ปุณโณวาทสูตร (โอวาทที่ให้แก่ท่านพระปุณณะก่อนไปยังสุนาปรันตชนบท)
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ในเวลาเย็น ท่านพระปุณณะออกจากที่หลีกเร้นแล้ว ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ประทับ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วนั่งในที่สมควร พอนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้ทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
สาธุ ภันเต ขอพระผู้มีพระภาคได้โปรดสั่งสอนข้าพระองค์ ด้วยโอวาทโดยย่อ ซึ่งเมื่อข้าพระองค์ได้ฟังธรรมของพระผู้มีพระภาคแล้ว จะพึงหลีกออกจากหมู่ไปอยู่ผู้เดียว เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีส่งตนไปแล้วในธรรมอยู่เถิด.
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ปุณณะ ถ้าอย่างนั้น เธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว.
ท่านปุณณะทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า ชอบแล้ว ภันเต.
พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า ปุณณะ รูปทั้งหลายที่พึงรู้ได้ด้วยตา อันน่าปรารถนาน่ารักใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะน่ารัก เป็นที่อาศัยแห่งความใคร่ ชวนให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุเพลิดเพลิน พร่ำถึง ติดอกติดใจในรูปนั้น นันทิ1ย่อมเกิดขึ้น ปุณณะ เรากล่าวว่า เพราะความเกิดขึ้นแห่งนันทิ จึงมีความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ ดังนี้.
ปุณณะ เสียงทั้งหลายที่พึงรู้ได้ด้วยหู อันน่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะน่ารัก เป็นที่อาศัยแห่งความใคร่ ชวนให้กำหนัดมีอยู่ …
ปุณณะ กลิ่นทั้งหลายที่พึงรู้ได้ด้วยจมูก อันน่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะน่ารัก เป็นที่อาศัยแห่งความใคร่ ชวนให้กำหนัดมีอยู่ …
ปุณณะ รสทั้งหลายที่พึงรู้ได้ด้วยลิ้น อันน่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะน่ารัก เป็นที่อาศัยแห่งความใคร่ ชวนให้กำหนัดมีอยู่ …
ปุณณะ โผฏฐัพพะทั้งหลายที่พึงรู้ได้ด้วยกาย อันน่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะน่ารัก เป็นที่อาศัยแห่งความใคร่ ชวนให้กำหนัดมีอยู่ …
ปุณณะ ธรรมทั้งหลายที่พึงรู้ได้ด้วยใจ อันน่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะน่ารัก เป็นที่อาศัยแห่งความใคร่ ชวนให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุเพลิดเพลิน พร่ำถึง ติดอกติดใจในธรรมนั้น นันทิย่อมเกิดขึ้น ปุณณะ เรากล่าวว่า เพราะความเกิดขึ้นแห่งนันทิ จึงมีความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ ดังนี้.
ปุณณะ รูปทั้งหลายที่พึงรู้ได้ด้วยตา อันน่าปรารถนาน่ารักใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะน่ารัก เป็นที่อาศัยแห่งความใคร่ ชวนให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำถึง ไม่ติดอกติดใจในรูปนั้น นันทิ2ย่อมดับ ปุณณะ เรากล่าวว่า เพราะความดับแห่งนันทิ จึงมีความดับแห่งทุกข์ ดังนี้.
ปุณณะ เสียงทั้งหลายที่พึงรู้ได้ด้วยหู อันน่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะน่ารัก เป็นที่อาศัยแห่งความใคร่ ชวนให้กำหนัดมีอยู่ …
ปุณณะ กลิ่นทั้งหลายที่พึงรู้ได้ด้วยจมูก อันน่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะน่ารัก เป็นที่อาศัยแห่งความใคร่ ชวนให้กำหนัดมีอยู่ …
ปุณณะ รสทั้งหลายที่พึงรู้ได้ด้วยลิ้น อันน่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะน่ารัก เป็นที่อาศัยแห่งความใคร่ ชวนให้กำหนัดมีอยู่ …
ปุณณะ โผฏฐัพพะทั้งหลายที่พึงรู้ได้ด้วยกาย อันน่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะน่ารัก เป็นที่อาศัยแห่งความใคร่ ชวนให้กำหนัดมีอยู่ …
ปุณณะ ธรรมทั้งหลายที่พึงรู้ได้ด้วยใจ อันน่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะน่ารัก เป็นที่อาศัยแห่งความใคร่ ชวนให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำถึง ไม่ติดอกติดใจในธรรมนั้น นันทิย่อมดับ ปุณณะ เรากล่าวว่า เพราะความดับแห่งนันทิ จึงมีความดับแห่งทุกข์ ดังนี้.
ปุณณะ ก็เธออันเรากล่าวสอนด้วยโอวาทโดยย่อนี้แล้ว จักไปอยู่ในชนบทไหน.
ภันเต ข้าพระองค์อันพระผู้มีพระภาคทรงสั่งสอนด้วยโอวาทโดยย่อนี้แล้ว มีชนบทชื่อสุนาปรันตะ เป็นที่ที่ข้าพระองค์จักไปอยู่.
ปุณณะ พวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทเป็นคนดุร้ายนัก พวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทเป็นคนหยาบคายนัก ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักด่า จักบริภาษเธอ ในเรื่องนี้ เธอจักมีความคิดอย่างไร.
ภันเต ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบท จักด่า จักบริภาษข้าพระองค์ ในเรื่องนี้ ข้าพระองค์จักมีความคิดอย่างนี้ว่า พวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทเหล่านี้ดีหนอ พวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบท เหล่านี้ดีจริงหนอ ที่ไม่ได้ทำร้ายเราด้วยฝ่ามือ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ในเรื่องนี้ ข้าพระองค์มีความคิดอย่างนี้ ข้าแต่พระสุคคต ในเรื่องนี้ ข้าพระองค์มีความคิดอย่างนี้.
ปุณณะ ก็ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบท จักทำร้ายเธอด้วยฝ่ามือ ในเรื่องนี้ เธอจักมีความคิดอย่างไร.
ภันเต ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบท จักทำร้ายข้าพระองค์ด้วยฝ่ามือ ในเรื่องนี้ ข้าพระองค์จักมีความคิดอย่างนี้ว่า พวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทเหล่านี้ดีหนอ พวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบท เหล่านี้ดีจริงหนอ ที่ไม่ได้ทำร้ายเราด้วยก้อนดิน ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ในเรื่องนี้ ข้าพระองค์มีความคิดอย่างนี้ ข้าแต่พระสุคคต ในเรื่องนี้ ข้าพระองค์มีความคิดอย่างนี้.
ปุณณะ ก็ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบท จักทำร้ายเธอด้วยก้อนดิน ในเรื่องนี้ เธอจักมีความคิดอย่างไร.
ภันเต ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบท จักทำร้ายข้าพระองค์ด้วยก้อนดิน ในเรื่องนี้ ข้าพระองค์จักมีความคิดอย่างนี้ว่า พวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทเหล่านี้ดีหนอ พวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบท เหล่านี้ดีจริงหนอ ที่ไม่ทำร้ายเราด้วยท่อนไม้ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ในเรื่องนี้ ข้าพระองค์มีความคิดอย่างนี้ ข้าแต่พระสุคคต ในเรื่องนี้ ข้าพระองค์มีความคิดอย่างนี้.
ปุณณะ ก็ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบท จักทำร้ายเธอด้วยท่อนไม้ ในเรื่องนี้ เธอจักมีความคิดอย่างไร.
ภันเต ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบท จักทำร้ายข้าพระองค์ด้วยท่อนไม้ ในเรื่องนี้ ข้าพระองค์จักมีความคิดอย่างนี้ว่า พวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทเหล่านี้ดีหนอ พวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบท เหล่านี้ดีจริงหนอ ที่ไม่ได้ทำร้ายเราด้วยศาสตรา ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ในเรื่องนี้ ข้าพระองค์มีความคิดอย่างนี้ ข้าแต่พระสุคคต ในเรื่องนี้ ข้าพระองค์มีความคิดอย่างนี้.
ปุณณะ ก็ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบท จักทำร้ายเธอด้วยศาสตรา ในเรื่องนี้ เธอจักมีความคิดอย่างไร.
ภันเต ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบท จักทำร้ายข้าพระองค์ด้วยศาสตรา ในเรื่องนี้ ข้าพระองค์จักมีความคิดอย่างนี้ว่า พวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทเหล่านี้ดีหนอ พวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบท เหล่านี้ดีจริงหนอ ที่ไม่ได้ปลิดชีวิตเราด้วยศาสตราอันคม ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ในเรื่องนี้ ข้าพระองค์มีความคิดอย่างนี้ ข้าแต่พระสุคคต ในเรื่องนี้ ข้าพระองค์มีความคิดอย่างนี้.
ปุณณะ ก็ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบท จักปลิดชีวิตเธอด้วยศาสตราอันคม ในเรื่องนี้ เธอจักมีความคิดอย่างไร.
ภันเต ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบท จักปลิดชีวิตข้าพระองค์ด้วยศาสตราอันคม ในเรื่องนี้ ข้าพระองค์จักมีความคิดอย่างนี้ว่า เหล่าสาวกของพระผู้มีพระภาค ที่อึดอัด ระอา เกลียดชังร่างกายและชีวิต พากันแสวงหาศาสตราเพื่อสังหารชีวิตมีอยู่ เราไม่ต้องแสวงหาสิ่งเหล่านั้นเลย ก็ได้ศาสตราเพื่อสังหารชีวิตแล้ว ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ในเรื่องนี้ ข้าพระองค์มีความคิดอย่างนี้ ข้าแต่พระสุคคต ในเรื่องนี้ ข้าพระองค์มีความคิดอย่างนี้.
สาธุ สาธุ ปุณณะ เธอประกอบด้วยทมะและอุปสมะดังนี้แล้ว จักอาจเพื่อจะอยู่ในสุนาปรันตชนบทได้ ปุณณะ เธอจงสำคัญกาลอันสมควรในบัดนี้เถิด.
ครั้งนั้น ท่านพระปุณณะชื่นชมยินดีภาษิตของพระผู้มีพระภาค แล้วลุกจากอาสนะ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณ เก็บเสนาสนะให้เรียบร้อย แล้วถือบาตรจีวรเดินทางจาริกไปยังสุนาปรันตชนบท เมื่อจาริกไปโดยลำดับ ได้บรรลุถึงสุนาปรันตชนบทแล้ว.
เป็นอันว่า ท่านพระปุณณะได้อยู่ที่สุนาปรันตชนบทนั้น ครั้งนั้น ภายในพรรษานั้นเอง ท่านพระปุณณะได้ทำให้ชาวสุนาปรันตชนบท แสดงตนเป็นอุบาสกประมาณ ๕๐๐ คน แสดงตนเป็นอุบาสิกาประมาณ ๕๐๐ คน และภายในพรรษานั้นเองเหมือนกัน ตัวท่านก็ได้ทำให้แจ้งซึ่งวิชชา ๓ ครั้นสมัยต่อมา ท่านได้ปรินิพพานแล้ว.
ครั้งนั้น ภิกษุมากรูปด้วยกัน ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ประทับ ถวายอภิวาพระผู้มีพระภาคแล้วนั่งในที่สมควร พอนั่งเรียบร้อยแล้วได้ทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
ภันเต กุลบุตรชื่อปุณณะ ที่พระผู้มีพระภาคทรงสั่งสอนด้วยโอวาทโดยย่อนั้น ทำกาละเสียแล้ว เธอมีคติเป็นอย่างไร มีอภิสัมปรายะเป็นอย่างไร.
ภิกษุทั้งหลาย ปุณณกุลบุตร เป็นบัณฑิต ได้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมแล้ว ทั้งไม่ให้เราลำบากเพราะเหตุแห่งธรรม ภิกษุทั้งหลาย ปุณณกุลบุตรปรินิพพานแล้ว.
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดี พระภาษิตของพระผู้มีพระภาค.
-บาลี อุปริ. ม. 14/481/754.
https://84000.org/tipitaka/pali/?14//481
https://etipitaka.com/read/pali/14/481
1 นันทิ = ความยินดี, ความพอใจ, ความเพลิดเพลิน
2 นันทิ = ความยินดี, ความพอใจ, ความเพลิดเพลิน
English translation by Bhikkhu Sujato
So I have heard. At one time the Buddha was staying near Sāvatthī in Jeta’s Grove, Anāthapiṇḍika’s monastery.
Then in the late afternoon, Venerable Puṇṇa came out of retreat and went to the Buddha. He bowed, sat down to one side, and said to the Buddha, “Sir, may the Buddha please teach me Dhamma in brief. When I’ve heard it, I’ll live alone, withdrawn, diligent, keen, and resolute.”
“Well then, Puṇṇa, listen and pay close attention, I will speak.”
“Yes, sir,” replied Puṇṇa. The Buddha said this:
“Puṇṇa, there are sights known by the eye that are likable, desirable, agreeable, pleasant, sensual, and arousing. If a mendicant approves, welcomes, and keeps clinging to them, this gives rise to relishing. Relishing is the origin of suffering, I say.
There are sounds known by the ear … smells known by the nose … tastes known by the tongue … touches known by the body … thoughts known by the mind that are likable, desirable, agreeable, pleasant, sensual, and arousing. If a mendicant approves, welcomes, and keeps clinging to them, this gives rise to relishing. Relishing is the origin of suffering, I say.
There are sights known by the eye that are likable, desirable, agreeable, pleasant, sensual, and arousing. If a mendicant doesn’t approve, welcome, and keep clinging to them, relishing ceases. When relishing ceases, suffering ceases, I say.
There are sounds known by the ear … smells known by the nose … tastes known by the tongue … touches known by the body … thoughts known by the mind that are likable, desirable, agreeable, pleasant, sensual, and arousing. If a mendicant doesn’t approve, welcome, and keep clinging to them, relishing ceases. When relishing ceases, suffering ceases, I say.
Puṇṇa, now that I’ve given you this brief advice, what country will you live in?”
“Sir, there’s a country named Sunāparanta. I shall live there.”
“The people of Sunāparanta are wild and rough, Puṇṇa. If they abuse and insult you, what will you think of them?”
“If they abuse and insult me, I will think: ‘These people of Sunāparanta are gracious, truly gracious, since they don’t hit me with their fists.’ That’s what I’ll think, Blessed One. That’s what I’ll think, Holy One.”
“But if they do hit you with their fists, what will you think of them then?”
“If they hit me with their fists, I’ll think: ‘These people of Sunāparanta are gracious, truly gracious, since they don’t throw stones at me.’ That’s what I’ll think, Blessed One. That’s what I’ll think, Holy One.”
“But if they do throw stones at you, what will you think of them then?”
“If they throw stones at me, I’ll think: ‘These people of Sunāparanta are gracious, truly gracious, since they don’t beat me with a club.’ That’s what I’ll think, Blessed One. That’s what I’ll think, Holy One.”
“But if they do beat you with a club, what will you think of them then?”
“If they beat me with a club, I’ll think: ‘These people of Sunāparanta are gracious, truly gracious, since they don’t stab me with a knife.’ That’s what I’ll think, Blessed One. That’s what I’ll think, Holy One.”
“But if they do stab you with a knife, what will you think of them then?”
“If they stab me with a knife, I’ll think: ‘These people of Sunāparanta are gracious, truly gracious, since they don’t take my life with a sharp knife.’ That’s what I’ll think, Blessed One. That’s what I’ll think, Holy One.”
“But if they do take your life with a sharp knife, what will you think of them then?”
“If they take my life with a sharp knife, I’ll think: ‘There are disciples of the Buddha who looked for someone to assist with slitting their wrists because they were horrified, repelled, and disgusted with the body and with life. And I have found this without looking!’ That’s what I’ll think, Blessed One. That’s what I’ll think, Holy One.”
“Good, good Puṇṇa! Having such self-control and peacefulness, you will be quite capable of living in Sunāparanta. Now, Puṇṇa, go at your convenience.”
And then Puṇṇa welcomed and agreed with the Buddha’s words. He got up from his seat, bowed, and respectfully circled the Buddha, keeping him on his right. Then he set his lodgings in order and, taking his bowl and robe, set out for Sunāparanta. Traveling stage by stage, he arrived at Sunāparanta, and stayed there. Within that rainy season he confirmed around five hundred male and five hundred female lay followers. And within that same rainy season he realized the three knowledges. Some time later he became fully extinguished.
Then several mendicants went up to the Buddha, bowed, sat down to one side, and said to him, “Sir, the gentleman named Puṇṇa, who was advised in brief by the Buddha, has passed away. Where has he been reborn in his next life?”
“Mendicants, Puṇṇa was astute. He practiced in line with the teachings, and did not trouble me about the teachings. Puṇṇa has become completely extinguished.”
That is what the Buddha said. Satisfied, the mendicants were happy with what the Buddha said.