กรรม ๔ ประการ (๓)
ครั้งนั้น พราหมณ์ชื่อสิขาโมคคัลลานะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้วจึงนั่ง ณ ที่สมควร ครั้นแล้วได้ทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ หลายวันมาแล้ว โสณกายนมาณพไปหาข้าพระองค์ ครั้นแล้วได้กล่าวว่า พระสมณโคดมย่อมทรงบัญญัติกรรมทั้งปวงว่าเป็นอกิริยะ (การกระทำทุกอย่างไม่มีผล) ก็เมื่อบัญญัติกรรมทั้งปวงว่าเป็นอกิริยะ (การกระทำทุกอย่างไม่มีผล) ชื่อว่ากล่าวความขาดสูญแห่งโลก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ โลกนี้มีกรรมเป็นสภาพ ดำรงอยู่ด้วยการก่อกรรมมิใช่หรือ.
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า พราหมณ์ เราไม่รู้สึกว่าได้เห็นโสณกายนมาณพเลย ที่ไหนจะได้ปราศรัยเห็นปานนี้กันเล่า พราหมณ์ กรรม ๔ ประการเหล่านี้ เรากระทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว ประกาศให้ทราบ กรรม ๔ ประการอะไรบ้าง คือ
๑) กรรมดำมีวิบากดำก็มี
๒) กรรมขาวมีวิบากขาวก็มี
๓) กรรมทั้งดำทั้งขาวมีวิบากทั้งดำทั้งขาวก็มี
๔) กรรมไม่ดำไม่ขาวมีวิบากไม่ดำไม่ขาว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นกรรมก็มี
พราหมณ์ ก็กรรมดำมีวิบากดำเป็นอย่างไร คือ พราหมณ์ บุคคลบางคนในกรณีนี้ ย่อมปรุงแต่งกายสังขารที่มีความเบียดเบียน ย่อมปรุงแต่งวจีสังขารที่มีความเบียดเบียน ย่อมปรุงแต่งมโนสังขารที่มีความเบียดเบียน ครั้นเขาทำความปรุงแต่งอย่างนี้แล้ว ย่อมเข้าถึงโลกที่มีความเบียดเบียน ผัสสะที่มีความเบียดเบียนย่อมถูกต้องเขา ซึ่งเป็นผู้เข้าถึงโลกที่มีความเบียดเบียนนั้น เขาอันผัสสะที่มีความเบียดเบียนถูกต้องแล้ว ย่อมได้เสวยเวทนาอันมีความเบียดเบียน เป็นทุกข์โดยส่วนเดียว ดังเช่น พวกสัตว์นรก พราหมณ์ นี้เรียกว่า กรรมดำมีวิบากดำ.
พราหมณ์ ก็กรรมขาวมีวิบากขาวเป็นอย่างไร คือ พราหมณ์ บุคคลบางคนในกรณีนี้ ย่อมปรุงแต่งกายสังขารที่ไม่มีความเบียดเบียน ย่อมปรุงแต่งวจีสังขารที่ไม่มีความเบียดเบียน ย่อมปรุงแต่งมโนสังขารที่ไม่มีความเบียดเบียน ครั้นเขาทำความปรุงแต่งอย่างนี้แล้ว ย่อมเข้าถึงโลกที่ไม่มีความเบียดเบียน ผัสสะที่ไม่มีความเบียดเบียน ย่อมถูกต้องเขา ซึ่งเป็นผู้เข้าถึงโลกที่ไม่มีความเบียดเบียนนั้น เขาอันผัสสะที่ไม่มีความเบียดเบียนถูกต้องแล้ว ย่อมได้เสวยเวทนาอันไม่มีความเบียดเบียน เป็นสุขโดยส่วนเดียว ดังเช่น พวกเทวดาสุภกิณหะ พราหมณ์ นี้เรียกว่า กรรมขาวมีวิบากขาว.
พราหมณ์ ก็กรรมทั้งดำทั้งขาวมีวิบากทั้งดำทั้งขาวเป็นอย่างไร คือ พราหมณ์ บุคคลบางคนในกรณีนี้ ย่อมปรุงแต่งกายสังขารที่มีความเบียดเบียนบ้าง และไม่มีความเบียดเบียนบ้าง ย่อมปรุงแต่งวจีสังขารที่มีความเบียดเบียนบ้าง และไม่มีความเบียดเบียนบ้าง ย่อมปรุงแต่งมโนสังขารที่มีความเบียดเบียนบ้าง และไม่มีความเบียดเบียนบ้าง ครั้นเขาทำความปรุงแต่งอย่างนี้แล้ว ย่อมเข้าถึงโลกที่มีความเบียดเบียนบ้าง และไม่มีความเบียดเบียนบ้าง ผัสสะที่มีความเบียดเบียนบ้าง และไม่มีความเบียดเบียนบ้าง ย่อมถูกต้องเขา ซึ่งเป็นผู้เข้าถึงโลกที่มีความเบียดเบียนบ้าง และไม่มีความเบียดเบียนบ้างนั้น เขาอันผัสสะที่มีความเบียดเบียนบ้าง และไม่มีความเบียดเบียนบ้างถูกต้องแล้ว ย่อมได้เสวยเวทนาอันมีความเบียดเบียนบ้าง และไม่มีความเบียดเบียนบ้าง อันเป็นสุขและทุกข์เจือปนกัน ดังเช่น มนุษย์ทั้งหลาย เทวดาบางพวก และสัตว์พวกวินิบาตบางพวก พราหมณ์ นี้เรียกว่า กรรมทั้งดำทั้งขาวมีวิบากทั้งดำทั้งขาว.
พราหมณ์ ก็กรรมไม่ดำไม่ขาวมีวิบากไม่ดำไม่ขาว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นกรรมเป็นอย่างไร คือ พราหมณ์ ในบรรดากรรมเหล่านั้น เจตนาใดเพื่อละกรรมดำอันมีวิบากดำก็ดี เจตนาใดเพื่อละกรรมขาวอันมีวิบากขาวก็ดี เจตนาใดเพื่อละกรรมทั้งดำทั้งขาวอันมีวิบากทั้งดำทั้งขาวก็ดี พราหมณ์ นี้เรียกว่า กรรมไม่ดำไม่ขาวมีวิบากไม่ดำไม่ขาว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นกรรม.
พราหมณ์ กรรม ๔ ประการเหล่านี้แล เรากระทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว ประกาศให้ทราบ.
-บาลี จตุกฺก. อํ. 21/316/234.
https://84000.org/tipitaka/pali/?21//316
https://etipitaka.com/read/pali/21/316/
English translation by Bhikkhu Sujato
Then Sikhāmoggallāna the brahmin went up to the Buddha, and exchanged greetings with him. When the greetings and polite conversation were over, Sikhāmoggallāna sat down to one side, and said to the Buddha:
“Master Gotama, a few days ago the student Soṇakāyana came to me and said: ‘The ascetic Gotama advocates not doing any deeds. So he teaches the annihilation of the world!’ The world exists through deeds, and it remains because deeds are undertaken.”
“Brahmin, I can’t recall even seeing the student Soṇakāyana, so how could we possibly have had such a discussion? I declare these four kinds of deeds, having realized them with my own insight. What four?
1. There are dark deeds with dark results;
2. bright deeds with bright results;
3. dark and bright deeds with dark and bright results; and
4. neither dark nor bright deeds with neither dark nor bright results, which lead to the ending of deeds.
And what are the dark deeds with dark results? It’s when someone makes hurtful choices by way of body, speech, and mind. Having made these choices, they’re reborn in a hurtful world, where hurtful contacts strike them. Touched by hurtful contacts, they experience hurtful feelings that are exclusively painful—like the beings in hell. These are called dark deeds with dark results.
And what are bright deeds with bright results? It’s when someone makes pleasing choices by way of body, speech, and mind. Having made these choices, they’re reborn in a pleasing world, where pleasing contacts strike them. Touched by pleasing contacts, they experience pleasing feelings that are exclusively happy—like the gods replete with glory. These are called bright deeds with bright results.
And what are dark and bright deeds with dark and bright results? It’s when someone makes both hurtful and pleasing choices by way of body, speech, and mind. Having made these choices, they are reborn in a world that is both hurtful and pleasing, where hurtful and pleasing contacts strike them. Touched by both hurtful and pleasing contacts, they experience both hurtful and pleasing feelings that are a mixture of pleasure and pain—like humans, some gods, and some beings in the underworld. These are called dark and bright deeds with dark and bright results.
And what are neither dark nor bright deeds with neither dark nor bright results, which lead to the ending of deeds? It’s the intention to give up dark deeds with dark results, bright deeds with bright results, and both dark and bright deeds with both dark and bright results. These are called neither dark nor bright deeds with neither dark nor bright results, which lead to the ending of deeds.
These are the four kinds of deeds that I declare, having realized them with my own insight.”