Teaching for a wise lay follower who is gravely ill.
English translation by Bhikkhu Sujato
At that time several mendicants were making a robe for the Buddha, thinking that when his robe was finished and the three months of the rains residence had passed the Buddha would set out wandering.
Mahānāma the Sakyan heard about this. Then he went up to the Buddha, bowed, sat down to one side, and told him that he had heard that the Buddha was leaving. He added, “Sir, I haven’t heard and learned it in the presence of the Buddha how a wise lay follower should advise another wise lay follower who is sick, suffering, gravely ill.”
“Mahānāma, a wise lay follower should put at ease another wise lay follower who is sick, suffering, gravely ill with four consolations. ‘Be at ease, sir. You have experiential confidence in the Buddha … the teaching … the Saṅgha … And you have the ethical conduct loved by the noble ones … leading to immersion.’
When a wise lay follower has put at ease another wise lay follower who is sick, suffering, gravely ill with these four consolations, they should say: ‘Are you concerned for your mother and father?’ If they reply, ‘I am,’ they should say: ‘But sir, it’s your nature to die. Whether or not you are concerned for your mother and father, you will die anyway. It would be good to give up concern for your mother and father.’
If they reply, ‘I have given up concern for my mother and father,’ they should say: ‘But are you concerned for your partners and children?’ If they reply, ‘I am,’ they should say: ‘But sir, it’s your nature to die. Whether or not you are concerned for your partners and children, you will die anyway. It would be good to give up concern for your partners and children.’
If they reply, ‘I have given up concern for my partners and children,’ they should say: ‘But are you concerned for the five kinds of human sensual stimulation?’ If they reply, ‘I am,’ they should say: ‘Good sir, heavenly sensual pleasures are better than human sensual pleasures. It would be good to turn your mind away from human sensual pleasures and fix it on the gods of the Four Great Kings.’
If they reply, ‘I have done so,’ they should say: ‘Good sir, the gods of the Thirty-Three are better than the gods of the Four Great Kings …
Good sir, the gods of Yama … the Joyful Gods … the Gods Who Love to Create … the Gods Who Control the Creations of Others … the Gods of the Brahmā realm are better than the Gods Who Control the Creations of Others. It would be good to turn your mind away from the Gods Who Control the Creations of Others and fix it on the Gods of the Brahmā realm.’ If they reply, ‘I have done so,’ they should say: ‘Good sir, the Brahmā realm is impermanent, not lasting, and included within identity. It would be good to turn your mind away from the Brahmā realm and apply it to the cessation of identity.’
If they reply, ‘I have done so,’ then there is no difference between a lay follower whose mind is freed in this way and a mendicant whose mind is freed from defilements; that is, between the freedom of one and the other.”
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิโครธาราม ใกล้พระนครกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ก็สมัยนั้น ภิกษุมากรูปกระทำจีวรกรรมของพระผู้มีพระภาคด้วยหวังว่า พระผู้มีพระภาคทรงทำจีวรสำเร็จแล้ว ล่วงไป ๓ เดือนก็จะเสด็จจาริกหลีกไป
พระเจ้ามหานามศากยะ ได้ฟังข่าวว่า ภิกษุมากรูปกระทำจีวรกรรมของพระผู้มีพระภาคด้วยหวังว่า พระผู้มีพระภาคทรงทำจีวรสำเร็จแล้ว ล่วงไป ๓ เดือนก็จะเสด็จจาริกหลีกไป
ครั้งนั้น พระเจ้ามหานามศากยะ เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ทรงอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้ว ประทับนั่งในที่สมควร ครั้นแล้ว ได้ทูลถามผู้มีพระภาคว่า
ภันเต ข้าพระองค์ได้ยินมาว่า ภิกษุมากรูปกระทำจีวรกรรมของพระผู้มีพระภาคด้วยหวังว่า พระผู้มีพระภาคทรงทำจีวรสำเร็จแล้ว ล่วงไป ๓ เดือนก็จะเสด็จจาริกหลีกไป ภันเต เรื่องนี้ข้าพระองค์ยังไม่ได้ฟัง ยังไม่ได้รับมา เฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคว่า อุบาสกผู้มีปัญญา พึงกล่าวสอนอุบาสกผู้มีปัญญา ที่ป่วย ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก.
มหานาม อุบาสกผู้มีปัญญา พึงปลอบอุบาสกผู้มีปัญญา ที่ป่วย ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก ด้วยธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความเบาใจ ๔ ประการว่า
๑) ท่านจงเบาใจเถิดว่า ท่านมีความเลื่อมใสอย่างไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า เพราะเหตุอย่างนี้ๆ พระผู้มีพระภาคนั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ทรงถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งไปกว่า เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม ดังนี้.
๒) ท่านจงเบาใจเถิดว่า ท่านมีความเลื่อมใสอย่างไม่หวั่นไหวในพระธรรมว่า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว อันผู้บรรลุจะพึงเห็นได้เอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกกันมาดู ควรน้อมเข้ามาใส่ตน อันผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน ดังนี้.
๓) ท่านจงเบาใจเถิดว่า ท่านมีความเลื่อมใสอย่างไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ว่า สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว เป็นผู้ปฏิบัติตรงแล้ว เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว เป็นผู้ปฏิบัติสมควรแล้ว นั่นคือ คู่แห่งบุรุษ ๔ คู่ นับเรียงตัวได้ ๘ บุรุษ นั่นแหละ คือ สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ควรแก่ของบูชา เป็นผู้ควรแก่ของต้อนรับ เป็นผู้ควรรับทักษิณา เป็นผู้ควรกระทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ดังนี้.
๔) ท่านจงเบาใจเถิดว่า ท่านมีศีลทั้งหลายที่พระอริยะรักใคร่แล้ว เป็นศีลที่ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไท (จากตัณหา) เป็นศีลที่ผู้รู้สรรเสริญ เป็นศีลที่ทิฏฐิไม่ลูบคลำ และเป็นศีลที่เป็นไปเพื่อสมาธิ ดังนี้.
มหานาม อุบาสกผู้มีปัญญา ครั้นปลอบอุบาสกผู้มีปัญญา ที่ป่วย ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก ด้วยธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความเบาใจ ๔ ประการนี้เหล่าแล้ว พึงถามเขาอย่างนี้ว่า
ท่านยังมีความห่วงใยในมารดาและบิดาอยู่หรือ ถ้าเขากล่าวอย่างนี้ว่า เรายังมีความห่วงใยในมารดาและบิดาอยู่ อุบาสกนั้นพึงกล่าวกะเขาอย่างนี้ว่า ท่านผู้เช่นกับเรา ซึ่งมีความตายเป็นธรรมดา ถ้าแม้ท่านจักกระทำความห่วงใยในมารดาและบิดา ก็จักตายไป ถ้าแม้ท่านจักไม่กระทำความห่วงใยในมารดาและบิดา ก็จักตายไปเหมือนกัน ขอท่านจงละความห่วงใยในมารดาและบิดาของท่านเสียเถิด ถ้าเขากล่าวอย่างนี้ว่า เราละความห่วงใยในมารดาและบิดาของเราแล้ว.
มหานาม อุบาสกนั้นพึงถามเขาอย่างนี้ว่า ท่านยังมีความห่วงใยในบุตรและภรรยาอยู่หรือ ถ้าเขากล่าวอย่างนี้ว่า เรายังมีความห่วงใยในบุตรและภรรยาอยู่ อุบาสกนั้นพึงกล่าวกะเขาอย่างนี้ว่า ท่านผู้เช่นกับเรา ซึ่งมีความตายเป็นธรรมดา ถ้าแม้ท่านจักกระทำความห่วงใยในบุตรและภรรยา ก็จักตายไป ถ้าแม้ท่านจักไม่กระทำความห่วงใยในบุตรและภรรยา ก็จักตายไปเหมือนกัน ขอท่านจงละความห่วงใยในบุตรและภรรยาของท่านเสียเถิด ถ้าเขากล่าวอย่างนี้ว่า เราละความห่วงใยในบุตรและภรรยาของเราแล้ว.
มหานาม อุบาสกนั้นพึงถามเขาอย่างนี้ว่า ท่านยังมีความห่วงใยในกามคุณ ๕ อันเป็นของมนุษย์อยู่หรือ ถ้าเขากล่าวอย่างนี้ว่า เรายังมีความห่วงใยในกามคุณ ๕ อันเป็นของมนุษย์อยู่ อุบาสกนั้นพึงกล่าวกะเขาอย่างนี้ว่า กามอันเป็นทิพย์ยังดีกว่า ประณีตกว่า กามอันเป็นของมนุษย์ ขอท่านจงพรากจิตให้ออกจากกามอันเป็นของมนุษย์ แล้วน้อมจิตไปในพวกเทวดาชั้นจาตุมหาราชิกาเถิด ถ้าเขากล่าวอย่างนี้ว่า จิตของเราออกจากกามอันเป็นของมนุษย์แล้ว จิตของเราน้อมไปในพวกเทวดาชั้นจาตุมหาราชิกาแล้ว.
มหานาม อุบาสกนั้นพึงกล่าวกะเขาอย่างนี้ว่า พวกเทวดาชั้นดาวดึงส์ยังดีกว่า ประณีตกว่า พวกเทวดาชั้นจาตุมหาราชิกา ขอท่านจงพรากจิตให้ออกจากพวกเทวดาชั้นจาตุมหาราชิกา แล้วน้อมจิตไปในพวกเทวดาชั้นดาวดึงส์เถิด ถ้าเขากล่าวอย่างนี้ว่า จิตของเราออกจากพวกเทวดาชั้นจาตุมหาราชิกาแล้ว จิตของเราน้อมไปในพวกเทวดาชั้นดาวดึงส์แล้ว.
มหานาม อุบาสกนั้นพึงกล่าวกะเขาอย่างนี้ว่า พวกเทวดาชั้นยามายังดีกว่า ประณีตกว่า พวกเทวดาชั้นดาวดึงส์ ขอท่านจงพรากจิตให้ออกจากพวกเทวดาชั้นดาวดึงส์ แล้วน้อมจิตไปในพวกเทวดาชั้นยามาเถิด ถ้าเขากล่าวอย่างนี้ว่า จิตของเราออกจากพวกเทวดาชั้นดาวดึงส์แล้ว จิตของเราน้อมไปในพวกเทวดาชั้นยามาแล้ว.
มหานาม อุบาสกนั้นพึงกล่าวกะเขาอย่างนี้ว่า พวกเทวดาชั้นดุสิตยังดีกว่า ประณีตกว่า พวกเทวดาชั้นยามา ขอท่านจงพรากจิตให้ออกจากพวกเทวดาชั้นยามา แล้วน้อมจิตไปในพวกเทวดาชั้นดุสิตเถิด ถ้าเขากล่าวอย่างนี้ว่า จิตของเราออกจากพวกเทวดาชั้นยามาแล้ว จิตของเราน้อมไปในพวกเทวดาชั้นดุสิตแล้ว.
มหานาม อุบาสกนั้นพึงกล่าวกะเขาอย่างนี้ว่า พวกเทวดาชั้นนิมมานรดียังดีกว่า ประณีตกว่า พวกเทวดาชั้นดุสิต ขอท่านจงพรากจิตให้ออกจากพวกเทวดาชั้นดุสิต แล้วน้อมจิตไปในพวกเทวดาชั้นนิมมานรดีเถิด ถ้าเขากล่าวอย่างนี้ว่า จิตของเราออกจากพวกเทวดาชั้นดุสิตแล้ว จิตของเราน้อมไปในพวกเทวดาชั้นนิมมานรดีแล้ว.
มหานาม อุบาสกนั้นพึงกล่าวกะเขาอย่างนี้ว่า พวกเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตตียังดีกว่า ประณีตกว่า พวกเทวดาชั้นนิมมานรดี ขอท่านจงพรากจิตให้ออกจากพวกเทวดาชั้นนิมมานรดี แล้วน้อมจิตไปในพวกเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตตีเถิด ถ้าเขากล่าวอย่างนี้ว่า จิตของเราออกจากพวกเทวดาชั้นนิมมานรดีแล้ว จิตของเราน้อมไปในพวกเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตตีแล้ว.
มหานาม อุบาสกนั้นพึงกล่าวกะเขาอย่างนี้ว่า พรหมโลกยังดีกว่า ประณีตกว่า พวกเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตตี ขอท่านจงพรากจิตให้ออกจากพวกเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตตี แล้วน้อมจิตไปในพรหมโลกเถิด ถ้าเขากล่าวอย่างนี้ว่า จิตของเราออกจากพวกเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตตีแล้ว จิตของเราน้อมไปในพรหมโลกแล้ว.
มหานาม อุบาสกนั้นพึงกล่าวกะเขาอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุ แม้พรหมโลกก็ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ยังนับเนื่องในสักกายะ ขอท่านจงพรากจิตให้ออกจากพรหมโลก แล้วนำจิตเข้าไปในความดับแห่งสักกายะเถิด ถ้าเขากล่าวอย่างนี้ว่า จิตของเราออกจากพรหมโลกแล้ว เรานำจิตเข้าไปในความดับแห่งสักกายะแล้ว.
มหานาม เราไม่กล่าวถึงความต่างอะไรกันของอุบาสก ผู้มีจิตพ้นแล้วอย่างนี้ กับภิกษุผู้พ้นแล้วตั้งร้อยปี คือ พ้นด้วยวิมุตติเหมือนกัน.
-บาลี มหาวาร. สํ. 19/513/1627.
https://84000.org/tipitaka/pali/?19//513,
https://etipitaka.com/read/pali/22/95