ความพยายามที่มีผล ความเพียรที่มีผล
… ภิกษุทั้งหลาย ความพยายามที่มีผล ความเพียรที่มีผล เป็นอย่างไร คือ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในกรณีนี้ ไม่เอาทุกข์ทับถมตนที่ไม่มีทุกข์ทับถม ไม่สละความสุขที่เกิดโดยธรรม ไม่เป็นผู้หมกมุ่นในความสุขนั้น เธอย่อมทราบชัดอย่างนี้ว่า ถึงเรานี้จักยังมีเหตุแห่งทุกข์ เมื่อเริ่มตั้งความเพียร ย่อมมีวิราคะ (ความคลายกำหนัด) เพราะการตั้งความเพียรนั้น อนึ่ง ถึงเรานี้จะยังมีเหตุแห่งทุกข์ เมื่อวางเฉย คือ บำเพ็ญอุเบกขาอยู่ ก็ย่อมมีวิราคะ เธอนั้นจึงเริ่มตั้งความเพียร อย่างที่ภิกษุผู้ยังมีเหตุแห่งทุกข์ เมื่อเริ่มตั้งความเพียร ย่อมมีวิราคะเพราะการเริ่มตั้งความเพียรนั้น อนึ่ง เธอนั้นบำเพ็ญอุเบกขา อย่างที่ภิกษุผู้ยังมีเหตุแห่งทุกข์ เมื่อวางเฉย คือ บำเพ็ญอุเบกขาอยู่ ก็ย่อมมีวิราคะ เมื่อเธอนั้นผู้ยังมีเหตุแห่งทุกข์เริ่มตั้งความเพียร ย่อมมีวิราคะเพราะการตั้งความเพียรนั้น แม้อย่างนี้ ทุกข์นั้นก็เป็นอันเธอสลัดได้แล้ว อนึ่ง เมื่อเธอนั้นผู้ยังมีเหตุแห่งทุกข์ เมื่อวางเฉย คือ บำเพ็ญอุเบกขาอยู่ ก็ย่อมมีวิราคะ แม้อย่างนี้ ทุกข์นั้นก็เป็นอันภิกษุนั้นสลัดได้แล้ว.
ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนชายผู้กำหนัด มีจิตปฏิพัทธ์พอใจอย่างแรงกล้า มุ่งหมายอย่างแรงกล้าในหญิงคนหนึ่ง เขาเห็นหญิงคนนั้นยืนพูดจากระซิกกระซี้ร่าเริงอยู่กับชายอื่น ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นว่าอย่างไร ความเศร้าโศก ความรำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ และความคับแค้นใจ จะพึงเกิดขึ้นแก่ชายคนนั้น เพราะได้เห็นหญิงคนนั้น ยืนพูดจากระซิกกระซี้ร่าเริงอยู่กับชายอื่นบ้างหรือไม่.
ต้องเป็นเช่นนั้น ภันเต.
ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร.
ภันเต เพราะชายคนนั้นกำหนัดนักแล้ว มีจิตปฏิพัทธ์พอใจอย่างแรงกล้า มุ่งหมายอย่างแรงกล้าในหญิงคนนั้น ดังนั้น ความเศร้าโศก ความรำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ และความคับแค้นใจ จึงเกิดขึ้นแก่เขาได้ เพราะได้เห็นหญิงคนนั้น ยืนพูดจากระซิกกระซี้ร่าเริงอยู่กับชายอื่น.
ภิกษุทั้งหลาย ต่อมาชายคนนั้นมีความคิดอย่างนี้ว่า เรากำหนัดนักแล้ว มีจิตปฏิพัทธ์ พอใจอย่างแรงกล้า มุ่งหมายอย่างแรงกล้าในหญิงคนนั้น ความเศร้าโศก ความรำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ และความคับแค้นใจ จึงเกิดขึ้นแก่เราได้ เพราะเห็นหญิงคนนั้น ยืนพูดจากระซิกกระซี้ร่าเริงอยู่กับชายอื่น ถ้าอย่างไร เราพึงละความกำหนัดพอใจในหญิงคนนั้นที่เรามีเสียเถิด เขาจึงละความกำหนัดพอใจในหญิงคนนั้นเสีย สมัยต่อมาเขาได้เห็นหญิงคนนั้น ยืนพูดจากระซิกกระซี้ร่าเริงอยู่กับชายอื่น ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นว่าอย่างไร ความเศร้าโศก ความรำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ และความคับแค้นใจ จะพึงเกิดขึ้นแก่ชายนั้น เพราะได้เห็นหญิงคนนั้น ยืนพูดจากระซิกกระซี้ร่าเริงอยู่กับชายอื่นบ้างหรือไม่.
ไม่เป็นอย่างนั้น ภันเต.
ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร.
ภันเต เพราะชายคนนั้น คลายกำหนัดในหญิงคนนั้นแล้ว ดังนั้น ความเศร้าโศก ความรำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ และความคับแค้นใจ จึงไม่เกิดขึ้นแก่เขา เพราะการได้เห็นหญิงคนนั้น ยืนพูดกระซิกกระซี้ร่าเริงอยู่กับชายอื่น.
ภิกษุทั้งหลาย ฉันใดก็ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุไม่เอาทุกข์ทับถมตนที่ไม่มีทุกข์ทับถม ไม่สละความสุขที่เกิดโดยธรรม ไม่เป็นผู้หมกมุ่นในความสุขนั้น เธอย่อมทราบชัดอย่างนี้ว่า ถึงเรานี้จักยังมีเหตุแห่งทุกข์ เมื่อเริ่มตั้งความเพียร ย่อมมีวิราคะ (ความคลายกำหนัด) เพราะการตั้งความเพียรนั้น อนึ่ง ถึงเรานี้จะยังมีเหตุแห่งทุกข์ เมื่อวางเฉย คือ บำเพ็ญอุเบกขาอยู่ ก็ย่อมมีวิราคะ เธอนั้นจึงเริ่มตั้งความเพียร อย่างที่ภิกษุผู้ยังมีเหตุแห่งทุกข์ เมื่อเริ่มตั้งความเพียร ย่อมมีวิราคะเพราะการเริ่มตั้งความเพียรนั้น อนึ่ง เธอนั้นบำเพ็ญอุเบกขา อย่างที่ภิกษุผู้ยังมีเหตุแห่งทุกข์ เมื่อวางเฉย คือ บำเพ็ญอุเบกขาอยู่ ก็ย่อมมีวิราคะ เมื่อเธอนั้นผู้ยังมีเหตุแห่งทุกข์เริ่มตั้งความเพียร ย่อมมีวิราคะเพราะการตั้งความเพียรนั้น แม้อย่างนี้ ทุกข์นั้นก็เป็นอันเธอสลัดได้แล้ว อนึ่ง เมื่อเธอนั้นผู้ยังมีเหตุแห่งทุกข์ เมื่อวางเฉย คือ บำเพ็ญอุเบกขาอยู่ ก็ย่อมมีวิราคะ แม้อย่างนี้ ทุกข์นั้นก็เป็นอันภิกษุนั้นสลัดได้แล้ว ภิกษุทั้งหลาย ความพยายามที่มีผล ความเพียรที่มีผล เป็นอย่างนี้แล.
ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เมื่อเราอยู่ตามสบาย อกุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง กุศลธรรมย่อมเสื่อมไป แต่เมื่อเราเริ่มตั้งตนไว้ในความลำบาก อกุศลธรรมย่อมเสื่อมไป กุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง ถ้าอย่างไร เราพึงเริ่มตั้งตนไว้ในความลำบากเถิด เธอจึงเริ่มตั้งตนไว้ในความลำบาก เมื่อเธอเริ่มตั้งตนไว้ในความลำบากอยู่ อกุศลธรรมย่อมเสื่อมไป กุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง สมัยต่อมา เธอก็ไม่ต้องเริ่มตั้งตนไว้ในความลำบากอีก ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร ภิกษุทั้งหลาย เพราะภิกษุนั้นเริ่มตั้งตนไว้ในความลำบากเพื่อประโยชน์ใด ประโยชน์นั้นของเธอเป็นอันสำเร็จแล้ว ดังนั้น สมัยต่อมา เธอจึงไม่ต้องเริ่มตั้งตนไว้ในความลำบากอีก ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนช่างศร ย่างลนลูกศรบนข่าไฟ ๒ อัน เพื่อดัดให้ตรงจนใช้การได้ เพราะเหตุที่ลูกศรเป็นของอันช่างศรย่างลนบนข่าไฟ ๒ อัน เพื่อดัดให้ตรงจนใช้การได้แล้ว สมัยต่อมา ช่างศรนั้นก็ไม่ต้องย่างลนลูกศรนั้นบนข่าไฟ ๒ อัน เพื่อดัดให้ตรงอีก ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร ภิกษุทั้งหลาย เพราะช่างศรนั้นพึงย่างลนลูกศรบนข่าไฟ ๒ อัน เพื่อประโยชน์ใด ประโยชน์นั้นของเขาเป็นอันสำเร็จแล้ว ดังนั้น สมัยต่อมา ช่างศรจึงไม่ต้องย่างลนลูกศรบนข่าไฟ ๒ อัน เพื่อดัดให้ตรงอีก.
ภิกษุทั้งหลาย ฉันใดก็ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เมื่อเราอยู่ตามสบาย อกุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง กุศลธรรมย่อมเสื่อมไป แต่เมื่อเราเริ่มตั้งตนไว้ในความลำบาก อกุศลธรรมย่อมเสื่อมไป กุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง ถ้าอย่างไร เราพึงเริ่มตั้งตนไว้ในความลำบากเถิด เธอจึงเริ่มตั้งตนไว้ในความลำบาก เมื่อเธอเริ่มตั้งตนไว้ในความลำบากอยู่ อกุศลธรรมย่อมเสื่อมไป กุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง สมัยต่อมา เธอไม่ต้องเริ่มตั้งตนไว้ในความลำบากอีก ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร ภิกษุทั้งหลาย เพราะภิกษุนั้นเริ่มตั้งตนไว้ในความลำบาก เพื่อประโยชน์ใด ประโยชน์นั้นของเธอเป็นอันสำเร็จแล้ว ดังนั้น สมัยต่อมา เธอจึงไม่ต้องเริ่มตั้งตนไว้ในความลำบากอีก ภิกษุทั้งหลาย ความพยายามที่มีผล ความเพียรที่มีผล เป็นอย่างนี้แล. …
-บาลี อุปริ. ม. 14/13/12.
https://84000.org/tipitaka/pali/?14//13
https://etipitaka.com/read/pali/14/13
English translation by Bhikkhu Sujato
… And how is exertion and striving fruitful? It’s when a mendicant doesn’t bring suffering upon themselves; and they don’t give up legitimate pleasure, but they’re not besotted with that pleasure. They understand: ‘When I actively strive I become dispassionate towards this source of suffering. But when I develop equanimity I become dispassionate towards this other source of suffering.’ So they either actively strive or develop equanimity as appropriate. Through active striving they become dispassionate towards that specific source of suffering, and so that suffering is worn away. Through developing equanimity they become dispassionate towards that other source of suffering, and so that suffering is worn away.
Suppose a man is in love with a woman, full of intense desire and lust. Then he sees her standing together with another man, chatting, giggling, and laughing.
What do you think, mendicants? Would that give rise to sorrow, lamentation, pain, sadness, and distress for him?”
“Yes, sir. Why is that? Because that man is in love that woman, full of intense desire and lust.”
“Then that man might think: ‘I’m in love with that woman, full of intense desire and lust. When I saw her standing together with another man, chatting, giggling, and laughing, it gave rise to sorrow, lamentation, pain, sadness, and distress for me. Why don’t I give up that desire and lust for that woman?’ So that’s what he did. Some time later he sees her again standing together with another man, chatting, giggling, and laughing.
What do you think, mendicants? Would that give rise to sorrow, lamentation, pain, sadness, and distress for him?”
“No, sir. Why is that? Because he no longer desires that woman.”
“In the same way, a mendicant doesn’t bring suffering upon themselves; and they don’t give up legitimate pleasure, but they’re not besotted with that pleasure. They understand: ‘When I actively strive I become dispassionate towards this source of suffering. But when I develop equanimity I become dispassionate towards this other source of suffering.’ So they either actively strive or develop equanimity as appropriate. Through active striving they become dispassionate towards that specific source of suffering, and so that suffering is worn away. Through developing equanimity they become dispassionate towards that other source of suffering, and so that suffering is worn away. That’s how exertion and striving is fruitful.
Furthermore, a mendicant reflects: ‘When I live as I please, unskillful qualities grow and skillful qualities decline. But when I strive painfully, unskillful qualities decline and skillful qualities grow. Why don’t I strive painfully?’ So that’s what they do, and as they do so unskillful qualities decline and skillful qualities grow. After some time, they no longer strive painfully. Why is that? Because they have accomplished the goal for which they strived painfully.
Suppose an arrowsmith was heating an arrow shaft between two firebrands, making it straight and fit for use. After it’s been made straight and fit for use, they’d no longer heat it to make it straight and fit for use. Why is that? Because they have accomplished the goal for which they heated it.
In the same way, a mendicant reflects: ‘When I live as I please, unskillful qualities grow and skillful qualities decline. But when I strive painfully, unskillful qualities decline and skillful qualities grow. Why don’t I strive painfully?’ … After some time, they no longer strive painfully. That too is how exertion and striving is fruitful. …
English translation by Bhikkhu Ṭhānissaro
…
“And how is striving fruitful, how is exertion fruitful? There is the case where a monk, when not loaded down, does not load himself down with pain, nor does he reject pleasure that accords with the Dhamma, although he is not infatuated on that pleasure. He discerns that ‘When I exert a [physical, verbal, or mental] fabrication against this cause of stress, then from the fabrication of exertion there is dispassion. When I look on with equanimity at that cause of stress, then from the development of equanimity there is dispassion.’ So he exerts a fabrication against the cause of stress for which dispassion comes from the fabrication of exertion, and develops equanimity with regard to the cause of stress for which dispassion comes from the development of equanimity. Thus the stress coming from the cause of stress where there is dispassion from the fabrication of exertion is exhausted, and the stress coming from the cause of stress where there is dispassion from the development of equanimity is exhausted.
“Suppose that a man is in love with a woman, his mind ensnared with fierce desire, fierce passion. He sees her standing with another man, chatting, joking, & laughing. What do you think, monks? As he sees her standing with another man, chatting, joking, & laughing, would sorrow, lamentation, pain, distress, & despair arise in him?”
“Yes, lord. Why is that? Because he is in love with her, his mind ensnared with fierce desire, fierce passion.…”
“Now suppose the thought were to occur to him, ‘I am in love with this woman, my mind ensnared with fierce desire, fierce passion. When I see her standing with another man, chatting, joking, & laughing, then sorrow, lamentation, pain, distress, & despair arise within me. Why don’t I abandon my desire & passion for that woman?’ So he abandons his desire & passion for that woman, and afterwards sees her standing with another man, chatting, joking, & laughing. What do you think, monks? As he sees her standing with another man, chatting, joking, & laughing, would sorrow, lamentation, pain, distress, & despair arise in him?”
“No, lord. Why is that? He is dispassionate toward that woman.…”
“In the same way, the monk, when not loaded down, does not load himself down with pain, nor does he reject pleasure that accords with the Dhamma, although he is not infatuated with that pleasure. He discerns that ‘When I exert a [physical, verbal, or mental] fabrication against this cause of stress, then from the fabrication of exertion there is dispassion. When I look on with equanimity at that cause of stress, then from the development of equanimity there is dispassion.’ So he exerts a fabrication against the cause of stress for which dispassion comes from the fabrication of exertion, and develops equanimity with regard to the cause of stress for which dispassion comes from the development of equanimity. Thus the stress coming from the cause of stress where there is dispassion from the fabrication of exertion is exhausted, and the stress coming from the cause of stress where there is dispassion from the development of equanimity is exhausted.
“And further, the monk notices this: ‘When I live according to my pleasure, unskillful qualities increase in me & skillful qualities decline. When I exert myself with stress & pain, though, unskillful qualities decline in me & skillful qualities increase. Why don’t I exert myself with stress & pain?’ So he exerts himself with stress & pain, and while he is exerting himself with stress & pain, unskillful qualities decline in him, & skillful qualities increase. Then at a later time he would no longer exert himself with stress & pain. Why is that? Because he has attained the goal for which he was exerting himself with stress & pain. That is why, at a later time, he would no longer exert himself with stress & pain.
“Suppose a fletcher were to heat & warm an arrow shaft between two flames, making it straight & pliable. Then at a later time he would no longer heat & warm the shaft between two flames, making it straight & pliable. Why is that? Because he has attained the goal for which he was heating & warming the shaft. That is why at a later time he would no longer heat & warm the shaft between two flames, making it straight & pliable.
“In the same way, the monk notices this: ‘When I live according to my pleasure, unskillful qualities increase in me & skillful qualities decline. When I exert myself with stress & pain, though, unskillful qualities decline in me & skillful qualities increase. Why don’t I exert myself with stress & pain?’ So he exerts himself with stress & pain, and while he is exerting himself with stress & pain, unskillful qualities decline in him, & skillful qualities increase. Then at a later time he would no longer exert himself with stress & pain. Why is that? Because he has attained the goal for which he was exerting himself with stress & pain. That is why, at a later time, he would no longer exert himself with stress & pain.
“This is how striving is fruitful, how exertion is fruitful. …