ปฏิปทา ๔ ประการ (๕)
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา ๔ ประการเหล่านี้ ๔ ประการอะไรบ้าง คือ
๑) อักขมาปฏิปทา (การปฏิบัติไม่อดทน)
๒) ขมาปฏิปทา (การปฏิบัติอดทน)
๓) ทมาปฏิปทา (การปฏิบัติข่มใจ)
๔) สมาปฏิปทา (การปฏิบัติระงับ)
ภิกษุทั้งหลาย ก็การปฏิบัติไม่อดทนเป็นอย่างไร คือ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในกรณีนี้ เป็นผู้ไม่อดทนต่อความหนาว ความร้อน ความหิว ความกระหาย เป็นผู้ไม่อดทนต่อสัมผัสอันเกิดจากเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลานทั้งหลาย เป็นผู้ไม่อดทนต่อถ้อยคำอันหยาบคายร้ายแรงต่างๆ เป็นผู้ไม่อดทนต่อทุกขเวทนาทางกายที่เกิดขึ้นแล้ว อันเป็นทุกข์ กล้าแข็ง เผ็ดร้อน ไม่เป็นที่ชื่นชมใจ ไม่เป็นที่พอใจ จนอาจทำให้เสียชีวิตได้ ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า การปฏิบัติไม่อดทน.
ภิกษุทั้งหลาย ก็การปฏิบัติอดทนเป็นอย่างไร คือ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในกรณีนี้ เป็นผู้อดทนต่อความหนาว ความร้อน ความหิว ความกระหาย เป็นผู้อดทนต่อสัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลานทั้งหลาย เป็นผู้อดทนต่อถ้อยคำอันหยาบคายร้ายแรงต่างๆ เป็นผู้อดทนต่อทุกขเวทนาทางกายที่เกิดขึ้นแล้ว อันเป็นทุกข์ กล้าแข็ง เผ็ดร้อน ไม่เป็นที่ชื่นชมใจ ไม่เป็นที่พอใจ จนอาจทำให้เสียชีวิตได้ ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า การปฏิบัติอดทน.
ภิกษุทั้งหลาย ก็การปฏิบัติข่มใจเป็นอย่างไร คือ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในกรณีนี้ เห็นรูปด้วยตาแล้ว ไม่ถือเอาโดยนิมิต (รวบถือทั้งหมด) ไม่ถือเอาโดยอนุพยัญชนะ (แยกถือเป็นส่วนๆ) เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมอินทรีย์คือตา ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันเป็นบาป คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ เธอรักษาอินทรีย์คือตา ถึงความสำรวมในอินทรีย์คือตา ภิกษุในกรณีนี้ ฟังเสียงด้วยหูแล้ว ไม่ถือเอาโดยนิมิต ไม่ถือเอาโดยอนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมอินทรีย์คือหู ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันเป็นบาป คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ เธอรักษาอินทรีย์คือหู ถึงความสำรวมในอินทรีย์คือหู ภิกษุในกรณีนี้ ดมกลิ่นด้วยจมูกแล้ว ไม่ถือเอาโดยนิมิต ไม่ถือเอาโดยอนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมอินทรีย์คือจมูก ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันเป็นบาป คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ เธอรักษาอินทรีย์คือจมูก ถึงความสำรวมในอินทรีย์คือจมูก ภิกษุในกรณีนี้ รู้รสด้วยลิ้นแล้ว ไม่ถือเอาโดยนิมิต ไม่ถือเอาโดยอนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมอินทรีย์คือลิ้น ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันเป็นบาป คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ เธอรักษาอินทรีย์คือลิ้น ถึงความสำรวมในอินทรีย์คือลิ้น ภิกษุในกรณีนี้ ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว ไม่ถือเอาโดยนิมิต ไม่ถือเอาโดยอนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมอินทรีย์คือกาย ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันเป็นบาป คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ เธอรักษาอินทรีย์คือกาย ถึงความสำรวมในอินทรีย์คือกาย ภิกษุในกรณีนี้ รู้แจ้งธรรมด้วยใจแล้ว ไม่ถือเอาโดยนิมิต ไม่ถือเอาโดยอนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมอินทรีย์คือใจ ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันเป็นบาป คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ เธอรักษาอินทรีย์คือใจ ถึงความสำรวมในอินทรีย์คือใจ ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า การปฏิบัติข่มใจ.
ภิกษุทั้งหลาย ก็การปฏิบัติระงับเป็นอย่างไร คือ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมไม่รับเอาไว้ ย่อมละ ย่อมบรรเทา ย่อมทำให้สิ้นไป ย่อมทำให้ไม่มีเหลือซึ่งกามวิตกที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่รับเอาไว้ ย่อมละ ย่อมบรรเทา ย่อมทำให้สิ้นไป ย่อมทำให้ไม่มีเหลือซึ่งพยาบาทวิตกที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่รับเอาไว้ ย่อมละ ย่อมบรรเทา ย่อมทำให้สิ้นไป ย่อมทำให้ไม่มีเหลือซึ่งวิหิงสาวิตกที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่รับเอาไว้ ย่อมละ ย่อมบรรเทา ย่อมทำให้สิ้นไป ย่อมทำให้ไม่มีเหลือซึ่งอกุศลธรรมอันเป็นบาปทั้งหลายที่เกิดขึ้นแล้ว ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าการปฏิบัติระงับ.
ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้แล ปฏิปทา ๔ ประการ.
-บาลี จตุกฺก. อํ. 21/205/165.
https://84000.org/tipitaka/pali/?21//205
https://etipitaka.com/read/pali/21/205
English translation by Bhikkhu Sujato
“Mendicants, there are four ways of practice. What four? Impatient practice, patient practice, taming practice, and calming practice.
And what’s the impatient practice? It’s when a mendicant cannot endure cold, heat, hunger, and thirst. They cannot endure the touch of flies, mosquitoes, wind, sun, and reptiles. They cannot endure rude and unwelcome criticism. And they cannot put up with physical pain—sharp, severe, acute, unpleasant, disagreeable, and life-threatening. This is called the impatient practice.
And what’s the patient practice? It’s when a mendicant endures cold, heat, hunger, and thirst. They endure the touch of flies, mosquitoes, wind, sun, and reptiles. They endure rude and unwelcome criticism. And they put up with physical pain—sharp, severe, acute, unpleasant, disagreeable, and life-threatening. This is called the patient practice.
And what’s the taming practice? When a mendicant sees a sight with their eyes, they don’t get caught up in the features and details. … When they hear a sound with their ears … When they smell an odor with their nose … When they taste a flavor with their tongue … When they feel a touch with their body … When they know a thought with their mind, they don’t get caught up in the features and details. If the faculty of mind were left unrestrained, bad unskillful qualities of desire and aversion would become overwhelming. For this reason, they practice restraint, protecting the faculty of mind, and achieving restraint over it. This is called the taming practice.
And what’s the calming practice? It’s when a mendicant doesn’t tolerate a sensual, malicious, or cruel thought. They don’t tolerate any bad, unskillful qualities that have arisen, but give them up, get rid of them, calm them, eliminate them, and obliterate them. This is called the calming practice.
These are the four ways of practice.”