เพื่อนสอง
ครั้งนั้นแล ท่านพระมิคชาละเข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า
ภันเต ที่พระองค์กล่าว่า ผู้มีการอยู่อย่างอยู่ผู้เดียว ผู้มีการอยู่อย่างอยู่ผู้เดียว ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ ภิกษุจึงชื่อว่า เป็นผู้มีการอยู่อย่างอยู่ผู้เดียว และด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ ภิกษุจึงชื่อว่า เป็นผู้มีการอยู่อย่างมีเพื่อนสอง.
มิคชาละ รูปทั้งหลายที่จะรู้แจ้งด้วยตา อันน่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะน่ารัก เป็นที่อาศัยแห่งความใคร่ ชวนให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าหากว่าภิกษุย่อมเพลิดเพลิน พร่ำถึง สยบมัวเมาซึ่งรูปนั้น เมื่อภิกษุเพลิดเพลิน พร่ำถึง สยบมัวเมาซึ่งรูปนั้นอยู่ ความเพลิดเพลิน (ความเพลิดเพลิน) ย่อมเกิดขึ้น เมื่อความเพลิดเพลิน มีอยู่ ความพอใจอย่างยิ่ง (สาราคะ) ย่อมมี เมื่อความพอใจอย่างยิ่ง มีอยู่ ความผูกติดกับอารมณ์ (สัญโญคะ) ย่อมมี มิคชาละ ภิกษุผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยการผูกติดกับอารมณ์ด้วยอำนาจแห่งความเพลิน นั่นแหละ เราเรียกว่า ผู้มีการอยู่อย่างมีเพื่อนสอง.
มิคชาละ เสียงทั้งหลายที่จะรู้แจ้งด้วยหู อันน่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะน่ารัก … ถ้าหากว่าภิกษุย่อมเพลิดเพลิน พร่ำถึง สยบมัวเมาซึ่งเสียงนั้น … ความเพลิดเพลิน ย่อมเกิดขึ้น (อุปฺปชฺชติ นนฺทิ) เมื่อความเพลิดเพลิน มีอยู่ (นนฺทิยา สติ) ความพอใจอย่างยิ่ง ย่อมมี (สาราโค โหติ) เมื่อความพอใจอย่างยิ่ง มีอยู่ (สาราเค สติ) ความผูกติดกับอารมณ์ ย่อมมี (สญฺโโค โหติ) มิคชาละ ภิกษุผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยการผูกติดกับอารมณ์ด้วยอำนาจแห่งความเพลิน นั่นแหละ เราเรียกว่า ผู้มีการอยู่อย่างมีเพื่อนสอง.
มิคชาละ กลิ่นทั้งหลายที่จะรู้แจ้งด้วยจมูก อันน่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะน่ารัก …ถ้าหากว่าภิกษุย่อมเพลิดเพลิน พร่ำถึง สยบมัวเมาซึ่งกลิ่นนั้น … ความเพลิดเพลิน ย่อมเกิดขึ้น เมื่อความเพลิดเพลิน มีอยู่ ความพอใจอย่างยิ่ง ย่อมมี เมื่อความพอใจอย่างยิ่ง มีอยู่ ความผูกติดกับอารมณ์ ย่อมมี มิคชาละ ภิกษุผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยการผูกติดกับอารมณ์ด้วยอำนาจแห่งความเพลิน นั่นแหละ เราเรียกว่า ผู้มีการอยู่อย่างมีเพื่อนสอง.
มิคชาละ รสทั้งหลายที่จะรู้แจ้งด้วยลิ้น อันน่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะน่ารัก … ถ้าหากว่าภิกษุย่อมเพลิดเพลิน พร่ำถึง สยบมัวเมาซึ่งรสนั้น … ความเพลิดเพลิน ย่อมเกิดขึ้น เมื่อความเพลิดเพลิน มีอยู่ ความพอใจอย่างยิ่ง ย่อมมี เมื่อความพอใจอย่างยิ่ง มีอยู่ ความผูกติดกับอารมณ์ ย่อมมี มิคชาละ ภิกษุผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยการผูกติดกับอารมณ์ด้วยอำนาจแห่งความเพลิน นั่นแหละ เราเรียกว่า ผู้มีการอยู่อย่างมีเพื่อนสอง.
มิคชาละ โผฏฐัพพะทั้งหลายที่จะรู้แจ้งด้วยกาย อันน่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะน่ารัก …ถ้าหากว่าภิกษุย่อมเพลิดเพลิน พร่ำถึง สยบมัวเมาซึ่งโผฏฐัพพะนั้น … ความเพลิดเพลิน ย่อมเกิดขึ้น เมื่อความเพลิดเพลิน มีอยู่ ความพอใจอย่างยิ่ง ย่อมมี เมื่อความพอใจอย่างยิ่ง มีอยู่ ความผูกติดกับอารมณ์ ย่อมมี มิคชาละ ภิกษุผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยการผูกติดกับอารมณ์ด้วยอำนาจแห่งความเพลิน นั่นแหละ เราเรียกว่า ผู้มีการอยู่อย่างมีเพื่อนสอง.
มิคชาละ ธรรมทั้งหลายที่จะรู้แจ้งด้วยใจ อันน่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะน่ารัก เป็นที่อาศัยแห่งความใคร่ ชวนให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าหากว่าภิกษุย่อมเพลิดเพลิน พร่ำถึง สยบมัวเมาซึ่งธรรมนั้น เมื่อภิกษุเพลิดเพลิน พร่ำถึง สยบมัวเมา ซึ่งธรรมนั้นอยู่ ความเพลิดเพลิน ย่อมเกิดขึ้น เมื่อความเพลิดเพลิน มีอยู่ ความพอใจอย่างยิ่ง ย่อมมี เมื่อความพอใจอย่างยิ่ง มีอยู่ ความผูกติดกับอารมณ์ ย่อมมี มิคชาละ ภิกษุผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยการผูกติดกับอารมณ์ด้วยอำนาจแห่งความเพลิน นั่นแหละ เราเรียกว่า ผู้มีการอยู่อย่างมีเพื่อนสอง.
มิคชาละ ภิกษุผู้มีปกติอยู่ด้วยอาการอย่างนี้ ถึงจะเสพเสนาสนะ อันเป็นป่าและป่าทึบ ซึ่งเงียบสงัด มีเสียงรบกวนน้อย ไร้ซึ่งลมจากกายคน ควรเป็นที่ทำการอันสงบของมนุษย์ สมควรเป็นที่หลีกเร้นเช่นนี้แล้วก็ตาม ถึงอย่างนั้น ภิกษุนั้น เราก็ยังคงเรียกว่า ผู้มีการอยู่อย่างมีเพื่อนสอง ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะว่าตัณหานั่นแหละเป็นเพื่อนสองของภิกษุนั้น เขายังละตัณหานั้นไม่ได้ ดังนั้น ภิกษุนั้น เราจึงเรียกว่า ผู้มีการอยู่อย่างมีเพื่อนสอง.
มิคชาละ รูปทั้งหลายที่จะรู้แจ้งด้วยตา อันน่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะน่ารัก เป็นที่อาศัยแห่งความใคร่ ชวนให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าหากว่าภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำถึง ไม่สยบมัวเมาซึ่งรูปนั้น เมื่อภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำถึง ไม่สยบมัวเมา ซึ่งรูปนั้นนั่นแหละ ความเพลิดเพลิน ย่อมดับ (นนฺทิ นิรุชฺฌติ) เมื่อความเพลิดเพลิน ไม่มีอยู่ (นนฺทิยา อสติ) ความพอใจอย่างยิ่ง ย่อมไม่มี (สาราโค น โหติ) เมื่อความพอใจอย่างยิ่ง ไม่มีอยู่ (สาราเค อสติ) ความผูกติดกับอารมณ์ ย่อมไม่มี (สญฺโโค น โหติ) มิคชาละ ภิกษุผู้ไม่ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยการผูกติดกับอารมณ์ด้วยอำนาจแห่งความเพลิน นั่นแหละ เราเรียกว่า ผู้มีการอยู่อย่างอยู่ผู้เดียว.
มิคชาละ เสียงทั้งหลายที่จะรู้แจ้งด้วยหู อันน่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะน่ารัก … ถ้าหากว่าภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำถึง ไม่สยบมัวเมาซึ่งเสียงนั้น … ความเพลิดเพลิน ย่อมดับ เมื่อความเพลิดเพลิน ไม่มีอยู่ ความพอใจอย่างยิ่ง ย่อมไม่มี เมื่อความพอใจอย่างยิ่ง ไม่มีอยู่ ความผูกติดกับอารมณ์ ย่อมไม่มี มิคชาละ ภิกษุผู้ไม่ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยการผูกติดกับอารมณ์ด้วยอำนาจแห่งความเพลิน นั่นแหละ เราเรียกว่า ผู้มีการอยู่อย่างอยู่ผู้เดียว.
มิคชาละ กลิ่นทั้งหลายที่จะรู้แจ้งด้วยจมูก อันน่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะน่ารัก … ถ้าหากว่าภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำถึง ไม่สยบมัวเมาซึ่งกลิ่นนั้น … ความเพลิดเพลิน ย่อมดับ เมื่อความเพลิดเพลิน ไม่มีอยู่ ความพอใจอย่างยิ่ง ย่อมไม่มี เมื่อความพอใจอย่างยิ่ง ไม่มีอยู่ ความผูกติดกับอารมณ์ ย่อมไม่มี มิคชาละ ภิกษุผู้ไม่ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยการผูกติดกับอารมณ์ด้วยอำนาจแห่งความเพลิน นั่นแหละ เราเรียกว่า ผู้มีการอยู่อย่างอยู่ผู้เดียว.
มิคชาละ รสทั้งหลายที่จะรู้แจ้งด้วยลิ้น อันน่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะน่ารัก … ถ้าหากว่าภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำถึง ไม่สยบมัวเมาซึ่งรสนั้น … ความเพลิดเพลิน ย่อมดับ เมื่อความเพลิดเพลิน ไม่มีอยู่ ความพอใจอย่างยิ่ง ย่อมไม่มี เมื่อความพอใจอย่างยิ่ง ไม่มีอยู่ ความผูกติดกับอารมณ์ ย่อมไม่มี มิคชาละ ภิกษุผู้ไม่ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยการผูกติดกับอารมณ์ด้วยอำนาจแห่งความเพลิน นั่นแหละ เราเรียกว่า ผู้มีการอยู่อย่างอยู่ผู้เดียว.
มิคชาละ โผฏฐัพพะทั้งหลายที่จะรู้แจ้งด้วยกาย อันน่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะน่ารัก … ถ้าหากว่าภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำถึง ไม่สยบมัวเมาซึ่งโผฏฐัพพะนั้น … ความเพลิดเพลิน ย่อมดับ เมื่อความเพลิดเพลิน ไม่มีอยู่ ความพอใจอย่างยิ่ง ย่อมไม่มี เมื่อความพอใจอย่างยิ่ง ไม่มีอยู่ ความผูกติดกับอารมณ์ ย่อมไม่มี มิคชาละ ภิกษุผู้ไม่ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยการผูกติดกับอารมณ์ด้วยอำนาจแห่งความเพลิน นั่นแหละ เราเรียกว่า ผู้มีการอยู่อย่างอยู่ผู้เดียว.
มิคชาละ ธรรมทั้งหลายที่จะรู้แจ้งด้วยใจ อันน่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะน่ารัก เป็นที่อาศัยแห่งความใคร่ ชวนให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าหากว่าภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำถึง ไม่สยบมัวเมาซึ่งธรรมนั้น เมื่อภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำถึง ไม่สยบมัวเมาซึ่งธรรมนั้น นั่นแหละ ความเพลิดเพลิน ย่อมดับ เมื่อความเพลิดเพลิน ไม่มีอยู่ ความพอใจอย่างยิ่ง ย่อมไม่มี เมื่อความพอใจอย่างยิ่ง ไม่มีอยู่ ความผูกติดกับอารมณ์ ย่อมไม่มี มิคชาละ ภิกษุผู้ไม่ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยการผูกติดกับอารมณ์ด้วยอำนาจแห่งความเพลิน นั่นแหละ เราเรียกว่า ผู้มีการอยู่อย่างอยู่ผู้เดียว.
มิคชาละ ภิกษุผู้มีปกติอยู่ด้วยอาการอย่างนี้ แม้จะอยู่ในหมู่บ้าน อันระคนไปด้วยภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา พระราชา มหาอำมาตย์ของพระราชา เดียรถีย์ สาวกของเดียรถีย์ทั้งหลายก็ตาม ถึงอย่างนั้น ภิกษุนั้น เราก็ยังคงเรียกว่า ผู้มีการอยู่อย่างอยู่ผู้เดียว ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะว่าตัณหานั่นแหละเป็นเพื่อนสองของภิกษุนั้น ตัณหานั้น เธอละได้แล้ว ดังนั้น ภิกษุนั้น เราจึงเรียกว่า ผู้มีการอยู่อย่างอยู่ผู้เดียว.
-บาลี สฬา สํ 18/43/66
https://84000.org/tipitaka/pali/?18//43
https://etipitaka.com/read/pali/18/43/
English translation by Bhikkhu Bodhi
At Savatthi Then the Venerable Migajala approached the Blessed One, paid homage to him, sat down to one side, and said to him:
“Venerable sir, it is said, ‘a lone dweller, a lone dweller.’ In what way, venerable sir, is one a lone dweller, and in what way is one dwelling with a partner?”
“There are, Migajala, forms cognizable by the eye that are desirable, lovely, agreeable, pleasing, sensually enticing, tantalizing If a bhikkhu seeks delight in them, welcomes them, and remains holding to them, delight arises When there is delight, there is infatuation When there is infatuation, there is bondage Bound by the fetter of delight, Migajala, a bhikkhu is called one dwelling with a partner.
“There are, Migajala, sounds cognizable by the ear … odours cognizable by the nose … tastes cognizable by the tongue … tactile objects cognizable by the body … mental phenomena cognizable by the mind that are desirable, lovely, agreeable, pleasing, sensually enticing, tantalizing If a bhikkhu seeks delight in them … he is called one dwelling with a partner.
“Migajala, even though a bhikkhu who dwells thus resorts to forests and groves, to remote lodgings where there are few sounds and little noise, desolate, hidden from people, appropriate for seclusion, he is still called one dwelling with a partner For what reason? Because craving is his partner, and he has not abandoned it; therefore he is called one dwelling with a partner.
“There are, Migajala, forms cognizable by the eye that are desirable, lovely, agreeable, pleasing, sensually enticing, tantalizing If a bhikkhu does not seek delight in them, does not welcome them, and does not remain holding to them, delight ceases When there is no delight, there is no infatuation When there is no infatuation, there is no bondage Released from the fetter of delight, Migajala, a bhikkhu is called a lone dweller.
“There are, Migajala, sounds cognizable by the ear … odours cognizable by the nose … tastes cognizable by the tongue … tactile objects cognizable by the body … mental phenomena cognizable by the mind that are desirable, lovely, agreeable, pleasing, sensually enticing, tantalizing If a bhikkhu does not seek delight in them … he is called a lone dweller.
“Migajala, even though a bhikkhu who dwells thus lives in the vicinity of a village, associating with bhikkhus and bhikkhunis, with male and female lay followers, with kings and royal ministers, with sectarian teachers and their disciples, he is still called a lone dweller For what reason? Because craving is his partner, and he has abandoned it; therefore he is called a lone dweller.”