Mindfulness. (6)
English translation by Bhikkhu Sujato
“Mendicants, suppose a person with wounded and festering limbs was to enter a thicket of thorny reeds. The kusa thorns would pierce their feet, and the reed leaves would scratch their limbs. And that would cause that person to experience even more pain and distress.
In the same way, some mendicant goes to a village or a wilderness and gets scolded, ‘This venerable, acting like this, behaving like this, is a filthy village thorn.’ Understanding that they’re a thorn, they should understand restraint and lack of restraint.
And how is someone unrestrained?
Take a mendicant who sees a sight with their eyes. If it’s pleasant they hold on to it, but if it’s unpleasant they dislike it. They live with mindfulness of the body unestablished and their heart restricted. And they don’t truly understand the freedom of heart and freedom by wisdom where those arisen bad, unskillful qualities cease without anything left over.
When they hear a sound with their ears …
When they smell an odor with their nose …
When they taste a flavor with their tongue …
When they feel a touch with their body …
When they know a thought with their mind, if it’s pleasant they hold on to it, but if it’s unpleasant they dislike it. They live with mindfulness of the body unestablished and a limited heart. And they don’t truly understand the freedom of heart and freedom by wisdom where those arisen bad, unskillful qualities cease without anything left over.
Suppose a person was to catch six animals, with diverse territories and feeding grounds, and tie them up with a strong rope. They’d catch a snake, a crocodile, a bird, a dog, a jackal, and a monkey, tie each up with a strong rope, then tie a knot in the middle and let them loose.
Then those six animals with diverse domains and territories would each pull towards their own domain and territory. The snake would pull one way, thinking ‘I’m going into an anthill!’ The crocodile would pull another way, thinking ‘I’m going into the water!’ The bird would pull another way, thinking ‘I’m flying into the sky!’ The dog would pull another way, thinking ‘I’m going into the village!’ The jackal would pull another way, thinking ‘I’m going into the charnel ground!’ The monkey would pull another way, thinking ‘I’m going into the jungle!’ When those six animals became exhausted and worn out, the strongest of them would get their way, and they’d all have to submit to their control.
In the same way, when a mendicant has not developed or cultivated mindfulness of the body, their eye pulls towards pleasant sights, but is put off by unpleasant sights. Their ear … nose … tongue … body … mind pulls towards pleasant thoughts, but is put off by unpleasant thoughts.
This is how someone is unrestrained.
And how is someone restrained?
Take a mendicant who sees a sight with their eyes. If it’s pleasant they don’t hold on to it, and if it’s unpleasant they don’t dislike it. They live with mindfulness of the body established and a limitless heart. And they truly understand the freedom of heart and freedom by wisdom where those arisen bad, unskillful qualities cease without anything left over.
They hear a sound … smell an odor … taste a flavor … feel a touch … know a thought with their mind. If it’s pleasant they don’t hold on to it, and if it’s unpleasant they don’t dislike it. They live with mindfulness of the body established and a limitless heart. And they truly understand the freedom of heart and freedom by wisdom where those arisen bad, unskillful qualities cease without anything left over.
Suppose a person was to catch six animals, with diverse territories and feeding grounds, and tie them up with a strong rope. They’d catch a snake, a crocodile, a bird, a dog, a jackal, and a monkey, tie each up with a strong rope, then tether them to a strong post or pillar.
Then those six animals with diverse domains and territories would each pull towards their own domain and territory. The snake would pull one way, thinking ‘I’m going into an anthill!’ The crocodile would pull another way, thinking ‘I’m going into the water!’ The bird would pull another way, thinking ‘I’m flying into the sky!’ The dog would pull another way, thinking ‘I’m going into the village!’ The jackal would pull another way, thinking ‘I’m going into the charnel ground!’ The monkey would pull another way, thinking ‘I’m going into the jungle!’ When those six animals became exhausted and worn out, they’d stand or sit or lie down right by that post or pillar.
In the same way, when a mendicant has developed and cultivated mindfulness of the body, their eye doesn’t pull towards pleasant sights, and isn’t put off by unpleasant sights. Their ear … nose … tongue … body … mind doesn’t pull towards pleasant thoughts, and isn’t put off by unpleasant thoughts. This is how someone is restrained.
‘A strong post or pillar’ is a term for mindfulness of the body.
So you should train like this: ‘We will develop mindfulness of the body. We’ll cultivate it, make it our vehicle and our basis, keep it up, consolidate it, and properly implement it.’ That’s how you should train.”
สำนวนแปลท่าน Bhikkhu Bodhi
“Bhikkhus, suppose a man with limbs wounded and festering would enter a wood of thorny reeds, and the Kusa thorns would prick his feet and the reed blades would slash his limbs. Thus that man would thereby experience even more pain and displeasure. So too, bhikkhus, some bhikkhu here, gone to the village or the forest, meets someone who reproaches him thus: ‘This venerable one, acting in such a way, behaving in such a way, is a foul village thorn.’ Having understood him thus as a ‘thorn,’ one should understand restraint and nonrestraint.
“And how, bhikkhus is there nonrestraint? Here, having seen a form with the eye, a bhikkhu is intent upon a pleasing form and repelled by a displeasing form. He dwells without having set up mindfulness of the body, with a limited mind, and he does not understand as it really is that liberation of mind, liberation by wisdom, wherein those evil unwholesome states cease without remainder. Having heard a sound with the ear … Having cognized a mental phenomenon with the mind, he is intent upon a pleasing mental phenomenon and repelled by a displeasing mental phenomenon. He dwells without having set up mindfulness of the body, with a limited mind, and he does not understand as it really is that liberation of mind, liberation by wisdom, wherein those evil unwholesome states cease without remainder.
“Suppose, bhikkhus, a man would catch six animals—with different domains and different feeding grounds—and tie them by a strong rope. He would catch a snake, a crocodile, a bird, a dog, a jackal, and a monkey, and tie each by a strong rope. Having done so, he would tie the ropes together with a knot in the middle and release them. Then those six animals with different domains and different feeding grounds would each pull in the direction of its own feeding ground and domain. The snake would pull one way, thinking, ‘Let me enter an anthill.’ The crocodile would pull another way, thinking, ‘Let me enter the water.’ The bird would pull another way, thinking, ‘Let me fly up into the sky.’ The dog would pull another way, thinking, ‘Let me enter a village.’ The jackal would pull another way, thinking, ‘Let me enter a charnel ground.’ The monkey would pull another way, thinking, ‘Let me enter a forest.’
“Now when these six animals become worn out and fatigued, they would be dominated by the one among them that was strongest; they would submit to it and come under its control. So too, bhikkhus, when a bhikkhu has not developed and cultivated mindfulness directed to the body, the eye pulls in the direction of agreeable forms and disagreeable forms are repulsive; the ear pulls in the direction of agreeable sounds and disagreeable sounds are repulsive; the nose pulls in the direction of agreeable odours and disagreeable odours are repulsive; the tongue pulls in the direction of agreeable tastes and disagreeable tastes are repulsive; the body pulls in the direction of agreeable tactile objects and disagreeable tactile objects are repulsive; the mind pulls in the direction of agreeable mental phenomena and disagreeable mental phenomena are repulsive.
“It is in such a way that there is nonrestraint.
“And how, bhikkhus, is there restraint? Here, having seen a form with the eye, a bhikkhu is not intent upon a pleasing form and not repelled by a displeasing form. He dwells having set up mindfulness of the body, with a measureless mind, and he understands as it really is that liberation of mind, liberation by wisdom, wherein those evil unwholesome states cease without remainder. Having heard a sound with the ear … Having cognized a mental phenomenon with the mind, he is not intent upon a pleasing mental phenomenon and not repelled by a displeasing mental phenomenon. He dwells having set up mindfulness of the body, with a measureless mind, and he understands as it really is that liberation of mind, liberation by wisdom, wherein those evil unwholesome states cease without remainder. It is in such a way that there is restraint.
“Suppose, bhikkhus, a man would catch six animals—with different domains and different feeding grounds—and tie them by a strong rope. He would catch a snake, a crocodile, a bird, a dog, a jackal, and a monkey, and tie each by a strong rope. Having done so, he would bind them to a strong post or pillar. Then those six animals with different domains and different feeding grounds would each pull in the direction of its own feeding ground and domain. The snake would pull one way, thinking, ‘Let me enter an anthill’ … as above … The monkey would pull another way, thinking, ‘Let me enter a forest.’
“Now when these six animals become worn out and fatigued, they would stand close to that post or pillar, they would sit down there, they would lie down there. So too, bhikkhus, when a bhikkhu has developed and cultivated mindfulness directed to the body, the eye does not pull in the direction of agreeable forms nor are disagreeable forms repulsive; the ear does not pull in the direction of agreeable sounds nor are disagreeable sounds repulsive; the nose does not pull in the direction of agreeable odours nor are disagreeable odours repulsive; the tongue does not pull in the direction of agreeable tastes nor are disagreeable tastes repulsive; the body does not pull in the direction of agreeable tactile objects nor are disagreeable tactile objects repulsive; the mind does not pull in the direction of agreeable mental phenomena nor are disagreeable mental phenomena repulsive.
“It is in such a way that there is restraint.
“‘A strong post or pillar’: this, bhikkhus, is a designation for mindfulness directed to the body. Therefore, bhikkhus, you should train yourselves thus: ‘We will develop and cultivate mindfulness directed to the body, make it our vehicle, make it our basis, stabilize it, exercise ourselves in it, and fully perfect it.’ Thus should you train yourselves.”
ภิกษุทั้งหลาย บุรุษผู้มีตัวเต็มไปด้วยแผลพุพอง เข้าไปสู่ป่าหญ้าคา ถ้าหน่อหญ้าคาตำเท้าของเขา ถ้าใบหญ้าคาบาดตัวเขาที่พุพอง เมื่อเป็นเช่นนั้น บุรุษนั้นก็จะพึงเสวยทุกข์และโทมนัสยิ่งกว่าประมาณเพราะเหตุนั้น ภิกษุทั้งหลาย ฉันใดก็ฉันนั้น ภิกษุบางรูปในกรณีนี้ ไปสู่บ้านก็ดี หรือไปสู่ป่าก็ดี ย่อมจะมีผู้กล่าวทักท้วงว่า ท่านผู้นี้ กระทำอย่างนี้ มีความประพฤติอย่างนี้ เป็นผู้ไม่สะอาด เป็นดุจหนามคอยทิ่มแทงชาวบ้าน ภิกษุรู้แจ้งอย่างนี้แล้วว่า ภิกษุนั้น เป็นผู้ไม่สะอาด เป็นดุจหนามคอยทิ่มแทงชาวบ้าน พึงทราบความไม่สำรวม และความสำรวมต่อไป.
ภิกษุทั้งหลาย ความไม่สำรวม (อสังวร) เป็นอย่างไร คือ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในกณีนี้ เห็นรูปด้วยตาแล้ว ย่อมยินดีในรูปที่น่ารัก ย่อมขัดเคืองในรูปที่ไม่น่ารัก เป็นผู้ไม่ตั้งไว้ซึ่งกายคตาสติ เป็นผู้มีใจเล็กน้อย และย่อมไม่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันเป็นที่ดับไม่เหลือแห่งอกุศลธรรมอันเป็นบาปเหล่านั้น ที่เกิดขึ้นแล้วแก่เขา ตามความเป็นจริง.
ภิกษุฟังเสียงด้วยหูแล้ว ย่อมยินดีในเสียงที่น่ารัก ย่อมขัดเคืองในเสียงที่ไม่น่ารัก เป็นผู้ไม่ตั้งไว้ซึ่งกายคตาสติ เป็นผู้มีใจเล็กน้อย และย่อมไม่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันเป็นที่ดับไม่เหลือแห่งอกุศลธรรมอันเป็นบาปเหล่านั้น ที่เกิดขึ้นแล้วแก่เขา ตามความเป็นจริง.
ภิกษุดมกลิ่นด้วยจมูกแล้ว ย่อมยินดีในกลิ่นที่น่ารัก ย่อมขัดเคืองในกลิ่นที่ไม่น่ารัก เป็นผู้ไม่ตั้งไว้ซึ่งกายคตาสติ เป็นผู้มีใจเล็กน้อย และย่อมไม่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันเป็นที่ดับไม่เหลือแห่งอกุศลธรรมอันเป็นบาปเหล่านั้น ที่เกิดขึ้นแล้วแก่เขา ตามความเป็นจริง.
ภิกษุรู้รสด้วยลิ้นแล้ว ย่อมยินดีในรสที่น่ารัก ย่อมขัดเคืองในรสที่ไม่น่ารัก เป็นผู้ไม่ตั้งไว้ซึ่งกายคตาสติ เป็นผู้มีใจเล็กน้อย และย่อมไม่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันเป็นที่ดับไม่เหลือแห่งอกุศลธรรมอันเป็นบาปเหล่านั้น ที่เกิดขึ้นแล้วแก่เขา ตามความเป็นจริง.
ภิกษุถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว ย่อมยินดีในโผฏฐัพพะที่น่ารัก ย่อมขัดเคืองในโผฏฐัพพะที่ไม่น่ารัก เป็นผู้ไม่ตั้งไว้ซึ่งกายคตาสติ เป็นผู้มีใจเล็กน้อย และย่อมไม่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันเป็นที่ดับไม่เหลือแห่งอกุศลธรรมอันเป็นบาปเหล่านั้น ที่เกิดขึ้นแล้วแก่เขา ตามความเป็นจริง.
ภิกษุรู้แจ้งธรรมด้วยใจแล้ว ย่อมยินดีในธรรมที่น่ารัก ย่อมขัดเคืองในธรรมที่ไม่น่ารัก เป็นผู้ไม่ตั้งไว้ซึ่งกายคตาสติ เป็นผู้มีใจเล็กน้อย และย่อมไม่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันเป็นที่ดับไปไม่เหลือแห่งอกุศลธรรมอันเป็นบาปเหล่านั้น ที่เกิดขึ้นแล้วแก่เขา ตามความเป็นจริง.
ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษจับสัตว์ ๖ ชนิด ซึ่งมีที่อยู่อาศัยต่างกัน มีทางหากินต่างกัน คือ เขาจับงูแล้วผูกด้วยเชือกที่เหนียว จับจระเข้แล้วผูกด้วยเชือกที่เหนียว จับนกแล้วผูกด้วยเชือกที่เหนียว จับสุนัขบ้านแล้วผูกด้วยเชือกที่เหนียว จับสุนัขจิ้งจอกแล้วผูกด้วยเชือกที่เหนียว จับลิงแล้วผูกด้วยเชือกที่เหนียว ครั้นแล้วขมวดเป็นปมไว้ตรงกลาง แล้วจึงปล่อย ภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น สัตว์ทั้ง ๖ ชนิดซึ่งมีที่อยู่อาศัยต่างกัน มีทางหากินต่างกันเหล่านั้น ก็พากันดึงไปสู่ทางหากิน และที่อยู่อาศัยของตนๆ งูพึงดึงไปด้วยคิดว่าเราจักเข้าไปสู่จอมปลวก จระเข้พึงดึงไปด้วยคิดว่าเราจักลงน้ำ นกพึงดึงไปด้วยคิดว่าเราจักบินขึ้นสู่อากาศ สุนัขบ้านพึงดึงไปด้วยคิดว่าเราจักเข้าบ้าน สุนัขจิ้งจอกพึงดึงไปด้วยคิดว่าเราจักไปสู่ป่าช้า ลิงพึงดึงไปด้วยคิดว่าเราจักไปสู่ป่า ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด สัตว์ทั้ง ๖ ชนิดเหล่านั้น ที่ต่างก็จะไปตามใจของตนๆ ครั้นเหนื่อยล้ากันทั้งหมดแล้ว เมื่อนั้น ในบรรดาสัตว์เหล่านั้น สัตว์ใดมีกำลังมากกว่า สัตว์เหล่านั้นก็จะถูกลากติดตามไป ตามอำนาจแห่งสัตว์นั้น.
ภิกษุทั้งหลาย ฉันใดก็ฉันนั้น กายคตาสติอันผู้ใดผู้หนึ่ง ไม่เจริญ ไม่กระทำให้มากแล้ว ตาย่อมฉุดภิกษุนั้นไปในรูปที่น่าพอใจ รูปที่ไม่น่าพอใจย่อมรู้สึกเป็นของปฏิกูล หูย่อมฉุดภิกษุนั้นไปในเสียงที่น่าพอใจ เสียงที่ไม่น่าพอใจย่อมรู้สึกเป็นของปฏิกูล จมูกย่อมฉุดภิกษุนั้นไปในกลิ่นที่น่าพอใจ กลิ่นที่ไม่น่าพอใจย่อมรู้สึกเป็นของปฏิกูล ลิ้นย่อมฉุดภิกษุนั้นไปในรสที่น่าพอใจ รสที่ไม่น่าพอใจย่อมรู้สึกเป็นของปฏิกูล กายย่อมฉุดภิกษุนั้นไปในโผฏฐัพพะที่น่าพอใจ โผฏฐัพพะที่ไม่น่าพอใจย่อมรู้สึกเป็นของปฏิกูล ใจย่อมฉุดภิกษุนั้นไปในธรรมที่น่าพอใจ ธรรมที่ไม่น่าพอใจย่อมรู้สึกเป็นของปฏิกูล.
ภิกษุทั้งหลาย ความไม่สำรวม (อสังวร) เป็นอย่างนี้แล.
ภิกษุทั้งหลาย ความสำรวม (สังวร) เป็นอย่างไร คือ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในกรณีนี้ เห็นรูปด้วยตาแล้ว ย่อมไม่ยินดีในรูปที่น่ารัก ย่อมไม่ขัดเคืองในรูปที่ไม่น่ารัก เป็นผู้ตั้งไว้ซึ่งกายคตาสติ เป็นผู้มีใจหาประมาณไม่ได้ และย่อมรู้ชัดซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันเป็นที่ดับไม่เหลือแห่งอกุศลธรรมอันเป็นบาปเหล่านั้น ที่เกิดขึ้นแล้วแก่เขา ตามความเป็นจริง.
ภิกษุฟังเสียงด้วยหูแล้ว ย่อมไม่ยินดีในเสียงที่น่ารัก ย่อมไม่ขัดเคืองในเสียงที่ไม่น่ารัก เป็นผู้ตั้งไว้ซึ่งกายคตาสติ เป็นผู้มีใจหาประมาณไม่ได้ และย่อมรู้ชัดซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันเป็นที่ดับไม่เหลือแห่งอกุศลธรรมอันเป็นบาปเหล่านั้น ที่เกิดขึ้นแล้วแก่เขา ตามความเป็นจริง.
ภิกษุดมกลิ่นด้วยจมูกแล้ว ย่อมไม่ยินดีในกลิ่นที่น่ารัก ย่อมไม่ขัดเคืองในกลิ่นที่ไม่น่ารัก เป็นผู้ตั้งไว้ซึ่งกายคตาสติ เป็นผู้มีใจหาประมาณไม่ได้ และย่อมรู้ชัดซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันเป็นที่ดับไม่เหลือแห่งอกุศลธรรมอันเป็นบาปเหล่านั้น ที่เกิดขึ้นแล้วแก่เขา ตามความเป็นจริง.
ภิกษุรู้รสด้วยลิ้นแล้ว ย่อมไม่ยินดีในรสที่น่ารัก ย่อมไม่ขัดเคืองในรสที่ไม่น่ารัก เป็นผู้ตั้งไว้ซึ่งกายคตาสติ เป็นผู้มีใจหาประมาณไม่ได้ และย่อมรู้ชัดซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันเป็นที่ดับไม่เหลือแห่งอกุศลธรรมอันเป็นบาปเหล่านั้น ที่เกิดขึ้นแล้วแก่เขา ตามความเป็นจริง.
ภิกษุถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว ย่อมไม่ยินดีในโผฏฐัพพะที่น่ารัก ย่อมไม่ขัดเคืองในโผฏฐัพพะที่ไม่น่ารัก เป็นผู้ตั้งไว้ซึ่งกายคตาสติ เป็นผู้มีใจหาประมาณไม่ได้ และย่อมรู้ชัดซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันเป็นที่ดับไม่เหลือแห่งอกุศลธรรมอันเป็นบาปเหล่านั้น ที่เกิดขึ้นแล้วแก่เขา ตามความเป็นจริง.
ภิกษุรู้แจ้งธรรมด้วยใจแล้ว ย่อมไม่ยินดีในธรรมที่น่ารัก ย่อมไม่ขัดเคืองในธรรมที่ไม่น่ารัก เป็นผู้ตั้งไว้ซึ่งกายคตาสติ เป็นผู้มีใจหาประมาณไม่ได้ และย่อมรู้ชัดซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันเป็นที่ดับไปไม่เหลือแห่งอกุศลธรรมอันเป็นบาปเหล่านั้น ที่เกิดขึ้นแล้วแก่เขา ตามความเป็นจริง.
ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษจับสัตว์ ๖ ชนิด ซึ่งมีที่อยู่อาศัยต่างกัน มีทางหากินต่างกัน คือ เขาจับงูแล้วผูกด้วยเชือกที่เหนียว จับจระเข้แล้วผูกด้วยเชือกที่เหนียว จับนกแล้วผูกด้วยเชือกที่เหนียว จับสุนัขบ้านแล้วผูกด้วยเชือกที่เหนียว จับสุนัขจิ้งจอกแล้วผูกด้วยเชือกที่เหนียว จับลิงแล้วผูกด้วยเชือกที่เหนียว ครั้นแล้วนำไปผู้ไว้ที่หลักหรือเสาอันมั่นคง ภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น สัตว์ทั้ง ๖ ชนิดซึ่งมีที่อยู่อาศัยต่างกัน มีทางหากินต่างกันเหล่านั้น ก็พากันดึงไปสู่ทางหากิน และที่อยู่อาศัยของตนๆ งูพึงดึงไปด้วยคิดว่าเราจักเข้าไปสู่จอมปลวก จระเข้พึงดึงไปด้วยคิดว่าเราจักลงน้ำ นกพึงดึงไปด้วยคิดว่าเราจักบินขึ้นสู่อากาศ สุนัขบ้านพึงดึงไปด้วยคิดว่าเราจักเข้าบ้าน สุนัขจิ้งจอกพึงดึงไปด้วยคิดว่าเราจักไปสู่ป่าช้า ลิงพึงดึงไปด้วยคิดว่าเราจักไปสู่ป่า ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด สัตว์ทั้ง ๖ ชนิดเหล่านั้น ที่ต่างก็จะไปตามใจของตนๆ ครั้นเหนื่อยล้ากันทั้งหมดแล้ว เมื่อนั้น สัตว์เหล่านั้น ก็จะยืนพิง นั่งพิง นอนพิง อยู่ที่หลักหรือเสาอันมั่นคงนั้น.
ภิกษุทั้งหลาย ฉันใดก็ฉันนั้น กายคตาสติอันผู้ใดผู้หนึ่ง เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ตาย่อมไม่ฉุดภิกษุนั้นไปในรูปที่น่าพอใจ รูปที่ไม่น่าพอใจย่อมไม่รู้สึกเป็นของปฏิกูล หูย่อมไม่ฉุดภิกษุนั้นไปในเสียงที่น่าพอใจ เสียงที่ไม่น่าพอใจย่อมไม่รู้สึกเป็นของปฏิกูล จมูกย่อมไม่ฉุดภิกษุนั้นไปในกลิ่นที่น่าพอใจ กลิ่นที่ไม่น่าพอใจย่อมไม่รู้สึกเป็นของปฏิกูล ลิ้นย่อมไม่ฉุดภิกษุนั้นไปในรสที่น่าพอใจ รสที่ไม่น่าพอใจย่อมไม่รู้สึกเป็นของปฏิกูล กายย่อมไม่ฉุดภิกษุนั้นไปในโผฏฐัพพะที่น่าพอใจ โผฏฐัพพะที่ไม่น่าพอใจย่อมไม่รู้สึกเป็นของปฏิกูล ใจย่อมไม่ฉุดภิกษุนั้นไปในธรรมที่น่าพอใจ ธรรมที่ไม่น่าพอใจย่อมไม่รู้สึกเป็นของปฏิกูล.
ภิกษุทั้งหลาย ความสำรวม (สังวร) เป็นอย่างนี้แล.
ภิกษุทั้งหลาย คำว่า หลักหรือเสาอันมั่นคงนั้น เป็นชื่อของกายคตาสติ ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า กายคตาสติเป็นสิ่งที่เราทั้งหลาย จักเจริญ กระทำให้มาก ทำให้เป็นดุจยาน ทำให้เป็นที่อาศัยได้ ประพฤติสั่งสมเนืองๆ ปรารภสม่ำเสมอด้วยดี ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล.
-บาลี สฬา. สํ. 18/246/347.
https://84000.org/tipitaka/pali/?18//246
https://etipitaka.com/read/pali/18/246/