พระพุทธเจ้า แสดงธรรมะแก่ท่านมาลุกยบุตร ที่เป็นผู้สูงอายุ
ครั้งนั้น ท่านพระมาลุกยบุตร ผู้มีความเพียร มีตนส่งไปแล้วในธรรมนั้น เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ … ครั้นแล้ว ได้ทูลพระผู้มีพระภาคว่า
ภันเต ขอพระผู้มีพระภาค โปรดแสดงธรรมโดยย่อแก่ข้าพระองค์เถิด เมื่อข้าพระองค์ได้ฟังแล้ว จะพึงหลีกออกจากหมู่อยู่ผู้เดียว เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปแล้วในธรรมนั้นอยู่เถิด.
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า มาลุกยบุตร ในการที่เธอขอโอวาทนี้ ในบัดนี้ เราจักบอกกะพวกทหรภิกษุ (ภิิกษุหนุ่ม) อย่างไร เพราะเธอเป็นผู้ชรา เป็นผู้แก่ เป็นผู้เฒ่า เป็นผู้ล่วงกาลผ่านวัยมาโดยลำดับ ยังมาขอโอวาทโดยย่ออีก.
ภันเต ถึงข้้าพระองค์จะเป็นคนชรา เป็นคนแก่ เป็นคนเฒ่า เป็นผู้ล่วงกาลผ่านวัยมาโดยลำดับก็จริง ถึงกระนั้น ขอพระผู้มีพระภาคผู้สุคต โปรดแสดงธรรมโดยย่อแก่ข้าพระองค์เถิด โดยประการที่ข้าพระองค์ จะพึงรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งภาษิตของพระผู้มีพระภาค จะพึงเป็นผู้ได้รับภาษิตของพระผู้มีพระภาค.
มาลุกยบุตร เธอจะสำคัญความข้อนั้นว่าอย่างไร รูปที่พึงรู้แจ้งด้วยตาเหล่าใด อันเธอไม่ได้เห็น ไม่เคยได้เห็น ที่กำลังเห็นอยู่ก็ไม่มี ที่เธอคิดว่าควรจะได้เห็นก็ไม่มี ดังนี้แล้ว เธอจะมีความพอใจ มีความกำหนัด หรือมีความรักในรูปเหล่านั้นหรือ.
ไม่มีเลย ภันเต.
มาลุกยบุตร เสียงที่พึงรู้แจ้งด้วยหูเหล่าใด อันเธอไม่ได้ยิน ไม่เคยได้ยิน ที่กำลังได้ยินอยู่ก็ไม่มี ที่เธอคิดว่าควรจะได้ยินก็ไม่มี ดังนี้แล้ว เธอจะมีความพอใจ มีความกำหนัด หรือมีความรักในเสียงเหล่านั้นหรือ.
ไม่มีเลย ภันเต.
มาลุกยบุตร กลิ่นที่พึงรู้แจ้งด้วยจมูกเหล่าใด อันเธอไม่ได้ดม ไม่เคยได้ดม ที่กำลังได้ดมอยู่ก็ไม่มี ที่เธอคิดว่าควรจะได้ดมก็ไม่มี ดังนี้แล้ว เธอจะมีความพอใจ มีความกำหนัด หรือมีความรักในกลิ่นเหล่านั้นหรือ.
ไม่มีเลย ภันเต.
มาลุกยบุตร รสที่พึงรู้แจ้งด้วยลิ้นเหล่าใด อันเธอไม่ได้ลิ้ม ไม่เคยได้ลิ้ม ที่กำลังได้ลิ้มอยู่ก็ไม่มี ที่เธอคิดว่าควรจะได้ลิ้มก็ไม่มี ดังนี้แล้ว เธอจะมีความพอใจ มีความกำหนัด หรือมีความรักในรสเหล่านั้นหรือ.
ไม่มีเลย ภันเต.
มาลุกยบุตร โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งด้วยกายเหล่าใด อันเธอไม่ได้ถูกต้อง ไม่เคยได้ถูกต้อง ที่กำลังได้ถูกต้องอยู่ก็ไม่มี ที่เธอคิดว่าควรจะได้ถูกต้องก็ไม่มี ดังนี้แล้ว เธอจะมีความพอใจ มีความกำหนัด หรือมีความรักในโผฏฐัพพะเหล่านั้นหรือ.
ไม่มีเลย ภันเต.
มาลุกยบุตร ธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยใจเหล่าใด อันเธอไม่ได้รู้แจ้ง ไม่เคยได้รู้แจ้ง ที่กำลังได้รู้แจ้งอยู่ก็ไม่มี ที่เธอคิดว่าควรจะได้รู้แจ้งก็ไม่มี ดังนี้แล้ว เธอจะมีความพอใจ มีความกำหนัด หรือมีความรักในธรรมเหล่านั้นหรือ.
ไม่มีเลย ภันเต.
มาลุกยบุตร ก็ในธรรมเหล่านั้น คือ ในสิ่งที่เธอเห็นแล้ว จักเป็นแต่เพียงสักว่าเห็น ในสิ่งที่เธอฟังแล้ว จักเป็นแต่เพียงสักว่าฟัง ในสิ่งที่เธอรู้สึกแล้ว จักเป็นแต่เพียงสักว่ารู้สึก ในสิ่งที่เธอรู้แจ้งแล้ว ก็จักเป็นแต่เพียงสักว่ารู้แจ้ง.
มาลุกยบุตร ในกาลใด เมื่อเธอเห็นจักเป็นเพียงสักว่าเห็น เมื่อฟังจักเป็นเพียงสักว่าฟัง เมื่อรู้สึกจักเป็นเพียงสักว่ารู้สึก เมื่อรู้แจ้งจักเป็นเพียงสักว่ารู้แจ้ง ในกาลนั้น เธอย่อมไม่มี.
มาลุกยบุตร ในกาลใด เธอไม่มี เธอก็ไม่ปรากฏในโลกนี้ ไม่ปรากฏในโลกอื่น ไม่ปรากฏในระหว่างแห่งโลกทั้งสอง นั่นแหละ คือที่สุดแห่งทุกข์.
ภันเต ข้าพระองค์ย่อมรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งภาษิต ที่พระผู้มีพระภาคตรัสแล้วโดยย่อ ได้โดยพิสดารอย่างนี้ว่า
สติหลงลืมแล้วเพราะเห็นรูป บุคคลเมื่อใส่ใจถึงนิมิตแห่งรูปว่าน่ารัก ก็มีจิตกำหนัด เสวยอารมณ์นั้น ทั้งมีความติดใจในอารมณ์นั้นตั้งอยู่ เวทนาอันเกิดจากรูปเป็นอเนกย่อมเจริญแก่เขานั้น อภิชฌาและวิหิงสาย่อมเข้าไปกลุ้มรุมจิตของเขา เมื่อสั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้ บัณฑิตกล่าวว่าห่างไกลนิพพาน.
สติหลงลืมแล้วเพราะฟังเสียง บุคคลเมื่อใส่ใจถึงนิมิตแห่งเสียงว่าน่ารัก ก็มีจิตกำหนัด เสวยอารมณ์นั้น ทั้งมีความติดใจในอารมณ์นั้นตั้งอยู่ เวทนาอันเกิดจากเสียงเป็นอเนกย่อมเจริญแก่เขานั้น อภิชฌาและวิหิงสาย่อมเข้าไปกลุ้มรุมจิตของเขา เมื่อสั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้ บัณฑิตกล่าวว่าห่างไกลนิพพาน.
สติหลงลืมแล้วเพราะดมกลิ่น บุคคลเมื่อใส่ใจถึงนิมิตแห่งกลิ่นว่าน่ารัก ก็มีจิตกำหนัด เสวยอารมณ์นั้น ทั้งมีความติดใจในอารมณ์นั้นตั้งอยู่ เวทนาอันเกิดจากกลิ่นเป็นอเนกย่อมเจริญแก่เขานั้น อภิชฌาและวิหิงสาย่อมเข้าไปกลุ้มรุมจิตของเขา เมื่อสั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้ บัณฑิตกล่าวว่าห่างไกลนิพพาน.
สติหลงลืมแล้วเพราะลิ้มรส บุคคลเมื่อใส่ใจถึงนิมิตแห่งรสว่าน่ารัก ก็มีจิตกำหนัด เสวยอารมณ์นั้น ทั้งมีความติดใจในอารมณ์นั้นตั้งอยู่ เวทนาอันเกิดจากรสเป็นอเนกย่อมเจริญแก่เขานั้น อภิชฌาและวิหิงสาย่อมเข้าไปกลุ้มรุมจิตของเขา เมื่อสั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้ บัณฑิตกล่าวว่าห่างไกลนิพพาน.
สติหลงลืมแล้วเพราะถูกต้องโผฏฐัพพะ บุคคลเมื่อใส่ใจถึงนิมิตแห่งโผฏฐัพพะว่าน่ารัก ก็มีจิตกำหนัด เสวยอารมณ์นั้น ทั้งมีความติดใจในอารมณ์นั้นตั้งอยู่ เวทนาอันเกิดจากโผฏฐัพพะเป็นอเนกย่อมเจริญแก่เขานั้น อภิชฌาและวิหิงสาย่อมเข้าไปกลุ้มรุมจิตของเขา เมื่อสั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้ บัณฑิตกล่าวว่าห่างไกลนิพพาน.
สติหลงลืมแล้วเพราะรู้แจ้งธรรม บุคคลเมื่อใส่ใจถึงนิมิตแห่งธรรมว่าน่ารัก ก็มีจิตกำหนัด เสวยอารมณ์นั้น ทั้งมีความติดใจในอารมณ์นั้นตั้งอยู่ เวทนาอันเกิดจากธรรมเป็นอเนกย่อมเจริญแก่เขานั้น อภิชฌาและวิหิงสาย่อมเข้าไปกลุ้มรุมจิตของเขา เมื่อสั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้ บัณฑิตกล่าวว่าห่างไกลนิพพาน.
บุคคลนั้นเห็นรูปแล้วมีสติ ไม่กำหนัดในรูปทั้งหลาย มีจิตไม่กำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งไม่มีความติดใจในอารมณ์นั้นตั้งอยู่ บุคคลนั้นเมื่อเห็นรูปและเสวยเวทนาอยู่ ทุกข์ก็สิ้นไปไม่เพิ่มพูนขึ้น เขาเป็นผู้มีสติประพฤติอยู่ด้วยอาการอย่างนี้ เมื่อไม่สั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้ บัณฑิตกล่าวว่า อยู่ใกล้นิพพาน.
บุคคลนั้นฟังเสียงแล้วมีสติ ไม่กำหนัดในเสียงทั้งหลาย มีจิตไม่กำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งไม่มีความติดใจในอารมณ์นั้นตั้งอยู่ บุคคลนั้นเมื่อฟังเสียงและเสวยเวทนาอยู่ ทุกข์ก็สิ้นไปไม่เพิ่มพูนขึ้น เขาเป็นผู้มีสติประพฤติอยู่ด้วยอาการอย่างนี้ เมื่อไม่สั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้ บัณฑิตกล่าวว่า อยู่ใกล้นิพพาน.
บุคคลนั้นดมกลิ่นแล้วมีสติ ไม่กำหนัดในกลิ่นทั้งหลาย มีจิตไม่กำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งไม่มีความติดใจในอารมณ์นั้นตั้งอยู่ บุคคลนั้นเมื่อดมกลิ่นและเสวยเวทนาอยู่ ทุกข์ก็สิ้นไปไม่เพิ่มพูนขึ้น เขาเป็นผู้มีสติประพฤติอยู่ด้วยอาการอย่างนี้ เมื่อไม่สั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้ บัณฑิตกล่าวว่า อยู่ใกล้นิพพาน.
บุคคลนั้นลิ้มรสแล้วมีสติ ไม่กำหนัดในรสทั้งหลาย มีจิตไม่กำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งไม่มีความติดใจในอารมณ์นั้นตั้งอยู่ บุคคลนั้นเมื่อลิ้มรสและเสวยเวทนาอยู่ ทุกข์ก็สิ้นไปไม่เพิ่มพูนขึ้น เขาเป็นผู้มีสติประพฤติอยู่ด้วยอาการอย่างนี้ เมื่อไม่สั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้ บัณฑิตกล่าวว่า อยู่ใกล้นิพพาน.
บุคคลนั้นถูกต้องโผฏฐัพพะแล้วมีสติ ไม่กำหนัดในโผฏฐัพพะทั้งหลาย มีจิตไม่กำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งไม่มีความติดใจในอารมณ์นั้นตั้งอยู่ บุคคลนั้นเมื่อถูกต้องโผฏฐัพพะและเสวยเวทนาอยู่ ทุกข์ก็สิ้นไปไม่เพิ่มพูนขึ้น เขาเป็นผู้มีสติประพฤติอยู่ด้วยอาการอย่างนี้ เมื่อไม่สั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้ บัณฑิตกล่าวว่า อยู่ใกล้นิพพาน.
บุคคลนั้นรู้แจ้งธรรมแล้วมีสติ ไม่กำหนัดในธรรมทั้งหลาย มีจิตไม่กำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งไม่มีความติดใจในอารมณ์นั้นตั้งอยู่ บุคคลนั้นเมื่อรู้แจ้งธรรมและเสวยเวทนาอยู่ ทุกข์ก็สิ้นไปไม่เพิ่มพูนขึ้น เขาเป็นผู้มีสติประพฤติอยู่ด้วยอาการอย่างนี้ เมื่อไม่สั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้ บัณฑิตกล่าวว่า อยู่ใกล้นิพพาน.
ภันเต ข้าพระองค์รู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งภาษิต ที่พระผู้มีพระภาคตรัสแล้วโดยย่อ ได้โดยพิสดารอย่างนี้.
สาธุ สาธุ มาลุกยบุตร มาลุกยบุตร เธอรู้ทั่งถึงเนื้อความแห่งภาษิต ที่เรากล่าวแล้วโดยย่อ ได้โดยพิสดารอย่างนี้ ถูกต้องแล้วว่า
สติหลงลืมแล้วเพราะเห็นรูป บุคคลเมื่อใส่ใจถึงนิมิตแห่งรูปว่าน่ารัก ก็มีจิตกำหนัด เสวยอารมณ์นั้น ทั้งมีความติดใจในอารมณ์นั้นตั้งอยู่ เวทนาอันเกิดจากรูปเป็นอเนกย่อมเจริญแก่เขานั้น อภิชฌาและวิหิงสาย่อมเข้าไปกลุ้มรุมจิตของเขา เมื่อสั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้ บัณฑิตกล่าวว่าห่างไกลนิพพาน.
สติหลงลืมแล้วเพราะฟังเสียง บุคคลเมื่อใส่ใจถึงนิมิตแห่งเสียงว่าน่ารัก ก็มีจิตกำหนัด เสวยอารมณ์นั้น ทั้งมีความติดใจในอารมณ์นั้นตั้งอยู่ เวทนาอันเกิดจากเสียงเป็นอเนกย่อมเจริญแก่เขานั้น อภิชฌาและวิหิงสาย่อมเข้าไปกลุ้มรุมจิตของเขา เมื่อสั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้ บัณฑิตกล่าวว่าห่างไกลนิพพาน.
สติหลงลืมแล้วเพราะดมกลิ่น บุคคลเมื่อใส่ใจถึงนิมิตแห่งกลิ่นว่าน่ารัก ก็มีจิตกำหนัด เสวยอารมณ์นั้น ทั้งมีความติดใจในอารมณ์นั้นตั้งอยู่ เวทนาอันเกิดจากกลิ่นเป็นอเนกย่อมเจริญแก่เขานั้น อภิชฌาและวิหิงสาย่อมเข้าไปกลุ้มรุมจิตของเขา เมื่อสั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้ บัณฑิตกล่าวว่าห่างไกลนิพพาน.
สติหลงลืมแล้วเพราะลิ้มรส บุคคลเมื่อใส่ใจถึงนิมิตแห่งรสว่าน่ารัก ก็มีจิตกำหนัด เสวยอารมณ์นั้น ทั้งมีความติดใจในอารมณ์นั้นตั้งอยู่ เวทนาอันเกิดจากรสเป็นอเนกย่อมเจริญแก่เขานั้น อภิชฌาและวิหิงสาย่อมเข้าไปกลุ้มรุมจิตของเขา เมื่อสั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้ บัณฑิตกล่าวว่าห่างไกลนิพพาน.
สติหลงลืมแล้วเพราะถูกต้องโผฏฐัพพะ บุคคลเมื่อใส่ใจถึงนิมิตแห่งโผฏฐัพพะว่าน่ารัก ก็มีจิตกำหนัด เสวยอารมณ์นั้น ทั้งมีความติดใจในอารมณ์นั้นตั้งอยู่ เวทนาอันเกิดจากโผฏฐัพพะเป็นอเนกย่อมเจริญแก่เขานั้น อภิชฌาและวิหิงสาย่อมเข้าไปกลุ้มรุมจิตของเขา เมื่อสั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้ บัณฑิตกล่าวว่าห่างไกลนิพพาน.
สติหลงลืมแล้วเพราะรู้แจ้งธรรม บุคคลเมื่อใส่ใจถึงนิมิตแห่งธรรมว่าน่ารัก ก็มีจิตกำหนัด เสวยอารมณ์นั้น ทั้งมีความติดใจในอารมณ์นั้นตั้งอยู่ เวทนาอันเกิดจากธรรมเป็นอเนกย่อมเจริญแก่เขานั้น อภิชฌาและวิหิงสาย่อมเข้าไปกลุ้มรุมจิตของเขา เมื่อสั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้ บัณฑิตกล่าวว่าห่างไกลนิพพาน.
บุคคลนั้นเห็นรูปแล้วมีสติ ไม่กำหนัดในรูปทั้งหลาย มีจิตไม่กำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งไม่มีความติดใจในอารมณ์นั้นตั้งอยู่ บุคคลนั้นเมื่อเห็นรูปและเสวยเวทนาอยู่ ทุกข์ก็สิ้นไปไม่เพิ่มพูนขึ้น เขาเป็นผู้มีสติประพฤติอยู่ด้วยอาการอย่างนี้ เมื่อไม่สั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้ บัณฑิตกล่าวว่า อยู่ใกล้นิพพาน.
บุคคลนั้นฟังเสียงแล้วมีสติ ไม่กำหนัดในเสียงทั้งหลาย มีจิตไม่กำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งไม่มีความติดใจในอารมณ์นั้นตั้งอยู่ บุคคลนั้นเมื่อฟังเสียงและเสวยเวทนาอยู่ ทุกข์ก็สิ้นไปไม่เพิ่มพูนขึ้น เขาเป็นผู้มีสติประพฤติอยู่ด้วยอาการอย่างนี้ เมื่อไม่สั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้ บัณฑิตกล่าวว่า อยู่ใกล้นิพพาน.
บุคคลนั้นดมกลิ่นแล้วมีสติ ไม่กำหนัดในกลิ่นทั้งหลาย มีจิตไม่กำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งไม่มีความติดใจในอารมณ์นั้นตั้งอยู่ บุคคลนั้นเมื่อดมกลิ่นและเสวยเวทนาอยู่ ทุกข์ก็สิ้นไปไม่เพิ่มพูนขึ้น เขาเป็นผู้มีสติประพฤติอยู่ด้วยอาการอย่างนี้ เมื่อไม่สั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้ บัณฑิตกล่าวว่า อยู่ใกล้นิพพาน.
บุคคลนั้นลิ้มรสแล้วมีสติ ไม่กำหนัดในรสทั้งหลาย มีจิตไม่กำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งไม่มีความติดใจในอารมณ์นั้นตั้งอยู่ บุคคลนั้นเมื่อลิ้มรสและเสวยเวทนาอยู่ ทุกข์ก็สิ้นไปไม่เพิ่มพูนขึ้น เขาเป็นผู้มีสติประพฤติอยู่ด้วยอาการอย่างนี้ เมื่อไม่สั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้ บัณฑิตกล่าวว่า อยู่ใกล้นิพพาน.
บุคคลนั้นถูกต้องโผฏฐัพพะแล้วมีสติ ไม่กำหนัดในโผฏฐัพพะทั้งหลาย มีจิตไม่กำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งไม่มีความติดใจในอารมณ์นั้นตั้งอยู่ บุคคลนั้นเมื่อถูกต้องโผฏฐัพพะและเสวยเวทนาอยู่ ทุกข์ก็สิ้นไปไม่เพิ่มพูนขึ้น เขาเป็นผู้มีสติประพฤติอยู่ด้วยอาการอย่างนี้ เมื่อไม่สั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้ บัณฑิตกล่าวว่า อยู่ใกล้นิพพาน.
บุคคลนั้นรู้แจ้งธรรมแล้วมีสติ ไม่กำหนัดในธรรมทั้งหลาย มีจิตไม่กำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งไม่มีความติดใจในอารมณ์นั้นตั้งอยู่ บุคคลนั้นเมื่อรู้แจ้งธรรมและเสวยเวทนาอยู่ ทุกข์ก็สิ้นไปไม่เพิ่มพูนขึ้น เขาเป็นผู้มีสติประพฤติอยู่ด้วยอาการอย่างนี้ เมื่อไม่สั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้ บัณฑิตกล่าวว่า อยู่ใกล้นิพพาน.
มาลุกยบุตร เธอพึงรู้ทั่งถึงเนื้อความแห่งภาษิต ที่เรากล่าวแล้วโดยย่อ ได้โดยพิสดารอย่างนี้แล.
ครั้งนั้น ท่านพระมาลุกยบุตรชื่นชมยินดีภาษิตของพระผู้มีพระภาค ลุกขึ้นจากอาสนะ ถวายอภิวาท กระทำประทักษิณแล้วหลีกไป ต่อมา ท่านพระมาลุกยบุตรเป็นผู้หลีกออกจากหมู่อยู่ผู้เดียว เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีจิตเด็ดเดี่ยวอยู่ ไม่ช้าก็กระทำให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์อันไม่มีอะไรอื่นยิ่งกว่า อันเป็นประโยชน์ที่ต้องการของกุลบุตรทั้งหลาย ผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบ ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นที่จะต้องทำเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ก็แลท่านพระมาลุกยบุตรได้เป็นอรหันต์องค์หนึ่งในจำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย.
-บาลี สฬา. สํ. 18/89/131.
https://84000.org/tipitaka/pali/?18//89
https://etipitaka.com/read/pali/18/89
English translation by Bhikkhu Sujato
Then Venerable Māluṅkyaputta went up to the Buddha … and asked him, “Sir, may the Buddha please teach me Dhamma in brief. When I’ve heard it, I’ll live alone, withdrawn, diligent, keen, and resolute.”
“Well now, Māluṅkyaputta, what are we to say to the young monks, when even an old man like you, elderly and senior, advanced in years, having reached the final stage of life, asks the Realized One for brief advice?”
“Sir, even though I’m an old man, elderly and senior, may the Buddha please teach me Dhamma in brief! May the Holy one please teach me in brief! Hopefully I can understand the meaning of what the Buddha says. Hopefully I can be an heir of the Buddha’s teaching!”
“What do you think, Māluṅkyaputta? Do you have any desire or greed or fondness for sights known by the eye that you haven’t seen, you’ve never seen before, you don’t see, and you don’t think would be seen?”
“No, sir.”
“Do you have any desire or greed or affection for sounds known by the ear …
smells known by the nose …
tastes known by the tongue …
touches known by the body …
thoughts known by the mind that you haven’t known, you’ve never known before, you don’t know, and you don’t think would be known?”
“No, sir.”
“In that case, when it comes to things that are to be seen, heard, thought, and known: in the seen will be merely the seen; in the heard will be merely the heard; in the thought will be merely the thought; in the known will be merely the known. When this is the case, you won’t be ‘by that’. When you’re not ‘by that’, you won’t be ‘in that’. When you’re not ‘in that’, you won’t be in this world or the world beyond or in between the two. Just this is the end of suffering.”
“This is how I understand the detailed meaning of the Buddha’s brief statement:
‘When you see a sight, mindfulness is lost
as attention latches on a pleasant feature.
Experiencing it with a mind full of desire,
you keep clinging to it.Many feelings grow
arising from sights.
The mind is damaged
by covetousness and cruelty.
Heaping up suffering like this,
you’re said to be far from extinguishment.When you hear a sound, mindfulness is lost
as attention latches on a pleasant feature.
Experiencing it with a mind full of desire,
you keep clinging to it.Many feelings grow
arising from sounds.
The mind is damaged
by covetousness and cruelty.
Heaping up suffering like this,
you’re said to be far from extinguishment.When you smell an odor, mindfulness is lost
as attention latches on a pleasant feature.
Experiencing it with a mind full of desire,
you keep clinging to it.Many feelings grow
arising from smells.
The mind is damaged
by covetousness and cruelty.
Heaping up suffering like this,
you’re said to be far from extinguishment.When you enjoy a taste, mindfulness is lost
as attention latches on a pleasant feature.
Experiencing it with a mind full of desire,
you keep clinging to it.Many feelings grow
arising from tastes.
The mind is damaged
by covetousness and cruelty.
Heaping up suffering like this,
you’re said to be far from extinguishment.When you sense a touch, mindfulness is lost
as attention latches on a pleasant feature.
Experiencing it with a mind full of desire,
you keep clinging to it.Many feelings grow
arising from touches.
The mind is damaged
by covetousness and cruelty.
Heaping up suffering like this,
you’re said to be far from extinguishment.When you know a thought, mindfulness is lost
as attention latches on a pleasant feature.
Experiencing it with a mind full of desire,
you keep clinging to it.Many feelings grow
arising from thoughts.
The mind is damaged
by covetousness and cruelty.
Heaping up suffering like this,
you’re said to be far from extinguishment.When you see a sight with mindfulness,
there’s no desire for sights.
Experiencing it with a mind free of desire,
you don’t keep clinging to it.Even as you see a sight
and get familiar with how it feels,
you wear away, you don’t heap up:
that’s how to live mindfully.
Eroding suffering like this,
you’re said to be in the presence of extinguishment.When you hear a sound with mindfulness,
there’s no desire for sounds.
Experiencing it with a mind free of desire,
you don’t keep clinging to it.Even as you hear a sound
and get familiar with how it feels,
you wear away, you don’t heap up:
that’s how to live mindfully.
Eroding suffering like this,
you’re said to be in the presence of extinguishment.When you smell an odor with mindfulness,
there’s no desire for odors.
Experiencing it with a mind free of desire,
you don’t keep clinging to it.Even as you smell an odor
and get familiar with how it feels,
you wear away, you don’t heap up:
that’s how to live mindfully.
Eroding suffering like this,
you’re said to be in the presence of extinguishment.Enjoying a taste with mindfulness,
there’s no desire for tastes.
Experiencing it with a mind free of desire,
you don’t keep clinging to it.Even as you savor a taste
and get familiar with how it feels,
you wear away, you don’t heap up:
that’s how to live mindfully.
Eroding suffering like this,
you’re said to be in the presence of extinguishment.When you sense a touch with mindfulness,
there’s no desire for touches.
Experiencing it with a mind free of desire,
you don’t keep clinging to it.Even as you sense a touch
and get familiar with how it feels,
you wear away, you don’t heap up:
that’s how to live mindfully.
Eroding suffering like this,
you’re said to be in the presence of extinguishment.When you know a thought with mindfulness,
there’s no desire for thoughts.
Experiencing it with a mind free of desire,
you don’t keep clinging to it.Even as you know a thought
and get familiar with how it feels,
you wear away, you don’t heap up:
that’s how to live mindfully.
Eroding suffering like this,
you’re said to be in the presence of extinguishment.’
That’s how I understand the detailed meaning of the Buddha’s brief statement.”
“Good, good, Māluṅkyaputta! It’s good that you understand the detailed meaning of what I’ve said in brief like this.
(The Buddha repeats the verses in full.)
This is how to understand the detailed meaning of what I said in brief.”
And then Venerable Māluṅkyaputta approved and agreed with what the Buddha said. He got up from his seat, bowed, and respectfully circled the Buddha, keeping him on his right, before leaving. Then Māluṅkyaputta, living alone, withdrawn, diligent, keen, and resolute, soon realized the supreme end of the spiritual path in this very life. He lived having achieved with his own insight the goal for which gentlemen rightly go forth from the lay life to homelessness.
He understood: “Rebirth is ended; the spiritual journey has been completed; what had to be done has been done; there is no return to any state of existence.” And Venerable Māluṅkyaputta became one of the perfected.
English translation by Bhikkhu Bodhi
Then the Venerable Maluṅkyaputta approached the Blessed One … and said to him: “Venerable sir, it would be good if the Blessed One would teach me the Dhamma in brief, so that, having heard the Dhamma from the Blessed One, I might dwell alone, withdrawn, diligent, ardent, and resolute.”
“Here now, Maluṅkyaputta, what should I say to the young bhikkhus when a bhikkhu like you—old, aged, burdened with years, advanced in life, come to the last stage—asks me for an exhortation in brief?”
“Although, venerable sir, I am old, aged, burdened with years, advanced in life, come to the last stage, let the Blessed One teach me the Dhamma in brief, let the Fortunate One teach me the Dhamma in brief. Perhaps I may understand the meaning of the Blessed One’s statement, perhaps I may become an heir to the Blessed One’s statement.”
“What do you think, Maluṅkyaputta, do you have any desire, lust, or affection for those forms cognizable by the eye that you have not seen and never saw before, that you do not see and would not think might be seen?”
“No, venerable sir.”
“Do you have any desire, lust, or affection for those sounds cognizable by the ear … for those odours cognizable by the nose … for those tastes cognizable by the tongue … for those tactile objects cognizable by the body … for those mental phenomena cognizable by the mind that you have not cognized and never cognized before, that you do not cognize and would not think might be cognized?”
“No, venerable sir.”
“Here, Maluṅkyaputta, regarding things seen, heard, sensed, and cognized by you: in the seen there will be merely the seen; in the heard there will be merely the heard; in the sensed there will be merely the sensed; in the cognized there will be merely the cognized.
“When, Maluṅkyaputta, regarding things seen, heard, sensed, and cognized by you, in the seen there will be merely the seen, in the heard there will be merely the heard, in the sensed there will be merely the sensed, in the cognized there will be merely the cognized, then, Maluṅkyaputta, you will not be ‘by that.’ When, Maluṅkyaputta, you are not ‘by that,’ then you will not be ‘therein. ’ When, Maluṅkyaputta, you are not ‘therein,’ then you will be neither here nor beyond nor in between the two. This itself is the end of suffering.”
“I understand in detail, venerable sir, the meaning of what was stated by the Blessed One in brief:
“Having seen a form with mindfulness muddled,
Attending to the pleasing sign,
One experiences it with infatuated mind
And remains tightly holding to it.“Many feelings flourish within,
Originating from the visible form,
Covetousness and annoyance as well
By which one’s mind becomes disturbed.
For one who accumulates suffering thus
Nibbāna is said to be far away.“Having heard a sound with mindfulness muddled …
“Having smelt an odour with mindfulness muddled …
“Having enjoyed a taste with mindfulness muddled …
“Having felt a contact with mindfulness muddled …
“Having known an object with mindfulness muddled …
For one who accumulates suffering thus
Nibbāna is said to be far away.“When, firmly mindful, one sees a form,
One is not inflamed by lust for forms;
One experiences it with dispassionate mind
And does not remain holding it tightly.“One fares mindfully in such a way
That even as one sees the form,
And while one undergoes a feeling,
Suffering is exhausted, not built up.
For one dismantling suffering thus,
Nibbāna is said to be close by.“When, firmly mindful, one hears a sound,
One is not inflamed by lust for sounds; …“When, firmly mindful, one smells an odour,
One is not inflamed by lust for odours; …“When, firmly mindful, one enjoys a taste,
One is not inflamed by lust for tastes; …“When, firmly mindful, one feels a contact,
One is not inflamed by lust for contacts; …“When, firmly mindful, one knows an object,
One is not inflamed by lust for objects; …
For one diminishing suffering thus
Nibbāna is said to be close by.
“It is in such a way, venerable sir, that I understand in detail the meaning of what was stated by the Blessed One in brief.”
“Good, good, Maluṅkyaputta! It is good that you understand in detail the meaning of what was stated by me in brief.
The Buddha here repeats the above verses in full.
“It is in such a way, Maluṅkyaputta, that the meaning of what was stated by me in brief should be understood in detail.”
Then the Venerable Maluṅkyaputta, having delighted and rejoiced in the Blessed One’s words, rose from his seat, and, after paying homage to the Blessed One, keeping him on his right, he departed.
Then, dwelling alone, withdrawn, diligent, ardent, and resolute, the Venerable Maluṅkyaputta, by realizing it for himself with direct knowledge, in this very life entered and dwelt in that unsurpassed goal of the holy life for the sake of which clansmen rightly go forth from the household life into homelessness. He directly knew: “Destroyed is birth, the holy life has been lived, what had to be done has been done, there is no more for this state of being.” And the Venerable Maluṅkyaputta became one of the arahants.