ที่เกิดของตัณหา และเหตุเกิดของอุปธิ
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่กัมมาสทัมมนิคมของชาวกุรุ ในกุรุชนบท ในที่นั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย เมื่อพิจารณา ย่อมพิจารณาปัจจัยภายในบ้างหรือไม่.
เมื่อพระองค์ถามอย่างนี้แล้ว มีภิกษุรูปหนึ่งได้ทูลขึ้นว่า ภันเต ข้าพระองค์เมื่อพิจารณา ย่อมพิจารณาปัจจัยภายในอยู่.
พระองค์จึงถามว่า เธอเมื่อพิจารณา ย่อมพิจารณาปัจจัยภายในอย่างไร.
ลำดับนั้น ภิกษุรูปนั้นก็กล่าวให้ทรงทราบ แต่ก็ไม่เป็นที่พอพระทัยของพระผู้มีพระภาค เมื่อภิกษุรูปนั้นทูลอย่างนั้นแล้ว ท่านพระอานนท์จึงได้ทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ถึงเวลาที่จะแสดงเรื่องนี้แล้ว ข้าแต่พระสุคต ถึงเวลาที่จะแสดงเรื่องนี้แล้ว พระองค์ตรัสการพิจารณาปัจจัยภายในข้อใด ภิกษุทั้งหลายฟังการพิจารณาปัจจัยภายในข้อนั้นจากพระองค์แล้ว จักทรงจำไว้ ดังนี้.
อานนท์ ถ้าอย่างนั้น เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในกรณีนี้ เมื่อพิจารณา ย่อมพิจารณาซึ่งปัจจัยภายในว่า ชราและมรณะนี้ใด เป็นทุกข์มิใช่น้อยนานาประการเกิดขึ้นในโลก ชราและมรณะที่เป็นทุกข์นี้ มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นที่ตั้งขึ้น มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด เมื่ออะไรมี ชราและมรณะจึงมี เมื่ออะไรไม่มี ชราและมรณะจึงไม่มี เมื่อเธอพิจารณาอยู่ ย่อมรู้ได้อย่างนี้ว่า ชราและมรณะนี้ใด เป็นทุกข์มิใช่น้อยนานาประการเกิดขึ้นในโลก ชราและมรณะที่เป็นทุกข์นี้ มีอุปธิเป็นเหตุ มีอุปธิเป็นที่ตั้งขึ้น มีอุปธิเป็นกำเนิด มีอุปธิเป็นแดนเกิด เมื่ออุปธิมี ชราและมรณะจึงมี เมื่ออุปธิไม่มี ชราและมรณะจึงไม่มี เธอย่อมรู้ชัดซึ่งชราและมรณะ ย่อมรู้ชัดซึ่งความเกิดแห่งชราและมรณะ ย่อมรู้ชัดซึ่งความดับแห่งชราและมรณะ ย่อมรู้ชัดซึ่งข้อปฏิบัติอันสมควรให้ถึงความดับแห่งชราและมรณะ และเธอผู้ปฏิบัติอย่างนั้นชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติตามธรรม ภิกษุทั้งหลาย เราเรียกภิกษุนี้ว่า เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความสิ้นทุกข์ เพื่อความดับไปแห่งชราและมรณะโดยชอบทุกประการ.
อีกประการหนึ่ง ภิกษุเมื่อพิจารณา ย่อมพิจารณาซึ่งปัจจัยภายในว่า ก็อุปธินี้มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นที่ตั้งขึ้น มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด เมื่ออะไรมี อุปธิจึงมี เมื่ออะไรไม่มี อุปธิจึงไม่มี เมื่อเธอพิจารณาอยู่ ย่อมรู้ได้อย่างนี้ว่า อุปธิมีตัณหาเป็นเหตุ มีตัณหาเป็นที่ตั้งขึ้น มีตัณหาเป็นกำเนิด มีตัณหาเป็นแดนเกิด เมื่อตัณหามี อุปธิจึงมี เมื่อตัณหาไม่มีอุปธิจึงไม่มี เธอย่อมรู้ชัดซึ่งอุปธิ ย่อมรู้ชัดซึ่งเหตุเกิดแห่งอุปธิ ย่อมรู้ชัดซึ่งความดับแห่งอุปธิ ย่อมรู้ชัดซึ่งข้อปฏิบัติอันสมควรให้ถึงความดับแห่งอุปธิ และเธอผู้ปฏิบัติอย่างนั้น ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติตามธรรม ภิกษุทั้งหลาย เราเรียกภิกษุนี้ว่า เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความสิ้นทุกข์ เพื่อความดับไปแห่งอุปธิโดยชอบทุกประการ.
อีกประการหนึ่ง ภิกษุเมื่อพิจารณา ย่อมพิจารณาซึ่งปัจจัยภายในว่า ก็ตัณหานี้ เมื่อเกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้นในที่ไหน เมื่อตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่ไหน เมื่อเธอพิจารณาอยู่ ย่อมรู้อย่างนี้ว่า สิ่งใดเป็นที่รัก เป็นที่ยินดีในโลก ตัณหานั้น เมื่อเกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้นในที่นั้น เมื่อตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นั้น.
ก็อะไรเล่าเป็นที่รัก เป็นที่ยินดีในโลก ตาเป็นที่รัก เป็นที่ยินดีในโลก ตัณหานั้น เมื่อเกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้นในที่นั้น เมื่อตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นั้น รูปทั้งหลาย … จักษุวิญญาณ … จักษุสัมผัส … เวทนาที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัส … รูปสัญญา … รูปสัญเจตนา … รูปตัณหา … รูปวิตก … รูปวิจารเป็นที่รัก เป็นที่ยินดีในโลก ตัณหานั้น เมื่อเกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้นในที่นั้น เมื่อตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นั้น.
หูเป็นที่รัก เป็นที่ยินดีในโลก ตัณหานั้น เมื่อเกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้นในที่นั้น เมื่อตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นั้น เสียงทั้งหลาย … โสตวิญญาณ … โสตสัมผัส … เวทนาที่เกิดขึ้นเพราะโสตสัมผัส … สัททสัญญา … สัททสัญเจตนา … สัททตัณหา … สัททวิตก … สัททวิจารเป็นที่รัก เป็นที่ยินดีในโลก ตัณหานั้น เมื่อเกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้นในที่นั้น เมื่อตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นั้น.
จมูกเป็นที่รัก เป็นที่ยินดีในโลก ตัณหานั้น เมื่อเกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้นในที่นั้น เมื่อตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นั้น กลิ่นทั้งหลาย … ฆานวิญญาณ … ฆานสัมผัส … เวทนาที่เกิดขึ้นเพราะฆานสัมผัส … คันธสัญญา … คันธสัญเจตนา … คันธตัณหา … คันธวิตก … คันธวิจารเป็นที่รัก เป็นที่ยินดีในโลก ตัณหานั้น เมื่อเกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้นในที่นั้น เมื่อตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นั้น.
ลิ้นเป็นที่รัก เป็นที่ยินดีในโลก ตัณหานั้น เมื่อเกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้นในที่นั้น เมื่อตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นั้น รสทั้งหลาย … ชิวหาวิญญาณ … ชิวหาสัมผัส … เวทนาที่เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัส … รสสัญญา … รสสัญเจตนา … รสตัณหา … รสวิตก … รสวิจารเป็นที่รัก เป็นที่ยินดีในโลก ตัณหานั้น เมื่อเกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้นในที่นั้น เมื่อตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นั้น.
กายเป็นที่รัก เป็นที่ยินดีในโลก ตัณหานั้น เมื่อเกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้นในที่นั้น เมื่อตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นั้น โผฏฐัพพะทั้งหลาย … กายวิญญาณ … กายสัมผัส … เวทนาที่เกิดขึ้นเพราะกายสัมผัส … โผฏฐัพพสัญญา … โผฏฐัพพสัญเจตนา … โผฏฐัพพตัณหา … โผฏฐัพพวิตก … โผฏฐัพพวิจารเป็นที่รัก เป็นที่ยินดีในโลก ตัณหานั้น เมื่อเกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้นในที่นั้น เมื่อตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นั้น.
ใจเป็นที่รัก เป็นที่ยินดีในโลก ตัณหานั้น เมื่อเกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้นในที่นั้น เมื่อตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นั้น ธรรมทั้งหลาย … มโนวิญญาณ … มโนสัมผัส … เวทนาที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัส … ธัมมสัญญา … ธัมมสัญเจตนา … ธัมมตัณหา … ธัมมวิตก … ธัมมวิจารเป็นที่รัก เป็นที่ยินดีในโลก ตัณหานั้น เมื่อเกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้นในที่นั้น เมื่อตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นั้น.
ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในกาลอันเป็นอดีต ได้เห็นสิ่งอันเป็นที่รัก ที่ยินดีในโลกนั้น โดยความเป็นของเที่ยง โดยความเป็นสุข โดยความเป็นตัวตน โดยความเป็นของไม่มีโรค โดยความเป็นของเกษม สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าทำตัณหาให้เจริญขึ้น สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด ทำตัณหาให้เจริญขึ้นแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าทำอุปธิให้เจริญขึ้น สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด ทำอุปธิให้เจริญขึ้นแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าทำทุกข์ให้เจริญขึ้น สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดทำทุกข์ให้เจริญขึ้นแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าไม่พ้นไปจากชาติ ชรามรณะ โสกปริเทวะ ทุกขโทมนัส และอุปายาส เรากล่าวว่า สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ไม่พ้นแล้วจากทุกข์ได้เลย
ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในกาลอันเป็นอนาคต จักเห็นสิ่งอันเป็นที่รัก ที่ยินดีในโลกนั้น โดยความเป็นของเที่ยง โดยความเป็นสุข โดยความเป็นตัวตน โดยความเป็นของไม่มีโรค โดยความเป็นของเกษม สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าจักทำตัณหาให้เจริญขึ้น สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด จักทำตัณหาให้เจริญขึ้น สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าจักทำอุปธิให้เจริญขึ้น สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด จักทำอุปธิให้เจริญขึ้น สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าจักทำทุกข์ให้เจริญขึ้น สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด จักทำทุกข์ให้เจริญขึ้น สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าจักไม่พ้นไปจากชาติ ชรามรณะ โสกปริเทวะ ทุกขโทมนัส และอุปายาส เรากล่าวว่า สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น จักไม่พ้นไปจากทุกข์ได้เลย.
ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในกาลอันปัจจุบัน ย่อมเห็นสิ่งอันเป็นที่รัก ที่ยินดีในโลกนั้น โดยความเป็นของเที่ยง โดยความเป็นสุข โดยความเป็นตัวตน โดยความเป็นของไม่มีโรค โดยความเป็นของเกษม สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าย่อมทำตัณหาให้เจริญขึ้น สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด ทำตัณหาให้เจริญขึ้น สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าย่อมทำอุปธิให้เจริญขึ้น สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด ทำอุปธิให้เจริญขึ้น สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าย่อมทำทุกข์ให้เจริญขึ้น สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด ทำทุกข์ให้เจริญขึ้น สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าย่อมไม่พ้นไปจากชาติ ชรามรณะ โสกปริเทวะ ทุกขโทมนัส และอุปายาส เรากล่าวว่า สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมไม่พ้นไปจากทุกข์ได้เลย ดังนี้.
ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนถ้วยน้ำสำริดที่มีเครื่องดื่มใส่อยู่ อันถึงพร้อมด้วยสี กลิ่น และรส แต่ว่ามียาพิษผสมอยู่ ทันใดนั้น มีบุรุษเดินฝ่าความร้อนอบอ้าว เหน็ดเหนื่อย เมื่อยล้า กระหายน้ำมาถึง คนทั้งหลายจึงได้พูดกะบุรุษผู้นั้นว่า ท่านผู้เจริญ ถ้วยน้ำสำริดที่มีเครื่องดื่มใส่อยู่นี้ ถึงพร้อมด้วยสี กลิ่น และรส สำหรับท่าน แต่ว่ามียาพิษผสมอยู่ ถ้าท่านต้องการก็จงดื่มเถิด เพราะว่าขณะที่ท่านดื่ม ก็จักซาบซ่านด้วยสีบ้าง กลิ่นบ้าง รสบ้าง แต่เมื่อดื่มเข้าไปแล้ว ตัวท่านจะถึงความตาย หรือถึงความทุกข์เจียนตาย ด้วยเพราะการดื่มนั้น ดังนี้ บุรุษนั้นไม่ทันได้พิจารณา รีบดื่มเข้าไปทันที ไม่เททิ้งเลย เขาก็พึงถึงความตาย หรือถึงความทุกข์เจียนตาย ด้วยเพราะการดื่มนั้น.
ภิกษุทั้งหลาย ฉันใดก็ฉันนั้น สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในกาลอันเป็นอดีต ได้เห็นสิ่งอันเป็นที่รัก ที่ยินดีในโลกนั้น โดยความเป็นของเที่ยง โดยความเป็นสุข โดยความเป็นตัวตน โดยความเป็นของไม่มีโรค โดยความเป็นของเกษม สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าทำตัณหาให้เจริญขึ้น สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด ทำตัณหาให้เจริญขึ้นแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าทำอุปธิให้เจริญขึ้น สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด ทำอุปธิให้เจริญขึ้นแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าทำทุกข์ให้เจริญขึ้น สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดทำทุกข์ให้เจริญขึ้นแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าไม่พ้นไปจากชาติ ชรามรณะ โสกปริเทวะ ทุกขโทมนัส และอุปายาส เรากล่าวว่า สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ไม่พ้นแล้วจากทุกข์ได้เลย
ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในกาลอันเป็นอนาคต จักเห็นสิ่งอันเป็นที่รัก ที่ยินดีในโลกนั้น โดยความเป็นของเที่ยง โดยความเป็นสุข โดยความเป็นตัวตน โดยความเป็นของไม่มีโรค โดยความเป็นของเกษม สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าจักทำตัณหาให้เจริญขึ้น สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด จักทำตัณหาให้เจริญขึ้น สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าจักทำอุปธิให้เจริญขึ้น สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด จักทำอุปธิให้เจริญขึ้น สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าจักทำทุกข์ให้เจริญขึ้น สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด จักทำทุกข์ให้เจริญขึ้น สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าจักไม่พ้นไปจากชาติ ชรามรณะ โสกปริเทวะ ทุกขโทมนัส และอุปายาส เรากล่าวว่า สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น จักไม่พ้นไปจากทุกข์ได้เลย.
ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในกาลอันเป็นปัจจุบัน ย่อมเห็นสิ่งอันเป็นที่รัก ที่ยินดีในโลกนั้น โดยความเป็นของเที่ยง โดยความเป็นสุข โดยความเป็นตัวตน โดยความเป็นของไม่มีโรค โดยความเป็นของเกษม สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าย่อมทำตัณหาให้เจริญขึ้น สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด ทำตัณหาให้เจริญขึ้น สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าย่อมทำอุปธิให้เจริญขึ้น สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด ทำอุปธิให้เจริญขึ้น สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าย่อมทำทุกข์ให้เจริญขึ้น สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด ทำทุกข์ให้เจริญขึ้น สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าย่อมไม่พ้นไปจากชาติ ชรามรณะ โสกปริเทวะ ทุกขโทมนัส และอุปายาส เรากล่าวว่า สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมไม่พ้นไปจากทุกข์ได้เลย ดังนี้.
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในกาลอันเป็นอดีต ได้เห็นสิ่งอันเป็นที่รัก ที่ยินดีในโลกนั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา โดยความเป็นโรค โดยความเป็นภัยแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าละตัณหาได้แล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด ละตัณหาได้แล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าละอุปธิได้แล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด ละอุปธิได้แล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าละทุกข์ได้แล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดละทุกข์ได้แล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าพ้นแล้วจากชาติ ชรามรณะ โสกปริเทวะ ทุกขโทมนัส และอุปายาส เรากล่าวว่า สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น พ้นไปแล้วจากทุกข์ได้.
ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในกาลอันเป็นอนาคต จักเห็นสิ่งอันเป็นที่รัก ที่ยินดีในโลกนั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา โดยความเป็นโรค โดยความเป็นภัย สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าจักละตัณหาได้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด จักละตัณหาได้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าจักละอุปธิได้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด จักละอุปธิได้ สมณะหรือพราหมณ์ เหล่านั้น ชื่อว่าจักละทุกข์ได้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด จักละทุกข์ได้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าจักพ้นจากชาติ ชรามรณะ โสกปริเทวะ ทุกขโทมนัส และอุปายาส เรากล่าวว่า สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น จักพ้นไปจากทุกข์ได้.
ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในกาลอันเป็นปัจจุบัน ย่อมเห็นสิ่งอันเป็นที่รัก ที่ยินดีในโลกนั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา โดยความเป็นโรค โดยความเป็นภัย สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมละตัณหาได้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด ย่อมละตัณหาได้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าย่อมละอุปธิได้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด ย่อมละอุปธิได้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าย่อมละทุกข์ได้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดย่อมละทุกข์ได้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าย่อมพ้นจากชาติ ชรามรณะ โสกปริเทวะ ทุกขโทมนัส และอุปายาส เรากล่าวว่า สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมพ้นไปจากทุกข์ได้ ดังนี้.
ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนถ้วยน้ำสำริดที่มีเครื่องดื่มใส่อยู่ อันถึงพร้อมด้วยสี กลิ่น และรส แต่ว่ามียาพิษผสมอยู่ ทันใดนั้น มีบุรุษเดินฝ่าความร้อนอบอ้าว เหน็ดเหนื่อย เมื่อยล้า กระหายน้ำมาถึง คนทั้งหลายจึงได้พูดกะบุรุษผู้นั้นว่า ท่านผู้เจริญ ถ้วยน้ำสำริดที่มีเครื่องดื่มใส่อยู่นี้ ถึงพร้อมด้วยสี กลิ่น และรส สำหรับท่าน แต่ว่ามียาพิษผสมอยู่ ถ้าท่านต้องการก็จงดื่มเถิด เพราะว่าขณะที่ท่านดื่ม ก็จักซาบซ่านด้วยสีบ้าง กลิ่นบ้างรสบ้าง แต่ครั้นดื่มเข้าไปแล้ว ตัวท่านจะถึงความตาย หรือถึงความทุกข์เจียนตาย ด้วยเพราะการดื่มนั้น ภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น บุรุษนั้นพึงคิดอย่างนี้ว่า ความกระหายนี้ เราอาจจะบรรเทาได้ด้วยน้ำเย็น ด้วยเนยใส ด้วยน้ำข้าวสัตตุเค็ม หรือด้วยน้ำชื่อโลณโสจิรกะ แต่เราจะไม่ดื่มเครื่องดื่มนั้นเลย เพราะไม่เป็นประโยชน์ มีแต่ทุกข์แก่เราช้านาน เขาพิจารณาดูถ้วยน้ำสำริดนั้นแล้ว ก็ไม่ดื่ม เททิ้งไปเสีย เขาก็ไม่ถึงความตาย หรือถึงความทุกข์เจียนตาย ด้วยเพราะการดื่มนั้น.
ภิกษุทั้งหลาย ฉันใดก็ฉันนั้น สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในกาลอันเป็นอดีต ได้เห็นสิ่งอันเป็นที่รัก ที่ยินดีในโลกนั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา โดยความเป็นโรค โดยความเป็นภัยแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าละตัณหาได้แล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด ละตัณหาได้แล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าละอุปธิได้แล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด ละอุปธิได้แล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าละทุกข์ได้แล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดละทุกข์ได้แล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าพ้นแล้วจากชาติ ชรามรณะ โสกปริเทวะ ทุกขโทมนัส และอุปายาส เรากล่าวว่า สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น พ้นไปแล้วจากทุกข์ได้.
ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในกาลอันเป็นอนาคต จักเห็นสิ่งอันเป็นที่รัก ที่ยินดีในโลกนั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา โดยความเป็นโรค โดยความเป็นภัย สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าจักละตัณหาได้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด จักละตัณหาได้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าจักละอุปธิได้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด จักละอุปธิได้ สมณะหรือพราหมณ์ เหล่านั้น ชื่อว่าจักละทุกข์ได้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด จักละทุกข์ได้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าจักพ้นจากชาติ ชรามรณะ โสกปริเทวะ ทุกขโทมนัส และอุปายาส เรากล่าวว่า สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น จักพ้นไปจากทุกข์ได้.
ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในกาลอันเป็นปัจจุบัน ย่อมเห็นสิ่งอันเป็นที่รัก ที่ยินดีในโลกนั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา โดยความเป็นโรค โดยความเป็นภัย สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมละตัณหาได้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด ย่อมละตัณหาได้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าย่อมละอุปธิได้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด ย่อมละอุปธิได้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าย่อมละทุกข์ได้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดย่อมละทุกข์ได้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าย่อมพ้นจากชาติ ชรามรณะ โสกปริเทวะ ทุกขโทมนัส และอุปายาส เรากล่าวว่า สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมพ้นไปจากทุกข์ได้ ดังนี้.
-บาลี นิทาน. สํ. 16/130/254.
https://84000.org/tipitaka/pali/?16//130,
https://etipitaka.com/read/pali/16/130
English translation by Bhikkhu Sujato
So I have heard. At one time the Buddha was staying in the land of the Kurus, near the Kuru town named Kammāsadamma. There the Buddha addressed the mendicants, “Mendicants!”
“Venerable sir,” they replied. The Buddha said this:
“Mendicants, do you perform inner self-examination?”
When he said this, one of the mendicants said to the Buddha, “Sir, I perform inner self-examination.”
“But mendicant, how do you perform inner self-examination?” Then that mendicant answered, but the Buddha was not happy with the answer.
When he had spoken, Venerable Ānanda said to the Buddha, “Now is the time, Blessed One! Now is the time, Holy One! Let the Buddha speak of the inner self-examination. The mendicants will listen and remember it.”
“Well then, Ānanda, listen and pay close attention, I will speak.”
“Yes, sir,” they replied. The Buddha said this:
“Take a mendicant who performs inner self-examination: ‘The suffering that arises in the world starting with old age and death takes many and diverse forms. But what is the source of this suffering? When what exists do old age and death come to be? And when what does not exist do old age and death not come to be?’ While examining they know: ‘The suffering that arises in the world starting with old age and death takes many and diverse forms. The source of this suffering is attachment. When attachments exist old age and death come to be. And when attachments do not exist old age and death don’t come to be.’ They understand old age and death, their origin, their cessation, and the fitting practice for their cessation. And they practice in line with that path. This is called a mendicant who is practicing for the complete ending of suffering, for the cessation of old age and death.
They perform further inner self-examination: ‘But what is the source of this attachment? When what exists does attachment come to be? And when what does not exist does attachment not come to be?’ While examining they know: ‘The source of this attachment is craving. When craving exists attachments come to be. And when craving doesn’t exist attachments don’t come to be.’ They understand attachments, their origin, their cessation, and the fitting practice for their cessation. And they practice in line with that path. This is called a mendicant who is practicing for the complete ending of suffering, for the cessation of attachments.
They perform further inner self-examination: ‘But where does that craving arise and where does it settle?’ While examining they know: ‘That craving arises and settles on whatever in the world seems nice and pleasant. And what in the world seems nice and pleasant? The eye in the world seems nice and pleasant, and it is there that craving arises and settles. The ear … nose … tongue … body … mind in the world seems nice and pleasant, and it is there that craving arises and settles.’
There were ascetics and brahmins of the past who saw the things that seem nice and pleasant in the world as permanent, as pleasurable, as self, as healthy, and as safe. Their craving grew. As their craving grew, their attachments grew. As their attachments grew, their suffering grew. And as their suffering grew, they were not freed from rebirth, old age, and death, from sorrow, lamentation, pain, sadness, and distress. They were not freed from suffering, I say.
There will be ascetics and brahmins in the future who will see the things that seem nice and pleasant in the world as permanent, as pleasurable, as self, as healthy, and as safe. Their craving will grow. As their craving grows, their attachments will grow. As their attachments grow, their suffering will grow. And as their suffering grows, they will not be freed from rebirth, old age, and death, from sorrow, lamentation, pain, sadness, and distress. They will not be freed from suffering, I say.
There are ascetics and brahmins in the present who see the things that seem nice and pleasant in the world as permanent, as pleasurable, as self, as healthy, and as safe. Their craving grows. As their craving grows, their attachments grow. As their attachments grow, their suffering grows. And as their suffering grows, they are not freed from rebirth, old age, and death, from sorrow, lamentation, pain, sadness, and distress. They are not freed from suffering, I say.
Suppose there was a bronze cup of beverage that had a nice color, aroma, and flavor. But it was mixed with poison. Then along comes a man struggling in the oppressive heat, weary, thirsty, and parched. They’d say to him: ‘Here, mister, this bronze cup of beverage has a nice color, aroma, and flavor. But it’s mixed with poison. Drink it if you like. If you drink it, the color, aroma, and flavor will be appetizing, but it will result in death or deadly pain.’ He wouldn’t reject that beverage. Hastily, without reflection, he’d drink it, resulting in death or deadly pain.
In the same way, there are ascetics and brahmins of the past … future … There are ascetics and brahmins in the present who see the things that seem nice and pleasant in the world as permanent, as pleasurable, as self, as healthy, and as safe. As their craving grows, their attachments grow. As their attachments grow, their suffering grows. And as their suffering grows, they are not freed from rebirth, old age, and death, from sorrow, lamentation, pain, sadness, and distress. They are not freed from suffering, I say.
There were ascetics and brahmins of the past who saw the things that seem nice and pleasant in the world as impermanent, as suffering, as not-self, as diseased, and as dangerous. They gave up craving. Giving up craving, they gave up attachments. Giving up attachments, they gave up suffering. Giving up suffering, they were freed from rebirth, old age, and death, from sorrow, lamentation, pain, sadness, and distress. They were freed from suffering, I say.
There will be ascetics and brahmins in the future who will see the things that seem nice and pleasant in the world as impermanent, as suffering, as not-self, as diseased, and as dangerous. They will give up craving. Giving up craving … they will be freed from suffering, I say.
There are ascetics and brahmins in the present who see the things that seem nice and pleasant in the world as impermanent, as suffering, as not-self, as diseased, and as dangerous. They give up craving. Giving up craving, they give up attachments. Giving up attachments, they give up suffering. Giving up suffering, they are freed from rebirth, old age, and death, from sorrow, lamentation, pain, sadness, and distress. They are freed from suffering, I say.
Suppose there was a bronze cup of beverage that had a nice color, aroma, and flavor. But it was mixed with poison. Then along comes a man struggling in the oppressive heat, weary, thirsty, and parched. They’d say to him: ‘Here, mister, this bronze cup of beverage has a nice color, aroma, and flavor. But it’s mixed with poison. Drink it if you like. If you drink it, its nice color, aroma, and flavor will refresh you. But drinking it will result in death or deadly pain.’ Then that man might think: ‘I could quench my thirst with water, whey, seasoned drink, or broth. But I shouldn’t drink that beverage, for it would be for my lasting harm and suffering.’ He’d reject that beverage. After appraisal, he wouldn’t drink it, and it wouldn’t result in death or deadly pain.
In the same way, there were ascetics and brahmins of the past who saw the things that seem nice and pleasant in the world as impermanent, as suffering, as not-self, as diseased, and as dangerous. They gave up craving. Giving up craving, they gave up attachments. Giving up attachments, they gave up suffering. Giving up suffering, they were freed from rebirth, old age, and death, from sorrow, lamentation, pain, sadness, and distress. They were freed from suffering, I say.
There will be ascetics and brahmins in the future … There are ascetics and brahmins in the present who see the things that seem nice and pleasant in the world as impermanent, as suffering, as not-self, as diseased, and as dangerous. They give up craving. Giving up craving, they give up attachments. Giving up attachments, they give up suffering. Giving up suffering, they are freed from rebirth, old age, and death, from sorrow, lamentation, pain, sadness, and distress. They are freed from suffering, I say.”
English translation by Bhikkhu Bodhi
Thus have I heard. On one occasion the Blessed One was dwelling among the Kurus, where there was a town of the Kurus named Kammasadamma. There the Blessed One addressed the bhikkhus thus: “Bhikkhus!”
“Venerable sir!” those bhikkhus replied. The Blessed One said this:
“Do you engage in inward exploration, bhikkhus?”
When this was said, one bhikkhu said to the Blessed One: “Venerable sir, I engage in inward exploration.”
“How do you engage in inward exploration, bhikkhu?”
The bhikkhu then explained but the way he explained did not satisfy the Blessed One. Then the Venerable Ānanda said: “Now is the time for this, Blessed One! Now is the time for this, Fortunate One! Let the Blessed One explain inward exploration. Having heard it from the Blessed One, the bhikkhus will remember it.”
“Then listen and attend closely, Ānanda, I will speak.”
“Yes, venerable sir,” the bhikkhus replied. The Blessed One said this:
“Here, bhikkhus, when engaged in inward exploration, a bhikkhu explores thus: ‘The many diverse kinds of suffering that arise in the world headed by aging-and-death: what is the source of this suffering, what is its origin, from what is it born and produced? When what exists does aging-and-death come to be? When what does not exist does aging-and-death not come to be?’
“As he explores he understands thus: ‘The many diverse kinds of suffering that arise in the world headed by aging-and-death: this suffering has acquisition as its source, acquisition as its origin; it is born and produced from acquisition. When there is acquisition, aging-and-death comes to be; when there is no acquisition, aging-and-death does not come to be.’
“He understands aging-and-death, its origin, its cessation, and the way leading on that is in conformity with its cessation. He practises in that way and conducts himself accordingly. This is called a bhikkhu who is practising for the utterly complete destruction of suffering, for the cessation of aging-and-death.
“Then, engaging further in inward exploration, he explores thus: ‘What is the source of this acquisition, what is its origin, from what is it born and produced? When what exists does acquisition come to be? When what is absent does acquisition not come to be?’
“As he explores he understands thus: ‘Acquisition has craving as its source, craving as its origin; it is born and produced from craving. When there is craving, acquisition comes to be; when there is no craving, acquisition does not come to be.’
“He understands acquisition, its origin, its cessation, and the way leading on that is in conformity with its cessation. He practises in that way and conducts himself accordingly. This is called a bhikkhu who is practising for the utterly complete destruction of suffering, for the cessation of acquisition.
“Then, engaging further in inward exploration, he explores thus: ‘When this craving arises, where does it arise? When it settles down, upon what does it settle?’
“As he explores he understands thus: ‘Whatever in the world has a pleasant and agreeable nature: it is here that this craving arises when it arises; it is here that it settles when it settles down.’ And what in the world has a pleasant and agreeable nature? The eye has a pleasant and agreeable nature in the world: it is here that this craving arises when it arises; it is here that it settles when it settles down. So too the ear, the nose, the tongue, the body, and the mind have a pleasant and agreeable nature: it is here that this craving arises when it arises; it is here that it settles when it settles down.
“Bhikkhus, whatever ascetics and brahmins in the past regarded that in the world with a pleasant and agreeable nature as permanent, as happiness, as self, as healthy, as secure: they nurtured craving. In nurturing craving they nurtured acquisition. In nurturing acquisition they nurtured suffering. In nurturing suffering they were not freed from birth, aging, and death; they were not freed from sorrow, lamentation, pain, displeasure, and despair; they were not freed from suffering, I say.
“Whatever ascetics and brahmins in the future will regard that in the world with a pleasant and agreeable nature as permanent, as happiness, as self, as healthy, as secure: they will nurture craving. In nurturing craving they will nurture acquisition. In nurturing acquisition they will nurture suffering. In nurturing suffering they will not be freed from birth, aging, and death; they will not be freed from sorrow, lamentation, pain, displeasure, and despair; they will not be freed from suffering, I say.
“Whatever ascetics and brahmins at present regard that in the world with a pleasant and agreeable nature as permanent, as happiness, as self, as healthy, as secure: they are nurturing craving. In nurturing craving they are nurturing acquisition. In nurturing acquisition they are nurturing suffering. In nurturing suffering they are not freed from birth, aging, and death; they are not freed from sorrow, lamentation, pain, displeasure, and despair; they are not freed from suffering, I say.
“Suppose, bhikkhus, there was a bronze cup of a beverage having a fine colour, aroma, and taste, but it was mixed with poison. Then a man would come along, oppressed and afflicted by the heat, tired, parched, and thirsty. They would tell him: ‘Good man, this beverage in the bronze cup has a fine colour, aroma, and taste, but it is mixed with poison. Drink it if you wish. If you drink it, it will gratify you with its colour, aroma, and taste, but by drinking it you will meet death or deadly suffering.’ Suddenly, without reflecting, he would drink the beverage—he would not reject it—and thereby he would meet death or deadly suffering.
“So too, bhikkhus, whatever ascetics and brahmins in the past … in the future … at present regard that in the world with a pleasant and agreeable nature as permanent, as happiness, as self, as healthy, as secure: they are nurturing craving. In nurturing craving … they are not freed from suffering, I say.
“Bhikkhus, whatever ascetics and brahmins in the past regarded that in the world with a pleasant and agreeable nature as impermanent, as suffering, as nonself, as a disease, as fearful: they abandoned craving. In abandoning craving they abandoned acquisition. In abandoning acquisition they abandoned suffering. In abandoning suffering they were freed from birth, aging, and death; they were freed from sorrow, lamentation, pain, displeasure, and despair; they were freed from suffering, I say.
“Whatever ascetics and brahmins in the future will regard that in the world with a pleasant and agreeable nature as impermanent, as suffering, as nonself, as a disease, as fearful: they will abandon craving. In abandoning craving … they will be freed from suffering, I say.
“Whatever ascetics and brahmins at present regard that in the world with a pleasant and agreeable nature as impermanent, as suffering, as nonself, as a disease, as fearful: they are abandoning craving. In abandoning craving … they are freed from suffering, I say.
“Suppose, bhikkhus, there was a bronze cup of a beverage having a fine colour, aroma, and taste, but it was mixed with poison. Then a man would come along, oppressed and afflicted by the heat, tired, parched, and thirsty. They would tell him: ‘Good man, this beverage in the bronze cup has a fine colour, aroma, and taste, but it is mixed with poison. Drink it if you wish. If you drink it, it will gratify you with its colour, aroma, and taste, but by drinking it you will meet death or deadly suffering. ’ Then the man would think: ‘I can quench my thirst with water, whey, porridge, or soup, but I should not drink that beverage, since to do so would lead to my harm and suffering for a long time.’ Having reflected, he would not drink the beverage but would reject it, and thereby he would not meet death or deadly suffering.
“So too, bhikkhus, whatever ascetics and brahmins in the past … in the future … at present regard that in the world with a pleasant and agreeable nature as impermanent, as suffering, as nonself, as a disease, as fearful: they are abandoning craving. In abandoning craving … they are freed from suffering, I say.”