วิธีระงับความอาฆาต
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการเหล่านี้ เป็นไปเพื่อระงับความอาฆาตซึ่งเกิดขึ้นแก่ภิกษุโดยประการทั้งปวง ๕ ประการอะไรบ้าง คือ
๑) ความอาฆาตบังเกิดขึ้นในบุคคลใด พึงเจริญเมตตาในบุคคลนั้น
๒) ความอาฆาตบังเกิดขึ้นในบุคคลใด พึงเจริญกรุณาในบุคคลนั้น
๓) ความอาฆาตบังเกิดขึ้นในบุคคลใด พึงเจริญอุเบกขาในบุคคลนั้น
๔) ความอาฆาตบังเกิดขึ้นในบุคคลใด พึงถึงการไม่นึก ไม่ใส่ใจในบุคคลนั้น
๕) ความอาฆาตบังเกิดขึ้นในบุคคลใด พึงนึกถึงความเป็นผู้มีกรรมเป็นของๆ ตนให้มั่นในบุคคลนั้นว่า ท่านผู้นี้เป็นผู้มีกรรมเป็นของๆ ตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่อาศัย เขาทำกรรมใดไว้ ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม จักเป็นทายาท (ผู้รับผล) ของกรรมนั้น ดังนี้.
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการเหล่านี้แล เป็นไปเพื่อระงับความอาฆาตซึ่งเกิดขึ้นแก่ภิกษุโดยประการทั้งปวง ภิกษุพึงระงับความอาฆาตในบุคคลนั้นด้วยอาการอย่างนี้.
-บาลี ฉกฺก. อํ. 22/207/161.
https://84000.org/tipitaka/pali/?22//207
English translation by Bhikkhu Sujato
“Mendicants, a mendicant should use these five methods to completely get rid of resentment when it has arisen toward anyone. What five?
You should develop love for a person you resent. That’s how to get rid of resentment for that person.
You should develop compassion for a person you resent. …
You should develop equanimity for a person you resent. …
You should disregard a person you resent, paying no attention to them. …
You should apply the concept that we are the owners of our deeds to that person: ‘This venerable is the owner of their deeds and heir to their deeds. Deeds are their womb, their relative, and their refuge. They shall be the heir of whatever deeds they do, whether good or bad.’ That’s how to get rid of resentment for that person.
A mendicant should use these five methods to completely get rid of resentment when it has arisen toward anyone.”