Who truly has that one fine night.
English translation by Bhikkhu Sujato
So I have heard. At one time the Buddha was staying near Sāvatthī in Jeta’s Grove, Anāthapiṇḍika’s monastery. There the Buddha addressed the mendicants, “Mendicants!”
“Venerable sir,” they replied. The Buddha said this:
“I shall teach you the passage for recitation and the analysis of One Fine Night. Listen and pay close attention, I will speak.”
“Yes, sir,” they replied. The Buddha said this:
“Don’t run back to the past,
don’t hope for the future.
What’s past is left behind;
the future has not arrived;
and phenomena in the present
are clearly seen in every case.
Knowing this, foster it—
unfaltering, unshakable.
Today’s the day to keenly work—
who knows, tomorrow may bring death
!For there is no bargain to be struck
with Death and his mighty hordes.
The peaceful sage explained it’s those
who keenly meditate like this,
tireless all night and day,
who truly have that one fine night.
And how do you run back to the past? You muster delight there, thinking: ‘I had such form in the past.’ … ‘I had such feeling … perception … choice … consciousness in the past.’ That’s how you run back to the past.
And how do you not run back to the past? You don’t muster delight there, thinking: ‘I had such form in the past.’ … ‘I had such feeling … perception … choice … consciousness in the past.’ That’s how you don’t run back to the past.
And how do you hope for the future? You muster delight there, thinking: ‘May I have such form in the future.’ … ‘May I have such feeling … perception … choice … consciousness in the future.’ That’s how you hope for the future.
And how do you not hope for the future? You don’t muster delight there, thinking: ‘May I have such form in the future.’ … ‘May I have such feeling … perception … choice … consciousness in the future.’ That’s how you don’t hope for the future.
And how do you falter amid presently arisen phenomena? It’s when an uneducated ordinary person has not seen the noble ones, and is neither skilled nor trained in the teaching of the noble ones. They’ve not seen good persons, and are neither skilled nor trained in the teaching of the good persons. They regard form as self, self as having form, form in self, or self in form. They regard feeling … perception … choices … consciousness as self, self as having consciousness, consciousness in self, or self in consciousness. That’s how you falter amid presently arisen phenomena.
And how do you not falter amid presently arisen phenomena? It’s when an educated noble disciple has seen the noble ones, and is skilled and trained in the teaching of the noble ones. They’ve seen good persons, and are skilled and trained in the teaching of the good persons. They don’t regard form as self, self as having form, form in self, or self in form. They don’t regard feeling … perception … choices … consciousness as self, self as having consciousness, consciousness in self, or self in consciousness. That’s how you don’t falter amid presently arisen phenomena.
Don’t run back to the past,
don’t hope for the future.
What’s past is left behind;
the future has not arrived;
and phenomena in the present
are clearly seen in every case.
Knowing this, foster it—
unfaltering, unshakable.
Today’s the day to keenly work—
who knows, tomorrow may bring death!
For there is no bargain to be struck
with Death and his mighty hordes.
The peaceful sage explained it’s those
who keenly meditate like this,
tireless all night and day,
who truly have that one fine night.
And that’s what I meant when I said: ‘I shall teach you the passage for recitation and the analysis of One Fine Night.’”
That is what the Buddha said. Satisfied, the mendicants were happy with what the Buddha said.
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า
ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอุเทศ1 และวิภังค์2 ของบุคคลผู้มีราตรีหนึ่งเจริญแก่เธอทั้งหลาย พวกเธอจงฟังอุเทศและวิภังค์นั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว.
บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว ไม่ควรมุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง
สิ่งใดล่วงไปแล้ว สิ่งนั้นก็เป็นอันละไปแล้ว
และสิ่งใดที่ยังไม่มาถึง สิ่งนั้นก็เป็นอันยังไม่มาถึง
ก็บุคคลใด เห็นแจ้งธรรมที่เป็นปัจจุบัน
ไม่ง่อนแง่น ไม่คลอนแคลนในธรรมนั้นๆ ได้
บุคคลนั้น พึงเจริญธรรมนั้นเนืองๆ ให้แจ่มแจ้งเถิด
พึงทำความเพียรเสียในวันนี้แหละ
ใครเล่าจะรู้ว่า ความตายอาจมีในวันพรุ่งนี้
เพราะว่าความผัดเพี้ยนกับมัจจุราชผู้มีเสนามากนั้น ย่อมไม่มีแก่เราทั้งหลาย
มุนีผู้สงบย่อมเรียกบุคคลผู้มีปกติอยู่อย่างนี้
มีความเพียร ไม่เกียจคร้าน ทั้งกลางวันและกลางคืนนั้นแหละว่า
“ผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ”
ภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลย่อมคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้วเป็นอย่างไร คือ รำพึงไปตามความเพลิดเพลินในเรื่องนั้นว่า ในอดีตเราได้มีรูปอย่างนี้ รำพึงไปตามความเพลิดเพลินในเรื่องนั้นว่า ในอดีตเราได้มีเวทนาอย่างนี้ รำพึงไปตามความเพลิดเพลินในเรื่องนั้นว่า ในอดีตเราได้มีสัญญาอย่างนี้ รำพึงไปตามความเพลิดเพลินในเรื่องนั้นว่า ในอดีตเราได้มีสังขารอย่างนี้ รำพึงไปตามความเพลิดเพลินในเรื่องนั้นว่า ในอดีตเราได้มีวิญญาณอย่างนี้ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลย่อมคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว เป็นอย่างนี้แล.
ภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลย่อมไม่คำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้วเป็นอย่างไร คือ ไม่รำพึงไปตามความเพลิดเพลินในเรื่องนั้นว่า ในอดีตเราได้มีรูปอย่างนี้ ไม่รำพึงไปตามความเพลิดเพลินในเรื่องนั้นว่า ในอดีตเราได้มีเวทนาอย่างนี้ ไม่รำพึงไปตามความเพลิดเพลินในเรื่องนั้นว่า ในอดีตเราได้มีสัญญาอย่างนี้ ไม่รำพึงไปตามความเพลิดเพลินในเรื่องนั้นว่า ในอดีตเราได้มีสังขารอย่างนี้ ไม่รำพึงไปตามความเพลิดเพลินในเรื่องนั้นว่า ในอดีตเราได้มีวิญญาณอย่างนี้ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลย่อมไม่คำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว เป็นอย่างนี้แล.
ภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลย่อมมุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึงเป็นอย่างไร คือ รำพึงไปตามความเพลิดเพลินในเรื่องนั้นว่า ในอนาคตขอเราพึงมีรูปอย่างนี้ รำพึงไปตามความเพลิดเพลินในเรื่องนั้นว่า ในอนาคตขอเราพึงมีเวทนาอย่างนี้ รำพึงไปตามความเพลิดเพลินในเรื่องนั้นว่า ในอนาคตขอเราพึงมีสัญญาอย่างนี้ รำพึงไปตามความเพลิดเพลินในเรื่องนั้นว่า ในอนาคตขอเราพึงมีสังขารอย่างนี้ รำพึงไปตามความเพลิดเพลินในเรื่องนั้นว่า ในอนาคตขอเราพึงมีวิญญาณอย่างนี้ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลย่อมมุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง เป็นอย่างนี้แล.
ภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลย่อมไม่มุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึงเป็นอย่างไร คือ ไม่รำพึงไปตามความเพลิดเพลินในเรื่องนั้นว่า ในอนาคตขอเราพึงมีรูปอย่างนี้ ไม่รำพึงไปตามความเพลิดเพลินในเรื่องนั้นว่า ในอนาคตขอเราพึงมีเวทนาอย่างนี้ ไม่รำพึงไปตามความเพลิดเพลินในเรื่องนั้นว่า ในอนาคตขอเราพึงมีสัญญาอย่างนี้ ไม่รำพึงไปตามความเพลิดเพลินในเรื่องนั้นว่า ในอนาคตขอเราพึงมีสังขารอย่างนี้ ไม่รำพึงไปตามความเพลิดเพลินในเรื่องนั้นว่า ในอนาคตขอเราพึงมีวิญญาณอย่างนี้ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลย่อมไม่มุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง เป็นอย่างนี้แล.
ภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลย่อมง่อนแง่นในธรรมปัจจุบันเป็นอย่างไร คือ ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับแล้วในกรณีนี้ เป็นผู้ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัปบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของสัปบุรุษ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของสัปบุรุษ ย่อมตามเห็นรูปโดยความเป็นอัตตาบ้าง ย่อมตามเห็นอัตตาว่ามีรูปบ้าง ย่อมตามเห็นรูปว่ามีในอัตตาบ้าง ย่อมตามเห็นอัตตาว่ามีในรูปบ้าง ย่อมตามเห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตาบ้าง ย่อมตามเห็นอัตตาว่ามีเวทนาบ้าง ย่อมตามเห็นเวทนาว่ามีในอัตตาบ้าง ย่อมตามเห็นอัตตาว่ามีในเวทนาบ้าง ย่อมตามเห็นสัญญาโดยความเป็นอัตตาบ้าง ย่อมตามเห็นอัตตาว่ามีสัญญาบ้าง ย่อมตามเห็นสัญญาว่ามีในอัตตาบ้าง ย่อมตามเห็นอัตตาว่ามีในสัญญาบ้าง ย่อมตามเห็นสังขารโดยความเป็นอัตตาบ้าง ย่อมตามเห็นอัตตาว่ามีสังขารบ้าง ย่อมตามเห็นสังขารว่ามีในอัตตาบ้าง ย่อมตามเห็นอัตตาว่ามีในสังขารบ้าง ย่อมตามเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตาบ้าง ย่อมตามเห็นอัตตาว่ามีวิญญาณบ้าง ย่อมตามเห็นวิญญาณว่ามีในอัตตาบ้าง ย่อมตามเห็นอัตตาว่ามีในวิญญาณบ้าง ภิกษุทั้งหลาย บุคคลย่อมง่อนแง่นในธรรมปัจจุบัน เป็นอย่างนี้แล.
(อีกสำนวนแปล: ย่อมตามเห็นพร้อม ซึ่งรูปโดยความเป็นตน หรือตามเห็นพร้อม ซึ่งตน ว่ามีรูป หรือตามเห็นพร้อม ซึ่งรูปว่ามีอยู่ในตน หรือตามเห็นพร้อม ซึ่งตนว่ามีอยู่ในรูปบ้าง ย่อมตามเห็นพร้อม ซึ่งเวทนาโดยความเป็นตน หรือตามเห็นพร้อม ซึ่งตนว่ามีเวทนา หรือตามเห็นพร้อม ซึ่งเวทนาว่ามีอยู่ในตน หรือตามเห็นพร้อม ซึ่งตนว่ามีอยู่ในเวทนาบ้าง ย่อมตามเห็นพร้อม ซึ่งสัญญาโดยความเป็นตน หรือตามเห็นพร้อม ซึ่งตนว่ามีสัญญา หรือตามเห็นพร้อม ซึ่งสัญญาว่ามีอยู่ในตน หรือตามเห็นพร้อม ซึ่งตนว่ามีอยู่ในสัญญาบ้าง ย่อมตามเห็นพร้อม ซึ่งสังขารทั้งหลาย โดยความเป็นตน หรือตามเห็นพร้อม ซึ่งตนว่ามีสังขาร หรือตามเห็นพร้อม ซึ่งสังขารทั้งหลาย ว่ามีอยู่ในตน หรือตามเห็นพร้อม ซึ่งตนว่ามีอยู่ในสังขารทั้งหลายบ้าง ย่อมตามเห็นพร้อม ซึ่งวิญญาณโดยความเป็นตน หรือตามเห็นพร้อม ซึ่งตนว่ามีวิญญาณ หรือตามเห็นพร้อม ซึ่งวิญญาณว่ามีอยู่ในตน หรือตามเห็นพร้อม ซึ่งตนว่ามีอยู่ในวิญญาณบ้าง.)
ภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลย่อมไม่ง่อนแง่นในธรรมปัจจุบันเป็นอย่างไร คือ อริยสาวกผู้สดับแล้วในกรณีนี้ เป็นผู้ได้เห็นพระอริยะ ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยะ ได้เห็นสัปบุรุษ ฉลาดในธรรมของสัปบุรุษ ได้รับการแนะนำในธรรมของสัปบุรุษ ย่อมไม่ตามเห็นรูปโดยความเป็นอัตตาบ้าง ย่อมไม่ตามเห็นอัตตาว่ามีรูปบ้าง ย่อมไม่ตามเห็นรูปว่ามีในอัตตาบ้าง ย่อมไม่ตามเห็นอัตตาว่ามีในรูปบ้าง ย่อมไม่ตามเห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตาบ้าง ย่อมไม่ตามเห็นอัตตาว่ามีเวทนาบ้าง ย่อมไม่ตามเห็นเวทนาว่ามีในอัตตาบ้าง ย่อมไม่ตามเห็นอัตตาว่ามีในเวทนาบ้าง ย่อมไม่ตามเห็นสัญญาโดยความเป็นอัตตาบ้าง ย่อมไม่ตามเห็นอัตตาว่ามีสัญญาบ้าง ย่อมไม่ตามเห็นสัญญาว่ามีในอัตตาบ้าง ย่อมไม่ตามเห็นอัตตาว่ามีในสัญญาบ้าง ย่อมไม่ตามเห็นสังขารโดยความเป็นอัตตาบ้าง ย่อมไม่ตามเห็นอัตตาว่ามีสังขารบ้าง ย่อมไม่ตามเห็นสังขารว่ามีในอัตตาบ้าง ย่อมไม่ตามเห็นอัตตาว่ามีในสังขารบ้าง ย่อมไม่ตามเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตาบ้าง ย่อมไม่ตามเห็นอัตตาว่ามีวิญญาณบ้าง ย่อมไม่ตามเห็นวิญญาณว่ามีในอัตตาบ้าง ย่อมไม่ตามเห็นอัตตาว่ามีในวิญญาณบ้าง ภิกษุทั้งหลาย บุคคลย่อมไม่ง่อนแง่นในธรรมปัจจุบัน เป็นอย่างนี้แล.
บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว ไม่ควรมุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง
สิ่งใดล่วงไปแล้ว สิ่งนั้นก็เป็นอันละไปแล้ว
และสิ่งใดที่ยังไม่มาถึง สิ่งนั้นก็เป็นอันยังไม่มาถึง
ก็บุคคลใดเห็นแจ้งธรรมที่เป็นปัจจุบัน
ไม่ง่อนแง่น ไม่คลอนแคลนในธรรมนั้นๆ ได้
บุคคลนั้นพึงเจริญธรรมนั้นเนืองๆ ให้แจ่มแจ้งเถิด
พึงทำความเพียรเสียในวันนี้แหละ
ใครเล่าจะรู้ว่า ความตายอาจจะมีในวันพรุ่งนี้
เพราะว่าความผัดเพี้ยนกับมัจจุราชผู้มีเสนามากนั้น ย่อมไม่มีแก่เราทั้งหลาย
มุนีผู้สงบย่อมเรียกบุคคลผู้มีปกติอยู่อย่างนี้
มีความเพียร ไม่เกียจคร้าน ทั้งกลางวันและกลางคืนนั้นแลว่า
“ผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ”
ภิกษุทั้งหลาย คำที่เรากล่าวไว้ว่า เราจักแสดงอุเทศและวิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีหนึ่งเจริญแก่เธอทั้งหลายนั้น เราอาศัยความข้อนี้กล่าวแล้ว ด้วยอาการอย่างนี้.
-บาลี อุปริ. ม. 14/348/526.
https://84000.org/tipitaka/pali/?14//348
https://etipitaka.com/read/pali/14/348
1 อุเทศ = การยกขึ้นแสดง, การอธิบาย
2 วิภังค์ = การแบ่ง, การจำแนก