ผู้อยู่ด้วยความประมาท และผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาท
ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงภิกษุผู้อยู่ด้วยความประมาท และภิกษุผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาทแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังธรรมนั้น.
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้อยู่ด้วยความประมาทเป็นอย่างไร คือ ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุไม่สำรวมอินทรีย์คือตาอยู่ จิตย่อมซ่านไปในรูปทั้งหลาย อันจะเห็นได้ด้วยตา เมื่อภิกษุนั้นมีจิตซ่านไปแล้ว ปราโมทย์ (ความบันเทิงใจ) ย่อมไม่มี เมื่อปราโมทย์ไม่มี ปีติ (ความอิ่มใจ) ก็ไม่มี เมื่อปีติไม่มี ปัสสัทธิ (ความสงบ) ก็ไม่มี เมื่อปัสสัทธิไม่มี ภิกษุนั้นย่อมอยู่เป็นทุกข์ เมื่อมีทุกข์ จิตย่อมไม่ตั้งมั่น (จิตฺตํ น สมาธิยติ) เมื่อจิตไม่ตั้งมั่น ธรรมทั้งหลายย่อมไม่ปรากฏ เพราะธรรมทั้งหลายไม่ปรากฏ ภิกษุนั้น ย่อมถึงความนับว่า เป็นผู้อยู่ด้วยความประมาทโดยแท้.
เมื่อภิกษุไม่สำรวมอินทรีย์คือหูอยู่ จิตย่อมซ่านไปในเสียงทั้งหลาย อันจะได้ยินด้วยหู เมื่อภิกษุนั้นมีจิตซ่านไปแล้ว ปราโมทย์ย่อมไม่มี เมื่อปราโมทย์ไม่มี ปีติก็ไม่มี เมื่อปีติไม่มี ปัสสัทธิก็ไม่มี เมื่อปัสสัทธิไม่มี ภิกษุนั้นย่อมอยู่เป็นทุกข์ เมื่อมีทุกข์ จิตย่อมไม่ตั้งมั่น เมื่อจิตไม่ตั้งมั่น ธรรมทั้งหลายย่อมไม่ปรากฏ เพราะธรรมทั้งหลายไม่ปรากฏ ภิกษุนั้น ย่อมถึงความนับว่า เป็นผู้อยู่ด้วยความประมาทโดยแท้.
เมื่อภิกษุไม่สำรวมอินทรีย์คือจมูกอยู่ จิตย่อมซ่านไปในกลิ่นทั้งหลาย อันจะรู้สึกได้ด้วยจมูก เมื่อภิกษุนั้นมีจิตซ่านไปแล้ว ปราโมทย์ย่อมไม่มี เมื่อปราโมทย์ไม่มี ปีติก็ไม่มี เมื่อปีติไม่มี ปัสสัทธิก็ไม่มี เมื่อปัสสัทธิไม่มี ภิกษุนั้นย่อมอยู่เป็นทุกข์ เมื่อมีทุกข์ จิตย่อมไม่ตั้งมั่น เมื่อจิตไม่ตั้งมั่น ธรรมทั้งหลายย่อมไม่ปรากฏ เพราะธรรมทั้งหลายไม่ปรากฏ ภิกษุนั้น ย่อมถึงความนับว่า เป็นผู้อยู่ด้วยความประมาทโดยแท้.
เมื่อภิกษุไม่สำรวมอินทรีย์คือลิ้นอยู่ จิตย่อมซ่านไปในรสทั้งหลาย อันจะรู้สึกได้ด้วยลิ้น เมื่อภิกษุนั้นมีจิตซ่านไปแล้ว ปราโมทย์ย่อมไม่มี เมื่อปราโมทย์ไม่มี ปีติก็ไม่มี เมื่อปีติไม่มี ปัสสัทธิก็ไม่มี เมื่อปัสสัทธิไม่มี ภิกษุนั้นย่อมอยู่เป็นทุกข์ เมื่อมีทุกข์ จิตย่อมไม่ตั้งมั่น เมื่อจิตไม่ตั้งมั่น ธรรมทั้งหลายย่อมไม่ปรากฏ เพราะธรรมทั้งหลายไม่ปรากฏ ภิกษุนั้น ย่อมถึงความนับว่า เป็นผู้อยู่ด้วยความประมาทโดยแท้.
เมื่อภิกษุไม่สำรวมอินทรีย์คือกายอยู่ จิตย่อมซ่านไปในโผฏฐัพพะทั้งหลาย อันจะรู้สึกได้ด้วยกาย เมื่อภิกษุนั้นมีจิตซ่านไปแล้ว ปราโมทย์ย่อมไม่มี เมื่อปราโมทย์ไม่มี ปีติก็ไม่มี เมื่อปีติไม่มี ปัสสัทธิก็ไม่มี เมื่อปัสสัทธิไม่มี ภิกษุนั้นย่อมอยู่เป็นทุกข์ เมื่อมีทุกข์ จิตย่อมไม่ตั้งมั่น เมื่อจิตไม่ตั้งมั่น ธรรมทั้งหลายย่อมไม่ปรากฏ เพราะธรรมทั้งหลายไม่ปรากฏ ภิกษุนั้น ย่อมถึงความนับว่า เป็นผู้อยู่ด้วยความประมาทโดยแท้.
เมื่อภิกษุไม่สำรวมอินทรีย์คือใจอยู่ จิตย่อมซ่านไปในธรรมทั้งหลาย อันจะรู้แจ้งได้ด้วยใจ เมื่อภิกษุนั้นมีจิตซ่านไปแล้ว ปราโมทย์ย่อมไม่มี เมื่อปราโมทย์ไม่มี ปีติก็ไม่มี เมื่อปีติไม่มี ปัสสัทธิก็ไม่มี เมื่อปัสสัทธิไม่มี ภิกษุนั้นย่อมอยู่เป็นทุกข์ เมื่อมีทุกข์ จิตย่อมไม่ตั้งมั่น เมื่อจิตไม่ตั้งมั่น ธรรมทั้งหลายย่อมไม่ปรากฏ เพราะธรรมทั้งหลายไม่ปรากฏ ภิกษุนั้น ย่อมถึงความนับว่า เป็นผู้อยู่ด้วยความประมาทโดยแท้.
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้อยู่ด้วยความประมาท เป็นอย่างนี้แล.
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาท เป็นอย่างไร คือ ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุสำรวมอินทรีย์คือตาอยู่ จิตย่อมไม่ซ่านไปในรูปทั้งหลาย อันจะเห็นได้ด้วยตา เมื่อภิกษุนั้นมีจิตไม่ซ่านไปแล้ว ปราโมทย์ (ความบันเทิงใจ) ย่อมเกิด เมื่อเกิดปราโมทย์แล้ว ปีติ (ความอิ่มใจ) ย่อมเกิด เมื่อใจเกิดปีติแล้ว กายย่อมสงบ เมื่อกายสงบแล้ว ภิกษุนั้นย่อมอยู่เป็นสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น (จิตฺตํ สมาธิยติ) เมื่อจิตตั้งมั่นแล้ว ธรรมทั้งหลายย่อมปรากฏ เพราะธรรมทั้งหลายปรากฏ ภิกษุนั้น ย่อมถึงความนับว่า เป็นผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาทโดยแท้.
เมื่อภิกษุสำรวมอินทรีย์คือหูอยู่ จิตย่อมไม่ซ่านไปในเสียงทั้งหลาย อันจะได้ยินด้วยหู เมื่อภิกษุนั้นมีจิตไม่ซ่านไปแล้ว ปราโมทย์ย่อมเกิด เมื่อเกิดปราโมทย์แล้ว ปีติย่อมเกิด เมื่อใจเกิดปีติแล้ว กายย่อมสงบ เมื่อกายสงบแล้ว ภิกษุนั้นย่อมอยู่เป็นสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น เมื่อจิตตั้งมั่นแล้ว ธรรมทั้งหลายย่อมปรากฏ เพราะธรรมทั้งหลายปรากฏ ภิกษุนั้น ย่อมถึงความนับว่า เป็นผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาทโดยแท้.
เมื่อภิกษุสำรวมอินทรีย์คือจมูกอยู่ จิตย่อมไม่ซ่านไปในกลิ่นทั้งหลาย อันจะรู้สึกได้ด้วยจมูก เมื่อภิกษุนั้นมีจิตไม่ซ่านไปแล้ว ปราโมทย์ย่อมเกิด เมื่อเกิดปราโมทย์แล้ว ปีติย่อมเกิด เมื่อใจเกิดปีติแล้ว กายย่อมสงบ เมื่อกายสงบแล้ว ภิกษุนั้นย่อมอยู่เป็นสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น เมื่อจิตตั้งมั่นแล้ว ธรรมทั้งหลายย่อมปรากฏ เพราะธรรมทั้งหลายปรากฏ ภิกษุนั้น ย่อมถึงความนับว่า เป็นผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาทโดยแท้.
เมื่อภิกษุสำรวมอินทรีย์คือลิ้นอยู่ จิตย่อมไม่ซ่านไปในรสทั้งหลาย อันจะรู้สึกได้ด้วยลิ้น เมื่อภิกษุนั้นมีจิตไม่ซ่านไปแล้ว ปราโมทย์ย่อมเกิด เมื่อเกิดปราโมทย์แล้ว ปีติย่อมเกิด เมื่อใจเกิดปีติแล้ว กายย่อมสงบ เมื่อกายสงบแล้ว ภิกษุนั้นย่อมอยู่เป็นสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น เมื่อจิตตั้งมั่นแล้ว ธรรมทั้งหลายย่อมปรากฏ เพราะธรรมทั้งหลายปรากฏ ภิกษุนั้น ย่อมถึงความนับว่า เป็นผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาทโดยแท้.
เมื่อภิกษุสำรวมอินทรีย์คือกายอยู่ จิตย่อมไม่ซ่านไปในโผฏฐัพพะทั้งหลาย อันจะรู้สึกได้ด้วยกาย เมื่อภิกษุนั้นมีจิตไม่ซ่านไปแล้ว ปราโมทย์ย่อมเกิด เมื่อเกิดปราโมทย์แล้ว ปีติย่อมเกิด เมื่อใจเกิดปีติแล้ว กายย่อมสงบ เมื่อกายสงบแล้ว ภิกษุนั้นย่อมอยู่เป็นสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น เมื่อจิตตั้งมั่นแล้ว ธรรมทั้งหลายย่อมปรากฏ เพราะธรรมทั้งหลายปรากฏ ภิกษุนั้น ย่อมถึงความนับว่า เป็นผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาทโดยแท้.
เมื่อภิกษุสำรวมอินทรีย์คือใจอยู่ จิตย่อมไม่ซ่านไปในธรรมทั้งหลาย อันจะรู้แจ้งได้ด้วยใจ เมื่อภิกษุนั้นมีจิตไม่ซ่านไปแล้ว ปราโมทย์ย่อมเกิด เมื่อเกิดปราโมทย์แล้ว ปีติย่อมเกิด เมื่อใจเกิดปีติแล้ว กายย่อมสงบ เมื่อกายสงบแล้ว ภิกษุนั้นย่อมอยู่เป็นสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น เมื่อจิตตั้งมั่นแล้ว ธรรมทั้งหลายย่อมปรากฏ เพราะธรรมทั้งหลายปรากฏ ภิกษุนั้น ย่อมถึงความนับว่า เป็นผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาทโดยแท้.
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาท เป็นอย่างนี้แล.
-บาลี สฬา. สํ. 18/97/143.
https://84000.org/tipitaka/pali/?18//97
https://etipitaka.com/read/pali/18/97
English translation by Bhikkhu Sujato
“Mendicants, I will teach you who is restrained and who is unrestrained. Listen …
And how is someone unrestrained?
There are sights known by the eye that are likable, desirable, agreeable, pleasant, sensual, and arousing. If a mendicant approves, welcomes, and keeps clinging to them, they should understand: ‘My skillful qualities are declining. For this is what the Buddha calls decline.’
There are sounds … smells … tastes … touches … thoughts known by the mind that are likable, desirable, agreeable, pleasant, sensual, and arousing. If a mendicant approves, welcomes, and keeps clinging to them, they should understand: ‘My skillful qualities are declining. For this is what the Buddha calls decline.’
This is how someone is unrestrained.
And how is someone restrained?
There are sights known by the eye that are likable, desirable, agreeable, pleasant, sensual, and arousing. If a mendicant doesn’t approve, welcome, and keep clinging to them, they should understand: ‘My skillful qualities are not declining. For this is what the Buddha calls non-decline.’
There are sounds … smells … tastes … touches … thoughts known by the mind that are likable, desirable, agreeable, pleasant, sensual, and arousing. If a mendicant doesn’t approve, welcome, and keep clinging to them, they should understand: ‘My skillful qualities are not declining. For this is what the Buddha calls non-decline.’
This is how someone is restrained.”
English translation by Bhikkhu Bodhi
“Bhikkhus, I will teach you restraint and nonrestraint. Listen to that….
“And how, bhikkhus, is there nonrestraint? There are, bhikkhus, forms cognizable by the eye that are desirable, lovely, agreeable, pleasing, sensually enticing, tantalizing. If a bhikkhu seeks delight in them, welcomes them, and remains holding to them, he should understand this thus: ‘I am declining away from wholesome states. For this has been called decline by the Blessed One.’
“There are, bhikkhus, sounds cognizable by the ear … mental phenomena cognizable by the mind that are desirable, lovely, agreeable, pleasing, sensually enticing, tantalizing. If a bhikkhu seeks delight in them, welcomes them, and remains holding to them, he should understand this thus: ‘I am declining away from wholesome states. For this has been called decline by the Blessed One.’
“Such, bhikkhus, is nonrestraint.
“And how, bhikkhus, is there restraint? There are, bhikkhus, forms cognizable by the eye that are desirable, lovely, agreeable, pleasing, sensually enticing, tantalizing. If a bhikkhu does not seek delight in them, does not welcome them, and does not remain holding to them, he should understand this thus: ‘I am not declining away from wholesome states. For this has been called nondecline by the Blessed One.’
“There are, bhikkhus, sounds cognizable by the ear … mental phenomena cognizable by the mind that are desirable, lovely, agreeable, pleasing, sensually enticing, tantalizing. If a bhikkhu does not seek delight in them, does not welcome them, and does not remain holding to them, he should understand this thus: ‘I am not declining away from wholesome states. For this has been called nondecline by the Blessed One.’
“Such, bhikkhus, is restraint.”