ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสัญโญชน์ และสัญโญชน์ (๑)
ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสัญโญชน์และสัญโญชน์1 เธอทั้งหลายจงฟังธรรมนั้น ภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสัญโญชน์เป็นอย่างไร และสัญโญชน์เป็นอย่างไร คือ
ภิกษุทั้งหลาย รูป เป็นธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสัญโญชน์ ฉันทราคะ2 ใดที่มีในรูปนั้น ฉันทราคะนั้นชื่อว่า สัญโญชน์.
เวทนา เป็นธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสัญโญชน์ ฉันทราคะใดที่มีในเวทนานั้น ฉันทราคะนั้นชื่อว่า สัญโญชน์.
สัญญา เป็นธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสัญโญชน์ ฉันทราคะใดที่มีในสัญญานั้น ฉันทราคะนั้นชื่อว่า สัญโญชน์.
สังขาร เป็นธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสัญโญชน์ ฉันทราคะใดที่มีในสังขารนั้น ฉันทราคะนั้นชื่อว่า สัญโญชน์.
วิญญาณ เป็นธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสัญโญชน์ ฉันทราคะใดที่มีในวิญญาณนั้น ฉันทราคะนั้นชื่อว่า สัญโญชน์.
ภิกษุทั้งหลาย (ขันธ์) เหล่านี้เรียกว่า ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสัญโญชน์ นี้เรียกว่า สัญโญชน์.
-บาลี ขนฺธ. สํ. 17/202/308.
https://84000.org/tipitaka/pali/?17//202,
https://etipitaka.com/read/pali/17/202
ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสัญโญชน์ และสัญโญชน์ (๒)
ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสัญโญชน์และสัญโญชน์3 เธอทั้งหลายจงฟังธรรมนั้น ภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสัญโญชน์เป็นอย่างไร และสัญโญชน์เป็นอย่างไร คือ.
ภิกษุทั้งหลาย ตา เป็นธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสัญโญชน์ ฉันทราคะ4 ใดที่มีในตานั้น ฉันทราคะนั้นชื่อว่า สัญโญชน์.
หู เป็นธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสัญโญชน์ ฉันทราคะใดที่มีในหูนั้น ฉันทราคะนั้นชื่อว่า สัญโญชน์.
จมูก เป็นธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสัญโญชน์ ฉันทราคะใดที่มีในจมูกนั้น ฉันทราคะนั้นชื่อว่า สัญโญชน์.
ลิ้น เป็นธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสัญโญชน์ ฉันทราคะใดที่มีในลิ้นนั้น ฉันทราคะนั้นชื่อว่า สัญโญชน์.
กาย เป็นธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสัญโญชน์ ฉันทราคะใดที่มีในกายนั้น ฉันทราคะนั้นชื่อว่า สัญโญชน์.
ใจ เป็นธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสัญโญชน์ ฉันทราคะใดที่มีในใจนั้น ฉันทราคะนั้นชื่อว่า สัญโญชน์.
ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้เรียกว่า ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสัญโญชน์ นี้เรียกว่า สัญโญชน์.
-บาลี สฬา. สํ. 18/110/159.
https://84000.org/tipitaka/pali/?18//110,
https://etipitaka.com/read/pali/18/110
ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสัญโญชน์ และสัญโญชน์ (๓)
ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสัญโญชน์และสัญโญชน์5 เธอทั้งหลายจงฟังธรรมนั้น ภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสัญโญชน์เป็นอย่างไร และสัญโญชน์เป็นอย่างไร คือ.
ภิกษุทั้งหลาย รูปที่พึงรู้แจ้งด้วยตา อันน่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะน่ารัก เป็นที่อาศัยแห่งความใคร่ ชวนให้กำหนัดมีอยู่ เหล่านี้เรียกว่า ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสัญโญชน์ ฉันทราคะ6 ใดที่มีในรูปนั้น ฉันทราคะนั้นชื่อว่า สัญโญชน์.
ภิกษุทั้งหลาย เสียงที่พึงรู้แจ้งด้วยหู อันน่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะน่ารัก เป็นที่อาศัยแห่งความใคร่ ชวนให้กำหนัดมีอยู่ เหล่านี้เรียกว่า ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสัญโญชน์ ฉันทราคะใดที่มีในเสียงนั้น ฉันทราคะนั้นชื่อว่า สัญโญชน์.
ภิกษุทั้งหลาย กลิ่นที่พึงรู้แจ้งด้วยจมูก อันน่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะน่ารัก เป็นที่อาศัยแห่งความใคร่ ชวนให้กำหนัดมีอยู่ เหล่านี้เรียกว่า ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสัญโญชน์ ฉันทราคะใดที่มีในกลิ่นนั้น ฉันทราคะนั้นชื่อว่า สัญโญชน์.
ภิกษุทั้งหลาย รสที่พึงรู้แจ้งด้วยลิ้น อันน่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะน่ารัก เป็นที่อาศัยแห่งความใคร่ ชวนให้กำหนัดมีอยู่ เหล่านี้เรียกว่า ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสัญโญชน์ ฉันทราคะใดที่มีในรสนั้น ฉันทราคะนั้นชื่อว่า สัญโญชน์.
ภิกษุทั้งหลาย โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งด้วยกาย อันน่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะน่ารัก เป็นที่อาศัยแห่งความใคร่ ชวนให้กำหนัดมีอยู่ เหล่านี้เรียกว่า ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสัญโญชน์ ฉันทราคะใดที่มีในโผฏฐัพพะนั้น ฉันทราคะนั้นชื่อว่า สัญโญชน์.
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยใจ อันน่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะน่ารัก เป็นที่อาศัยแห่งความใคร่ ชวนให้กำหนัดมีอยู่ เหล่านี้เรียกว่า ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสัญโญชน์ ฉันทราคะใดที่มีในธรรมนั้น ฉันทราคะนั้นชื่อว่า สัญโญชน์.
-บาลี สฬา. สํ. 18/135/189.
https://84000.org/tipitaka/pali/?18//135,
https://etipitaka.com/read/pali/18/135
1 สังโยชน์ = เครื่องผูก, พันธนาการ
2 ฉันทราคะ = ความพอใจอย่างยิ่ง,ความชอบใจจนติด, ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ
3 สังโยชน์ = เครื่องผูก, พันธนาการ
4 ฉันทราคะ = ความพอใจอย่างยิ่ง,ความชอบใจจนติด, ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ
5 สังโยชน์ = เครื่องผูก, พันธนาการ
6 ฉันทราคะ = ความพอใจอย่างยิ่ง,ความชอบใจจนติด, ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ
English translation by Bhikkhu Sujato
“Mendicants, I will teach you the things that are prone to being fettered, and the fetter. Listen …
What are the things that are prone to being fettered? And what is the fetter? There are sights known by the eye that are likable, desirable, agreeable, pleasant, sensual, and arousing. These are called the things that are prone to being fettered. The desire and greed for them is the fetter.
There are sounds … smells … tastes … touches … thoughts known by the mind that are likable, desirable, agreeable, pleasant, sensual, and arousing. These are called the things that are prone to being fettered. The desire and greed for them is the fetter.”
English translation by Bhikkhu Sujato
“Mendicants, I will teach you the things that are prone to being fettered, and the fetter. Listen …
What are the things that are prone to being fettered? And what is the fetter?
Form is something that’s prone to being fettered. The desire and greed for it is the fetter.
Feeling …
Perception …
Choices …
Consciousness is something that’s prone to being fettered. The desire and greed for it is the fetter.
These are called the things that are prone to being fettered, and this is the fetter.”
English translation by Bhikkhu Sujato
“Mendicants, I will teach you the things that are prone to being fettered, and the fetter. Listen …
What are the things that are prone to being fettered? And what is the fetter? The eye is something that’s prone to being fettered. The desire and greed for it is the fetter.
The ear … nose … tongue … body … mind is something that’s prone to being fettered. The desire and greed for it is the fetter. These are called the things that are prone to being fettered, and this is the fetter.”
English translation by Bhikkhu Bodhi
“Bhikkhus, I will teach you the things that fetter and the fetter. Listen to that…
“And what, bhikkhus, are the things that fetter, and what is the fetter? The eye, bhikkhus, is a thing that fetters; the desire and lust for it is the fetter there. The ear is a thing that fetters … The mind is a thing that fetters; the desire and lust for it is the fetter there. These are called the things that fetter, and this the fetter.”