ธรรม ๕ ประการ เพื่อคนเจ็บป่วยไข้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน เขตเมืองเวสาลี ครั้งนั้นเป็นเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่หลีกเร้น เสด็จเข้าไปยังศาลาภิกษุไข้ ได้ทรงเห็นภิกษุรูปหนึ่งที่มีกำลังน้อย และเจ็บป่วยไข้ จากนั้นได้ประทับนั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้ ครั้นแล้วตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าธรรม ๕ ประการเหล่านี้ ไม่เว้นห่างไปจากคนเจ็บป่วยไข้ กำลังน้อยคนใด เธอนั้นพึงหวังผลข้อนี้ คือ จักทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ ได้ต่อกาลไม่นานเลย ธรรม ๕ ประการอะไรบ้าง คือ ภิกษุในกรณีนี้
๑) พิจารณาเห็นความไม่งามในกาย
๒) มีความสำคัญว่าเป็นของปฏิกูลในอาหาร
๓) มีความสำคัญว่าไม่น่ายินดีในโลกทั้งปวง
๔) พิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวง
๕) มีมรณสัญญาอันตั้งไว้ดีแล้วในภายใน
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการเหล่านี้แล ไม่เว้นห่างไปจากคนเจ็บป่วยไข้ กำลังน้อยคนใด เธอนั้นพึงหวังผลข้อนี้ คือ จักทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ได้ต่อกาลไม่นานเลย.
-บาลี ปญฺจก. อํ. 22/160/121.
https://84000.org/tipitaka/pali/?22//160
https://etipitaka.com/read/pali/22/160
English translation by Bhikkhu Sujato
“Mendicants, if a weak and sick mendicant does not neglect five things, it can be expected that they will soon realize the undefiled freedom of heart and freedom by wisdom in this very life, and live having realized it with their own insight due to the ending of defilements.
What five? It’s when a mendicant meditates observing the ugliness of the body, perceives the repulsiveness of food, perceives dissatisfaction with the whole world, observes the impermanence of all conditions, and has well established the perception of their own death. If a weak and sick mendicant does not neglect these five things, it can be expected that they will soon realize the undefiled freedom of heart and freedom by wisdom in this very life, and live having realized it with their own insight due to the ending of defilements.”