ธรรมะก่อนตาย ของท่านพาหิยะ
…ก็สมัยนั้นแล ภิกษุมากด้วยกันจงกรมอยู่ในที่แจ้ง พาหิยทารุจีริยะเข้าไปหาภิกษุ ทั้งหลายถึงที่อยู่ ครั้นแล้วได้ถามภิกษุเหล่านั้นว่า ข้าแต่ท่านทั้งหลายผู้เจริญ บัดนี้ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธะประทับอยู่ ณ ที่ไหนหนอข้าพเจ้าประสงค์จะเฝ้าพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธะพระองค์นั้น
ภิกษุเหล่านั้นตอบว่า พาหิยะ พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปสู่ละแวกบ้านเพื่อบิณฑบาต ลำดับนั้นแล พาหิยทารุจีริยะรีบด่วนออกจากพระวิหารเชตวัน เข้าไปยังพระนครสาวัตถี ได้เห็นพระผู้มีพระภาคกำลังเสด็จเที่ยวบิณฑบาตในพระนครสาวัตถี น่าเลื่อมใส ควรเลื่อมใส มีอินทรีย์สงบ มีพระทัยสงบ ถึงความฝึกและความสงบอันสูงสุด มีตนอันฝึกแล้ว คุ้มครองแล้ว มีอินทรีย์สำรวมแล้วผู้ประเสริฐ แล้วได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค หมอบลงแทบเท้าของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้าแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ภันเต ขอพระผู้มีพระภาคโปรดทรงแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์ ขอพระสุคตโปรดทรงแสดงธรรมที่จะพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข แก่ข้าพระองค์สิ้นกาลนานเถิด
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า พาหิยะ เวลานี้ยังไม่สมควรก่อน เพราะเรายังเข้าไปสู่ละแวกบ้านเพื่อบิณฑบาตอยู่
แม้ครั้งที่ ๒ พาหิยทารุจีริยะก็ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ความเป็นไปแห่งอันตรายแก่ชีวิตของพระผู้มีพระภาคก็ดี ความเป็นไปแห่งอันตรายแก่ชีวิตของข้าพระองค์ก็ดี รู้ได้ยากแล ภันเต ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์ ขอพระสุคตโปรดแสดงธรรมที่จะพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข แก่ข้าพระองค์ตลอดกาลนานเถิด.
แม้ครั้งที่ ๒ พระผู้พระภาคตรัสว่า พาหิยะ เวลานี้ยังไม่สมควรก่อน เพราะเรายังเข้าไปสู่ละแวกบ้านเพื่อบิณฑบาตอยู่
แม้ครั้งที่ ๓ พาหิยทารุจีริยะก็ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่าข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ความเป็นไปแห่งอันตรายแก่ชีวิตของพระผู้มีพระภาคก็ดี ความเป็นไปแห่งอันตรายแก่ชีวิตของข้าพระองค์ก็ดี รู้ได้ยากแล ภันเต ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์ ขอพระสุคตโปรดแสดงธรรมเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข แก่ข้าพระองค์สิ้นกาลนานเถิด.
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า พาหิยะ เพราะเหตุนั้นแล เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เมื่อเห็นแล้ว สักว่าเห็น เมื่อฟังแล้ว สักว่าฟัง เมื่อรู้สึกแล้ว สักว่ารู้สึก (ทางจมูก ลิ้น กาย) เมื่อรู้แจ้งแล้ว สักว่ารู้แจ้ง (ทางวิญญาณ) พาหิยะ เธอพึงศึกษาอย่างนี้แล.
พาหิยะ ในกาลใด เมื่อเธอเห็นจักเป็นเพียงสักว่าเห็น เมื่อฟังจักเป็นเพียงสักว่าฟัง เมื่อรู้สึกจักเป็นเพียงสักว่ารู้สึก เมื่อรู้แจ้งจักเป็นเพียงสักว่ารู้แจ้ง ในกาลนั้น เธอ ย่อมไม่มี.
ในกาลใด เธอไม่มี เธอก็ไม่ปรากฏในโลกนี้ ไม่ปรากฏในโลกอื่น ไม่ปรากฏในระหว่างแห่งโลกทั้งสอง นั่นแหละ คือที่สุดแห่งทุกข์.
ลำดับนั้นแล จิตของพาหิยทารุจีริยะ กุลบุตรหลุดพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลายเพราะไม่มีอุปาทานในขณะนั้นเอง ด้วยพระธรรมเทศนาโดยย่อนี้ของพระผู้มีพระภาค ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสสอนพาหิยทารุจีริยะกุลบุตรด้วยพระโอวาทโดยย่อนี้แล้ว เสด็จหลีกไป.
ครั้งนั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จหลีกไปแล้วไม่นาน แม่โคลูกอ่อนขวิดพาหิยทารุจีริยะให้ล้มลงปลงเสียจากชีวิต ครั้นพระผู้มีพระภาคเสด็จเที่ยวบิณฑบาตในพระนครสาวัตถีเสด็จกลับจากบิณฑบาตในเวลาปัจฉาภัต เสด็จออกจากพระนครพร้อมกับภิกษุเป็นอันมาก ได้ทอดพระเนตรเห็นพาหิยทารุจีริยะกระทำกาละแล้ว จึงตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า
ภิกษุทั้งหลายท่านทั้งหลายจงช่วยกันยกสรีระของพาหิยทารุจีริยะขึ้นสู่เตียง แล้วจงนำไปเผาเสีย และจงทำสถูปไว้ ภิกษุทั้งหลาย พาหิยทารุจีริยะประพฤติธรรมอันประเสริฐเสมอกับท่านทั้งหลายกระทำกาละแล้ว
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว ช่วยกันยกสรีระของพระพาหิยทารุจีริยะขึ้นสู่เตียง แล้วนำไปเผา และทำสถูปไว้แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้นั่งอยู่ ณ ที่ควรข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ภันเต สรีระของพาหิยทารุจีริยะข้าพระองค์ทั้งหลายเผาแล้ว และสถูปของพาหิยทารุจีริยะนั้น ข้าพระองค์ทั้งหลายทำไว้แล้ว คติของพาหิยทารุจีริยะนั้นเป็นอย่างไร ภพเบื้องหน้าของเขาเป็นอย่างไร
ภิกษุทั้งหลาย พาหิยทารุจีริยะเป็นบัณฑิต ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ทั้งไม่ทำเราให้ลำบาก เพราะเหตุแห่งการแสดงธรรม ภิกษุทั้งหลาย พาหิยทารุจีริยะปรินิพพานแล้ว.
-บาลี อุ. ขุ. 25/83/49.
https://84000.org/tipitaka/pali/?25//83
https://etipitaka.com/read/pali/25/83/
English translation by Bhikkhu Sujato
At that time several mendicants were walking mindfully in the open air. Bāhiya approached them and said, “Sirs, where is the Blessed One at present, the perfected one, the fully awakened Buddha? For I want to see him.” “He has entered an inhabited area for almsfood, Bāhiya.”
Then Bāhiya rushed out of the Jeta Grove and entered Sāvatthī, where he saw the Buddha walking for alms. He was impressive and inspiring, with peaceful faculties and mind, attained to the highest self-control and serenity, like an elephant with tamed, guarded, and controlled faculties. Bāhiya went up to the Buddha, bowed down with his head at the Buddha’s feet, and said, “Sir, let the Blessed One teach me the Dhamma! Let the Holy One teach me the Dhamma! That would be for my lasting welfare and happiness.” The Buddha said this: “It’s not the time, Bāhiya, so long as I have entered an inhabited area for almsfood.”
For a second time, Bāhiya said, “But you never know, sir, when life is at risk, either the Buddha’s or my own. Let the Blessed One teach me the Dhamma! Let the Holy One teach me the Dhamma! That would be for my lasting welfare and happiness.” For a second time, the Buddha said, “It’s not the time, Bāhiya, so long as I have entered an inhabited area for almsfood.”
For a third time, Bāhiya said, “But you never know, sir, when life is at risk, either the Buddha’s or my own. Let the Blessed One teach me the Dhamma! Let the Holy One teach me the Dhamma! That would be for my lasting welfare and happiness.”
“In that case, Bāhiya, you should train like this: ‘In the seen will be merely the seen; in the heard will be merely the heard; in the thought will be merely the thought; in the known will be merely the known.’ That’s how you should train. When you have trained in this way, you won’t be ‘by that’. When you’re not ‘in that’, you won’t be in this world or the world beyond or between the two. Just this is the end of suffering.”
Then, due to this brief Dhamma teaching of the Buddha, Bāhiya’s mind was right away freed from defilements by not grasping.
And when the Buddha had given Bāhiya this brief advice he left. But soon after the Buddha had left, a cow with a baby calf charged at Bāhiya and took his life.
Then the Buddha wandered for alms in Sāvatthī. After the meal, on his return from almsround, he departed the city together with several mendicants and saw that Bāhiya had passed away. He said to the monks, “Mendicants, pick up Bāhiya’s corpse. Having lifted it onto a cot and carried it, cremate it and build a monument. Mendicants, one of your spiritual companions has passed away.”
“Yes, sir,” replied those mendicants. They did as the Buddha asked, then returned to the Buddha and said, “Sir, Bāhiya’s corpse has been cremated and a monument built for him. Where has he been reborn in his next life?” “Mendicants, Bāhiya was astute. He practiced in line with the teachings, and did not trouble me about the teachings. Bāhiya of the Bark Cloth has become fully extinguished.”