ท่านพระสารีบุตร แสดงธรรมแก่อนาถบิณฑิกเศรษฐี ที่ป่วยหนัก
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้น อนาถบิณฑิกคหบดีป่วย ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก จึงเรียกบุรุษคนหนึ่งมาสั่งว่า มาเถิด บุรุษเจริญ ท่านจงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ประทับ แล้วจงกราบเท้าของผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้าตามคำของเรา แล้วทูลอย่างนี้ว่า ภันเต อนาถบิณฑิกคหบดีป่วย ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก ขอกราเท้าของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า อนึ่ง จงเข้าไปหาท่านพระสารีบุตรยังที่อยู่ แล้วจงกราบเท้าท่านพระสารีบุตรด้วยเศียรเกล้าตามคำของเรา และเรียนอย่างนี้ว่า ภันเต อนาถบิณฑิกคหบดีป่วย ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก ขอกราบเท้าท่านพระสารีบุตรด้วยเศียรเกล้า และเรียนอย่างนี้อีกว่า สาธุ ภันเต ขอท่านพระสารีบุตร โปรดอาศัยความอนุเคราะห์ เข้าไปยังนิเวศน์ของอนาถบิณฑิกคหบดีเถิด.
บุรุษนั้น รับคำอนาถบิณฑิกคหบดี แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว นั่งในที่สมควร พอนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้ทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ภันเต อนาถบิณฑิกคหบดีป่วย ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก ขอกราบเท้าพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า จากนั้น ได้เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรยังที่อยู่ อภิวาทท่านพระสารีบุตรแล้วนั่งในที่สมควร พอนั่งเรียบร้อยแล้วจึงเรียนท่านพระสารีบุตรดังนี้ว่า ภันเต อนาถบิณฑิกคหบดีป่วย ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก ขอกราบเท้าท่านพระสารีบุตรด้วยเศียรเกล้า และสั่งมาอย่างนี้ว่า สาธุ ภันเต ขอท่านพระสารีบุตรโปรดอาศัยความอนุเคราะห์ เข้าไปยังนิเวศน์ของอนาถบิณฑิกคหบดีเถิด ท่านพระสารีบุตรรับนิมนต์ด้วยดุษณีภาพ.
ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรนุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวร มีท่านพระอานนท์เป็นปัจฉาสมณ เข้าไปยังนิเวศน์ของอนาถบิณฑิกคหบดี แล้วนั่งบนอาสนะที่ได้จัดไว้ พอนั่งเรียบร้อยแล้ว จึงกล่าวกะอนาถบิณฑิกคหบดีดังนี้ว่า
คหบดี ท่านพอจะอดทนได้หรือ พอยังอัตภาพให้เป็นไปได้หรือ ทุกขเวทนาทุเลาลง ไม่กำเริบขึ้นหรือ ความทุเลาย่อมปรากฏ ความกำเริบไม่ปรากฏหรือ.
ภันเตสารีบุตร กระผมทนไม่ไหว เป็นไปไม่ไหว ทุกขเวทนาของกระผมหนัก กำเริบ ไม่ทุเลา ปรากฏความกำเริบเป็นที่สุด ไม่ปรากฏความทุเลาเลย.
ภันเตสารีบุตร ลมเหลือประมาณกระทบขม่อมของกระผมอยู่ เหมือนบุรุษผู้มีกำลังเอาของแหลมคมทิ่มขม่อม ดังนั้น กระผมจึงทนไม่ไหว เป็นไปไม่ไหว ทุกขเวทนาของกระผมหนัก กำเริบ ไม่ทุเลา ปรากฏความกำเริบเป็นที่สุด ไม่ปรากฏความทุเลาเลย.
ภันเตสารีบุตร ลมเหลือประมาณเวียนศีรษะกระผมอยู่ เหมือนบุรุษผู้มีกำลังให้การขันศีรษะด้วยชะเนาะอย่างแน่น ดังนั้น กระผมจึงทนไม่ไหว เป็นไปไม่ไหว ทุกขเวทนาของกระผมหนัก กำเริบ ไม่ทุเลา ปรากฏความกำเริบเป็นที่สุด ไม่ปรากฏความทุเลาเลย.
ภันเตสารีบุตร ลมเหลือประมาณปั่นป่วนท้องของกระผมอยู่ เหมือนคนฆ่าโค หรือลูกมือคนฆ่าโคผู้ฉลาด เอามีดแล่โคอันคมคว้านท้อ ดังนั้น กระผมจึงทนไม่ไหว เป็นไปไม่ไหว ทุกขเวทนาของกระผมหนัก กำเริบ ไม่ทุเลา ปรากฏความกำเริบเป็นที่สุด ไม่ปรากฏความทุเลาเลย.
ภันเตสารีบุตร ความร้อนในกายของกระผมเหลือประมาณ เหมือนบุรุษผู้มีกำลัง ๒ คน จับบุรุษผู้มีกำลังน้อยกว่าที่อวัยวะป้องกันตัวต่างๆ แล้ว นาบ ย่าง ในหลุมถ่านเพลิง ดังนั้น กระผมจึงทนไม่ไหว เป็นไปไม่ไหว ทุกขเวทนาของกระผมหนัก กำเริบ ไม่ทุเลา ปรากฏความกำเริบเป็นที่สุด ไม่ปรากฏความทุเลาเลย.
คหบดี เพราะเหตุนั้น ท่านพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นจักษุ และวิญญาณที่อาศัยจักษุ จักไม่มีแก่เรา คหบดี ท่านพึงศึกษาอย่างนี้เถิด.
ท่านพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นโสตะ และวิญญาณที่อาศัยโสตะ จักไม่มีแก่เรา …
ท่านพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นฆานะ และวิญญาณที่อาศัยฆานะ จักไม่มีแก่เรา …
ท่านพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นชิวหา และวิญญาณที่อาศัยชิวหา จักไม่มีแก่เรา …
ท่านพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นกาย และวิญญาณที่อาศัยกาย จักไม่มีแก่เรา …
ท่านพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นมโน และวิญญาณที่อาศัยมโน จักไม่มีแก่เรา คหบดี ท่านพึงศึกษาอย่างนี้เถิด.
คหบดี เพราะเหตุนั้น ท่านพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นรูป และวิญญาณที่อาศัยรูป จักไม่มีแก่เรา คหบดี ท่านพึงศึกษาอย่างนี้เถิด.
ท่านพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นเสียง และวิญญาณที่อาศัยเสียง จักไม่มีแก่เรา …
ท่านพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นกลิ่น และวิญญาณที่อาศัยกลิ่น จักไม่มีแก่เรา …
ท่านพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นรส และวิญญาณที่อาศัยรส จักไม่มีแก่เรา …
ท่านพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นโผฏฐัพพะ และวิญญาณที่อาศัยโผฏฐัพพะ จักไม่มีแก่เรา …
ท่านพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นธรรม และวิญญาณที่อาศัยธรรม จักไม่มีแก่เรา คหบดี ท่านพึงศึกษาอย่างนี้เถิด.
คหบดี เพราะเหตุนั้น ท่านพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นจักษุวิญญาณ และวิญญาณที่อาศัยจักษุวิญญาณ จักไม่มีแก่เรา คหบดี ท่านพึงศึกษาอย่างนี้เถิด.
ท่านพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นโสตวิญญาณ และวิญญาณที่อาศัยโสตวิญญาณ จักไม่มีแก่เรา …
ท่านพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นฆานวิญญาณ และวิญญาณที่อาศัยฆานวิญญาณ จักไม่มีแก่เรา …
ท่านพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นชิวหาวิญญาณ และวิญญาณที่อาศัยชิวหาวิญญาณ จักไม่มีแก่เรา …
ท่านพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นกายวิญญาณ และวิญญาณที่อาศัยกายวิญญาณ จักไม่มีแก่เรา …
ท่านพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นมโนวิญญาณ และวิญญาณที่อาศัยมโนวิญญาณ จักไม่มีแก่เรา คหบดี ท่านพึงศึกษาอย่างนี้เถิด.
คหบดี เพราะเหตุนั้น ท่านพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นจักษุสัมผัส และวิญญาณที่อาศัยจักษุสัมผัส จักไม่มีแก่เรา คหบดี ท่านพึงศึกษาอย่างนี้เถิด.
ท่านพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นโสตสัมผัส และวิญญาณที่อาศัยโสตสัมผัส จักไม่มีแก่เรา …
ท่านพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นฆานสัมผัส และวิญญาณที่อาศัยฆานสัมผัส จักไม่มีแก่เรา …
ท่านพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นชิวหาสัมผัส และวิญญาณที่อาศัยชิวหาสัมผัส จักไม่มีแก่เรา …
ท่านพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นกายสัมผัส และวิญญาณที่อาศัยกายสัมผัส จักไม่มีแก่เรา …
ท่านพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นมโนสัมผัส และวิญญาณที่อาศัยมโนสัมผัส จักไม่มีแก่เรา คหบดี ท่านพึงศึกษาอย่างนี้เถิด.
คหบดี เพราะเหตุนั้น ท่านพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัส และวิญญาณที่อาศัยเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัส จักไม่มีแก่เรา คหบดี ท่านพึงศึกษาอย่างนี้เถิด.
ท่านพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะโสตสัมผัส และวิญญาณอันอาศัยเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะโสตสัมผัส จักไม่มีแก่เรา.
ท่านพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะฆานสัมผัส และวิญญาณอันอาศัยเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะฆานสัมผัส จักไม่มีแก่เรา …
ท่านพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัส และวิญญาณอันอาศัยเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัส จักไม่มีแก่เรา …
ท่านพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะกายสัมผัส และวิญญาณอันอาศัยเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะกายสัมผัส จักไม่มีแก่เรา …
ท่านพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัส และวิญญาณอันอาศัยเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัส จักไม่มีแก่เรา คหบดี ท่านพึงศึกษาอย่างนี้เถิด.
คหบดี เพราะเหตุนั้น ท่านพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นปฐวีธาตุ และวิญญาณอันอาศัยปฐวีธาตุ จักไม่มีแก่เรา คหบดี ท่านพึงศึกษาอย่างนี้เถิด.
ท่านพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นอาโปธาตุ และวิญญาณอันอาศัยอาโปธาตุ จักไม่มีแก่เรา …
ท่านพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นเตโชธาตุ และวิญญาณอันอาศัยเตโชธาตุ จักไม่มีแก่เรา …
ท่านพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นวาโยธาตุ และวิญญาณอันอาศัยวาโยธาตุ จักไม่มีแก่เรา …
ท่านพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นอากาสธาตุ และวิญญาณอันอาศัยอากาสธาตุ จักไม่มีแก่เรา คหบดี ท่านพึงศึกษาอย่างนี้เถิด.
คหบดี เพราะเหตุนั้น ท่านพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นรูป และวิญญาณอันอาศัยรูป จักไม่มีแก่เรา คหบดี ท่านพึงศึกษาอย่างนี้เถิด.
ท่านพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นเวทนา และวิญญาณอันอาศัยเวทนา จักไม่มีแก่เรา …
ท่านพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นสัญญา และวิญญาณอันอาศัยสัญญา จักไม่มีแก่เรา …
ท่านพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นสังขาร และวิญญาณอันอาศัยสังขาร จักไม่มีแก่เรา …
ท่านพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นวิญญาณ และวิญญาณอันอาศัยวิญญาณ จักไม่มีแก่เรา คหบดี ท่านพึงศึกษาอย่างนี้เถิด.
คหบดี เพราะเหตุนั้น ท่านพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นอากาสานัญจายตนะ และวิญญาณอันอาศัยอากาสานัญจายตนะ จักไม่มีแก่เรา คหบดี ท่านพึงศึกษาอย่างนี้เถิด.
ท่านพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นวิญญาณัญจายตนะ และวิญญาณอันอาศัยวิญญาณัญจายตนะ จักไม่มีแก่เรา …
ท่านพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นอากิญจัญญายตนะ และวิญญาณอันอาศัยอากิญจัญญายตนะ จักไม่มีแก่เรา …
ท่านพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นเนวสัญญานาสัญญายตนะ และวิญญาณอันอาศัยเนวสัญญานาสัญญายตนะ จักไม่มีแก่เรา คหบดี ท่านพึงศึกษาอย่างนี้เถิด.
คหบดี เพราะเหตุนั้น ท่านพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นโลกนี้ และวิญญาณอันอาศัยโลกนี้ จักไม่มีแก่เรา คหบดี ท่านพึงศึกษาอย่างนี้เถิด.
ท่านพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นโลกอื่น และวิญญาณอันอาศัยโลกอื่น จักไม่มีแก่เรา คหบดี ท่านพึงศึกษาอย่างนี้เถิด.
คหบดี เพราะเหตุนั้น ท่านพึงศึกษาอย่างนี้ว่า อารมณ์ใดที่เราได้เห็น ได้ฟัง ได้รู้สึก ได้รู้แจ้ง ได้แสวงหา ได้พิจารณาด้วยใจแล้ว เราจักไม่ยึดมั่นอารมณ์เหล่านั้น และวิญญาณอันอาศัยอารมณ์เหล่านั้นจักไม่มีแก่เรา คหบดี ท่านพึงศึกษาอย่างนี้เถิด.
เมื่อท่านพระสารีบุตรกล่าวแล้วอย่างนี้ อนาถบิณฑิกคหบดีร้องไห้ น้ำตาไหล ขณะนั้นท่านพระอานนท์ได้กล่าวกะอนาถบิณฑิกคหบดีดังนี้ว่า
คหบดี ท่านยังอาลัย ยังมีใจจดใจจ่ออยู่หรือ.
ภันเตอานนท์ กระผมมิได้อาลัย มิได้ใจจดใจจ่อ แต่ว่ากระผมได้นั่งใกล้พระศาสดาและหมู่ภิกษุที่น่าเจริญใจมาช้านาน แต่ไม่เคยได้สดับธรรมีกถาเห็นปานนี้.
คหบดี ธรรมีกถาเห็นปานนี้ มิได้แจ่มแจ้งแก่คฤหัสถ์ผู้นุ่งผ้าขาว แต่แจ่มแจ้งแก่บรรพชิต.
ภันเตสารีบุตร ถ้าอย่างนั้น ขอธรรมีกถาเห็นปานนี้ โปรดแจ่มแจ้งแก่คฤหัสถ์ผู้นุ่งผ้าขาวบ้างเถิด เพราะกุลบุตรผู้มีธุลีในดวงตาแต่เล็กน้อยมีอยู่ เขาย่อมเสื่อมคลายจากคุณที่ควรได้ เพราะไม่ได้ฟังธรรม.
ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรและท่านพระอานนท์ กล่าวสอนอนาถบิณฑิกคหบดีด้วยโอวาทนี้แล้ว จึงลุกจากอาสนะหลีกไป.
จากนั้น เมื่อท่านพระสารีบุตรและท่านพระอานนท์หลีกไปแล้วไม่นาน อนาถบิณฑิกคหบดีก็ได้กระทำกาละ เข้าถึงหมู่เทวดาชั้นดุสิต ครั้งนั้น ล่วงปฐมยามไปแล้ว อนาถบิณฑิกเทพบุตรมีรัศมีงามส่องพระวิหารเชตวันให้สว่างทั่ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ประทับ แล้วถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค ยืนในที่สมควร พอยืนเรียบร้อยแล้ว ได้ทูลพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาเหล่านี้ว่า
พระเชตะวันนี้เป็นที่เกื้อกูล อันหมู่สงฆ์อยู่อาศัยแล้ว
อันพระองค์ผู้เป็นธรรมราชาประทับอยู่
เป็นที่เกิดปีติแก่ข้าพระองค์
สัตว์ทั้งหลายย่อมบริสุทธิ์ด้วยธรรม ๕ อย่างนี้
คือ กรรม วิชชา ธรรม ศีล ชีวิตอันสูงสุด
ไม่ใช่บริสุทธิ์ด้วยโคตร หรือด้วยทรัพย์
เพราะเหตุนั้น บุคคลผู้เป็นบัณฑิต เมื่อเล็งเห็นประโยชน์ของตน
พึงเลือกเฟ้นธรรมโดยแยบคาย จะบริสุทธิ์ในธรรมนั้นได้ด้วยอาการนี้
พระสารีบุตรนั้นแล ย่อมบริสุทธิ์ ด้วยปัญญา ด้วยศีล และด้วยความสงบ
ความจริงภิกษุผู้ถึงฝั่งแล้ว จะอย่างยิ่งก็เท่าพระสารีบุตรนี้.
อนาถบิณฑิกเทวบุตรกล่าวดังนี้แล้ว พระศาสดาทรงพอพระทัย จากนั้น อนาถบิณฑิกเทวบุตรทราบว่า พระศาสดาทรงพอพระทัยจึงถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค แล้วกระทำประทักษิณ หายไปในที่นั้นเอง.
ครั้งนั้น พอล่วงราตรีนั้นไปแล้ว พระผู้มีพระภาคตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ภิกษุทั้งหลาย เมื่อคืนนี้ ล่วงปฐมยามไปแล้ว มีเทวบุตรตนหนึ่ง มีรัศมีงาม ส่องพระวิหารเชตวันให้สว่างทั่ว เข้ามาหาเรายังที่อยู่ อภิวาทเราแล้ว ได้ยืนในที่สมควร พอยืนเรียบร้อยแล้ว ได้กล่าวกะเราด้วยคาถานี้ว่า
พระเชตะวันนี้เป็นที่เกื้อกูล อันหมู่สงฆ์อยู่อาศัยแล้ว
อันพระองค์ผู้เป็นธรรมราชาประทับอยู่
เป็นที่เกิดปีติแก่ข้าพระองค์
สัตว์ทั้งหลายย่อมบริสุทธิ์ด้วยธรรม ๕ อย่างนี้
คือ กรรม วิชชา ธรรม ศีล ชีวิตอันสูงสุด
ไม่ใช่บริสุทธิ์ด้วยโคตร หรือด้วยทรัพย์
เพราะเหตุนั้น บุคคลผู้เป็นบัณฑิต เมื่อเล็งเห็นประโยชน์ของตน
พึงเลือกเฟ้นธรรมโดยแยบคาย จะบริสุทธิ์ในธรรมนั้นได้ด้วยอาการนี้
พระสารีบุตรนั้นแล ย่อมบริสุทธิ์ ด้วยปัญญา ด้วยศีล และด้วยความสงบ
ความจริงภิกษุผู้ถึงฝั่งแล้ว จะอย่างยิ่งก็เท่าพระสารีบุตรนี้.
ภิกษุทั้งหลาย เทวบุตรนั้นได้กล่าวดังนี้แล้ว รู้ว่าพระศาสดาทรงพอพระทัย จึงอภิวาทเรา แล้วกระทำประทักษิณ หายไปในที่นั้น.
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสแล้วอย่างนี้ ท่านพระอานนท์ได้ทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ภันเต ก็เทวบุตรนั้น คงจักเป็นอนาถบิณฑิกเทวบุตรแน่ เพราะอนาถบิณฑิกคหบดีได้เป็นผู้เลื่อมใสแล้ว ในท่านพระสารีบุตร.
สาธุ สาธุ อานนท์ เท่าที่คาดคะเนนั้นแล เธอลำดับเรื่องถูกแล้ว เทวบุตรนั้นคืออนาถบิณฑิกเทวบุตร มิใช่ผู้อื่น.
-บาลี อุปริ. ม. 14/464/720.
https://84000.org/tipitaka/pali/?14//464
https://etipitaka.com/read/pali/14/464
English translation by Bhikkhu Sujato
So I have heard. At one time the Buddha was staying near Sāvatthī in Jeta’s Grove, Anāthapiṇḍika’s monastery.
Now at that time the householder Anāthapiṇḍika was sick, suffering, gravely ill. Then he addressed a man, “Please, mister, go to the Buddha, and in my name bow with your head to his feet. Say to him: ‘Sir, the householder Anāthapiṇḍika is sick, suffering, gravely ill. He bows with his head to your feet.’ Then go to Venerable Sāriputta, and in my name bow with your head to his feet. Say to him: ‘Sir, the householder Anāthapiṇḍika is sick, suffering, gravely ill. He bows with his head to your feet.’ And then say: ‘Sir, please visit him at his home out of compassion.’”
“Yes, sir,” that man replied. He did as Anāthapiṇḍika asked. Sāriputta consented in silence.
Then Venerable Sāriputta robed up in the morning and, taking his bowl and robe, went with Venerable Ānanda as his second monk to Anāthapiṇḍika’s home. He sat down on the seat spread out, and said to Anāthapiṇḍika, “I hope you’re keeping well, householder; I hope you’re alright. And I hope the pain is fading, not growing, that its fading is evident, not its growing.”
“I’m not keeping well, Master Sāriputta, I’m not alright. The pain is terrible and growing, not fading, its growing, not its fading, is evident. The winds piercing my head are so severe, it feels like a strong man drilling into my head with a sharp point. The pain in my head is so severe, it feels like a strong man tightening a tough leather strap around my head. The winds slicing my belly are so severe, like a deft butcher or their apprentice were slicing open a cows’s belly open with a meat cleaver. The burning in my body is so severe, it feels like two strong men grabbing a weaker man by the arms to burn and scorch him on a pit of glowing coals. That’s how severe the burning is in my body. I’m not keeping well, Master Sāriputta, I’m not alright. The pain is terrible and growing, not fading, its growing, not its fading, is evident.”
“That’s why, householder, you should train like this: ‘I shall not grasp the eye, and there shall be no consciousness of mine dependent on the eye.’ That’s how you should train.
You should train like this: ‘I shall not grasp the ear, and there shall be no consciousness of mine dependent on the ear.’ …
‘I shall not grasp the nose, and there shall be no consciousness of mine dependent on the nose.’ …
‘I shall not grasp the tongue, and there shall be no consciousness of mine dependent on the tongue.’ …
‘I shall not grasp the body, and there shall be no consciousness of mine dependent on the body.’ …
‘I shall not grasp the mind, and there shall be no consciousness of mine dependent on the mind.’ That’s how you should train.
You should train like this: ‘I shall not grasp sight, and there shall be no consciousness of mine dependent on sight.’ … ‘I shall not grasp sound … smell … taste … touch … thought, and there shall be no consciousness of mine dependent on thought.’ That’s how you should train.
You should train like this: ‘I shall not grasp eye consciousness, and there shall be no consciousness of mine dependent on eye consciousness.’ … ‘I shall not grasp ear consciousness … nose consciousness … tongue consciousness … body consciousness … mind consciousness, and there shall be no consciousness of mine dependent on mind consciousness.’ That’s how you should train.
You should train like this: ‘I shall not grasp eye contact … ear contact … nose contact … tongue contact … body contact … mind contact, and there shall be no consciousness of mine dependent on mind contact.’ That’s how you should train.
You should train like this: ‘I shall not grasp feeling born of eye contact … feeling born of ear contact … feeling born of nose contact … feeling born of tongue contact … feeling born of body contact … feeling born of mind contact, and there shall be no consciousness of mine dependent on the feeling born of mind contact.’ That’s how you should train.
You should train like this: ‘I shall not grasp the earth element … water element … fire element … air element … space element … consciousness element, and there shall be no consciousness of mine dependent on the consciousness element.’ That’s how you should train.
You should train like this: ‘I shall not grasp form … feeling … perception … choices … consciousness, and there shall be no consciousness of mine dependent on consciousness.’ That’s how you should train.
You should train like this: ‘I shall not grasp the dimension of infinite space … the dimension of infinite consciousness … the dimension of nothingness … the dimension of neither perception nor non-perception, and there shall be no consciousness of mine dependent on the dimension of neither perception nor non-perception.’ That’s how you should train.
You should train like this: ‘I shall not grasp this world, and there shall be no consciousness of mine dependent on this world.’ That’s how you should train.
You should train like this: ‘I shall not grasp the other world, and there shall be no consciousness of mine dependent on the other world.’ That’s how you should train. You should train like this: ‘I shall not grasp whatever is seen, heard, thought, known, attained, sought, and explored by my mind, and there shall be no consciousness of mine dependent on that.’ That’s how you should train.”
When he said this, Anāthapiṇḍika cried and burst out in tears. Venerable Ānanda said to him, “Are you failing, householder? Are you fading, householder?”
“No, sir. But for a long time I have paid homage to the Buddha and the esteemed mendicants. Yet I have never before heard such a Dhamma talk.”
“Householder, it does not occur to us to teach such a Dhamma talk to white-clothed laypeople. Rather, we teach like this to those gone forth.”
“Well then, Master Sāriputta, let it occur to you to teach such a Dhamma talk to white-clothed laypeople as well! There are gentlemen with little dust in their eyes. They’re in decline because they haven’t heard the teaching. There will be those who understand the teaching!”
And when the venerables Sāriputta and Ānanda had given the householder Anāthapiṇḍika this advice they got up from their seat and left. Not long after they had left, Anāthapiṇḍika passed away and was reborn in the host of Joyful Gods.
Then, late at night, the glorious god Anāthapiṇḍika, lighting up the entire Jeta’s Grove, went up to the Buddha, bowed, stood to one side, and addressed the Buddha in verse:
“This is indeed that Jeta’s Grove,
frequented by the Saṅgha of hermits,
where the King of Dhamma stayed:
it brings me joy!
Deeds, knowledge, and principle;
ethical conduct, an excellent livelihood;
by these are mortals purified,
not by clan or wealth.
That’s why an astute person,
seeing what’s good for themselves,
would examine the teaching rationally,
and thus be purified in it.
Sāriputta has true wisdom,
ethics, and also peace.
Any mendicant who has crossed over
can at best equal him.”
This is what the god Anāthapiṇḍika said, and the teacher approved. Then the god Anāthapiṇḍika, knowing that the teacher approved, bowed and respectfully circled the Buddha, keeping him on his right, before vanishing right there.
English translation by Suddhāso Bhikkhu
Thus have I heard. On one occasion the Blessed One was dwelling at Sāvatthi, in Jeta‘s Grove, at Anāthapiṇḍika‘s Park. On this occasion the householder Anāthapiṇḍika1 was sick, in pain, severely ill. Then Anāthapiṇḍika addressed a certain man: “Hey, man, go and approach the Blessed One, venerate him with your head at his feet, and address him using my words: ‘Bhante, the householder Anāthapiṇḍika is sick, in pain, severely ill. He venerates the Blessed One with his head at the Blessed One‘s feet.’ Then approach Venerable Sāriputta, venerate him with your head at his feet, and address him using my words: ‘Bhante, the householder Anāthapiṇḍika is sick, in pain, severely ill. He venerates Venerable Sāriputta with his head at Venerable Sāriputta‘s feet.’ Then say, ‘Bhante, it would be good if Venerable Sāriputta came to the householder Anāthapiṇḍika‘s dwelling, out of compassion.’”
“Yes, sir,” that man replied to the householder Anāthapiṇḍika. He approached the Blessed One, paid respects to him, and sat down at one side. When he was seated at one side, that man said to the Blessed One: “Bhante, the householder Anāthapiṇḍika is sick, in pain, severely ill. He pays homage to the Blessed One with his head at the Blessed One‘s feet.” Then he approached Venerable Sāriputta, paid respects to him, and sat down at one side. When he was seated at one side, that man said to Venerable Sāriputta, “Bhante, the householder Anāthapiṇḍika is sick, in pain, severely ill. He venerates Venerable Sāriputta with his head at Venerable Sāriputta‘s feet. He also says, ‘Bhante, it would be good if Venerable Sāriputta came to the householder Anāthapiṇḍika‘s dwelling, out of compassion.’” Venerable Sāriputta silently consented.
Then Venerable Sāriputta dressed, took his bowl and robe, and approached the householder Anāthapiṇḍika‘s dwelling, with Venerable Ānanda as his accompanying contemplative2. When he arrived, he sat on the designated seat. After sitting down, Venerable Sāriputta said to the householder Anāthapiṇḍika, “Householder, are you enduring? Are you able to keep going? Are your painful feelings subsiding and not increasing? Is their decrease discernible and not their increase?”
“Bhante Sāriputta, I am not enduring, I am not able to keep going. Severe painful feelings increase for me, they do not decrease. Their increase is discernible, not their decrease. Bhante Sāriputta, extreme currents3 of pain disturb my head, just as if a strong man was cutting open my head with a sharp blade.
“Bhante Sāriputta, I am not enduring, I am not able to keep going. Severe painful feelings increase for me, they do not decrease. Their increase is discernible, not their decrease. Bhante Sāriputta, there are extreme feelings of pain in my head, just as if a strong man was crushing my head with a leather vice.
“Bhante Sāriputta, I am not enduring, I am not able to keep going. Severe painful feelings increase for me, they do not decrease. Their increase is discernible, not their decrease. Bhante Sāriputta, extreme currents of pain slice through my belly, just as if a skilled butcher or his apprentice was slicing open my belly with a butcher‘s knife.
“Bhante Sāriputta, I am not enduring, I am not able to keep going. Severe painful feelings increase for me, they do not decrease. Their increase is discernible, not their decrease. Bhante Sāriputta, there is extreme fever in my body, just as if two strong men took a weaker man by his limbs and roasted him over a charcoal pit.
“Bhante Sāriputta, I am not enduring, I am not able to keep going. Severe painful feelings increase for me, they do not decrease. Their increase is discernible, not their decrease.”
Venerable Sāriputta‘s reply
“Therefore, householder, this is how you are to train: ‘I will not cling to the eye, and my consciousness will not be dependent on the eye.’ Householder, this is how you are to train.
“Therefore, householder, this is how you are to train: ‘I will not cling to the ear… the nose… the tongue… the body… the mind, and my consciousness will not be dependent on the mind.’ Householder, this is how you are to train.
“Therefore, householder, this is how you are to train: ‘I will not cling to visible objects… sounds… fragrances… flavors… tangible objects… thoughts, and my consciousness will not be dependent on thoughts.’ Householder, this is how you are to train.
“Therefore, householder, this is how you are to train: ‘I will not cling to eye-consciousness… ear-consciousness… nose-consciousness… tongue-consciousness… body-consciousness… mind-consciousness, and my consciousness will not be dependent on mind-consciousness4.’ Householder, this is how you are to train.
“Therefore, householder, this is how you are to train: ‘I will not cling to eye-contact… ear-contact… nose-contact… tongue-contact… body-contact… mind-contact, and my consciousness will not be dependent on mind-contact.’ Householder, this is how you are to train.
“Therefore, householder, this is how you are to train: ‘I will not cling to feelings produced by eye-contact… feelings produced by ear-contact… feelings produced by nose-contact… feelings produced by tongue-contact… feelings produced by body-contact… feelings produced by mind-contact, and my consciousness will not be dependent on feelings produced by mind-contact.’ Householder, this is how you are to train.
“Therefore, householder, this is how you are to train: ‘I will not cling to the earth-element5… the water-element… the fire-element… the air-element… the space-element… the consciousness-element, and my consciousness will not be dependent on the consciousness-element.’ Householder, this is how you are to train.
“Therefore, householder, this is how you are to train: ‘I will not cling to the body… feelings… recognition… mental formations… consciousness6, and my consciousness will not be dependent on consciousness.’ Householder, this is how you are to train.
“Therefore, householder, this is how you are to train: ‘I will not cling to the dimension of infinite space… the dimension of infinite consciousness… the dimension of nothingness… the dimension of neither perception nor non-perception, and my consciousness will not be dependent on the dimension of neither perception nor non-perception.’ Householder, this is how you are to train.
“Therefore, householder, this is how you are to train: ‘I will not cling to this world… another world, and my consciousness will not be dependent on another world.’ Householder, this is how you are to train.
“Therefore, householder, this is how you are to train: ‘I will not cling to anything that is seen, heard, sensed, cognized, attained, sought, pursued, or investigated by the mind, and my consciousness will not be dependent on that.’ Householder, this is how you are to train.”
When this was said, the householder Anāthapiṇḍika cried out and burst into tears. Then Venerable Ānanda said to the householder Anāthapiṇḍika, “Householder, are you losing momentum? Householder, are you subsiding?”
“Bhante Ānanda, I am not losing momentum, and I am not subsiding. However, for a long time I have visited the Teacher7 and other well-respected monks, and I have never before heard a Dhamma talk like this.”
“Householder, Dhamma talks like this are not given to white-clad householders. Dhamma talks like this are given to renunciates.”
“Therefore, Bhante Sāriputta, give Dhamma talks like this to white-clad householders! Bhante, there are clansmen who have little dust in their eyes, who are wasting away because they do not hear the Dhamma. There will be some who understand the Dhamma.”
Then, after giving this exhortation to the householder Anāthapiṇḍika, Venerable Sāriputta and Venerable Ānanda rose from their seats and left. Not long after they left, the householder Anāthapiṇḍika died, and reappeared as a Tusita8 deva. Then, late in the night, Anāthapiṇḍika, as a young deva of surpassing beauty, illuminated the entire Jeta‘s Grove and approached the Blessed One. After approaching and venerating the Blessed One, he stood to one side. While he was standing to one side, the young deva Anāthapiṇḍika spoke to the Blessed One with poetic verses:
“This is Jeta‘s Grove, frequented by a community of sages,
Inhabited by the King of Dhamma, producing rapture for me.
Activity, knowledge, Dhamma, and virtue – the ultimate livelihood.
By means of this mortals are purified, not by ancestry or wealth.
Therefore a wise person, seeing one‘s own benefit,
Should wisely investigate the Dhamma, where one may be purified in this way.
A monk who has gone beyond can, at best, only be the equal of Sāriputta
In wisdom, virtue, and peacefulness.”
This is what the young deva Anāthapiṇḍika sad. The Teacher approved. Then the young deva Anāthapiṇḍika, thinking “The Teacher has approved of me,” venerated the Blessed One. Having done what was appropriate, he disappeared right there.
Then at the end of the night, the Blessed One addressed the monks: “Monks, late last night a certain young deva of surpassing beauty illuminated the entire Jeta‘s Grove and approached me. After approaching and venerating me, he stood to one side. While he was standing to one side, that young deva spoke to me with these poetic verses:
‘This is Jeta‘s Grove… in wisdom, virtue, and peacefulness.’
“Monks, this is what the young deva said. Then, thinking ‘The Teacher has approved of me,’ he venerated me. Having done what was appropriate, he disappeared right there.”
When this was said, Venerable Ānanda said to the Blessed One, “Bhante, that young deva was definitely Anāthapiṇḍika. Bhante, the householder Anāthapiṇḍika had deep faith in Venerable Sāriputta.”
“Excellent, excellent, Ānanda! Ānanda, you have attained what can be attained by thought. Ānanda, that young deva was Anāthapiṇḍika.”