วันพระ (05/02/2566)
ภิกษุทั้งหลาย จะเป็นการดีที่ภิกษุพึงเป็นผู้มีสัญญาว่าปฏิกูล ในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลอยู่ ตามกาลอันควร.
ภิกษุทั้งหลาย จะเป็นการดีที่ภิกษุพึงเป็นผู้มีสัญญาว่าไม่ปฏิกูล ในสิ่งที่ปฏิกูลอยู่ ตามกาลอันควร.
ภิกษุทั้งหลาย จะเป็นการดีที่ภิกษุพึงเป็นผู้มีสัญญาว่าปฏิกูล ในสิ่งที่ไม่ปฏิกูล และสิ่งที่ปฏิกูลอยู่ ตามกาลอันควร.
ภิกษุทั้งหลาย จะเป็นการดีที่ภิกษุพึงเป็นผู้มีสัญญาว่าไม่ปฏิกูล ในสิ่งที่ปฏิกูล และสิ่งที่ไม่ปฏิกูลอยู่ ตามกาลอันควร.
ภิกษุทั้งหลาย จะเป็นการดีที่ภิกษุพึงเว้นจากสิ่งทั้งสอง คือ สิ่งที่ไม่ปฏิกูล และสิ่งที่ปฏิกูล แล้วเป็นผู้อยู่อุเบกขา (มีความวางเฉย) มีสติ มีสัมปชัญญะอยู่ ตามกาลอันควร.
ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไร ภิกษุจึงควรเป็นผู้มีสัญญาว่าปฏิกูล ในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลอยู่ ราคะ (ความกำหนัด) ในธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่งราคะ อย่าเกิดขึ้นแก่เรา …
ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไร ภิกษุจึงควรเป็นผู้มีสัญญาว่าไม่ปฏิกูล ในสิ่งที่ปฏิกูลอยู่ โทสะ (ความขัดเคือง) ในธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่งโทสะ อย่าเกิดขึ้นแก่เรา …
ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไร ภิกษุจึงควรเว้นจากสิ่งทั้งสอง คือ สิ่งที่ไม่ปฏิกูล และสิ่งที่ปฏิกูล แล้วเป็นผู้อยู่อุเบกขา (มีความวางเฉย) มีสติ มีสัมปชัญญะอยู่ ราคะในธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งราคะในอารมณ์ไหนๆ ในส่วนไหนๆ แม้มีประมาณน้อย อย่าเกิดขึ้นแก่เรา โทสะในธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งโทสะในอารมณ์ไหนๆ ในส่วนไหนๆ แม้มีประมาณน้อย อย่าเกิดขึ้นแก่เรา และโมหะ (ความหลง) ในธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งโมหะในอารมณ์ไหนๆ ในส่วนไหนๆ แม้มีประมาณน้อย อย่าเกิดขึ้นแก่เรา …
-บาลี ปญฺจก. อํ. 22/189/144.