อินทรีย์ ๕ (๓)
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิคมของชาวอังคะชื่ออาปณะ ในแคว้นอังคะ ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกท่านพระสารีบุตรมาแล้วตรัสว่า
สารีบุตร อริยสาวกใดเลื่อมใสยิ่งในตถาคต โดยส่วนเดียว (ตถาคเต เอกนฺตคโต อภิปฺปสนฺโน) อริยสาวกนั้น จะไม่เคลือบแคลง หรือสงสัยในตถาคต และในคำสอนของตถาคต.
ท่านพระสารีบุตรกราบทูลว่า ภันเต ก็อริยสาวกใดเลื่อมใสยิ่งในตถาคต โดยส่วนเดียว อริยสาวกนั้น จะไม่เคลือบแคลง หรือสงสัยในตถาคต และในคำสอนของตถาคต ด้วยว่าอริยสาวกผู้มีศรัทธา พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรมทั้งหลาย เพื่อความถึงพร้อมแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย มีกำลัง มีความบากบั่น มั่นคง ไม่ทอดทิ้งธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย ภันเต ก็วิริยะของอริยสาวกนั้น เป็นวิริยินทรีย์.
ภันเต ด้วยว่า อริยสาวกผู้มีศรัทธา ปรารภความเพียรแล้ว พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเป็นผู้มีสติ ประกอบด้วยสติเป็นเครื่องรักษาตนอย่างยิ่ง จักระลึกได้ ตามระลึกได้ ซึ่งกิจที่ทำ และคำที่พูดแม้นานได้ ภันเต ก็สติของอริยสาวกนั้น เป็นสตินทรีย์.
ภันเต ด้วยว่าอริยสาวกผู้มีศรัทธา ปรารภความเพียร เข้าไปตั้งสติไว้แล้ว พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักกระทำซึ่งโวสสัคคารมณ์ (ความที่จิตมีการปล่อย หรือการวางเป็นอารมณ์) แล้วได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต (ความที่จิตมีอารมณ์เดียว) ภันเต ก็สมาธิของอริยสาวกนั้น เป็นสมาธินทรีย์.
ภันเต ด้วยว่า อริยสาวกผู้มีศรัทธา ปรารภความเพียร เข้าไปตั้งสติไว้แล้ว มีจิตตั้งมั่นโดยชอบ พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักรู้ชัดอย่างนี้ว่า สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูก แล่นไปอยู่ ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ที่สุดเบื้องต้นย่อมไม่ปรากฏ ก็ความดับด้วยการสำรอกโดยไม่เหลือแห่งกองมืด คือ อวิชชา นั่นเป็นบทอันสงบ นั่นเป็นบทอันประณีต คือ ความระงับซึ่งสังขารทั้งปวง ความสละคืนซึ่งอุปธิทั้งปวง ความสิ้นไปตัณหา ความคลายกำหนัด เป็นความดับ เป็นนิพพาน ภันเต ก็ปัญญาของอริยสาวกนั้น เป็นปัญญินทรีย์.
ภันเต อริยสาวกนั้นแล ย่อมพยายามอย่างนี้ ครั้นพยายามแล้ว ย่อมระลึกอย่างนี้ ครั้นระลึกแล้ว ย่อมตั้งมั่นอย่างนี้ ครั้นตั้งมั่นแล้ว ย่อมรู้ชัดอย่างนี้ ครั้นรู้ชัดแล้ว ย่อมเชื่อมั่นอย่างนี้ว่า ธรรมเหล่านี้ ก็คือธรรมที่เราเคยได้ฟังมาแล้วนั่นเอง เพราะเหตุนั้น ในบัดนี้ เราถูกต้องด้วยกายอยู่ และเห็นแจ้งแทงตลอดด้วยปัญญา ภันเต ก็ศรัทธาของอริยสาวกนั้น เป็นสัทธินทรีย์ ดังนี้แล.
สาธุ สาธุ สารีบุตร อริยสาวกใดมีความเลื่อมใสยิ่งในตถาคต โดยส่วนเดียว อริยสาวกนั้น จะไม่เคลือบแคลง หรือสงสัยในตถาคต และในคำสอนของตถาคต.
สารีบุตร ด้วยว่าอริยสาวกผู้มีศรัทธา พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรมทั้งหลาย เพื่อความถึงพร้อมแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย มีกำลัง มีความบากบั่น มั่นคง ไม่ทอดทิ้งธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย สารีบุตร ก็วิริยะของอริยสาวกนั้น เป็นวิริยินทรีย์.
สารีบุตร ด้วยว่าอริยสาวกผู้มีศรัทธา ปรารภความเพียรแล้ว พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเป็นผู้มีสติ ประกอบด้วยสติเป็นเครื่องรักษาตนอย่างยิ่ง จักระลึกได้ ตามระลึกได้ ถึงกิจที่ทำ และคำที่พูดแม้นานได้ สารีบุตร ก็สติของอริยสาวกนั้น เป็นสตินทรีย์.
สารีบุตร ด้วยว่าอริยสาวกผู้มีศรัทธา ปรารภความเพียร เข้าไปตั้งสติไว้แล้ว พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักกระทำซึ่งโวสสัคคารมณ์ (ความที่จิตมีการปล่อย หรือการวางเป็นอารมณ์) แล้วได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต (ความที่จิตมีอารมณ์เดียว) สารีบุตร ก็สมาธิของอริยสาวกนั้น เป็นสมาธินทรีย์.
สารีบุตร ด้วยว่าอริยสาวกผู้มีศรัทธา ปรารภความเพียร เข้าไปตั้งสติไว้แล้ว มีจิตตั้งมั่นโดยชอบ พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักรู้ชัดอย่างนี้ว่า สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูก แล่นไปอยู่ ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ที่สุดเบื้องต้นย่อมไม่ปรากฏ ก็ความดับด้วยการสำรอกโดยไม่เหลือแห่งกองมืด คือ อวิชชา นั่นเป็นบทอันสงบ นั่นเป็นบทอันประณีต คือ ความระงับซึ่งสังขารทั้งปวง ความสละคืนซึ่งอุปธิทั้งปวง ความสิ้นไปตัณหา ความคลายกำหนัด เป็นความดับ เป็นนิพพาน สารีบุตร ก็ปัญญาของอริยสาวกนั้น เป็นปัญญินทรีย์.
สารีบุตร อริยสาวกนั้นแล ย่อมพยายามอย่างนี้ ครั้นพยายามแล้ว ย่อมระลึกอย่างนี้ ครั้นระลึกแล้ว ย่อมตั้งมั่นอย่างนี้ ครั้นตั้งมั่นแล้ว ย่อมรู้ชัดอย่างนี้ ครั้นรู้ชัดแล้ว ย่อมเชื่อมั่นอย่างนี้ว่า ธรรมเหล่านี้ ก็คือธรรมที่เราเคยได้ฟังมาแล้วนั่นเอง เพราะเหตุนั้น ในบัดนี้ เราถูกต้องด้วยกายอยู่ และเห็นแจ้งแทงตลอดด้วยปัญญา สารีบุตร ก็ศรัทธาของอริยสาวกนั้น เป็นสัทธินทรีย์ ดังนี้แล.
-บาลี มหาวาร. สํ. 19/297/1010.
https://84000.org/tipitaka/pali/?19/297
https://etipitaka.com/read/pali/19/297/
English translation by Bhikkhu Sujato
So I have heard. At one time the Buddha was staying in the land of the Aṅgas, near the Aṅgan town called Āpaṇa. Then the Buddha said to Venerable Sāriputta:
“Sāriputta, would a noble disciple who is sure and devoted to the Realized One have any doubt or uncertainty about the Realized One or his instructions?”
“Sir, a noble disciple who is sure and devoted to the Realized One would have no doubt or uncertainty about the Realized One or his instructions.
You can expect that a faithful noble disciple will live with energy roused up for giving up unskillful qualities and embracing skillful qualities. They’re strong, staunchly vigorous, not slacking off when it comes to developing skillful qualities. For their energy is the faculty of energy.
You can expect that a faithful and energetic noble disciple will be mindful, with utmost mindfulness and alertness, able to remember and recall what was said and done long ago. For their mindfulness is the faculty of mindfulness.
You can expect that a faithful, energetic, and mindful noble disciple will, relying on letting go, gain immersion, gain unification of mind. For their samādhi is the faculty of immersion.
You can expect that a faithful, energetic, mindful noble disciple with their mind immersed in samādhi will understand this: ‘Transmigration has no known beginning. No first point is found of sentient beings roaming and transmigrating, hindered by ignorance and fettered by craving. But when that dark mass of ignorance fades away and ceases with nothing left over, that state is peaceful and sublime. That is, the stilling of all activities, the letting go of all attachments, the ending of craving, fading away, cessation, extinguishment.’ For their noble wisdom is the faculty of wisdom.
When a noble disciple has tried again and again, recollected again and again, entered immersion again and again, and understood with wisdom again and again, they will be confident of this: ‘I have previously heard of these things. But now I have direct meditative experience of them, and see them with penetrating wisdom.’ For their faith is the faculty of faith.”
“Good, good, Sāriputta!
“Sāriputta, a noble disciple who is sure and devoted to the Realized One would have no doubt or uncertainty about the Realized One or his instructions. …”
(The Buddha then repeated Sāriputta’s answer word for word.)