ประวัติบางส่วน ของพระพุทธเจ้าในอดีต
… ภิกษุทั้งหลาย นับถอยหลังจากนี้ไป ๙๑ กัป พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธะ พระนามว่าวิปัสสี ได้บังเกิดขึ้นแล้วในโลก.
ภิกษุทั้งหลาย นับถอยหลังจากนี้ไป ๓๑ กัป พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธะ พระนามว่าสิขี ได้บังเกิดขึ้นแล้วในโลก ภิกษุทั้งหลาย ในกัปที่ ๓๑ นั่นเอง พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธะ พระนามว่าเวสสภู ได้บังเกิดขึ้นแล้วในโลก.
ภิกษุทั้งหลาย ในภัททกัปนี้แหละ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธะ พระนามว่ากกุสันธะ ได้บังเกิดขึ้นแล้วในโลก ภิกษุทั้งหลาย ในภัททกัปนี้แหละ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธะ พระนามว่าโกนาคมนะ ได้บังเกิดขึ้นแล้วในโลก ภิกษุทั้งหลาย ในภัททกัปนี้แหละ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธะ พระนามว่ากัสสปะ ได้บังเกิดขึ้นแล้วในโลก ภิกษุทั้งหลาย ในภัททกัปปนี้ ในบัดนี้ เราผู้เป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธะ ได้บังเกิดขึ้นแล้วในโลก. …
ภิกษุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธะ พระนามว่าวิปัสสี มีประมาณอายุขัย ๘๐,๐๐๐ ปี พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธะ พระนามว่าสิขี มีประมาณอายุขัย ๗๐,๐๐๐ ปี พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธะ พระนามว่าเวสสภู มีประมาณอายุขัย ๖๐,๐๐๐ ปี พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธะ พระนามว่ากกุสันธะ มีประมาณอายุขัย ๔๐,๐๐๐ ปี พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธะ พระนามว่าโกนาคมนะ มีประมาณอายุขัย ๓๐,๐๐๐ ปี พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธะ พระนามว่ากัสสปะ มีประมาณอายุขัย ๒๐,๐๐๐ ปี ภิกษุทั้งหลาย ในบัดนี้ ประมาณอายุขัย (แห่งสัตว์ในยุค) ของเราสั้นมาก ผู้ที่มีชีวิตอยู่ได้นานก็เพียง ๑๐๐ ปีเป็นอย่างยิ่ง หรือที่เกินกว่า ๑๐๐ ปีก็มี น้อยกว่าก็มี. …
ภิกษุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธะ พระนามว่าวิปัสสี ตรัสรู้ที่โคนไม้แคฝอย พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธะ พระนามว่าสิขี ตรัสรู้ที่โคนไม้กุ่มบก พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธะ พระนามว่าเวสสภู ตรัสรู้ที่โคนไม้สาละ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธะ พระนามว่ากกุสันธะ ตรัสรู้ที่โคนไม้ซึก พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธะ พระนามว่าโกนาคมนะ ตรัสรู้ที่โคนไม้มะเดื่อ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธะ พระนามว่ากัสสปะ ตรัสรู้ที่โคนไม้ไทร ภิกษุทั้งหลาย ในบัดนี้ เราผู้เป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธะ ตรัสรู้ที่โคนไม้อัสสัตถะ (ปัจจุบันคือชื่อไม้โพธิ์).
ภิกษุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธะ พระนามว่าวิปัสสี มีขัณฑะและติสสะ เป็นอัครสาวกคู่เลิศ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธะ พระนามว่าสิขี มีอภิภูและสัมภวะ เป็นอัครสาวกคู่เลิศ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธะ พระนามว่าเวสสภู มีโสนะและอุตตระ เป็นอัครสาวกคู่เลิศ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธะ พระนามว่ากกุสันธะ มีวิธูระและสัญชีวะ เป็นอัครสาวกคู่เลิศ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธะ พระนามว่า โกนาคมนะ มีภิยโยสะและอุตตระ เป็นอัครสาวกคู่เลิศ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธะ พระนามว่ากัสสปะ มีติสสะและภารทวาชะ เป็นอัครสาวกคู่เลิศ ภิกษุทั้งหลาย ในบัดนี้ สาวก ๒ รูป มีนามว่า สารีบุตรและโมคคัลลานะ เป็นอัครสาวกคู่เลิศของเรา.
ภิกษุทั้งหลาย การประชุมกันแห่งสาวก ของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธะ พระนามว่าวิปัสสี ได้มี ๓ ครั้ง ครั้งหนึ่ง มีสาวกประชุมกันเป็นจำนวนภิกษุ ๖,๘๐๐,๐๐๐ รูป (พตปฎ. ฉบับมหาจุฬาฯ แปล ๑,๖๘๐,๐๐๐) อีกครั้งหนึ่ง มีสาวกประชุมกันเป็นจำนวนภิกษุ ๑๐๐,๐๐๐ รูป อีกครั้งหนึ่ง มีสาวกประชุมกันเป็นจำนวนภิกษุ ๘๐,๐๐๐ รูป สาวกของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธะ พระนามว่าวิปัสสี ซึ่งได้ประชุมกันทั้ง ๓ ครั้งนี้ ล้วนเป็นพระขีณาสพทั้งสิ้น.
ภิกษุทั้งหลาย การประชุมกันแห่งสาวก ของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธะ พระนามว่าสิขี ได้มี ๓ ครั้ง ครั้งหนึ่ง มีสาวกประชุมกันเป็นจำนวนภิกษุ ๑๐๐,๐๐๐ รูป อีกครั้งหนึ่งมีสาวกประชุมกันเป็นจำนวนภิกษุ ๘๐,๐๐๐ รูป อีกครั้งหนึ่ง มีสาวกประชุมกันเป็นจำนวนภิกษุ ๗๐,๐๐๐ รูป สาวกของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธะ พระนามว่าสิขี ซึ่งได้ประชุมกันทั้ง ๓ ครั้งนี้ ล้วนเป็นพระขีณาสพทั้งสิ้น.
ภิกษุทั้งหลาย การประชุมกันแห่งสาวก ของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธะ พระนามว่าเวสสภู ได้มี ๓ ครั้ง ครั้งหนึ่ง มีสาวกประชุมกันเป็นจำนวนภิกษุ ๘๐,๐๐๐ รูป อีกครั้งหนึ่ง มีสาวกประชุมกันเป็นจำนวนภิกษุ ๗๐,๐๐๐ รูป อีกครั้งหนึ่ง มีสาวกประชุมกันเป็นจำนวนภิกษุ ๖๐,๐๐๐ รูป สาวกของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธะ พระนามว่าเวสสภู ซึ่งได้ประชุมกันทั้ง ๓ ครั้งนี้ ล้วนเป็นพระขีณาสพทั้งสิ้น.
ภิกษุทั้งหลาย การประชุมกันแห่งสาวก ของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธะ พระนามว่ากกุสันธะ ได้มีครั้งเดียว มีจำนวนภิกษุ ๔๐,๐๐๐ รูป สาวกของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธะ พระนามว่ากกุสันธะ ซึ่งได้ประชุมกันครั้งเดียวนี้ ล้วนเป็นพระขีณาสพทั้งสิ้น.
ภิกษุทั้งหลาย การประชุมกันแห่งสาวก ของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธะ พระนามว่าโกนาคมนะ ได้มีครั้งเดียว มีจำนวนภิกษุ ๓๐,๐๐๐ รูป สาวกของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธะ พระนามว่าโกนาคมนะ ซึ่งได้ประชุมกันครั้งเดียวนี้ ล้วนเป็นพระขีณาสพทั้งสิ้น.
ภิกษุทั้งหลาย การประชุมกันแห่งสาวก ของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธะ พระนามว่ากัสสปะ ได้มีครั้งเดียว มีจำนวนภิกษุ ๒๐,๐๐๐ รูป สาวกของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธะ พระนามว่ากัสสปะ ที่ได้ประชุมกันครั้งเดียวนี้ ล้วนเป็นพระขีณาสพทั้งสิ้น.
ภิกษุทั้งหลาย ในบัดนี้ การประชุมกันแห่งสาวกของเรา ได้มีครั้งเดียว มีจำนวนภิกษุ ๑,๒๕๐ รูป สาวกของเราที่ได้ประชุมกันครั้งเดียวนี้ ล้วนเป็นพระขีณาสพทั้งสิ้น.
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เป็นอุปัฏฐาก และเป็นอุปัฏฐากอันเลิศของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธะ พระนามว่าวิปัสสี มีชื่อว่าอโสกะ ภิกษุผู้เป็นอุปัฏฐาก และเป็นอุปัฏฐากอันเลิศของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธะ พระนามว่าสิขี มีชื่อว่าเขมังกระ ภิกษุผู้เป็นอุปัฏฐาก และเป็นอุปัฏฐากอันเลิศของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธะ พระนามว่าเวสสภู มีชื่อว่าอุปสันตะ ภิกษุผู้เป็นอุปัฏฐาก และเป็นอุปัฏฐากอันเลิศของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธะ พระนามว่ากกุสันธะ มีชื่อว่าวุฑฒิชะ ภิกษุผู้เป็นอุปัฏฐาก และเป็นอุปัฏฐากอันเลิศของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธะ พระนามว่าโกนาคมนะ มีชื่อว่าโสตถิชะ ภิกษุผู้เป็นอุปัฏฐาก และเป็นอุปัฏฐากอันเลิศของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธะ พระนามว่ากัสสปะ มีชื่อว่าสัพพมิตตะ ภิกษุทั้งหลาย ในบัดนี้ ภิกษุผู้เป็นอุปัฏฐาก และเป็นอุปัฏฐากอันเลิศของเรา มีชื่อว่าอานนท์. …
ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น ในเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธะ พระนามว่าวิปัสสี เสด็จออกจากที่หลีกเร้นแล้ว ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ภิกษุทั้งหลาย วันนี้เราอยู่ในที่หลีกเร้น เกิดความรำพึงในใจว่า ในพระนครพันธุมดีราชธานี มีภิกษุสงฆ์อาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ประมาณ ๖,๘๐๐,๐๐๐ รูป ถ้ากระไรเราพึงอนุญาตภิกษุทั้งหลายว่า ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงเที่ยวจาริกไป เพื่อประโยชน์แก่มหาชน เพื่อความสุขแก่มหาชน เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อความเกื้อกูล เพื่อความสุข แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย แต่อย่าได้ไปทางเดียวกันถึง ๒ รูป เธอทั้งหลายจงแสดงธรรมอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด จงประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ อันบริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง สัตว์ทั้งหลายผู้ที่มีธุลีในดวงตาเพียงเล็กน้อยยังมีอยู่ (แปลตามพตปฎ.ฉบับมอญ) สัตว์เหล่านั้นจะเสื่อมจากคุณที่ควรได้ เพราะไม่ได้ฟังธรรม สัตว์ผู้ที่รู้ทั่วถึงธรรมได้ย่อมมีเป็นแน่ แต่ว่า เมื่อผ่านไปทุกๆ ๖ ปี พวกเธอพึงกลับมายังพระนครพันธุมดีราชธานี เพื่อแสดงปาติโมกข์.
ภิกษุทั้งหลาย ทันใดนั้น ท้าวมหาพรหมองค์หนึ่งได้ทราบความรำพึงในใจของเราด้วยใจ แล้วจึงได้หายตัวจากพรหมโลก มาปรากฏเฉพาะหน้าเรา เปรียบเหมือนบุรุษที่มีกำลังเหยียดแขนที่งอ หรืองอแขนที่เหยียดออกฉันนั้น ภิกษุทั้งหลาย ที่นั้น ท้าวมหาพรหมนั้น กระทำผ้าอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประนมอัญชลีมาทางเรา แล้วพูดกะเราว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ข้าแต่พระสุคต ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ภันเต บัดนี้ในพระนครพันธุมดีราชธานี มีภิกษุสงฆ์อาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ประมาณ ๖,๘๐๐,๐๐๐ รูป ภันเต ขอพระผู้มีพระภาคโปรดอนุญาตภิกษุทั้งหลายเถิดว่า ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงเที่ยวจาริกไป เพื่อประโยชน์แก่มหาชน เพื่อความสุขแก่มหาชน เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อความเกื้อกูล เพื่อความสุข แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย แต่อย่าได้ไปทางเดียวกันถึง ๒ รูป ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงแสดงธรรมอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด จงประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ อันบริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง สัตว์ทั้งหลายผู้ที่มีธุลีในตาเพียงเล็กน้อยยังมีอยู่ สัตว์เหล่านั้นจะเสื่อมจากคุณที่ควรได้ เพราะไม่ได้ฟังธรรม สัตว์ผู้ที่รู้ทั่วถึงธรรมได้ย่อมมีเป็นแน่ ภันเต โดยผ่านไปทุกๆ ๖ ปี แม้ข้าพระองค์ก็จักกระทำโดยที่จะให้ภิกษุทั้งหลายกลับมายังพระนครพันธุมดีราชธานี เพื่อแสดงพระปาติโมกข์ ภิกษุทั้งหลาย ท้าวมหาพรหมนั้น พูดกะเราดังนี้แล้ว ได้อภิวาทเรา กระทำประทักษิณ แล้วหายไปในที่นั้นเอง.
ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต (ว่า) พวกเธอจงเที่ยวจาริกไป เพื่อประโยชน์แก่มหาชน เพื่อความสุขแก่มหาชน เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อความเกื้อกูล เพื่อความสุข แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย แต่อย่าได้ไปทางเดียวกันถึง ๒ รูป ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงแสดงธรรมอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด จงประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ อันบริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง สัตว์ทั้งหลายผู้ที่มีธุลีในดวงตาเพียงเล็กน้อยยังมีอยู่ สัตว์เหล่านั้นจะเสื่อมจากคุณที่ควรได้ เพราะไม่ได้ฟังธรรม สัตว์ผู้ที่รู้ทั่วถึงธรรมได้ ย่อมมีเป็นแน่ แต่ว่า เมื่อผ่านไปทุกๆ ๖ ปี พวกเธอพึงกลับมายังพระนครพันธุมดีราชธานี เพื่อแสดงปาติโมกข์ ดังนี้. (แปลตามพตปฎ.ฉบับมอญ)
ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น เพียงวันเดียว พวกภิกษุส่วนมากได้เที่ยวจาริกไปในชนบทแล้ว.
ก็โดยสมัยนั้น ในชมพูทวีปมีอาวาสอยู่ ๘๔,๐๐๐ อาวาส เมื่อผ่านไปได้ ๑ ปี1แล้ว เทวดาทั้งหลายได้ร้องประกาศว่า ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย ผ่านไป ๑ ปีแล้ว บัดนี้ ยังเหลืออีก ๕ ปี โดยผ่านไปอีก ๕ ปี ท่านทั้งหลายพึงเข้าไปยังพระนครพันธุมดีราชธานี เพื่อแสดงพระปาติโมกข์ เมื่อผ่านไปได้ ๒ ปีแล้ว เทวดาทั้งหลายได้ร้องประกาศว่า ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย ผ่านไป ๒ ปีแล้ว บัดนี้ ยังเหลืออีก ๔ ปี โดยผ่านไปอีก ๔ ปี ท่านทั้งหลายพึงเข้าไปยังพระนครพันธุมดีราชธานี เพื่อแสดงพระปาติโมกข์ เมื่อผ่านไปได้ ๓ ปีแล้ว เทวดาทั้งหลายได้ร้องประกาศว่า ข้า แต่ท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย ผ่านไป ๓ ปีแล้ว บัดนี้ ยังเหลืออีก ๓ ปี โดยผ่านไปอีก ๓ ปี ท่านทั้งหลายพึงเข้าไปยังพระนครพันธุมดีราชธานี เพื่อแสดงพระปาติโมกข์ เมื่อผ่านไปได้ ๔ ปีแล้ว เทวดาทั้งหลายได้ร้องประกาศว่า ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย ผ่านไป ๔ ปีแล้ว บัดนี้ ยังเหลืออีก ๒ ปี โดยผ่านไปอีก ๒ ปี ท่านทั้งหลายพึงเข้าไปยังพระนครพันธุมดีราชธานี เพื่อแสดงพระปาติโมกข์ เมื่อผ่านไปได้ ๕ ปีแล้ว เทวดาทั้งหลายได้ร้องประกาศว่า ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย ผ่าน ๕ ปีไปแล้ว บัดนี้ ยังเหลือ ๑ ปี โดยผ่านไปอีก ๑ ปี ท่านทั้งหลายพึงเข้าไปยังพระนครพันธุมดีราชธานี เพื่อแสดงพระปาติโมกข์ เมื่อผ่านไปได้ ๖ ปีแล้ว เทวดาทั้งหลายได้ร้องประกาศว่า ผ่านไป ๖ ปีแล้ว บัดนี้ถึงเวลาแล้ว ขอท่านทั้งหลายพึงเข้าไปยังพระนครพันธุมดี ราชธานี เพื่อแสดงพระปาติโมกข์เถิด.
ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้น บางพวกไปด้วยฤทธิ์ ด้วยอานุภาพของตน บางพวกไปด้วยฤทธิ์ ด้วยอานุภาพของเทวดา เข้าไปยังพระนครพันธุมดีราชธานี เพื่อแสดงปาติโมกข์ โดยใช้เวลาเพียงวันเดียวเท่านั้น.
ภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่า ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธะ พระนามว่าวิปัสสี ทรงแสดงปาติโมกข์ในที่ประชุมสงฆ์ ดังนี้
ขันติ คือ ความอดทน เป็นตบะอย่างยิ่ง
พระพุทธเจ้าทั้งหลายตรัสว่า นิพพานเป็นสิ่งที่ยอดยิ่ง2
ผู้ทำร้ายผู้อื่น ผู้เบียดเบียนผู้อื่น
ไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิต ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะเลย.
การไม่ทำบาปทั้งปวง
การทำกุศลให้ถึงพร้อม
การทำจิตของตนให้ผ่องใส
นี้เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย.
การไม่กล่าวร้าย
การไม่ทำร้าย
ความสำรวมในปาติโมกข์
ความเป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะ
การอยู่ในเสนาสนะที่สงัด
การประกอบความเพียรในอธิจิต
นี้เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย. …
-บาลี มหา. ที. 10/2/2.
https://84000.org/tipitaka/pali/?10//2
https://etipitaka.com/read/pali/10/2
1 ศัพท์บาลี คือ วสฺส แปลว่า ปี หรือ ฤดูฝน ภาษาไทยมีแปลอีกสำนวน คือ พรรษา หมายถึงการนับปี โดยอ้างอิงจากการผ่านฤดูฝนไปแล้วกี่ครั้ง
2 ศัพท์บาลีคือ นิพฺพานํ ปรมํ
English translation by Bhikkhu Sujato
… “Ninety-one eons ago, the Buddha Vipassī arose in the world, perfected and fully awakened. Thirty-one eons ago, the Buddha Sikhī arose in the world, perfected and fully awakened. In the same thirty-first eon, the Buddha Vessabhū arose in the world, perfected and fully awakened. In the present fortunate eon, the Buddhas Kakusandha, Koṇāgamana, and Kassapa arose in the world, perfected and fully awakened. And in the present fortunate eon, I have arisen in the world, perfected and fully awakened. …
Vipassī lived for 80,000 years. Sikhī lived for 70,000 years. Vessabhū lived for 60,000 years. Kakusandha lived for 40,000 years. Koṇāgamana lived for 30,000 years. Kassapa lived for 20,000 years. For me these days the life-span is short, brief, and fleeting. A long-lived person lives for a century or a little more.
Vipassī was awakened at the root of a patala tree. Sikhī was awakened at the root of a white-mango tree. Vessabhū was awakened at the root of a sal tree. Kakusandha was awakened at the root of a sirisa tree. Koṇāgamana was awakened at the root of a cluster fig tree. Kassapa was awakened at the root of a banyan tree. I was awakened at the root of a peepal tree.
Vipassī had a fine pair of chief disciples named Khaṇḍa and Tissa. Sikhī had a fine pair of chief disciples named Abhibhū and Sambhava. Vessabhū had a fine pair of chief disciples named Soṇa and Uttara. Kakusandha had a fine pair of chief disciples named Vidhura and Sañjīva. Koṇāgamana had a fine pair of chief disciples named Bhiyyosa and Uttara. Kassapa had a fine pair of chief disciples named Tissa and Bhāradvāja. I have a fine pair of chief disciples named Sāriputta and Moggallāna.
Vipassī had three gatherings of disciples—one of 6,800,000, one of 100,000, and one of 80,000—all of them mendicants who had ended their defilements.
Sikhī had three gatherings of disciples—one of 100,000, one of 80,000, and one of 70,000—all of them mendicants who had ended their defilements.
Vessabhū had three gatherings of disciples—one of 80,000, one of 70,000, and one of 60,000—all of them mendicants who had ended their defilements.
Kakusandha had one gathering of disciples—40,000 mendicants who had ended their defilements.
Koṇāgamana had one gathering of disciples—30,000 mendicants who had ended their defilements.
Kassapa had one gathering of disciples—20,000 mendicants who had ended their defilements.
I have had one gathering of disciples—1,250 mendicants who had ended their defilements.
Vipassī had as chief attendant a mendicant named Asoka. Sikhī had as chief attendant a mendicant named Khemaṅkara. Vessabhū had as chief attendant a mendicant named Upasanta. Kakusandha had as chief attendant a mendicant named Buddhija. Koṇāgamana had as chief attendant a mendicant named Sotthija. Kassapa had as chief attendant a mendicant named Sabbamitta. I have as chief attendant a mendicant named Ānanda. …
Now at that time a large Saṅgha of 6,800,000 mendicants were residing at Bandhumatī. As the Buddha Vipassī was in private retreat this thought came to his mind, ‘The Saṅgha residing at Bandhumatī now is large. What if I was to urge them:
“Wander forth, mendicants, for the welfare and happiness of the people, out of compassion for the world, for the benefit, welfare, and happiness of gods and humans. Let not two go by one road. Teach the Dhamma that’s good in the beginning, good in the middle, and good in the end, meaningful and well-phrased. And reveal a spiritual practice that’s entirely full and pure. There are beings with little dust in their eyes. They’re in decline because they haven’t heard the teaching. There will be those who understand the teaching! But when six years have passed, you must all come to Bandhumatī to recite the monastic code.”’
Then a certain Great Brahmā, knowing what the Buddha Vipassī was thinking, as easily as a strong person would extend or contract their arm, vanished from the Brahmā realm and reappeared in front of the Buddha Vipassī. He arranged his robe over one shoulder, raised his joined palms toward the Buddha Vipassī, and said, ‘That’s so true, Blessed One! That’s so true, Holy One! The Saṅgha residing at Bandhumatī now is large. Please urge them to wander, as you thought. And sir, I’ll make sure that when six years have passed the mendicants will return to Bandhumatī to recite the monastic code.’
That’s what that Great Brahmā said. Then he bowed and respectfully circled the Buddha Vipassī, keeping him on his right side, before vanishing right there.
Then in the late afternoon, the Buddha Vipassī came out of retreat and addressed the mendicants, telling them all that had happened. Then he said,
‘Wander forth, mendicants, for the welfare and happiness of the people, out of compassion for the world, for the benefit, welfare, and happiness of gods and humans. Let not two go by one road. Teach the Dhamma that’s good in the beginning, good in the middle, and good in the end, meaningful and well-phrased. And reveal a spiritual practice that’s entirely full and pure. There are beings with little dust in their eyes. They’re in decline because they haven’t heard the teaching. There will be those who understand the teaching! But when six years have passed, you must all come to Bandhumatī to recite the monastic code.’
Then most of the mendicants departed to wander the country that very day.
Now at that time there were 84,000 monasteries in India. And when the first year came to an end the deities raised the cry: ‘Good sirs, the first year has ended. Now five years remain. When five years have passed, you must all go to Bandhumatī to recite the monastic code.’
And when the second year … the third year … the fourth year … the fifth year came to an end, the deities raised the cry: ‘Good sirs, the fifth year has ended. Now one year remains. When one year has passed, you must all go to Bandhumatī to recite the monastic code.’
And when the sixth year came to an end the deities raised the cry: ‘Good sirs, the sixth year has ended. Now is the time that you must go to Bandhumatī to recite the monastic code.’ Then that very day the mendicants went to Bandhumatī to recite the monastic code. Some went by their own psychic power, and some by the psychic power of the deities.
And there the Blessed One Vipassī, the perfected one, the fully awakened Buddha, recited the monastic code thus:
‘Patient acceptance is the ultimate fervor.
Extinguishment is the ultimate, say the Buddhas.
No true renunciate injures another,
nor does an ascetic hurt another.
Not to do any evil;
to embrace the good;
to purify one’s mind:
this is the instruction of the Buddhas.
Not speaking ill nor doing harm;
restraint in the monastic code;
moderation in eating;
staying in remote lodgings;
commitment to the higher mind—
this is the instruction of the Buddhas.’…