หมู่สัตว์ ผู้เป็นไปตามกรรม (๑)
วาเสฏฐะ ก็ในหมู่มนุษย์ ผู้ใดอาศัยการเลี้ยงโคเลี้ยงชีวิต ท่านจงรู้อย่างนี้ว่า ผู้นั้นเป็นชาวนาไม่ใช่พราหมณ์.
วาเสฏฐะ อนึ่ง ในหมู่มนุษย์ ผู้ใดเลี้ยงชีวิตด้วยศิลปะมากอย่าง ท่านจงรู้อย่างนี้ว่า ผู้นั้นเป็นศิลปินไม่ใช่พราหมณ์.
วาเสฏฐะ อนึ่ง ในหมู่มนุษย์ ผู้ใดอาศัยการค้าขายเลี้ยงชีวิต ท่านจงรู้อย่างนี้ว่า ผู้นั้นเป็นพ่อค้าไม่ใช่พราหมณ์.
วาเสฏฐะ อนึ่ง ในหมู่มนุษย์ ผู้ใดเลี้ยงชีวิตด้วยการรับใช้ผู้อื่น ท่านจงรู้อย่างนี้ว่า ผู้นั้นเป็นคนรับใช้ไม่ใช่พราหมณ์.
วาเสฏฐะ อนึ่ง ในหมู่มนุษย์ ผู้ใดอาศัยของที่เขาไม่ให้เลี้ยงชีวิต ท่านจงรู้อย่างนี้ว่า ผู้นั้นเป็นโจรไม่ใช่พราหมณ์.
วาเสฏฐะ อนึ่ง ในหมู่มนุษย์ ผู้ใดอาศัยศาสตราวุธเลี้ยงชีวิต ท่านจงรู้อย่างนี้ว่า ผู้นั้นเป็นนักรบไม่ใช่พราหมณ์.
วาเสฏฐะ อนึ่ง ในหมู่มนุษย์ ผู้ใดเลี้ยงชีวิตด้วยการงานของปุโรหิต ท่านจงรู้อย่างนี้ว่า ผู้นั้นเป็นปุโรหิตไม่ใช่พราหมณ์.
วาเสฏฐะ อนึ่ง ในหมู่มนุษย์ ผู้ใดปกครองบ้านและเมือง ท่านจงรู้อย่างนี้ว่า ผู้นั้นเป็นพระราชาไม่ใช่พราหมณ์.
และเราก็ไม่เรียกบุคคลผู้เกิดในกำเนิดไหนๆ หรือเกิดจากมารดาว่าเป็นพราหมณ์ บุคคลถึงจะเรียกกันว่าท่านผู้เจริญ ผู้นั้นก็ยังเป็นผู้มีกิเลสเครื่องกังวลอยู่นั่นเอง เราเรียกบุคคลผู้ไม่มีกิเลสเครื่องกังวล ผู้ไม่ยึดมั่นนั้นว่าเป็นพราหมณ์ เราเรียกผู้ที่ตัดสังโยชน์ทั้งหมดได้เด็ดขาดแล้ว ไม่หวาดสะดุ้ง พ้นจากกิเลสที่ทำให้ขัดข้องได้แล้ว ปลอดจากกิเลสทุกอย่างแล้วว่าเป็นพราหมณ์ … .
บุคคลเป็นพราหมณ์เพราะชาติ (กำเนิด) ก็หามิได้ จะมิใช่พราหมณ์เพราะชาติ (กำเนิด) ก็หามิได้ บุคคลเป็นพราหมณ์เพราะกรรม ไม่เป็นพราหมณ์ก็เพราะกรรม บุคคลเป็นชาวนาก็เพราะกรรม เป็นศิลปินก็เพราะกรรม บุคคลเป็นพ่อค้าก็เพราะกรรม เป็นคนรับใช้ก็เพราะกรรม บุคคลเป็นโจรก็เพราะกรรม เป็นนักรบก็เพราะกรรม บุคคลเป็นปุโรหิตก็เพราะกรรม เป็นพระราชาก็เพราะกรรม.
บัณฑิตทั้งหลายย่อมเห็นซึ่งกรรมนั้น ตามที่เป็นจริงอย่างนี้ ชื่อว่าเป็นผู้เห็นซึ่งปฏิจจสมุปบาท เป็นผู้ฉลาดในเรื่องวิบากแห่งกรรม โลกย่อมเป็นไปตามกรรม หมู่สัตว์ย่อมเป็นไปตามกรรม สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นเครื่องรึงรัด เหมือนลิ่มสลักขันยึดรถที่กำลังแล่นไปอยู่.
… สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้มีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่อาศัย กระทำกรรมใดไว้ ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม จักเป็นผู้รับผลแห่งกรรมนั้น.
-บาลี สุ. ขุ. 25/453/382., -บาลี ม. ม. 13/641/705., -บาลี ทสก. อํ. 24/313/193.
https://84000.org/tipitaka/pali/?25//453
https://84000.org/tipitaka/pali/?13//641
https://84000.org/tipitaka/pali/?24//313
https://etipitaka.com/read/pali/25/453/
https://etipitaka.com/read/pali/13/641/
https://etipitaka.com/read/pali/24/313/
English translation by Bhikkhu Sujato
… Anyone among humans
who lives off keeping cattle:
know them, Vāseṭṭha,
as a farmer, not a brahmin.
Anyone among humans
who lives off various professions:
know them, Vāseṭṭha,
as a professional, not a brahmin.
Anyone among humans
who lives off trade:
know them, Vāseṭṭha,
as a trader, not a brahmin.
Anyone among humans
who lives off serving others:
know them, Vāseṭṭha,
as an employee, not a brahmin.
Anyone among humans
who lives off stealing:
know them, Vāseṭṭha,
as a bandit, not a brahmin.
Anyone among humans
who lives off archery:
know them, Vāseṭṭha,
as a soldier, not a brahmin.
Anyone among humans
who lives off priesthood:
know them, Vāseṭṭha,
as a sacrificer, not a brahmin.
Anyone among humans
who taxes village and nation,
know them, Vāseṭṭha,
as a ruler, not a brahmin.
I don’t call someone a brahmin
after the mother or womb they came from.
If they still have attachments,
they’re just someone who says ‘sir’.
Having nothing, taking nothing:
that’s who I call a brahmin … .
You’re not a brahmin by birth,
nor by birth a non-brahmin.
You’re a brahmin by your deeds,
and by deeds a non-brahmin.
You’re a farmer by your deeds,
by deeds you’re a professional;
you’re a trader by your deeds,
by deeds are you an employee;
you’re a bandit by your deeds,
by deeds you’re a soldier;
you’re a sacrificer by your deeds,
by deeds you’re a ruler.
In this way the astute regard deeds
in accord with truth.
Seeing dependent origination,
they’re expert in deeds and their results.
Deeds make the world go on,
deeds make people go on;
sentient beings are bound by deeds,
like a moving chariot’s linchpin … .
… Sentient beings are the owners of their deeds and heir to their deeds. Deeds are their womb, their relative, and their refuge. They shall be the heir of whatever deeds they do, whether good or bad.
… Bhikkhus, beings are the owners of their kamma, the heirs of their kamma; they have kamma as their origin, kamma as their relative, kamma as their resort; whatever kamma they do, good or bad, they are its heirs.