ญาณวัตถุ ๔๔ (ส่วนที่ ๓)
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี … พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า
ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงญาณวัตถุ1 ๔๔ แก่พวกเธอทั้งหลาย พวกเธอทั้งหลายจงฟังธรรมะนั้น จงทำในใจให้ดี เราจักกล่าว.
ภิกษุเหล่านั้นรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคว่า อย่างนั้นภันเต ดังนี้.
พระผู้มีพระภาคได้กล่าวต่อไปว่า ภิกษุทั้งหลาย ก็ญาณวัตถุ ๔๔ นั้นอะไรบ้าง คือ
[๑] ๑) ความรู้ในชรามรณะ ๒) ความรู้ในความเกิดของชรามรณะ ๓) ความรู้ในความดับของชรามรณะ ๔) ความรู้ในปฏิปทา2ที่ให้ถึงความดับของชรามรณะ.
[๒] ๑) ความรู้ในชาติ ๒) ความรู้ในความเกิดของชาติ ๓) ความรู้ในความดับของชาติ ๔) ความรู้ในปฏิปทาที่ให้ถึงความดับของชาติ.
[๓] ๑) ความรู้ในภพ ๒) ความรู้ในความเกิดของภพ ๓) ความรู้ในความดับของภพ ๔) ความรู้ในปฏิปทาที่ให้ถึงความดับของภพ.
[๔] ๑) ความรู้ในอุปาทาน ๒) ความรู้ในความเกิดของอุปาทาน ๓) ความรู้ในความดับของอุปาทาน ๔) ความรู้ในปฏิปทาที่ให้ถึงความดับของอุปาทาน.
[๕] ๑) ความรู้ในตัณหา ๒) ความรู้ในความเกิดของตัณหา ๓) ความรู้ในความดับของตัณหา ๔) ความรู้ในปฏิปทาที่ให้ถึงความดับของตัณหา.
[๖] ๑) ความรู้ในเวทนา ๒) ความรู้ในความเกิดของเวทนา ๓) ความรู้ในความดับของเวทนา ๔) ความรู้ในปฏิปทาที่ให้ถึงความดับของเวทนา.
[๗] ๑) ความรู้ในผัสสะ ๒) ความรู้ในความเกิดของผัสสะ ๓) ความรู้ในความดับของผัสสะ ๔) ความรู้ในปฏิปทาที่ให้ถึงความดับของผัสสะ.
[๘] ๑) ความรู้ในสฬายตนะ ๒) ความรู้ในความเกิดของสฬายตนะ ๓) ความรู้ในความดับของสฬายตนะ ๔) ความรู้ในปฏิปทาที่ให้ถึงความดับของสฬายตนะ.
[๙] ๑) ความรู้ในนามรูป ๒) ความรู้ในความเกิดของนามรูป ๓) ความรู้ในความดับของนามรูป ๔) ความรู้ในปฏิปทาที่ให้ถึงความดับของนามรูป.
[๑๐] ๑) ความรู้ในวิญญาณ ๒) ความรู้ในความเกิดของวิญญาณ ๓) ความรู้ในความดับของวิญญาณ ๔) ความรู้ในปฏิปทาที่ให้ถึงความดับของวิญญาณ.
[๑๑] ๑) ความรู้ในสังขารทั้งหลาย ๒) ความรู้ในความเกิดของสังขาร ๓) ความรู้ในความดับของสังขาร ๔) ความรู้ในปฏิปทาที่ให้ถึงความดับของสังขาร.
ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้แล เรียกว่าญาณวัตถุ ๔๔ ดังนี้.
ภิกษุทั้งหลาย ก็ชรามรณะเป็นอย่างไร คือ ความแก่ (ชรา) ความคร่ำคร่า (ชีรณตา) ความมีฟันหลุด (ขณฺฑิจฺจํ) ความมีผมหงอก (ปาลิจฺจํ) ความมีหนังเหี่ยว (วลิตจตา) ความสิ้นไปๆ แห่งอายุ (อายุโน สํหานิ) ความแก่รอบแห่งอินทรีย์ทั้งหลาย (อินฺทฺริยานํ ปริปาโก) ในสัตว์จำพวกนั้นๆ ของสัตว์เหล่านั้นๆ นี้เรียกว่าชรา การจุติ (จุติ) ความเคลื่อน (จวนตา) การแตกสลาย (เภโท) การหายไป (อนฺตรธานํ) การวายชีพ (มจฺจุ) การตาย (มรณํ) การทำกาละ (กาลกิริยา) การแตกแห่งขันธ์ทั้งหลาย (ขนฺธานํ เภโท) การทอดทิ้งร่าง (กเฬวรสฺส นิกฺเขโป) การขาดแห่งอินทรีย์คือชีวิต (ชีวิตินฺทฺริยสฺส อุปจฺเฉโท) จากจำพวกสัตว์นั้นๆ ของสัตว์เหล่านั้นๆ นี้เรียกว่า มรณะ ชรานี้ด้วย มรณะนี้ด้วย ย่อมมีอยู่ดังนี้ ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ชรามรณะ ความเกิดของชรามรณะย่อมมี เพราะความเกิดของชาติ ความดับของชรามรณะย่อมมี เพราะความดับของชาติ อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้นั่นเอง เป็นปฏิปทาที่ให้ถึงความดับของชรามรณะ นั่นคือ สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นที่ถูกต้อง) สัมมาสังกัปปะ (ความคิดที่ถูกต้อง) สัมมาวาจา (คำพูดที่ถูกต้อง) สัมมากัมมันตะ (การกระทำที่ถูกต้อง) สัมมาอาชีวะ (อาชีพที่ถูกต้อง) สัมมาวายามะ (ความเพียรที่ถูกต้อง) สัมมาสติ (สติที่ถูกต้อง) สัมมาสมาธิ (สมาธิที่ถูกต้อง).
ภิกษุทั้งหลาย ในกาลใด อริยสาวกรู้ทั่วถึง3ชรามรณะ ว่าเป็นอย่างนี้ รู้ทั่วถึงความเกิดของชรามรณะ ว่าเป็นอย่างนี้ รู้ทั่วถึงความดับของชรามรณะ ว่าเป็นอย่างนี้ รู้ทั่วถึงปฏิปทาที่ให้ถึงความดับของชรามรณะ ว่าเป็นอย่างนี้ ในกาลนั้น ความรู้นี้ของอริยสาวกนั้นชื่อว่า ธัมมญาณ (ความรู้ในธรรม) ด้วยธรรมนี้อันอริยสาวกนั้นเห็นแล้ว รู้แล้ว บรรลุแล้ว หยั่งลงแล้ว และเป็นธรรมไม่ประกอบด้วยกาล อริยสาวกนั้น ย่อมนำความรู้นั้นไปสู่นัยะอันเป็นอดีตและอนาคตว่า สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในกาลอันเป็นอดีต ได้รู้อย่างยิ่งแล้ว ซึ่งชรามรณะ ได้รู้อย่างยิ่งแล้ว ซึ่งความเกิดของชรามรณะ ได้รู้อย่างยิ่งแล้ว ซึ่งความดับของชรามรณะ ได้รู้อย่างยิ่งแล้ว ซึ่งปฏิปทาที่ให้ถึงความดับของชรามรณะ สมณะหรือพราหมณ์ทั้งหลายเหล่านั้น ก็ได้รู้อย่างยิ่งแล้ว เหมือนอย่างที่เราเองได้รู้อย่างยิ่งแล้วในบัดนี้ ถึงแม้สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในกาลอันเป็นอนาคต จักรู้อย่างยิ่ง ซึ่งชรามรณะ จักรู้อย่างยิ่ง ซึ่งความเกิดของชรามรณะ จักรู้อย่างยิ่ง ซึ่งความดับของชรามรณะ จักรู้อย่างยิ่ง ซึ่งปฏิปทาที่ให้ถึงความดับของชรามรณะ สมณะหรือพราหมณ์ทั้งหลายเหล่านั้น ก็รู้จักอย่างยิ่ง เหมือนอย่างที่เราเองได้รู้อย่างยิ่งแล้วในบัดนี้ ดังนี้ ความรู้นี้ของอริยสาวกนั้นชื่อว่า อัน๎วยญาณ4 (ความรู้ตามความที่เป็นอย่างนั้น).
ภิกษุทั้งหลาย ในกาลใด ญาณทั้ง ๒ ประการเหล่านี้ คือ ธัมมญาณและอัน๎วยญาณ ของอริยสาวก เป็นธรรมชาติบริสุทธิ์ ผ่องใส ภิกษุทั้งหลาย ในกาลนั้น เราเรียกอริยสาวกนั้นว่า ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ดังนี้บ้าง ผู้ถึงพร้อมด้วยทัสสนะ ดังนี้บ้าง ผู้มาถึงพระสัทธรรมนี้แล้ว ดังนี้บ้าง ได้เห็นอยู่ซึ่งพระสัทธรรมนี้ ดังนี้บ้าง ผู้ประกอบแล้วด้วยญาณอันเป็นเสขะ ดังนี้บ้าง ผู้ประกอบแล้วด้วยวิชชาอันเป็นเสขะ ดังนี้บ้าง ผู้ถึงซึ่งกระแสแห่งธรรมแล้ว (ธมฺมโสตํ) ดังนี้บ้าง ผู้เป็นอริยะมีปัญญาเจาะแทงกิเลส ดังนี้บ้าง ยืนอยู่ถึงประตูแห่งอมตะ ดังนี้บ้าง ดังนี้.
ภิกษุทั้งหลาย ก็ชาติเป็นอย่างไร คือ การเกิด (ชาติ) การกำเนิด (สญฺชาติ) การก้าวลง (โอกฺกนฺติ) การบังเกิด (นิพฺพตฺติ) การบังเกิดโดยยิ่ง (อภินิพฺพตฺติ) ความปรากฏของขันธ์ทั้งหลาย (ขนฺธานํ ปาตุภาโว) การที่สัตว์ได้อายตนะทั้งหลาย (อายตนานํ ปฏิลาโภ) ในจำพวกสัตว์นั้นๆ ของสัตว์เหล่านั้นๆ ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าชาติ ความเกิดของชาติย่อมมี เพราะความเกิดของภพ ความดับของชาติย่อมมี เพราะความดับของภพ อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้นั่นเอง เป็นปฏิปทาที่ให้ถึงความดับของชาติ นั่นคือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ.
ภิกษุทั้งหลาย ในกาลใด อริยสาวกรู้ทั่วถึงชาติ ว่าเป็นอย่างนี้ รู้ทั่วถึงความเกิดของชาติ ว่าเป็นอย่างนี้ รู้ทั่วถึงความดับของชาติ ว่าเป็นอย่างนี้ รู้ทั่วถึงปฏิปทาที่ให้ถึงความดับของชาติ ว่าเป็นอย่างนี้ ในกาลนั้น ความรู้นี้ของอริยสาวกนั้นชื่อว่า ธัมม5ญาณ ด้วยธรรมนี้อันอริยสาวกนั้นเห็นแล้ว รู้แล้ว บรรลุแล้ว หยั่งลงแล้ว และเป็นธรรมไม่ประกอบด้วยกาล อริยสาวกนั้น ย่อมนำความรู้นั้นไปสู่นัยะอันเป็นอดีตและอนาคตว่า สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในกาลอันเป็นอดีต ได้รู้อย่างยิ่งแล้ว ซึ่งชาติ ได้รู้อย่างยิ่งแล้ว ซึ่งความเกิดของชาติ ได้รู้อย่างยิ่งแล้ว ซึ่งความดับของชาติ ได้รู้อย่างยิ่งแล้ว ซึ่งปฏิปทาที่ให้ถึงความดับของชาติ สมณะหรือพราหมณ์ทั้งหลายเหล่านั้น ก็ได้รู้อย่างยิ่งแล้ว เหมือนอย่างที่เราเองได้รู้อย่างยิ่งแล้วในบัดนี้ ถึงแม้สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในกาลอันเป็นอนาคต จักรู้อย่างยิ่ง ซึ่งชาติ จักรู้อย่างยิ่ง ซึ่งความเกิดของชาติ จักรู้อย่างยิ่ง ซึ่งความดับของชาติ จักรู้อย่างยิ่ง ซึ่งปฏิปทาที่ให้ถึงความดับของชาติ สมณะหรือพราหมณ์ทั้งหลายเหล่านั้น ก็รู้จักอย่างยิ่ง เหมือนอย่างที่เราเองได้รู้อย่างยิ่งแล้วในบัดนี้ ดังนี้ ความรู้นี้ของอริยสาวกนั้นชื่อว่า อัน๎วยญาณ.
ภิกษุทั้งหลาย ในกาลใด ญาณทั้ง ๒ ประการเหล่านี้ คือ ธัมมญาณและอัน๎วยญาณ ของอริยสาวก เป็นธรรมชาติบริสุทธิ์ ผ่องใส ภิกษุทั้งหลาย ในกาลนั้น เราเรียกอริยสาวกนั้นว่า ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ดังนี้บ้าง ผู้ถึงพร้อมด้วยทัสสนะ ดังนี้บ้าง ผู้มาถึงพระสัทธรรมนี้แล้ว ดังนี้บ้าง ได้เห็นอยู่ซึ่งพระสัทธรรมนี้ ดังนี้บ้าง ผู้ประกอบแล้วด้วยญาณอันเป็นเสขะ ดังนี้บ้าง ผู้ประกอบแล้วด้วยวิชชาอันเป็นเสขะ ดังนี้บ้าง ผู้ถึงซึ่งกระแสแห่งธรรมแล้ว ดังนี้บ้าง ผู้เป็นอริยะมีปัญญาเจาะแทงกิเลส ดังนี้บ้าง ยืนอยู่ถึงประตูแห่งอมตะ ดังนี้บ้าง ดังนี้.
ภิกษุทั้งหลาย ก็ภพ6เป็นอย่างไร ภิกษุทั้งหลาย ภพ ๓ อย่างเหล่านี้ คือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ภพ ความเกิดของภพย่อมมี เพราะความเกิดของอุปาทาน ความดับของภพย่อมมี เพราะความดับของอุปาทาน อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้นั่นเอง เป็นปฏิปทาที่ให้ถึงความดับของภพ นั่นคือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ.
ภิกษุทั้งหลาย ในกาลใด อริยสาวกรู้ทั่วถึงภพ ว่าเป็นอย่างนี้ รู้ทั่วถึงความเกิดของภพ ว่าเป็นอย่างนี้ รู้ทั่วถึงความดับของภพ ว่าเป็นอย่างนี้ รู้ทั่วถึงปฏิปทาที่ให้ถึงความดับของภพ ว่าเป็นอย่างนี้ ในกาลนั้น ความรู้นี้ของอริยสาวกนั้นชื่อว่า ธัมมญาณ ด้วยธรรมนี้อันอริยสาวกนั้นเห็นแล้ว รู้แล้ว บรรลุแล้ว หยั่งลงแล้ว และเป็นธรรมไม่ประกอบด้วยกาล อริยสาวกนั้น ย่อมนำความรู้นั้นไปสู่นัยะอันเป็นอดีตและอนาคตว่า สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในกาลอันเป็นอดีต ได้รู้อย่างยิ่งแล้ว ซึ่งภพ ได้รู้อย่างยิ่งแล้ว ซึ่งความเกิดของภพ ได้รู้อย่างยิ่งแล้ว ซึ่งความดับของภพ ได้รู้อย่างยิ่งแล้ว ซึ่งปฏิปทาที่ให้ถึงความดับของภพ สมณะหรือพราหมณ์ทั้งหลายเหล่านั้น ก็ได้รู้อย่างยิ่งแล้ว เหมือนอย่างที่เราเองได้รู้อย่างยิ่งแล้วในบัดนี้ ถึงแม้สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในกาลอันเป็นอนาคต จักรู้อย่างยิ่ง ซึ่งภพ จักรู้อย่างยิ่ง ซึ่งความเกิดของภพ จักรู้อย่างยิ่ง ซึ่งความดับของภพ จักรู้อย่างยิ่ง ซึ่งปฏิปทาที่ให้ถึงความดับของภพ สมณะหรือพราหมณ์ทั้งหลายเหล่านั้น ก็รู้จักอย่างยิ่ง เหมือนอย่างที่เราเองได้รู้อย่างยิ่งแล้วในบัดนี้ ดังนี้ ความรู้นี้ของอริยสาวกนั้นชื่อว่า อัน๎วยญาณ.
ภิกษุทั้งหลาย ในกาลใด ญาณทั้ง ๒ ประการเหล่านี้ คือ ธัมมญาณและอัน๎วยญาณ ของอริยสาวก เป็นธรรมชาติบริสุทธิ์ ผ่องใส ภิกษุทั้งหลาย ในกาลนั้น เราเรียกอริยสาวกนั้นว่า ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ดังนี้บ้าง ผู้ถึงพร้อมด้วยทัสสนะ ดังนี้บ้าง ผู้มาถึงพระสัทธรรมนี้แล้ว ดังนี้บ้าง ได้เห็นอยู่ซึ่งพระสัทธรรมนี้ ดังนี้บ้าง ผู้ประกอบแล้วด้วยญาณอันเป็นเสขะ ดังนี้บ้าง ผู้ประกอบแล้วด้วยวิชชาอันเป็นเสขะ ดังนี้บ้าง ผู้ถึงซึ่งกระแสแห่งธรรมแล้ว ดังนี้บ้าง ผู้เป็นอริยะมีปัญญาเจาะแทงกิเลส ดังนี้บ้าง ยืนอยู่ถึงประตูแห่งอมตะ ดังนี้บ้าง ดังนี้.
ภิกษุทั้งหลาย ก็อุปาทาน7เป็นอย่างไร ภิกษุทั้งหลาย อุปาทาน ๔8 อย่างเหล่านี้ คือ ความยึดมั่นในกาม (กามุปาทาน) ความยึดมั่นในความเห็น (ทิฏฐุปาทาน) ความยึดมั่นในศีลพรต (สีลัพพัตตุปาทาน) ความยึดมั่นในความเป็นตัวตน (อัตตวาทุปาทาน) ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า อุปาทาน ความเกิดของอุปาทานย่อมมี เพราะความเกิดของตัณหา ความดับของอุปาทานย่อมมี เพราะความดับของตัณหา อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้นั่นเอง เป็นปฏิปทาที่ให้ถึงความดับของอุปาทาน นั่นคือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ.
ภิกษุทั้งหลาย ในกาลใด อริยสาวกรู้ทั่วถึงอุปาทาน ว่าเป็นอย่างนี้ รู้ทั่วถึงความเกิดของอุปาทาน ว่าเป็นอย่างนี้ รู้ทั่วถึงความดับของอุปาทาน ว่าเป็นอย่างนี้ รู้ทั่วถึงปฏิปทาที่ให้ถึงความดับของอุปาทาน ว่าเป็นอย่างนี้ ในกาลนั้น ความรู้นี้ของอริยสาวกนั้นชื่อว่า ธัมมญาณ ด้วยธรรมนี้อันอริยสาวกนั้นเห็นแล้ว รู้แล้ว บรรลุแล้ว หยั่งลงแล้ว และเป็นธรรมไม่ประกอบด้วยกาล อริยสาวกนั้น ย่อมนำความรู้นั้นไปสู่นัยะอันเป็นอดีตและอนาคตว่า สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในกาลอันเป็นอดีต ได้รู้อย่างยิ่งแล้ว ซึ่งอุปาทาน ได้รู้อย่างยิ่งแล้ว ซึ่งความเกิดของอุปาทาน ได้รู้อย่างยิ่งแล้ว ซึ่งความดับของอุปาทาน ได้รู้อย่างยิ่งแล้ว ซึ่งปฏิปทาที่ให้ถึงความดับของอุปาทาน สมณะหรือพราหมณ์ทั้งหลายเหล่านั้น ก็ได้รู้อย่างยิ่งแล้ว เหมือนอย่างที่เราเองได้รู้อย่างยิ่งแล้วในบัดนี้ ถึงแม้สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในกาลอันเป็นอนาคต จักรู้อย่างยิ่ง ซึ่งอุปาทาน จักรู้อย่างยิ่ง ซึ่งความเกิดของอุปาทาน จักรู้อย่างยิ่ง ซึ่งความดับของอุปาทาน จักรู้อย่างยิ่ง ซึ่งปฏิปทาที่ให้ถึงความดับของอุปาทาน สมณะหรือพราหมณ์ทั้งหลายเหล่านั้น ก็รู้จักอย่างยิ่ง เหมือนอย่างที่เราเองได้รู้อย่างยิ่งแล้วในบัดนี้ ดังนี้ ความรู้นี้ของอริยสาวกนั้นชื่อว่า อัน๎วยญาณ.
ภิกษุทั้งหลาย ในกาลใด ญาณทั้ง ๒ ประการเหล่านี้ คือ ธัมมญาณและอัน๎วยญาณ ของอริยสาวก เป็นธรรมชาติบริสุทธิ์ ผ่องใส ภิกษุทั้งหลาย ในกาลนั้น เราเรียกอริยสาวกนั้นว่า ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ดังนี้บ้าง ผู้ถึงพร้อมด้วยทัสสนะ ดังนี้บ้าง ผู้มาถึงพระสัทธรรมนี้แล้ว ดังนี้บ้าง ได้เห็นอยู่ซึ่งพระสัทธรรมนี้ ดังนี้บ้าง ผู้ประกอบแล้วด้วยญาณอันเป็นเสขะ ดังนี้บ้าง ผู้ประกอบแล้วด้วยวิชชาอันเป็นเสขะ ดังนี้บ้าง ผู้ถึงซึ่งกระแสแห่งธรรมแล้ว ดังนี้บ้าง ผู้เป็นอริยะมีปัญญาเจาะแทงกิเลส ดังนี้บ้าง ยืนอยู่ถึงประตูแห่งอมตะ ดังนี้บ้าง ดังนี้.
ภิกษุทั้งหลาย ก็ตัณหาเป็นอย่างไร ภิกษุทั้งหลาย หมู่แห่งตัณหา9 ๖ เหล่านี้คือ รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฎฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ตัณหา ความเกิดของตัณหาย่อมมี เพราะความเกิดของเวทนา ความดับของตัณหาย่อมมี เพราะความดับของเวทนา อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้นั่นเอง เป็นปฏิปทาที่ให้ถึงความดับของตัณหา นั่นคือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ.
ภิกษุทั้งหลาย ในกาลใด อริยสาวกรู้ทั่วถึงตัณหา ว่าเป็นอย่างนี้ รู้ทั่วถึงความเกิดของตัณหา ว่าเป็นอย่างนี้ รู้ทั่วถึงความดับของตัณหา ว่าเป็นอย่างนี้ รู้ทั่วถึงปฏิปทาที่ให้ถึงความดับของตัณหา ว่าเป็นอย่างนี้ ในกาลนั้น ความรู้นี้ของอริยสาวกนั้นชื่อว่า ธัมมญาณ ด้วยธรรมนี้อันอริยสาวกนั้นเห็นแล้ว รู้แล้ว บรรลุแล้ว หยั่งลงแล้ว และเป็นธรรมไม่ประกอบด้วยกาล อริยสาวกนั้น ย่อมนำความรู้นั้นไปสู่นัยะอันเป็นอดีตและอนาคตว่า สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในกาลอันเป็นอดีต ได้รู้อย่างยิ่งแล้ว ซึ่งตัณหา ได้รู้อย่างยิ่งแล้ว ซึ่งความเกิดของตัณหา ได้รู้อย่างยิ่งแล้ว ซึ่งความดับของตัณหา ได้รู้อย่างยิ่งแล้ว ซึ่งปฏิปทาที่ให้ถึงความดับของตัณหา สมณะหรือพราหมณ์ทั้งหลายเหล่านั้น ก็ได้รู้อย่างยิ่งแล้ว เหมือนอย่างที่เราเองได้รู้อย่างยิ่งแล้วในบัดนี้ ถึงแม้สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในกาลอันเป็นอนาคต จักรู้อย่างยิ่ง ซึ่งตัณหา จักรู้อย่างยิ่ง ซึ่งความเกิดของตัณหา จักรู้อย่างยิ่ง ซึ่งความดับของตัณหา จักรู้อย่างยิ่ง ซึ่งปฏิปทาที่ให้ถึงความดับของตัณหา สมณะหรือพราหมณ์ทั้งหลายเหล่านั้น ก็รู้จักอย่างยิ่ง เหมือนอย่างที่เราเองได้รู้อย่างยิ่งแล้วในบัดนี้ ดังนี้ ความรู้นี้ของอริยสาวกนั้นชื่อว่า อัน๎วยญาณ.
ภิกษุทั้งหลาย ในกาลใด ญาณทั้ง ๒ ประการเหล่านี้ คือ ธัมมญาณและอัน๎วยญาณ ของอริยสาวก เป็นธรรมชาติบริสุทธิ์ ผ่องใส ภิกษุทั้งหลาย ในกาลนั้น เราเรียกอริยสาวกนั้นว่า ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ดังนี้บ้าง ผู้ถึงพร้อมด้วยทัสสนะ ดังนี้บ้าง ผู้มาถึงพระสัทธรรมนี้แล้ว ดังนี้บ้าง ได้เห็นอยู่ซึ่งพระสัทธรรมนี้ ดังนี้บ้าง ผู้ประกอบแล้วด้วยญาณอันเป็นเสขะ ดังนี้บ้าง ผู้ประกอบแล้วด้วยวิชชาอันเป็นเสขะ ดังนี้บ้าง ผู้ถึงซึ่งกระแสแห่งธรรมแล้ว ดังนี้บ้าง ผู้เป็นอริยะมีปัญญาเจาะแทงกิเลส ดังนี้บ้าง ยืนอยู่ถึงประตูแห่งอมตะ ดังนี้บ้าง ดังนี้.
ภิกษุทั้งหลาย ก็เวทนาเป็นอย่างไร ภิกษุทั้งหลาย หมู่เวทนา10 ๖ เหล่านี้ คือ เวทนาที่เกิดเพราะผัสสะทางตา (จักขุสัมผัสชาเวทนา) เวทนาที่เกิดเพราะผัสสะทางหู (โสตสัมผัสสชาเวทนา) เวทนาที่เกิดเพราะผัสสะทางจมูก (ฆานสัมผัสสชาเวทนา) เวทนาที่เกิดเพราะผัสสะทางลิ้น (ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา) เวทนาที่เกิดเพราะผัสสะทางกาย (กายสัมผัสชาเวทนา) เวทนาที่เกิดเพราะผัสสะทางใจ (มโนสัมผัสสชาเวทนา) ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า เวทนา ความเกิดของเวทนาย่อมมี เพราะความเกิดของผัสสะ ความดับของเวทนาย่อมมี เพราะความดับของผัสสะ อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้นั่นเอง เป็นปฏิปทาที่ให้ถึงความดับของเวทนา นั่นคือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ.
ภิกษุทั้งหลาย ในกาลใด อริยสาวกรู้ทั่วถึงเวทนา ว่าเป็นอย่างนี้ รู้ทั่วถึงความเกิดของเวทนา ว่าเป็นอย่างนี้ รู้ทั่วถึงความดับของเวทนา ว่าเป็นอย่างนี้ รู้ทั่วถึงปฏิปทาที่ให้ถึงความดับของเวทนา ว่าเป็นอย่างนี้ ในกาลนั้น ความรู้นี้ของอริยสาวกนั้นชื่อว่า ธัมมญาณ ด้วยธรรมนี้อันอริยสาวกนั้นเห็นแล้ว รู้แล้ว บรรลุแล้ว หยั่งลงแล้ว และเป็นธรรมไม่ประกอบด้วยกาล อริยสาวกนั้น ย่อมนำความรู้นั้นไปสู่นัยะอันเป็นอดีตและอนาคตว่า สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในกาลอันเป็นอดีต ได้รู้อย่างยิ่งแล้ว ซึ่งเวทนา ได้รู้อย่างยิ่งแล้ว ซึ่งความเกิดของเวทนา ได้รู้อย่างยิ่งแล้ว ซึ่งความดับของเวทนา ได้รู้อย่างยิ่งแล้ว ซึ่งปฏิปทาที่ให้ถึงความดับของเวทนา สมณะหรือพราหมณ์ทั้งหลายเหล่านั้น ก็ได้รู้อย่างยิ่งแล้ว เหมือนอย่างที่เราเองได้รู้อย่างยิ่งแล้วในบัดนี้ ถึงแม้สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในกาลอันเป็นอนาคต จักรู้อย่างยิ่ง ซึ่งเวทนา จักรู้อย่างยิ่ง ซึ่งความเกิดของเวทนา จักรู้อย่างยิ่ง ซึ่งความดับของเวทนา จักรู้อย่างยิ่ง ซึ่งปฏิปทาที่ให้ถึงความดับของเวทนา สมณะหรือพราหมณ์ทั้งหลายเหล่านั้น ก็รู้จักอย่างยิ่ง เหมือนอย่างที่เราเองได้รู้อย่างยิ่งแล้วในบัดนี้ ดังนี้ ความรู้นี้ของอริยสาวกนั้นชื่อว่า อัน๎วยญาณ.
ภิกษุทั้งหลาย ในกาลใด ญาณทั้ง ๒ ประการเหล่านี้ คือ ธัมมญาณและอัน๎วยญาณ ของอริยสาวก เป็นธรรมชาติบริสุทธิ์ ผ่องใส ภิกษุทั้งหลาย ในกาลนั้น เราเรียกอริยสาวกนั้นว่า ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ดังนี้บ้าง ผู้ถึงพร้อมด้วยทัสสนะ ดังนี้บ้าง ผู้มาถึงพระสัทธรรมนี้แล้ว ดังนี้บ้าง ได้เห็นอยู่ซึ่งพระสัทธรรมนี้ ดังนี้บ้าง ผู้ประกอบแล้วด้วยญาณอันเป็นเสขะ ดังนี้บ้าง ผู้ประกอบแล้วด้วยวิชชาอันเป็นเสขะ ดังนี้บ้าง ผู้ถึงซึ่งกระแสแห่งธรรมแล้ว ดังนี้บ้าง ผู้เป็นอริยะมีปัญญาเจาะแทงกิเลส ดังนี้บ้าง ยืนอยู่ถึงประตูแห่งอมตะ ดังนี้บ้าง ดังนี้.
ภิกษุทั้งหลาย ก็ผัสสะเป็นอย่างไร ภิกษุทั้งหลาย หมู่ผัสสะ11 ๖ เหล่านี้ คือ ผัสสะทางตา (จักขุสัมผัส) ผัสสะทางหู (โสตสัมผัส) ผัสสะทางจมูก (ฆานสัมผัส) ผัสสะทางลิ้น (ชิวหาสัมผัส) ผัสสะทางกาย (กายสัมผัส) ผัสสะทางใจ (มโนสัมผัส) ภิกษุทั้งหลาย นี้ เรียกว่า ผัสสะ ความเกิดของผัสสะย่อมมี เพราะความเกิดของสฬายตนะ ความดับของผัสสะย่อมมี เพราะความดับของสฬายตนะ อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้นั่นเอง เป็นปฏิปทาที่ให้ถึงความดับของผัสสะ นั่นคือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ.
ภิกษุทั้งหลาย ในกาลใด อริยสาวกรู้ทั่วถึงผัสสะ ว่าเป็นอย่างนี้ รู้ทั่วถึงความเกิดของผัสสะ ว่าเป็นอย่างนี้ รู้ทั่วถึงความดับของผัสสะ ว่าเป็นอย่างนี้ รู้ทั่วถึงปฏิปทาที่ให้ถึงความดับของผัสสะ ว่าเป็นอย่างนี้ ในกาลนั้น ความรู้นี้ของอริยสาวกนั้นชื่อว่า ธัมมญาณ ด้วยธรรมนี้อันอริยสาวกนั้นเห็นแล้ว รู้แล้ว บรรลุแล้ว หยั่งลงแล้ว และเป็นธรรมไม่ประกอบด้วยกาล อริยสาวกนั้น ย่อมนำความรู้นั้นไปสู่นัยะอันเป็นอดีตและอนาคตว่า สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในกาลอันเป็นอดีต ได้รู้อย่างยิ่งแล้ว ซึ่งผัสสะ ได้รู้อย่างยิ่งแล้ว ซึ่งความเกิดของผัสสะ ได้รู้อย่างยิ่งแล้ว ซึ่งความดับของผัสสะ ได้รู้อย่างยิ่งแล้ว ซึ่งปฏิปทาที่ให้ถึงความดับของผัสสะ สมณะหรือพราหมณ์ทั้งหลายเหล่านั้น ก็ได้รู้อย่างยิ่งแล้ว เหมือนอย่างที่เราเองได้รู้อย่างยิ่งแล้วในบัดนี้ ถึงแม้สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในกาลอันเป็นอนาคต จักรู้อย่างยิ่ง ซึ่งผัสสะ จักรู้อย่างยิ่ง ซึ่งความเกิดของผัสสะ จักรู้อย่างยิ่ง ซึ่งความดับของผัสสะ จักรู้อย่างยิ่ง ซึ่งปฏิปทาที่ให้ถึงความดับของผัสสะ สมณะหรือพราหมณ์ทั้งหลายเหล่านั้น ก็รู้จักอย่างยิ่ง เหมือนอย่างที่เราเองได้รู้อย่างยิ่งแล้วในบัดนี้ ดังนี้ ความรู้นี้ของอริยสาวกนั้นชื่อว่า อัน๎วยญาณ.
ภิกษุทั้งหลาย ในกาลใด ญาณทั้ง ๒ ประการเหล่านี้ คือ ธัมมญาณและอัน๎วยญาณ ของอริยสาวก เป็นธรรมชาติบริสุทธิ์ ผ่องใส ภิกษุทั้งหลาย ในกาลนั้น เราเรียกอริยสาวกนั้นว่า ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ดังนี้บ้าง ผู้ถึงพร้อมด้วยทัสสนะ ดังนี้บ้าง ผู้มาถึงพระสัทธรรมนี้แล้ว ดังนี้บ้าง ได้เห็นอยู่ซึ่งพระสัทธรรมนี้ ดังนี้บ้าง ผู้ประกอบแล้วด้วยญาณอันเป็นเสขะ ดังนี้บ้าง ผู้ประกอบแล้วด้วยวิชชาอันเป็นเสขะ ดังนี้บ้าง ผู้ถึงซึ่งกระแสแห่งธรรมแล้ว ดังนี้บ้าง ผู้เป็นอริยะมีปัญญาเจาะแทงกิเลส ดังนี้บ้าง ยืนอยู่ถึงประตูแห่งอมตะ ดังนี้บ้าง ดังนี้.
ภิกษุทั้งหลาย ก็สฬายตนะ เป็นอย่างไร คือ อายตนะ12คือตา (จักข๎วายตนะ) อายตนะคือหู (โสตายตนะ) อายตนะคือจมูก (ฆานายตนะ) อายตนะคือลิ้น (ชิวหายตนะ) อายตนะคือาย (กายายตนะ) อายตนะคือใจ (มนายตนะ) ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า สฬายตนะ ความเกิดของสฬายตนะย่อมมี เพราะความเกิดของนามรูป ความดับของสฬายตนะย่อมมี เพราะความดับของนามรูป อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้นั่นเอง เป็นปฏิปทาที่ให้ถึงความดับของสฬายตนะ นั่นคือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ.
ภิกษุทั้งหลาย ในกาลใด อริยสาวกรู้ทั่วถึงสฬายตนะ ว่าเป็นอย่างนี้ รู้ทั่วถึงความเกิดของสฬายตนะ ว่าเป็นอย่างนี้ รู้ทั่วถึงความดับของสฬายตนะ ว่าเป็นอย่างนี้ รู้ทั่วถึงปฏิปทาที่ให้ถึงความดับของสฬายตนะ ว่าเป็นอย่างนี้ ในกาลนั้น ความรู้นี้ของอริยสาวกนั้นชื่อว่า ธัมมญาณ ด้วยธรรมนี้อันอริยสาวกนั้นเห็นแล้ว รู้แล้ว บรรลุแล้ว หยั่งลงแล้ว และเป็นธรรมไม่ประกอบด้วยกาล อริยสาวกนั้น ย่อมนำความรู้นั้นไปสู่นัยะอันเป็นอดีตและอนาคตว่า สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในกาลอันเป็นอดีต ได้รู้อย่างยิ่งแล้ว ซึ่งสฬายตนะ ได้รู้อย่างยิ่งแล้ว ซึ่งความเกิดของสฬายตนะ ได้รู้อย่างยิ่งแล้ว ซึ่งความดับของสฬายตนะ ได้รู้อย่างยิ่งแล้ว ซึ่งปฏิปทาที่ให้ถึงความดับของสฬายตนะ สมณะหรือพราหมณ์ทั้งหลายเหล่านั้น ก็ได้รู้อย่างยิ่งแล้ว เหมือนอย่างที่เราเองได้รู้อย่างยิ่งแล้วในบัดนี้ ถึงแม้สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในกาลอันเป็นอนาคต จักรู้อย่างยิ่ง ซึ่งสฬายตนะ จักรู้อย่างยิ่ง ซึ่งความเกิดของสฬายตนะ จักรู้อย่างยิ่ง ซึ่งความดับของสฬายตนะ จักรู้อย่างยิ่ง ซึ่งปฏิปทาที่ให้ถึงความดับของสฬายตนะ สมณะหรือพราหมณ์ทั้งหลายเหล่านั้น ก็รู้จักอย่างยิ่ง เหมือนอย่างที่เราเองได้รู้อย่างยิ่งแล้วในบัดนี้ ดังนี้ ความรู้นี้ของอริยสาวกนั้นชื่อว่า อัน๎วยญาณ.
ภิกษุทั้งหลาย ในกาลใด ญาณทั้ง ๒ ประการเหล่านี้ คือ ธัมมญาณและอัน๎วยญาณ ของอริยสาวก เป็นธรรมชาติบริสุทธิ์ ผ่องใส ภิกษุทั้งหลาย ในกาลนั้น เราเรียกอริยสาวกนั้นว่า ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ดังนี้บ้าง ผู้ถึงพร้อมด้วยทัสสนะ ดังนี้บ้าง ผู้มาถึงพระสัทธรรมนี้แล้ว ดังนี้บ้าง ได้เห็นอยู่ซึ่งพระสัทธรรมนี้ ดังนี้บ้าง ผู้ประกอบแล้วด้วยญาณอันเป็นเสขะ ดังนี้บ้าง ผู้ประกอบแล้วด้วยวิชชาอันเป็นเสขะ ดังนี้บ้าง ผู้ถึงซึ่งกระแสแห่งธรรมแล้ว ดังนี้บ้าง ผู้เป็นอริยะมีปัญญาเจาะแทงกิเลส ดังนี้บ้าง ยืนอยู่ถึงประตูแห่งอมตะ ดังนี้บ้าง ดังนี้.
ภิกษุทั้งหลาย ก็นามรูป เป็นอย่างไร …
ภิกษุทั้งหลาย ก็วิญญาณ เป็นอย่างไร …
ภิกษุทั้งหลาย ก็สังขารทั้งหลาย เป็นอย่างไร …
-บาลี นิทาน. สํ. 16/67/118.
https://84000.org/tipitaka/pali/?16//67,
https://etipitaka.com/read/pali/16/67
คำอธิบายตามนัยแห่งคัมภีร์ธัมมสังคณี อภิธัมมปิฎก (-บาลี ๓๔/๓๐๖/๗๘๐) มีดังนี้
ธรรมทั้งหลายชื่อ อุปาทานเป็นอย่างไร อุปาทาน ๔ คือ กามุปาทาน ทิฏฐุปาทาน สีลัพพตุปาทาน และอัตตวาทุปาทาน.
ในอุปาทาน ๔ นั้น กามุปาทานเป็นอย่างไร คือ ความพอใจในกาม (กามฉันทะ) ความยินดีในกาม (กามราคะ) ความเพลินหรือความบันเทิงในกาม (กามนันทิ) ความทะยานอยากในกาม (กามตัณหา) ความเยื่อใยหรือความติดพันในกาม (กามสิเนหะ) ความเร่าร้อนในกาม (กามปริฬาหะ) ความสยบหรือความหลงไหลในกาม (กามมุจฉา) ความหมกมุ่นในกาม (กามัชโฌสานะ) ในกามทั้งหลายใดๆ นี้เรียกว่า กามุปาทาน.
ในอุปาทาน ๔ นั้น ทิฏฐุปาทานเป็นอย่างไร คือ (ความเห็นว่า) ทานที่ให้แล้วไม่มี (ผล) ยัญที่บูชาแล้วไม่มี (ผล) การบูชาที่บูชาแล้วไม่มี (ผล) ผลวิบากแห่งกรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกอื่นไม่มี มารดาไม่มี บิดาไม่มี สัตว์ที่เป็นโอปปาติกะไม่มี สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้ดำเนินไปโดยชอบ ปฏิบัติโดยชอบ ผู้ทำให้แจ้งซึ่งโลกนี้และโลกอื่นด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วสอนผู้อื่นให้รู้ตามไม่มี ดังนี้ ความเห็นมีลักษณะดังกล่าวนี้ใดๆ เป็นทิฏฐิ ไปแล้วด้วยทิฏฐิ รกชัฏด้วยทิฏฐิ กันดารด้วยทิฏฐิ เป็นข้าศึกด้วยทิฏฐิ โยกโคลงด้วยทิฏฐิ รึงรัดไว้ด้วยทิฏฐิ การจับ การจับยึดไว้ การยึดถือเอาไว้อย่างแน่นหนา การลูบคลำ มรรคที่ชั่วช้า ทางที่ผิด ความเป็นที่ผิด การสืบต่อลัทธิที่ผิด ถือการแสวงหาในด้านที่ผิด นี้เรียกว่า ทิฏฐุปาทาน ยกเว้น สีลัพพตุปาทาน และอัตตวาทุปาทานเสียแล้ว มิจฉาทิฏฐิแม้ทั้งหมด ชื่อว่าทิฏฐุปาทาน.
ในอุปาทาน ๔ นั้น สีลัพพตุปาทานเป็นอย่างไร คือ ความสะอาดด้วยศีล ความสะอาดด้วยวัตร ความสะอาดด้วยศีลพรตของเหล่าสมณพราหมณ์ ในภายนอกจากศาสนานี้ ความเห็นมีลักษณะดังกล่าวนี้ใดๆ เป็นทิฏฐิ ไปแล้วด้วยทิฏฐิ รกชัฏด้วยทิฏฐิ กันดารด้วยทิฏฐิ เป็นข้าศึกด้วยทิฏฐิ โยกโคลงด้วยทิฏฐิ รึงรัดไว้ด้วยทิฏฐิ การจับ การจับยึดไว้ การยึดถือเอาไว้อย่างแน่นหนา การลูบคลำ มรรคที่ชั่วช้า ทางที่ผิด ความเป็นที่ผิด การสืบต่อลัทธิที่ผิด ถือการแสวงหาในด้านที่ผิด นี้เรียกว่า สีลัพพตุปาทาน.
ในอุปาทาน ๔ นั้น อัตตวาทุปาทานเป็นอย่างไร ในกรณี้นี้ ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ไม่ได้เห็นเหล่าพระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ไม่ถูกแนะนำในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นเหล่าสัปบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของสัปบุรุษ ไม่ถูกแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ ย่อมตามเห็นรูปโดยความเป็นอัตตาบ้าง ย่อมตามเห็นอัตตาว่ามีรูปบ้าง ย่อมตามเห็นรูปว่ามีในอัตตาบ้าง ย่อมตามเห็นอัตตาว่ามีในรูปบ้าง ย่อมตามเห็น13เวทนาโดยความเป็นอัตตาบ้าง ย่อมตามเห็นอัตตาว่ามีเวทนาบ้าง ย่อมตามเห็นเวทนาว่ามีในอัตตาบ้าง ย่อมตามเห็นอัตตาว่ามีในเวทนาบ้าง ย่อมตามเห็นสัญญาโดยความเป็นอัตตาบ้าง ย่อมตามเห็นอัตตาว่ามีสัญญาบ้าง ย่อมตามเห็นสัญญาว่ามีในอัตตาบ้าง ย่อมตามเห็นอัตตาว่ามีในสัญญาบ้าง ย่อมตามเห็นสังขารโดยความเป็นอัตตาบ้าง ย่อมตามเห็นอัตตาว่ามีสังขารบ้าง ย่อมตามเห็นสังขารว่ามีในอัตตาบ้าง ย่อมตามเห็นอัตตาว่ามีในสังขารบ้าง ย่อมตามเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตาบ้าง ย่อมตามเห็นอัตตาว่ามีวิญญาณบ้าง ย่อมตามเห็นวิญญาณว่ามีในอัตตาบ้าง ย่อมตามเห็นอัตตาว่ามีในวิญญาณบ้าง ความเห็นมีลักษณะดังกล่าวนี้ใดๆ เป็นทิฏฐิ ไปแล้วด้วยทิฏฐิ รกชัฏด้วยทิฏฐิ กันดารด้วยทิฏฐิ เป็นข้าศึกด้วยทิฏฐิ โยกโคลงด้วยทิฏฐิ รึงรัดไว้ด้วยทิฏฐิ การจับ การจับยึดไว้ การยึดถือเอาไว้อย่างแน่นหนา การลูบคลำ มรรคที่ชั่วช้า ทางที่ผิด ความเป็นที่ผิด การสืบต่อลัทธิที่ผิด ถือการแสวงหาในด้านที่ผิด นี้เรียกว่า อัตตวาทุปาทาน.
เหล่านี้แล คือ ธรรมทั้งหลาย ชื่ออุปาทาน.
1 ญาณ = ความรู้, ความเข้าใจ, ความเข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง ญาณวัตถุ = หัวข้อแห่งญาณ หรือหัวข้อของความรู้, หัวข้อของความเข้าใจ.
2 ปฏิปทา = ข้อปฏิบัติ.
3 คำว่า รู้ทั่วถึง ในที่นี้ มาจากศัพท์บาลีว่า ปชานาติ และคำว่า ปชานาติ มีความหมายอย่างอื่นอีก เช่น รู้ชัด, ค้นพบ, หยั่งรู้, เข้าใจ, เห็นความแตกต่าง รู้, รู้จัก, รู้แตกฉาน : ภาษาอังกฤษ to know, understand, discern, distinguish, find out, come to know มีความหมายคล้ายคลึงกับคำว่า อภิฺ ซึ่งหมายถึง รู้ยิ่ง, มีความรู้, ฉลาด, ชำนาญ, โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มีความรู้สูงกว่า หรือเหนือกว่าปกติ (อภิฺา) : ภาษาอังกฤษ knowing, possessed of knowledge, intelligent, higher or supernormal knowledge (abhiññā) / อภิฺา = ความรู้ยิ่ง, รู้ยิ่งแล้ว, รู้เฉพาะแล้ว : ภาษาอังกฤษ having known, become cognisant, to serenity, to special knowledge (abhiññā), to special wisdom / ปญญา = ความรู้, ความเข้าใจ, ความฉลาด : ภาษาอังกฤษ intelligence, reason, wisdom, insight, knowledge.
4 อัน๎วย = การสอดคล้องหรือเป็นไปตาม, การคล้อยตาม, ตามนั้น, เป็นไปตามตาม, มีแนวทางเดียวกัน, ประพฤติตาม, อันเป็นผลตามมาสอดคล้องกับ.
5 ศัพท์บาลีคำว่า ธมฺม มีความหมายค่อนข้างกว้าง ได้แก่ คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า, สภาวะ, ธรรมชาติ; ความจริง, บุญ, ความดี; ความยุติธรรม, สิ่งปรากฏการณ์, อารมณ์ทางใจ (ธรรม หรือธรรมารมณ์ ที่เป็นอายตนะภายนอก) เป็นต้น.
6 คำว่าภพ ศัพท์บาลีคือ ภว หมายถึง ความเกิดใหม่; ภพ, กำเนิด, ความมี, ความเป็น, ความเจริญ.
7 ศัพท์บาลีคำว่า อุปาทาน หมายถึง การยึดมั่น, การถือมั่น, เชื้อ, เสบียง, อาหาร, ได้รับการสนับสนุน, มีชีวิตชีวา, อุปาทาน = มีเชื้อ; อนุปาทาน = ปราศจากเชื้อ, อาศัย, ยึด, ยึดมั่น, ถือมั่น, เครื่องเกาะ, แสวงหาที่พึ่งหรือเกาะ, เกาะติดอยู่, ยึดมั่น, ได้รับการหล่อเลี้ยง : ภาษาอังกฤษ fuel, supply, provision, supported by, drawing one’s existence from— upādāna (adj.) provided with fuel; anupādāna without fuel, drawing upon, grasping, holding on, grip, attachment, finding one’s support by or in, clinging to, taking up, nourished by.
8 คำอธิบายอุปาทาน ๔ ยังไม่พบที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ แต่มีคำอธิบายตามนัยแห่งคัมภีร์ธัมมสังคณี อภิธัมมปิฎก (-บาลี ๓๔/๓๐๖/๗๘๐.) รายละเอียดอยู่ตอนท้ายของพระสูตรนี้.
9 หมู่แห่งตัณหา ศัพท์บาลีคือ ตณฺหากายา / กาย = กลุ่ม, กอง, จำนวนที่รวมกัน, การรวมเข้าด้วยกัน, ร่างกาย, ฝูง, หมู่.
10 หมู่แห่งเวทนา ศัพท์บาลีคือ เวทนากายา.
11 หมู่แห่งผัสสะ ศัพท์บาลีคือ ผสฺสกายา.
12 ศัพท์บาลีคำว่า อายตนะ มีความหมายค่อนข้างกว้าง ได้แก่ ที่อยู่, ที่อาศัย, บ่อเกิด, เครื่องต่อ, ส่วน, ระยะ, เขต, ปริมณฑล, ดินแดน, ถิ่น, สถานที่, จุด; ตำแหน่ง, โอกาส, ความพยายาม, การกระทำ, การทำงาน, การปฏิบัติ, การประกอบ,ขอบเขตของความเข้าใจหรือความรู้สึกโดยทั่วๆ ไป, สิ่งที่คิดถึง, สิ่งที่รับรู้ และธรรม (ธรรมารมณ์); ความสัมพันธ์, ลำดับ: คำว่า อายตน ไม่สามารถจะใช้คำอังกฤษคำเดียวให้ครอบคลุมถึงทั้งอายตนะ (ใจ ถูกจัดเป็นอายตนะที่ 6) และอารมณ์ได้ : ภาษาอังกฤษ stretch, extent, reach, compass, region; sphere, locus, place, spot; position, occasion, exertion, doing, working, practice, performance, sphere of perception or sense in general, object of thought, sense — organ & object; relation, order. —: āyatana cannot be rendered by a single English word to cover both sense — organs (the mind being regarded as 6th sense) and sense objects. อากาสานฺจายตน = อากาศ + อานนฺตฺย + อายตน., วิฺาณญฺจายตน = วิฺาณ + อานนฺตฺย + อายตน., อากิจฺายตน = อากิฺจนฺย + อายตน., เนวสฺานาสฺายตน = ไนว + สฺชฺา + น + อสฺชฺา + อายตน.
13 คำว่า ตามเห็น มาจากศัพท์บาลีว่า สมนุปสฺสติ ซึ่งคำนี้มีความหมายอย่างอื่นได้อีก เช่น ตามเห็นพร้อม,เล็งเห็น, เห็น, พิจารณาเห็น, สังเกตเห็น : ภาษาอังกฤษ to see, perceive, regard.
English translation by Bhikkhu Sujato
At Sāvatthī.
“Mendicants, I will teach forty-four grounds for knowledge. Listen and apply your mind well, I will speak.”
“Yes, sir,” they replied. The Buddha said this:
“And what are the forty-four grounds for knowledge? Knowledge of old age and death, knowledge of the origin of old age and death, knowledge of the cessation of old age and death, and knowledge of the practice that leads to the cessation of old age and death. Knowledge of rebirth … Knowledge of continued existence … Knowledge of grasping … Knowledge of craving … Knowledge of feeling … Knowledge of contact … Knowledge of the six sense fields … Knowledge of name and form … Knowledge of consciousness … Knowledge of choices, knowledge of the origin of choices, knowledge of the cessation of choices, and knowledge of the practice that leads to the cessation of choices. These are called the forty-four grounds for knowledge.
And what is old age and death? The old age, decrepitude, broken teeth, grey hair, wrinkly skin, diminished vitality, and failing faculties of the various sentient beings in the various orders of sentient beings. This is called old age. The passing away, passing on, disintegration, demise, mortality, death, decease, breaking up of the aggregates, and laying to rest of the corpse of the various sentient beings in the various orders of sentient beings. This is called death. Such is old age, and such is death. This is called old age and death.
Rebirth is the origin of old age and death. When rebirth ceases, old age and death cease. The practice that leads to the cessation of old age and death is simply this noble eightfold path, that is: right view, right thought, right speech, right action, right livelihood, right effort, right mindfulness, and right immersion.
A noble disciple understands old age and death, their origin, their cessation, and the practice that leads to their cessation. This is their knowledge of the present phenomenon. With this present phenomenon that is seen, known, immediate, attained, and fathomed, they infer to the past and future.
Whatever ascetics and brahmins in the past directly knew old age and death, their origin, their cessation, and the practice that leads to their cessation, all of them directly knew these things in exactly the same way that I do now.
Whatever ascetics and brahmins in the future will directly know old age and death, their origin, their cessation, and the practice that leads to their cessation, all of them will directly know these things in exactly the same way that I do now. This is their inferential knowledge.
A noble disciple has purified and cleansed these two knowledges—knowledge of the present phenomena, and inferential knowledge. When a noble disciple has done this, they’re one who is called ‘one accomplished in view’, ‘one accomplished in vision’, ‘one who has come to the true teaching’, ‘one who sees this true teaching’, ‘one endowed with a trainee’s knowledge’, ‘one who has entered the stream of the teaching’, ‘a noble one with penetrative wisdom’, and also ‘one who stands pushing open the door to freedom from death’.
And what is rebirth? … And what is continued existence? … And what is grasping? … And what is craving? … And what is feeling? … And what is contact? … And what are the six sense fields? … And what are name and form? … And what is consciousness? … And what are choices? There are three kinds of choices. Choices by way of body, speech, and mind. These are called choices.
Ignorance is the origin of choices. When ignorance ceases, choices cease. The practice that leads to the cessation of choices is simply this noble eightfold path, that is: right view, right thought, right speech, right action, right livelihood, right effort, right mindfulness, and right immersion.
A noble disciple understands choices, their origin, their cessation, and the practice that leads to their cessation. This is their knowledge of the present phenomenon. With this present phenomenon that is seen, known, immediate, attained, and fathomed, they infer to the past and future.
Whatever ascetics and brahmins in the past directly knew choices, their origin, their cessation, and the practice that leads to their cessation, all of them directly knew these things in exactly the same way that I do now.
Whatever ascetics and brahmins in the future will directly know choices, their origin, their cessation, and the practice that leads to their cessation, all of them will directly know these things in exactly the same way that I do now. This is their inferential knowledge.
A noble disciple has purified and cleansed these two knowledges—knowledge of the present phenomena, and inferential knowledge. When a noble disciple has done this, they’re one who is called ‘one accomplished in view’, ‘one accomplished in vision’, ‘one who has come to the true teaching’, ‘one who sees this true teaching’, ‘one endowed with a trainee’s knowledge’, ‘one who has entered the stream of the teaching’, ‘a noble one with penetrative wisdom’, and also ‘one who stands pushing open the door to freedom from death’.”
English translation by Bhikkhu Bodhi
At Savatthī. “Bhikkhus, I will teach you forty-four cases of knowledge. Listen to that and attend closely, I will speak.”
“Yes, venerable sir,” those bhikkhus replied. The Blessed One said this:
“Bhikkhus, what are the forty-four cases of knowledge? Knowledge of aging-and-death, knowledge of its origin, knowledge of its cessation, knowledge of the way leading to its cessation. Knowledge of birth … Knowledge of existence … Knowledge of clinging … Knowledge of craving … Knowledge of feeling … Knowledge of contact … Knowledge of the six sense bases … Knowledge of name-and-form … Knowledge of consciousness … Knowledge of volitional formations, knowledge of their origin, knowledge of their cessation, knowledge of the way leading to their cessation. These, bhikkhus, are the forty-four cases of knowledge.
“And what, bhikkhus, is aging-and-death?… definition as in §2 … Thus this aging and this death are together called aging-and-death. With the arising of birth there is the arising of aging-and-death. With the cessation of birth there is the cessation of aging-and-death. This Noble Eightfold Path is the way leading to the cessation of aging-and-death; that is, right view … right concentration.
“When, bhikkhus, a noble disciple thus understands aging-and-death, its origin, its cessation, and the way leading to its cessation, this is his knowledge of the principle. By means of this principle that is seen, understood, immediately attained, fathomed, he applies the method to the past and to the future thus: ‘Whatever ascetics and brahmins in the past directly knew aging-and-death, its origin, its cessation, and the way leading to its cessation, all these directly knew it in the very same way that I do now. Whatever ascetics and brahmins in the future will directly know aging-and-death, its origin, its cessation, and the way leading to its cessation, all these will directly know it in the very same way that I do now.’ This is his knowledge of entailment.
“When, bhikkhus, a noble disciple has purified and cleansed these two kinds of knowledge—knowledge of the principle and knowledge of entailment—he is then called a noble disciple who is accomplished in view, accomplished in vision, who has arrived at this true Dhamma, who sees this true Dhamma, who possesses a trainee’s knowledge, a trainee’s true knowledge, who has entered the stream of the Dhamma, a noble one with penetrative wisdom, one who stands squarely before the door to the Deathless.
“And what, bhikkhus, is birth?… What are the volitional formations? … definitions as in §2 … This Noble Eightfold Path is the way leading to the cessation of volitional formations; that is, right view … right concentration.
“When, bhikkhus, a noble disciple thus understands volitional formations, their origin, their cessation, and the way leading to their cessation, this is his knowledge of the principle. By means of this principle that is seen, understood, immediately attained, fathomed, he applies the method to the past and to the future…. This is his knowledge of entailment.
“When, bhikkhus, a noble disciple has purified and cleansed these two kinds of knowledge—knowledge of the principle and knowledge of entailment—he is then called a noble disciple who is accomplished in view … one who stands squarely before the door to the Deathless.”