ขันธ์ ๕ ไม่เที่ยง (๑)
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ในที่นั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายแล้วตรัสว่า
ภิกษุทั้งหลาย รูปไม่เที่ยง เวทนาไม่เที่ยง สัญญาไม่เที่ยง สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง วิญญาณไม่เที่ยง ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัญญา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสังขาร ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นที่จะต้องทำเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มีอีก ดังนี้.
-บาลี ขนฺธ. สํ. 17/27/39.
https://84000.org/tipitaka/pali/?17//27,
https://etipitaka.com/read/pali/17/27
ขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ (๑)
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ในที่นั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายแล้วตรัสว่า
ภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นทุกข์ เวทนาเป็นทุกข์ สัญญาเป็นทุกข์ สังขารทั้งหลายเป็นทุกข์ วิญญาณเป็นทุกข์ ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัญญา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสังขาร ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นที่จะต้องทำเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มีอีก ดังนี้.
-บาลี ขนฺธ. สํ. 17/27/40
https://84000.org/tipitaka/pali/?17//27,
https://etipitaka.com/read/pali/17/27
ขันธ์ ๕ เป็นอนัตตา (๑)
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ในที่นั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายแล้วตรัสว่า
ภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นอนัตตา เวทนาเป็นอนัตตา สัญญาเป็นอนัตตา สังขารทั้งหลายเป็นอนัตตา วิญญาณเป็นอนัตตา ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัญญา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสังขาร ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นที่จะต้องทำเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มีอีก ดังนี้.
-บาลี ขนฺธ. สํ. 17/27/41.
https://84000.org/tipitaka/pali/?17//27,
https://etipitaka.com/read/pali/17/27
ขันธ์ ๕ ไม่เที่ยง (๒)
ภิกษุทั้งหลาย รูปไม่เที่ยง แม้เหตุปัจจัยที่ให้รูปเกิดขึ้น ก็ไม่เที่ยง รูปที่เกิดจากสิ่งที่ไม่เที่ยง จะเป็นของเที่ยงได้อย่างไร.
เวทนาไม่เที่ยง แม้เหตุปัจจัยที่ให้เวทนาเกิดขึ้น ก็ไม่เที่ยง เวทนาที่เกิดจากสิ่งที่ไม่เที่ยง จะเป็นของเที่ยงได้อย่างไร.
สัญญาไม่เที่ยง แม้เหตุปัจจัยที่ให้สัญญาเกิดขึ้น ก็ไม่เที่ยง สัญญาที่เกิดจากสิ่งที่ไม่เที่ยง จะเป็นของเที่ยงได้อย่างไร.
สังขารไม่เที่ยง แม้เหตุปัจจัยที่ให้สังขารเกิดขึ้น ก็ไม่เที่ยง สังขารที่เกิดจากสิ่งที่ไม่เที่ยง จะเป็นของเที่ยงได้อย่างไร.
วิญญาณไม่เที่ยง แม้เหตุปัจจัยที่ให้วิญญาณเกิดขึ้น ก็ไม่เที่ยง วิญญาณที่เกิดจากสิ่งไม่เที่ยง จะเป็นของเที่ยงได้อย่างไร.
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัญญา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสังขาร ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นที่จะต้องทำเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มีอีก ดังนี้.
-บาลี ขนฺธ. สํ. 17/29/45.
https://84000.org/tipitaka/pali/?17//28,
https://etipitaka.com/read/pali/17/29
ขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ (๒)
ภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นทุกข์ แม้เหตุปัจจัยที่ให้รูปเกิดขึ้น ก็เป็นทุกข์ รูปที่เกิดจากสิ่งที่เป็นทุกข์ จะเป็นสุขได้อย่างไร.
เวทนาเป็นทุกข์ แม้เหตุปัจจัยที่ให้เวทนาเกิดขึ้น ก็เป็นทุกข์ เวทนาที่เกิดจากสิ่งที่เป็นทุกข์ จะเป็นสุขได้อย่างไร.
สัญญาเป็นทุกข์ แม้เหตุปัจจัยที่ให้สัญญาเกิดขึ้น ก็เป็นทุกข์ สัญญาที่เกิดจากสิ่งที่เป็นทุกข์ จะเป็นสุขได้อย่างไร.
สังขารเป็นทุกข์ แม้เหตุปัจจัยที่ให้สังขารเกิดขึ้น ก็เป็นทุกข์ สังขารที่เกิดจากสิ่งที่เป็นทุกข์ จะเป็นสุขได้อย่างไร.
วิญญาณเป็นทุกข์ แม้เหตุปัจจัยที่ให้วิญญาณเกิดขึ้น ก็เป็นทุกข์ วิญญาณที่เกิดจากสิ่งที่เป็นทุกข์ จะเป็นสุขได้อย่างไร.
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัญญา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสังขาร ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นที่จะต้องทำเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มีอีก ดังนี้.
-บาลี ขนฺธ. สํ. 17/29/46.
https://84000.org/tipitaka/pali/?17//29,
https://etipitaka.com/read/pali/17/29
ขันธ์ ๕ เป็นอนัตตา (๒)
ภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นอนัตตา แม้เหตุปัจจัยที่ให้รูปเกิดขึ้น ก็เป็นอนัตตา รูปที่เกิดจากสิ่งที่เป็นอนัตตา จะเป็นอัตตาได้อย่างไร.
เวทนาเป็นอนัตตา แม้เหตุปัจจัยที่ให้เวทนาเกิดขึ้น ก็เป็นอนัตตา เวทนาที่เกิดจากสิ่งที่เป็นอนัตตา จะเป็นอัตตาได้อย่างไร.
สัญญาเป็นอนัตตา แม้เหตุปัจจัยที่ให้สัญญาเกิดขึ้น ก็เป็นอนัตตา สัญญาที่เกิดจากสิ่งที่เป็นอนัตตา จะเป็นอัตตาได้อย่างไร.
สังขารเป็นอนัตตา แม้เหตุปัจจัยที่ให้สังขารเกิดขึ้น ก็เป็นอนัตตา สังขารที่เกิดจากสิ่งที่เป็นอนัตตา จะเป็นอัตตาได้อย่างไร.
วิญญาณเป็นอนัตตา แม้เหตุปัจจัยที่ให้วิญญาณเกิดขึ้น ก็เป็นอนัตตา วิญญาณที่เกิดจากสิ่งที่เป็นอนัตตา จะเป็นอัตตาได้อย่างไร.
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัญญา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสังขาร ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นที่จะต้องทำเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มีอีก ดังนี้.
-บาลี ขนฺธ. สํ. 17/30/47.
https://84000.org/tipitaka/pali/?17//30,
https://etipitaka.com/read/pali/17/30
ขันธ์ ๕ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
ภิกษุทั้งหลาย รูปไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นเธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา..
เวทนาไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นเธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา.
สัญญาไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นเธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา.
สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นเธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา.
วิญญาณไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นเธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา.
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัญญา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสังขาร ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นที่จะต้องทำเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มีอีก ดังนี้.
-บาลี ขนฺธ. สํ. 17/28/42.
https://84000.org/tipitaka/pali/?17//28,
https://etipitaka.com/read/pali/17/28
ขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
ภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นเธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา.
เวทนาเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นเธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา.
สัญญาเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นเธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา.
สังขารทั้งหลายเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นเธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา.
วิญญาณเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นเธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา.
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัญญา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสังขาร ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นที่จะต้องทำเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มีอีก ดังนี้.
-บาลี ขนฺธ. สํ. 17/28/43.
https://84000.org/tipitaka/pali/?17//28,
https://etipitaka.com/read/pali/17/28
ขันธ์ ๕ เป็นอนัตตา (๓)
ภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นเธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา.
เวทนาเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นเธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา.
สัญญาเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นเธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา.
สังขารทั้งหลายเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นเธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา.
วิญญาณเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นเธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา.
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัญญา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสังขาร ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นที่จะต้องทำเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มีอีก ดังนี้.
-บาลี ขนฺธ. สํ. 17/28/44.
https://etipitaka.com/read/pali/17/28/,
https://etipitaka.com/read/pali/17/28
English translation by Bhikkhu Sujato
At Sāvatthī.
“Mendicants, form is impermanent. The cause and condition that gives rise to form is also impermanent. Since form is produced by what is impermanent, how could it be permanent?
Feeling is impermanent …
Perception is impermanent …
Choices are impermanent …
Consciousness is impermanent. The cause and condition that gives rise to consciousness is also impermanent. Since consciousness is produced by what is impermanent, how could it be permanent?
Seeing this … They understand: ‘… there is no return to any state of existence.’”
English translation by Bhikkhu Bodhi
At Savatthi. “Bhikkhus, form is impermanent. The cause and condition for the arising of form is also impermanent. As form has originated from what is impermanent, how could it be permanent?
“Feeling is impermanent…. Perception is impermanent…. Volitional formations are impermanent…. Consciousness is impermanent. The cause and condition for the arising of consciousness is also impermanent. As consciousness has originated from what is impermanent, how could it be permanent?
“Seeing thus … He understands: ‘… there is no more for this state of being.’”
English translation by Bhikkhu Sujato
At Sāvatthī.
“Mendicants, form is not-self. The cause and condition that gives rise to form is also not-self. Since form is produced by what is not-self, how could it be self?
Feeling is not-self …
Perception is not-self …
Choices are not-self …
Consciousness is not-self. The cause and condition that gives rise to consciousness is also not-self. Since consciousness is produced by what is not-self, how could it be self?
Seeing this … They understand: ‘… there is no return to any state of existence.’”
English translation by Bhikkhu Bodhi
At Savatthi. “Bhikkhus, form is nonself. The cause and condition for the arising of form is also nonself. As form has originated from what is nonself, how could it be self?
“Feeling is nonself…. Perception is nonself…. Volitional formations are nonself…. Consciousness is nonself. The cause and condition for the arising of consciousness is also nonself. As consciousness has originated from what is nonself, how could it be self?
“Seeing thus … He understands: ‘… there is no more for this state of being.’”
English translation by Bhikkhu Sujato
At Sāvatthī.
“Mendicants, form is impermanent. What’s impermanent is suffering. What’s suffering is not-self. And what’s not-self should be truly seen with right understanding like this: ‘This is not mine, I am not this, this is not my self.’
Feeling is impermanent …
Perception is impermanent …
Choices are impermanent …
Consciousness is impermanent. What’s impermanent is suffering. What’s suffering is not-self. And what’s not-self should be truly seen with right understanding like this: ‘This is not mine, I am not this, this is not my self.’
Seeing this … They understand: ‘… there is no return to any state of existence.’”
English translation by Bhikkhu Bodhi
At Savatthi. “Bhikkhus, form is impermanent. What is impermanent is suffering. What is suffering is nonself. What is nonself should be seen as it really is with correct wisdom thus: ‘This is not mine, this I am not, this is not my self.’
“Feeling is impermanent…. Perception is impermanent…. Volitional formations are impermanent…. Consciousness is impermanent. What is impermanent is suffering. What is suffering is nonself. What is nonself should be seen as it really is with correct wisdom thus: ‘This is not mine, this I am not, this is not my self.’
“Seeing thus … He understands: ‘… there is no more for this state of being.’”
English translation by Bhikkhu Sujato
At Sāvatthī.
“Mendicants, form is suffering. What’s suffering is not-self. And what’s not-self should be truly seen with right understanding like this: ‘This is not mine, I am not this, this is not my self.’
Feeling is suffering …
Perception is suffering …
Choices are suffering …
Consciousness is suffering. What’s suffering is not-self. And what’s not-self should be truly seen with right understanding like this: ‘This is not mine, I am not this, this is not my self.’
Seeing this … They understand: ‘… there is no return to any state of existence.’”
English translation by Bhikkhu Bodhi
At Savatthi. “Bhikkhus, form is suffering. What is suffering is nonself. What is nonself should be seen as it really is with correct wisdom thus: ‘This is not mine, this I am not, this is not my self.’
“Feeling is suffering…. Perception is suffering…. Volitional formations are suffering…. Consciousness is suffering. What is suffering is nonself. What is nonself should be seen as it really is with correct wisdom thus: ‘This is not mine, this I am not, this is not my self.’
“Seeing thus … He understands: ‘… there is no more for this state of being.’”
English translation by Bhikkhu Sujato
At Sāvatthī.
“Mendicants, form is not-self. And what’s not-self should be truly seen with right understanding like this: ‘This is not mine, I am not this, this is not my self.’
Feeling is not-self …
Perception is not-self …
Choices are not-self …
Consciousness is not-self. And what’s not-self should be truly seen with right understanding like this: ‘This is not mine, I am not this, this is not my self.’
Seeing this … They understand: ‘… there is no return to any state of existence.’”
English translation by Bhikkhu Bodhi
At Savatthi. “Bhikkhus, form is nonself. What is nonself should be seen as it really is with correct wisdom thus: ‘This is not mine, this I am not, this is not my self.’
“Feeling is nonself…. Perception is nonself…. Volitional formations are nonself…. Consciousness is nonself. What is nonself should be seen as it really is with correct wisdom thus: ‘This is not mine, this I am not, this is not my self.’
“Seeing thus … He understands: ‘… there is no more for this state of being.’”
https://suttacentral.net/sn22.17/en/bodhi