ผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย (๒)
ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว มีเต่าตัวหนึ่ง เที่ยวหากินตามริมฝั่งแม่น้ำน้อยแห่งหนึ่งในตอนเย็น สุนัขจิ้งจอกตัวหนึ่ง ก็ได้เที่ยวหากินตามริมแม่น้ำน้อยแห่งหนึ่งในตอนเย็นเช่นเดียวกัน ภิกษุทั้งหลาย เต่าตัวนี้ได้เห็นสุนัขจิ้งจอกซึ่งเที่ยวหากินแต่ไกล ครั้นแล้ว จึงหดอวัยวะทั้งหลาย มีศีรษะเป็นที่ ๕ เข้าในกระดองของตนเสีย เป็นผู้ขวนขวายน้อยนิ่งอยู่. ภิกษุทั้งหลาย ฝ่ายสุนัขจิ้งจอกก็ได้เห็นเต่าตัวที่เที่ยวหากินนั้นแต่ไกลเหมือนกัน ครั้นแล้ว จึงเข้าไปที่เต่าถึงที่แล้ว คอยช่องอยู่ว่าเมื่อไรหนอ เต่าจักโผล่อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งออกในบรรดาอวัยวะทั้งหลาย มีศีรษะเป็นที่ ๕ แล้วจักกัดอวัยวะส่วนนั้นเอาออกมากินเสีย ดังนี้ ภิกษุทั้งหลาย ตลอดเวลาที่เต่าไม่โผล่อวัยวะออกมา สุนัขจิ้งจอกก็ไม่ได้โอกาส ต้องหลีกไปเอง. ภิกษุทั้งหลาย ฉันใดก็ฉันนั้น มารผู้มีบาปก็คอยช่องต่อพวกเธอทั้งหลายติดต่อไม่ขาดระยะอยู่เหมือนกันว่า ถ้าอย่างไร เราคงได้ช่อง ไม่ทางตา ก็ทางหู หรือทางจมูก หรือทางลิ้น หรือทางกาย หรือทางใจ ดังนี้. ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ พวกเธอทั้งหลาย จงเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลายอยู่เถิด ได้เห็นรูปด้วยตาแล้ว ไม่ถือเอาโดยนิมิต (รวบถือทั้งหมด) ไม่ถือเอาโดยอนุพยัญชนะ (แยกถือเป็นส่วนๆ) เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมอินทรีย์คือตา ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันเป็นบาป คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ เธอรักษาอินทรีย์คือตา ถึงความสำรวมในอินทรีย์คือตา ได้ฟังเสียงด้วยหูแล้ว ไม่ถือเอาโดยนิมิต ไม่ถือเอาโดยอนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมอินทรีย์คือหู ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันเป็นบาป คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ เธอรักษาอินทรีย์คือหู ถึงความสำรวมในอินทรีย์คือหู ได้ดมกลิ่นด้วยจมูกแล้ว ไม่ถือเอาโดยนิมิต ไม่ถือเอาโดยอนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมอินทรีย์คือจมูก ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันเป็นบาป คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ เธอรักษาอินทรีย์คือจมูก ถึงความสำรวมในอินทรีย์คือจมูก ได้ลิ้มรสด้วยลิ้นแล้ว ไม่ถือเอาโดยนิมิต ไม่ถือเอาโดยอนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมอินทรีย์คือลิ้น ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันเป็นบาป คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ เธอรักษาอินทรีย์คือลิ้น ถึงความสำรวมในอินทรีย์คือลิ้น ได้ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว ไม่ถือเอาโดยนิมิต ไม่ถือเอาโดยอนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมอินทรีย์คือกาย ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันเป็นบาป คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ เธอรักษาอินทรีย์คือกาย ถึงความสำรวมในอินทรีย์คือกาย ได้รู้แจ้งธรรมด้วยใจแล้ว ไม่ถือเอาโดยนิมิต ไม่ถือเอาโดยอนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมอินทรีย์คือใจ ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันเป็นบาป คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ เธอรักษาอินทรีย์คือใจ ถึงความสำรวมในอินทรีย์คือใจ. ภิกษุทั้งหลาย ในกาลใด พวกเธอทั้งหลาย จักเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลายอยู่ ในกาลนั้น มารผู้ใจบาป จักไม่ได้ช่องแม้จากพวกเธอทั้งหลาย และจักต้องหลีกไปเอง เหมือนสุนัขจิ้งจอกไม่ได้ช่องจากเต่าก็หลีกไปเอง ฉะนั้น. เต่า หดอวัยวะไว้ในกระดอง ฉันใด ภิกษุ พึงตั้งมโนวิตก (ความตริตรึกทางใจ) ไว้ในกระดอง ฉันนั้น เป็นผู้ที่ตัณหาและทิฏฐิไม่อิงอาศัยได้ ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ไม่กล่าวร้ายต่อใครทั้งหมด เป็นผู้ดับสนิทแล้ว ดังนี้แล.
-บาลี สฬา. สํ. 18/222/320.
English translation by Bhikkhu Sujato
“Once upon a time, mendicants, a tortoise was grazing along the bank of a river in the afternoon. At the same time, a jackal was also hunting along the river bank. The tortoise saw the jackal off in the distance hunting, so it drew its limbs and neck inside its shell, and kept passive and silent. But the jackal also saw the tortoise off in the distance grazing. So it went up to the tortoise and waiting nearby, thinking, ‘When that tortoise sticks one or other of its limbs or neck out from its shell, I’ll grab it right there, rip it out, and eat it!’ But when that tortoise didn’t stick one or other of its limbs or neck out from its shell, the jackal left disappointed, since it couldn’t find a vulnerability. In the same way, Māra the Wicked is always waiting nearby, thinking: ‘Hopefully I can find a vulnerability in the eye, ear, nose, tongue, body, or mind.’ That’s why you should live with sense doors guarded. When you see a sight with your eyes, don’t get caught up in the features and details. If the faculty of sight were left unrestrained, bad unskillful qualities of desire and aversion would become overwhelming. For this reason, practice restraint, protecting the faculty of sight, and achieving its restraint. When you hear a sound with your ears … When you smell an odor with your nose … When you taste a flavor with your tongue … When you feel a touch with your body … When you know a thought with your mind, don’t get caught up in the features and details. If the faculty of mind were left unrestrained, bad unskillful qualities of desire and aversion would become overwhelming. For this reason, practice restraint, protecting the faculty of mind, and achieving its restraint. When you live with your sense doors restrained, Māra will leave you disappointed, since he can’t find a vulnerability, just like the jackal left the tortoise. A mendicant should collect their thoughts
https://84000.org/tipitaka/pali/?18//222
https://etipitaka.com/read/pali/18/320/
as a tortoise draws its limbs into its shell.
Independent, not disturbing others,
someone who’s extinguished wouldn’t blame anyone.”