ความยาวนานแห่งสังสารวัฏ (๑)
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน กลันทกนิวาปสถาน (สถานที่ให้เหยื่อกระแต) เขตพระนครราชคฤห์ ครั้งนั้น พราหมณ์คนหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่่สมควร ครั้นพราหมณ์นั้นนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ กัปทั้งหลายที่ผ่านไปแล้ว ล่วงไปแล้ว มีมากเท่าไรหนอ.
พราหมณ์ กัปทั้งหลายที่ผ่านไปแล้ว ล่วงไปแล้วมีมาก มิใช่ง่ายที่จะนับกัปเหล่านั้นว่า เท่านี้กัป เท่านี้ ๑๐๐ กัป เท่านี้ ๑,๐๐๐ กัป หรือว่าเท่านี้ ๑๐๐,๐๐๐ กัป.
ก็พระโคดมผู้เจริญสามารจะอุปมาได้ไหม.
สามารถจะอุปมาได้ พราหมณ์ พราหมณ์ เปรียบเหมือนแม่น้ำคงคานี้ ย่อมเกิดจากที่ใด และย่อมถึงมหาสมุทร ณ ที่ใด เม็ดทรายในระยะนี้ไม่เป็นของง่ายที่จะกำหนดได้ว่า เท่านี้เม็ด เท่านี้ ๑๐๐ เม็ด เท่านี้ ๑,๐๐๐ เม็ด หรือว่าเท่านี้ ๑๐๐,๐๐๐ เม็ด.
พราหมณ์ กัปทั้งหลายที่ผ่านไปแล้ว ล่วงไปแล้วมีมากกว่าเม็ดทรายเหล่านั้น มิใช่ง่ายที่จะนับกัปเหล่านั้นว่า เท่านี้กัป เท่านี้ ๑๐๐ กัป เท่านี้ ๑,๐๐๐ กัป หรือว่าเท่านี้ ๑๐๐,๐๐๐ กัป.
ข้อนั้นเพราะเหตุอะไรเล่า พราหมณ์ เพราะเหตุว่า สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูก ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ที่สุดเบื้องต้นย่อมไม่ปรากฏ สัตว์เหล่านั้นได้เสวยความทุกข์ ความเผ็ดร้อน ความพินาศ ได้เพิ่มพูนปฐพีที่เป็นป่าช้าตลอดกาลนานเหมือนอย่างนั้น.
พราหมณ์ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ก็พอแล้วเพื่อจะเบื่อหน่ายในสังขารทั้งปวง พอแล้วเพื่อจะคลายกำหนัด พอแล้วเพื่อจะหลุดพ้น ดังนี้.
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว พราหมณ์ผู้นั้นได้ทูลว่า พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก พระโคดผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนผู้หลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืดด้วยหวังว่า คนมีตาดีจะได้มองเห็นรูป ดังนี้ ท่านพระโคดมทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยายอย่างนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน พระโคดมผู้เจริญ ข้าพเจ้าขอถึงท่านพระโคดม กับทั้งพระธรรม และทั้งพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอท่านพระโคดมโปรดทรงจำข้าพเจ้าว่า เป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิตตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป.
-บาลี นิทาน. สํ. 16/217/435.
https://84000.org/tipitaka/pali/?16//217
https://etipitaka.com/read/pali/16/217/
English translation by Bhikkhu Sujato
Near Rājagaha, in the Bamboo Grove. Then a certain brahmin went up to the Buddha, and exchanged greetings with him.
When the greetings and polite conversation were over, he sat down to one side and asked the Buddha, “Sir, how many eons have passed?”
“Brahmin, many eons have passed. It’s not easy to calculate how many eons have passed, how many hundreds or thousands or hundreds of thousands of eons.”
“But sir, can you give a simile?”
“I can,” said the Buddha.
“Consider the Ganges river from where it originates to where it enters the ocean. Between these places it’s not easy to calculate how many grains of sand there are, how many hundreds or thousands or hundreds of thousands of grains of sand. The eons that have passed are more than this. It’s not easy to calculate how many eons have passed, how many hundreds or thousands or hundreds of thousands of eons.
Why is that? Transmigration has no known beginning. No first point is found of sentient beings roaming and transmigrating, hindered by ignorance and fettered by craving. For such a long time you have undergone suffering, agony, and disaster, swelling the cemeteries. This is quite enough for you to become disillusioned, dispassionate, and freed regarding all conditions.”
When he said this, the brahmin said to the Buddha, “Excellent, Master Gotama! Excellent! … From this day forth, may Master Gotama remember me as a lay follower who has gone for refuge for life.”