ธรรมอันผู้บรรลุ จะพึงเห็นได้เอง (๑)
ครั้งนั้น พราหมณ์คนหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่งในที่สมควร ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า
ภันเต พระองค์ตรัสว่า ธรรมอันผู้บรรลุจะพึงเห็นได้เอง ธรรมอันผู้บรรลุจะพึงเห็นได้เอง ดังนี้ ธรรมอันผู้บรรลุจะพึงเห็นได้เอง ซึ่งไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกกันมาดู ควรน้อมเข้ามาใส่ตน อันผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน ย่อมมีได้ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ.
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า พราหมณ์ ถ้าเช่นนั้นเราจักย้อนถามท่านในข้อนี้ ท่านจงตอบปัญหาในข้อนั้นตามที่ท่านเห็นสมควร ท่านจะสำคัญความข้อนั้นว่าอย่างไร คือ ท่านย่อมทราบชัดซึ่งราคะที่มีอยู่ในภายในว่า เรามีราคะอยู่ในภายใน หรือย่อมทราบชัดซึ่งราคะที่ไม่มีอยู่ในภายในว่า เราไม่มีราคะอยู่ในภายใน.
เป็นอย่างนั้น ภันเต.
พราหมณ์ ข้อที่ท่านย่อมทราบชัดซึ่งราคะที่มีอยู่ในภายในว่า เรามีราคะอยู่ในภายใน หรือย่อมทราบชัดซึ่งราคะที่ไม่มีอยู่ในภายในว่า เราไม่มีราคะอยู่ในภายใน อย่างนี้แล คือ ธรรมอันผู้บรรลุจะพึงเห็นได้เอง ซึ่งไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกกันมาดู ควรน้อมเข้ามาใส่ตน อันผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน.
พราหมณ์ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นว่าอย่างไร คือ ท่านย่อมทราบชัดซึ่งโทสะที่มีอยู่ในภายในว่า เรามีโทสะอยู่ในภายใน หรือย่อมทราบชัดซึ่งโทสะที่ไม่มีอยู่ในภายในว่า เราไม่มีโทสะอยู่ในภายใน.
เป็นอย่างนั้น ภันเต.
พราหมณ์ ข้อที่ท่านย่อมทราบชัดซึ่งโทสะที่มีอยู่ในภายในว่า เรามีโทสะอยู่ในภายใน หรือย่อมทราบชัดซึ่งโทสะที่ไม่มีอยู่ในภายในว่า เราไม่มีโทสะอยู่ในภายใน อย่างนี้แล คือ ธรรมอันผู้บรรลุจะพึงเห็นได้เอง ซึ่งไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกกันมาดู ควรน้อมเข้ามาใส่ตน อันผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน.
พราหมณ์ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นว่าอย่างไร คือ ท่านย่อมทราบชัดซึ่งโมหะที่มีอยู่ในภายในว่า เรามีโมหะอยู่ในภายใน หรือย่อมทราบชัดซึ่งโมหะที่ไม่มีอยู่ในภายในว่า เราไม่มีโมหะอยู่ในภายใน.
เป็นอย่างนั้น ภันเต.
พราหมณ์ ข้อที่ท่านย่อมทราบชัดซึ่งโมหะที่มีอยู่ในภายในว่า เรามีโมหะอยู่ในภายใน หรือย่อมทราบชัดซึ่งโมหะที่ไม่มีอยู่ในภายในว่า เราไม่มีโมหะอยู่ในภายใน อย่างนี้แล คือ ธรรมอันผู้บรรลุจะพึงเห็นได้เอง ซึ่งไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกกันมาดู ควรน้อมเข้ามาใส่ตน อันผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน.
พราหมณ์ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นว่าอย่างไร คือ ท่านย่อมทราบชัดซึ่งเหตุเครื่องประทุษร้ายทางกายที่มีอยู่ในภายในว่า เรามีเหตุเครื่องประทุษร้ายทางกายอยู่ในภายใน หรือย่อมทราบชัดซึ่งเหตุเครื่องประทุษร้ายทางกายที่ไม่มีอยู่ในภายในว่า เราไม่มีเหตุเครื่องประทุษร้ายทางกายอยู่ในภายใน.
เป็นอย่างนั้น ภันเต.
พราหมณ์ ข้อที่ท่านย่อมทราบชัดซึ่งเหตุเครื่องประทุษร้ายทางกายที่มีอยู่ในภายในว่า เรามีเหตุเครื่องประทุษร้ายทางกายอยู่ในภายใน หรือย่อมทราบชัดซึ่งเหตุเครื่องประทุษร้ายทางกายที่ไม่มีอยู่ในภายในว่า เราไม่มีเหตุเครื่องประทุษร้ายทางกายอยู่ในภายใน อย่างนี้แล คือ ธรรมอันผู้บรรลุจะพึงเห็นได้เอง ซึ่งไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกกันมาดู ควรน้อมเข้ามาใส่ตน อันผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน.
พราหมณ์ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นว่าอย่างไร คือ ท่านย่อมทราบชัดซึ่งเหตุเครื่องประทุษร้ายทางวาจาที่มีอยู่ในภายในว่า เรามีเหตุเครื่องประทุษร้ายทางวาจาอยู่ในภายใน หรือย่อมทราบชัดซึ่งเหตุเครื่องประทุษร้ายทางวาจาที่ไม่มีอยู่ในภายในว่า เราไม่มีเหตุเครื่องประทุษร้ายทางวาจาอยู่ในภายใน.
เป็นอย่างนั้น ภันเต.
พราหมณ์ ข้อที่ท่านย่อมทราบชัดซึ่งเหตุเครื่องประทุษร้ายทางวาจาที่มีอยู่ในภายในว่า เรามีเหตุเครื่องประทุษร้ายทางวาจาอยู่ในภายใน หรือย่อมทราบชัดซึ่งเหตุเครื่องประทุษร้ายทางวาจาที่ไม่มีอยู่ในภายในว่า เราไม่มีเหตุเครื่องประทุษร้ายทางวาจาอยู่ในภายใน อย่างนี้แล คือ ธรรมอันผู้บรรลุจะพึงเห็นได้เอง ซึ่งไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกกันมาดู ควรน้อมเข้ามาใส่ตน อันผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน.
พราหมณ์ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นว่าอย่างไร คือ ท่านย่อมทราบชัดซึ่งเหตุเครื่องประทุษร้ายทางใจที่มีอยู่ในภายในว่า เรามีเหตุเครื่องประทุษร้ายทางใจอยู่ในภายใน หรือย่อมทราบชัดซึ่งเหตุเครื่องประทุษร้ายทางใจที่ไม่มีอยู่ในภายในว่า เราไม่มีเหตุเครื่องประทุษร้ายทางใจอยู่ในภายใน.
เป็นอย่างนั้น ภันเต.
พราหมณ์ ข้อที่ท่านย่อมทราบชัดซึ่งเหตุเครื่องประทุษร้ายทางใจที่มีอยู่ในภายในว่า เรามีเหตุเครื่องประทุษร้ายทางใจอยู่ในภายใน หรือย่อมทราบชัดซึ่งเหตุเครื่องประทุษร้ายทางใจที่ไม่มีอยู่ในภายในว่า เราไม่มีเหตุเครื่องประทุษร้ายทางใจอยู่ในภายใน อย่างนี้แล คือ ธรรมอันผู้บรรลุจะพึงเห็นได้เอง ซึ่งไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกกันมาดู ควรน้อมเข้ามาใส่ตน อันผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน.
ภันเต ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ หรือเปิดของที่ปิด หรือบอกทางแก่คนหลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืด ด้วยตั้งใจว่า คนมีตาดีจะได้มองเห็น พระองค์ทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยายอย่างนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ภันเต ข้าพเจ้า ขอถึงพระผู้มีพระภาค กับทั้งพระธรรม และพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดทรงจำข้าพเจ้าว่า เป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป.
-บาลี ฉกฺก. อํ.22/399/319.
https://84000.org/tipitaka/pali/?22/399
https://etipitaka.com/read/pali/22/399
English translation by Bhikkhu Sujato
Then a certain brahmin went up to the Buddha, and exchanged greetings with him. When the greetings and polite conversation were over, he sat down to one side and said to the Buddha:
“Master Gotama, they speak of ‘a teaching visible in this very life’. In what way is the teaching visible in this very life, immediately effective, inviting inspection, relevant, so that sensible people can know it for themselves?”
“Well then, brahmin, I’ll ask you about this in return, and you can answer as you like. What do you think, brahmin? When there’s greed in you, do you understand ‘I have greed in me’? And when there’s no greed in you, do you understand ‘I have no greed in me’?”
“Yes, sir.”
“Since you know this, this is how the teaching is visible in this very life, immediately effective, inviting inspection, relevant, so that sensible people can know it for themselves.
What do you think, brahmin? When there’s hate … delusion … corruption that leads to physical deeds … corruption that leads to speech … When there’s corruption that leads to mental deeds in you, do you understand ‘I have corruption that leads to mental deeds in me’? And when there’s no corruption that leads to mental deeds in you, do you understand ‘I have no corruption that leads to mental deeds in me’?”
“Yes, sir.”
“Since you know this, this is how the teaching is visible in this very life, immediately effective, inviting inspection, relevant, so that sensible people can know it for themselves.”
“Excellent, Master Gotama! Excellent! … From this day forth, may Master Gotama remember me as a lay follower who has gone for refuge for life.”