคืนซึ่งอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา เป็นความจางคลาย เป็นความดับ เป็นนิพพาน ดังนี้ เธอดำรงอยู่ในวิญญาณัญจายตนะนั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้าไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ก็เป็นโอปปาติกะ ผู้ปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป และเพราะอำนาจแห่งธัมมราคะ ธัมมนันทินั้นๆ นั่นเอง.
ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนนายขมังธนูหรือลูกมือของเขา ประกอบการฝึกยิงรูปหุ่นที่ทำด้วยหญ้า หรือก้อนดิน สมัยต่อมา เขาก็เป็นนายขมังธนูผู้ยิงได้ไกล ยิงได้เร็ว ทำลายหมู่พลอันใหญ่ได้ ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่เรากล่าวแล้วว่า ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะอาศัยวิญญาณัญจายตนะบ้าง ดังนี้นั้น เราอาศัยความข้อนี้กล่าวแล้ว.
ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่เรากล่าวแล้วว่า ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะอาศัยอากิญจัญญายตนะบ้าง ดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าวเล่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในกรณีนี้ เพราะก้าวล่วงเสียได้ซึ่งวิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง จึงบรรลุอากิญจัญญายตนะ อันมีการทำในใจว่า อะไร ๆ ไม่มี ดังนี้แล้วแลอยู่ เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณอันใด มีอยู่ในธรรมนั้น เธอพิจารณาเห็นธรรมเหล่านั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นดังโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นของทนได้ยาก เป็นของเบียดเบียน เป็นของไม่เชื่อฟัง เป็นของต้องแตกสลาย เป็นของว่างเปล่า เป็นอนัตตา เธอดำรงจิตด้วยธรรมเหล่านั้น แล้วจึงน้อมจิตไปสู่อมตธาตุว่า นั่นสงบ นั่นระงับ นั่นประณีต นั่นคือธรรมเป็นที่สงบระงับแห่งสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดคืนซึ่งอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา เป็นความจางคลาย เป็นความดับ เป็นนิพพาน ดังนี้ เธอดำรงอยู่ในอากิญจัญญายตนะนั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้าไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ก็เป็นโอปปาติกะ ผู้ปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป และเพราะอำนาจแห่งธัมมราคะ ธัมมนันทินั้นๆ นั่นเอง.
ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนนายขมังธนูหรือลูกมือของเขา ประกอบการฝึกยิงรูปหุ่นที่ทำด้วยหญ้า หรือก้อนดิน สมัยต่อมา เขาก็เป็นนายขมังธนูผู้ยิงได้ไกล ยิงได้เร็ว ทำลายหมู่พลอันใหญ่ได้ ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่เรากล่าวแล้วว่า ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะอาศัยอากิญจัญญายตนะบ้าง ดังนี้นั้น เราอาศัยความข้อนี้กล่าวแล้ว.
ภิกษุทั้งหลาย ด้วยเหตุดังกล่าวมานี้แล เป็นอันกล่าวได้ว่า สัญญาสมาบัติมีประมาณเท่าใด อัญญาปฏิเวธ (การบรรลุอรหัตตผล) ก็มีประมาณเท่านั้น.
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนอายตนะอีก ๒ ประการ คือ เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ และสัญญาเวทยิตนิโรธ ซึ่งอาศัยสัญญาสมาบัติเหล่านั้น เรากล่าวว่า เป็นสิ่งที่ฌายีภิกษุ1 ผู้ชำนาญในการเข้าสมาบัติ ชำนาญในการออกจากสมาบัติ พึงเข้าสมาบัติ พึงออกจากสมาบัติ แล้วจะกล่าวว่าเป็นอะไรได้เองโดยชอบ ดังนี้.
-บาลี นวก. อํ. 23/438/240.
https://84000.org/tipitaka/pali/?23//438
https://etipitaka.com/read/pali/23/438
1 ภิกษุผู้เพ่งอยู่ หรือนั่นก็คือ ภิกษุที่ผู้เข้าสมาธิอยู่
English translation by Bhikkhu Sujato
“Mendicants, I say that the first absorption is a basis for ending the defilements. The second absorption is also a basis for ending the defilements. The third absorption is also a basis for ending the defilements. The fourth absorption is also a basis for ending the defilements. The dimension of infinite space is also a basis for ending the defilements. The dimension of infinite consciousness is also a basis for ending the defilements. The dimension of nothingness is also a basis for ending the defilements. The dimension of neither perception nor non-perception is also a basis for ending the defilements. The cessation of perception and feeling is also a basis for ending the defilements.
‘The first absorption is a basis for ending the defilements.’ That’s what I said, but why did I say it? Take a mendicant who, quite secluded from sensual pleasures, secluded from unskillful qualities, enters and remains in the first absorption. They contemplate the phenomena there—included in form, feeling, perception, choices, and consciousness—as impermanent, as suffering, as diseased, as a boil, as a dart, as misery, as an affliction, as alien, as falling apart, as empty, as not-self. They turn their mind away from those things, and apply it to the deathless: ‘This is peaceful; this is sublime—that is, the stilling of all activities, the letting go of all attachments, the ending of craving, fading away, cessation, extinguishment.’ Abiding in that they attain the ending of defilements. If they don’t attain the ending of defilements, with the ending of the five lower fetters they’re reborn spontaneously, because of their passion and love for that meditation. They are extinguished there, and are not liable to return from that world.
It’s like an archer or their apprentice who first practices on a straw man or a clay model. At a later time they become a long-distance shooter, a marksman, who shatters large objects. In the same way a noble disciple, quite secluded from sensual pleasures, enters and remains in the first absorption. They contemplate the phenomena there—included in form, feeling, perception, choices, and consciousness—as impermanent, as suffering, as diseased, as a boil, as a dart, as misery, as an affliction, as alien, as falling apart, as empty, as not-self. They turn their mind away from those things, and apply it to the deathless: ‘This is peaceful; this is sublime—that is, the stilling of all activities, the letting go of all attachments, the ending of craving, fading away, cessation, extinguishment.’ Abiding in that they attain the ending of defilements. If they don’t attain the ending of defilements, with the ending of the five lower fetters they’re reborn spontaneously, because of their passion and love for that meditation. They are extinguished there, and are not liable to return from that world. ‘The first absorption is a basis for ending the defilements.’ That’s what I said, and this is why I said it.
‘The second absorption is also a basis for ending the defilements.’ …
‘The third absorption is also a basis for ending the defilements.’ …
‘The fourth absorption is also a basis for ending the defilements.’ …
‘The dimension of infinite space is also a basis for ending the defilements.’ That’s what I said, but why did I say it? Take a mendicant who, going totally beyond perceptions of form, with the ending of perceptions of impingement, not focusing on perceptions of diversity, aware that ‘space is infinite’, enters and remains in the dimension of infinite space. They contemplate the phenomena there—included in feeling, perception, choices, and consciousness—as impermanent, as suffering, as diseased, as a boil, as a dart, as misery, as an affliction, as alien, as falling apart, as empty, as not-self. They turn their mind away from those things, and apply it to the deathless: ‘This is peaceful; this is sublime—that is, the stilling of all activities, the letting go of all attachments, the ending of craving, fading away, cessation, extinguishment.’ Abiding in that they attain the ending of defilements. If they don’t attain the ending of defilements, with the ending of the five lower fetters they’re reborn spontaneously, because of their passion and love for that meditation. They are extinguished there, and are not liable to return from that world.
It’s like an archer or their apprentice who first practices on a straw man or a clay model. At a later time they become a long-distance shooter, a marksman, who shatters large objects. In the same way, take a mendicant who enters and remains in the dimension of infinite space. … ‘The dimension of infinite space is a basis for ending the defilements.’ That’s what I said, and this is why I said it.
‘The dimension of infinite consciousness is a basis for ending the defilements.’ …
‘The dimension of nothingness is a basis for ending the defilements.’ That’s what I said, but why did I say it? Take a mendicant who, going totally beyond the dimension of infinite consciousness, aware that ‘there is nothing at all’, enters and remains in the dimension of nothingness. They contemplate the phenomena there—included in feeling, perception, choices, and consciousness—as impermanent, as suffering, as diseased, as a boil, as a dart, as misery, as an affliction, as alien, as falling apart, as empty, as not-self. They turn their mind away from those things, and apply it to the deathless: ‘This is peaceful; this is sublime—that is, the stilling of all activities, the letting go of all attachments, the ending of craving, fading away, cessation, extinguishment.’ Abiding in that they attain the ending of defilements. If they don’t attain the ending of defilements, with the ending of the five lower fetters they’re reborn spontaneously, because of their passion and love for that meditation. They are extinguished there, and are not liable to return from that world.
It’s like an archer or their apprentice who first practices on a straw man or a clay model. At a later time they become a long-distance shooter, a marksman, who shatters large objects. In the same way, take a mendicant who, going totally beyond the dimension of infinite consciousness, aware that ‘there is nothing at all’, enters and remains in the dimension of nothingness. They contemplate the phenomena there—included in feeling, perception, choices, and consciousness—as impermanent, as suffering, as diseased, as a boil, as a dart, as misery, as an affliction, as alien, as falling apart, as empty, as not-self. They turn their mind away from those things, and apply it to the deathless: ‘This is peaceful; this is sublime—that is, the stilling of all activities, the letting go of all attachments, the ending of craving, fading away, cessation, extinguishment.’ Abiding in that they attain the ending of defilements. If they don’t attain the ending of defilements, with the ending of the five lower fetters they’re reborn spontaneously, because of their passion and love for that meditation. They are extinguished there, and are not liable to return from that world. ‘The dimension of nothingness is a basis for ending the defilements.’ That’s what I said, and this is why I said it.
And so, mendicants, penetration to enlightenment extends as far as attainments with perception. But the two dimensions that depend on these—the dimension of neither perception nor non-perception, and the cessation of perception and feeling—are properly explained by mendicants who are skilled in these attainments and skilled in emerging from them, after they’ve entered them and emerged from them.”
English translation by Ṭhānissaro Bhikkhu
“I tell you, the ending of the effluents depends on the first jhāna… the second jhāna… the third… the fourth… the dimension of the infinitude of space… the dimension of the infinitude of consciousness… the dimension of nothingness. I tell you, the ending of the effluents depends on the dimension of neither perception nor non-perception.
“‘I tell you, the ending of the effluents depends on the first jhāna.’ Thus it has been said. In reference to what was it said? There is the case where a monk, quite secluded from sensuality, secluded from unskillful qualities, enters & remains in the first jhāna: rapture & pleasure born of seclusion, accompanied by directed thought & evaluation. He regards whatever phenomena there that are connected with form, feeling, perception, fabrications, & consciousness, as inconstant, stressful, a disease, a cancer, an arrow, painful, an affliction, alien, a disintegration, an emptiness, not-self. He turns his mind away from those phenomena, and having done so, inclines his mind to the property of deathlessness: ‘This is peace, this is exquisite—the pacification of all fabrications; the relinquishing of all acquisitions; the ending of craving; dispassion; cessation; unbinding.’
“Suppose that an archer or archer’s apprentice were to practice on a straw man or mound of clay, so that after a while he would become able to shoot long distances, to fire accurate shots in rapid succession, and to pierce great masses. In the same way, there is the case where a monk… enters & remains in the first jhāna: rapture & pleasure born of seclusion, accompanied by directed thought & evaluation. He regards whatever phenomena there that are connected with form, feeling, perception, fabrications, & consciousness, as inconstant, stressful, a disease, a cancer, an arrow, painful, an affliction, alien, a disintegration, an emptiness, not-self. He turns his mind away from those phenomena, and having done so, inclines his mind to the property of deathlessness: ‘This is peace, this is exquisite—the pacification of all fabrications; the relinquishing of all acquisitions; the ending of craving; dispassion; cessation; unbinding.’
“Staying right there, he reaches the ending of the effluents. Or, if not, then—through this very Dhamma-passion, this Dhamma-delight, and from the total ending of the five lower fetters [self-identification views, grasping at habits & practices, uncertainty, sensual passion, and irritation]—he is due to arise spontaneously (in the Pure Abodes), there to be totally unbound, never again to return from that world.
“‘I tell you, the ending of the effluents depends on the first jhāna.’ Thus it was said, and in reference to this was it said.
[Similarly with the second, third, and fourth jhāna.]
“‘I tell you, the ending of the effluents depends on the dimension of the infinitude of space.’ Thus it has been said. In reference to what was it said? There is the case where a monk—with the complete transcending of perceptions of (physical) form, with the disappearance of perceptions of resistance, and not attending to perceptions of multiplicity, (perceiving,) ‘Infinite space’—enters & remains in the dimension of the infinitude of space. He regards whatever phenomena there that are connected with feeling, perception, fabrications, & consciousness, as inconstant, stressful, a disease, a cancer, an arrow, painful, an affliction, alien, a disintegration, an emptiness, not-self. He turns his mind away from those phenomena, and having done so, inclines his mind to the property of deathlessness: ‘This is peace, this is exquisite—the pacification of all fabrications; the relinquishing of all acquisitions; the ending of craving; dispassion; cessation; unbinding.’
“Suppose that an archer or archer’s apprentice were to practice on a straw man or mound of clay, so that after a while he would become able to shoot long distances, to fire accurate shots in rapid succession, and to pierce great masses. In the same way, there is the case where a monk… enters & remains in the dimension of the infinitude of space. He regards whatever phenomena there that are connected with feeling, perception, fabrications, & consciousness, as inconstant, stressful, a disease, a cancer, an arrow, painful, an affliction, alien, a disintegration, an emptiness, not-self. He turns his mind away from those phenomena, and having done so, inclines his mind to the property of deathlessness: ‘This is peace, this is exquisite—the pacification of all fabrications; the relinquishing of all acquisitions; the ending of craving; dispassion; cessation; unbinding.’
“Staying right there, he reaches the ending of the effluents. Or, if not, then—through this very Dhamma-passion, this very Dhamma-delight, and from the total ending of the five lower fetters—he is due to arise spontaneously (in the Pure Abodes), there to be totally unbound, never again to return from that world.
“‘I tell you, the ending of the effluents depends on the dimension of the infinitude of space.’ Thus it was said, and in reference to this was it said.
[Similarly with the dimension of the infinitude of consciousness and the dimension of nothingness.]
“Thus, as far as the perception-attainments go, that is as far as gnosis-penetration goes. As for these two dimensions—the attainment of the dimension of neither perception nor non-perception & the attainment of the cessation of perception & feeling—I tell you that they are to be rightly explained by those monks who are meditators, skilled at attainment, skilled at attainment-emergence, who have attained & emerged in dependence on them.”