ฆ่าความโกรธได้ ย่อมอยู่เป็นสุข
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในพระวิหารเวฬุวัน อันเป็นที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์ ก็โดยสมัยนั้นแล มีนางพราหมณีชื่อธนัญชานีแห่งพราหมณ์ ผู้ภารทวาชโคตรคนหนึ่ง เป็นผู้เลื่อมใสยิ่งในพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์
ครั้งนั้น นางธนัญชานีพราหมณี กำลังนำภัตเข้าไปเพื่อพราหมณ์ภารทวาชโคตร ก้าวเท้าพลาดจึงเปล่งอุทาน ๓ ครั้งว่า ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น … ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
เมื่อนางธนัญชานีพราหมณีกล่าวอย่างนี้แล้ว พราหมณ์ภารทวาชโคตรได้กล่าวกะนางธนัญชานีพราหมณีว่า ก็หญิงถ่อยนี้กล่าวคุณของสมณะโล้นอย่างนี้อย่างนี้ ไม่ว่าที่ไหนๆ แน่ะ หญิงถ่อย บัดนี้ เราจักยกวาทะต่อพระศาสดานั้นของเจ้า
นางธนัญชานีพราหมณีกล่าวว่า พราหมณ์ ฉันยังไม่เห็นบุคคลผู้จะพึงยกถ้อยคำต่อพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นในโลก พร้อมด้วยเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมด้วยสมณพราหมณ์ เทวดา และมนุษย์ ข้าแต่พราหมณ์ เอาเถิด ท่านจงไป แม้ไปแล้วก็จักรู้
ลำดับนั้น พราหมณ์ภารทวาชโคตรโกรธขัดใจ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้ว สนทนาปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคแล้วนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
พราหมณ์ภารทวาชโคตรนั่ง ณ ที่สมควร ได้กล่าวกะพระผู้มีพระภาคว่า บุคคลฆ่าอะไรได้ ย่อมนอนเป็นสุข ฆ่าอะไรได้ ย่อมไม่เศร้าโศก ข้าแต่พระโคดม พระองค์ย่อมชอบใจการฆ่าธรรมอะไรเป็นธรรมอันเอก
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
บุคคลฆ่าความโกรธได้ย่อมนอนเป็นสุข ฆ่าความโกรธได้ย่อมไม่เศร้าโศก
พราหมณ์ พระอริยเจ้าทั้งหลายย่อมสรรเสริญการฆ่าความโกรธ อันมีรากเป็นพิษ มีที่สุด (ยอด) อันหวาน เพราะว่าบุคคลฆ่าความโกรธนั้นได้แล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว พราหมณ์ภารทวาชโคตรได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก พระโคดมผู้เจริญทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืด ด้วยคิดว่า คนมีตาดีจักได้เห็นรูป ดังนี้ ข้าพระองค์นี้ ขอถึงพระโคดมผู้เจริญ กับทั้งพระธรรม และพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอข้าพระองค์พึงได้บรรพชา พึงได้อุปสมบทในสำนักของพระโคดมผู้เจริญ จากนั้น พราหมณ์ภารทวาชโคตรได้บรรพชาได้อุปสมบทแล้ว ในสำนักของพระผู้มีพระภาค
-บาลี สคาถ. สํ. 15/235/626.
https://84000.org/tipitaka/pali/?15//235
https://etipitaka.com/read/pali/15/235/
English translation by Bhikkhu Sujato
So I have heard. At one time the Buddha was staying near Rājagaha, in the Bamboo Grove, the squirrels’ feeding ground.
Now at that time a certain brahmin lady of the Bhāradvāja clan named Dhanañjānī was devoted to the Buddha, the teaching, and the Saṅgha. Once, while she was bringing her husband his meal she tripped and expressed this heartfelt sentiment three times:
“Homage to that Blessed One, the perfected one, the fully awakened Buddha!
Homage to that Blessed One, the perfected one, the fully awakened Buddha!
Homage to that Blessed One, the perfected one, the fully awakened Buddha!”
When she said this, the brahmin said to Dhanañjānī:
“That’d be right. For the slightest thing this lowlife woman spouts out praise for that bald ascetic. Right now, lowlife woman, I’m going to refute your teacher’s doctrine!”
“Brahmin, I don’t see anyone in this world—with its gods, Māras, and Brahmās, this population with its ascetics and brahmins, its gods and humans—who can refute the doctrine of the Blessed One, the perfected one, the fully awakened Buddha. But anyway, you should go. When you’ve gone you’ll understand.”
Then the brahmin of the Bhāradvāja clan, angry and upset, went to the Buddha and exchanged greetings with him. When the greetings and polite conversation were over, he sat down to one side, and addressed the Buddha in verse:
“When what is incinerated do you sleep at ease?When what is incinerated is there no sorrow?What is the one thingwhose killing you approve?”
“When anger’s incinerated you sleep at ease.When anger’s incinerated there is no sorrow.O brahmin, anger has a poisoned rootand a honey tip.The noble ones praise its killing,for when it’s incinerated there is no sorrow.”
When he said this, the brahmin said to the Buddha, “Excellent, Master Gotama! Excellent! As if he were righting the overturned, or revealing the hidden, or pointing out the path to the lost, or lighting a lamp in the dark so people with good eyes can see what’s there, Master Gotama has made the teaching clear in many ways. I go for refuge to Master Gotama, to the teaching, and to the mendicant Saṅgha. Sir, may I receive the going forth, the ordination in the Buddha’s presence?”
And the brahmin received the going forth, the ordination in the Buddha’s presence.