เป็นเพราะกรรม
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ราวป่าอิจฉานังคละ ใกล้บ้านอิจฉานังคลคาม ก็สมัยนั้น พราหมณ์มหาศาลผู้มีชื่อเสียงเป็นอันมาก คือ จังกีพราหมณ์ ตารุกขพราหมณ์ โปกขรสาติพราหมณ์ ชาณุโสณีพราหมณ์ โตเทยยพราหมณ์ และพราหมณ์มหาศาลเหล่าอื่นที่มีชื่อเสียง ก็อาศัยอยู่ในอิจฉานังคลคาม.
ครั้งนั้น วาเสฏฐมาณพและภารทวาชมาณพ เที่ยวเดินเล่นเป็นการพักผ่อนอยู่ มีถ้อยคำพูดกันในระหว่างนี้เกิดขึ้นว่า ท่านผู้เจริญ อย่างไรบุคคลจึงจะชื่อว่าเป็นพราหมณ์.
ภารทวาชมาณพกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ บุคคลเป็นผู้มีชาติกำเนิดดีทั้งสองฝ่าย คือ ทั้งฝ่ายมารดาและฝ่ายบิดา มีครรภ์เป็นที่ถือปฏิสนธิอันบริสุทธิ์ตลอด ๗ ชั่วบรรพบุรุษ ไม่มีใครคัดค้านติเตียนด้วยอ้างถึงชาติกำเนิดได้ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล บุคคลจึงจะชื่อว่าเป็นพราหมณ์.
วาเสฏฐมาณพกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ บุคคลเป็นผู้มีศีลและถึงพร้อมด้วยวัตร ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล บุคคลจึงจะชื่อว่าเป็นพราหมณ์.
ภารทวาชมาณพไม่อาจทำให้วาเสฏฐมาณพยินยอมได้ ถึงวาเสฏฐมาณพก็ไม่อาจทำให้ภารทวาชมาณพยินยอมได้เหมือนกัน.
ครั้งนั้นแล วาเสฏฐมาณพได้ปรึกษากะภารทวาชมาณพว่า ท่านภารทวาชะ พระสมณ
โคดมผู้เป็นโอรสของเจ้าศากยะ เสด็จออกผนวชจากศากยสกุล ประทับอยู่ ณ ราวป่าอิจฉานังคละ ใกล้อิจฉานังคลคาม ก็กิตติศัพท์อันงามของท่านพระสมณโคดมนั้น ขจรไปแล้วอย่างนี้ว่า แม้เพราะเหตุอย่างนี้ๆ พระผู้มีพระภาคนั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม มาเถิด ท่านภารวทวาชะ เราจักเข้าไปเฝ้าพระสมณโคดมถึงที่ประทับ แล้วทูลถามเนื้อความนี้ พระสมณโคดมจักทรงตรัสตอบแก่เราอย่างไร เราจักทรงจำเนื้อความนั้นไว้อย่างนั้น ภารทวาชมาณพรับคำวาเสฏฐมาณพแล้ว.
ลำดับนั้น วาเสฏฐมาณพและภารทวาชมาณพได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้เป็นที่ระลึกถึงกันไปแล้วจึงนั่ง ณ ที่สมควร ครั้นนั่งเรียบร้อยแล้ว วาเสฏฐมาณพได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า
ข้าพระองค์ทั้งสองเป็นผู้ทรงไตรเพท อันอาจารย์อนุญาตแล้วและปฏิญาณได้เองว่า เป็นผู้ได้ศึกษาแล้ว ข้าพระองค์เป็นศิษย์ท่านโปกขรสาติพราหมณ์ มาณพผู้นี้เป็นศิษย์ท่านตารุกขพราหมณ์.
ข้าพระองค์ทั้งสองเป็นผู้รู้จบในบทที่พราหมณ์ผู้ทรงไตรเพทบอกแล้ว ข้าพระองค์ทั้งสองเป็นผู้มีข้อพยากรณ์แม่นยำตามบทเช่นเดียวกับอาจารย์ในสถานกล่าวมนต์ ข้าแต่พระโคดม
ข้าพระองค์ทั้งสองมีการโต้เถียงกันในการกล่าวถึงชาติกำเนิด คือ ภารทวาชมาณพกล่าวว่า บุคคลชื่อว่าเป็นพราหมณ์เพราะชาติกำเนิด ส่วนข้าพระองค์กล่าวว่า บุคคลชื่อว่าเป็นพราหมณ์เพราะกรรม.
พระองค์ผู้มีจักษุขอจงทรงทราบอย่างนี้ ข้าพระองค์ทั้งสองนั้น ไม่อาจจะให้กันและกันยินยอมได้ จึงได้มาเฝ้าเพื่อถามพระผู้มีพระภาคผู้เป็นสัมพุทธะ ผู้ปรากฏด้วยอาการอย่างนี้ ชนทั้งหลายเมื่อจะเข้าไปประนมมือถวายอภิวาท ก็จักถวายอภิวาทพระโคดมได้ทั่วโลก เหมือนพระจันทร์เต็มดวงฉันนั้น.
ข้าพระองค์ขอทูลถามพระโคดมผู้เป็นดวงจักษุที่อุบัติขึ้นในโลกว่า บุคคลชื่อว่าเป็นพราหมณ์เพราะชาติ หรือบุคคลชื่อว่าเป็นพราหมณ์เพราะกรรม ขอโปรดตรัสบอกแก่
ข้าพระองค์ทั้งสองผู้ไม่ทราบ โดยประการที่จะทราบบุคคลผู้เป็นพราหมณ์นั้นเถิด.
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า วาเสฏฐะ เราจักพยากรณ์การจำแนกชาติกำเนิดของสัตว์ทั้งหลายตามลำดับ ตามความเหมาะสมแก่เธอทั้งสองนั้น เพราะว่าสัตว์ทั้งหลายมีชาติกำเนิดแตกต่างกันเป็นคนละอย่าง.
เธอทั้งสองจงรู้จักหญ้าและต้นไม้ แม้หญ้าและต้นไม้จะไม่ได้ยอมรับว่าเป็นหญ้า เป็นต้นไม้ แต่หญ้าและต้นไม้เหล่านั้น ต่างก็มีรูปร่างสัณฐานไปตามชาติกำเนิด เพราะมันมีชาติกำเนิดต่างกันเป็นคนละอย่าง.
ต่อไป เธอทั้งสองจงรู้จักพวกตั๊กแตน ผีเสื้อ ตลอดถึงมดดำและมดแดง สัตว์เหล่านั้นต่างก็มีรูปร่างสัณฐานไปตามชาติกำเนิด เพราะมันมีชาติกำเนิดต่างกันเป็นคนละอย่าง.
อนึ่ง เธอทั้งสองจงรู้จักพวกสัตว์สี่เท้า ทั้งเล็กทั้งใหญ่ สัตว์เหล่านั้นต่างก็มีรูปร่างสัณฐานไปตามชาติกำเนิด เพราะมันมีชาติกำเนิดต่างกันเป็นคนละอย่าง.
อนึ่ง เธอทั้งสองจงรู้จักพวกสัตว์มีท้องเป็นเท้า เลื้อยไปด้วยอก มีสันหลังยาว สัตว์เหล่านั้นต่างก็มีรูปร่างสัณฐานไปตามชาติกำเนิด เพราะมันมีชาติกำเนิดต่างกันเป็นคนละอย่าง.
ต่อไป เธอทั้งสองจงรู้จักพวกปลา พวกสัตว์ที่เกิดในน้ำ พวกสัตว์ที่เที่ยวหากินในน้ำ สัตว์เหล่านั้นต่างก็มีรูปร่างสัณฐานไปตามชาติกำเนิด เพราะมันมีชาติกำเนิดต่างกันเป็นคนละอย่าง.
ต่อไป เธอทั้งสองจงรู้จักพวกนก พวกสัตว์ที่ไปได้ด้วยปีก พวกสัตว์ที่บินไปในอากาศ สัตว์เหล่านั้นต่างก็มีรูปร่างสัณฐานไปตามชาติกำเนิด เพราะมันมีชาติกำเนิดต่างกันเป็นคนละอย่าง.
รูปร่างสัณฐานของพวกสัตว์เหล่านี้ มีความแตกต่างกัน (มากมาย) ตามชาติกำเนิด ฉันใด แต่ในหมู่มนุษย์ ไม่ได้มีรูปร่างสัณฐานแตกต่างกันไปตามชาติกำเนิดมากมาย ฉันนั้น คือ ไม่ได้มีความแตกต่างกันด้วยผม ด้วยศีรษะ ด้วยใบหู ด้วยนัยน์ตา ด้วยหน้า ด้วยจมูก ด้วยริมฝีปาก ด้วยคิ้ว ด้วยคอ ด้วยบ่า ด้วยท้อง ด้วยหลัง ด้วยสะโพก ด้วยอก ในที่แคบ ในที่เมถุน (อวัยวะสืบพันธุ์) ด้วยมือ ด้วยเท้า ด้วยนิ้ว ด้วยเล็บ ด้วยแข้ง ด้วยขา ด้วยผิวพรรณ หรือด้วยเสียง ในหมู่มนุษย์จึงไม่มีรูปร่างสัณฐานตามกำเนิดแตกต่างกันมากมายเหมือนในกำเนิดอื่นๆ เลย.
ในหมู่มนุษย์ ในสรีระของแต่ละคนไม่มีความแตกต่างกันเฉพาะตัว (มากมาย) การเรียกกันในหมู่มนุษย์เขาเรียกต่างกันตามชื่อ
วาเสฏฐะ ก็ในหมู่มนุษย์ ผู้ใดอาศัยการเลี้ยงโคเลี้ยงชีวิต ท่านจงรู้อย่างนี้ว่า ผู้นั้นเป็นชาวนา ไม่ใช่พราหมณ์.
วาเสฏฐะ ในหมู่มนุษย์ ผู้ใดเลี้ยงชีวิตด้วยศิลปะมากอย่าง ท่านจงรู้อย่างนี้ว่า ผู้นั้นเป็นศิลปิน ไม่ใช่พราหมณ์.
วาเสฏฐะ ในหมู่มนุษย์ ผู้ใดอาศัยการค้าขายเลี้ยงชีวิต ท่านจงรู้อย่างนี้ว่า ผู้นั้นเป็นพ่อค้า ไม่ใช่พราหมณ์.
วาเสฏฐะ ในหมู่มนุษย์ ผู้ใดเลี้ยงชีวิตด้วยการรับใช้ผู้อื่น ท่านจงรู้อย่างนี้ว่า ผู้นั้นเป็นคนรับใช้ ไม่ใช่พราหมณ์.
วาเสฏฐะ ในหมู่มนุษย์ ผู้ใดอาศัยของที่เขาไม่ให้เลี้ยงชีวิต ท่านจงรู้อย่างนี้ว่า ผู้นั้นเป็นโจร ไม่ใช่พราหมณ์.
วาเสฏฐะ ในหมู่มนุษย์ ผู้ใดอาศัยศัสตราวุธเลี้ยงชีวิต ท่านจงรู้อย่างนี้ว่า ผู้นั้นเป็นนักรบ ไม่ใช่พราหมณ์.
วาเสฏฐะ ในหมู่มนุษย์ ผู้ใดเลี้ยงชีวิตด้วยการงานของปุโรหิต ท่านจงรู้อย่างนี้ว่า ผู้นั้นเป็นปุโรหิต ไม่ใช่พราหมณ์.
วาเสฏฐะ ในหมู่มนุษย์ ผู้ใดปกครองบ้านและเมือง ท่านจงรู้อย่างนี้ว่า ผู้นั้นเป็นพระราชา ไม่ใช่พราหมณ์.
และเราก็ไม่เรียกบุคคลผู้เกิดในกำเนิดไหนๆ หรือเกิดจากมารดาว่าเป็นพราหมณ์ บุคคลถึงจะเรียกกันว่าท่านผู้เจริญ ผู้นั้นก็ยังเป็นผู้มีกิเลสเครื่องกังวลอยู่ เราเรียกบุคคลผู้ไม่มีกิเลสเครื่องกังวล ผู้ไม่ยึดมั่นนั้นว่าเป็นพราหมณ์.
ผู้ที่ตัดสังโยชน์ทั้งหมดได้เด็ดขาดแล้ว ไม่หวาดสะดุ้ง พ้นจากกิเลสที่ทำให้ขัดข้องได้แล้ว ปลอดจากกิเลสทุกอย่างแล้ว เราเรียกผู้นั้นว่าเป็นพราหมณ์.
ผู้ที่ตัดชะเนาะคือความโกรธ ตัดเชือกคือตัณหา ตัดปมเงื่อนคือทิฏฐิพร้อมทั้งบ่วงคือทิฏฐานุสัย ถอดลิ่มสลักคืออวิชชาขึ้นได้ ผู้ตรัสรู้แล้ว เราเรียกผู้นั้นว่าเป็นพราหมณ์.
ผู้ที่ไม่ประทุษร้ายผู้อื่น อดกลั้นต่อคำด่าว่า ต่อการทุบตี และการจองจำได้ มีขันติเป็นกำลัง เราเรียกผู้นั้นว่าเป็นพราหมณ์.
ผู้ที่ไม่โกรธ มีวัตรเคร่งครัด มีศีลบริสุทธิ์ ไม่มีกิเลสให้ฟูขึ้น ผู้ฝึกฝนตนแล้ว มีสรีระเป็นชาติสุดท้าย เราเรียกผู้นั้นว่าเป็นพราหมณ์.
ผู้ที่ไม่ติดในกามทั้งหลาย เหมือนหยดน้ำบนใบบัว หรือดังเมล็ดพันธุ์ผักกาดบนปลายเหล็กแหลม เราเรียกผู้นั้นว่าเป็นพราหมณ์.
ผู้ที่รู้ธรรมเป็นที่สิ้นทุกข์ของตนในภพนี้เอง ผู้ปลงภาระได้แล้ว ผู้ไม่มีเครื่องประกอบไว้แล้ว เราเรียกผู้่นั้นว่าเป็นพราหมณ์.
ผู้ที่มีปัญญาลึกซึ้ง เป็นบัณฑิต ฉลาดในทางที่ควรเดินและไม่ควรเดิน บรรลุประโยชน์อันสูงสุด เราเรียกผู้นั้นว่าเป็นพราหมณ์.
ผู้ที่ไม่คลุกคลีกับคฤหัสถ์และบรรพชิตทั้งสองฝ่าย ผู้ไปได้ด้วยไม่มีความอาลัย ผู้มีความปรารถนาน้อย เราเรียกผู้นั้นว่าเป็นพราหมณ์.
ผู้ที่วางอาชญาในสัตว์ทั้งหลาย ทั้งเป็นสัตว์ที่มีความหวาดกลัวและที่มีจิตมั่นคง ไม่ฆ่าเอง ไม่ใช้ผู้อื่นให้ฆ่า เราเรียกผู้นั้นว่าเป็นพราหมณ์.
ผู้ที่ไม่คิดร้ายตอบในผู้ที่คิดร้ายตน เป็นผู้วางอาชญาได้ในผู้ที่มีอาชญาต่อตน เป็นผู้ไม่มีความถือมั่น ในขณะที่ผู้อื่นมีความถือมั่น เราเรียกผู้นั้นว่าเป็นพราหมณ์.
ผู้ที่ทำราคะ โทสะ มานะ และมักขะให้ตกไป เหมือนเมล็ดพันธุ์ผักกาดตกจากปลายเหล็กแหลม เราเรียกผู้นั้นว่าเป็นพราหมณ์.
ผู้ที่กล่าววาจาสัตย์ ไม่หยาบกระด้าง ให้ผู้อื่นเข้าใจความได้ และไม่เป็นเหตุให้ใครๆ ขัดใจ เราเรียกผู้นั้นว่าเป็นพราหมณ์.
ผู้ที่ไม่ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ทุกชนิดในโลก ไม่ว่าจะยาวหรือสั้น จะเล็กหรือใหญ่ จะงามหรือไม่งาม เราเรียกผู้นั้นว่าเป็นพราหมณ์.
ผู้ที่ไม่มีความหวังอยากเป็นโน่นเป็นนี่ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า หมดความทะยานอยากโดยสิ้นเชิง เป็นผู้ไม่มีเครื่องประกอบแล้ว เราเรียกผู้นั้นว่าเป็นพราหมณ์.
ผู้ที่ไม่มีความอาลัย ไม่มีความสงสัยเพราะรู้ทั่วถึงแล้ว มีจิตน้อมไปในนิพพาน บรรลุมรรคผลมาโดยลำดับ เราเรียกผู้นั้นว่าเป็นพราหมณ์.
ผู้ที่ละธรรมเป็นเครื่องข้องทั้งสอง คือ บุญและบาปในโลกนี้ได้ หมดความเศร้าโศก ปราศจากธุลี เป็นผู้บริสุทธิ์ เราเรียกผู้นั้นว่าเป็นพราหมณ์.
ผู้ที่ปราศจากมลทิน บริสุทธิ์ ผ่องใส ไม่ขุ่นมัว ดังดวงจันทร์ในวันเพ็ญ มีความเพลิดเพลินในภพสิ้นแล้ว เราเรียกผู้นั้นว่าเป็นพราหมณ์.
ผู้ที่ล่วงพ้นอวิชชาประดุจทางลื่น หรือดุจหล่มอันถอนได้ยาก เป็นเครื่องให้ท่องเที่ยวให้หลงนี้ได้ ข้ามถึงฝั่งแล้ว มีปกติเพ่งอยู่ ไม่หวั่นไหว ไม่มีความสงสัย ดับแล้วเพราะไม่ถือมั่น เราเรียกผู้นั้นว่าเป็นพราหมณ์.
ผู้ที่ละกามได้เด็ดขาดแล้ว เป็นบรรพชิต เว้นรอบในโลกนี้ มีกามและภพสิ้นรอบแล้ว เราเรียกผู้นั้นว่าเป็นพราหมณ์.
ผู้ที่ละตัณหาได้เด็ดขาดแล้ว เป็นบรรพชิต เว้นรอบในโลกนี้ มีกามและภพสิ้นรอบแล้ว เราเรียกผู้นั้นว่าเป็นพราหมณ์.
ผู้ที่ละโยคะอันเป็นของมนุษย์แล้ว ล่วงพ้นโยคะอันเป็นของทิพย์แล้ว มีจิตปราศจากโยคะทั้งปวง เราเรียกผู้นั้นว่าเป็นพราหมณ์.
ผู้ที่ละความยินดีและความไม่ยินดีได้ เป็นผู้สงบเย็น ไม่มีอุปธิ ครอบงำโลกทั้งปวงได้ ผู้แกล้วกล้า เราเรียกผู้นั้นว่าเป็นพราหมณ์.
ผู้ที่รู้จุติและอุปบัติของสัตว์ทั้งหลาย โดยประการทั้งปวง ผู้ไม่ติดข้อง ผู้ไปดี ตรัสรู้แล้ว เราเรียกผู้นั้นว่าเป็นพราหมณ์.
ผู้ที่เทวดา คนธรรพ์ และหมู่มนุษย์ไม่รู้คติทางไป ผู้มีอาสวะสิ้นแล้ว เป็นพระอรหันต์ เราเรียกผู้นั้นว่าเป็นพราหมณ์.
ผู้ที่ไม่มีกิเลสเครื่องกังวลทั้งในกาลก่อน ในกาลข้างหน้า และในกาลปัจจุบัน ผู้ไม่มีเครื่องกังวล ผู้ไม่ถือมั่น เราเรียกผู้นั้นว่าเป็นพราหมณ์.
ผู้ที่องอาจ ผู้ประเสริฐ ผู้แกล้วกล้า ผู้แสวงหาคุณใหญ่ ผู้ชนะได้แล้วโดยวิเศษ ผู้ไม่หวั่นไหว อาบเสร็จแล้ว ตรัสรู้แล้ว เราเรียกผู้นั้นว่าเป็นพราหมณ์.
ผู้ที่มีญาณเครื่องระลึกชาติก่อนได้ เห็นสวรรค์และอบาย และบรรลุธรรมเป็นที่สิ้นชาติ เราเรียกผู้นั้นว่าเป็นพราหมณ์.
อันที่จริง นามและโคตรที่กำหนดกันไว้นี้ เป็นเพียงสักแต่ว่าโวหารในโลก เพราะเกิดขึ้นมาตามชื่อที่กำหนดตั้งกันไว้ในกาลนั้นๆ ทิฏฐิอันนอนเนื่องอยู่ข้างในสิ้นกาลนาน ของพวกคนทั้งหลายผู้ไม่รู้ เมื่อเขาทั้งหลายไม่รู้ ก็จึงกล่าวว่า บุคคลเป็นพราหมณ์เพราะชาติกำเนิด.
บุคคลเป็นพราหมณ์เพราะชาติกำเนิดก็หามิได้ จะมิใช่พราหมณ์เพราะชาติกำเนิดก็หามิได้ บุคคลเป็นพราหมณ์เพราะกรรม ไม่เป็นพราหมณ์ก็เพราะกรรม บุคคลเป็นชาวนาก็เพราะกรรม เป็นศิลปินก็เพราะกรรม บุคคลเป็นพ่อค้าก็เพราะกรรม เป็นคนรับใช้ก็เพราะกรรม บุคคลเป็นโจรก็เพราะกรรม เป็นนักรบก็เพราะกรรม บุคคลเป็นปุโรหิตก็เพราะกรรม เป็นพระราชาก็เพราะกรรม.
บัณฑิตทั้งหลายย่อมเห็นซึ่งกรรมนั้น ตามที่เป็นจริงอย่างนี้ ชื่อว่าเป็นผู้เห็นซึ่งปฏิจจสมุปบาท เป็นผู้ฉลาดในเรื่องวิบากแห่งกรรม โลกย่อมเป็นไปตามกรรม หมู่สัตว์ย่อมเป็นไปตามกรรม สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นเครื่องรึงรัด เหมือนลิ่มสลักขันยึดรถที่กำลังแล่นไปอยู่.
บุคคลชื่อว่าเป็นพราหมณ์ด้วยกรรมอันประเสริฐนี้ คือ ตบะ พรหมจรรย์ สัญญมะ และ
ทมะ นี้เป็นธรรมอันสูงสุดของพราหมณ์ทั้งหลาย (แปลตามพตปฎ.ฉบับมอญ) บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชา ๓ เป็นผู้สงบ สิ้นภพใหม่แล้ว วาเสฏฐะ เธอจงรู้อย่างนี้ว่า ผู้นั้นชื่อว่าเป็นพรหม เป็นท้าวสักกะ ของบัณฑิตผู้รู้แจ้งทั้งหลาย.
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว วาเสฏฐมาณพและภารทวาชมาณพได้ทูลพระผู้มีพระภาคว่า
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระโคดผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนผู้หลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืดด้วยหวังว่า คนมีตาดีจะได้มองเห็นรูป ดังนี้ ท่านพระโคดมทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยายอย่างนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งสองนี้ ขอถึงท่านพระโคดม กับทั้งพระธรรม และทั้งพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอท่านพระโคดมโปรดทรงจำข้าพระองค์ทั้งสองว่า เป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป.
-บาลี ม. ม. 13/641/704., -บาลี สุ. ขุ. 25/453/382.
https://84000.org/tipitaka/pali/?13//641
https://84000.org/tipitaka/pali/?25//453
https://etipitaka.com/read/pali/13/641/
https://etipitaka.com/read/pali/25/453/
English translation by Bhikkhu Sujato
So I have heard. At one time the Buddha was staying in a forest near Icchānaṅgala.
Now at that time several very well-known well-to-do brahmins were residing in Icchānaṅgala. They included the brahmins Caṅkī, Tārukkha, Pokkharasāti, Jāṇussoṇi, Todeyya, and others.
Then as the brahmin students Vāseṭṭha and Bhāradvāja were going for a walk they began to discuss the question: “How do you become a brahmin?”
Bhāradvāja said this: “When you’re well born on both your mother’s and father’s side, of pure descent, irrefutable and impeccable in questions of ancestry back to the seventh paternal generation—then you’re a brahmin.”
Vāseṭṭha said this: “When you’re ethical and accomplished in doing your duties—then you’re a brahmin.”
But neither was able to persuade the other.
So Vāseṭṭha said to Bhāradvāja, “Master Bhāradvāja, the ascetic Gotama—a Sakyan, gone forth from a Sakyan family—is staying in a forest near Icchānaṅgala. He has this good reputation: ‘That Blessed One is perfected, a fully awakened Buddha, accomplished in knowledge and conduct, holy, knower of the world, supreme guide for those who wish to train, teacher of gods and humans, awakened, blessed.’ Come, let’s go to see him and ask him about this matter. As he answers, so we’ll remember it.”
“Yes, sir,” replied Bhāradvāja.
So they went to the Buddha and exchanged greetings with him. When the greetings and polite conversation were over, they sat down to one side, and Vāseṭṭha addressed the Buddha in verse:
“We’re both authorized masters
of the three Vedas.I’m a student of Pokkharasāti,
and he of Tārukkha.We’re fully qualified
in all the Vedic experts teach.
As philologists and grammarians,
we match our teachers in recitation.
We have a dispute
regarding the question of ancestry.For Bhāradvāja says that
one is a brahmin due to birth,
but I declare it’s because of one’s actions.
Oh seer, know this as our debate.Since neither of us was able
to convince the other,
we’ve come to ask you, sir,
renowned as the awakened one.As people honor with joined palms
the moon on the cusp of waxing,
bowing, they revere
Gotama in the world.We ask this of Gotama,
the eye arisen in the world:
is one a brahmin due to birth,
or else because of actions?
We don’t know, please tell us,
so that we can recognize a brahmin.”“I shall explain to you,”
said the Buddha,
“accurately and in sequence,
the taxonomy of living creatures,
for species are indeed diverse.Know the grass and trees,
though they lack self-awareness.
They’re defined by birth,
for species are indeed diverse.Next there are bugs and moths,
and so on, to ants and termites.
They’re defined by birth,
for species are indeed diverse.Know the quadrupeds, too,
both small and large.
They’re defined by birth,
for species are indeed diverse.Know, too, the long-backed snakes,
crawling on their bellies.
They’re defined by birth,
for species are indeed diverse.Next know the fish,
whose habitat is the water.
They’re defined by birth,
for species are indeed diverse.Next know the birds,
flying with wings as chariots.
They’re defined by birth,
for species are indeed diverse.While the differences between these species
are defined by birth,
the differences between humans
are not defined by birth.Not by hair nor by head,
not by ear nor by eye,
not by mouth nor by nose,
not by lips nor by eyebrow,not by shoulder nor by neck,
not by belly nor by back,
not by buttocks nor by breast,
not by groin nor by genitals,not by hands nor by feet,
not by fingers nor by nails,
not by knees nor by thighs,
not by color nor by voice:
none of these are defined by birth
as it is for other species.In individual human bodies
you can’t find such distinctions.
The distinctions among humans
are spoken of by convention.Anyone among humans
who lives off keeping cattle:
know them, Vāseṭṭha,
as a farmer, not a brahmin.Anyone among humans
who lives off various professions:
know them, Vāseṭṭha,
as a professional, not a brahmin.Anyone among humans
who lives off trade:
know them, Vāseṭṭha,
as a trader, not a brahmin.Anyone among humans
who lives off serving others:
know them, Vāseṭṭha,
as an employee, not a brahmin.Anyone among humans
who lives off stealing:
know them, Vāseṭṭha,
as a bandit, not a brahmin.Anyone among humans
who lives off archery:
know them, Vāseṭṭha,
as a soldier, not a brahmin.Anyone among humans
who lives off priesthood:
know them, Vāseṭṭha,
as a sacrificer, not a brahmin.Anyone among humans
who taxes village and nation,
know them, Vāseṭṭha,
as a ruler, not a brahmin.I don’t call someone a brahmin
after the mother or womb they came from.
If they still have attachments,
they’re just someone who says ‘sir’.
Having nothing, taking nothing:
that’s who I call a brahmin.Having cut off all fetters
they have no anxiety;
they’ve got over clinging, and are detached:
that’s who I call a brahmin.They’ve cut the strap and harness,
the reins and bridle too;
with cross-bar lifted, they’re awakened:
that’s who I call a brahmin.Abuse, killing, caging:
they endure these without anger.
Patience is their powerful army:
that’s who I call a brahmin.Not irritable or stuck up,
dutiful in precepts and observances,
tamed, bearing their final body:
that’s who I call a brahmin.Like rain off a lotus leaf,
like a mustard seed off the point of a pin,
sensual pleasures slip off them:
that’s who I call a brahmin.They understand for themselves
the end of suffering in this life;
with burden put down, detached:
that’s who I call a brahmin.Deep in wisdom, intelligent,
expert in the variety of paths;
arrived at the highest goal:
that’s who I call a brahmin.Socializing with neither
householders nor the homeless;
a migrant with no shelter, few in wishes:
that’s who I call a brahmin.They’ve laid aside violence
against creatures firm and frail;
not killing or making others kill:
that’s who I call a brahmin.Not fighting among those who fight,
extinguished among those who are armed,
not taking among those who take:
that’s who I call a brahmin.They’ve discarded greed and hate,
along with conceit and contempt,
like a mustard seed off the point of a pin:
that’s who I call a brahmin.The words they utter
are sweet, informative, and true,
and don’t offend anyone:
that’s who I call a brahmin.They don’t steal anything in the world,
long or short,
fine or coarse, beautiful or ugly:
that’s who I call a brahmin.They have no hope
for this world or the next;
with no need for hope, detached:
that’s who I call a brahmin.They have no clinging,
knowledge has freed them of indecision,
they’ve arrived at the culmination of the deathless:
that’s who I call a brahmin.They’ve escaped the snare
of both good and bad deeds;
sorrowless, stainless, pure:
that’s who I call a brahmin.Pure as the spotless moon,
clear and undisturbed,
they’ve ended desire to be reborn:
that’s who I call a brahmin.They’ve got past this grueling swamp
of delusion, transmigration.
They’ve crossed over to the far shore,
stilled and free of indecision.
They’re extinguished by not grasping:
that’s who I call a brahmin.They’ve given up sensual stimulations,
and have gone forth from lay life;
they’ve ended rebirth in the sensual realm:
that’s who I call a brahmin.They’ve given up craving,
and have gone forth from lay life;
they’ve ended craving to be reborn:
that’s who I call a brahmin.They’ve given up human bonds,
and gone beyond heavenly bonds;
detached from all attachments:
that’s who I call a brahmin.Giving up discontent and desire,
they’re cooled and free of attachments;
a hero, master of the whole world:that’s who I call a brahmin.
They know the passing away
and rebirth of all beings;
unattached, holy, awakened:
that’s who I call a brahmin.Gods, fairies, and humans
don’t know their destiny;
the perfected ones with defilements ended:
that’s who I call a brahmin.They have nothing before or after,
or even in between.
Having nothing, taking nothing:
that’s who I call a brahmin.Leader of the herd, excellent hero,
great hermit and victor;
unstirred, washed, awakened:
that’s who I call a brahmin.They know their past lives,
and see heaven and places of loss,
and have attained the end of rebirth:
that’s who I call a brahmin.For name and clan are formulated
as mere convention in the world.
Produced by mutual agreement,
they’re formulated for each individual.For a long time this misconception
has prejudiced those who don’t understand.
Ignorant, they declare
that one is a brahmin by birth.You’re not a brahmin by birth,
nor by birth a non-brahmin.
You’re a brahmin by your deeds,
and by deeds a non-brahmin.You’re a farmer by your deeds,
by deeds you’re a professional;
you’re a trader by your deeds,
by deeds are you an employee;you’re a bandit by your deeds,
by deeds you’re a soldier;
you’re a sacrificer by your deeds,
by deeds you’re a ruler.In this way the astute regard deeds
in accord with truth.
Seeing dependent origination,
they’re expert in deeds and their results.Deeds make the world go on,
deeds make people go on;
sentient beings are bound by deeds,
like a moving chariot’s linchpin.By austerity and spiritual practice,
by restraint and by self-control:
that’s how to become a brahmin,
this is the supreme brahmin.Accomplished in the three knowledges,
peaceful, with rebirth ended,
know them, Vāseṭṭha,
as Brahmā and Sakka to the wise.”
When he had spoken, Vāseṭṭha and Bhāradvāja said to him, “Excellent, Master Gotama! Excellent! As if he were righting the overturned, or revealing the hidden, or pointing out the path to the lost, or lighting a lamp in the dark so people with good eyes can see what’s there, Master Gotama has made the teaching clear in many ways. We go for refuge to Master Gotama, to the teaching, and to the mendicant Saṅgha. From this day forth, may Master Gotama remember us as lay followers who have gone for refuge for life.”