บุคคลควรให้ทานในที่ใด
เรื่องเกิดที่พระนครสาวัตถี … พระเจ้าปเสนทิโกศลประทับนั่งในที่สมควรแล้วได้ทูลพระผู้มีพระภาคว่า
ภันเต บุคคลควรให้ทานในที่ไหนหนอ.
มหาราช จิตย่อมเลื่อมใสในที่ใด พึงให้ในที่นั้น.
ภันเต ทานที่ให้แล้วในที่ไหนจึงมีผลมาก.
มหาราช ควรให้ทานในที่ไหน นั่นเป็นประการหนึ่ง และทานที่ให้แล้วในที่ไหนจึงมีผลมาก นั่นเป็นอีกประการหนึ่ง มหาราช ทานที่ให้แล้วแก่ผู้มีศีลมีผลมาก ทานที่ให้แล้วในผู้ทุศีลไม่มีผลมาก มหาราช ด้วยเหตุนั้น เราจักสอบถามท่านในปัญหาข้อนั้นบ้าง ท่านเห็นควรอย่างไร ท่านพึงตอบอย่างนั้น.
มหาราช ท่านจะสำคัญความข้อนั้นว่าอย่างไร ในกรณีนี้ การยุทธพึงปรากฏเฉพาะหน้า มีสงครามรบประชิดกัน ถ้ามีกุมารที่เป็นกษัตริย์ เป็นผู้ไม่มีการศึกษา ไม่ได้ฝึกฝีมือ ไม่มีความชำนาญ ไม่เคยประลองการยิงธนู เป็นคนขลาด เป็นคนหวั่นไหว เป็นคนสะดุ้งกลัว เป็นคนชอบวิ่งหนี พึงมาอาสา ท่านจะชุบเลี้ยงบุรุษนั้นหรือ และท่านต้องการบุรุษเช่นนั้นหรือ.
ภันเต ข้าพระองค์จะไม่ชุบเลี้ยงบุรุษเช่นนั้น และข้าพระองค์ก็ไม่ต้องการบุรุษเช่นนั้น.
มหาราช ถ้ามีกุมารที่เป็นพราหมณ์ เป็นผู้ไม่ได้มีการศึกษา … ถ้ามีกุมารที่เป็นแพศย์ เป็นผู้ไม่ได้มีการศึกษา … ถ้ามีกุมารที่เป็นศูทร เป็นผู้ไม่ได้มีการศึกษา ไม่ได้ฝึกฝีมือ ไม่มีความชำนาญ ไม่เคยประลองการยิงธนู เป็นคนขลาด เป็นคนหวั่นไหว เป็นคนสะดุ้งกลัว เป็นคนชอบวิ่งหนี พึงมาอาสา ท่านจะชุบเลี้ยงบุรุษนั้นหรือ และท่านต้องการบุรุษเช่นนั้นหรือ.
ภันเต ข้าพระองค์จะไม่ชุบเลี้ยงบุรุษนั้น และข้าพระองค์ก็ไม่ต้องการบุรุษเช่นนั้น.
มหาราช ท่านจะสำคัญความข้อนั้นว่าอย่างไร ในกรณีนี้ การยุทธพึงปรากฏเฉพาะหน้า มีสงครามรบประชิดกัน ถ้ามีกุมารที่เป็นกษัตริย์ เป็นผู้ได้ศึกษาดีแล้ว ได้ฝึกฝีมือแล้ว ได้รับความชำนาญแล้ว ได้เคยประลองการยิงธนูมาแล้ว ไม่เป็นคนขลาด ไม่เป็นคนหวั่นไหว ไม่เป็นคนสะดุ้งกลัว ไม่เป็นคนชอบวิ่งหนี พึงมาอาสา ท่านจะชุบเลี้ยงบุรุษนั้นหรือ และท่านต้องการบุรุษเช่นนั้นหรือ.
ภันเต ข้าพระองค์จะชุบเลี้ยงบุรุษนั้น และข้าพระองค์ก็ต้องการบุรุษเช่นนั้น.
มหาราช ถ้ามีกุมารที่เป็นพราหมณ์ เป็นผู้ได้ศึกษาดีแล้ว … ถ้ามีกุมารที่เป็นแพศย์ เป็นผู้ได้ศึกษาดีแล้ว … ถ้ามีกุมารที่เป็นศูทร เป็นผู้ได้ศึกษาดีแล้ว ได้ฝึกฝีมือแล้ว ได้รับความชำนาญแล้ว ได้เคยประลองการยิงธนูมาแล้ว ไม่เป็นคนขลาด ไม่เป็นคนหวั่นไหว ไม่เป็นคนสะดุ้งกลัว ไม่เป็นคนชอบวิ่งหนี พึงมาอาสา ท่านจะชุบเลี้ยงบุรุษนั้นหรือ และท่านต้องการบุรุษเช่นนั้นหรือ.
ภันเต ข้าพระองค์จะชุบเลี้ยงบุรุษนั้น และข้าพระองค์ก็ต้องการบุรุษเช่นนั้น.
มหาราช ฉันใดก็ฉันนั้น หากแม้ว่า กุลบุตรจากตระกูลใดๆ เป็นผู้ออกจากเรือน บวชเป็นบรรพชิต และกุลบุตรนั้น เป็นผู้ละองค์ ๕ ได้ขาด และเป็นผู้ประกอบพร้อมด้วยองค์ ๕ ทานที่ให้แล้วในกุลบุตรนั้น ย่อมมีผลมาก องค์ ๕ ประการ อันกุลบุตรนั้นละได้แล้วเป็นอย่างไร คือ
๑) กามฉันทะ อันกุลบุตรนั้นละได้ขาดแล้ว
๒) พยาบาท อันกุลบุตรนั้นละได้ขาดแล้ว
๓) ถีนมิทธะ อันกุลบุตรนั้นละได้ขาดแล้ว
๔) อุทธัจจกุกกุจจะ อันกุลบุตรนั้นละได้ขาดแล้ว
๕) วิจิกิจฉา อันกุลบุตรนั้นละได้ขาดแล้ว
เหล่านี้แล องค์ ๕ ประการ อันกุลบุตรนั้นละได้ขาดแล้ว.
กุลบุตรนั้น เป็นผู้ประกอบพร้อมด้วยองค์ ๕ เป็นอย่างไร คือ
๑) เป็นผู้ประกอบพร้อมด้วย สีลขันธ์ (กองศีล) อันเป็นของพระอเสขะ
๒) เป็นผู้ประกอบพร้อมด้วย สมาธิขันธ์ (กองสมาธิ) อันเป็นของพระอเสขะ
๓) เป็นผู้ประกอบพร้อมด้วย ปัญญาขันธ์ (กองปัญญา) อันเป็นของพระอเสขะ
๔) เป็นผู้ประกอบพร้อมด้วย วิมุตติขันธ์ (กองวิมุตติ) อันเป็นของพระอเสขะ
๕) เป็นผู้ประกอบพร้อมด้วย วิมุตติญาณทัสสนขันธ์ (กองวิมุตติญาณทัสสะ) อันเป็นของพระอเสขะ
เหล่านี้แล องค์ ๕ ประการ อันกุลบุตรนั้นเป็นผู้ประกอบพร้อมแล้ว.
ทานที่ให้แล้วในกุลบุตร ผู้ละองค์ ๕ ได้ขาด และเป็นผู้ประกอบพร้อมแล้วด้วยองค์ ๕ ดังนี้ ย่อมมีผลมาก.
ศิลปะการยิงธนู กำลังที่เข้มแข็ง และความกล้าหาญ มีอยู่ในชายหนุ่มผู้ใด พระราชาผู้ประสงค์การยุทธ พึงทรงชุบเลี้ยงชายหนุ่มเช่นนั้น ไม่พึงชุบเลี้ยง
ชายหนุ่มผู้ไม่กล้าหาญ เพราะเหตุแห่งชาติตระกูล ฉันใด.
ธรรมะ คือ ขันติและโสรัจจะ ตั้งอยู่แล้วในบุคคลใด บุคคลพึงบูชาบุคคลนั้น
ผู้มีปัญญา มีความประพฤติดังพระอริยะ แม้มีชาติตระกูลต่ำ ฉันนั้นเหมือนกัน.
พึงสร้างที่พักอาศัย อันเป็นที่รื่นรมย์ ไว้ให้ผู้พหูสูตทั้งหลาย พำนักอยู่ในที่นั้น
พึงสร้างบ่อน้ำไว้ในป่าที่กันดารน้ำ และสร้างสะพานในที่เป็นหล่ม.
พึงถวายข้าว น้ำ ของเคี้ยว ผ้า และเสนาสนะ ในท่านผู้ซื่อตรงทั้งหลาย
ด้วยใจอันผ่องใส
เมฆมีสายฟ้าแลบแปลบปลาบ มีประกายนับร้อย ส่งเสียงคำรามอยู่
ให้ฝนตกรดแผ่นดิน ทำให้ที่ดอนและที่ลุ่มมีน้ำเต็ม แม้ฉันใด.
ทายกผู้มีศรัทธา เป็นบัณฑิต ได้ฟังแล้ว ย่อมจัดหาโภชนาหารมาเลี้ยงวณิพก ด้วยข้าวน้ำให้อิ่มหนำสำราญใจ.
เขามีจิตใจแช่มชื่น เที่ยวไปในโรงทาน ร้องสั่งว่าท่านทั้งหลายจงให้
ท่านทั้งหลายจงให้ ดังนี้ และทายกนั้นบันลือเสียง เปรียบเหมือนเสียงกระหึ่ม
แห่งเมฆเมื่อฝนกำลังตก ฉะนั้น ธารแห่งบุญอันไพบูลย์นั้น ย่อมยังทายกผู้ให้
ให้ชุ่มฉ่ำใจ.
-บาลี สคาถ. สํ. 15/143/404.
https://84000.org/tipitaka/pali/?15//143
https://etipitaka.com/read/pali/15/143/
English translation by Bhikkhu Sujato
At Sāvatthī.
Seated to one side, King Pasenadi said to the Buddha, “Sir, where should a gift be given?”
“Wherever your heart feels inspired, great king.”
“But sir, where is a gift very fruitful?”
“Where a gift should be given is one thing, great king, but where a gift is very fruitful is another. A gift is very fruitful when it’s given to an ethical person, not so much to an unethical person. Well then, great king, I’ll ask you about this in return, and you can answer as you like.
What do you think, great king? Suppose you were at war, ready to fight a battle. Then along comes an aristocrat youth who is untrained, inexpert, unfit, inexperienced. And he’s fearful, scared, nervous, quick to flee. Would you employ such a man? Would he be of any use to you?”
“No, sir, I would have no use for such a man.”
“What about a brahmin youth, a merchant youth, or a worker youth who was similar?”
“No, sir, I would have no use for such a man.”
“What do you think, great king? Suppose you were at war, ready to fight a battle. Then along comes an aristocrat youth who is trained, expert, fit, experienced. And he’s fearless, brave, bold, standing his ground. Would you employ such a man? Would he be of any use to you?”
“Yes, sir, I would have a use for such a man.”
“What about a brahmin youth, a merchant youth, or a worker youth who was similar? Would you employ such a man? Would he be of any use to you?”
“Yes, sir, I would have a use for such a man.”
“In the same way, a gift to anyone who has given up five factors and possesses five factors is very fruitful, no matter what family they’ve gone forth from.
What are the five factors they’ve given up? Sensual desire, ill will, dullness and drowsiness, restlessness and remorse, and doubt. These are the five factors they’ve given up.
What are the five factors they possess? The entire spectrum of an adept’s ethics, immersion, wisdom, freedom, and knowledge and vision of freedom. These are the five factors they possess.
I say that a gift to anyone who has given up these five factors and possesses these five factors is very fruitful.”
That is what the Buddha said. Then the Holy One, the Teacher, went on to say:
“Any youth skilled at archery,
powerful and vigorous,
would be employed by a king going to war—
one is not a coward because of one’s birth.
Just so, whoever is settled
in the qualities of patience and gentleness,
a clever person with noble conduct,
should be venerated even if they’re low born.
You should build lovely hermitages
and settle learned people in them.
You should set up water supplies in barren regions
and passages in places hard to travel.
Food, drink, edibles,
clothes, and lodgings
should be given to the upright ones,
with a clear and confident heart.
The thundering rain cloud,
its hundred peaks wreathed in lightning,
pours down over the rich earth,
soaking the uplands and valleys.
So too an astute person,
faithful and learned,
should prepare a meal to satisfy
renunciates with food and drink.
Rejoicing, they strew gifts about,
crying ‘Give! give!’
For that is their thunder,
like the gods when it rains.
That stream of merit so abundant
showers down on the giver.”