เมื่อเจริญสมาธิแล้ว ย่อมรู้ได้ตามความเป็นจริง (๑)
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ในที่นั้น พระผู้มีพระภาคตรัสกับภิกษุทั้งหลายว่า
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จงเจริญสมาธิเถิด ภิกษุผู้มีจิตตั้งมั่นแล้ว ย่อมรู้ได้ตามความเป็นจริง ก็ภิกษุย่อมรู้ได้ตามความเป็นจริงซึ่งอะไร คือ ย่อมรู้ได้ตามความเป็นจริงซึ่งความเกิดและความดับแห่งรูป ย่อมรู้ได้ตามความเป็นจริงซึ่งความเกิดและความดับแห่งเวทนา ย่อมรู้ได้ตามความเป็นจริงซึ่งความเกิดและความดับแห่งสัญญา ย่อมรู้ได้ตามความเป็นจริงซึ่งความเกิดและความดับแห่งสังขาร ย่อมรู้ได้ตามความเป็นจริงซึ่งความเกิดและความดับแห่งวิญญาณ.
ภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเป็นความเกิดแห่งรูป อะไรเป็นความเกิดแห่งเวทนา อะไรเป็นความเกิดแห่งสัญญา อะไรเป็นความเกิดแห่งสังขาร อะไรเป็นความเกิดแห่งวิญญาณ.
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในกรณีนี้ ย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำถึง ย่อมติดอกติดใจอยู่ ก็บุคคลย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำถึง ย่อมติดอกติดใจอยู่ซึ่งอะไร ย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำถึง ย่อมติดอกติดใจอยู่ซึ่งรูป เมื่อเขาเพลิดเพลิน พร่ำถึง ติดอกติดใจอยู่ซึ่งรูป นันทิ[๑]ย่อมเกิดขึ้น นันทิใดในรูป นันทินั้นคืออุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะ โสกะปริเทวะ ทุกขโทมนัส และอุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในกรณีนี้ ย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำถึง ย่อมติดอกติดใจอยู่ … ซึ่งเวทนา เมื่อเขาเพลิดเพลิน พร่ำถึง ติดอกติดใจอยู่ซึ่งเวทนา นันทิย่อมเกิดขึ้น นันทิใดในเวทนา นันทินั้นคืออุปาทาน … ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในกรณีนี้ ย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำถึง ย่อมติดอกติดใจอยู่ … ซึ่งสัญญา เมื่อเขาเพลิดเพลิน พร่ำถึง ติดอกติดใจอยู่ซึ่งสัญญา นันทิย่อมเกิดขึ้น นันทิใดในสัญญา นันทินั้นคืออุปาทาน … ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในกรณีนี้ ย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำถึง ย่อมติดอกติดใจอยู่ … ซึ่งสังขาร เมื่อเขาเพลิดเพลิน พร่ำถึง ติดอกติดใจอยู่ซึ่งสังขาร นันทิย่อมเกิดขึ้น นันทิใดในสังขาร นันทินั้นคืออุปาทาน … ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในกรณีนี้ ย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำถึง ย่อมติดอกติดใจอยู่ ก็บุคคลย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำถึง ย่อมติดอกติดใจอยู่ซึ่งอะไร ย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำถึง ย่อมติดอกติดใจอยู่ซึ่งวิญญาณ เมื่อเขาเพลิดเพลิน พร่ำถึง ติดอกติดใจอยู่ซึ่งวิญญาณ นันทิย่อมเกิดขึ้น นันทิใดในวิญญาณ นันทินั้นคืออุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะ โสกะปริเทวะ ทุกขโทมนัส และอุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.
ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นความเกิดแห่งรูป นี้เป็นความเกิดแห่งเวทนา นี้เป็นความเกิดแห่งสัญญา นี้เป็นความเกิดแห่งสังขาร และนี้เป็นความเกิดแห่งวิญญาณ.
ภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเป็นความดับแห่งรูป อะไรเป็นความดับแห่งเวทนา อะไรเป็นความดับแห่งสัญญา อะไรเป็นความดับแห่งสังขาร อะไรเป็นความดับแห่งวิญญาณ.
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในกรณีนี้ ย่อมไม่เพลิดเพลิน ย่อมไม่พร่ำถึง ย่อมไม่ติดอกติดใจอยู่ ก็บุคคลย่อมไม่เพลิดเพลิน ย่อมไม่พร่ำถึง ย่อมไม่ติดอกติดใจอยู่ซึ่งอะไร ย่อมไม่เพลิดเพลิน ย่อมไม่พร่ำถึง ย่อมไม่ติดอกติดใจอยู่ซึ่งรูป เมื่อเขาไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำถึง ไม่ติดอกติดใจอยู่ซึ่งรูป นันทิใดในรูป นันทินั้นย่อมดับ เพราะความดับแห่งนันทิ จึงมีความดับแห่งอุปาทาน เพราะความดับแห่งอุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ เพราะความดับแห่งภพ จึงมีความดับแห่งชาติ เพราะความดับแห่งชาตินั่นแล ชรามรณะ โสกะปริเทวะ ทุกขโทมนัส และอุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในกรณีนี้ ย่อมไม่เพลิดเพลิน ย่อมไม่พร่ำถึง ย่อมไม่ติดอกติดใจอยู่ … ซึ่งเวทนา เมื่อเขาไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำถึง ไม่ติดอกติดใจอยู่ซึ่งเวทนา นันทิใดในเวทนา นันทินั้นย่อมดับ เพราะความดับแห่งนันทิ จึงมีความดับแห่งอุปาทาน … ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในกรณีนี้ ย่อมไม่เพลิดเพลิน ย่อมไม่พร่ำถึง ย่อมไม่ติดอกติดใจอยู่ … ซึ่งสัญญา เมื่อเขาไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำถึง ไม่ติดอกติดใจอยู่ซึ่งสัญญา นันทิใดในสัญญาย่อมดับ เพราะความดับแห่งนันทิ จึงมีความดับแห่งอุปาทาน … ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในกรณีนี้ ย่อมไม่เพลิดเพลิน ย่อมไม่พร่ำถึง ย่อมไม่ติดอกติดใจอยู่ … ซึ่งสังขาร เมื่อเขาไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำถึง ไม่ติดอกติดใจอยู่ซึ่งสังขาร นันทิใดในสังขาร นันทินั้นย่อมดับ เพราะความดับแห่งนันทิ จึงมีความดับแห่งอุปาทาน … ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในกรณีนี้ ย่อมไม่เพลิดเพลิน ย่อมไม่พร่ำถึง ย่อมไม่ติดอกติดใจอยู่ ก็บุคคลย่อมไม่เพลิดเพลิน ย่อมไม่พร่ำถึง ย่อมไม่ติดอกติดใจอยู่ซึ่งอะไร ย่อมไม่เพลิดเพลิน ย่อมไม่พร่ำถึง ย่อมไม่ติดอกติดใจอยู่ซึ่งวิญญาณ เมื่อเขาไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำถึง ไม่ติดอกติดใจอยู่ซึ่งวิญญาณ นันทิใดในวิญญาณ นันทินั้นย่อมดับ เพราะความดับแห่งนันทิ จึงมีความดับแห่งอุปาทาน เพราะความดับแห่งอุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ เพราะความดับแห่งภพ จึงมีความดับแห่งชาติ เพราะความดับแห่งชาตินั่นแล ชรามรณะ โสกะปริเทวะ ทุกขโทมนัส และอุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.
ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นความดับแห่งรูป นี้เป็นความดับแห่งเวทนา นี้เป็นความดับแห่งสัญญา นี้เป็นความดับแห่งสังขาร และนี้เป็นความดับแห่งวิญญาณ.
-บาลี ขนฺธ. สํ. 17/18/27.
https://84000.org/tipitaka/pali/?17//18,
https://etipitaka.com/read/pali/17/18
[๑] นันทิ = ความยินดี, ความพอใจ, ความเพลิดเพลิน
English translation by Bhikkhu Sujato
So I have heard. At Sāvatthī.
“Mendicants, develop immersion. A mendicant who has immersion truly understands. What do they truly understand? The origin and ending of form, feeling, perception, choices, and consciousness.
And what is the origin of form, feeling, perception, choices, and consciousness? It’s when a mendicant approves, welcomes, and keeps clinging.
What do they approve, welcome, and keep clinging to? They approve, welcome, and keep clinging to form. This gives rise to relishing. Relishing forms is grasping. Their grasping is a condition for continued existence. Continued existence is a condition for rebirth. Rebirth is a condition for old age and death, sorrow, lamentation, pain, sadness, and distress to come to be. That is how this entire mass of suffering originates.
They approve, welcome, and keep clinging to feeling … perception … choices … consciousness. This gives rise to relishing. Relishing consciousness is grasping. Their grasping is a condition for continued existence. Continued existence is a condition for rebirth. Rebirth is a condition that gives rise to old age and death, sorrow, lamentation, pain, sadness, and distress. That is how this entire mass of suffering originates.
This is the origin of form, feeling, perception, choices, and consciousness.
And what is the ending of form, feeling, perception, choices, and consciousness?
It’s when a mendicant doesn’t approve, welcome, or keep clinging.
What don’t they approve, welcome, or keep clinging to? They don’t approve, welcome, or keep clinging to form. As a result, relishing of form ceases. When that relishing ceases, grasping ceases. When grasping ceases, continued existence ceases. … That is how this entire mass of suffering ceases.
They don’t approve, welcome, or keep clinging to feeling … perception … choices … consciousness. As a result, relishing of consciousness ceases. When that relishing ceases, grasping ceases. … That is how this entire mass of suffering ceases.
This is the ending of form, feeling, perception, choices, and consciousness.”
English translation by Bhikkhu Bodhi
Thus have I heard. At Savatthi…. There the Blessed One said this:
“Bhikkhus, develop concentration. A bhikkhu who is concentrated understands things as they really are.
“And what does he understand as it really is? The origin and passing away of form; the origin and passing away of feeling; the origin and passing away of perception; the origin and passing away of volitional formations; the origin and passing away of consciousness.
“And what, bhikkhus, is the origin of form? What is the origin of feeling? What is the origin of perception? What is the origin of volitional formations? What is the origin of consciousness?
“Here, bhikkhus, one seeks delight, one welcomes, one remains holding. And what is it that one seeks delight in, what does one welcome, to what does one remain holding? One seeks delight in form, welcomes it, and remains holding to it. As a consequence of this, delight arises. Delight in form is clinging. With one’s clinging as condition, existence comes to be; with existence as condition, birth; with birth as condition, aging-and-death, sorrow, lamentation, pain, displeasure, and despair come to be. Such is the origin of this whole mass of suffering.
“One seeks delight in feeling … in perception … in volitional formations … in consciousness, welcomes it, and remains holding to it. As a consequence of this, delight arises…. Such is the origin of this whole mass of suffering.
“This, bhikkhus, is the origin of form; this is the origin of feeling; this is the origin of perception; this is the origin of volitional formations; this is the origin of consciousness.
“And what, bhikkhus, is the passing away of form? What is the passing away of feeling? What is the passing away of perception? What is the passing away of volitional formations? What is the passing away of consciousness?
“Here, bhikkhus, one does not seek delight, one does not welcome, one does not remain holding. And what is it that one does not seek delight in? What doesn’t one welcome? To what doesn’t one remain holding? One does not seek delight in form, does not welcome it, does not remain holding to it. As a consequence of this, delight in form ceases. With the cessation of delight comes cessation of clinging; with cessation of clinging, cessation of existence…. Such is the cessation of this whole mass of suffering.
“One does not seek delight in feeling … … in perception … in volitional formations … in consciousness, does not welcome it, does not remain holding to it. As a consequence of this, delight in consciousness ceases…. Such is the cessation of this whole mass of suffering.
“This, bhikkhus, is the passing away of form; this is the passing away of feeling; this is the passing away of perception; this is the passing away of volitional formations; this is the passing away of consciousness.”