ธรรมทานเลิศกว่าทานทั้งหลาย
ภิกษุทั้งหลาย กำลัง (พละ) ๔ ประการเหล่านี้มีอยู่ ๔ ประการอะไรบ้าง คือ
๑) กำลัง คือ ปัญญา (ปัญญาพละ)
๒) กำลัง คือ ความเพียร (วิริยพละ)
๓) กำลัง คือ การงานอันไม่มีโทษ (อนวัชชพละ)
๔) กำลัง คือ การสงเคราะห์ (สังคหพละ)
ภิกษุทั้งหลาย ก็กำลัง คือ ปัญญา เป็นอย่างไร คือ ธรรมเหล่าใดเป็นกุศล นับว่าเป็นกุศล ธรรมเหล่าใดเป็นอกุศล นับว่าเป็นอกุศล ธรรมเหล่าใดมีโทษ นับว่ามีโทษ ธรรมเหล่าใดไม่มีโทษ นับว่าไม่มีโทษ ธรรมเหล่าใดเป็นธรรมดำ นับว่าเป็นธรรมดำ ธรรมเหล่าใดเป็นธรรมขาว นับว่าเป็นธรรมขาว ธรรมเหล่าใดไม่ควรเสพ นับว่าไม่ควรเสพ ธรรมเหล่าใดควรเสพ นับว่าควรเสพ ธรรมเหล่าใดไม่สามารถทำความเป็นอริยะ นับว่าไม่สามารถทำความเป็นอริยะ ธรรมเหล่าใดสามารถทำความเป็นอริยะ นับว่าสามารถทำความเป็นอริยะ ธรรมเหล่านั้นเป็นธรรมอันบุคคลเห็นแจ้ง แทงตลอดด้วยปัญญา ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า กำลัง คือ ปัญญา.
ภิกษุทั้งหลาย ก็กำลัง คือ ความเพียร เป็นอย่างไร คือ ธรรมเหล่าใดเป็นอกุศล นับว่าเป็นอกุศล ธรรมเหล่าใดมีโทษ นับว่ามีโทษ ธรรมเหล่าใดเป็นธรรมดำ นับว่าเป็นธรรมดำ ธรรมเหล่าใดไม่ควรเสพ นับว่าไม่ควรเสพ ธรรมเหล่าใดไม่สามารถทำความเป็นอริยะ นับว่าไม่สามารถทำความเป็นอริยะ บุคคลย่อมปลูกความพอใจ ย่อมพยายาม ย่อมปรารภความเพียร ย่อมประคองจิต ย่อมตั้งจิตไว้ เพื่อละธรรมเหล่านั้น ธรรมเหล่าใดเป็นกุศล นับว่าเป็นกุศล ธรรมเหล่าใดไม่มีโทษ นับว่าไม่มีโทษ ธรรมเหล่าใดเป็นธรรมขาว นับว่าเป็นธรรมขาว ธรรมเหล่าใดควรเสพ นับว่าควรเสพ ธรรมเหล่าใดสามารถทำความเป็นอริยะ นับว่าสามารถทำความเป็นอริยะ บุคคลย่อมปลูกความพอใจ ย่อมพยายาม ย่อมปรารภความเพียร ย่อมประคองจิต ย่อมตั้งจิตไว้ เพื่อให้ได้ธรรมเหล่านั้น ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า กำลัง คือ ความเพียร.
ภิกษุทั้งหลาย ก็กำลัง คือ การงานอันไม่มีโทษ เป็นอย่างไร ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในกรณีนี้ เป็นผู้ประกอบด้วยกายกรรม อันหาโทษมิได้ เป็นผู้ประกอบด้วยวจีกรรม อันหาโทษมิได้ เป็นผู้ประกอบด้วยมโนกรรม อันหาโทษมิได้ ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า กำลัง คือ การงานอันไม่มีโทษ.
ภิกษุทั้งหลาย ก็กำลัง คือ การสงเคราะห์ เป็นอย่างไร ภิกษุทั้งหลาย ได้แก่ สังคหวัตถุ ๔ ประการเหล่านี้ คือ
๑) ทาน (การให้)
๒) เปยยวัชชะ (การพูดถ้อยคำอันเป็นที่รัก)
๓) อัตถจริยา (การประพฤติประโยชน์)
๔) สมานัตตตา (ความมีตนเสมอกัน)
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมทานเลิศกว่าทานทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลาย การแสดงธรรมบ่อยๆ แก่บุคคลผู้ต้องการ ผู้เงี่ยโสตลงฟัง นี้เลิศกว่าการพูดถ้อยคำอันเป็นที่รัก ภิกษุทั้งหลาย การชักชวนคนผู้ไม่มีศรัทธาให้ตั้งมั่นดำรงอยู่ในศรัทธาสัมปทา ชักชวนผู้ทุศีลให้ตั้งมั่นดำรงอยู่ในสีลสัมปทา ชักชวนผู้ตระหนี่ให้ตั้งมั่นดำรงอยู่ในจาคสัมปทา ชักชวนผู้ปัญญาทรามให้ตั้งมั่นดำรงอยู่ในปัญญาสัมปทา นี้เลิศกว่าการประพฤติประโยชน์ทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลาย โสดาบันมีตนเสมอกับโสดาบัน สกทาคามีมีตนเสมอกับสกทาคามี อนาคามีมีตนเสมอกับอนาคามี อรหันต์มีตนเสมอกับอรหันต์ นี้เลิศกว่าความมีตนเสมอกันทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้เรียกว่า กำลัง คือ การสงเคราะห์.
ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้แล คือ กำลัง ๔ ประการ
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ประกอบด้วยกำลัง ๔ ประการเหล่านี้ ย่อมก้าวล่วงภัย ๕ ประการ คือ
๑) อาชีวิกภัย (ภัยอันเนื่องด้วยการเลี้ยงชีพ)
๒) อสิโลกภัย (ภัยคือการติเตียน)
๓) ปริสสารัชภัย (ภัยคือความครั่นคร้ามในบริษัท)
๔) มรณภัย (ภัยคือความตาย)
๕) ทุคติภัย (ภัยคือทุคติ)
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกนั้น ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เราไม่กลัวต่อภัยอันเนื่องด้วยการเลี้ยงชีพ ไฉนเราจักต้องกลัวต่อภัยอันเนื่องด้วยการเลี้ยงชีพเล่า เพราะเรามีกำลัง ๔ ประการ คือ กำลังปัญญา กำลังความเพียร กำลังการงานอันไม่มีโทษ กำลังการสงเคราะห์ คนที่มีปัญญาทรามจึงกลัวต่อภัยอันเนื่องด้วยการเลี้ยงชีพ คนเกียจคร้านจึงกลัวต่อภัยอันเนื่องด้วยการเลี้ยงชีพ คนมีการงานทางกาย ทางวาจา และทางใจที่มีโทษ จึงกลัวต่อภัยอันเนื่องด้วยการเลี้ยงชีพ คนที่ไม่สงเคราะห์ใคร จึงกลัวต่อภัยอันเนื่องด้วยการเลี้ยงชีพ.
เราไม่กลัวต่อภัยคือการติเตียน …
เราไม่กลัวต่อภัยคือความครั่นคร้ามในบริษัท …
เราไม่กลัวต่อภัยคือความตาย …
เราไม่กลัวต่อภัยคือทุคติ ไฉนเราจักต้องกลัวต่อภัยคือทุคติเล่า เพราะเรามีกำลัง ๔ ประการ คือ กำลังปัญญา กำลังความเพียร กำลังการงานอันไม่มีโทษ กำลังการสงเคราะห์ คนที่มีปัญญาทราม จึงกลัวต่อภัยคือทุคติ คนเกียจคร้าน จึงกลัวต่อภัยคือทุคติ คนมีการงานทางกาย ทางวาจา และทางใจที่มีโทษ จึงกลัวต่อภัยคือทุคติ คนที่ไม่สงเคราะห์ใคร จึงกลัวภัยคือทุคติ.
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ประกอบด้วยกำลัง ๔ ประการเหล่านี้แล ย่อมก้าวล่วงภัย ๕ ประการเหล่านี้.
-บาลี นวก. อํ. 23/376/209.
https://etipitaka.com/read/pali/23/376/
English translation by Bhikkhu Sujato
“Mendicants, there are these four powers. What four? The powers of wisdom, energy, blamelessness, and inclusiveness.
And what is the power of wisdom? One has clearly seen and clearly contemplated with wisdom those qualities that are skillful and considered to be skillful; those that are unskillful … blameworthy … blameless … dark … bright … to be cultivated … not to be cultivated … not worthy of the noble ones … worthy of the noble ones and considered to be worthy of the noble ones. This is called the power of wisdom.
And what is the power of energy? One generates enthusiasm, tries, makes an effort, exerts the mind, and strives to give up those qualities that are unskillful and considered to be unskillful; those that are blameworthy … dark … not to be cultivated … not worthy of the noble ones and considered to be not worthy of the noble ones. One generates enthusiasm, tries, makes an effort, exerts the mind, and strives to gain those qualities that are skillful and considered to be skillful; those that are blameless … bright … to be cultivated … worthy of the noble ones and considered to be worthy of the noble ones. This is called the power of energy.
And what is the power of blamelessness? It’s when a mendicant has blameless conduct by way of body, speech, and mind. This is called the power of blamelessness.
And what is the power of inclusiveness? There are these four ways of being inclusive. Giving, kindly words, taking care, and equality. The best of gifts is the gift of the teaching. The best sort of kindly speech is to teach the Dhamma again and again to someone who is engaged and who lends an ear. The best way of taking care is to encourage, settle, and ground the unfaithful in faith, the unethical in ethics, the stingy in generosity, and the ignorant in wisdom. The best kind of equality is the equality of a stream-enterer with another stream-enterer, a once-returner with another once-returner, a non-returner with another non-returner, and a perfected one with another perfected one. This is called the power of inclusiveness. These are the four powers.
A noble disciple who has these four powers has got past five fears. What five? Fear regarding livelihood, disrepute, feeling insecure in an assembly, death, and bad rebirth.
Then that noble disciple reflects: ‘I have no fear regarding livelihood. Why would I be afraid of that? I have these four powers: the powers of wisdom, energy, blamelessness, and inclusiveness. A witless person might fear for their livelihood. A lazy person might fear for their livelihood. A person who does blameworthy things by way of body, speech, and mind might fear for their livelihood. A person who does not include others might fear for their livelihood. I have no fear of disrepute … I have no fear about feeling insecure in an assembly … I have no fear of death … I have no fear of a bad rebirth. Why would I be afraid of that? I have these four powers: the powers of wisdom, energy, blamelessness, and inclusiveness. A witless person might be afraid of a bad rebirth. A lazy person might be afraid of a bad rebirth. A person who does blameworthy things by way of body, speech, and mind might be afraid of a bad rebirth. A person who does not include others might be afraid of a bad rebirth.’
A noble disciple who has these four powers has got past these five fears.”