เหตุให้ได้ความเป็นโสดาบัน (เกี่ยวกับภัยเวร ๕ ประการ)
ครั้งนั้นแล อนาถบิณฑิกคหบดีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วนั่งในที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะอนาถบิณฑิกคหบดีว่า
คหบดี ในกาลใด อริยสาวกสงบระงับภัยเวร ๕ ประการเหล่านี้ได้แล้ว และประกอบด้วยโสตาปัตติยังคะ ๔ ประการเหล่านี้ด้วย ในกาลนั้น อริยสาวกนั้นเมื่อหวังอยู่ พึงพยากรณ์ตนด้วยตนเองได้ว่า เราเป็นผู้มีนรกสิ้นแล้ว มีกำเนิดสัตว์เดรัจฉานสิ้นแล้ว มีเปรตวิสัยสิ้นแล้ว มีอบาย ทุคติ และวินิบาตสิ้นแล้ว เราเป็นโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้ที่จะตรัสรู้ในกาลข้างหน้า
คหบดี อริยสาวกสงบระงับภัยเวร ๕ ประการได้แล้ว เป็นอย่างไร
คหบดี บุคคลผู้ฆ่าสัตว์มีชีวิต ย่อมประสบภัยเวรใด ทั้งในปัจจุบัน ทั้งในสัมปรายะ และย่อมได้รับทุกขโทมนัสทางใจ เพราะการฆ่าสัตว์เป็นปัจจัย อริยสาวกผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์มีชีวิต ย่อมไม่ประสบภัยเวรนั้น ทั้งในปัจจุบัน ทั้งในสัมปรายะ และไม่ได้รับทุกขโทมนัสทางใจ อริยสาวกผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์มีชีวิต ย่อมสงบระงับภัยเวรนั้นด้วยอาการอย่างนี้.
คหบดี บุคคลผู้ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ ย่อมประสบภัยเวรใด ทั้งในปัจจุบัน ทั้งในสัมปรายะ และย่อมได้รับทุกขโทมนัสทางใจ เพราะการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้เป็นปัจจัย อริยสาวกผู้เว้นขาดจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ ย่อมไม่ประสบภัยเวรนั้น ทั้งในปัจจุบัน ทั้งในสัมปรายะ และไม่ได้รับทุกขโทมนัสทางใจ อริยสาวกผู้เว้นขาดจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ ย่อมสงบระงับภัยเวรนั้นด้วยอาการอย่างนี้.
คหบดี บุคคลผู้ประพฤติผิดในกาม ย่อมประสบภัยเวรใด ทั้งในปัจจุบัน ทั้งในสัมปรายะ และย่อมได้รับทุกขโทมนัสทางใจ เพราะการประพฤติผิดในกามเป็นปัจจัย อริยสาวกผู้เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม ย่อมไม่ประสบภัยเวรใด ทั้งในปัจจุบันนั้น ทั้งในสัมปรายะ และไม่ได้รับทุกขโทมนัสทางใจ อริยสาวกผู้เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม ย่อมสงบระงับภัยเวรนั้นด้วยอาการอย่างนี้.
คหบดี บุคคลผู้พูดเท็จ ย่อมประสบภัยเวรใด ทั้งในปัจจุบัน ทั้งในสัมปรายะ และย่อมได้รับทุกขโทมนัสทางใจ เพราะการพูดเท็จเป็นปัจจัย อริยสาวกผู้เว้นขาดจากการพูดเท็จ ย่อมไม่ประสบภัยเวรนั้น ทั้งในปัจจุบัน ทั้งในสัมปรายะ และไม่ได้รับทุกขโทมนัสทางใจ อริยสาวกผู้เว้นขาดจากการพูดเท็จ ย่อมสงบระงับภัยเวรนั้นด้วยอาการอย่างนี้.
คหบดี บุคคลผู้ดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ย่อมประสบภัยเวรใด ทั้งในปัจจุบัน ทั้งในสัมปรายะ และย่อมได้รับทุกขโทมนัสทางใจ เพราะการดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท อริยสาวกผู้เว้นขาดจากการดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ย่อมไม่ประสบภัยเวรนั้น ทั้งในปัจจุบัน ทั้งในสัมปรายะ และไม่ได้รับทุกขโทมนัสทางใจ อริยสาวกผู้เว้นขาดจากการดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ย่อมสงบระงับภัยเวรนั้นด้วยอาการอย่างนี้.
คหบดี อริยสาวกสงบระงับภัยเวร ๕ ประการได้แล้ว เป็นอย่างนี้แล.
คหบดี อริยสาวกเป็นผู้ประกอบด้วยโสตาปัตติยังคะ ๔ ประการเป็นอย่างไร คหบดี อริยสาวกในกรณีนี้
๑) เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า แม้เพราะเหตุอย่างนี้ๆ พระผู้มีพระภาคนั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ทรงถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งไปกว่า เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม.
๒) เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมว่า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว ซึ่งผู้บรรลุจะพึงได้เอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกกันมาดู ควรน้อมเข้ามาใส่ตน อันผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน.
๓) เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ว่า สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว เป็นผู้ปฏิบัติตรงแล้ว เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว เป็นผู้ปฏิบัติสมควรแล้ว นั่นคือ คู่แห่งบุรุษ ๔ คู่ นับเรียงตัวได้ ๘ บุรุษ นั่นแหละ คือ สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ควรแก่ของบูชา เป็นผู้ควรแก่ของต้อนรับ เป็นผู้ควรรับทักษิณา เป็นผู้ควรกระทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า.
๔) เป็นผู้ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะรักใคร่แล้ว เป็นศีลที่ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไท (จากตัณหา) เป็นศีลที่ผู้รู้สรรเสริญ ไม่ถูกทิฏฐิครอบงำ และเป็นศีลที่เป็นไปเพื่อสมาธิ.
คหบดี อริยสาวกเป็นผู้ประกอบด้วยโสตาปัตติยังคะ ๔ ประการ เป็นอย่างนี้แล.
คหบดี ในกาลใด อริยสาวกสงบระงับภัยเวร ๕ ประการเหล่านี้ได้แล้ว และประกอบด้วยโสตาปัตติยังคะ ๔ ประการเหล่านี้ด้วย ในกาลนั้น อริยสาวกนั้นเมื่อหวังอยู่ พึงพยากรณ์ตนด้วยตนเองได้ว่า เราเป็นผู้มีนรกสิ้นแล้ว มีกำเนิดสัตว์เดรัจฉานสิ้นแล้ว มีเปรตวิสัยสิ้นแล้ว มีอบาย ทุคติ และวินิบาตสิ้นแล้ว เราเป็นโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้ที่จะตรัสรู้ในกาลข้างหน้า.
-บาลี นวก. อํ. 23/419/231.
https://84000.org/tipitaka/pali/?23//419
https://etipitaka.com/read/pali/23/419/
English translation by Bhikkhu Sujato
Then the householder Anāthapiṇḍika went up to the Buddha, bowed, and sat down to one side. The Buddha said to him:
“Householder, when a noble disciple has quelled five dangers and threats, and has the four factors of stream-entry, they may, if they wish, declare of themselves: ‘I’ve finished with rebirth in hell, the animal realm, and the ghost realm. I’ve finished with all places of loss, bad places, the underworld. I am a stream-enterer! I’m not liable to be reborn in the underworld, and am bound for awakening.’
What are the five dangers and threats they have quelled? Anyone who kills living creatures creates dangers and threats both in the present life and in lives to come, and experiences mental pain and sadness. Anyone who refrains from killing living creatures creates no dangers and threats either in the present life or in lives to come, and doesn’t experience mental pain and sadness. So that danger and threat is quelled for anyone who refrains from killing living creatures.
Anyone who steals …
Anyone who commits sexual misconduct …
Anyone who lies …
Anyone who uses alcoholic drinks that cause negligence creates dangers and threats both in the present life and in lives to come, and experiences mental pain and sadness. Anyone who refrains from using alcoholic drinks that cause negligence creates no dangers and threats either in the present life or in lives to come, and doesn’t experience mental pain and sadness. So that danger and threat is quelled for anyone who refrains from using alcoholic drinks that cause negligence.
These are the five dangers and threats they have quelled.
What are the four factors of stream-entry that they have? It’s when a noble disciple has experiential confidence in the Buddha: ‘That Blessed One is perfected, a fully awakened Buddha, accomplished in knowledge and conduct, holy, knower of the world, supreme guide for those who wish to train, teacher of gods and humans, awakened, blessed.’
They have experiential confidence in the teaching: ‘The teaching is well explained by the Buddha—visible in this very life, immediately effective, inviting inspection, relevant, so that sensible people can know it for themselves.’
They have experiential confidence in the Saṅgha: ‘The Saṅgha of the Buddha’s disciples is practicing the way that’s good, direct, methodical, and proper. It consists of the four pairs, the eight individuals. This is the Saṅgha of the Buddha’s disciples that is worthy of offerings dedicated to the gods, worthy of hospitality, worthy of a religious donation, worthy of greeting with joined palms, and is the supreme field of merit for the world.’
And a noble disciple’s ethical conduct is loved by the noble ones, unbroken, impeccable, spotless, and unmarred, liberating, praised by sensible people, not mistaken, and leading to immersion. These are the four factors of stream-entry that they have.
When a noble disciple has quelled these five dangers and threats, and has these four factors of stream-entry, they may, if they wish, declare of themselves: ‘I’ve finished with rebirth in hell, the animal realm, and the ghost realm. I’ve finished with all places of loss, bad places, the underworld. I am a stream-enterer! I’m not liable to be reborn in the underworld, and am bound for awakening.’”