เจริญอานาปานสติมาก เป็นเหตุให้ สติปัฏฐาน ๔, โพชฌงค์ ๗ และวิชชา-วิมุตติบริบูรณ์
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ปราสาทของอุบาสิกาวิสาขา มิคารมารดา ในวิหารบุพพาราม เขตนครสาวัตถี พร้อมด้วยพระสาวกผู้เป็นเถระมีชื่อเสียงหลายรูปด้วยกัน เช่น ท่านพระสารีบุตร ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ท่านพระมหากัสสป ท่านพระมหากัจจายนะ ท่านพระมหาโกฏฐิตะ ท่านพระมหากปิณะ ท่านพระมหาจุนทะ ท่านพระเรวตะ ท่านพระภิกษุทั้งหลาย และพระสาวกผู้เป็นเถระมีชื่อเสียงอื่นๆ.
ก็สมัยนั้น พระเถระทั้งหลายพากันสั่งสอน พร่ำสอนพวกภิกษุอยู่ คือ พระเถระบางพวกสั่งสอนพร่ำสอนภิกษุ ๑๐ รูปบ้าง บางพวกสั่งสอนพร่ำสอนภิกษุ ๒๐ รูปบ้าง บางพวกสั่งสอนพร่ำสอนภิกษุ ๓๐ รูปบ้าง บางพวกสั่งสอนพร่ำสอนภิกษุ ๔๐ รูปบ้าง ฝ่ายภิกษุนวกะเหล่านั้น อันภิกษุผู้เถระสั่งสอน พร่ำสอนอยู่ ย่อมรู้คุณวิเศษอย่างกว้างขวางยิ่งกว่าแต่ก่อน.
ก็สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคทรงมีภิกษุสงฆ์แวดล้อม ประทับนั่งที่กลางแจ้ง ในคืนดวงจันทร์เต็มดวง วันนั้นเป็นวันอุโบสถ ๑๕ ค่ำ ทั้งเป็นวันปวารณาด้วย ขณะนั้น พระผู้มีพระภาคทรงพิจารณาดูภิกษุสงฆ์ ซึ่งนิ่งสงบอยู่โดยลำดับ จึงตรัสบอกภิกษุทั้งหลายว่า
ภิกษุทั้งหลาย เราเป็นผู้ตั้งมั่นแล้วในข้อปฏิบัตินี้ เราเป็นผู้มีจิตตั้งมั่นแล้วในข้อปฏิบัตินี้ เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ พวกเธอทั้งหลาย จงปรารภความเพียรให้ยิ่งกว่าประมาณ เพื่อถึงสิ่งที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งสิ่งที่ยังไม่ทำให้แจ้ง เราจักรอคอยพวกเธอทั้งหลายอยู่ ณ ที่นครสาวัตถีนี้แล จนกว่าจะถึงวันครบ ๔ เดือนแห่งฤดูฝน อันเป็นฤดูที่บานแห่งดอกโกมุท.[๑]
พวกภิกษุชาวชนบททราบข่าวว่า พระผู้มีพระภาคจักรออยู่ในเมืองสาวัตถีนั้น จนถึงวันครบ ๔ เดือนแห่งฤดูฝน อันเป็นฤดูที่บานแห่งดอกโกมุท จึงพากันหลั่งไหลมายังพระนครสาวัตถี เพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาค ฝ่ายภิกษุผู้เป็นเถระเหล่านั้นก็พากันสั่งสอน พร่ำสอนภิกษุนวกะอย่างเต็มที่ คือ ภิกษุผู้เถระบางพวกสั่งสอน พร่ำสอนภิกษุ ๑๐ รูปบ้าง บางพวกสั่งสอนพร่ำสอนภิกษุ ๒๐ รูปบ้าง บางพวกสั่งสอนพร่ำสอนภิกษุ ๓๐ รูปบ้าง บางพวกสั่งสอนพร่ำสอนภิกษุ ๔๐ รูปบ้าง และภิกษุนวกะเหล่านั้น อันภิกษุผู้เถระสั่งสอนพร่ำสอนอยู่ ย่อมรู้คุณวิเศษอย่างกว้างขวางยิ่งกว่าแต่ก่อน.
ก็สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคทรงมีภิกษุสงฆ์แวดล้อม ประทับนั่งที่กลางแจ้ง ในคืนดวงจันทร์เต็มดวง เป็นวันครบ ๔ เดือนแห่งฤดูฝน อันเป็นฤดูที่บานแห่งดอกโกมุท วันนั้นเป็นวันอุโบสถ ๑๕ ค่ำ ขณะนั้น พระผู้มีพระภาคทรงพิจารณาดูภิกษุสงฆ์ ซึ่งนิ่งสงบอยู่โดยลำดับ จึงตรัสบอกภิกษุทั้งหลายว่า
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุบริษัทนี้ ไม่เหลวไหลเลย ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุบริษัทนี้ไม่เหลวแหลกเลย ภิกษุบริษัทนี้ ตั้งอยู่แล้วในธรรมที่เป็นสาระล้วน.
ภิกษุทั้งหลาย บริษัทเช่นใด มีรูปลักษณะที่น่าบูชา น่าต้อนรับ น่ารับทักษิณา น่าอัญชลี เป็นเนื้อนาบุญชั้นดีเยี่ยมของโลก หมู่ภิกษุนี้ก็มีรูปลักษณะเช่นนั้น ภิกษุบริษัทนี้ก็มีรูปลักษณะเช่นนั้น.
ภิกษุทั้งหลาย บริษัทเช่นใด มีรูปลักษณะที่ทานอันบุคคลให้น้อย แต่กลับมีผลมาก ทานที่ให้มาก ก็มีผลมากทวียิ่งขึ้น หมู่ภิกษุนี้ก็มีรูปลักษณะเช่นนั้น ภิกษุบริษัทนี้ก็มีรูปลักษณะเช่นนั้น.
ภิกษุทั้งหลาย บริษัทเช่นใด มีรูปลักษณะยากที่ชาวโลกจะได้เห็น หมู่ภิกษุนี้ก็มีรูปลักษณะเช่นนั้น ภิกษุบริษัทนี้ก็มีรูปลักษณะเช่นนั้น.
ภิกษุทั้งหลาย บริษัทเช่นใด มีรูปลักษณะที่ควรจะไปดูไปเห็น แม้จะต้องเดินสิ้นหนทางนับด้วยโยชน์ๆ ถึงกับต้องเอาห่อเสบียงไปด้วยก็ตาม หมู่ภิกษุนี้ก็มีรูปลักษณะเช่นนั้น ภิกษุบริษัทนี้ก็มีรูปลักษณะเช่นนั้น.
ภิกษุทั้งหลาย ในหมู่ภิกษุนี้ มีพวกภิกษุซึ่งเป็นอรหันต์ สิ้นอาสวะแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว มีกิจที่ควรทำได้ทำสำเร็จแล้ว มีภาระปลงลงได้แล้ว มีประโยชน์ของตนเองบรรลุแล้วโดยลำดับ มีสัญโญชน์ในภพสิ้นไปแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ พวกภิกษุแม้เห็นปานนี้ก็มีอยู่ในหมู่ภิกษุนี้.
ภิกษุทั้งหลาย ในหมู่ภิกษุนี้ มีพวกภิกษุซึ่งสิ้นสัญโญชน์เบื้องต่ำ ๕ เป็นโอปปาติกะ จักปรินิพพานในที่นั้น ไม่เวียนกลับมาจากโลกนั้นเป็นธรรมดา พวกภิกษุแม้เห็นปานนี้ ก็มีอยู่ในหมู่ภิกษุนี้.
ภิกษุทั้งหลาย ในหมู่ภิกษุนี้ มีพวกภิกษุซึ่งสิ้นสัญโญชน์ ๓ และมีความเบาบางไปของราคะ โทสะ โมหะ เป็นสกทาคามี มาสู่โลกนี้อีกครั้งเดียวเท่านั้น แล้วจักกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ พวกภิกษุแม้เห็นปานนี้ ก็มีอยู่ในหมู่ภิกษุนี้.
ภิกษุทั้งหลาย ในหมู่ภิกษุนี้ มีพวกภิกษุซึ่งสิ้นสัญโญชน์ ๓ เป็นโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา ผู้มีอันที่จะได้ตรัสรู้ในกาลข้างหน้า พวกภิกษุแม้เห็นปานนี้ ก็มีอยู่ในหมู่ภิกษุนี้.
ภิกษุทั้งหลาย ในหมู่ภิกษุนี้ มีพวกภิกษุซึ่งประกอบความเพียร ในการเจริญสติปัฏฐาน ๔ พวกภิกษุแม้เห็นปานนี้ ก็มีอยู่ในหมู่ภิกษุนี้.
ภิกษุทั้งหลาย ในหมู่ภิกษุนี้ มีพวกภิกษุซึ่งประกอบความเพียร ในการเจริญสัมมัปปธาน ๔ พวกภิกษุแม้เห็นปานนี้ ก็มีอยู่ในหมู่ภิกษุนี้.
ภิกษุทั้งหลาย ในหมู่ภิกษุนี้ มีพวกภิกษุซึ่งประกอบความเพียร ในการเจริญอิทธิบาท ๔ พวกภิกษุแม้เห็นปานนี้ ก็มีอยู่ในหมู่ภิกษุนี้.
ภิกษุทั้งหลาย ในหมู่ภิกษุนี้ มีพวกภิกษุซึ่งประกอบความเพียร ในการเจริญอินทรีย์ ๕ พวกภิกษุแม้เห็นปานนี้ ก็มีอยู่ในหมู่ภิกษุนี้.
ภิกษุทั้งหลาย ในหมู่ภิกษุนี้ มีพวกภิกษุซึ่งประกอบความเพียร ในการเจริญพละ ๕ พวกภิกษุแม้เห็นปานนี้ ก็มีอยู่ในหมู่ภิกษุนี้.
ภิกษุทั้งหลาย ในหมู่ภิกษุนี้ มีพวกภิกษุซึ่งประกอบความเพียร ในการเจริญโพชฌงค์ ๗ พวกภิกษุแม้เห็นปานนี้ ก็มีอยู่ในหมู่ภิกษุนี้.
ภิกษุทั้งหลาย ในหมู่ภิกษุนี้ มีพวกภิกษุซึ่งประกอบความเพียร ในการเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ พวกภิกษุแม้เห็นปานนี้ ก็มีอยู่ในหมู่ภิกษุนี้.
ภิกษุทั้งหลาย ในหมู่ภิกษุนี้ มีพวกภิกษุซึ่งประกอบความเพียร ในการเจริญเมตตา พวกภิกษุแม้เห็นปานนี้ ก็มีอยู่ในหมู่ภิกษุนี้.
ภิกษุทั้งหลาย ในหมู่ภิกษุนี้ มีพวกภิกษุซึ่งประกอบความเพียร ในการเจริญกรุณา พวกภิกษุแม้เห็นปานนี้ ก็มีอยู่ในหมู่ภิกษุนี้.
ภิกษุทั้งหลาย ในหมู่ภิกษุนี้ มีพวกภิกษุซึ่งประกอบความเพียร ในการเจริญมุทิตา พวกภิกษุแม้เห็นปานนี้ ก็มีอยู่ในหมู่ภิกษุนี้.
ภิกษุทั้งหลาย ในหมู่ภิกษุนี้ มีพวกภิกษุซึ่งประกอบความเพียร ในการเจริญอุเบกขา พวกภิกษุแม้เห็นปานนี้ ก็มีอยู่ในหมู่ภิกษุนี้.
ภิกษุทั้งหลาย ในหมู่ภิกษุนี้ มีพวกภิกษุซึ่งประกอบความเพียร ในการเจริญอสุภสัญญา พวกภิกษุแม้เห็นปานนี้ ก็มีอยู่ในหมู่ภิกษุนี้.
ภิกษุทั้งหลาย ในหมู่ภิกษุนี้ มีพวกภิกษุซึ่งประกอบความเพียร ในการเจริญอนิจจสัญญา พวกภิกษุแม้เห็นปานนี้ ก็มีอยู่ในหมู่ภิกษุนี้.
ภิกษุทั้งหลาย ในหมู่ภิกษุนี้ มีพวกภิกษุซึ่งประกอบความเพียร ในการเจริญอานาปานสติ พวกภิกษุแม้เห็นปานนี้ ก็มีอยู่ในหมู่ภิกษุนี้.
ภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมทำสติปัฏฐานทั้ง ๔ ให้บริบูรณ์ สติปัฏฐานทั้ง ๔ อันภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมทำโพชฌงค์ทั้ง ๗ ให้บริบูรณ์ โพชฌงค์ทั้ง ๗ อันภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมทำวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้.
ภิกษุทั้งหลาย ก็อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้วอย่างไร ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก.
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในกรณีนี้ ไปสู่ป่า สู่โคนไม้ หรือสู่เรือนว่าง นั่งคู้ขาเข้ามาโดยรอบ ตั้งกายตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า เธอนั้น มีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก เมื่อหายใจเข้ายาวก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกยาวก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้าสั้นก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้าสั้น เมื่อหายใจออกสั้นก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกสั้น ย่อมทำการศึกษาว่าเราเป็นผู้รู้พร้อมซึ่งกายทั้งปวงหายใจเข้า ย่อมทำการศึกษาว่าเราเป็นผู้รู้พร้อมซึ่งกายทั้งปวงหายใจออก ย่อมทำการศึกษาว่าเราจักทำกายสังขารให้ระงับหายใจเข้า ย่อมทำการศึกษาว่าเราจักทำกายสังขารให้ระงับหายใจออก.
ย่อมทำการศึกษาว่าเราจักรู้พร้อมซึ่งปีติหายใจเข้า ย่อมทำการศึกษาว่าเราจักรู้พร้อมซึ่งปีติหายใจออก ย่อมทำการศึกษาว่าเราจักรู้พร้อมซึ่งสุขหายใจเข้า ย่อมทำการศึกษาว่าเราจักรู้พร้อมซึ่งสุขหายใจออก ย่อมทำการศึกษาว่าเราจักรู้พร้อมซึ่งจิตตสังขารหายใจเข้า ย่อมทำการศึกษาว่าเราจักรู้พร้อมซึ่งจิตตสังขารหายใจออก ย่อมทำการศึกษาว่าเราจักทำจิตตสังขารให้ระงับหายใจเข้า ย่อมทำการศึกษาว่าเราจักทำจิตตสังขารให้ระงับหายใจออก.
ย่อมทำการศึกษาว่าเราจักรู้พร้อมซึ่งจิตหายใจเข้า ย่อมทำการศึกษาว่าเราจักรู้พร้อมซึ่งจิตหายใจออก ย่อมทำการศึกษาว่าเราจักทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่งหายใจเข้า ย่อมทำการศึกษาว่าเราจักทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่งหายใจออก ย่อมทำการศึกษาว่าเราจักทำจิตให้ตั้งมั่นหายใจเข้า ย่อมทำการศึกษาว่าเราจักทำจิตให้ตั้งมั่นหายใจออก ย่อมทำการศึกษาว่าเราจักปล่อยจิตหายใจเข้า ย่อมทำการศึกษาว่าเราจักปล่อยจิตหายใจออก.
ย่อมทำการศึกษาว่าเราจักเห็นความไม่เที่ยงหายใจเข้า ย่อมทำการศึกษาว่าเราจักเห็นความไม่เที่ยงหายใจออก ย่อมทำการศึกษาว่าเราจักเห็นความจางคลายหายใจเข้า ย่อมทำการศึกษาว่าเราจักเห็นความจางคลายหายใจออก ย่อมทำการศึกษาว่าเราจักเห็นความดับหายใจเข้า ย่อมทำการศึกษาว่าเราจักเห็นความดับหายใจออก ย่อมทำการศึกษาว่าเราจักเห็นความสลัดคืนหายใจเข้า ย่อมทำการศึกษาว่าเราจักเห็นความสลัดคืนหายใจออก.
ภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้แล ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก
ภิกษุทั้งหลาย ก็อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้วอย่างไร ย่อมทำสติปัฏฐานทั้ง ๔ ให้บริบูรณ์ได้.
ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุเมื่อหายใจเข้ายาวก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกยาวก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้าสั้นก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้าสั้น เมื่อหายใจออกสั้นก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกสั้น ย่อมทำการศึกษาว่าเราเป็นผู้รู้พร้อมซึ่งกายทั้งปวงหายใจเข้า ย่อมทำการศึกษาว่าเราเป็นผู้รู้พร้อมซึ่งกายทั้งปวงหายใจออก ย่อมทำการศึกษาว่าเราจักทำกายสังขารให้ระงับหายใจเข้า ย่อมทำการศึกษาว่าเราจักทำกายสังขารให้ระงับหายใจออก ภิกษุทั้งหลาย สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า เป็นผู้พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ภิกษุทั้งหลาย เราย่อมกล่าว ลมหายใจเข้าและลมหายใจออก ว่าเป็นกายอันหนึ่งในกายทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ภิกษุนั้นย่อมชื่อว่าเป็นผู้พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย.
ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุย่อมทำการศึกษาว่าเราเป็นผู้รู้พร้อมซึ่งปีติหายใจเข้า ย่อมทำการศึกษาว่าเราเป็นผู้รู้พร้อมซึ่งปีติหายใจออก ย่อมทำการศึกษาว่าเราเป็นผู้รู้พร้อมซึ่งสุขหายใจเข้า ย่อมทำการศึกษาว่าเราเป็นผู้รู้พร้อมซึ่งสุขหายใจออก ย่อมทำการศึกษาว่าเราเป็นผู้รู้พร้อมซึ่งจิตตสังขารหายใจเข้า ย่อมทำการศึกษาว่าเราเป็นผู้รู้พร้อมซึ่งจิตตสังขารหายใจออก ย่อมทำการศึกษาว่าเราจักทำจิตตสังขารให้ระงับหายใจเข้า ย่อมทำการศึกษาว่าเราจักทำจิตตสังขารให้ระงับหายใจออก ภิกษุทั้งหลาย สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า เป็นผู้พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ภิกษุทั้งหลาย เราย่อมกล่าวการทำในใจเป็นอย่างดี ต่อลมหายใจเข้าและลมหายใจออก ว่าเป็นเวทนาอันหนึ่งในเวทนาทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ภิกษุนั้นย่อมชื่อว่าเป็นผู้พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย.
ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุย่อมทำการศึกษาว่าเราเป็นผู้รู้พร้อมซึ่งจิตหายใจเข้า ย่อมทำการศึกษาว่าเราเป็นผู้รู้พร้อมซึ่งจิตหายใจออก ย่อมทำการศึกษาว่าเราจักทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่งหายใจเข้า ย่อมทำการศึกษาว่าเราจักทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่งหายใจออก ย่อมทำการศึกษาว่าเราจักทำจิตให้ตั้งมั่นหายใจเข้า ย่อมทำการศึกษาว่าเราจักทำจิตให้ตั้งมั่นหายใจออก ย่อมทำการศึกษาว่าเราจักปล่อยจิตหายใจเข้า ย่อมทำการศึกษาว่าเราจักปล่อยจิตหายใจออก ภิกษุทั้งหลาย สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า เป็นผู้พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ภิกษุทั้งหลาย เราไม่กล่าวอานาปานสติ ว่าเป็นสิ่งที่มีได้แก่บุคคลผู้มีสติอันลืมหลงแล้ว ไม่มีสัมปชัญญะ ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ภิกษุนั้นย่อมชื่อว่าเป็นผู้พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย.
ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุย่อมทำการศึกษาว่าเราจักเห็นความไม่เที่ยงหายใจเข้า ย่อมทำการศึกษาว่าเราจักเห็นความไม่เที่ยงหายใจออก ย่อมทำการศึกษาว่าเราจักเห็นความจางคลายหายใจเข้า ย่อมทำการศึกษาว่าเราจักเห็นความจางคลายหายใจออก ย่อมทำการศึกษาว่าเราจักเห็นความดับหายใจเข้า ย่อมทำการศึกษาว่าเราจักเห็นความดับหายใจออก ย่อมทำการศึกษาว่าเราจักเห็นความสลัดคืนหายใจเข้า ย่อมทำการศึกษาว่าเราจักเห็นความสลัดคืนหายใจออก ภิกษุทั้งหลาย สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า เป็นผู้พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้น เป็นผู้เข้าไปเพ่งเฉพาะเป็นอย่างดีแล้ว เพราะเธอเห็นการละอภิชฌาและโทมนัสทั้งหลายของเธอนั้นด้วยปัญญา ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ภิกษุนั้นย่อมชื่อว่าเป็นผู้พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย.
ภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติอันภิกษุเจริญ กระทำให้มากแล้วอย่างนี้แล ย่อมทำสติปัฏฐานทั้ง ๔ ให้บริบูรณ์ได้.
ภิกษุทั้งหลาย ก็สติปัฏฐานทั้ง ๔ อันภิกษุเจริญ กระทำให้มากแล้วอย่างไร ย่อมทำโพชฌงค์ทั้ง ๗ ให้บริบูรณ์ได้.
ภิกษุทั้งหลาย ในสมัยใด ภิกษุเป็นผู้พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย สมัยนั้น สติที่ภิกษุเข้าไปตั้งไว้แล้วก็เป็นธรรมชาติไม่ลืมหลง ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด สติของภิกษุผู้เข้าไปตั้งไว้แล้ว เป็นธรรมชาติไม่ลืมหลง สมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ของภิกษุชื่อว่า ถึงความเต็มรอบแห่งการเจริญ ภิกษุนั้น เมื่อเป็นผู้มีสติเช่นนั้นอยู่ ย่อมทำการเลือก ย่อมทำการเฟ้น ย่อมทำการใคร่ครวญซึ่งธรรมนั้นด้วยปัญญา ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุเป็นผู้มีสติเช่นนั้นอยู่ ทำการเลือกเฟ้น ใคร่ครวญธรรมนั้นอยู่ด้วยปัญญา สมัยนั้น ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ของภิกษุชื่อว่า ถึงความเต็มรอบแห่งการเจริญ ภิกษุนั้น เมื่อเลือกเฟ้น ใคร่ครวญอยู่ซึ่งธรรมนั้นด้วยปัญญา ความเพียรอันไม่ย่อหย่อน ชื่อว่าเป็นธรรมอันภิกษุนั้นปรารภแล้ว ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ความเพียรไม่ย่อหย่อนอันภิกษุผู้เลือกเฟ้น ใคร่ครวญในธรรมนั้นด้วยปัญญา สมัยนั้น วิริยสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น วิริยสัมโพชฌงค์ของภิกษุชื่อว่า ถึงความเต็มรอบแห่งการเจริญ ภิกษุนั้น เมื่อมีความเพียรอันปรารภแล้ว ปีติอันไม่อิงอามิสก็เกิดขึ้น ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ปีติอันไม่อิงอามิส เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้มีความเพียรอันปรารภแล้ว สมัยนั้น ปีติสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญปีติสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น ปีติสัมโพชฌงค์ของภิกษุชื่อว่า ถึงความเต็มรอบแห่งการเจริญ ภิกษุนั้น เมื่อมีใจประกอบด้วยปีติ แม้กายก็รำงับ แม้จิตก็รำงับ ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ทั้งกายและทั้งจิตของภิกษุผู้มีใจประกอบด้วยปีติ ย่อมรำงับ สมัยนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ของภิกษุชื่อว่า ถึงความเต็มรอบแห่งการเจริญ ภิกษุนั้น เมื่อมีกายอันรำงับแล้ว มีความสุขอยู่ จิตย่อมตั้งมั่น (เป็นสมาธิ) ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด จิตของภิกษุผู้มีกายอันรำงับแล้วมีความสุขอยู่ ย่อมตั้งมั่น สมัยนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์ของภิกษุชื่อว่า ถึงความเต็มรอบแห่งการเจริญ ภิกษุนั้น ย่อมเป็นผู้เข้าไปเพ่งเฉพาะซึ่งจิตอันตั้งมั่นแล้วอย่างนั้นเป็นอย่างดี ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุเป็นผู้เข้าไปเพ่งเฉพาะซึ่งจิตอันตั้งมั่นแล้วอย่างนั้นเป็นอย่างดี สมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์ของภิกษุชื่อว่า ถึงความเต็มรอบแห่งการเจริญ.
ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุเป็นผู้พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย สมัยนั้น สติที่ภิกษุเข้าไปตั้งไว้แล้วก็เป็นธรรมชาติไม่ลืมหลง ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด สติของภิกษุผู้เข้าไปตั้งไว้แล้ว เป็นธรรมชาติไม่ลืมหลง สมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ของภิกษุชื่อว่า ถึงความเต็มรอบแห่งการเจริญ ภิกษุนั้น เมื่อเป็นผู้มีสติเช่นนั้นอยู่ ย่อมทำการเลือก ย่อมทำการเฟ้น ย่อมทำการใคร่ครวญซึ่งธรรมนั้นด้วยปัญญา ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุเป็นผู้มีสติเช่นนั้นอยู่ ทำการเลือกเฟ้น ใคร่ครวญธรรมนั้นอยู่ด้วยปัญญา สมัยนั้น ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ของภิกษุชื่อว่า ถึงความเต็มรอบแห่งการเจริญ ภิกษุนั้น เมื่อเลือกเฟ้น ใคร่ครวญอยู่ซึ่งธรรมนั้นด้วยปัญญา ความเพียรอันไม่ย่อหย่อน ชื่อว่าเป็นธรรมอันภิกษุนั้นปรารภแล้ว ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ความเพียรไม่ย่อหย่อนอันภิกษุผู้เลือกเฟ้น ใคร่ครวญในธรรมนั้นด้วยปัญญา สมัยนั้น วิริยสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น วิริยสัมโพชฌงค์ของภิกษุชื่อว่า ถึงความเต็มรอบแห่งการเจริญ ภิกษุนั้น เมื่อมีความเพียรอันปรารภแล้ว ปีติอันไม่อิงอามิสก็เกิดขึ้น ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ปีติอันไม่อิงอามิส เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้มีความเพียรอันปรารภแล้ว สมัยนั้น ปีติสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญปีติสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น ปีติสัมโพชฌงค์ของภิกษุชื่อว่า ถึงความเต็มรอบแห่งการเจริญ ภิกษุนั้น เมื่อมีใจประกอบด้วยปีติ แม้กายก็รำงับ แม้จิตก็รำงับ ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ทั้งกายและทั้งจิตของภิกษุผู้มีใจประกอบด้วยปีติ ย่อมรำงับ สมัยนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ของภิกษุชื่อว่า ถึงความเต็มรอบแห่งการเจริญ ภิกษุนั้น เมื่อมีกายอันรำงับแล้ว มีความสุขอยู่ จิตย่อมตั้งมั่น (เป็นสมาธิ) ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด จิตของภิกษุผู้มีกายอันรำงับแล้วมีความสุขอยู่ ย่อมตั้งมั่น สมัยนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์ของภิกษุชื่อว่า ถึงความเต็มรอบแห่งการเจริญ ภิกษุนั้น ย่อมเป็นผู้เข้าไปเพ่งเฉพาะซึ่งจิตอันตั้งมั่นแล้วอย่างนั้นเป็นอย่างดี ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุเป็นผู้เข้าไปเพ่งเฉพาะซึ่งจิตอันตั้งมั่นแล้วอย่างนั้นเป็นอย่างดี สมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์ของภิกษุชื่อว่า ถึงความเต็มรอบแห่งการเจริญ.
ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุเป็นผู้พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย สมัยนั้น สติที่ภิกษุเข้าไปตั้งไว้แล้วก็เป็นธรรมชาติไม่ลืมหลง ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด สติของภิกษุผู้เข้าไปตั้งไว้แล้ว เป็นธรรมชาติไม่ลืมหลง สมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ของภิกษุชื่อว่า ถึงความเต็มรอบแห่งการเจริญ ภิกษุนั้น เมื่อเป็นผู้มีสติเช่นนั้นอยู่ ย่อมทำการเลือก ย่อมทำการเฟ้น ย่อมทำการใคร่ครวญซึ่งธรรมนั้นด้วยปัญญา ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุเป็นผู้มีสติเช่นนั้นอยู่ ทำการเลือกเฟ้น ใคร่ครวญธรรมนั้นอยู่ด้วยปัญญา สมัยนั้น ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ของภิกษุชื่อว่า ถึงความเต็มรอบแห่งการเจริญ ภิกษุนั้น เมื่อเลือกเฟ้น ใคร่ครวญอยู่ซึ่งธรรมนั้นด้วยปัญญา ความเพียรอันไม่ย่อหย่อน ชื่อว่าเป็นธรรมอันภิกษุนั้นปรารภแล้ว ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ความเพียรไม่ย่อหย่อนอันภิกษุผู้เลือกเฟ้น ใคร่ครวญในธรรมนั้นด้วยปัญญา สมัยนั้น วิริยสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น วิริยสัมโพชฌงค์ของภิกษุชื่อว่า ถึงความเต็มรอบแห่งการเจริญ ภิกษุนั้น เมื่อมีความเพียรอันปรารภแล้ว ปีติอันไม่อิงอามิสก็เกิดขึ้น ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ปีติอันไม่อิงอามิส เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้มีความเพียรอันปรารภแล้ว สมัยนั้น ปีติสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญปีติสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น ปีติสัมโพชฌงค์ของภิกษุชื่อว่า ถึงความเต็มรอบแห่งการเจริญ ภิกษุนั้น เมื่อมีใจประกอบด้วยปีติ แม้กายก็รำงับ แม้จิตก็รำงับ ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ทั้งกายและทั้งจิตของภิกษุผู้มีใจประกอบด้วยปีติ ย่อมรำงับ สมัยนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ของภิกษุชื่อว่า ถึงความเต็มรอบแห่งการเจริญ ภิกษุนั้น เมื่อมีกายอันรำงับแล้ว มีความสุขอยู่ จิตย่อมตั้งมั่น (เป็นสมาธิ) ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด จิตของภิกษุผู้มีกายอันรำงับแล้วมีความสุขอยู่ ย่อมตั้งมั่น สมัยนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์ของภิกษุชื่อว่า ถึงความเต็มรอบแห่งการเจริญ ภิกษุนั้น ย่อมเป็นผู้เข้าไปเพ่งเฉพาะซึ่งจิตอันตั้งมั่นแล้วอย่างนั้นเป็นอย่างดี ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุเป็นผู้เข้าไปเพ่งเฉพาะซึ่งจิตอันตั้งมั่นแล้วอย่างนั้นเป็นอย่างดี สมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์ของภิกษุชื่อว่า ถึงความเต็มรอบแห่งการเจริญ.
ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุเป็นผู้พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย สมัยนั้น สติที่ภิกษุเข้าไปตั้งไว้แล้วก็เป็นธรรมชาติไม่ลืมหลง ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด สติของภิกษุผู้เข้าไปตั้งไว้แล้ว เป็นธรรมชาติไม่ลืมหลง สมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ของภิกษุชื่อว่า ถึงความเต็มรอบแห่งการเจริญ ภิกษุนั้น เมื่อเป็นผู้มีสติเช่นนั้นอยู่ ย่อมทำการเลือก ย่อมทำการเฟ้น ย่อมทำการใคร่ครวญซึ่งธรรมนั้นด้วยปัญญา ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุเป็นผู้มีสติเช่นนั้นอยู่ ทำการเลือกเฟ้น ใคร่ครวญธรรมนั้นอยู่ด้วยปัญญา สมัยนั้น ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ของภิกษุชื่อว่า ถึงความเต็มรอบแห่งการเจริญ ภิกษุนั้น เมื่อเลือกเฟ้น ใคร่ครวญอยู่ซึ่งธรรมนั้นด้วยปัญญา ความเพียรอันไม่ย่อหย่อน ชื่อว่าเป็นธรรมอันภิกษุนั้นปรารภแล้ว ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ความเพียรไม่ย่อหย่อนอันภิกษุผู้เลือกเฟ้น ใคร่ครวญในธรรมนั้นด้วยปัญญา สมัยนั้น วิริยสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น วิริยสัมโพชฌงค์ของภิกษุชื่อว่า ถึงความเต็มรอบแห่งการเจริญ ภิกษุนั้น เมื่อมีความเพียรอันปรารภแล้ว ปีติอันไม่อิงอามิสก็เกิดขึ้น ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ปีติอันไม่อิงอามิส เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้มีความเพียรอันปรารภแล้ว สมัยนั้น ปีติสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญปีติสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น ปีติสัมโพชฌงค์ของภิกษุชื่อว่าถึงความเต็มรอบแห่งการเจริญ ภิกษุนั้น เมื่อมีใจประกอบด้วยปีติ แม้กายก็รำงับ แม้จิตก็รำงับ ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ทั้งกายและทั้งจิตของภิกษุผู้มีใจประกอบด้วยปีติ ย่อมรำงับ สมัยนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ของภิกษุชื่อว่า ถึงความเต็มรอบแห่งการเจริญ ภิกษุนั้น เมื่อมีกายอันรำงับแล้ว มีความสุขอยู่ จิตย่อมตั้งมั่น (เป็นสมาธิ) ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด จิตของภิกษุผู้มีกายอันรำงับแล้วมีความสุขอยู่ ย่อมตั้งมั่น สมัยนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์ของภิกษุชื่อว่า ถึงความเต็มรอบแห่งการเจริญ ภิกษุนั้น ย่อมเป็นผู้เข้าไปเพ่งเฉพาะซึ่งจิตอันตั้งมั่นแล้วอย่างนั้นเป็นอย่างดี ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุเป็นผู้เข้าไปเพ่งเฉพาะซึ่งจิตอันตั้งมั่นแล้วอย่างนั้นเป็นอย่างดี สมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์ของภิกษุชื่อว่า ถึงความเต็มรอบแห่งการเจริญ.
ภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐานทั้ง ๔ อันภิกษุเจริญ กระทำให้มากแล้วอย่างนี้แล ย่อมทำโพชฌงค์ทั้ง ๗ ให้บริบูรณ์ได้.
ภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ทั้ง ๗ อันภิกษุเจริญ กระทำให้มากแล้วอย่างไร จึงทำวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้.
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ (การคลายความพอใจ) อาศัยนิโรธ (ความดับ) น้อมไปเพื่อโวสสัคคะ (การปล่อย หรือสละ) ย่อมเจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อโวสสัคคะ ย่อมเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อโวสสัคคะ ย่อมเจริญปีติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อโวสสัคคะ ย่อมเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อโวสสัคคะ ย่อมเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อโวสสัคคะ ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อโวสสัคคะ.
ภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ทั้ง ๗ อันภิกษุเจริญ กระทำให้มากแล้วอย่างนี้แล ย่อมทำวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้ ดังนี้.
อุปริ. ม. 14/190/282.
https://etipitaka.com/read/pali/14/190,
https://etipitaka.com/read/pali/14/190
[๑] โกมุท = บัวแดง, เดือน ๑๒ ตามจันทรคติ
English translation by Bhikkhu Sujato
So I have heard. At one time the Buddha was staying near Sāvatthī in the Eastern Monastery, the stilt longhouse of Migāra’s mother, together with several well-known senior disciples, such as the venerables Sāriputta, Mahāmoggallāna, Mahākassapa, Mahākaccāna, Mahākoṭṭhita, Mahākappina, Mahācunda, Anuruddha, Revata, Ānanda, and others.
Now at that time the senior mendicants were advising and instructing the junior mendicants. Some senior mendicants instructed ten mendicants, while some instructed twenty, thirty, or forty. Being instructed by the senior mendicants, the junior mendicants realized a higher distinction than they had before.
Now, at that time it was the sabbath—the full moon on the fifteenth day—and the Buddha was sitting surrounded by the Saṅgha of monks for the invitation to admonish. Then the Buddha looked around the Saṅgha of monks, who were so very silent. He addressed them:
“I am satisfied, mendicants, with this practice. My heart is satisfied with this practice. So you should rouse up even more energy for attaining the unattained, achieving the unachieved, and realizing the unrealized. I will wait here in Sāvatthī for the Komudi full moon of the fourth month.”
Mendicants from around the country heard about this, and came down to Sāvatthī to see the Buddha.
And those senior mendicants instructed the junior mendicants even more. Some senior mendicants instructed ten mendicants, while some instructed twenty, thirty, or forty. Being instructed by the senior mendicants, the junior mendicants realized a higher distinction than they had before.
Now, at that time it was the sabbath—the Komudi full moon on the fifteenth day of the fourth month—and the Buddha was sitting in the open surrounded by the Saṅgha of monks. Then the Buddha looked around the Saṅgha of monks, who were so very silent. He addressed them:
“This assembly has no nonsense, mendicants, it’s free of nonsense. It consists purely of the essential core. Such is this Saṅgha of monks, such is this assembly! An assembly such as this is worthy of offerings dedicated to the gods, worthy of hospitality, worthy of a religious donation, worthy of greeting with joined palms, and is the supreme field of merit for the world. Such is this Saṅgha of monks, such is this assembly! Even a small gift to an assembly such as this is fruitful, while giving more is even more fruitful. Such is this Saṅgha of monks, such is this assembly! An assembly such as this is rarely seen in the world. Such is this Saṅgha of monks, such is this assembly! An assembly such as this is worth traveling many leagues to see, even if you have to carry your own provisions in a shoulder bag.
For in this Saṅgha there are perfected mendicants, who have ended the defilements, completed the spiritual journey, done what had to be done, laid down the burden, achieved their own goal, utterly ended the fetters of rebirth, and are rightly freed through enlightenment. There are such mendicants in this Saṅgha.
In this Saṅgha there are mendicants who, with the ending of the five lower fetters are reborn spontaneously. They are extinguished there, and are not liable to return from that world. There are such mendicants in this Saṅgha.
In this Saṅgha there are mendicants who, with the ending of three fetters, and the weakening of greed, hate, and delusion, are once-returners. They come back to this world once only, then make an end of suffering. There are such mendicants in this Saṅgha.
In this Saṅgha there are mendicants who, with the ending of three fetters are stream-enterers, not liable to be reborn in the underworld, bound for awakening. There are such mendicants in this Saṅgha.
In this Saṅgha there are mendicants who are committed to developing the four kinds of mindfulness meditation … the four right efforts … the four bases of psychic power … the five faculties … the five powers … the seven awakening factors … the noble eightfold path. There are such mendicants in this Saṅgha. In this Saṅgha there are mendicants who are committed to developing the meditation on love … compassion … rejoicing … equanimity … ugliness … impermanence. There are such mendicants in this Saṅgha. In this Saṅgha there are mendicants who are committed to developing the meditation on mindfulness of breathing.
Mendicants, when mindfulness of breathing is developed and cultivated it is very fruitful and beneficial. Mindfulness of breathing, when developed and cultivated, fulfills the four kinds of mindfulness meditation. The four kinds of mindfulness meditation, when developed and cultivated, fulfill the seven awakening factors. And the seven awakening factors, when developed and cultivated, fulfill knowledge and freedom.
And how is mindfulness of breathing developed and cultivated to be very fruitful and beneficial?
It’s when a mendicant has gone to a wilderness, or to the root of a tree, or to an empty hut. They sit down cross-legged, with their body straight, and establish mindfulness right there. Just mindful, they breathe in. Mindful, they breathe out.
When breathing in heavily they know: ‘I’m breathing in heavily.’ When breathing out heavily they know: ‘I’m breathing out heavily.’ When breathing in lightly they know: ‘I’m breathing in lightly.’ When breathing out lightly they know: ‘I’m breathing out lightly.’ They practice breathing in experiencing the whole body. They practice breathing out experiencing the whole body. They practice breathing in stilling the body’s motion. They practice breathing out stilling the body’s motion.
They practice breathing in experiencing rapture. They practice breathing out experiencing rapture. They practice breathing in experiencing bliss. They practice breathing out experiencing bliss. They practice breathing in experiencing these emotions. They practice breathing out experiencing these emotions. They practice breathing in stilling these emotions. They practice breathing out stilling these emotions.
They practice breathing in experiencing the mind. They practice breathing out experiencing the mind. They practice breathing in gladdening the mind. They practice breathing out gladdening the mind. They practice breathing in immersing the mind in samādhi. They practice breathing out immersing the mind in samādhi. They practice breathing in freeing the mind. They practice breathing out freeing the mind.
They practice breathing in observing impermanence. They practice breathing out observing impermanence. They practice breathing in observing fading away. They practice breathing out observing fading away. They practice breathing in observing cessation. They practice breathing out observing cessation. They practice breathing in observing letting go. They practice breathing out observing letting go.
Mindfulness of breathing, when developed and cultivated in this way, is very fruitful and beneficial.
And how is mindfulness of breathing developed and cultivated so as to fulfill the four kinds of mindfulness meditation?
Whenever a mendicant knows that they breathe heavily, or lightly, or experiencing the whole body, or stilling the body’s motion—at that time they’re meditating by observing an aspect of the body—keen, aware, and mindful, rid of desire and aversion for the world. For I say that the in-breaths and out-breaths are an aspect of the body. That’s why at that time a mendicant is meditating by observing an aspect of the body—keen, aware, and mindful, rid of desire and aversion for the world.
Whenever a mendicant practices breathing while experiencing rapture, or experiencing bliss, or experiencing these emotions, or stilling these emotions—at that time they meditate observing an aspect of feelings—keen, aware, and mindful, rid of desire and aversion for the world. For I say that close attention to the in-breaths and out-breaths is an aspect of feelings. That’s why at that time a mendicant is meditating by observing an aspect of feelings—keen, aware, and mindful, rid of desire and aversion for the world.
Whenever a mendicant practices breathing while experiencing the mind, or gladdening the mind, or immersing the mind in samādhi, or freeing the mind—at that time they meditate observing an aspect of the mind—keen, aware, and mindful, rid of desire and aversion for the world. There is no development of mindfulness of breathing for someone who is unmindful and lacks awareness, I say. That’s why at that time a mendicant is meditating by observing an aspect of the mind—keen, aware, and mindful, rid of desire and aversion for the world.
Whenever a mendicant practices breathing while observing impermanence, or observing fading away, or observing cessation, or observing letting go—at that time they meditate observing an aspect of principles—keen, aware, and mindful, rid of desire and aversion for the world. Having seen with wisdom the giving up of desire and aversion, they watch over closely with equanimity. That’s why at that time a mendicant is meditating by observing an aspect of principles—keen, aware, and mindful, rid of desire and aversion for the world.
That’s how mindfulness of breathing, when developed and cultivated, fulfills the four kinds of mindfulness meditation.
And how are the four kinds of mindfulness meditation developed and cultivated so as to fulfill the seven awakening factors?
Whenever a mendicant meditates by observing an aspect of the body, at that time their mindfulness is established and lucid. At such a time, a mendicant has activated the awakening factor of mindfulness; they develop it and perfect it.
As they live mindfully in this way they investigate, explore, and inquire into that principle with wisdom. At such a time, a mendicant has activated the awakening factor of investigation of principles; they develop it and perfect it.
As they investigate principles with wisdom in this way their energy is roused up and unflagging. At such a time, a mendicant has activated the awakening factor of energy; they develop it and perfect it.
When they’re energetic, spiritual rapture arises. At such a time, a mendicant has activated the awakening factor of rapture; they develop it and perfect it.
When the mind is full of rapture, the body and mind become tranquil. At such a time, a mendicant has activated the awakening factor of tranquility; they develop it and perfect it.
When the body is tranquil and they feel bliss, the mind becomes immersed in samādhi. At such a time, a mendicant has activated the awakening factor of immersion; they develop it and perfect it.
They closely watch over that mind immersed in samādhi. At such a time, a mendicant has activated the awakening factor of equanimity; they develop it and perfect it.
Whenever a mendicant meditates by observing an aspect of feelings … mind … principles, at that time their mindfulness is established and lucid. At such a time, a mendicant has activated the awakening factor of mindfulness … investigation of principles … energy … rapture … tranquility … immersion … equanimity.
That’s how the four kinds of mindfulness meditation, when developed and cultivated, fulfill the seven awakening factors.
And how are the seven awakening factors developed and cultivated so as to fulfill knowledge and freedom?
It’s when a mendicant develops the awakening factors of mindfulness, investigation of principles, energy, rapture, tranquility, immersion,
and equanimity, which rely on seclusion, fading away, and cessation, and ripen as letting go.
That’s how the seven awakening factors, when developed and cultivated, fulfill knowledge and freedom.”
That is what the Buddha said. Satisfied, the mendicants were happy with what the Buddha said.
English translation by Bhikkhu Bodhi
Thus have I heard. On one occasion the Blessed One was living at Sāvatthī in the Eastern Park, in the Palace of Migāra’s Mother, together with many very well known elder disciples—the venerable Sāriputta, the venerable Mahā Moggallāna, the venerable Mahā Kassapa, the venerable Mahā Kaccāna, the venerable Mahā Koṭṭhita, the venerable Mahā Kappina, the venerable Mahā Cunda, the venerable Anuruddha, the venerable Revata, the venerable Ānanda, and other very well known elder disciples.
Now on that occasion elder bhikkhus had been teaching and instructing new bhikkhus; some elder bhikkhus had been teaching and instructing ten bhikkhus, some elder bhikkhus had been teaching and instructing twenty…thirty…forty bhikkhus. And the new bhikkhus, taught and instructed by the elder bhikkhus, had achieved successive stages of high distinction.
On that occasion—the Uposatha day of the fifteenth, on the full-moon night of the Pavāraṇā ceremony—the Blessed One was seated in the open surrounded by the Sangha of bhikkhus. Then, surveying the silent Sangha of bhikkhus, he addressed them thus:
“Bhikkhus, I am content with this progress. My mind is content with this progress. So arouse still more energy to attain the unattained, to achieve the unachieved, to realise the unrealised. I shall wait here at Sāvatthī for the Komudī full moon of the fourth month.”
The bhikkhus of the countryside heard: “The Blessed One will wait there at Sāvatthī for the Komudī full moon of the fourth month.” And the bhikkhus of the countryside left in due course for Sāvatthī to see the Blessed One.
And elder bhikkhus still more intensively taught and instructed new bhikkhus; some elder bhikkhus taught and instructed ten bhikkhus, some elder bhikkhus taught and instructed twenty…thirty…forty bhikkhus. And the new bhikkhus, taught and instructed by the elder bhikkhus, achieved successive stages of high distinction.
On that occasion—the Uposatha day of the fifteenth, the full-moon night of the Komudī full moon of the fourth month—the Blessed One was seated in the open surrounded by the Sangha of bhikkhus. Then, surveying the silent Sangha of bhikkhus, he addressed them thus:
“Bhikkhus, this assembly is free from prattle, this assembly is free from chatter. It consists purely of heartwood. Such is this Sangha of bhikkhus, such is this assembly. Such an assembly as is worthy of gifts, worthy of hospitality, worthy of offerings, worthy of reverential salutation, an incomparable field of merit for the world—such is this Sangha of bhikkhus, such is this assembly. Such an assembly that a small gift given to it becomes great and a great gift greater—such is this Sangha of bhikkhus, such is this assembly. Such an assembly as is rare for the world to see—such is this Sangha of bhikkhus, such is this assembly. Such an assembly as would be worth journeying many leagues with a travel-bag to see—such is this Sangha of bhikkhus, such is this assembly.
“In this Sangha of bhikkhus there are bhikkhus who are arahants with taints destroyed, who have lived the holy life, done what had to be done, laid down the burden, reached their own goal, destroyed the fetters of being, and are completely liberated through final knowledge—such bhikkhus are there in this Sangha of bhikkhus.
“In this Sangha of bhikkhus there are bhikkhus who, with the destruction of the five lower fetters, are due to reappear spontaneously in the Pure Abodes and there attain final Nibbāna, without ever returning from that world—such bhikkhus are there in this Sangha of bhikkhus.
“In this Sangha of bhikkhus there are bhikkhus who, with the destruction of three fetters and with the attenuation of lust, hate, and delusion, are once-returners, returning once to this world to make an end of suffering—such bhikkhus are there in this Sangha of bhikkhus.
“In this Sangha of bhikkhus there are bhikkhus who, with the destruction of the three fetters, are stream-enterers, no longer subject to perdition, bound for deliverance, headed for enlightenment—such bhikkhus are there in this Sangha of bhikkhus.
“In this Sangha of bhikkhus there are bhikkhus who abide devoted to the development of the four foundations of mindfulness—such bhikkhus are there in this Sangha of bhikkhus. In this Sangha of bhikkhus there are bhikkhus who abide devoted to the development of the four right kinds of striving…of the four bases for spiritual power…of the five faculties…of the five powers…of the seven enlightenment factors…of the Noble Eightfold Path—such bhikkhus are there in this Sangha of bhikkhus.
“In this Sangha of bhikkhus there are bhikkhus who abide devoted to the development of loving-kindness …of compassion…of altruistic joy…of equanimity…of the meditation on foulness…of the perception of impermanence—such bhikkhus are there in this Sangha of bhikkhus. In this Sangha of bhikkhus there are bhikkhus who abide devoted to the development of mindfulness of breathing.
Mindfulness of Breathing
“Bhikkhus, when mindfulness of breathing is developed and cultivated, it is of great fruit and great benefit. When mindfulness of breathing is developed and cultivated, it fulfils the four foundations of mindfulness. When the four foundations of mindfulness are developed and cultivated, they fulfil the seven enlightenment factors. When the seven enlightenment factors are developed and cultivated, they fulfil true knowledge and deliverance.
“And how, bhikkhus, is mindfulness of breathing developed and cultivated, so that it is of great fruit and great benefit?
“Here a bhikkhu, gone to the forest or to the root of a tree or to an empty hut, sits down; having folded his legs crosswise, set his body erect, and established mindfulness in front of him, ever mindful he breathes in, mindful he breathes out.
“Breathing in long, he understands: ‘I breathe in long’; or breathing out long, he understands: ‘I breathe out long.’ Breathing in short, he understands: ‘I breathe in short’; or breathing out short, he understands: ‘I breathe out short.’ He trains thus: ‘I shall breathe in experiencing the whole body of breath’; he trains thus: ‘I shall breathe out experiencing the whole body of breath.’ He trains thus: ‘I shall breathe in tranquillising the bodily formation’; he trains thus: ‘I shall breathe out tranquillising the bodily formation.’
“He trains thus: ‘I shall breathe in experiencing rapture’; he trains thus: ‘I shall breathe out experiencing rapture.’ He trains thus: ‘I shall breathe in experiencing pleasure’; he trains thus: ‘I shall breathe out experiencing pleasure.’ He trains thus: ‘I shall breathe in experiencing the mental formation’; he trains thus: ‘I shall breathe out experiencing the mental formation. ’ He trains thus: ‘I shall breathe in tranquillising the mental formation’; he trains thus: ‘I shall breathe out tranquillising the mental formation.’
“He trains thus: ‘I shall breathe in experiencing the mind’; he trains thus: ‘I shall breathe out experiencing the mind.’ He trains thus: ‘I shall breathe in gladdening the mind’; he trains thus: ‘I shall breathe out gladdening the mind.’ He trains thus: ‘I shall breathe in concentrating the mind’; he trains thus: ‘I shall breathe out concentrating the mind.’ He trains thus: ‘I shall breathe in liberating the mind’; he trains thus: ‘I shall breathe out liberating the mind.’
“He trains thus: ‘I shall breathe in contemplating impermanence’; he trains thus: ‘I shall breathe out contemplating impermanence. ’ He trains thus: ‘I shall breathe in contemplating fading away’; he trains thus: ‘I shall breathe out contemplating fading away.’ He trains thus: ‘I shall breathe in contemplating cessation’; he trains thus: ‘I shall breathe out contemplating cessation.’ He trains thus: ‘I shall breathe in contemplating relinquishment’; he trains thus: ‘I shall breathe out contemplating relinquishment. ’
“Bhikkhus, that is how mindfulness of breathing is developed and cultivated, so that it is of great fruit and great benefit.
Fulfilment of the Four Foundations of Mindfulness
“And how, bhikkhus, does mindfulness of breathing, developed and cultivated, fulfil the four foundations of mindfulness?
“Bhikkhus, on whatever occasion a bhikkhu, breathing in long, understands: ‘I breathe in long,’ or breathing out long, understands: ‘I breathe out long’; breathing in short, understands: ‘I breathe in short,’ or breathing out short, understands: ‘I breathe out short’; trains thus: ‘I shall breathe in experiencing the whole body of breath’; trains thus: ‘I shall breathe out experiencing the whole body of breath’; trains thus: ‘I shall breathe in tranquillising the bodily formation’; trains thus: ‘I shall breathe out tranquillising the bodily formation’—on that occasion a bhikkhu abides contemplating the body as a body, ardent, fully aware, and mindful, having put away covetousness and grief for the world. I say that this is a certain body among the bodies, namely, in-breathing and out-breathing. That is why on that occasion a bhikkhu abides contemplating the body as a body, ardent, fully aware, and mindful, having put away covetousness and grief for the world.
“Bhikkhus, on whatever occasion a bhikkhu trains thus: ‘I shall breathe in experiencing rapture’; trains thus: ‘I shall breathe out experiencing rapture’; trains thus: ‘I shall breathe in experiencing pleasure’; trains thus: ‘I shall breathe out experiencing pleasure’; trains thus: ‘I shall breathe in experiencing the mental formation’; trains thus: ‘I shall breathe out experiencing the mental formation’; trains thus: ‘I shall breathe in tranquillising the mental formation’; trains thus: ‘I shall breathe out tranquillising the mental formation’—on that occasion a bhikkhu abides contemplating feelings as feelings, ardent, fully aware, and mindful, having put away covetousness and grief for the world. I say that this is a certain feeling among the feelings, namely, giving close attention to in-breathing and out-breathing. That is why on that occasion a bhikkhu abides contemplating feelings as feelings, ardent, fully aware, and mindful, having put away covetousness and grief for the world.
“Bhikkhus, on whatever occasion a bhikkhu trains thus: ‘I shall breathe in experiencing the mind’; trains thus: ‘I shall breathe out experiencing the mind’; trains thus: ‘I shall breathe in gladdening the mind’; trains thus: ‘I shall breathe out gladdening the mind’; trains thus: ‘I shall breathe in concentrating the mind’; trains thus: ‘I shall breathe out concentrating the mind’; trains thus: ‘I shall breathe in liberating the mind’; trains thus: ‘I shall breathe out liberating the mind’—on that occasion a bhikkhu abides contemplating mind as mind, ardent, fully aware, and mindful, having put away covetousness and grief for the world. I do not say that there is the development of mindfulness of breathing for one who is forgetful, who is not fully aware. That is why on that occasion a bhikkhu abides contemplating mind as mind, ardent, fully aware, and mindful, having put away covetousness and grief for the world.
“Bhikkhus, on whatever occasion a bhikkhu trains thus: ‘I shall breathe in contemplating impermanence’; trains thus: ‘I shall breathe out contemplating impermanence’; trains thus: ‘I shall breathe in contemplating fading away’; trains thus: ‘I shall breathe out contemplating fading away’; trains thus: ‘I shall breathe in contemplating cessation’; trains thus: ‘I shall breathe out contemplating cessation’; trains thus: ‘I shall breathe in contemplating relinquishment’; trains thus: ‘I shall breathe out contemplating relinquishment’—on that occasion a bhikkhu abides contemplating mind-objects as mind-objects, ardent, fully aware, and mindful, having put away covetousness and grief for the world. Having seen with wisdom the abandoning of covetousness and grief, he closely looks on with equanimity. That is why on that occasion a bhikkhu abides contemplating mind-objects as mind-objects, ardent, fully aware, and mindful, having put away covetousness and grief for the world.
“Bhikkhus, that is how mindfulness of breathing, developed and cultivated, fulfils the four foundations of mindfulness.
Fulfilment of the Seven Enlightenment Factors
“And how, bhikkhus, do the four foundations of mindfulness, developed and cultivated, fulfil the seven enlightenment factors?
“Bhikkhus, on whatever occasion a bhikkhu abides contemplating the body as a body, ardent, fully aware, and mindful, having put away covetousness and grief for the world—on that occasion unremitting mindfulness is established in him. On whatever occasion unremitting mindfulness is established in a bhikkhu—on that occasion the mindfulness enlightenment factor is aroused in him, and he develops it, and by development, it comes to fulfilment in him.
“Abiding thus mindful, he investigates and examines that state with wisdom and embarks upon a full inquiry into it. On whatever occasion, abiding thus mindful, a bhikkhu investigates and examines that state with wisdom and embarks upon a full inquiry into it—on that occasion the investigation-of-states enlightenment factor is aroused in him, and he develops it, and by development it comes to fulfilment in him.
“In one who investigates and examines that state with wisdom and embarks upon a full inquiry into it, tireless energy is aroused. On whatever occasion tireless energy is aroused in a bhikkhu who investigates and examines that state with wisdom and embarks upon a full inquiry into it—on that occasion the energy enlightenment factor is aroused in him, and he develops it, and by development it comes to fulfilment in him.
“In one who has aroused energy, unworldly rapture arises. On whatever occasion unworldly rapture arises in a bhikkhu who has aroused energy— on that occasion the rapture enlightenment factor is aroused in him, and he develops it, and by development it comes to fulfilment in him.
“In one who is rapturous, the body and the mind become tranquil. On whatever occasion the body and the mind become tranquil in a bhikkhu who is rapturous—on that occasion the tranquillity enlightenment factor is aroused in him, and he develops it, and by development it comes to fulfilment in him.
“In one whose body is tranquil and who feels pleasure, the mind becomes concentrated. On whatever occasion the mind becomes concentrated in a bhikkhu whose body is tranquil and who feels pleasure—on that occasion the concentration enlightenment factor is aroused in him, and he develops it, and by development it comes to fulfilment in him.
“He closely looks on with equanimity at the mind thus concentrated. On whatever occasion a bhikkhu closely looks on with equanimity at the mind thus concentrated—on that occasion the equanimity enlightenment factor is aroused in him, and he develops it, and by development it comes to fulfilment in him.
“Bhikkhus, on whatever occasion a bhikkhu abides contemplating feelings as feelings, ardent, fully aware, and mindful, having put away covetousness and grief for the world…repeat as at §§30–36…the equanimity enlightenment factor is aroused in him, and he develops it, and by development it comes to fulfilment in him.
“Bhikkhus, on whatever occasion a bhikkhu abides contemplating mind as mind, ardent, fully aware, and mindful, having put away covetousness and grief for the world…repeat as at §§30–36…the equanimity enlightenment factor is aroused in him, and he develops it, and by development it comes to fulfilment in him.
“Bhikkhus, on whatever occasion a bhikkhu abides contemplating mind-objects as mind-objects, ardent, fully aware, and mindful, having put away covetousness and grief for the world…repeat as at §§30–36… …the equanimity enlightenment factor is aroused in him, and he develops it, and by development it comes to fulfilment in him.
“Bhikkhus, that is how the four foundations of mindfulness, developed and cultivated, fulfil the seven enlightenment factors.
Fulfilment of True Knowledge and Deliverance
“And how, bhikkhus, do the seven enlightenment factors, developed and cultivated, fulfil true knowledge and deliverance?
“Here, bhikkhus, a bhikkhu develops the mindfulness enlightenment factor, which is supported by seclusion, dispassion, and cessation, and ripens in relinquishment. He develops the investigation-of-states enlightenment factor…the energy enlightenment factor…the rapture enlightenment factor…the tranquillity enlightenment factor…the concentration enlightenment factor…the equanimity enlightenment factor, which is supported by seclusion, dispassion, and cessation, and ripens in relinquishment.
“Bhikkhus, that is how the seven enlightenment factors, developed and cultivated, fulfil true knowledge and deliverance.”
That is what the Blessed One said. The bhikkhus were satisfied and delighted in the Blessed One’s words.