โลกธรรม ๘ ประการเหล่านี้ ย่อมหมุนไปตามโลก (๒)
ภิกษุทั้งหลาย โลกธรรม ๘ ประการเหล่านี้ ย่อมหมุนไปตามโลก และโลกย่อมหมุนไปตามโลกธรรม ๘ ประการ โลกธรรม ๘ ประการอะไรบ้าง คือ ลาภ ความเสื่อมลาภ ยศ ความเสื่อมยศ นินทา สรรเสริญ สุข ทุกข์.
ภิกษุทั้งหลาย โลกธรรม ๘ ประการเหล่านี้แล ย่อมหมุนไปตามโลก และโลกย่อมหมุนไปตามโลกธรรม ๘ ประการเหล่านี้.
ภิกษุทั้งหลาย ลาภก็ดี ความเสื่อมลาภก็ดี ยศก็ดี ความเสื่อมยศก็ดี นินทาก็ดี สรรเสริญก็ดี สุขก็ดี ทุกข์ก็ดี ย่อมเกิดขึ้นแก่ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ และย่อมเกิดขึ้นแม้แก่อริยสาวกผู้ได้สดับ ภิกษุทั้งหลาย ในข้อนี้จะมีอะไรแปลกกัน มีอะไรผิดกัน มีอะไรเป็นข้อแตกต่างกัน ระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับ กับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ภันเต ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเป็นมูล มีพระผู้มีพระภาคเป็นผู้นำ มีพระผู้มีพระภาคเป็นที่พึ่งอาศัย สาธุ ภันเต ขอเนื้อความแห่งภาษิตนี้ โปรดแจ่มแจ้งกับพระผู้มีพระภาคเถิด ภิกษุทั้งหลายได้ฟังจากพระผู้มีพระภาคแล้ว จักทรงจำไว้.
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้น เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุทั้งหลาย ลาภย่อมเกิดขึ้นแก่ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ เขาไม่ตระหนักชัด ไม่ทราบชัดตามความเป็นจริงว่า ลาภนี้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็แต่ว่าลาภนั้นเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ความเสื่อมลาภย่อมเกิดขึ้นแก่ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ เขาไม่ตระหนักชัด ไม่ทราบชัดตามความเป็นจริงว่า ความเสื่อมลาภนี้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็แต่ว่าความเสื่อมลาภนั้นเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ยศย่อมเกิดขึ้นแก่ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ เขาไม่ตระหนักชัด ไม่ทราบชัดตามความเป็นจริงว่า ยศนี้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็แต่ว่ายศนั้นเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ความเสื่อมยศย่อมเกิดขึ้นแก่ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ เขาไม่ตระหนักชัด ไม่ทราบชัดตามความเป็นจริงว่า ความเสื่อมยศนี้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็แต่ว่าความเสื่อมยศนั้นเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา นินทาย่อมเกิดขึ้นแก่ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ เขาไม่ตระหนักชัด ไม่ทราบชัดตามความเป็นจริงว่า นินทานี้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็แต่ว่านินทานั้นเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา สรรเสริญย่อมเกิดขึ้นแก่ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ เขาไม่ตระหนักชัด ไม่ทราบชัดตามความเป็นจริงว่า สรรเสริญนี้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็แต่ว่าสรรเสริญนั้นเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา สุขย่อมเกิดขึ้นแก่ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ เขาไม่ตระหนักชัด ไม่ทราบชัดตามความเป็นจริงว่า สุขนี้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็แต่ว่าสุขนั้นเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ทุกข์ย่อมเกิดขึ้นแก่ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ เขาไม่ตระหนักชัด ไม่ทราบชัดตามความเป็นจริงว่า ทุกข์นี้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็แต่ว่า ทุกข์นั้นเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา แม้ลาภย่อมครอบงำจิตของเขาได้ แม้ความเสื่อมลาภย่อมครอบงำจิตของเขาได้ แม้ยศย่อมครอบงำจิตของเขาได้ แม้ความเสื่อมยศย่อมครอบงำจิตของเขาได้ แม้นินทาย่อมครอบงำจิตของเขาได้ แม้สรรเสริญย่อมครอบงำจิตของเขาได้ แม้สุขย่อมครอบงำจิตของเขาได้ แม้ทุกข์ย่อมครอบงำจิตของเขาได้ เขาย่อมยินดีในลาภที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมยินร้ายในความเสื่อมลาภ ย่อมยินดีในยศที่เกิดขึ้น ย่อมยินร้ายในความเสื่อมยศ ย่อมยินดีในสรรเสริญที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมยินร้ายในนินทา ย่อมยินดีในสุขที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมยินร้ายในทุกข์ เขาประกอบด้วยความยินดียินร้ายอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่พ้นไปจากชาติ ชรามรณะ โสกปริเทวะ ทุกขโทมนัส และอุปายาส เรากล่าวว่า ไม่พ้นไปจากทุกข์.
ภิกษุทั้งหลาย ลาภย่อมเกิดขึ้นแก่อริยสาวกผู้ได้สดับ อริยสาวกนั้น ย่อมตระหนักชัด ย่อมทราบชัดตามความเป็นจริงว่า ลาภนี้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็แต่ว่าลาภนั้นเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ความเสื่อมลาภย่อมเกิดขึ้นแก่อริยสาวกผู้ได้สดับ อริยสาวกนั้น ย่อมตระหนักชัด ย่อมทราบชัดตามความเป็นจริงว่า ความเสื่อมลาภนี้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็แต่ว่าความเสื่อมลาภนั้นเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ยศย่อมเกิดขึ้นแก่อริยสาวกผู้ได้สดับ อริยสาวกนั้น ย่อมตระหนักชัด ย่อมทราบชัดตามความเป็นจริงว่า ยศนี้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็แต่ว่ายศนั้นเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ความเสื่อมยศย่อมเกิดขึ้นแก่อริยสาวกผู้ได้สดับ อริยสาวกนั้น ย่อมตระหนักชัด ย่อมทราบชัดตามความเป็นจริงว่า ความเสื่อมยศนี้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็แต่ว่าความเสื่อมยศนั้นเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา นินทาย่อมเกิดขึ้นแก่อริยสาวกผู้ได้สดับ อริยสาวกนั้น ย่อมตระหนักชัด ย่อมทราบชัดตามความเป็นจริงว่า นินทานี้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็แต่ว่านินทานั้นเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา สรรเสริญย่อมเกิดขึ้นแก่อริยสาวกผู้ได้สดับ อริยสาวกนั้น ย่อมตระหนักชัด ย่อมทราบชัดตามความเป็นจริงว่า สรรเสริญนี้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็แต่ว่าสรรเสริญนั้นเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา สุขย่อมเกิดขึ้นแก่อริยสาวกผู้ได้สดับ อริยสาวกนั้น ย่อมตระหนักชัด ย่อมทราบชัดตามความเป็นจริงว่า สุขนี้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็แต่ว่าสุขนั้นเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ทุกข์ย่อมเกิดขึ้นแก่อริยสาวกผู้ได้สดับ อริยสาวกนั้นย่อมตระหนักชัด ย่อมทราบชัดตามความจริงว่า ทุกข์นี้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็แต่ว่าทุกข์นั้นเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา แม้ลาภย่อมครอบงำจิตของเขาไม่ได้ แม้ความเสื่อมลาภย่อมครอบงำจิตของเขาไม่ได้ แม้ยศย่อมครอบงำจิตของเขาไม่ได้ แม้ความเสื่อมยศย่อมครอบงำจิตของเขาไม่ได้ แม้นินทาย่อมครอบงำจิตของเขาไม่ได้ แม้สรรเสริญย่อมครอบงำจิตของเขาไม่ได้ แม้สุขย่อมครอบงำจิตของเขาไม่ได้ แม้ทุกข์ย่อมครอบงำจิตของเขาไม่ได้ เขาย่อมไม่ยินดีในลาภที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่ยินร้ายในความเสื่อมลาภ ไม่ยินดีในยศที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่ยินร้ายในความเสื่อมยศ ไม่ยินดีในสรรเสริญที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่ยินร้ายในนินทา ไม่ยินดีในสุขที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่ยินร้ายในทุกข์ เขาละความยินดียินร้ายได้เด็ดขาดแล้วอย่างนี้ ย่อมพ้นไปจากชาติ ชรามรณะ โสกปริเทวะ ทุกขโทมนัส และอุปายาส เรากล่าวว่า ย่อมพ้นไปจากทุกข์.
ภิกษุทั้งหลาย นี้แล เป็นความแปลกกัน เป็นความผิดกัน เป็นความแตกต่างกัน ระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับ กับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ.
มีลาภ เสื่อมลาภ มียศ เสื่อมยศ นินทา สรรเสริญ สุข และทุกข์
แปดอย่างนี้ เป็นสิ่งที่ไม่เที่ยงในหมู่มนุษย์
ไม่ยั่งยืน มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
ผู้มีปัญญา มีสติ รู้ความข้อนี้แล้ว
ย่อมเพ่งอยู่ในความแปรปรวนเป็นธรรมดาของโลกธรรมนั้น.
ธรรมอันน่าปรารถนา ย่อมย่ำยีจิตของท่านไม่ได้
ท่านย่อมไม่ยินร้ายต่อธรรมอันไม่น่าปรารถนา
ท่านขจัดความยินดีและความยินร้ายเสียได้จนไม่เหลืออยู่
และทราบทางอันปราศจากธุลี ไม่มีความเศร้าโศก
เป็นผู้ถึงฝั่งแห่งภพ ย่อมรู้แจ้งชัดได้อย่างถูกต้อง.
-บาลี อฏฐก. อํ. 23/159/96.
https://84000.org/tipitaka/pali/?23//159
https://etipitaka.com/read/pali/23/159
English translation by Bhikkhu Sujato
“Mendicants, the eight worldly conditions revolve around the world, and the world revolves around the eight worldly conditions. What eight? Gain and loss, fame and disgrace, praise and blame, pleasure and pain. These eight worldly conditions revolve around the world, and the world revolves around these eight worldly conditions.
An uneducated ordinary person encounters gain and loss, fame and disgrace, praise and blame, and pleasure and pain. And so does an educated noble disciple. What, then, is the difference between an ordinary uneducated person and an educated noble disciple?”
“Our teachings are rooted in the Buddha. He is our guide and our refuge. Sir, may the Buddha himself please clarify the meaning of this. The mendicants will listen and remember it.”
“Well then, mendicants, listen and pay close attention, I will speak.”
“Yes, sir,” they replied. The Buddha said this:
“Mendicants, an uneducated ordinary person encounters gain. They don’t reflect: ‘I’ve encountered this gain. It’s impermanent, suffering, and perishable.’ They don’t truly understand it. They encounter loss … fame … disgrace … praise … blame … pleasure … pain. They don’t reflect: ‘I’ve encountered this pain. It’s impermanent, suffering, and perishable.’ They don’t truly understand it.
So gain and loss, fame and disgrace, praise and blame, and pleasure and pain occupy their mind. They favor gain and oppose loss. They favor fame and oppose disgrace. They favor praise and oppose blame. They favor pleasure and oppose pain. Being so full of favoring and opposing, they’re not freed from rebirth, old age, and death, from sorrow, lamentation, pain, sadness, and distress. They’re not freed from suffering, I say.
An educated noble disciple encounters gain. They reflect: ‘I’ve encountered this gain. It’s impermanent, suffering, and perishable.’ They truly understand it. They encounter loss … fame … disgrace … praise … blame … pleasure … pain. They reflect: ‘I’ve encountered this pain. It’s impermanent, suffering, and perishable.’ They truly understand it.
So gain and loss, fame and disgrace, praise and blame, and pleasure and pain don’t occupy their mind. They don’t favor gain or oppose loss. They don’t favor fame or oppose disgrace. They don’t favor praise or oppose blame. They don’t favor pleasure or oppose pain. Having given up favoring and opposing, they’re freed from rebirth, old age, and death, from sorrow, lamentation, pain, sadness, and distress. They’re freed from suffering, I say. This is the difference between an educated noble disciple and an uneducated ordinary person.
Gain and loss, fame and disgrace,
praise and blame, and pleasure and pain.
These qualities among people are impermanent,
transient, and perishable.A clever and mindful person knows these things,
seeing that they’re perishable.
Desirable things don’t disturb their mind,
nor are they repelled by the undesirable.Both favoring and opposing
are cleared and ended, they are no more.
Knowing the stainless, sorrowless state,
they understand rightly, going beyond rebirth.”
English translation by Bhikkhu Bodhi
“Bhikkhus, these eight worldly conditions revolve around the world, and the world revolves around these eight worldly conditions. What eight? Gain and loss, disrepute and fame, blame and praise, and pleasure and pain. These eight worldly conditions revolve around the world, and the world revolves around these eight worldly conditions.
“Bhikkhus, an uninstructed worldling meets gain and loss, disrepute and fame, blame and praise, and pleasure and pain. An instructed noble disciple also meets gain and loss, disrepute and fame, blame and praise, and pleasure and pain. What is the distinction, the disparity, the difference between an instructed noble disciple and an uninstructed worldling with regard to this?”
“Bhante, our teachings are rooted in the Blessed One, guided by the Blessed One, take recourse in the Blessed One. It would be good if the Blessed One would clear up the meaning of this statement. Having heard it from him, the bhikkhus will retain it in mind.”
“Then listen, bhikkhus, and attend closely. I will speak.”
“Yes, Bhante,” those bhikkhus replied. The Blessed One said this:
“(1) Bhikkhus, when an uninstructed worldling meets with gain, he does not reflect thus: ‘This gain that I have met is impermanent, suffering, and subject to change.’ He does not understand it as it really is. (2) When he meets with loss … (3) … fame … (4) … disrepute … (5) … blame … (6) … praise … (7) … pleasure … (8) … pain, he does not reflect thus: ‘This pain that I have met is impermanent, suffering, and subject to change.’ He does not understand it as it really is.
“Gain obsesses his mind, and loss obsesses his mind. Fame obsesses his mind, and disrepute obsesses his mind. Blame obsesses his mind, and praise obsesses his mind. Pleasure obsesses his mind, and pain obsesses his mind. He is attracted to gain and repelled by loss. He is attracted to fame and repelled by disrepute. He is attracted to praise and repelled by blame. He is attracted to pleasure and repelled by pain. Thus involved with attraction and repulsion, he is not freed from birth, from old age and death, from sorrow, lamentation, pain, dejection, and anguish; he is not freed from suffering, I say.
“But, bhikkhus, (1) when an instructed noble disciple meets with gain, he reflects thus: ‘This gain that I have met is impermanent, suffering, and subject to change.’ He thus understands it as it really is. (2) When he meets with loss … (3) … fame … (4) … disrepute … (5) … blame … (6) … praise … (7) … pleasure … (8) … pain, he reflects thus: ‘This pain that I have met is impermanent, suffering, and subject to change.’ He thus understands it as it really is.
“Gain does not obsess his mind, and loss does not obsess his mind. Fame does not obsess his mind, and disrepute does not obsess his mind. Blame does not obsess his mind, and praise does not obsess his mind. Pleasure does not obsess his mind, and pain does not obsess his mind. He is not attracted to gain or repelled by loss. He is not attracted to fame or repelled by disrepute. He is not attracted to praise or repelled by blame. He is not attracted to pleasure or repelled by pain. Having thus discarded attraction and repulsion, he is freed from birth, from old age and death, from sorrow, lamentation, pain, dejection, and anguish; he is freed from suffering, I say.
“This, bhikkhus, is the distinction, the disparity, the difference between an instructed noble disciple and an uninstructed worldling.”
Gain and loss, disrepute and fame,
blame and praise, pleasure and pain:
these conditions that people meet
are impermanent, transient, and subject to change.A wise and mindful person knows them
and sees that they are subject to change.
Desirable conditions don’t excite his mind
nor is he repelled by undesirable conditions.He has dispelled attraction and repulsion;
they are gone and no longer present.
Having known the dustless, sorrowless state,
he understands rightly and has transcended existence.