ผู้ไม่ยากจน [ทรัพย์ ๗ ประการ (๑)
ภิกษุทั้งหลาย ทรัพย์ ๗ ประการเหล่านี้ ๗ ประการอะไรบ้าง คือ
๑) ทรัพย์ คือ ศรัทธา
๒) ทรัพย์ คือ ศีล
๓) ทรัพย์ คือ หิริ
๔ ทรัพย์ คือ โอตตัปปะ
๕) ทรัพย์ คือ สุตะ
๖) ทรัพย์ คือ จาคะ
๗) ทรัพย์ คือ ปัญญา
ภิกษุทั้งหลาย ก็ทรัพย์ คือ ศรัทธา เป็นอย่างไร ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในกรณีนี้ เป็นผู้มีศรัทธา คือ เชื่อปัญญาตรัสรู้ของตถาคตว่า แม้เพราะเหตุอย่างนี้ๆ พระผู้มีพระภาคนั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ทรงถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม นี้เรียกว่า ทรัพย์ คือ ศรัทธา.
ภิกษุทั้งหลาย ก็ทรัพย์ คือ ศีล เป็นอย่างไร ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในกรณีนี้ เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม เว้นขาดจากการพูดเท็จ เว้นขาดจากการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท นี้เรียกว่า ทรัพย์ คือ ศีล.
ภิกษุทั้งหลาย ก็ทรัพย์ คือ หิริ เป็นอย่างไร ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในกรณีนี้ เป็นผู้มีความละอาย คือ ละอายต่อกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ละอายต่อการถูกต้องอกุศลธรรมอันเป็นบาป นี้เรียกว่า ทรัพย์ คือ หิริ.
ภิกษุทั้งหลาย ก็ทรัพย์ คือ โอตตัปปะ เป็นอย่างไร ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในกรณีนี้ เป็นผู้มีความสะดุ้งกลัว คือ สะดุ้งกลัวต่อกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต สะดุ้งกลัวต่อการถูกต้องอกุศลธรรมอันเป็นบาป นี้เรียกว่า ทรัพย์ คือ โอตตัปปะ.
ภิกษุทั้งหลาย ก็ทรัพย์ คือ สุตะ เป็นอย่างไร ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในกรณีนี้ เป็นพหูสูต ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ เป็นผู้ได้ฟังมามาก ทรงจำไว้ได้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฏฐิซึ่งธรรมทั้งหลาย อันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง นี้เรียกว่า ทรัพย์ คือ สุตะ.
ภิกษุทั้งหลาย ก็ทรัพย์ คือ จาคะ เป็นอย่างไร ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในกรณีนี้ เป็นผู้มีใจอันปราศจากมลทิน คือ ความตระหนี่ อยู่ครองเรือน มีการบริจาคอันปล่อยแล้ว มีฝ่ามืออันชุ่ม ยินดีในการสละ เป็นควรแก่การขอ ยินดีในการให้และการแบ่งปัน นี้เรียกว่า ทรัพย์ คือ จาคะ.
ภิกษุทั้งหลาย ก็ทรัพย์ คือ ปัญญา เป็นอย่างไร ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในกรณีนี้ เป็นผู้มีปัญญา คือ ประกอบด้วยปัญญาที่รู้ถึงความเกิดขึ้นและความดับไป อันเป็นอริยะ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ นี้เรียกว่า ทรัพย์ คือ ปัญญา
ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้แล ทรัพย์ ๗ ประการ.
ทรัพย์ คือ ศรัทธา ศีล หิริ โอตตัปปะ สุตะ จาคะ และปัญญาเป็นที่ ๗
ทรัพย์เหล่านี้มีแก่ผู้ใด จะเป็นหญิงหรือชายก็ตาม
บัณฑิตเรียกผู้นั้นว่า เป็นผู้ไม่ยากจน ชีวิตของผู้นั้นไม่เปล่าประโยชน์
เพราะฉะนั้น ท่านผู้มีปัญญา เมื่อระลึกถึงคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
พึงประกอบศรัทธา ศีล ความเลื่อมใส และการเห็นธรรม.
-บาลี สตฺตก. อํ. 23/5/6.
https://84000.org/tipitaka/pali/?23//5
https://etipitaka.com/read/pali/23/5/
English translation by Bhikkhu Sujato
“Mendicants, there are these seven kinds of wealth. What seven? The wealth of faith, ethical conduct, conscience, prudence, learning, generosity, and wisdom.
And what is the wealth of faith? It’s when a noble disciple has faith in the Realized One’s awakening … This is called the wealth of faith.
And what is the wealth of ethical conduct? It’s when a noble disciple doesn’t kill living creatures, steal, commit sexual misconduct, use speech that’s false, divisive, harsh, or nonsensical, or consume alcoholic drinks that cause negligence. This is called the wealth of ethical conduct.
And what is the wealth of conscience? It’s when a noble disciple has a conscience. They’re conscientious about bad conduct by way of body, speech, and mind, and conscientious about having any bad, unskillful qualities. This is called the wealth of conscience.
And what is the wealth of prudence? It’s when a noble disciple is prudent. They’re prudent when it comes to bad conduct by way of body, speech, and mind, and prudent when it comes to the acquiring of any bad, unskillful qualities. This is called the wealth of prudence.
And what is the wealth of learning? It’s when a noble disciple is very learned, remembering and keeping what they’ve learned. These teachings are good in the beginning, good in the middle, and good in the end, meaningful and well-phrased, describing a spiritual practice that’s entirely full and pure. They are very learned in such teachings, remembering them, reciting them, mentally scrutinizing them, and comprehending them theoretically. This is called the wealth of learning.
And what is the wealth of generosity? It’s when a noble disciple lives at home rid of the stain of stinginess, freely generous, open-handed, loving to let go, committed to charity, loving to give and to share. This is called the wealth of generosity.
And what is the wealth of wisdom? It’s when a noble disciple is wise. They have the wisdom of arising and passing away which is noble, penetrative, and leads to the complete ending of suffering. This is called the wealth of wisdom.
These are the seven kinds of wealth.
Faith and ethical conduct are kinds of wealth,
as are conscience and prudence,
learning and generosity,
and wisdom is the seventh kind of wealth.When a woman or man
has these kinds of wealth,
they’re said to be prosperous,
their life is not in vain.So let the wise devote themselves
to faith, ethical behavior,
confidence, and insight into the teaching,
remembering the instructions of the Buddhas.”