The four qualities lead to being a foolish or an astute. (3)
English translation by Bhikkhu Sujato
“When a foolish, incompetent bad person has four qualities they keep themselves broken and damaged. They deserve to be blamed and criticized by sensible people, and they make much bad karma. What four? Bad conduct by way of body, speech, and mind, and wrong view. When a foolish, incompetent bad person has these four qualities they keep themselves broken and damaged. They deserve to be blamed and criticized by sensible people, and they make much bad karma.
When an astute, competent good person has four qualities they keep themselves healthy and whole. They don’t deserve to be blamed and criticized by sensible people, and they make much merit. What four? Good conduct by way of body, speech, and mind, and right view. When an astute, competent good person has these four qualities they keep themselves healthy and whole. They don’t deserve to be blamed and criticized by sensible people, and they make much merit.”
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ จัดเป็นคนพาล เป็นคนไม่ฉลาด เป็นอสัปบุรุษ ย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัด ให้ถูกทำลาย เป็นผู้ประกอบด้วยโทษ ผู้รู้ติเตียน และย่อมประสบสิ่งไม่ใช่บุญเป็นอันมาก ธรรม ๔ ประการอะไรบ้าง คือ
๑) กายทุจริต.
๒) วจีทุจริต.
๓) มโนทุจริต.
๔) มิจฉาทิฏฐิ.
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการเหล่านี้แล จัดเป็นคนพาล เป็นคนไม่ฉลาด เป็นอสัปบุรุษ ย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัด ให้ถูกทำลาย เป็นผู้ประกอบด้วยโทษ ผู้รู้ติเตียน และย่อมประสบสิ่งไม่ใช่บุญเป็นอันมาก.
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ จัดเป็นบัณฑิต เป็นคนฉลาด เป็นสัปบุรุษ ย่อมบริหารตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย เป็นผู้ไม่มีโทษ ผู้รู้ไม่ติเตียน และย่อมประสบบุญเป็นอันมาก ธรรม ๔ ประการอะไรบ้าง คือ
๑) กายสุจริต.
๒) วจีสุจริต.
๓) มโนสุจริต.
๔) สัมมาทิฏฐิ.
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการเหล่านี้แล จัดเป็นบัณฑิต เป็นคนฉลาด เป็นสัปบุรุษ ย่อมบริหารตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย เป็นผู้ไม่มีโทษ ผู้รู้ไม่ติเตียน และย่อมประสบบุญเป็นอันมาก.
-บาลี จตุกฺก. อํ. 21/311/222.
https://84000.org/tipitaka/pali/?21//311
https://etipitaka.com/read/pali/21/311/