ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ควรละ ควรทำให้เจริญ ควรทำให้แจ้ง (๑)
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย … แล้วได้ตรัสดังนี้ว่า.
ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันเกี่ยวกับมหาสฬายตนะแก่เธอทั้งหลาย พวกเธอจงฟังธรรมนั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว.
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อไม่รู้ไม่เห็นจักษุ ตามความเป็นจริง เมื่อไม่รู้ไม่เห็นรูป ตามความเป็นจริง เมื่อไม่รู้ไม่เห็นจักษุวิญญาณ ตามความเป็นจริง เมื่อไม่รู้ไม่เห็นจักษุสัมผัส ตามความเป็นจริง เมื่อไม่รู้ไม่เห็นเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย อันเป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม ตามความเป็นจริง เขาย่อมกำหนัดในจักษุ กำหนัดในรูป กำหนัดในจักษุวิญญาณ กำหนัดในจักษุสัมผัส กำหนัดในเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย อันเป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม เมื่อบุคคลนั้นกำหนัดแล้ว ติดพันแล้ว ลุ่มหลงแล้ว มีปกติเห็นอัสสาทะอยู่ อุปาทานขันธ์ ๕ ย่อมถึงซึ่งความก่อเกิดต่อไป และตัณหาอันเป็นเครื่องนำไปสู่ภพใหม่ อันประกอบด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิน มีปกติเพลิดเพลินอย่างยิ่งในอารมณ์นั้นๆ ย่อมถึงความเจริญขึ้น ความกระวนกระวายแม้ทางกายย่อมถึงความเจริญขึ้น ความกระวนกระวายแม้ทางจิตย่อมถึงความเจริญขึ้น ความแผดเผาแม้ทางกายย่อมถึงความเจริญขึ้น ความแผดเผาแม้ทางจิตย่อมถึงความเจริญขึ้น ความเร่าร้อนแม้ทางกายย่อมถึงความเจริญขึ้น ความเร่าร้อนแม้ทางจิตย่อมถึงความเจริญขึ้น บุคคลนั้นย่อมเสวยซึ่งความทุกข์อันเป็นไปทางกายด้วย ซึ่งความทุกข์อันเป็นไปทางจิตด้วย.
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อไม่รู้ไม่เห็นโสตะ ตามความเป็นจริง เมื่อไม่รู้ไม่เห็นเสียง ตามความเป็นจริง เมื่อไม่รู้ไม่เห็นโสตวิญญาณ ตามความเป็นจริง เมื่อไม่รู้ไม่เห็นโสตสัมผัส ตามความเป็นจริง เมื่อไม่รู้ไม่เห็นเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะโสตสัมผัสเป็นปัจจัย อันเป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม ตามความเป็นจริง เขาย่อมกำหนัดในโสตะ กำหนัดในเสียง กำหนัดในโสตวิญญาณ กำหนัดในโสตสัมผัส กำหนัดในเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะโสตสัมผัสเป็นปัจจัย อันเป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม เมื่อบุคคลนั้นกำหนัดแล้ว ติดพันแล้ว ลุ่มหลงแล้ว มีปกติเห็นอัสสาทะอยู่ อุปาทานขันธ์ ๕ ย่อมถึงซึ่งความก่อเกิดต่อไป และตัณหาอันเป็นเครื่องนำไปสู่ภพใหม่ อันประกอบด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิน มีปกติเพลิดเพลินอย่างยิ่งในอารมณ์นั้นๆ ย่อมถึงความเจริญขึ้น ความกระวนกระวายแม้ทางกายย่อมถึงความเจริญขึ้น ความกระวนกระวายแม้ทางจิตย่อมถึงความเจริญขึ้น ความแผดเผาแม้ทางกายย่อมถึงความเจริญขึ้น ความแผดเผาแม้ทางจิตย่อมถึงความเจริญขึ้น ความเร่าร้อนแม้ทางกายย่อมถึงความเจริญขึ้น ความเร่าร้อนแม้ทางจิตย่อมถึงความเจริญขึ้น บุคคลนั้นย่อมเสวยซึ่งความทุกข์อันเป็นไปทางกายด้วย ซึ่งความทุกข์อันเป็นไปทางจิตด้วย.
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อไม่รู้ไม่เห็นฆานะ ตามความเป็นจริง เมื่อไม่รู้ไม่เห็นกลิ่น ตามความเป็นจริง เมื่อไม่รู้ไม่เห็นฆานวิญญาณ ตามความเป็นจริง เมื่อไม่รู้ไม่เห็นฆานสัมผัส ตามความเป็นจริง เมื่อไม่รู้ไม่เห็นเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะฆานสัมผัสเป็นปัจจัย อันเป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม ตามความเป็นจริง เขาย่อมกำหนัดในฆานะ กำหนัดในกลิ่น กำหนัดในฆานวิญญาณ กำหนัดในฆานสัมผัส กำหนัดในเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะฆานสัมผัสเป็นปัจจัย อันเป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม เมื่อบุคคลนั้นกำหนัดแล้ว ติดพันแล้ว ลุ่มหลงแล้ว มีปกติเห็นอัสสาทะอยู่ อุปาทานขันธ์ ๕ ย่อมถึงซึ่งความก่อเกิดต่อไป และตัณหาอันเป็นเครื่องนำไปสู่ภพใหม่ อันประกอบด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิน มีปกติเพลิดเพลินอย่างยิ่งในอารมณ์นั้นๆ ย่อมถึงความเจริญขึ้น ความกระวนกระวายแม้ทางกายย่อมถึงความเจริญขึ้น ความกระวนกระวายแม้ทางจิตย่อมถึงความเจริญขึ้น ความแผดเผาแม้ทางกายย่อมถึงความเจริญขึ้น ความแผดเผาแม้ทางจิตย่อมถึงความเจริญขึ้น ความเร่าร้อนแม้ทางกายย่อมถึงความเจริญขึ้น ความเร่าร้อนแม้ทางจิตย่อมถึงความเจริญขึ้น บุคคลนั้นย่อมเสวยซึ่งความทุกข์อันเป็นไปทางกายด้วย ซึ่งความทุกข์อันเป็นไปทางจิตด้วย.
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อไม่รู้ไม่เห็นชิวหา ตามความเป็นจริง เมื่อไม่รู้ไม่เห็นรส ตามความเป็นจริง เมื่อไม่รู้ไม่เห็นชิวหาวิญญาณ ตามความเป็นจริง เมื่อไม่รู้ไม่เห็นชิวหาสัมผัส ตามความเป็นจริง เมื่อไม่รู้ไม่เห็นเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย อันเป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม ตามความเป็นจริง เขาย่อมกำหนัดในชิวหา กำหนัดในรส กำหนัดในชิวหาวิญญาณ กำหนัดในชิวหาสัมผัส กำหนัดในเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย อันเป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม เมื่อบุคคลนั้นกำหนัดแล้ว ติดพันแล้ว ลุ่มหลงแล้ว มีปกติเห็นอัสสาทะอยู่ อุปาทานขันธ์ ๕ ย่อมถึงซึ่งความก่อเกิดต่อไป และตัณหาอันเป็นเครื่องนำไปสู่ภพใหม่ อันประกอบด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิน มีปกติเพลิดเพลินอย่างยิ่งในอารมณ์นั้นๆ ย่อมถึงความเจริญขึ้น ความกระวนกระวายแม้ทางกายย่อมถึงความเจริญขึ้น ความกระวนกระวายแม้ทางจิตย่อมถึงความเจริญขึ้น ความแผดเผาแม้ทางกายย่อมถึงความเจริญขึ้น ความแผดเผาแม้ทางจิตย่อมถึงความเจริญขึ้น ความเร่าร้อนแม้ทางกายย่อมถึงความเจริญขึ้น ความเร่าร้อนแม้ทางจิตย่อมถึงความเจริญ บุคคลนั้นย่อมเสวยซึ่งความทุกข์อันเป็นไปทางกายด้วย ซึ่งความทุกข์อันเป็นไปทางจิตด้วย.
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อไม่รู้ไม่เห็นกายะ ตามความเป็นจริง เมื่อไม่รู้ไม่เห็นโผฏฐัพพะ ตามความเป็นจริง เมื่อไม่รู้ไม่เห็นกายวิญญาณ ตามความเป็นจริง เมื่อไม่รู้ไม่เห็นกายสัมผัส ตามความเป็นจริง เมื่อไม่รู้ไม่เห็นเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะกายสัมผัสเป็นปัจจัย อันเป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม ตามความเป็นจริง เขาย่อมกำหนัดในกายะ กำหนัดในโผฏฐัพพะ กำหนัดในกายวิญญาณ กำหนัดในกายสัมผัส กำหนัดในเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะกายสัมผัสเป็นปัจจัย อันเป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม เมื่อบุคคลนั้นกำหนัดแล้ว ติดพันแล้ว ลุ่มหลงแล้ว มีปกติเห็นอัสสาทะอยู่ อุปาทานขันธ์ ๕ ย่อมถึงซึ่งความก่อเกิดต่อไป และตัณหาอันเป็นเครื่องนำไปสู่ภพใหม่ อันประกอบด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิน มีปกติเพลิดเพลินอย่างยิ่งในอารมณ์นั้นๆ ย่อมถึงความเจริญขึ้น ความกระวนกระวายแม้ทางกายย่อมถึงความเจริญขึ้น ความกระวนกระวายแม้ทางจิตย่อมถึงความเจริญขึ้น ความแผดเผาแม้ทางกายย่อมถึงความเจริญขึ้น ความแผดเผาแม้ทางจิตย่อมถึงความเจริญขึ้น ความเร่าร้อนแม้ทางกายย่อมถึงความเจริญขึ้น ความเร่าร้อนแม้ทางจิตย่อมถึงความเจริญขึ้น บุคคลนั้นย่อมเสวยซึ่งความทุกข์อันเป็นไปทางกายด้วย ซึ่งความทุกข์อันเป็นไปทางจิตด้วย.
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อไม่รู้ไม่เห็นมนะ ตามความเป็นจริง เมื่อไม่รู้ไม่เห็นธรรม ตามความเป็นจริง เมื่อไม่รู้ไม่เห็นมโนวิญญาณ ตามความเป็นจริง เมื่อไม่รู้ไม่เห็นมโนสัมผัส ตามความเป็นจริง เมื่อไม่รู้ไม่เห็นเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย อันเป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม ตามความเป็นจริง เขาย่อมกำหนัดในมนะ กำหนัดในธรรม กำหนัดในมโนวิญญาณ กำหนัดในมโนสัมผัส กำหนัดในเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย อันเป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม เมื่อบุคคลนั้นกำหนัดแล้ว ติดพันแล้ว ลุ่มหลงแล้ว มีปกติเห็นอัสสาทะอยู่ อุปาทานขันธ์ ๕ ย่อมถึงซึ่งความก่อเกิดต่อไป และตัณหาอันเป็นเครื่องนำไปสู่ภพใหม่ อันประกอบด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิน มีปกติเพลิดเพลินอย่างยิ่งในอารมณ์นั้นๆ ย่อมถึงความเจริญขึ้น ความกระวนกระวายแม้ทางกายย่อมถึงความเจริญขึ้น ความกระวนกระวายแม้ทางจิตย่อมถึงความเจริญขึ้น ความแผดเผาแม้ทางกายย่อมถึงความเจริญขึ้น ความแผดเผาแม้ทางจิตย่อมถึงความเจริญขึ้น ความเร่าร้อนแม้ทางกายย่อมถึงความเจริญขึ้น ความเร่าร้อนแม้ทางจิตย่อมถึงความเจริญขึ้น บุคคลนั้นย่อมเสวยซึ่งความทุกข์อันเป็นไปทางกายด้วย ซึ่งความทุกข์อันเป็นไปทางจิตด้วย.
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนบุคคลเมื่อรู้เมื่อเห็นจักษุ ตามความเป็นจริง เมื่อรู้เมื่อเห็นรูป ตามความเป็นจริง เมื่อรู้เมื่อเห็นจักษุวิญญาณ ตามความเป็นจริง เมื่อรู้เมื่อเห็นจักษุสัมผัส ตามความเป็นจริง เมื่อรู้เมื่อเห็นเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย อันเป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม ตามความเป็นจริง เขาย่อมไม่กำหนัดในจักษุ ไม่กำหนัดในรูป ไม่กำหนัดในจักษุวิญญาณ ไม่กำหนัดในจักษุสัมผัส ไม่กำหนัดในเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย อันเป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม เมื่อบุคคลนั้นไม่กำหนัดแล้ว ไม่ติดพันแล้ว ไม่ลุ่มหลงแล้ว มีปกติเห็นโทษอยู่ อุปาทานขันธ์ ๕ ย่อมถึงซึ่งความไม่ก่อเกิดต่อไป และตัณหาอันเป็นเครื่องนำไปสู่ภพใหม่ อันประกอบด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิน มีปกติเพลิดเพลินอย่างยิ่งในอารมณ์นั้นๆ เขาย่อมละเสียได้ ความกระวนกระวายแม้ทางกาย เขาย่อมละเสียได้ ความกระวนกระวายแม้ทางจิต เขาย่อมละเสียได้ ความแผดเผาแม้ทางกาย เขาย่อมละเสียได้ ความแผดเผาแม้ทางจิต เขาย่อมละเสียได้ ความเร่าร้อนแม้ทางกาย เขาย่อมละเสียได้ ความเร่าร้อนแม้ทางจิต เขาย่อมละเสียได้ บุคคลนั้น ย่อมเสวยซึ่งความสุข อันเป็นไปทางกายด้วย ซึ่งความสุขอันเป็นไปทางจิตด้วย.
เมื่อบุคคลเป็นเช่นนั้นแล้ว ทิฏฐิของเขา ย่อมเป็นสัมมาทิฏฐิ ความดำริของเขา ย่อมเป็นสัมมาสังกัปปะ ความพยายามของเขา ย่อมเป็นสัมมาวายามะ สติของเขา ย่อมเป็นสัมมาสติ สมาธิของเขา ย่อมเป็นสัมมาสมาธิ ส่วนกายกรรม วจีกรรม และอาชีวะของเขา ย่อมบริสุทธิ์อยู่ก่อนแล้วนั่นเทียว ด้วยอาการอย่างนี้ เป็นอันว่า อริยมรรคมีองค์ ๘ ของเขานั้น ย่อมถึงซึ่งความเจริญบริบูรณ์.
เมื่อเขาทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้เจริญอยู่ด้วยอาการอย่างนี้ สติปัฏฐานทั้ง ๔ ย่อมถึงซึ่งความเจริญบริบูรณ์ สัมมัปปธานทั้ง ๔ ย่อมถึงซึ่งความเจริญบริบูรณ์ อิทธิบาททั้ง ๔ ย่อมถึงซึ่งความเจริญบริบูรณ์ อินทรีย์ทั้ง ๕ ย่อมถึงซึ่งความเจริญบริบูรณ์ พละทั้ง ๕ ย่อมถึงซึ่งความเจริญบริบูรณ์ โพชฌงค์ทั้ง ๗ ย่อมถึงซึ่งความเจริญบริบูรณ์.
ธรรมทั้งสอง คือ สมถะและวิปัสสนา ของเขานั้น ย่อมเป็นธรรมเคียงคู่กันไป เขาชื่อว่า ย่อมกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่งซึ่งธรรมทั้งหลายที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง ย่อมละด้วยปัญญาอันยิ่ง ซึ่งธรรมทั้งหลายอันบุคคลพึงละด้วยปัญญาอันยิ่ง ย่อมทำให้เจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง ซึ่งธรรมทั้งหลายอันบุคคลพึงทำให้เจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง ย่อมทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง ซึ่งธรรมทั้งหลายอันบุคคลพึงทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง.
ภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นอย่างไร คือ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ ได้แก่ อุปาทานขันธ์ คือ รูป อุปาทานขันธ์ คือ เวทนา อุปาทานขันธ์ คือ สัญญา อุปาทานขันธ์ คือสังขาร อุปาทานขันธ์ คือ วิญญาณ เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง ภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นอย่างไร คือ อวิชชาและภวตัณหา เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่ง ภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรทำให้เจริญด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นอย่างไร คือ สมถะและวิปัสสนา เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง ภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นอย่างไร คือ วิชชาและวิมุตติ เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง.
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อรู้เมื่อเห็นโสตะ ตามความเป็นจริง เมื่อรู้เมื่อเห็นเสียง ตามความเป็นจริง เมื่อรู้เมื่อเห็นโสตวิญญาณ ตามความเป็นจริง เมื่อรู้เมื่อเห็นโสตสัมผัส ตามความเป็นจริง เมื่อรู้เมื่อเห็นเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะโสตสัมผัสเป็นปัจจัย อันเป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม ตามความเป็นจริง เขาย่อมไม่กำหนัดในโสตะ ไม่กำหนัดในเสียง ไม่กำหนัดในโสตวิญญาณ ไม่กำหนัดในโสตสัมผัส ไม่กำหนัดในเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะโสตสัมผัสเป็นปัจจัย อันเป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม เมื่อบุคคลนั้นไม่กำหนัดแล้ว ไม่ติดพันแล้ว ไม่ลุ่มหลงแล้ว มีปกติเห็นโทษอยู่ อุปาทานขันธ์ ๕ ย่อมถึงซึ่งความไม่ก่อเกิดต่อไป และตัณหาอันเป็นเครื่องนำไปสู่ภพใหม่ อันประกอบด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิน มีปกติเพลิดเพลินอย่างยิ่งในอารมณ์นั้นๆ เขาย่อมละเสียได้ ความกระวนกระวายแม้ทางกาย เขาย่อมละเสียได้ ความกระวนกระวายแม้ทางจิต เขาย่อมละเสียได้ ความแผดเผาแม้ทางกาย เขาย่อมละเสียได้ ความแผดเผาแม้ทางจิต เขาย่อมละเสียได้ ความเร่าร้อนแม้ทางกาย เขาย่อมละเสียได้ ความเร่าร้อนแม้ทางจิต เขาย่อมละเสียได้ บุคคลนั้น ย่อมเสวยซึ่งความสุข อันเป็นไปทางกายด้วย ซึ่งความสุขอันเป็นไปทางจิตด้วย.
เมื่อบุคคลเป็นเช่นนั้นแล้ว ทิฏฐิของเขา ย่อมเป็นสัมมาทิฏฐิ ความดำริของเขา ย่อมเป็นสัมมาสังกัปปะ ความพยายามของเขา ย่อมเป็นสัมมาวายามะ สติของเขา ย่อมเป็นสัมมาสติ สมาธิของเขา ย่อมเป็นสัมมาสมาธิ ส่วนกายกรรม วจีกรรม และอาชีวะของเขา ย่อมบริสุทธิ์อยู่ก่อนแล้วนั่นเทียว ด้วยอาการอย่างนี้ เป็นอันว่า อริยมรรคมีองค์ ๘ ของเขานั้น ย่อมถึงซึ่งความเจริญบริบูรณ์.
เมื่อเขาทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้เจริญอยู่ด้วยอาการอย่างนี้ สติปัฏฐานทั้ง ๔ ย่อมถึงซึ่งความเจริญบริบูรณ์ สัมมัปปธานทั้ง ๔ ย่อมถึงซึ่งความเจริญบริบูรณ์ อิทธิบาททั้ง ๔ ย่อมถึงซึ่งความเจริญบริบูรณ์ อินทรีย์ทั้ง ๕ ย่อมถึงซึ่งความเจริญบริบูรณ์ พละทั้ง ๕ ย่อมถึงซึ่งความเจริญบริบูรณ์ โพชฌงค์ทั้ง ๗ ย่อมถึงซึ่งความเจริญบริบูรณ์.
ธรรมทั้งสอง คือ สมถะและวิปัสสนา ของเขานั้น ย่อมเป็นธรรมเคียงคู่กันไป เขาชื่อว่า ย่อมกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่งซึ่งธรรมทั้งหลายที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง ย่อมละด้วยปัญญาอันยิ่ง ซึ่งธรรมทั้งหลายอันบุคคลพึงละด้วยปัญญาอันยิ่ง ย่อมทำให้เจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง ซึ่งธรรมทั้งหลายอันบุคคลพึงทำให้เจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง ย่อมทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง ซึ่งธรรมทั้งหลายอันบุคคลพึงทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง.
ภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นอย่างไร คือ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ ได้แก่ อุปาทานขันธ์ คือ รูป อุปาทานขันธ์ คือ เวทนา อุปาทานขันธ์ คือ สัญญา อุปาทานขันธ์ คือสังขาร อุปาทานขันธ์ คือ วิญญาณ เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง ภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นอย่างไร คือ อวิชชาและภวตัณหา เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่ง ภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรทำให้เจริญด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นอย่างไร คือ สมถะและวิปัสสนา เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง ภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นอย่างไร คือ วิชชาและวิมุตติ เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง.
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อรู้เมื่อเห็นฆานะ ตามความเป็นจริง เมื่อรู้เมื่อเห็นกลิ่น ตามความเป็นจริง เมื่อรู้เมื่อเห็นฆานวิญญาณ ตามความเป็นจริง เมื่อรู้เมื่อเห็นฆานสัมผัส ตามความเป็นจริง เมื่อรู้เมื่อเห็นเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะฆานสัมผัสเป็นปัจจัย อันเป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม ตามความเป็นจริง เขาย่อมไม่กำหนัดในฆาน ไม่กำหนัดในกลิ่น ไม่กำหนัดในฆานวิญญาณ ไม่กำหนัดในฆานสัมผัส ไม่กำหนัดในเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะฆานสัมผัสเป็นปัจจัย อันเป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม เมื่อบุคคลนั้นไม่กำหนัดแล้ว ไม่ติดพันแล้ว ไม่ลุ่มหลงแล้ว มีปกติเห็นโทษอยู่ อุปาทานขันธ์ ๕ ย่อมถึงซึ่งความไม่ก่อเกิดต่อไป และตัณหาอันเป็นเครื่องนำไปสู่ภพใหม่ อันประกอบด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิน มีปกติเพลิดเพลินอย่างยิ่งในอารมณ์นั้นๆ เขาย่อมละเสียได้ ความกระวนกระวายแม้ทางกาย เขาย่อมละเสียได้ ความกระวนกระวายแม้ทางจิต เขาย่อมละเสียได้ ความแผดเผาแม้ทางกาย เขาย่อมละเสียได้ ความแผดเผาแม้ทางจิต เขาย่อมละเสียได้ ความเร่าร้อนแม้ทางกาย เขาย่อมละเสียได้ ความเร่าร้อนแม้ทางจิต เขาย่อมละเสียได้ บุคคลนั้น ย่อมเสวยซึ่งความสุข อันเป็นไปทางกายด้วย ซึ่งความสุขอันเป็นไปทางจิตด้วย.
เมื่อบุคคลเป็นเช่นนั้นแล้ว ทิฏฐิของเขา ย่อมเป็นสัมมาทิฏฐิ ความดำริของเขา ย่อมเป็นสัมมาสังกัปปะ ความพยายามของเขา ย่อมเป็นสัมมาวายามะ สติของเขา ย่อมเป็นสัมมาสติ สมาธิของเขา ย่อมเป็นสัมมาสมาธิ ส่วนกายกรรม วจีกรรม และอาชีวะของเขา ย่อมบริสุทธิ์อยู่ก่อนแล้วนั่นเทียว ด้วยอาการอย่างนี้ เป็นอันว่า อริยมรรคมีองค์ ๘ ของเขานั้น ย่อมถึงซึ่งความเจริญบริบูรณ์.
เมื่อเขาทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้เจริญอยู่ด้วยอาการอย่างนี้ สติปัฏฐานทั้ง ๔ ย่อมถึงซึ่งความเจริญบริบูรณ์ สัมมัปปธานทั้ง ๔ ย่อมถึงซึ่งความเจริญบริบูรณ์ อิทธิบาททั้ง ๔ ย่อมถึงซึ่งความเจริญบริบูรณ์ อินทรีย์ทั้ง ๕ ย่อมถึงซึ่งความเจริญบริบูรณ์ พละทั้ง ๕ ย่อมถึงซึ่งความเจริญบริบูรณ์ โพชฌงค์ทั้ง ๗ ย่อมถึงซึ่งความเจริญบริบูรณ์.
ธรรมทั้งสอง คือ สมถะและวิปัสสนา ของเขานั้น ย่อมเป็นธรรมเคียงคู่กันไป เขาชื่อว่า ย่อมกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่งซึ่งธรรมทั้งหลายที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง ย่อมละด้วยปัญญาอันยิ่ง ซึ่งธรรมทั้งหลายอันบุคคลพึงละด้วยปัญญาอันยิ่ง ย่อมทำให้เจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง ซึ่งธรรมทั้งหลายอันบุคคลพึงทำให้เจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง ย่อมทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง ซึ่งธรรมทั้งหลายอันบุคคลพึงทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง.
ภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นอย่างไร คือ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ ได้แก่ อุปาทานขันธ์ คือ รูป อุปาทานขันธ์ คือ เวทนา อุปาทานขันธ์ คือ สัญญา อุปาทานขันธ์ คือสังขาร อุปาทานขันธ์ คือ วิญญาณ เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง ภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นอย่างไร คือ อวิชชาและภวตัณหา เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่ง ภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรทำให้เจริญด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นอย่างไร คือ สมถะและวิปัสสนา เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง ภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นอย่างไร คือ วิชชาและวิมุตติ เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง.
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อรู้เมื่อเห็นชิวหา ตามความเป็นจริง เมื่อรู้เมื่อเห็นรส ตามความเป็นจริง เมื่อรู้เมื่อเห็นชิวหาวิญญาณ ตามความเป็นจริง เมื่อรู้เมื่อเห็นชิวหาสัมผัส ตามความเป็นจริง เมื่อรู้เมื่อเห็นเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย อันเป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม ตามความเป็นจริง เขาย่อมไม่กำหนัดในชิวหา ไม่กำหนัดในรส ไม่กำหนัดในชิวหาวิญญาณ ไม่กำหนัดในชิวหาสัมผัส ไม่กำหนัดในเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย อันเป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม เมื่อบุคคลนั้นไม่กำหนัดแล้ว ไม่ติดพันแล้ว ไม่ลุ่มหลงแล้ว มีปกติเห็นโทษอยู่ อุปาทานขันธ์ ๕ ย่อมถึงซึ่งความไม่ก่อเกิดต่อไป และตัณหาอันเป็นเครื่องนำไปสู่ภพใหม่ อันประกอบด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิน มีปกติเพลิดเพลินอย่างยิ่งในอารมณ์นั้นๆ เขาย่อมละเสียได้ ความกระวนกระวายแม้ทางกาย เขาย่อมละเสียได้ ความกระวนกระวายแม้ทางจิต เขาย่อมละเสียได้ ความแผดเผาแม้ทางกาย เขาย่อมละเสียได้ ความแผดเผาแม้ทางจิต เขาย่อมละเสียได้ ความเร่าร้อนแม้ทางกาย เขาย่อมละเสียได้ ความเร่าร้อนแม้ทางจิต เขาย่อมละเสียได้ บุคคลนั้น ย่อมเสวยซึ่งความสุข อันเป็นไปทางกายด้วย ซึ่งความสุขอันเป็นไปทางจิตด้วย.
เมื่อบุคคลเป็นเช่นนั้นแล้ว ทิฏฐิของเขา ย่อมเป็นสัมมาทิฏฐิ ความดำริของเขา ย่อมเป็นสัมมาสังกัปปะ ความพยายามของเขา ย่อมเป็นสัมมาวายามะ สติของเขา ย่อมเป็นสัมมาสติ สมาธิของเขา ย่อมเป็นสัมมาสมาธิ ส่วนกายกรรม วจีกรรม และอาชีวะของเขา ย่อมบริสุทธิ์อยู่ก่อนแล้วนั่นเทียว ด้วยอาการอย่างนี้ เป็นอันว่า อริยมรรคมีองค์ ๘ ของเขานั้น ย่อมถึงซึ่งความเจริญบริบูรณ์.
เมื่อเขาทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้เจริญอยู่ด้วยอาการอย่างนี้ สติปัฏฐานทั้ง ๔ ย่อมถึงซึ่งความเจริญบริบูรณ์ สัมมัปปธานทั้ง ๔ ย่อมถึงซึ่งความเจริญบริบูรณ์ อิทธิบาททั้ง ๔ ย่อมถึงซึ่งความเจริญบริบูรณ์ อินทรีย์ทั้ง ๕ ย่อมถึงซึ่งความเจริญบริบูรณ์ พละทั้ง ๕ ย่อมถึงซึ่งความเจริญบริบูรณ์ โพชฌงค์ทั้ง ๗ ย่อมถึงซึ่งความเจริญบริบูรณ์.
ธรรมทั้งสอง คือ สมถะและวิปัสสนา ของเขานั้น ย่อมเป็นธรรมเคียงคู่กันไป เขาชื่อว่า ย่อมกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่งซึ่งธรรมทั้งหลายที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง ย่อมละด้วยปัญญาอันยิ่ง ซึ่งธรรมทั้งหลายอันบุคคลพึงละด้วยปัญญาอันยิ่ง ย่อมทำให้เจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง ซึ่งธรรมทั้งหลายอันบุคคลพึงทำให้เจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง ย่อมทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง ซึ่งธรรมทั้งหลายอันบุคคลพึงทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง.
ภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นอย่างไร คือ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ ได้แก่ อุปาทานขันธ์ คือ รูป อุปาทานขันธ์ คือ เวทนา อุปาทานขันธ์ คือ สัญญา อุปาทานขันธ์ คือสังขาร อุปาทานขันธ์ คือ วิญญาณ เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง ภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นอย่างไร คือ อวิชชาและภวตัณหา เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่ง ภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรทำให้เจริญด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นอย่างไร คือ สมถะและวิปัสสนา เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง ภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นอย่างไร คือ วิชชาและวิมุตติ เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง.
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อรู้เมื่อเห็นกายะ ตามความเป็นจริง เมื่อรู้เมื่อเห็นโผฏฐัพพะตามความเป็นจริง เมื่อรู้เมื่อเห็นกายวิญญาณ ตามความเป็นจริง เมื่อรู้เมื่อเห็นกายสัมผัส ตามความเป็นจริง เมื่อรู้เมื่อเห็นเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะกายสัมผัสเป็นปัจจัย อันเป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม ตามความเป็นจริง เขาย่อมไม่กำหนัดในกายะ ไม่กำหนัดในโผฏฐัพพะ ไม่กำหนัดในกายวิญญาณ ไม่กำหนัดในกายสัมผัส ไม่กำหนัดในเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะกายสัมผัสเป็นปัจจัย อันเป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม เมื่อบุคคลนั้นไม่กำหนัดแล้ว ไม่ติดพันแล้ว ไม่ลุ่มหลงแล้ว มีปกติเห็นโทษอยู่ อุปาทานขันธ์ ๕ ย่อมถึงซึ่งความไม่ก่อเกิดต่อไป และตัณหาอันเป็นเครื่องนำไปสู่ภพใหม่ อันประกอบด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิน มีปกติเพลิดเพลินอย่างยิ่งในอารมณ์นั้นๆ เขาย่อมละเสียได้ ความกระวนกระวายแม้ทางกาย เขาย่อมละเสียได้ ความกระวนกระวายแม้ทางจิต เขาย่อมละเสียได้ ความแผดเผาแม้ทางกาย เขาย่อมละเสียได้ ความแผดเผาแม้ทางจิต เขาย่อมละเสียได้ ความเร่าร้อนแม้ทางกาย เขาย่อมละเสียได้ ความเร่าร้อนแม้ทางจิต เขาย่อมละเสียได้ บุคคลนั้น ย่อมเสวยซึ่งความสุข อันเป็นไปทางกายด้วย ซึ่งความสุขอันเป็นไปทางจิตด้วย.
เมื่อบุคคลเป็นเช่นนั้นแล้ว ทิฏฐิของเขา ย่อมเป็นสัมมาทิฏฐิ ความดำริของเขา ย่อมเป็นสัมมาสังกัปปะ ความพยายามของเขา ย่อมเป็นสัมมาวายามะ สติของเขา ย่อมเป็นสัมมาสติ สมาธิของเขา ย่อมเป็นสัมมาสมาธิ ส่วนกายกรรม วจีกรรม และอาชีวะของเขา ย่อมบริสุทธิ์อยู่ก่อนแล้วนั่นเทียว ด้วยอาการอย่างนี้ เป็นอันว่า อริยมรรคมีองค์ ๘ ของเขานั้น ย่อมถึงซึ่งความเจริญบริบูรณ์.
เมื่อเขาทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้เจริญอยู่ด้วยอาการอย่างนี้ สติปัฏฐานทั้ง ๔ ย่อมถึงซึ่งความเจริญบริบูรณ์ สัมมัปปธานทั้ง ๔ ย่อมถึงซึ่งความเจริญบริบูรณ์ อิทธิบาททั้ง ๔ ย่อมถึงซึ่งความเจริญบริบูรณ์ อินทรีย์ทั้ง ๕ ย่อมถึงซึ่งความเจริญบริบูรณ์ พละทั้ง ๕ ย่อมถึงซึ่งความเจริญบริบูรณ์ โพชฌงค์ทั้ง ๗ ย่อมถึงซึ่งความเจริญบริบูรณ์.
ธรรมทั้งสอง คือ สมถะและวิปัสสนา ของเขานั้น ย่อมเป็นธรรมเคียงคู่กันไป เขาชื่อว่า ย่อมกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่งซึ่งธรรมทั้งหลายที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง ย่อมละด้วยปัญญาอันยิ่ง ซึ่งธรรมทั้งหลายอันบุคคลพึงละด้วยปัญญาอันยิ่ง ย่อมทำให้เจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง ซึ่งธรรมทั้งหลายอันบุคคลพึงทำให้เจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง ย่อมทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง ซึ่งธรรมทั้งหลายอันบุคคลพึงทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง.
ภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นอย่างไร คือ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ ได้แก่ อุปาทานขันธ์ คือ รูป อุปาทานขันธ์ คือ เวทนา อุปาทานขันธ์ คือ สัญญา อุปาทานขันธ์ คือสังขาร อุปาทานขันธ์ คือ วิญญาณ เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง ภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นอย่างไร คือ อวิชชาและภวตัณหา เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่ง ภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรทำให้เจริญด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นอย่างไร คือ สมถะและวิปัสสนา เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง ภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นอย่างไร คือ วิชชาและวิมุตติ เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง.
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อรู้เมื่อเห็นมนะ ตามความเป็นจริง เมื่อรู้เมื่อเห็นธรรม ตามความเป็นจริง เมื่อรู้เมื่อเห็นมโนวิญญาณ ตามความเป็นจริง เมื่อรู้เมื่อเห็นมโนสัมผัส ตามความเป็นจริง เมื่อรู้เมื่อเห็นเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย อันเป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม ตามความเป็นจริง เขาย่อมไม่กำหนัดในมนะ ไม่กำหนัดในธรรม ไม่กำหนัดในมโนวิญญาณ ไม่กำหนัดในมโนสัมผัส ไม่กำหนัดในเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย อันเป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม เมื่อบุคคลนั้นไม่กำหนัดแล้ว ไม่ติดพันแล้ว ไม่ลุ่มหลงแล้ว มีปกติเห็นโทษอยู่ อุปาทานขันธ์ ๕ ย่อมถึงซึ่งความไม่ก่อเกิดต่อไป และตัณหาอันเป็นเครื่องนำไปสู่ภพใหม่ อันประกอบด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิน มีปกติเพลิดเพลินอย่างยิ่งในอารมณ์นั้นๆ เขาย่อมละเสียได้ ความกระวนกระวายแม้ทางกาย เขาย่อมละเสียได้ ความกระวนกระวายแม้ทางจิต เขาย่อมละเสียได้ ความแผดเผาแม้ทางกาย เขาย่อมละเสียได้ ความแผดเผาแม้ทางจิต เขาย่อมละเสียได้ ความเร่าร้อนแม้ทางกาย เขาย่อมละเสียได้ ความเร่าร้อนแม้ทางจิต เขาย่อมละเสียได้ บุคคลนั้น ย่อมเสวยซึ่งความสุข อันเป็นไปทางกายด้วย ซึ่งความสุขอันเป็นไปทางจิตด้วย.
เมื่อบุคคลเป็นเช่นนั้นแล้ว ทิฏฐิของเขา ย่อมเป็นสัมมาทิฏฐิ ความดำริของเขา ย่อมเป็นสัมมาสังกัปปะ ความพยายามของเขา ย่อมเป็นสัมมาวายามะ สติของเขา ย่อมเป็นสัมมาสติ สมาธิของเขา ย่อมเป็นสัมมาสมาธิ ส่วนกายกรรม วจีกรรม และอาชีวะของเขา ย่อมบริสุทธิ์อยู่ก่อนแล้วนั่นเทียว ด้วยอาการอย่างนี้ เป็นอันว่า อริยมรรคมีองค์ ๘ ของเขานั้น ย่อมถึงซึ่งความเจริญบริบูรณ์.
เมื่อเขาทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้เจริญอยู่ด้วยอาการอย่างนี้ สติปัฏฐานทั้ง ๔ ย่อมถึงซึ่งความเจริญบริบูรณ์ สัมมัปปธานทั้ง ๔ ย่อมถึงซึ่งความเจริญบริบูรณ์ อิทธิบาททั้ง ๔ ย่อมถึงซึ่งความเจริญบริบูรณ์ อินทรีย์ทั้ง ๕ ย่อมถึงซึ่งความเจริญบริบูรณ์ พละทั้ง ๕ ย่อมถึงซึ่งความเจริญบริบูรณ์ โพชฌงค์ทั้ง ๗ ย่อมถึงซึ่งความเจริญบริบูรณ์.
ธรรมทั้งสอง คือ สมถะและวิปัสสนา ของเขานั้น ย่อมเป็นธรรมเคียงคู่กันไป เขาชื่อว่า ย่อมกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่งซึ่งธรรมทั้งหลายที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง ย่อมละด้วยปัญญาอันยิ่ง ซึ่งธรรมทั้งหลายอันบุคคลพึงละด้วยปัญญาอันยิ่ง ย่อมทำให้เจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง ซึ่งธรรมทั้งหลายอันบุคคลพึงทำให้เจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง ย่อมทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง ซึ่งธรรมทั้งหลายอันบุคคลพึงทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง.
ภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นอย่างไร คือ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ ได้แก่ อุปาทานขันธ์ คือ รูป อุปาทานขันธ์ คือ เวทนา อุปาทานขันธ์ คือ สัญญา อุปาทานขันธ์ คือสังขาร อุปาทานขันธ์ คือ วิญญาณ เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง ภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นอย่างไร คือ อวิชชาและภวตัณหา เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่ง ภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรทำให้เจริญด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นอย่างไร คือ สมถะและวิปัสสนา เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง ภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นอย่างไร คือ วิชชาและวิมุตติ เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง.
-บาลี อุปริ. ม. 14/523/828.
https://84000.org/tipitaka/pali/?14//523
https://etipitaka.com/read/pali/14/523/
English translation by Bodhi Bhikkhu
Thus have I heard. On one occasion the Blessed One was living at Sāvatthī in Jeta’s Grove, Anāthapiṇḍika’s Park. There he addressed the bhikkhus thus: “Bhikkhus.”—“Venerable sir,” they replied. The Blessed One said this:
“Bhikkhus, I shall teach you a discourse on the great sixfold base. Listen and attend closely to what I shall say.”—“Yes, venerable sir,” the bhikkhus replied. The Blessed One said this:
“Bhikkhus, when one does not know and see the eye as it actually is, when one does not know and see forms as they actually are, when one does not know and see eye-consciousness as it actually is, when one does not know and see eye-contact as it actually is, when one does not know and see as it actually is the feeling felt as pleasant or painful or neither-painful-nor-pleasant that arises with eye-contact as condition, then one is inflamed by lust for the eye, for forms, for eye-consciousness, for eye-contact, for the feeling felt as pleasant or painful or neither-painful-nor-pleasant that arises with eye-contact as condition.
“When one abides inflamed by lust, fettered, infatuated, contemplating gratification, then the five aggregates affected by clinging are built up for oneself in the future; and one’s craving—which brings renewal of being, is accompanied by delight and lust, and delights in this and that—increases. One’s bodily and mental troubles increase, one’s bodily and mental torments increase, one’s bodily and mental fevers increase, and one experiences bodily and mental suffering.
“When one does not know and see the ear as it actually is…When one does not know and see the nose as it actually is…When one does not know and see the tongue as it actually is…When one does not know and see the body as it actually is… When one does not know and see the mind as it actually is…one experiences bodily and mental suffering.
“Bhikkhus, when one knows and sees the eye as it actually is, when one knows and sees forms as they actually are, when one knows and sees eye-consciousness as it actually is, when one knows and sees eye-contact as it actually is, when one knows and sees as it actually is the feeling felt as pleasant or painful or neither-painful-nor-pleasant that arises with eye-contact as condition, then one is not inflamed by lust for the eye, for forms, for eye-consciousness, for eye-contact, for the feeling felt as pleasant or painful or neither-painful-nor-pleasant that arises with eye-contact as condition.
“When one abides uninflamed by lust, unfettered, uninfatuated, contemplating danger, then the five aggregates affected by clinging are diminished for oneself in the future; and one’s craving—which brings renewal of being, is accompanied by delight and lust, and delights in this or that—is abandoned. One’s bodily and mental troubles are abandoned, one’s bodily and mental torments are abandoned, one’s bodily and mental fevers are abandoned, and one experiences bodily and mental pleasure.
“The view of a person such as this is right view. His intention is right intention, his effort is right effort, his mindfulness is right mindfulness, his concentration is right concentration. But his bodily action, his verbal action, and his livelihood have already been well purified earlier. Thus this Noble Eightfold Path comes to fulfilment in him by development. When he develops this Noble Eightfold Path, the four foundations of mindfulness also come to fulfilment in him by development; the four right kinds of striving also come to fulfilment in him by development; the four bases for spiritual power also come to fulfilment in him by development; the five faculties also come to fulfilment in him by development; the five powers also come to fulfilment in him by development; the seven enlightenment factors also come to fulfilment in him by development. These two things—serenity and insight—occur in him yoked evenly together. He fully understands by direct knowledge those things that should be fully understood by direct knowledge. He abandons by direct knowledge those things that should be abandoned by direct knowledge. He develops by direct knowledge those things that should be developed by direct knowledge. He realises by direct knowledge those things that should be realised by direct knowledge.
“And what things should be fully understood by direct knowledge? The answer to that is: the five aggregates affected by clinging, that is, the material form aggregate affected by clinging, the feeling aggregate affected by clinging, the perception aggregate affected by clinging, the formations aggregate affected by clinging, the consciousness aggregate affected by clinging. These are the things that should be fully understood by direct knowledge.
“And what things should be abandoned by direct knowledge? Ignorance and craving for being. These are the things that should be abandoned by direct knowledge.
“And what things should be developed by direct knowledge? Serenity and insight. These are the things that should be developed by direct knowledge.
“And what things should be realised by direct knowledge? True knowledge and deliverance. These are the things that should be realised by direct knowledge.
“When one knows and sees the ear as it actually is… These are the things that should be realised by direct knowledge.
“When one knows and sees the nose as it actually is… These are the things that should be realised by direct knowledge.
“When one knows and sees the tongue as it actually is…These are the things that should be realised by direct knowledge.
“When one knows and sees the body as it actually is… These are the things that should be realised by direct knowledge.
“When one knows and sees the mind as it actually is… These are the things that should be realised by direct knowledge.”
That is what the Blessed One said. The bhikkhus were satisfied and delighted in the Blessed One’s words.