Causes of harmony. (Cūḷagosiṅgasutta)
English translation by Bhikkhu Sujato
So I have heard. At one time the Buddha was staying at Ñātika in the brick house.
Now at that time the venerables Anuruddha, Nandiya, and Kimbila were staying in the sal forest park at Gosiṅga.
Then in the late afternoon, the Buddha came out of retreat and went to that park. The park keeper saw the Buddha coming off in the distance and said to him, “Don’t come into this park, ascetic. There are three gentlemen who love themselves staying here. Don’t disturb them.”
Anuruddha heard the park keeper conversing with the Buddha, and said to him, “Don’t keep the Buddha out, good park keeper! Our Teacher, the Blessed One, has arrived.” Then Anuruddha went to Nandiya and Kimbila, and said to them, “Come forth, venerables, come forth! Our Teacher, the Blessed One, has arrived!”
Then Anuruddha, Nandiya, and Kimbila came out to greet the Buddha. One received his bowl and robe, one spread out a seat, and one set out water for washing his feet. He sat on the seat spread out and washed his feet. Those venerables bowed and sat down to one side.
The Buddha said to Anuruddha, “I hope you’re keeping well, Anuruddha and friends; I hope you’re alright. And I hope you’re having no trouble getting almsfood.”
“We’re alright, Blessed One, we’re getting by. And we have no trouble getting almsfood.”
“I hope you’re living in harmony, appreciating each other, without quarreling, blending like milk and water, and regarding each other with kindly eyes?”
“Indeed, sir, we live in harmony like this.”
“But how do you live this way?”
“In this case, sir, I think, ‘I’m fortunate, so very fortunate, to live together with spiritual companions such as these.’ I consistently treat these venerables with kindness by way of body, speech, and mind, both in public and in private. I think, ‘Why don’t I set aside my own ideas and just go along with these venerables’ ideas?’ And that’s what I do. Though we’re different in body, sir, we’re one in mind, it seems to me.”
And the venerables Nandiya and Kimbila spoke likewise, and they added: “That’s how we live in harmony, appreciating each other, without quarreling, blending like milk and water, and regarding each other with kindly eyes.”
“Good, good, Anuruddha and friends! But I hope you’re living diligently, keen, and resolute?”
“Indeed, sir, we live diligently.”
“But how do you live this way?”
“In this case, sir, whoever returns first from almsround prepares the seats, and puts out the drinking water and the rubbish bin. If there’s anything left over, whoever returns last eats it if they like. Otherwise they throw it out where there is little that grows, or drop it into water that has no living creatures. Then they put away the seats, drinking water, and rubbish bin, and sweep the refectory. If someone sees that the pot of water for washing, drinking, or the toilet is empty they set it up. If he can’t do it, he summons another with a wave of the hand, and they set it up by lifting it with their hands. But we don’t break into speech for that reason. And every five days we sit together for the whole night and discuss the teachings. That’s how we live diligently, keen, and resolute.”
“Good, good, Anuruddha and friends! But as you live diligently like this, have you achieved any superhuman distinction in knowledge and vision worthy of the noble ones, a meditation at ease?”
“How could we not, sir? Whenever we want, quite secluded from sensual pleasures, secluded from unskillful qualities, we enter and remain in the first absorption, which has the rapture and bliss born of seclusion, while placing the mind and keeping it connected. This is a superhuman distinction in knowledge and vision worthy of the noble ones, a meditation at ease, that we have achieved while living diligent, keen, and resolute.”
“Good, good! But have you achieved any other superhuman distinction for going beyond and stilling that meditation?”
“How could we not, sir? Whenever we want, as the placing of the mind and keeping it connected are stilled, we enter and remain in the second absorption, which has the rapture and bliss born of immersion, with internal clarity and confidence, and unified mind, without placing the mind and keeping it connected. This is another superhuman distinction that we have achieved for going beyond and stilling that meditation.”
“Good, good! But have you achieved any other superhuman distinction for going beyond and stilling that meditation?”
“How could we not, sir? Whenever we want, with the fading away of rapture, we enter and remain in the third absorption, where we meditate with equanimity, mindful and aware, personally experiencing the bliss of which the noble ones declare, ‘Equanimous and mindful, one meditates in bliss.’ This is another superhuman distinction that we have achieved for going beyond and stilling that meditation.”
“Good, good! But have you achieved any other superhuman distinction for going beyond and stilling that meditation?”
“How could we not, sir? Whenever we want, with the giving up of pleasure and pain, and the ending of former happiness and sadness, we enter and remain in the fourth absorption, without pleasure or pain, with pure equanimity and mindfulness. This is another superhuman distinction that we have achieved for going beyond and stilling that meditation.”
“Good, good! But have you achieved any other superhuman distinction for going beyond and stilling that meditation?”
“How could we not, sir? Whenever we want, going totally beyond perceptions of form, with the ending of perceptions of impingement, not focusing on perceptions of diversity, aware that ‘space is infinite’, we enter and remain in the dimension of infinite space. This is another superhuman distinction that we have achieved for going beyond and stilling that meditation.”
“Good, good! But have you achieved any other superhuman distinction for going beyond and stilling that meditation?”
“How could we not, sir? Whenever we want, going totally beyond the dimension of infinite space, aware that ‘consciousness is infinite’, we enter and remain in the dimension of infinite consciousness. … going totally beyond the dimension of infinite consciousness, aware that ‘there is nothing at all’, we enter and remain in the dimension of nothingness. … going totally beyond the dimension of nothingness, we enter and remain in the dimension of neither perception nor non-perception. This is another superhuman distinction that we have achieved for going beyond and stilling that meditation.”
“Good, good! But have you achieved any other superhuman distinction for going beyond and stilling that meditation?”
“How could we not, sir? Whenever we want, going totally beyond the dimension of neither perception nor non-perception, we enter and remain in the cessation of perception and feeling. And, having seen with wisdom, our defilements have come to an end. This is another superhuman distinction in knowledge and vision worthy of the noble ones, a meditation at ease, that we have achieved for going beyond and stilling that meditation. And we don’t see any better or finer way of meditating at ease than this.”
“Good, good! There is no better or finer way of meditating at ease than this.”
Then the Buddha educated, encouraged, fired up, and inspired the venerables Anuruddha, Nandiya, and Kimbila with a Dhamma talk, after which he got up from his seat and left.
The venerables then accompanied the Buddha for a little way before turning back. Nandiya and Kimbila said to Anuruddha, “Did we ever tell you that we had gained such and such meditations and attainments, up to the ending of defilements, as you revealed to the Buddha?”
“The venerables did not tell me that they had gained such meditations and attainments. But I discovered it by comprehending your minds, and deities also told me. I answered when the Buddha directly asked about it.”
English translation by Bhikkhu Bodhi
Thus have I heard. On one occasion the Blessed One was living at Nādikā in the Brick House.
Now on that occasion the venerable Anuruddha, the venerable Nandiya, and the venerable Kimbila were living at the Park of the Gosinga Sāla-tree Wood.
Then, when it was evening, the Blessed One rose from meditation and went to the Park of the Gosinga Sāla-tree Wood. The park keeper saw the Blessed One coming in the distance and told him: “Do not enter this park, recluse. There are three clansmen here seeking their own good. Do not disturb them.”
The venerable Anuruddha heard the park keeper speaking to the Blessed One and told him: “Friend park keeper, do not keep the Blessed One out. It is our Teacher, the Blessed One, who has come.” Then the venerable Anuruddha went to the venerable Nandiya and the venerable Kimbila and said: “Come out, venerable sirs, come out! Our Teacher, the Blessed One, has come.”
Then all three went to meet the Blessed One. One took his bowl and outer robe, one prepared a seat, and one set out water for washing the feet. The Blessed One sat down on the seat made ready and washed his feet. Then those three venerable ones paid homage to the Blessed One and sat down at one side. When they were seated, the Blessed One said to them: “I hope you are all keeping well, Anuruddha, I hope you are all comfortable, I hope you are not having any trouble getting almsfood.”
“We are keeping well, Blessed One, we are comfortable, and we are not having any trouble getting almsfood.”
“I hope, Anuruddha, that you are all living in concord, with mutual appreciation, without disputing, blending like milk and water, viewing each other with kindly eyes.”
“Surely, venerable sir, we are living in concord, with mutual appreciation, without disputing, blending like milk and water, viewing each other with kindly eyes.”
“But, Anuruddha, how do you live thus?”
“Venerable sir, as to that, I think thus: ‘It is a gain for me, it is a great gain for me, that I am living with such companions in the holy life.’ I maintain bodily acts of loving-kindness towards those venerable ones both openly and privately; I maintain verbal acts of loving-kindness towards them both openly and privately; I maintain mental acts of loving-kindness towards them both openly and privately. I consider: ‘Why should I not set aside what I wish to do and do what these venerable ones wish to do?’ Then I set aside what I wish to do and do what these venerable ones wish to do. We are different in body, venerable sir, but one in mind.”
The venerable Nandiya and the venerable Kimbila each spoke likewise, adding: “That is how, venerable sir, we are living in concord, with mutual appreciation, without disputing, blending like milk and water, viewing each other with kindly eyes.”
“Good, good, Anuruddha. I hope that you all abide diligent, ardent, and resolute.”
“Surely, venerable sir, we abide diligent, ardent, and resolute.”
“But, Anuruddha, how do you abide thus?”
“Venerable sir, as to that, whichever of us returns first from the village with almsfood prepares the seats, sets out the water for drinking and for washing, and puts the refuse bucket in its place. Whichever of us returns last eats any food left over, if he wishes; otherwise he throws it away where there is no greenery or drops it into water where there is no life. He puts away the seats and the water for drinking and for washing. He puts away the refuse bucket after washing it and he sweeps out the refectory. Whoever notices that the pots of water for drinking, washing, or the latrine are low or empty takes care of them. If they are too heavy for him, he calls someone else by a signal of the hand and they move it by joining hands, but because of this we do not break out into speech. But every five days we sit together all night discussing the Dhamma. That is how we abide diligent, ardent, and resolute.”
“Good, good, Anuruddha. But while you abide thus diligent, ardent, and resolute, have you attained any superhuman state, a distinction in knowledge and vision worthy of the noble ones, a comfortable abiding?”
“Why not, venerable sir? Here, venerable sir, whenever we want, quite secluded from sensual pleasures, secluded from unwholesome states, we enter upon and abide in the first jhāna, which is accompanied by applied and sustained thought, with rapture and pleasure born of seclusion. Venerable sir, this is a superhuman state, a distinction in knowledge and vision worthy of the noble ones, a comfortable abiding, which we have attained while abiding diligent, ardent, and resolute.”
“Good, good, Anuruddha. But is there any other superhuman state, a distinction in knowledge and vision worthy of the noble ones, a comfortable abiding, which you have attained by surmounting that abiding, by making that abiding subside?”
“Why not, venerable sir? Here, venerable sir, whenever we want, with the stilling of applied and sustained thought, we enter upon and abide in the second jhāna…With the fading away as well of rapture…we enter upon and abide in the third jhāna…With the abandoning of pleasure and pain…we enter upon and abide in the fourth jhāna…Venerable sir, this is another superhuman state, a distinction in knowledge and vision worthy of the noble ones, a comfortable abiding, which we have attained by surmounting the preceding abiding, by making that abiding subside.”
“Good, good, Anuruddha. But is there any other superhuman state…which you have attained by surmounting that abiding, by making that abiding subside?”
“Why not, venerable sir? Here, venerable sir, whenever we want, with the complete surmounting of perceptions of form, with the disappearance of perceptions of sensory impact, with non-attention to perceptions of diversity, aware that ‘space is infinite,’ we enter upon and abide in the base of infinite space. Venerable sir, this is another superhuman state…which we have attained by surmounting the preceding abiding, by making that abiding subside.”
“Good, good, Anuruddha. But is there any other superhuman state…which you have attained by surmounting that abiding, by making that abiding subside?”
“Why not, venerable sir? Here, venerable sir, whenever we want, by completely surmounting the base of infinite space, aware that ‘consciousness is infinite,’ we enter upon and abide in the base of infinite consciousness…By completely surmounting the base of infinite consciousness, aware that ‘there is nothing, ’ we enter upon and abide in the base of nothingness…By completely surmounting the base of nothingness, we enter upon and abide in the base of neither-perception-nor-non-perception. Venerable sir, this is another superhuman state…which we have attained by surmounting the preceding abiding, by making that abiding subside.”
“Good, good Anuruddha. But is there any other superhuman state, a distinction in knowledge and vision worthy of the noble ones, a comfortable abiding, which you have attained by surmounting that abiding, by making that abiding subside?”
“Why not, venerable sir? Here, venerable sir, whenever we want, by completely surmounting the base of neither-perception-nor-non-perception, we enter upon and abide in the cessation of perception and feeling. And our taints are destroyed by our seeing with wisdom. Venerable sir, this is another superhuman state, a distinction in knowledge and vision worthy of the noble ones, a comfortable abiding, which we have attained by surmounting the preceding abiding, by making that abiding subside. And, venerable sir, we do not see any other comfortable abiding higher or more sublime than this one.”
“Good, good Anuruddha. There is no other comfortable abiding higher or more sublime than that one.”
Then, when the Blessed One had instructed, urged, roused, and gladdened the venerable Anuruddha, the venerable Nandiya, and the venerable Kimbila with a talk on the Dhamma, he rose from his seat and departed.
After they had accompanied the Blessed One a little way and turned back again, the venerable Nandiya and the venerable Kimbila asked the venerable Anuruddha: “Have we ever reported to the venerable Anuruddha that we have obtained those abidings and attainments that the venerable Anuruddha, in the Blessed One’s presence, ascribed to us up to the destruction of the taints?”
“The venerable ones have never reported to me that they have obtained those abidings and attainments. Yet by encompassing the venerable ones’ minds with my own mind, I know that they have obtained those abidings and attainments. And deities have also reported to me: ‘These venerable ones have obtained those abidings and attainments.’ Then I declared it when directly questioned by the Blessed One.”
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ที่พักซึ่งสร้างด้วยอิฐในนาทิกคาม ก็สมัยนั้นท่านพระอนุรุทธะ ท่านพระนันทิยะ ท่านพระกิมิละ อยู่ที่ป่าโคสิงคสาลวัน ครั้งนั้นเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่ประทับพักผ่อนแล้ว เสด็จเข้าไปยังป่าโคสิงคสาลวัน นายทายบาล (ผู้รักษาป่า) ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเสด็จมาแต่ไกล ครั้นแล้วได้กล่าวกะพระผู้มีพระภาค ดังนี้ว่า
ข้าแต่สมณะ ท่านอย่าเข้าไปยังป่านี้เลย ในที่นี้มีกุลบุตร ๓ ท่าน ซึ่งเป็นผู้ปรารถนาในประโยชน์ของตนอยู่ ท่านอย่าได้กระทำความไม่ผาสุกให้แก่ท่านทั้ง ๓ นั้นเลย.
เมื่อนายทายบาลกล่าวกะพระผู้มีพระภาคอยู่ ท่านพระอนุรุทธะได้ยินแล้ว จึงได้บอกนายทายบาลดังนี้ว่า นายทายบาลผู้มีอายุ ท่านอย่าได้ห้ามพระผู้มีพระภาคเลย พระผู้มีพระภาคผู้เป็นศาสดาของพวกเราเสด็จมาถึงแล้ว.
ลำดับนั้น ท่านพระอนุรุทธะได้เข้าไปหาท่านพระนันทิยะ และท่านพระกิมิละถึงที่อยู่ ครั้นแล้วได้บอกว่า รีบออกไปเถิด ท่านผู้มีอายุ รีบออกไปเถิด ท่านผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคผู้เป็นศาสดาของพวกเราเสด็จมาถึงแล้ว.
ท่านพระอนุรุทธะ ท่านพระนันทิยะ และท่านพระกิมิละ ได้ต้อนรับพระผู้มีพระภาค รูปหนึ่งรับบาตรและจีวรของพระผู้มีพระภาค รูปหนึ่งปูอาสนะ รูปหนึ่งตั้งน้ำล้างเท้า พระผู้มีพระภาคประทับนั่งบนอาสนะที่ปูถวาย ครั้นล้างพระบาทแล้ว.
ท่านผู้มีอายุเหล่านั้น ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วนั่งในที่สมควร.
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะท่านพระอนุรุทธะว่า อนุรุทธะทั้งหลาย พวกเธอพอจะอดทนได้หรือ พอจะยังชีวิตให้เป็นไปได้หรือ พวกเธอไม่ลำบากด้วยบิณฑบาตหรือ.
ข้าแต่พระผู้มีพระภาค พวกข้าพระองค์พอจะอดทนได้ พอจะยังมีชีวิตให้เป็นไปได้ พวกข้าพระองค์ไม่ลำบากด้วยบิณฑบาต.
อนุรุทธะทั้งหลาย พวกเธอยังมีความพร้อมเพรียงกัน ชื่นชมต่อกัน ไม่วิวาทกัน เป็นเหมือนน้ำนมกับน้ำ ต่างมองดูกันและกันด้วยสายตาอันเปี่ยมด้วยความรักอยู่หรือ.
ภันเต พวกข้าพระองค์มีความพร้อมเพรียงกัน ชื่นชมต่อกัน ไม่วิวาทกัน เป็นเหมือนน้ำนมกับน้ำ ต่างมองดูกันและกันด้วยสายตาอันเปี่ยมด้วยความรักอยู่.
อนุรุทธะทั้งหลาย ก็พวกเธอมีความพร้อมเพรียงกัน ชื่นชมต่อกัน ไม่วิวาทกัน เป็นเหมือนน้ำนมกับน้ำ ต่างมองดูกันและกันด้วยสายตาอันเปี่ยมด้วยความรักอยู่ได้ ด้วยเหตุอย่างไร.
ภันเต ข้าพระองค์มีความดำริอย่างนี้ว่า เป็นลาภของเราหนอ เราได้ดีแล้วหนอ ที่ได้อยู่ร่วมกับเพื่อนพรหมจรรย์เห็นปานนี้ ข้าพระองค์เข้าไปตั้งกายกรรมประกอบด้วยเมตตาในท่านเหล่านี้ ทั้งต่อหน้าและลับหลัง เข้าไปตั้งวจีกรรมประกอบด้วยเมตตาในท่านเหล่านี้ ทั้งต่อหน้าและลับหลัง เข้าไปตั้งมโนกรรมประกอบด้วยเมตตาในท่านหล่านี้ ทั้งต่อหน้าและลับหลัง ข้าพระองค์มีความดำริอย่างนี้ว่า ทางที่ดี เราพึงเก็บจิตของตนเสีย ประพฤติตามอำนาจจิตของท่านเหล่านี้ แล้วข้าพระองค์ก็เก็บจิตของตนเสีย ประพฤติอยู่ตามอำนาจจิตของท่านเหล่านี้ กายของพวกข้าพระองค์ต่างกันก็จริง แต่ว่าจิตดูเหมือนเป็นอันเดียวกัน.
แม้ท่านพระนันทิยะ … แม้ท่านพระกิมิละ ก็ได้ทูลพระผู้มีพระภาคว่า ภันเต แม้ข้าพระองค์ก็มีความดำริอย่างนี้ว่า เป็นลาภของเราหนอ เราได้ดีแล้วหนอ ที่ได้อยู่ร่วมกับเพื่อนพรหมจรรย์เห็นปานนี้ ข้าพระองค์เข้าไปตั้งกายกรรมประกอบด้วยเมตตาในท่านเหล่านี้ ทั้งต่อหน้าและลับหลัง เข้าไปตั้งวจีกรรมประกอบด้วยเมตตาในท่านเหล่านี้ ทั้งต่อหน้าและลับหลัง เข้าไปตั้งมโนกรรมประกอบด้วยเมตตาในท่านหล่านี้ ทั้งต่อหน้าและลับหลัง ข้าพระองค์มีความดำริอย่างนี้ว่า ทางที่ดี เราพึงเก็บจิตของตนเสีย ประพฤติตามอำนาจจิตของท่านเหล่านี้ แล้วข้าพระองค์ก็เก็บจิตของตนเสีย ประพฤติอยู่ตามอำนาจจิตของท่านเหล่านี้ กายของพวกข้าพระองค์ต่างกันก็จริง แต่ว่าจิตดูเหมือนเป็นอันเดียวกัน.
ภันเต พวกข้าพระองค์ยังมีความพร้อมเพรียงกัน ชื่นชมต่อกัน ไม่วิวาทกัน เป็นเหมือนน้ำนมกับน้ำ ต่างมองดูกันและกันด้วยสายตาอันเปี่ยมด้วยความรักอยู่ ด้วยประการอย่างนี้.
สาธุ สาธุ อนุรุทธะทั้งหลาย อนุรุทธะทั้งหลาย พวกเธอเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งตนไปแล้ว (ในธรรม) อยู่หรือ.
ภันเต พวกข้าพระองค์เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งตนไปแล้วอยู่.
อนุรุทธะทั้งหลาย ก็พวกเธอเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งตนไปแล้วอยู่ได้ ด้วยเหตุอย่างไร.
ภันเต ในกรณีนี้ บรรดาพวกข้าพระองค์ ท่านผู้ใดบิณฑบาตกลับจากหมู่บ้านมาก่อน ท่านผู้นั้นย่อมปูอาสนะ ตั้งน้ำฉัน ตั้งน้ำใช้ไว้ ตั้งถาดสำรับไว้ ท่านผู้ใดบิณฑบาตกลับจากหมู่บ้านทีหลัง ถ้ามีบิณฑบาตเหลือยู่ หากประสงค์ก็ฉัน ถ้าไม่ประสงค์ก็ทิ้งเสียในที่ปราศจากของเขียว หรือเทลงในน้ำที่ไม่มีสัตว์ ท่านผู้นั้นเก็บอาสนะ เก็บน้ำฉัน เก็บน้ำใช้ เก็บถาดสำรับ กวาดโรงภัตตาหาร ท่านผู้ใดเห็นหม้อน้ำฉัน หม้อน้ำใช้ หรือหม้อน้ำชำระว่างเปล่า ท่านผู้นั้นก็เข้าไปเติมไว้ ถ้าเหลือวิสัยของท่าน ก็กวักมือเรียกรูปที่สองแล้วช่วยกันยกเข้าไปเติมไว้ พวกข้าพระองค์ไม่เปล่งวาจา เพราะข้อนั้นเป็นปัจจัย และทุก ๕ วัน1 พวกข้าพระองค์ นั่งสนทนาธรรมีกถาตลอดคืนจนถึงรุ่งเช้า ภันเต พวกข้าพระองค์เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปอยู่ ด้วยประการอย่างนี้.
สาธุ สาธุ อนุรุทธะทั้งหลาย อนุรุทธะทั้งหลาย ก็เมื่อพวกเธอเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียรส่งตนไปอยู่อย่างนี้ คุณวิเศษคือญาณทัสสนะอันสามารถกระทำความเป็นอริยะ อันยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์2 ซึ่งเป็นเครื่องอยู่ผาสุก ที่พวกเธอได้บรรลุแล้ว มีอยู่ไหม.
ภันเต จะไม่มีได้อย่างไร ภันเต ในกรณีนี้ พวกข้าพระองค์เพียงแค่ต้องการเท่านั้น ก็สามารถเพราะสงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย จึงบรรลุปฐมฌาน อันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุข อันเกิดจากวิเวกแล้วแลอยู่ เมื่อพวกข้าพระองค์เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปอยู่ คุณวิเศษคือญาณทัสสนะอันสามารถกระทำความเป็นอริยะ อันยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ ซึ่งเป็นเครื่องอยู่ผาสุกนี้แล ที่พวกข้าพระองค์ได้บรรลุแล้ว.
สาธุ สาธุ อนุรุทธะทั้งหลาย อนุรุทธะทั้งหลาย ก็คุณวิเศษคือญาณทัสสนะอันสามารถกระทำความเป็นอริยะ อันยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ ซึ่งเป็นเครื่องอยู่ผาสุกอย่างอื่น ที่พวกเธอได้บรรลุแล้ว เพื่อความก้าวล่วง เพื่อความสงบระงับ แห่งธรรมเป็นเครื่องอยู่นี้ ยังมีอีกไหม.
ภันเต จะไม่มีได้อย่างไร ภันเต ในกรณีนี้ พวกข้าพระองค์เพียงแค่ต้องการเท่านั้น ก็สามารถเพราะวิตกวิจารระงับไป จึงบรรลุทุติยฌาน อันเป็นเครื่องผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุข อันเกิดจากสมาธิแล้วแลอยู่ นี้เป็นคุณวิเศษคือญาณทัสสนะอันสามารถกระทำความเป็นอริยะ อันยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ ซึ่งเป็นเครื่องอยู่ผาสุกอย่างอื่น ที่พวกข้าพระองค์ได้บรรลุแล้ว เพื่อความก้าวล่วง เพื่อความสงบระงับ แห่งธรรมเป็นเครื่องอยู่นั้น.
สาธุ สาธุ อนุรุทธะทั้งหลาย อนุรุทธะทั้งหลาย ก็คุณวิเศษคือญาณทัสสนะอันสามารถกระทำความเป็นอริยะ อันยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ ซึ่งเป็นเครื่องอยู่ผาสุกอย่างอื่น ที่พวกเธอได้บรรลุแล้ว … ยังมีอีกไหม.
ภันเต จะไม่มีได้อย่างไร ภันเต ในกรณีนี้ พวกข้าพระองค์เพียงแค่ต้องการเท่านั้น ก็สามารถเพราะความจางคลายไปแห่งปีติ จึงอยู่อุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ และเสวยสุขด้วยกาย จึงบรรลุตติยฌาน อันพระอริยะกล่าวว่า ผู้นั้นเป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุขแล้วแลอยู่ นี้เป็นคุณวิเศษคือญาณทัสสนะอันสามารถกระทำความเป็นอริยะ อันยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ ซึ่งเป็นเครื่องอยู่ผาสุกอย่างอื่น ที่พวกข้าพระองค์ได้บรรลุแล้ว … .
สาธุ สาธุ อนุรุทธะ อนุรุทธะทั้งหลาย ก็คุณวิเศษคือญาณทัสสนะอันสามารถกระทำความเป็นอริยะ อันยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ ซึ่งเป็นเครื่องอยู่ผาสุกอย่างอื่น ที่พวกเธอได้บรรลุแล้ว … ยังมีอีกไหม.
ภันเต จะไม่มีได้อย่างไร ภันเต ในกรณีนี้ พวกข้าพระองค์เพียงแค่ต้องการเท่านั้น ก็สามารถเพราะละสุขและทุกข์เสียได้ เพราะความดับไปแห่งโสมนัสและโทมนัสในกาลก่อน จึงบรรลุจตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีแต่ความบริสุทธิ์แห่งสติเพราะอุเบกขาแล้วแลอยู่ นี้เป็นคุณวิเศษคือญาณทัสสนะอันสามารถกระทำความเป็นอริยะ อันยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ ซึ่งเป็นเครื่องอยู่ผาสุกอย่างอื่น ที่พวกข้าพระองค์ได้บรรลุแล้ว … .
สาธุ สาธุ อนุรุทธะ อนุรุทธะทั้งหลาย ก็คุณวิเศษคือญาณทัสสนะอันสามารถกระทำความเป็นอริยะ อันยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ ซึ่งเป็นเครื่องอยู่ผาสุกอย่างอื่น ที่พวกเธอได้บรรลุแล้ว … ยังมีอีกไหม.
ภันเต จะไม่มีได้อย่างไร ภันเต ในกรณีนี้ พวกข้าพระองค์เพียงแค่ต้องการเท่านั้น ก็สามารถเพราะก้าวล่วงเสียได้ซึ่งรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะความดับไปแห่งปฏิฆสัญญา เพราะการไม่ทำไว้ในใจซึ่งนานัตตสัญญา จึงบรรลุอากาสานัญจายตนะ อันมีการทำในใจว่า อากาศไม่มีที่สุด ดังนี้แล้วแลอยู่ นี้เป็นคุณวิเศษคือญาณทัสสนะอันสามารถกระทำความเป็นอริยะ อันยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ ซึ่งเป็นเครื่องอยู่ผาสุกอย่างอื่น ที่พวกข้าพระองค์ได้บรรลุแล้ว … .
สาธุ สาธุ อนุรุทธะ อนุรุทธะทั้งหลาย ก็คุณวิเศษคือญาณทัสสนะอันสามารถกระทำความเป็นอริยะ อันยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ ซึ่งเป็นเครื่องอยู่ผาสุกอย่างอื่น ที่พวกเธอได้บรรลุแล้ว … ยังมีอีกไหม.
ภันเต จะไม่มีได้อย่างไร ภันเต ในกรณีนี้ พวกข้าพระองค์เพียงแค่ต้องการเท่านั้น ก็สามารถเพราะก้าวล่วงเสียได้ซึ่งอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง จึงบรรลุวิญญาณัญจายตนะ อันมีการทำในใจว่า วิญญาณไม่มีที่สุด ดังนี้แล้วแลอยู่ นี้เป็นคุณวิเศษคือญาณทัสสนะอันสามารถกระทำความเป็นอริยะ อันยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ ซึ่งเป็นเครื่องอยู่ผาสุกอย่างอื่น ที่พวกข้าพระองค์ได้บรรลุแล้ว … .
สาธุ สาธุ อนุรุทธะ อนุรุทธะทั้งหลาย ก็คุณวิเศษคือญาณทัสสนะอันสามารถกระทำความเป็นอริยะ อันยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ ซึ่งเป็นเครื่องอยู่ผาสุกอย่างอื่น ที่พวกเธอได้บรรลุแล้ว … ยังมีอีกไหม.
ภันเต จะไม่มีได้อย่างไร ภันเต ในกรณีนี้ พวกข้าพระองค์เพียงแค่ต้องการเท่านั้น ก็สามารถเพราะก้าวล่วงเสียได้ซึ่งวิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง จึงบรรลุอากิญจัญญายตนะ อันมีการทำในใจว่า อะไร ๆ ไม่มี ดังนี้แล้วแลอยู่ นี้เป็นคุณวิเศษคือญาณทัสสนะอันสามารถกระทำความเป็นอริยะ อันยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ ซึ่งเป็นเครื่องอยู่ผาสุกอย่างอื่น ที่พวกข้าพระองค์ได้บรรลุแล้ว … .
สาธุ สาธุ อนุรุทธะ อนุรุทธะทั้งหลาย ก็คุณวิเศษคือญาณทัสสนะอันสามารถกระทำความเป็นอริยะ อันยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ ซึ่งเป็นเครื่องอยู่ผาสุกอย่างอื่น ที่พวกเธอได้บรรลุแล้ว … ยังมีอีกไหม.
ภันเต จะไม่มีได้อย่างไร ภันเต ในกรณีนี้ พวกข้าพระองค์เพียงแค่ต้องการเท่านั้น ก็สามารถเพราะก้าวล่วงเสียได้ซึ่งอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง จึงบรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนะแล้วแลอยู่ นี้เป็นคุณวิเศษคือญาณทัสสนะอันสามารถกระทำความเป็นอริยะ อันยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ ซึ่งเป็นเครื่องอยู่ผาสุกอย่างอื่น ที่พวกข้าพระองค์ได้บรรลุแล้ว … .
สาธุ สาธุ อนุรุทธะ อนุรุทธะทั้งหลาย ก็คุณวิเศษคือญาณทัสสนะอันสามารถกระทำความเป็นอริยะ อันยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ ซึ่งเป็นเครื่องอยู่ผาสุกอย่างอื่น ที่พวกเธอได้บรรลุแล้ว เพื่อความก้าวล่วง เพื่อความสงบระงับ แห่งธรรมเป็นเครื่องอยู่นี้ ยังมีอีกไหม.
ภันเต จะไม่มีได้อย่างไร ภันเต ในกรณีนี้ พวกข้าพระองค์เพียงแค่ต้องการเท่านั้น ก็สามารถ เพราะก้าวล่วงเสียได้ซึ่งเนวสัญญานาสัญญายตนะโดยประการทั้งปวง จึงบรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธแล้วแลอยู่ และเพราะเห็นด้วยปัญญา อาสวะของท่านผู้นั้นย่อมหมดสิ้นไป นี้เป็นคุณวิเศษคือญาณทัสสนะอันสามารถกระทำความเป็นอริยะ อันยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ ซึ่งเป็นเครื่องอยู่ผาสุกอย่างอื่น ที่พวกข้าพระองค์ได้บรรลุแล้ว เพื่อความก้าวล่วง เพื่อความระงับ แห่งธรรมเป็นเครื่องอยู่นั้น.
ภันเต อนึ่ง พวกข้าพระองค์ยังไม่พิจารณาเห็นธรรมเป็นเครื่องอยู่ผาสุกอย่างอื่น ที่ยิ่งกว่า หรือประณีตกว่า ธรรมเป็นเครื่องอยู่ผาสุกนี้.
สาธุ สาธุ อนุรุทธะทั้งหลาย อนุทธะทั้งหลาย ธรรมเป็นเครื่องอยู่ผาสุกอย่างอื่น ที่ยิ่งกว่า หรือประณีตกว่า ธรรมเป็นเครื่องอยู่ผาสุกนี้ ไม่มีเลย.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคยังท่านพระอนุรุทธะ ท่านพระนันทิยะ และท่านพระกิมิละ ให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง ด้วยธรรมีกถา แล้วเสด็จลุกจากอาสนะหลีกไป ท่านพระอนุรุทธะ ท่านพระนันทิยะ และท่านพระกิมิละ ส่งเสด็จพระผู้มีพระภาค.
ครั้นกลับจากที่นั้นแล้ว ท่านพระนันทิยะ และท่านพระกิมิละ ได้กล่าวกะท่านพระอนุรุทธะว่า ท่านอนุรุทธะ ประกาศคุณวิเศษอันใดของพวกผม จนกระทั่งถึงความสิ้นอาสวะ ในที่เฉพาะหน้าพระผู้มีพระภาค พวกผมได้บอกคุณวิเศษนั้น แก่ท่านอนุรุทธะอย่างนี้หรือว่า พวกเราได้วิหารสมาบัติเหล่านี้ด้วย.
พวกท่านผู้ไม่ได้บอกแก่ะผมอย่างนี้ว่า พวกเราได้วิหารสมาบัติเหล่านี้ๆ แต่ว่าผมกำหนดรู้ใจของพวกท่านด้วยใจแล้วจึงรู้ได้ว่า ท่านเหล่านี้ได้วิหารสมาบัติเหล่านี้ๆ แม้พวกเทวดาก็ได้บอกเนื้อความข้อนี้แก่ผมว่า ท่านเหล่านี้ได้วิหารสมาบัติเหล่านี้ๆ ผมถูกพระผู้มีพระภาคตรัสถามปัญหาแล้ว จึงตอบคำถามด้วยเนื้อความนั้น. …
-บาลี มู. ม. 12/386/361.
https://84000.org/tipitaka/pali/?12//386
https://etipitaka.com/read/pali/12/386
1 บางสำนวนแปลใช้ว่า ทุกวันที่ ๕
2 ศัพท์บาลี คือ อุตฺตริ มนุสฺสธมฺมา อลมริยาณทสฺสนวิเสโส