หลักพิจารณาว่าเป็นธรรมเป็นวินัยหรือไม่ (๒)
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน เขตพระนครเวสาลี ครั้งนั้น พระนางมหาปชาบดีโคตมีเสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วประทับยืนในที่สมควร ครั้นแล้วได้ทูลว่า
สาธุ ภันเต ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดงธรรมโดยย่อแก่หม่อมฉัน เมื่อหม่อมฉันได้ฟังแล้ว จะพึงเป็นผู้หลีกออกจากหมู่ไปอยู่ผู้เดียว เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปแล้วในธรรมนั้นอยู่เถิด.
โคตมี เธอรู้ธรรมเหล่าใดว่า ธรรมเหล่านี้ เป็นไปเพื่อความกำหนัด ไม่เป็นไปเพื่อคลายความกำหนัด เป็นไปเพื่อประกอบไว้ ไม่เป็นไปเพื่อความสลัดออก เป็นไปเพื่อความสั่งสม ไม่เป็นไปเพื่อความไม่สั่งสม เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มักมาก ไม่เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มักน้อย เป็นไปเพื่อความไม่สันโดษ ไม่เป็นไปเพื่อความสันโดษ เป็นไปเพื่อความคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ไม่เป็นไปเพื่อความสงบสงัด เป็นไปเพื่อความเกียจคร้าน ไม่เป็นไปเพื่อปรารภความเพียร เป็นไปเพื่อความเป็นผู้เลี้ยงยาก ไม่เป็นไปเพื่อความเป็นผู้เลี้ยงง่าย โคตมี เธอพึงทรงจำธรรมเหล่านั้นไว้ให้ดีว่า นี้ไม่ใช่ธรรม นี้ไม่ใช่วินัย นี้ไม่ใช่คำสอนของศาสดา.
โคตมี เธอรู้ธรรมเหล่าใดว่า ธรรมเหล่านี้ เป็นไปเพื่อคลายความกำหนัด ไม่เป็นไปเพื่อความกำหนัด เป็นไปเพื่อความสลัดออก ไม่เป็นไปเพื่อประกอบไว้ เป็นไปเพื่อความไม่สั่งสม ไม่เป็นไปเพื่อความสั่งสม เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มักน้อย ไม่เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มักมาก เป็นไปเพื่อความสันโดษ ไม่เป็นไปเพื่อความไม่สันโดษ เป็นไปเพื่อความสงบสงัด ไม่เป็นไปเพื่อความคลุกคลีด้วยหมู่คณะ เป็นไปเพื่อปรารภความเพียร ไม่เป็นไปเพื่อความเกียจคร้าน เป็นไปเพื่อความเป็นผู้เลี้ยงง่าย ไม่เป็นไปเพื่อความเป็นผู้เลี้ยงยาก โคตมี เธอพึงทรงจำธรรมเหล่านั้นไว้ให้ดีว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสอนของศาสดา.
-บาลี อฏฺฐก. อํ. 23/288/143.
https://84000.org/tipitaka/pali/?23//288,
https://etipitaka.com/read/pali/23/288
English translation by Bhikkhu Sujato
At one time the Buddha was staying near Vesālī, at the Great Wood, in the hall with the peaked roof. Then Mahāpajāpatī Gotamī went up to the Buddha, bowed, stood to one side, and said to him:
“Sir, may the Buddha please teach me Dhamma in brief. When I’ve heard it, I’ll live alone, withdrawn, diligent, keen, and resolute.”
“Gotamī, you might know that certain things lead to passion, not dispassion; to being fettered, not to being unfettered; to accumulation, not dispersal; to more desires, not fewer; to lack of contentment, not contentment; to crowding, not seclusion; to laziness, not energy; to being burdensome, not being unburdensome. You should definitely bear in mind that these things are not the teaching, not the training, and not the Teacher’s instructions.
You might know that certain things lead to dispassion, not passion; to being unfettered, not to being fettered; to dispersal, not accumulation; to fewer desires, not more; to contentment, not lack of contentment; to seclusion, not crowding; to energy, not laziness; to being unburdensome, not being burdensome. You should definitely bear in mind that these things are the teaching, the training, and the Teacher’s instructions.”
English translation by Ṭhānissaro Bhikkhu
I have heard that at on one occasion the Blessed One was staying near Vesāli at the Gabled Hall in the Great Forest.
Then Mahāpajāpati Gotamī went to the Blessed One and, on arrival, having bowed down to him, stood to one side. As she was standing there she said to him: “It would be good, lord, if the Blessed One would teach me the Dhamma in brief such that, having heard the Dhamma from the Blessed One, I might dwell alone, secluded, heedful, ardent, & resolute.”
“Gotamī, the qualities of which you may know, ‘These qualities lead to passion, not to dispassion; to being fettered, not to being unfettered; to accumulating, not to shedding; to self-aggrandizement, not to modesty; to discontent, not to contentment; to entanglement, not to reclusiveness; to laziness, not to aroused persistence; to being burdensome, not to being unburdensome’: You may categorically hold, ‘This is not the Dhamma, this is not the Vinaya, this is not the Teacher’s instruction.’
“As for the qualities of which you may know, ‘These qualities lead to dispassion, not to passion; to being unfettered, not to being fettered; to shedding, not to accumulating; to modesty, not to self-aggrandizement; to contentment, not to discontent; to reclusiveness, not to entanglement; to aroused persistence, not to laziness; to being unburdensome, not to being burdensome’: You may categorically hold, ‘This is the Dhamma, this is the Vinaya, this is the Teacher’s instruction.’”
That is what the Blessed One said. Gratified, Mahāpājapati Gotamī delighted in his words.