ความแตกต่างระหว่างราคะ โทสะ โมหะ
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกอัญญเดียรถีย์ปริพพาชก จะพึงถามอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ธรรม ๓ อย่างเหล่านี้ ๓ อย่างอะไรบ้าง คือ ราคะ โทสะ และโมหะ อาวุโสทั้งหลาย เหล่านี้แล ธรรม ๓ อย่าง อาวุโสทั้งหลาย ธรรม ๓ อย่างเหล่านี้ มีอะไรเป็นความผิดแปลกกัน มีอะไรเป็นความมุ่งหมายที่ต่างกัน มีอะไรที่ทำให้ต่างกัน ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว จะพึงตอบแก่พวกอัญญเดียรถีย์ปริพพาชกเหล่านั้นว่าอย่างไร.
ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า ภันเต ธรรมของพวกข้าพระองค์ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเป็นมูล มีพระผู้มีพระภาคเป็นผู้นำ มีพระผู้มีพระภาคเป็นที่อาศัย สาธุ ภันเต ขอเนื้อความแห่งภาษิตนั้น จงแจ่มแจ้งกะพระผู้มีพระภาคเถิด ภิกษุทั้งหลายได้ฟังต่อพระผู้มีพระภาคแล้วจักทรงจำไว้
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้น เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว.
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกอัญญเดียรถีย์ปริพพาชก จะพึงถามอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ธรรม ๓ อย่างเหล่านี้ ๓ อย่างอะไรบ้าง คือ ราคะ โทสะ และโมหะ อาวุโสทั้งหลาย เหล่านี้แล ธรรม ๓ อย่าง อาวุโสทั้งหลาย ธรรม ๓ อย่างเหล่านี้ มีอะไรเป็นความผิดแปลกกัน มีอะไรเป็นความมุ่งหมายที่ต่างกัน มีอะไรที่ทำให้ต่างกัน ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงตอบแก่พวกอัญญเดียรถีย์ปริพพาชกเหล่านั้นอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ราคะมีโทษน้อยแต่คลายช้า โทสะมีโทษมากแต่คลายเร็ว โมหะมีโทษมากและคลายช้า.
ถ้าเขาถามต่อไปอีกว่า อาวุโสทั้งหลาย อะไรเป็นเหตุ อะไรเป็นปัจจัย ทำให้ราคะที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น หรือราคะที่เกิดอยู่แล้วย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น พึงตอบว่า สุภนิมิต (สิ่งที่สวยงาม) คือ เมื่อเขาทำในใจซึ่งสุภนิมิตโดยไม่แยบคายอยู่ ราคะที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น และราคะที่เกิดอยู่แล้วย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น อาวุโสทั้งหลาย นี้แลเป็นเหตุ นี้แลเป็นปัจจัย ทำให้ราคะที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น หรือราคะที่เกิดอยู่แล้วย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น.
ถ้าเขาถามต่อไปอีกว่า อาวุโสทั้งหลาย อะไรเป็นเหตุ อะไรเป็นปัจจัย ทำให้โทสะที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น หรือโทสะที่เกิดอยู่แล้วย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น พึงตอบว่า ปฏิฆนิมิต (สิ่งที่ทำให้รู้สึกขัดเคือง) คือ เมื่อเขาทำในใจซึ่งปฏิฆนิมิตโดยไม่แยบคายอยู่ โทสะที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น และโทสะที่เกิดอยู่แล้วย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น อาวุโสทั้งหลาย นี้แลเป็นเหตุ นี้แลเป็นปัจจัย ทำให้โทสะที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น หรือโทสะที่เกิดอยู่แล้วย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น.
ถ้าเขาถามต่อไปอีกว่า อาวุโสทั้งหลาย อะไรเป็นเหตุ อะไรเป็นปัจจัย ทำให้โมหะที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น หรือโมหะที่เกิดอยู่แล้วย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น พึงตอบว่า อโยนิโสมนสิการ (การทำในใจโดยไม่แยบคาย) คือ เมื่อเขาทำในใจโดยไม่แยบคายอยู่ โมหะที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น และโมหะที่เกิดอยู่แล้วย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น อาวุโสทั้งหลาย นี้แลเป็นเหตุ นี้แลเป็นปัจจัย ทำให้โมหะที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น หรือโมหะที่เกิดอยู่แล้วย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น.
ถ้าเขาถามต่อไปอีกว่า อาวุโสทั้งหลาย อะไรเป็นเหตุ อะไรเป็นปัจจัย ทำให้ราคะที่ยังไม่เกิดย่อมไม่เกิดขึ้น หรือราคะที่เกิดอยู่แล้วย่อมละได้ พึงตอบว่า อสุภนิมิต (สิ่งที่ไม่สวยไม่งาม) คือ เมื่อเขาทำในใจซึ่งอสุภนิมิตโดยแยบคายอยู่ ราคะที่ยังไม่เกิดย่อมไม่เกิดขึ้น และราคะที่เกิดอยู่แล้วย่อมละได้ อาวุโสทั้งหลาย นี้แลเป็นเหตุ นี้แลเป็นปัจจัย ทำให้ราคะที่ยังไม่เกิดย่อมไม่เกิดขึ้น หรือราคะที่เกิดอยู่แล้วย่อมละได้.
ถ้าเขาถามต่อไปอีกว่า อาวุโสทั้งหลาย อะไรเป็นเหตุ อะไรเป็นปัจจัย ทำให้โทสะที่ยังไม่เกิดย่อมไม่เกิดขึ้น หรือโทสะที่เกิดอยู่แล้วย่อมละได้ พึงตอบว่า เมตตาเจโตวิมุตติ (ความหลุดพ้นแห่งใจด้วยเมตตา, การที่ใจเต็มเปี่ยมไปด้วยความเมตตา) คือ เมื่อเขาทำในใจซึ่งเมตตาเจโตวิมุตติโดยแยบคายอยู่ โทสะที่ยังไม่เกิดย่อมไม่เกิดขึ้น และโทสะที่เกิดอยู่แล้วย่อมละได้ อาวุโสทั้งหลาย นี้แลเป็นเหตุ นี้แลเป็นปัจจัย ทำให้โทสะที่ยังไม่เกิดย่อมไม่เกิดขึ้น หรือโทสะที่เกิดอยู่แล้วย่อมละได้.
ถ้าเขาถามต่อไปอีกว่า อาวุโสทั้งหลาย อะไรเป็นเหตุ อะไรเป็นปัจจัย ทำให้โมหะที่ยังไม่เกิดย่อมไม่เกิดขึ้น หรือโมหะที่เกิดอยู่แล้วย่อมละได้ พึงตอบว่า โยนิโสมนสิการ (การทำในใจโดยแยบคาย) คือ เมื่อเขาทำในใจโดยแยบคายอยู่ โมหะที่ยังไม่เกิดย่อมไม่เกิดขึ้น และโมหะที่เกิดอยู่แล้วย่อมละได้ อาวุโสทั้งหลาย นี้แลเป็นเหตุ นี้แลเป็นปัจจัย ทำให้โมหะที่ยังไม่เกิดย่อมไม่เกิดขึ้น หรือโมหะที่เกิดอยู่แล้วย่อมละได้.
-บาลี ติก. อํ. 20/256/508.
https://84000.org/tipitaka/pali/?20//256,
https://etipitaka.com/read/pali/20/256
English translation by Bhikkhu Sujato
“Mendicants, if wanderers who follow other paths were to ask: ‘There are these three things. What three? Greed, hate, and delusion. These are the three things. What’s the difference between them?’ How would you answer them?”
“Our teachings are rooted in the Buddha. He is our guide and our refuge. Sir, may the Buddha himself please clarify the meaning of this. The mendicants will listen and remember it.”
“Well then, mendicants, listen and pay close attention, I will speak.”
“Yes, sir,” they replied. The Buddha said this:
“Mendicants, if wanderers who follow other paths were to ask: ‘There are these three things. What three? Greed, hate, and delusion. These are the three things. What’s the difference between them?’ You should answer them: ‘Greed, reverends, is mildly blameworthy, but slow to fade away. Hate is very blameworthy, but quick to fade away. Delusion is very blameworthy, and slow to fade away.’
And if they ask: ‘What is the cause, what is the reason why greed arises, and once arisen it increases and grows?’ You should say: ‘The beautiful feature of things. When you attend improperly to the beautiful feature of things, greed arises, and once arisen it increases and grows. This is the cause, this is the reason why greed arises, and once arisen it increases and grows.’
And if they ask: ‘What is the cause, what is the reason why hate arises, and once arisen it increases and grows?’ You should say: ‘The feature of harshness. When you attend improperly to the feature of harshness, hate arises, and once arisen it increases and grows. This is the cause, this is the reason why hate arises, and once arisen it increases and grows.’
And if they ask: ‘What is the cause, what is the reason why delusion arises, and once arisen it increases and grows?’ You should say: ‘Improper attention. When you attend improperly, delusion arises, and once arisen it increases and grows. This is the cause, this is the reason why delusion arises, and once arisen it increases and grows.’
And if they ask, ‘What is the cause, what is the reason why greed doesn’t arise, or if it’s already arisen it’s given up?’ You should say: ‘The ugly feature of things. When you attend properly on the ugly feature of things, greed doesn’t arise, or if it’s already arisen it’s given up. This is the cause, this is the reason why greed doesn’t arise, or if it’s already arisen it’s given up.’
And if they ask, ‘What is the cause, what is the reason why hate doesn’t arise, or if it’s already arisen it’s given up?’ You should say: ‘The heart’s release by love.’ When you attend properly on the heart’s release by love, hate doesn’t arise, or if it’s already arisen it’s given up. This is the cause, this is the reason why hate doesn’t arise, or if it’s already arisen it’s given up.’
And if they ask, ‘What is the cause, what is the reason why delusion doesn’t arise, or if it’s already arisen it’s given up?’ You should say: ‘Proper attention. When you attend properly, delusion doesn’t arise, or if it’s already arisen it’s given up. This is the cause, this is the reason why delusion doesn’t arise, or if it’s already arisen it’s given up.’”
English translation by Bhikkhu Thanissaro
“Monks, if you are asked by wanderers of other sects, ‘Friends, there are these three qualities. Which three? Passion, aversion, & delusion. These are the three qualities. Now what is the difference, what the distinction, what the distinguishing factor among these three qualities?’—when thus asked, how would you answer those wanderers of other sects?”
“For us, lord, the teachings have the Blessed One as their root, their guide, & their arbitrator. It would be good if the Blessed One himself would explicate the meaning of this statement. Having heard it from the Blessed One, the monks will remember it.”
“In that case, monks, listen & pay close attention. I will speak.”
“As you say, lord,” the monks responded.
The Blessed One said, “Monks, if you are asked by wanderers of other sects, ‘Friends, there are these three qualities. Which three? Passion, aversion, & delusion. These are the three qualities. Now what is the difference, what the distinction, what the distinguishing factor among these three qualities?’—when thus asked, you should answer those wanderers of other sects in this way, ‘Friends, passion carries little blame and is slow to fade. Aversion carries great blame and is quick to fade. Delusion carries great blame and is slow to fade.
“[Then if they ask,] ‘But what, friends, is the reason, what the cause, why unarisen passion arises, or arisen passion tends to growth & abundance?’ ‘The theme of the attractive,’ it should be said. ‘For one who attends inappropriately to the theme of the attractive, unarisen passion arises and arisen passion tends to growth & abundance…’
“[Then if they ask,] ‘But what, friends, is the reason, what the cause, why unarisen aversion arises, or arisen aversion tends to growth & abundance?’ ‘The theme of irritation,’ it should be said. ‘For one who attends inappropriately to the theme of irritation, unarisen aversion arises and arisen aversion tends to growth & abundance…’
“[Then if they ask,] ‘But what, friends, is the reason, what the cause, why unarisen delusion arises, or arisen delusion tends to growth & abundance?’ ‘Inappropriate attention,’ it should be said. ‘For one who attends inappropriately, unarisen delusion arises and arisen delusion tends to growth & abundance…’
“[Then if they ask,] ‘But what, friends, is the reason, what the cause, why unarisen passion does not arise, or arisen passion is abandoned?’ ‘The theme of the unattractive’ it should be said. ‘For one who attends appropriately to the theme of the unattractive, unarisen passion does not arise and arisen passion is abandoned…’
“[Then if they ask,] ‘But what, friends, is the reason, what the cause, why unarisen aversion does not arise, or arisen aversion is abandoned?’ ‘Good will as an awareness-release,’ it should be said. ‘For one who attends appropriately to good will as an awareness-release, unarisen aversion does not arise and arisen aversion is abandoned…’
“[Then if they ask,] ‘But what, friends, is the reason, what the cause, why unarisen delusion does not arise, or arisen delusion is abandoned?’ ‘Appropriate attention,’ it should be said. ‘For one who attends appropriately, unarisen delusion does not arise and arisen delusion is abandoned. This is the reason, this the cause, why unarisen delusion does not arise and arisen delusion is abandoned.’”